Monday, September 20, 2004

INDIA SONG

เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ได้ดูหนังโปแลนด์เรื่อง THE LAST MISSION (B, Wojciech Wojcik) ก็เจอปัญหาเดียวกัน เพราะช่วง 45 นาทีแรกนี่ดิฉันดูไม่รู้เรื่องเลยว่าเกิดอะไรขึ้น หนังเป็นหนังเล่าเรื่องตามปกติ แต่ตัวละครมันเยอะมาก แล้วก็โผล่กันมาแว๊บๆ สับสนวุ่นวายกันไปหมด ดูแล้วตามไม่ทันเลยว่าใครอยู่ฝ่ายไหน ใครเป็นลูกสมุนใคร ใครทรยศใคร ใครฆ่าใคร ใครมีความสัมพันธ์อะไรยังไงกับใคร แต่พอผ่าน 45 นาทีแรกไปได้แล้ว ก็เริ่มดูรู้เรื่องค่ะ สรุปว่าดิฉันก็เลยต้องดู THE LAST MISSION 1 รอบครึ่ง เพราะตอนที่หนังเรื่องนี้มาฉายรอบสอง ดิฉันก็เลยเข้าไปดูช่วง 45 นาทีแรกใหม่อีกครั้ง คราวนี้ดูทัน เคลียร์ กระจ่างหมด

หนัง 3 เรื่องที่เพิ่งได้ดู
1.KLASSENFAHRT (2002, HENNER WINCKLER, A+++++) 2
.ACACIA WALK (2001, JOJI MATSUOKA, B+)
3.THUNDERBIRDS (2004, JONATHAN FRAKES, B)

MOST DESIRABLE ACTORS
1.STEVEN SPERLING—KLASSENFAHRT
2.BARTEK BLASZCZYK—KLASSENFAHRT
3.JAKOB PANZEK—KLASSENFAHRT
4.PHILIP WINCHESTER—THUNDERBIRDS
5.DOMINIC COLENSO—THUNDERBIRDS

MOST FAVORITE ACTRESS
SOPHIE KEMPE—KLASSENFAHRT

MOST FAVORITE ENDING
KLASSENFAHRT

INDIA SONG (ตอน 2) ความรู้สึกที่ได้จากการดูหนังเรื่องนี้หลายๆรอบก็คือเหมือนกับหนังเรื่องนี้มันมีพื้นที่ว่างบางอย่างให้ดิฉันเข้าไปขดตัวอยู่ได้อย่างอบอุ่นในหนังเรื่องนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมหนังเรื่องนี้ถึงทำให้รู้สึกอย่างนี้ INDIA SONG เป็นหนังที่ดูเหมือนจะเป็นมิตรกับดิฉันมากที่สุดในโลก

ดิฉันชอบทุกๆฉากใน INDIA SONG ค่ะ ซึงรวมถึง

1.ฉากเปิดที่เป็นภาพพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน คลอไปกับเสียงเพลงภาษาลาว (หรือไทย?) ฉากนี้นานมาก แต่ดูแล้วเพลินมาก

2.ฉากที่เงาใครบางคนเลื้อยไปตามพื้นดินและขั้นบันไดในช่วงต้นเรื่อง เงาที่ทอดเลื้อยไปบนพื้นดินนี้มันดูลึกลับ มีมนตร์เสน่ห์จริงๆ

3.ฉากที่นางเอกค่อยๆก้าวลงบันไดที่อยู่หน้าสถานทูต

4.ฉากที่เธอนอนกับผู้ชายสองคน มันให้อารมณ์เฉื่อยดีจริงๆ และทำให้นึกถึงสภาพอากาศว่ามันคงร้อนๆชื้นๆแฉะๆยังไงไม่รู้ ตัวละครถึงได้มานอนแหงแก๋กันอยู่อย่างนั้น

5.มีอยู่ฉากนึงที่ดิฉันยอมรับว่าตัวเองโง่มาก ในฉากนั้นดิฉันเห็นชายหนุ่มคนหนึ่งยืนอยู่ข้างๆประตู และในห้องที่อยู่ด้านหลังประตูนั้น ดิฉันเห็นนางเอกกำลังเดินลงบันไดมา ตอนแรกดิฉันนึกว่าเดี๋ยวนางเอกจะเดินจากด้านในสุดของจอภาพยนตร์มายังด้านหน้าจอภาพยนตร์เพื่อมาหาชายหนุ่มคนนั้น แต่ปรากฏว่าดิฉันเข้าใจผิด เพราะสิ่งที่ดิฉันคิดว่าเป็นประตู จริงๆแล้วคือกระจก ห้องที่ดิฉันนึกว่าอยู่ข้างหลังชายหนุ่มคนนั้น จริงๆแล้วคือห้องที่ชายหนุ่มคนนั้นยืนอยู่ บันไดที่ดิฉันคิดว่าอยู่ข้างหลังชายหนุ่มคนนั้น จริงๆแล้วบันไดนั้นอยู่ด้านหน้าของชายหนุ่ม และนางเอกแทนที่จะปรากฏตัวจากข้างหลังของชายหนุ่ม เธอกลับปรากฏตัวข้างหน้าชายหนุ่ม (นอกจากใน INDIA SONGแล้ว ดูราส์ยังเล่นกับกระจกในหนังเรื่องอื่นๆของเธอด้วยเช่นกัน

6.ฉากงานเลี้ยงรับรอง นางเอกเต้นรำด้วยอาการเหนื่อยอ่อนมาก

7.ฉากที่นางเอกนอนเป็นนางพญา ฉากนี้ติดตาตรึงใจที่สุด ถ้าจำไม่ผิด กล้องแทบไม่เขยื้อนเลย และตัวละครก็ขยับกายไปเรื่อยๆ แต่จะค่อยๆขยับ และเนื่องจากฉากนี้ตัวละครโพสท์ท่ากันหลายคน ก็เลยสังเกตยากหน่อยว่าใครขยับกาย ขยับมือ ขยับตีน ขยับแขน ขยับขายังไงบ้าง สิ่งหนึ่งที่ชอบมากในฉากนี้ก็คือแสง เพราะในขณะที่ทุกอย่างเกือบหยุดนิ่ง แสงในฉากนี้จะเปลี่ยนจากสลัวมาเป็นค่อยๆสว่างขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ค่อยๆมืดลง แล้วก็ค่อยๆสว่างขึ้น แล้วก็ค่อยๆมืดลงอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงของแสงในฉากนี้ให้อารมณ์ที่รุนแรงมากกับดิฉัน จริงๆแล้วเหตุการณ์ในฉากนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในเวลานาน แต่การเปลี่ยนแปลงของแสงซึ่งตรงข้ามกับความแสร้งนิ่งของตัวละครมันทำให้ดิฉันรู้สึกว่าฉากนี้มันให้อารมณ์ที่เป็น “อมตะ” มากๆ แน่นอนว่าอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งเสริมความเป็นอมตะของฉากนี้ก็คือเสียงนินทากาเลที่คลอไปกับฉากด้วย

8.ฉากที่นางเอกค่อยๆเดินระเหิดระหงเข้ามาในอาคาร PRINCE OF WALES ที่อยู่ตรงเกาะสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา โดยมีผู้ชาย 2 คนเดินตามหลังเธอมา และที่จุดหนึ่งของห้องก็มีผู้ชายอีก 2 คนดักรอสมทบ กล้องจะค่อยๆเคลื่อนถอยหลังไปเรื่อยๆ ในขณะที่นางเอกกับสมุนชาย 4 คนค่อยๆเดินมาข้างหน้า อากัปกิริยาของนางเอกในฉากนี้ มันช่างดูเริ่ดเสียจริงๆ และหลังจากตัวละครทั้ง 5 คนหลบออกไปจากกล้องแล้ว รองกงสุลก็จะปรากฏตัวขึ้นที่ด้านหน้าของอาคาร พร้อมกับที่เสียงนินทาพูดขึ้นมาในทันทีว่า “SUDDENLY, THE SMELL OF DEATH”

9.ฉากที่นางเอกกับสมุนชายๆพักผ่อนอยู่ในเกาะ พวกเขานั่งอยู่นิ่งๆ ในขณะที่เสียงนินทาพูดไปเรื่อยๆว่าในปี 1937 เกิดสงครามขึ้นที่จุดใดบ้างในโลกใบนี้

10.ฉากที่นางเอกในชุดดำนั่งสง่าในห้องในช่วงท้ายเรื่อง ตัวละครในฉากนี้ยังคงถูกครอบงำด้วยแรงเฉื่อยเหมือนในทุกๆฉาก แต่สิ่งที่มีผลทางอารมณ์กับดิฉันอย่างมากคือควัน (ไม่แน่ใจว่ามาจากเทียนหรือเปล่า) ที่ลอยอ้อยอิ่งอยู่ในฉากนี้ เส้นควันที่ค่อยๆลอยขึ้นไปในอากาศมันให้อารมณ์ที่งดงามมากๆ และพัดลมเพดานของห้องนี้ก็เฉื่อยดีจริงๆ อีกสิ่งที่มีผลกระทบทางอารมณ์อย่างมากก็คือในช่วงท้ายของฉากนี้ ตอนที่นางเอกค่อยๆเคลื่อนตัวออกไปจากห้อง ด้วยการเดินลึกเข้าไปด้านในของจอภาพยนตร์มากขึ้นเรื่อยๆนั้น พอนางเอกออกพ้นจากห้องไป อยู่ดีๆพัดลมเพดานก็หยุดหมุนพอดี

ตอนที่ INDIA SONG เป็นบทละครเวทีนั้น ดูราส์เขียนไว้ในบทละครว่าพัดลมในเรื่องนี้ ให้หมุนไปใน “nightmare speed”

11.ฉากสนามเทนนิสว่างเปล่าที่อยู่ในช่วงกลางเรื่อง

12.ฉากอาคารสถานกงสุลที่ถ่ายจากด้านนอกอาคาร มันดูเหมือนบ้านผีสิงมากๆ

13.ฉากจบของเรื่องนี้ ที่กล้องถ่ายแผนที่ โดยค่อยๆเลื่อนจากอินเดียผ่านพม่า, ประเทศไทย และกลับมายังสะวันนาเขตอีกครั้ง

สิ่งที่น่าสนใจใน INDIA SONG

1.นักวิจารณ์บางคนบอกว่าให้สังเกตความคล้องจองกันหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างตัวละคร 3 ตัว ซึ่งได้แก่นางเอก, หญิงขอทาน และรองกงสุล เพราะทั้งนางเอกและหญิงขอทานต่างก็เดินทางจากสะวันนาเขตมาอินเดียเหมือนกัน, เสียงกรีดร้องของรองกงสุลกับเสียงพร่ำบ่นของหญิงขอทานให้อารมณ์วิกลจริตพอๆกัน, รองกงสุลติดตามนางเอกไปเกาะกลางสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคาเหมือนเป็นเงาของนางเอก และบทสนทนาระหว่างรองกงสุลกับนางเอกตรงจุดหนึ่งที่เหมือนกับจะบอกว่าจริงๆแล้วทั้งสองมีบางจุดที่คล้ายคลึงกันมาก

บทสนทนาระหว่างนางเอกกับรองกงสุลในงานเลี้ยง

นางเอก—I love Michael Richardson. I’m not free of that love.
รองกงสุล—I know. I love you like that, in that love. It doesn’t matter to me.
(นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่าประโยคนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่บ่งชี้ว่ารองกงสุลอาจจะเป็นเกย์ เพราะนอกจากรองกงสุลจะเป็น virgin ที่ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับหญิงคนใดใน Lahore แล้ว ประโยคนี้ยังบ่งชี้ว่า “รองกงสุลรักนางเอกเพราะนางเอกรักผู้ชายอื่น” ซึ่งมันดูเหมือนกับว่าจริงๆแล้วรองกงสุลนั่นแหละที่รักผู้ชาย)

2.ในขณะที่นักวิจารณ์บางคนตั้งข้อสันนิษฐานว่าตัวละครรองกงสุลอาจจะเป็นเกย์ ในบทละครเวทีเรื่อง INDIA SONG เองนั้น ดิฉันเข้าใจว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับเลสเบียนด้วย แต่พอ INDIA SONG สร้างเป็นหนัง ดิฉันคิดว่าส่วนที่เป็นเลสเบียนได้ถูกตัดทิ้งไป

ละครเวที INDIA SONG กับหนังเรื่อง INDIA SONG มีจุดแตกต่างกันหลายจุด ถ้าดิฉันเข้าใจไม่ผิด จุดหนึ่งที่แตกต่างกันก็คือในเวอร์ชันหนังนั้น เสียงนินทาที่เราได้ยิน จะเป็นเสียงนินทาเรื่องราวของ ANNE MARIE STRETTER เสียงนินทาเหล่านี้จะคุยกันแต่เรื่องของนางเอก แต่ในเวอร์ชันละครเวทีนั้น เสียงนินทาของผู้หญิง 2 คนในเรื่องนี้จะบ่งชี้ว่าหญิงนินทาคนที่ 2 หลงรักหญิงนินทาคนที่ 1 และรู้สึกตกใจหวาดวิตกกับการที่หญิงนินทาคนที่ 1 ลุ่มหลงในเรื่องราวของ ANNE-MARIE STRETTER

แต่ความแตกต่างกันระหว่างเวอร์ชันละครเวทีกับเวอร์ชันหนังนั้น ดิฉันคิดว่าอาจจะเป็นผลดีก็ได้ค่ะ เพราะแค่มีเพียง “เรื่องราวความรักของ ANNE-MARIE STRETTER” เพียงเรื่องเดียวอย่างในเวอร์ชันหนัง ดิฉันก็ตามเนื้อเรื่องไม่ทันแล้ว ถึงแม้จะดูหนังเรื่องนี้มาแล้ว 6 รอบ ดิฉันก็ยังตามเนื้อเรื่องไม่ทันอยู่ดี นี่ถ้าหากมี “เรื่องราวความรักระหว่างคนนินทา” แทรกเข้ามาซ้อนทับเข้าไปด้วยอีก ดิฉันคงยิ่งงงเป็นไก่ตาแตกแน่ๆ แถมคนนินทายังไม่ได้รักกันเฉยๆเท่านั้น พวกเธอยังเป็นเลสเบียนอีก และยังมีความหลงใหลระหว่างผู้นินทากับผู้ถูกนินทาซ้อนทับเข้าไปอีก ถ้าหากทำอย่างในเวอร์ชันละครเวทีจริงๆ ดิฉันคงยิ่งงงหนักแน่ๆ

สรุปว่าตามความเข้าใจของดิฉัน ใน INDIA SONG เวอร์ชันละครเวที จะมีความสัมพันธ์ที่น่าสนใจหลายระดับ ซึ่งรวมถึง
1.ความสัมพันธ์ของ ANNE-MARIE STRETTER กับตัวละครคนอื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้จะปรากฏชัดในเวอร์ชันภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน
2.ความสัมพันธ์ระหว่างคนนินทาแต่ละคน
3.ความสัมพันธ์ระหว่างคนนินทากับ ANNE-MARIE STRETTER

ไม่รู้เหมือนกันค่ะว่าเมื่อไหร่ INDIA SONG จะกลับมาฉายอีกครั้ง แต่หนังเรื่องนี้ติดอันดับหนังหาดูยากเรื่องนึง ดิฉันเคยแสดงความเห็นของตัวเองที่มีต่อ INDIA SONG ไว้ใน IMDB.COM ปรากฏว่าหลังจากนั้นก็มีคนจากสวีเดนและ 2-3 คนจากสหรัฐส่งอีเมล์มาถามว่าดิฉันมีวิดีโอหนังเรื่องนี้หรือเปล่า เพราะพวกเขาอยากดูมาก พอได้รับอีเมล์พวกนี้ทีไร ก็รู้สึกเสียใจที่ดิฉันไม่สามารถช่วยอะไรพวกเขาได้ แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกดีใจที่ตัวเองอยู่ในกรุงเทพ คนกรุงเทพเป็นคนที่โชคดีมากๆที่ได้ดูหนังเรื่อง INDIA SONG ไปแล้วไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ในขณะที่คนในบางพื้นที่ในยุโรปและสหรัฐอยากดูหนังเรื่องนี้แต่หาดูไม่ได้

ดิฉันเคยดู INDIA SONG 2 รอบในปี 1997 ค่ะ และอีก 2 รอบในปี 2000 ก่อนจะได้ดูอีก 2 รอบในปี 2004 บางทีอาจต้องรออีก 3-4 ปีหนังอาจจะเวียนกลับมาลงโรงฉายอีกครั้งในกรุงเทพ

จอห์น วอเตอร์ส ผู้กำกับ Pink Flamingos ชอบหนังของ Marguerite Duras มากค่ะ เขาเคยเอา Duras มาล้อไว้ในหนังเรื่อง Polyester ของเขาด้วย โดยฉากนึงในหนังเรื่อง POLYESTER เป็นฉากของโรงหนังประเภทไดรฟ์อินในชนบทของอเมริกา และโรงหนังแห่งนี้ติดป้ายบอกว่า “Now Showing Three Marguerite Duras’ Hits” หรืออะไรคล้ายๆอย่างนี้

ชอบไอเดียนี้ของจอห์น วอเตอร์สมากค่ะ อยากให้เกิดขึ้นจริงกับโรงหนังชั้นสองในกรุงเทพจัง อยากให้อยู่ดีๆโรงหนังชั้นสองในกรุงเทพฉาย INDIA SONG ควบกับ HER NAME IS VENICE UNDER CALCUTTA DESERT จะได้นั่งดูหลายๆรอบต่อๆกันไปเลย

เคยอ่านจากหนังสือบางเล่ม เขาบอกว่าตอนที่ INDIA SONG ออกฉายในฝรั่งเศส หนังเรื่องนี้ปักหลักฉายในโรงภาพยนตร์แห่งนึงเป็นเวลานานมากๆ และหนังเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อคนดูอย่างแปลกๆด้วย มีผู้หญิงคนนึงเข้าไปดูหนังเรื่องนี้ตอนบ่ายสอง และปักหลักดูแล้วดูอีกจนถึงตอนเย็น

หนัง 4 เรื่องที่เพิ่งได้ดู
1.POSSESSION (1981, ANDRZEJ ZULAWSKI) A+
2.THE BROOD (1979, DAVID CRONENBERG) A+
3.THE SECT (1991, MICHELE SOAVI) B
4.AZUMI (2003, RYUHEI KITAMURA) B (รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้สนุกมาก แต่ไม่ชอบองค์ประกอบบางอย่างในหนัง)


(ข้อความข้างล่างนี้เอามาจากเว็บบอร์ดอื่น)

หนังรักที่ชอบมาก 3 เรื่องก็คือ

1.THE BRIDGES OF MADISON COUNTY

ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงซึ้งกับหนังเรื่องนี้ได้ถึงขนาดนี้ คงเป็นเพราะเนื้อเรื่อง, จังหวะของหนัง, การแสดงของเมอรีล สตรีพ และการตัดสินใจของนางเอกในตอนจบ ตอบไม่ถูกเหมือนกันว่านางเอกตัดสินใจถูกหรือเปล่า แต่จบอย่างนี้ซึ้งดีแล้วล่ะ


2.MY BEAUTIFUL LAUNDRETTE

ถ้าพูดถึงหนังรักของเกย์แล้ว จะชอบเรื่อง BEAUTIFUL THING มากๆเหมือนกัน แต่เนื่องจากดิฉันเป็นคนเอเชียที่บ้าฝรั่ง ก็เลยคิดว่า MY BEAUTIFUL LAUNDRETTE ดูแล้วใกล้ตัวมากกว่า แดเนียล เดย์ ลูว์อิสเรื่องนี้น่ารักน่าเลียมากๆ มันช่างโรแมนติกดีจริงๆ

หนังที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มเอเชียกับหนุ่มฝรั่งอีกเรื่องนึงคือ THE WEDDING BANQUET แต่เรื่องนั้นมีตัวละครประเภท “ก้างขวางคอ” มากเกินไป และไม่ได้เน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกสองคน ดูแล้วก็เลยไม่ให้อารมณ์พาฝันเหมือนอย่าง MY BEAUTIFUL LAUNDRETTE


3.ALWAYS (ไฟฝันควันรัก) ของสตีเวน สปีลเบิร์ก

มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ทำให้ดิฉันอินกับหนังเรื่องนี้

1.BRAD JOHNSON ในเรื่องนี้เป็นผู้ชายที่ตรงสเปคดิฉันที่สุดค่ะ เขาดูตัวใหญ่ ใจดี อ่อนโยน ทึ่มๆเซ่อๆหน่อย แต่มีพื้นฐานจิตใจดีมาก ถ้าหากเปลี่ยนพระเอกหนังเรื่องนี้จากแบรด จอห์นสัน มาเป็นทอม แฮงค์ส เกรดของหนังเรื่องนี้อาจจะหล่นจาก A+ มาเป็น B- ได้ง่ายๆเหมือนกัน

2.นางเอกของเรื่องนี้คือฮอลลี ฮันเตอร์ เธอรับบทเป็นผู้หญิงกร้าวแกร่ง ไม่สวย ไม่อ่อนหวาน ถนัดบู๊ ถนัดลุยมากกว่า ผู้หญิงที่ดูไม่ค่อยเป็นผู้หญิงอย่างนี้ดิฉันจะชอบมากๆเลยค่ะ

3.บรรยากาศในหนังเรื่องนี้มันเหมือนกับดินแดนในฝันที่ดิฉันอยากไปอยู่มากๆ มันดูโล่งๆดี

4.ความรักสองคู่ในหนังเรื่องนี้ถูกใจดิฉันมากค่ะ อันนึงเป็นความรักระหว่างฮอลลี ฮันเตอร์กับแบรด จอห์นสัน ที่ดุน่ารักน่าชังดี ส่วนความรักอีกคู่นึงดูแล้วดีมากๆ นั่นก็คือความรักระหว่างริชาร์ด ไดรฟัสส์กับฮอลลี ฮันเตอร์ มันคือความรักที่ต้องเสียสละ ไม่ใช่การหึงหวง มันคือความรักที่เรามีความสุขเมื่อเห็น “คนที่เรารักมีความสุขกับคนอื่น” และนั่นทำให้หนังเรื่องนี้มีคุณค่าทางจิตใจต่อดิฉันมากๆค่ะ หนังเรื่องนี้ไม่ได้ใช้เพลง YOU’RE IN LOVE ของ WILSON PHILIPS เป็นเพลงประกอบ แต่เนื้อหาของหนังเรื่องนี้กับเนื้อหาของเพลง YOU’RE IN LOVE กลับตรงกันอย่างที่สุด

แถมท้ายด้วยหนังรักที่ชอบที่สุดที่ยังไม่ได้ดู (เพราะอ่านเรื่องย่อ + ดูภาพ + จินตนาการเอาเองแล้วรู้สึกประทับใจมาก)

LETTER FROM AN UNKNOWN WOMAN (1948, MAX OPHULS)

เรื่องของหญิงสาวคนหนึ่งที่หลงรักชายหนุ่มข้างบ้าน เธอหลงรักเขามาเป็นเวลานาน 20 ปี แต่เขาไม่เคยรู้เรื่องนี้เลย เมื่อเขากับเธอพบกันอีกครั้ง เธอจำเขาได้ แต่เขาไม่สามารถจำเธอได้แล้ว ในที่สุดเขาก็ได้รู้ความจริงว่าเธอรักเขา....เมื่อเธอส่งจดหมายสารภาพรักมาให้เขาก่อนที่เธอจะตาย

ตอนนี้ผู้กำกับหญิงชาวจีนคนนึงนำหนังเรื่องนี้มารีเมคใหม่ค่ะ โดยเปลี่ยนให้เนื้อเรื่องเกิดที่กรุงปักกิ่งแทน


หลังจากดูหนังสารคดีเรื่อง LIVE FOREVER ที่พูดถึงวงดนตรีอังกฤษในยุค 1990 แล้วก็เลยเริ่มนึกถึงวงดนตรีในยุค 1980 ที่ตัวเองชอบมากๆ และพอมาได้ฟังเพลงของ BAP ในหนัง ODE TO COLOGNE ก็เลยยิ่งนึกถึงวงดนตรีในยุค 1980 มากยิ่งขึ้น

วงดนตรีที่ชอบมากในยุคนั้นก็มีเช่น (เครื่องหมาย fff หมายถึงดิฉันรู้สึกชอบรูปร่างหน้าตาของสมาชิกบางคนในวงนั้นมากๆ)

1.ABC
2.AZTEC CAMERA (fff)
3.BEAUTIFUL SOUTH
4.THE BELOVED
5.BIG FUN (fff)
6.BREATHE (fff)
7.BROTHER BEYOND (fff)
8.THE CHRISTIANS
9.CURIOSITY KILLED THE CAT (fff)
10.CROWDED HOUSE
11.CUTTING CREW
12.DEACON BLUE (fff)
13.DEPECHE MODE (fff)
14.THE DREAM ACADEMY (fff)
15.ERASURE
16.FINE YOUNG CANNIBALS
17.FRANKIE GOES TO HOLLYWOOD (fff)
18.JOHNNY HATES JAZZ
19. HALO JAMES (fff)
20.HUE AND CRY
21.INFORMATION SOCIETY
22.KON KAN
23.LIVING IN A BOX
24.MADNESS
25.MATT BIANCO (Basia เคยอยู่วงนี้มาก่อน)
26.NEW ORDER
27.OMD
28.THE PAINTED WORD
29.PREFAB SPROUT
30.R.E.M.
31.16 TAMBOURINES
32.THE SMITHS
33.SOFT CELL
34. SPANDAU BALLET (fff)
35.TEARS FOR FEARS
36.THEN JERICO (fff)
37.WALL STREET CRASH
38.WATERFRONT (fff)
39.WET WET WET (fff)
40.ULTRAVOX

1 comment:

บริการรับแปลเอกสาร said...

ก็อยากดูอยู่เหมือนกัน หมายถึง THE BRIDGES OF MADISON COUNTY กับ AWAYS ไว้จะไปหามาดู