Sunday, September 18, 2005

GOLDEN SWALLOW (A+)

DRAGON INN หรือ DRAGON GATE INN (1966, KING HU) http://www.imdb.com/title/tt0060635/

DRAGON INN (1966) ติดอันดับ 7 ใน Hong Kong Film Awards' List of The Best 100 Chinese Motion Pictures

อ่านบทความภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ KING HU ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/directors/02/hu.html

อ่านบทความเกี่ยวกับหนังกำลังภายในของฮ่องกงได้ที่
http://www.geocities.com/mihkfea/wuxia.htm

ไม่รู้เหมือนกันว่าคุณ ar พอจะมีข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้บ้างหรือเปล่า
http://www.geocities.com/made_in_hong_kong2002/data/kf.htm


ตอบน้อง merveillesxx

น้องแทคของ merveillesxx ก็น่ารักดีค่ะ
http://www.baadara.com/tack.htm
http://www.yimsiam.com/board/V70/index.asp?wbID=tack2fanclub
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/zaaclub/zaa.html
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/zaaclub/zaa_04.jpg


--งั้นตอนนี้ก็ใกล้วันเกิดของน้อง merveillesxx แล้วสิเนี่ย

--รู้สึกสับสนกับ SEVEN SWORDS ในช่วงต้นเรื่องเหมือนกัน เหมือนกับว่าเนื้อหาของหนังช่วงต้นเรื่องถูกตัดทอนออกไปเพื่อไม่ให้เนื้อหายาวเกินไป

--รู้สึกรำคาญส่วนของสาวเกาหลีเล็กน้อย แต่ก็คิดว่าการที่หนังเทน้ำหนักให้เธอคงจะเป็นเพราะว่าต้องการทำรายได้ในตลาดเกาหลีและเพื่อดึงดูดผู้ชมบางกลุ่ม ในขณะที่ตัวดิฉันเองอยากให้หนังเทน้ำหนักไปที่ YI LU กับ DUNCAN LAI มากกว่า โฮะ โฮะ โฮะ

--ชอบกระบี่ของหยังไฉ่หนีมาก และก็ชอบการต่อสู้ของดอนนี เหยินกับผู้ร้ายในช่วงท้ายเรื่อง

--จริงๆแล้วดิฉันไม่ได้ชอบลีลาการต่อสู้ที่สมจริงแบบใน SEVEN SWORDS สักเท่าไหร่ แต่ก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ทำออกมาได้สนุกดี

ลีลาการต่อสู้แบบที่ดิฉันชอบมากที่สุดในหนังจีนกำลังภายใน คือ “การใช้ผ้าเป็นอาวุธ” แบบในหนังเรื่อง “โอม สู้แล้วอย่าห้าม” หรือ GOLDEN SWALLOW (1988, O SING-PUI, A+) และในละครทีวีเรื่อง “เดชเซียวฮื่อยี้” ที่นำแสดงโดยเหลียงเฉาเหว่ย

หนึ่งในฉากการต่อสู้ที่ชอบที่สุดในชีวิต อยู่ในเรื่อง “เดชเซียวฮื่อยี้” ตอนที่ฮวยบ้อข่วย คุณชายวังบุปผาใช้วิชาคลื่นบุปผาต่อสู้กับราชินีของประเทศประเทศนึง แต่เขากลับสู้ไม่ได้ ร้อนถึง “เจ้าแม่วังบุปผา” ต้องมาต่อสู้กับราชินีองค์นี้ด้วยตัวเอง โดยราชินีใช้ผ้าสีดำเป็นอาวุธ และเจ้าแม่วังบุปผาใช้ผ้าสีขาวเป็นอาวุธ

--ส่วนลีลาการต่อสู้แบบญี่ปุ่นนั้น ดิฉันชอบบางฉากในละครทีวีเรื่อง “สิงห์สาวนักสืบ ปี 2” หรือ SUKEBAN DEKA II มากที่สุดค่ะ ฉากต่อสู้ที่ชอบที่สุดในชีวิตรวมถึงฉากที่

1.ฉากที่ซากิ อาซามิยา (โยโกะ มินามิโนะ) ต่อสู้กับ 7 พยัคฆ์ที่มีผู้หญิงเป็นหัวหน้า โดยตัวหัวหน้าผู้หญิงใช้วิกผมเป็นอาวุธ และลูกน้องอีก 6 คนใช้ไม้พลองเป็นอาวุธ

เจ็ดพยัคฆ์ถือเป็นศัตรูที่ร้ายกาจมาก เพราะสิงห์สาวนักสืบอีกสองคนพ่ายแพ้ให้กับเจ็ดพยัคฆ์ และแม้แต่ซากิเองก็ต้องเอาหน้ากากเหล็กออกมาใช้ในการต่อสู้ครั้งนี้

ปกติแล้วซากิจะใช้เพียงลูกดิ่งเป็นอาวุธ แต่ไม่ได้ใช้หน้ากากเหล็ก ซากิจะหยิบหน้ากากเหล็กมาใช้ในการต่อสู้ก็ต่อเมื่อเจอกับศัตรูที่ทรงอานุภาพสุดๆเท่านั้น

2.ฉากที่ซากิ อาซามิยาต่อสู้กับผู้ชายวัยกลางคนที่สนามกีฬาแห่งนึง โดยที่เธอใช้ลูกดิ่งสองอัน ส่วนผู้ชายใช้ไม้เท้า และซากิต้องขว้างลูกดิ่งข้ามอัฒจันทร์ไปต่อสู้กับผู้ชายคนนี้ ดูฉากนี้แล้วถึงเห็นว่าโซ่ลูกดิ่งยาวมากๆ

3.อาวุธที่ชอบที่สุดใน “สิงห์สาวนักสืบ ปี 2” คือ “ริบบิ้นยิมนาสติกลีลาใหม่” ของผู้ร้ายหญิง 3 คนค่ะ เป็นอาวุธที่สวยมากๆ และสามารถใช้กำราบอาวุธของสิงห์สาวทุกคนได้หมด ริบบิ้นยิมนาสติกนี้สามารถปัดได้ทั้งลูกดิ่ง, ลูกแก้ว และว่าวที่ฝ่ายสิงห์สาวนักสืบทั้ง 3 คนขว้างเข้าใส่ให้กระเด็นออกไปได้ ถือเป็นอาวุธที่ร้ายกาจจริงๆ

--ตัวละครที่ดอนนี่ เหยิน แสดงใน SEVEN SWORDS ทำให้นึกถึงตัวละครประเภท “พระรองมาดเท่ผู้เงียบขรึม” ในละครจีนกำลังภายในบางเรื่อง อย่างเช่นในเรื่อง “เล็กเซียวหงส์” (นำแสดงโดยว่านจื่อเหลียง) ที่เล็กเซียวหงส์มีเพื่อนคนนึงที่มีนิสัยเงียบขรึม แต่มีความสามารถทางวิทยายุทธสูงมาก (จำไม่ได้ว่าตัวละครตัวนี้ชื่อ “ไซมึ้งชวยเสาะ” หรือเปล่า)

--อยากให้มีหนัง MY DATE WITH ANDREW (MCCARTHY) ออกมาบ้างค่ะhttp://www.andrewmccarthy.com/

--YUSUKE ISEYA น่ารักดี แต่ใน CASSHERN (A) ชอบผู้ร้ายที่เป็นลูกชายนายพลมากกว่า ดาราคนที่เล่นเป็นผู้ร้ายชื่อ HIDETOSHI NISHIJIMA

อ่านบทสัมภาษณ์ YUSUKE ISEYA ได้ที่
http://www.midnighteye.com/interviews/iseya_kameishi.shtml

--หนังญี่ปุ่นที่อยากดูตอนนี้คือเรื่อง LINDA LINDA LINDA (2005, NOBUHIRO YAMASHITA) อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.e.bell.ca/filmfest/2005/films_description.asp?id=150

--ชอบ HARMFUL INSECT (2001, A+) มากสุดๆ และก็ชอบ DON’T LOOK BACK (1999, AKIHIKO SHIOTA, A/A-) ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยชอบ YOMIGAERI (2002, B-)

--น้อง merveillesxx ในเว็บบอร์ด BIOSCOPE แนะนำหนังเกย์ญี่ปุ่นเรื่อง MAISON DE HIMIKO เอาไว้ค่ะ JO ODAGIRI ในหนังเรื่องนี้ ดูหล่อมากๆๆๆ
เข้าไปดูความหล่อของ JO ODAGIRI ได้ที่เว็บไซท์นี้
http://himiko-movie.com/


ตอบคุณอ้วน

ชอบที่คุณอ้วนแต่งเรื่องต่อจากข้อความของน้องบอสมากเลยค่ะ เป็นการหักมุมที่เจ็บปวดมาก อ่านแล้วนึกถึงอารมณ์แบบที่พบในหนังของ RAINER WERNER FASSBINDER อย่างเช่นเรื่อง FOX AND HIS FRIENDS (A)

เห็นคุณอ้วนแห่งเว็บบอร์ด SCREENOUT ชอบ JEAN RENOIR ก็เลยนึกถึงข้อความที่ JEAN-LUC GODARD เคยเขียนถึง JEAN RENOIR ค่ะ เป็นข้อความที่น่าสนใจมากๆ เพราะ GODARD เปรียบเทียบภาพยนตร์ของผู้กำกับระดับปรมาจารย์หลายคนกับศิลปะประเภทต่างๆ

“THERE WAS THEATRE (GRIFFITH), POETRY (MURNAU), PAINTING (ROSSELLINI), DANCE (EISENSTEIN), MUSIC (RENOIR). HENCEFORTH THERE IS CINEMA. AND THE CINEMA IS NICHOLAS RAY.”

(ทั้ง F.W. MURNAU และ SERGEI EISENSTEIN เป็นเกย์)

การเปรียบเทียบของโกดาร์ดในครั้งนี้อาจดูเหมือนเป็นการเปรียบเทียบตามอำเภอใจตัวเอง และดูเหมือนขัดกับหลักเหตุผล แต่จริงๆแล้วมันไม่เป็นเช่นนั้น โกดาร์ดเปรียบเทียบได้อย่างมีเหตุผลแล้ว

1.ถึงแม้ D.W. GRIFFITH ได้ชื่อว่าเป็นคนที่เกลียดละครเวทีเป็นอย่างมาก แต่เขาก็เกลียดเฉพาะละครเวทีในยุคสมัยของเขา เพราะสุนทรียภาพในหนังของเขาอย่างเรื่อง BIRTH OF A NATION และ ONE EXCITING NIGHT (1922) นั้นเหมือนกับสุนทรียภาพในละครเวทีเรื่อง RICHARD III และ AS YOU LIKE IT ถ้าหากกริฟฟิธรังสรรค์ภาพยนตร์ขึ้นมา เขาก็สร้างมันขึ้นด้วยแนวคิดเดียวกับที่เชคสเปียร์มอบให้แก่วงการละครเวที

D.W. GRIFFITH คือผู้ที่สร้าง “SUSPENSE” ขึ้นด้วยแนวคิดเดียวกับที่ CORNEILLE สร้าง“SUSPENSION”

อ่านประวัติของ PIERRE CORNEILLE นักเขียนบทละครเวทีเจ้าของบทประพันธ์ LE CID (1637) ได้ที่
http://www.discoverfrance.net/France/Theatre/Corneille/corneille.shtml

รูปจากดีวีดี SALLY OF THE SAWDUST (1925) ที่กำกับโดย D.W. GRIFFITH
http://images.amazon.com/images/P/6305211264.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


2.การบอกว่าภาพยนตร์ของ JEAN RENOIR คล้ายกับดนตรี และภาพยนตร์ของ ROBERTO ROSSELLINI คล้ายกับจิตรกรรม ก็เป็นการเปรียบเทียบที่แปลกประหลาด เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า RENOIR ชอบจิตรกรรม แต่ ROSSELLINI เกลียดการวาดภาพ

อย่างไรก็ดี การที่ GODARD พูดเช่นนี้ เป็นเพราะว่า JEAN RENOIR ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง THE RIVER มีความคล้ายคลึงกับ MOZART และ ROSSELLINI ผู้กำกับ EUROPA 51 มีความคล้ายคลึงกับ VELAZQUEZ

หรือถ้าจะพูดง่ายๆก็คือว่า JEAN RENOIR ต้องการนำเสนอ “จิตวิญญาณ” ในขณะที่ ROSSELLINI ต้องการนำเสนอ “CHARACTER”

อ่านประวัติของ DIEGO VELAZQUEZ (1599-1660) จิตรกรชื่อดังได้ที่
http://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/velazquez/

ภาพ THE FORGE OF VULCAN (1630) ของ VELAZQUEZ
http://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/velazquez/velazquez.forge-vulcan.jpg

รูปของ EUROPA 51
http://www.culturalianet.com/imatges/articulos/8765-1.jpg



3.การเปรียบเทียบของ GODARD ในครั้งนี้ เป็นความพยายามที่จะพูดถึงสิ่งที่อยู่ลึกที่สุดในตัวผู้กำกับแต่ละคน เป็นการพูดถึงลักษณะสำคัญในความสามารถทางการสร้างสรรค์ของผู้กำกับคนนั้น

ในภาพยนตร์ของ JEAN RENOIR ตัวเลข “3” สอดคล้องกับ TEMPO

แต่ในภาพยนตร์ของ SERGEI EISENSTEIN ตัวเลข 3 สอดคล้องกับ SPATIAL OBSESSION

ภาพยนตร์ของไอเซนสไตน์ เหมือนกับ “การเต้นรำ” เพราะว่าสิ่งที่ไอเซนสไตน์ต้องการค้นหาในจิตใจของมนุษย์และแก่นแท้ของสรรพสิ่ง ก็คือสิ่งที่เรียกกันว่า “THE IMMOBILITY WITHIN MOVEMENT”

4.ELENA AND HER MEN (1956) คือหนังของ JEAN RENOIR ที่มีความเป็น MOZART มากที่สุด มากเสียยิ่งกว่า RULES OF THE GAME เพราะความเหมือนในครั้งนี้เป็นความเหมือนในด้านปรัชญา ไม่ใช่ความเหมือนแค่ในระดับผิวหน้า

ฌอง เรอนัวร์ช่วงที่กำลังเสร็จจากการถ่ายทำ FRENCH CANCAN และกำลังเตรียมที่จะถ่ายทำ ELENA AND HER MEN ไม่ได้แตกต่างไปจากโมสาร์ทขณะที่เสร็จจากการแต่ง CONCERTO FOR CLARINET และกำลังจะแต่ง THE MAGIC FLUTE เพราะ “เนื้อหา” ของงานเหล่านี้มี IRONY AND DISGUST เหมือนกัน และ “รูปแบบ” ของงานเหล่านี้มีความกล้าหาญและความเรียบง่ายเหมือนกัน

(ข้อความข้างบนมาจากหนังสือ GODARD ON GODARD)

ดูรูปจากดีวีดีหนัง ELENA AND HER MEN ได้ที่
http://www.dvdbeaver.com/film/DVDReview3/renoirbox1.htm
http://www.dvdbeaver.com/film/DVDReview3/renoir/elena-screen1.jpg

No comments: