Saturday, August 05, 2006

THE LAST RICE FARMER (A+)

ตอบคุณ TARENCE

ไม่รู้ว่าคุณ TARENCE ได้ไปดู DRAGON TIGER GATE (2006, WILSON YIP) หรือเปล่า ดิฉันยังไม่ได้ไปดูเลยค่ะ ไม่รู้ว่าควรไปดูดีหรือไม่ เพราะถึงแม้ดิฉันจะอยากได้เซียะถิงฟงกับ SHAWN YUE มาเป็นสามีของตัวเองอย่างมากๆ แต่เคยดูหนังของ WILSON YIP มาแล้วสองเรื่อง และไม่ประทับใจกับหนังสองเรื่องนี้เท่าไหร่ ก็เลยทำให้ยังไม่กล้าเสี่ยงไปดู DRAGON TIGER GATE

อ่านความเห็นของคุณตี๋หล่อมีเสน่ห์ที่มีต่อ DRAGON TIGER GATE ได้ที่
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=storyinthepast&group=24&month=08-2006&date=02&blog=1

ส่วนหนังสองเรื่องของ WILSON YIP ที่เคยดู ก็คือ THE WHITE DRAGON (2004, C) กับ 2002 (2001, B-) ที่นำแสดงโดยเซียะถิงฟง กับ STEPHEN FUNG


ตอบคุณเทวดาตกสวรรค์

ตอนที่ดู INVISIBLE WAVES ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ชายที่ถูกหลอกหลอนจากบาปผิดของตัวเอง ก็เลยทำให้นึกถึงหนังเรื่อง THE MACHINIST (2004, BRAD ANDERSON, A+) ด้วยเหมือนกันค่ะ รู้สึกชอบบทบาทการแสดงของ CHRISTIAN BALE ใน THE MACHINIST มากกว่า TADANOBU ASANO ใน INVISIBLE WAVES แต่ไม่ใช่เป็นเพราะอาซาโน่เล่นไม่เก่ง แต่เป็นเพราะบทของเบลเอื้อให้แสดงอารมณ์ได้มากกว่า แต่ถ้าหากเทียบกันโดยรวมๆแล้ว ก็รู้สึกชอบ INVISIBLE WAVES มากกว่า THE MACHINIST
http://images.amazon.com/images/P/B0007Y08QA.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1113373022_.jpg


ตอบน้องสะใภ้ PETER SARSGAARD

อยากดู POLTERGAY (2006, ERIC LAVAINE) มากๆเลยค่ะ สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าชอบ CLOVIS CORNILLAC อย่างมากๆ

อย่างไรก็ดี ไม่รู้เหมือนกันว่า POLTERGAY จะเป็นหนังที่เข้าทางตัวเองหรือเปล่า ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเพราะว่าดิฉันไม่ค่อยถูกโฉลกกับหนังตลกสักเท่าไหร่ และถ้าหากพูดถึงหนังฝรั่งเศสแล้ว ดิฉันก็ไม่ค่อยจะนึกถึงหนังตลกด้วย

ผู้กำกับหนังตลกชาวฝรั่งเศสที่ดิฉันชอบมีแค่ไม่กี่คน อย่างเช่น

1.JACQUES TATI

2.VALERIA BRUNI TEDESCHI ผู้กำกับ IT’S EASIER FOR A CAMEL (2003, A+++++)

รูปของ VALERIA BRUNI TEDESCHI จาก A PERFECT COUPLE (2005, NOBUHIRO SUWA)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/03/17/18446897.jpg


3.BERTRAND BLIER (1939) ผู้กำกับ BUFFET FROID (1979, A+)
http://www.imdb.com/name/nm0088397/
http://images.amazon.com/images/P/6305037221.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1122573294_.jpg


4.JACQUES BECKER (1906-1960) ผู้กำกับ ANTOINE AND ANTOINETTE (1947, A)
http://www.imdb.com/name/nm0065442/
http://ec3.images-amazon.com/images/P/6305239533.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056622848_.jpg


5.YVES ROBERT (1920-2002) ผู้กำกับ THE TALL BLOND MAN WITH ONE BLACK SHOE (1972, A+)
http://images.amazon.com/images/P/B00004RYXB.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1132056191_.gif


6.VALERIE LEMERCIER (1964) ผู้กำกับ FROM BEHIND (1999, A+) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาว (VALERIE LEMERCIER จาก FRIDAY NIGHT) ที่ปลอมตัวเป็นเกย์เพื่อตามหาพ่อที่เป็นเกย์
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00004VYD7.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V64967010_.jpg


7.CEDRIC KLAPISCH (1961) ผู้กำกับ THE SPANISH APARTMENT (2002, A+)
http://www.imdb.com/name/nm0458251/
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0000C9JFO.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1073415957_.jpg


8.COLINE SERREAU (1947) ผู้กำกับ THREE MEN AND A CRADLE (1985, A)
http://www.imdb.com/name/nm0785684/
http://images.amazon.com/images/P/B0009WFFWC.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1119394060_.jpg


9.PIERRE JOLIVET (1952) ผู้กำกับ ONLY GIRLS (2003, A)
http://www.imdb.com/name/nm0427136/

รูปนี้มาจากหนังเรื่อง ZIM AND CO. (2005, PIERRE JOLIVET)
http://www.bacfilms.com/site/zimandco/
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/79/87/18430340.jpg
Because of a motorcycle accident, a young man from the poor outskirts of Paris must find a steady job in order to avoid being sent to prison. He gets into more trouble trying to do that.


10.ETIENNE CHATILIEZ (1952) ผู้กำกับ LIFE IS A LONG QUIET RIVER (1988, A-)

รูปนี้มาจากหนังเรื่อง LA CONFIANCE REGNE (2004, ETIENNE CHATILIEZ)
http://www.imdb.com/title/tt0381104/
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/21/09/18392620.jpg


11.MARION VERNOUX (1966) ผู้กำกับ A HELL OF A DAY (2001, A-)
http://www.imdb.com/name/nm0894742/
http://images.amazon.com/images/P/B00005RTU3.01._SS400_SCLZZZZZZZ_V64967484_.jpg


หนังที่ได้ดูในวันพุธ-ศุกร์

1.UNITED 93 (2006, PAUL GREENGRASS, A++++++++++)
ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึง SOPHIE SCHOLL – THE FINAL DAYS เพราะหนังสองเรื่องนี้เป็นหนังที่เรารู้ตอนจบดีอยู่แล้วก่อนจะเข้าไปดูในโรง เพราะฉะนั้นหนังสองเรื่องนี้จึงไม่มีทางที่จะพึ่งพาการหักมุมหรือพึ่งพาการลุ้นระทึกว่าอะไรจะเกิดขึ้นในท้ายที่สุดได้เลย แต่การดูหนังสองเรื่องนี้กลับทำให้รู้สึกอินอย่างมากๆ และทำให้เราต้องตั้งคำถามกับตัวเองตลอดเวลาว่า “ถ้าเป็นเรา เราจะทำอย่างไรในสถานการณ์เช่นนั้น และหลังจากดูหนังเรื่องนี้แล้ว เราจะตัดสินใจเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ถ้าหากเราตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น” ดิฉันคิดว่าการดูหนังสองเรื่องนี้ทำให้ดิฉัน “เปลี่ยนไป” และอาจจะทำให้ตัวเองตัดสินใจอะไรบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมถ้าหากตกอยู่ในสถานการณ์บางอย่าง

อีกสิ่งหนึ่งที่ชอบมากๆในหนังสองเรื่องนี้ก็คือการที่หนังทั้งสองเรื่องนี้ไม่พยายามลงลึกไปในจิตใจตัวละครโดยไม่จำเป็น (ผู้กำกับอีกสองคนที่ไม่ชอบลงลึกไปในจิตใจตัวละคร ก็คือ ROBERT BRESSON กับ ALAIN ROBBE-GRILLET แต่ด้วยสไตล์ที่แตกต่างกันไป)

ดูหนังเรื่องนี้เสร็จแล้วทำให้ต้องกลับไปอ่านบทสัมภาษณ์ PAUL GREENGRASS ใน FILM COMMENT ใหม่อีกรอบ รู้สึกชอบวิธีการทำงานของเขาในหนังเรื่องนี้มากๆที่ให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตกับนักแสดงจำนวนมากมีส่วนร่วมในบทภาพยนตร์ และชอบการที่เขาได้เรียนรู้อะไรบางอย่างในระหว่างฝึกซ้อมการแสดงด้วย

FILM COMMENT ฉบับเดือนพ.ค.-มิ.ย.ที่มีบทสัมภาษณ์ PAUL GREENGRASS มีขายที่ร้านคิโนะคุนิยะ สาขาสยามพารากอน
http://www.filmlinc.com/fcm/mj06/mayjune.htm

อ่านบทความที่ GAVIN SMITH บรรณาธิการ FILM COMMENT เขียนถึง UNITED 93 ได้ที่
http://www.filmlinc.com/fcm/mj06/united93.htm

the events down below are reenacted, with a number of real-life participants playing themselves, most notably the head of the National Air Traffic Control Center, Ben Sliney, the man at the eye of the 9/11 hurricane.

As such, its moral stance is that of a somber, uncompromising anti-spectacle.

Greengrass’s film is many other things besides: a cathartic act of bearing witness, an experiment in therapeutic reenactment, an anti-procedural, a meditation on the agonizing limits of communication—and a memorial.

เนื้อหาของ UNITED 93 ในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินที่ต้องรับมือกับเหตุการณ์ก่อการร้ายที่วุ่นวายทำให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง GAS ATTACK (2001, KENNETH GLENAAN, A++++++++++) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการก่อการร้าย และมีฉากเจ้าหน้าที่ราชการด่ากันแหลกเหมือนกัน นอกจากนี้ จุดเด่นของ GAS ATTACK ยังรวมถึงการเล่าเรื่องผ่านทางกล้องทีวีวงจรปิดในหลายๆฉากด้วย ซึ่งจุดนี้เดาว่าน่าจะคล้ายกับหนังเรื่อง RED ROAD (2006, ANDREA ARNOLD) และ THE END OF VIOLENCE (1997, WIM WENDERS, A-)

อ่านบทวิจารณ์ SOPHIE SCHOLL – THE FINAL DAYS โดยคุณมโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ได้ในนิตยสาร FLICKS เล่มใหม่ล่าสุด และโดยคุณ RIVERDALE ได้ที่ http://riverdale-dreams.blogspot.com

ส่วนหนังกลุ่ม POST 9/11 ที่อยากดูที่สุดในตอนนี้ คือ THE HAMBURG LECTURES (2006, ROMUALD KARMAKAR) ที่มีความยาว 133 นาที และนำเสนอบทพูดของ MOHAMMAD FAZAZI ซึ่งเป็น IMAM ของมัสยิดใน HAMBURG ซึ่งเป็นมัสยิดที่นักจี้เครื่องบินในเหตุการณ์ 9/11 หลายคนชอบไป โดย KARMAKAR (1965) ให้นักแสดงชื่อ MANFRED ZAPATKA มาอ่านบทพูดของ FAZIZI ให้ผู้ชมฟัง และหนังทั้งเรื่องไม่มีอะไรมากกว่านี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้พิจารณาสิ่งที่ FAZAZI พูดได้อย่างเต็มที่

OLAF MOLLER นักวิจารณ์ของ FILM COMMENT ให้ความเห็นว่า THE HAMBURG LECTURES ทำให้ผู้ชมได้พิจารณาอย่างตั้งอกตั้งใจว่า DEMOCRACY กับ DICTATORSHIP แตกต่างจากกันอย่างไรบ้าง

วิธีการกำกับของ KARMAKAR ใน THE HAMBURG LECTURES มีความคล้ายคลึงกับหนังเรื่องอื่นๆของเขา อย่าง THE HIMMLER PROJECT (2000) และ A FRIENDSHIP IN GERMANY (1985) เพราะเขาต้องการให้ผู้ชม “คิด” ตลอดเวลาที่ได้ดูหนังของเขา ไม่ใช่ทำให้ผู้ชม “เชื่อ” ในสิ่งที่ปรากฏต่อหน้า เพราะฉะนั้นในหนังของเขา MANFRED ZAPATKA จึงอ่านบทพูดของตัวเองอย่างผิดๆถูกๆ และอ่านด้วยน้ำเสียงราบเรียบ แทนที่จะพยายามอ่านด้วยสำเนียงและท่าทางให้เหมือนกับ FAZAZI เพราะ KARMAKAR เชื่อว่า THE “INCORRECT” WAY OF READING WOULD MAKE PEOPLE HEAR THE TRUE MEANING OF THE WORDS

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ THE HAMBURG LECTURES ได้ที่
http://www.onthemedia.org/transcripts/transcripts_033106_continental.html
http://www.cantonrep.com/index.php?ID=272220
The effect at first is disconcerting, especially when Zapatka reads Fizazi's arcane interpretations regarding fasting, spotting a full moon, and questions such as: Can a woman fly alone from the Middle East to visit her husband in Germany?

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ROMUALD KARMAKAR ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/02/21/karmakar.html

รูปจากหนังเรื่อง 196 BPM (2003, ROMUALD KARMAKAR)
http://www.dvdes.ch/images/pics/b_1000033972.jpg

ปกดีวีดีหนังเรื่อง THE DEATHMAKER (1995, ROMUALD KARMAKAR)
http://images.amazon.com/images/P/B00005LAYT.03._SS500_SCLZZZZZZZ_V1057223101_.jpg

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนัง POST 9/11 ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/web2006/webboard/index-in.php?id=35637


2.THE LAST RICE FARMER (2005, YEN LAN-CHUAN + JUANG YI-TSENG, A++++)


3.JUMP! BOYS (2005, LIN YU-HSIEN, A+++++)
ชอบนักยิมนาสติกหนุ่มชาวไต้หวันในหนังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ชอบรูปร่างของเขามากๆ จุ๊บๆๆๆๆ ดูแล้วรู้สึกอิจฉาเด็กๆในหนังเรื่องนี้เป็นอย่างมากที่ให้นักยิมนาสติกหนุ่มล่ำมานั่งทับเป็นประจำ
http://www.asiaarts.ucla.edu/article.asp?parentid=26974
หนังเรื่องนี้เปิดฉายอีกรอบที่หอกลาง จุฬา ในวันเสาร์ที่ 5 ส.ค.เวลา 11.00-13.00 น.


4.BLUE CHA-CHA (2005, CHENG WEN-TANG, A+++++)
ดารานำหญิงสองคนในหนังเรื่องนี้แสดงได้อย่างสุดยอดมากๆ ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงหนังเกี่ยวกับผู้หญิงคลั่งรักเรื่อง FORGET ME (1994, NOEMIE LVOVSKY, A+++++++++++++++) ที่นำแสดงโดย VALERIA BRUNI TEDESCHI ดูแล้วตัดสินไม่ได้ว่านางเอกหนังสองเรื่องนี้ ใครบ้ามากกว่ากัน ตัวละครของ VALERIA อาจจะระเบิดอารมณ์มากกว่า แต่ดูแล้วน่าไว้วางใจกว่า ในขณะที่ตัวละครนางเอกของ BLUE CHA-CHA ดูนิ่งเงียบซึมกระทือ แต่ดูแล้วไม่น่าไว้วางใจเป็นอย่างมาก

CHENG WEN-TANG เคยกำกับหนังเรื่อง SOMEWHERE OVER THE DREAMLAND (2002, B-) ที่ดิฉันรู้สึกว่า “พยายามอย่างมากที่จะเหงา” แต่ไม่ทำให้ดิฉันรู้สึกเหงาตามไปด้วย แต่พอเขามาทำ BLUE CHA-CHA ที่ใช้ตัวเอกเป็นสาวบ้ากับสาวแก่ ดิฉันกลับรู้สึกอินไปด้วยอย่างมากๆ หนังทั้งสองเรื่องนี้มีจุดเด่นที่บรรยากาศเหงาๆเศร้าๆเหมือนกัน


5.FALL…IN LOVE (2005, WANG MING-TAI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0487262/
ดูรอบเดียวแล้วรู้สึกงงเต๊ก คิดว่าหนังเรื่องนี้อาจจะเหมาะฉายควบกับหนังของ YU LIK WAI


6.FISHING LUCK (2005, TSENG WEN-CHEN, A)
ดิฉันไม่ชอบเนื้อเรื่องของหนังเรื่องนี้เลย แต่การแสดงและจังหวะของบทหนังทำให้รู้สึกว่ามันปล่อยวางเป็นธรรมชาติพอสมควร


ข่าวน่าสนใจ
http://news.yahoo.com/s/ap/20060804/ap_on_re_us/phoenix_investigation

สหรัฐจับตัวฆาตกรโรคจิตได้สองคนในเมืองฟีนิกซ์ รัฐอริโซน่า โดยฆาตกรโรคจิตสองคนนี้ ซึ่งมีอายุ 33 ปีกับ 30 ปีใช้ปืนยิงคนโดยไม่มีสาเหตุใดๆทั้งสิ้นไปแล้ว 23 คน
The Serial Shooter targeted pedestrians and bicyclists on empty streets throughout the Phoenix area. Twenty-three people were shot, six fatally, and even horses and dogs were among the victims.


อย่างไรก็ดี ถึงแม้ตำรวจสามารถจับตัวฆาตกรโรคจิตสองคนนี้ได้แล้ว แต่ก็ยังมีฆาตกรโรคจิตอีกคนนึงที่ยังคงลอยนวลอยู่ในเมืองฟีนิกซ์ โดยฆาตกรรายนี้มีสมญานามว่า BASELINE KILLER
the crimes appear unrelated to the still-unsolved "Baseline Killer" cases: eight slayings and 11 rapes since August 2005.

อ่านข่าวเรื่องการลอบยิงสังหารประชาชนคนเดินถนนธรรมดาๆโดยไม่มีสาเหตุแล้ว ทำให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง THE PHANTOM OF LIBERTY (1974, LUIS BUNUEL, A+++++) ที่มีตัวละครเป็นฆาตกรโรคจิตประเภทนี้เหมือนกัน
http://images.amazon.com/images/P/B0007WFYC0.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1111198786_.jpg


--ตอนนี้มีภาพยนตร์เกย์สองเรื่องเปิดฉายในสหรัฐที่อยากดูมากๆ ซึ่งก็คือเรื่อง

1.THE NIGHT LISTENER (2006, PATRICK STETTNER)
http://www.thenightlistener-movie.com/getflash.html
http://pubimages.randomhouse.co.uk/getimage.aspx?id=0552142409&issue=1&size=largeweb&class=books
http://www.indiewire.com/people/nightlistenSTILL.jpg
http://sorenz.dk/The%20Night%20Listener%20pic3.jpg
http://sorenz.dk/The%20Night%20Listener%20pic2.jpg
http://sorenz.dk/The%20Night%20Listener%20pic4.jpg


2.SHOCK TO THE SYSTEM (2006, RON OLIVER)
http://www.advocate.com/exclusive_detail_ektid35094.asp
CHAD ALLEN ดาราเกย์ที่แสดงเป็นเกย์ใน SHOCK TO THE SYSTEM
http://www.standoutbeheard.org/wp-content/Chad_Allen_2A1.jpg
http://www.sliceoflaodicea.com/archives/allen.jpg
http://leganpromotions.net/db2/00128/leganpromotions.net/_uimages/chad.jpg

No comments: