Thursday, June 22, 2023

IF I CAN MAKE ONE WISH… (2023, Saroot Supasuthivech, video installation, A+30)

 

IF I CAN MAKE ONE WISH… (2023, Saroot Supasuthivech, video installation, A+30)

 

งานวิดีโอ 4 จอ ที่พอไปดูแล้วก็พบว่ามันมีส่วนที่ทับซ้อนกับหนังสั้นที่เราได้ดูในงานมาราธอนปีที่แล้ว 555 แต่การได้มาดูมันในฐานะ video installation แบบนี้ก็ได้พลังในแบบที่แตกต่างจากการดูทางจอคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ ที่บ้านอยู่เหมือนกัน

 

ดูแล้วก็นึกถึงหนัง 3 เรื่องของคุณ Saroot ที่เราได้ดูมาก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ GHOST’S ALL MASS (2014), SECURITY GUARD (2017) และ PHO (2021) เหมือนหนังทั้ง 4 เรื่องนี้มีจุดเด่นที่ความหลอกหลอนแบบพิเศษ เหมือนกึ่ง ๆ ผี, กึ่ง ๆ จิตวิทยา, กึ่ง ๆ เซอร์เรียล, มีการพูดถึงสถานที่, ประวัติของสถานที่ และเหมือนอดีต, ความทรงจำ หรือเหตุการณ์เลวร้ายที่เคยเกิดขึ้นในสถานที่นั้นมันยังคง reverberate มาจนถึงปัจจุบัน ในแบบที่อาจจะคล้ายๆ กับผีร้าย

 

ลักษณะ “ความหลอน” ที่เป็นเอกลักษณ์ของคุณ Saroot คือการนำเสนอภาพของสถานที่นั้นใน form ของแบบจำลองทาง graphic computer แล้วทำให้ภาพแบบจำลองของสถานที่นั้นมีบางส่วนที่แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เราชอบอะไรแบบนี้มาก ๆ มันเหมือนภาพจำลองแบบนี้กระตุ้นให้เรามอง “สถานที่ต่าง ๆ” ในชีวิตจริงด้วยการรับรู้ทั้งปัจจุบันของมัน และจินตนาการถึงอดีตของมันไปด้วยในเวลาเดียวกัน

 

สิ่งที่ทำให้ IF I CAN MAKE ONE WISH…ดูโดดเด่นหรือแตกต่างจากหนังเรื่องอื่นๆ ของคุณ Saroot ก็คือว่า ในขณะที่ SECURITY GUARD และ PHO อาจจะพูดถึงประวัติศาสตร์ที่ถูกหลงลืมของสถานที่หนึ่ง IF I CAN MAKE ONE WISH พูดถึงสะพานข้ามแม่น้ำแควและประวัติศาสตร์แรงงานเชลยในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกหลงลืม และไม่ใช่สิ่งที่ได้รับการปกปิด แต่เป็นสิ่งที่หลายคนรู้กันดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะจากภาพยนตร์อย่าง THE BRIDGE ON THE RIVER KWAI (1957, David Lean) และ THE RAILWAY MAN (2013, Jonathan Teplitzky, Switzerland)

 

เราก็เลยชอบมากที่งานวิดีโอนี้ทำในสิ่งที่แตกต่างจากหนังเรื่องอื่น ๆ ที่พูดถึงเหตุการณ์เดียวกัน และทำในสิ่งที่แตกต่างจากงานวิดีโออื่น ๆ ของคุณ Saroot เองด้วย ด้วยการให้จอหนึ่งของวิดีโอนี้ focus ไปที่ “กลุ่มผู้ชม” การแสดงในเทศกาลสะพานข้ามแม่น้ำแคว คือแทนที่ “เหตุการณ์ในช่วง WWII” จะเป็นประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว (แบบที่พบได้ในหนังเรื่องอื่น ๆ) “การชมการแสดงเหตุการณ์ในช่วง WWII กลับกลายเป็นประเด็นหลักของงานวิดีโอนี้ด้วย ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่ามันหมายความว่าอะไร แต่มันเป็นมุมมองที่น่าสนใจและพิศวงมาก ๆ สำหรับเรา 555

--------------

เว็บไซท์นี้รวบรวมคะแนนที่นักวิจารณ์แต่ละคนใน Cahiers du Cinema ให้แก่หนังเรื่องต่าง ๆ ในปี 1955-1968 งดงามที่สุด เป็นลิสท์ที่มีคุณค่าสุด ๆ สำหรับเรา สิ่งสำคัญสำหรับเราไม่ใช่คะแนนในนี้ เพราะว่านักวิจารณ์แต่ละคนชอบหนังไม่ตรงกับเราอยู่แล้ว 555 แต่สิ่งที่เราชอบคือการได้ดูรายชื่อหนังเรื่องต่าง ๆ ในอดีต ทั้งหนังที่เราเคยดูแล้ว และหนังจำนวนมากที่เรายังไม่ได้ดู

 

เราตัดสินใจได้ในทันทีว่าเราจะไม่แคร์คะแนนในนี้มากนัก (หมายถึงว่าเราอาจจะสนใจหนังที่ได้คะแนนสูงในนี้ แต่เรามองว่าหนังที่ได้คะแนนต่ำมากในนี้ก็อาจจะเป็นหนังที่เข้าทางเราอย่างสุด ๆ ได้เช่นกัน) หลังจากพบว่า LADY CHATTERLEY’S LOVER (1955, Marc Allegret, A+30) ซึ่งเป็นหนังเรื่องโปรดของเรา ได้คะแนนเพียงแค่ 0.2 เต็ม 3 เพราะว่านักวิจารณ์เพศชาย 6 คนให้คะแนนหนังเรื่องนี้ 0/3 แต่มีนักวิจารณ์เพศหญิงคนหนึ่งให้คะแนนหนังเรื่องนี้ 2/3 แล้วอย่างนี้ดิฉันจะสนคะแนนของนักวิจารณ์เพศชายเหล่านี้ทำไม 55555 (ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาค่ะ ไม่มีใครผิดหรือถูกอะไรที่ชอบหนังไม่ตรงกับเรา 555)

https://rateyourmusic.com/list/byg_actuel/cahiers-du-cinema-all-the-movies-rated-from-n-52-november-1955-to-202-june_july-1968/1/

 

No comments: