Sunday, June 28, 2020

TOOK MY LOVE


ขอบันทึก moment ประทับใจในการได้เจอเพื่อนๆ cinephiles โดยบังเอิญในวันนี้

วันนี้เราเจอกับเพื่อน A, เพื่อน B และเพื่อน C โดยบังเอิญที่โรงหนัง หลังจากดูหนังเสร็จ เพื่อน A ก็พูดกับพวกเราว่า

“เมื่อวันก่อนไปเดินร้าน B2S มา เห็นหน้าปกฌอนอยู่บนปกหนังสือแล้วอารมณ์เสียมากๆ”

แล้วเพื่อน A กับ B ก็แยกไป หลังจากนั้นเพื่อน C ก็หันมาถามเราว่า

“คุณจิตรรู้ไหมครับว่า ทำไมเพื่อน A เขาถึงเกลียดฌอน จินดาโชติมากๆ”

มิสจิตร: 55555

(เพื่อน C เป็นคนที่ไม่เล่น facebook)
 ------------------------
A task given by Jumpol

- 10 albums that greatly influenced your musical taste

- 1 album per day for 10 consecutive days.

Day 5 -- ENERGIQUE (1992) by Bizarre Inc

เพลง TOOK MY LOVE ในอัลบัมนี้ ถือเป็นเพลงที่เปลี่ยนชีวิตของเรา

เราไปเที่ยวเธคครั้งแรกในช่วงฤดูร้อนปี 1993 ที่ Rome Club ในสีลมซอย 4 ก่อนหน้านั้นเราไม่เคยไปเที่ยวเธคเลย เพราะเราจน ไม่มีเงิน แต่อยู่ดีๆเพื่อนคนนึงก็พบว่ามันมีคูปองเข้า Rome Club ฟรี (หรือลดราคา เราจำไม่ได้แน่นอน) แถมไว้ในสมุดโทรศัพท์ พวกเราก็เลยเอาคูปองฟรีนี้ไปเที่ยวกัน

พอเข้าไปแล้วเราก็ตกตะลึงกับ "พลังที่แท้จริงของเพลง dance" มากๆ นึกถึงที่คนชอบพูดๆกันว่า พลังที่แท้จริงของหนังบางเรื่อง (แบบหนังอย่าง THE LAST EMPEROR) ต้องดูในโรงภาพยนตร์จอใหญ่ๆ ไม่ใช่ดูในจอทีวีเล็กๆ

เราเองก็หลงรักการฟังเพลง dance มาตั้งแต่ปี 1988 แต่ก็ไม่เคยเข้าเธคมาก่อน พอได้ฟังเพลง dance ในเธคเป็นครั้งแรก เราก็เลยรู้สึกตกตะลึงกับพลังของมันมากๆ เหมือนการฟังเพลง dance ทางวิทยุในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นการเจอกับอุซางิจัง แต่การฟังเพลง dance ในเธคเหมือนกับการเจออุซางิจังตอนแปลงร่างเป็น Sailor Moon แล้ว มันหนักกว่ากันมากๆ

แต่เข้าไปแล้ว เราก็ไม่กล้าเต้น ยืนอยู่ชั้นสองไปเรื่อยๆ ฟังเพลงไปเรื่อยๆเป็นเวลานาน

จนกระทั่ง Rome Club เปิดเพลง TOOK MY LOVE ซึ่งเป็นเพลงโปรดของเรานี่แหละ เราก็เลยอดรนทนไม่ไหว ต้องลงไปเต้นที่ชั้น 1 และก็เริ่มติดใจการเที่ยวเธคตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

พอเราเรียนจบ เริ่มหาเลี้ยงตัวเองได้ เราก็เลยเริ่มไปเที่ยว DJ STATION สีลมซอยสองบ่อยมาก มันกลายเป็นสิ่งเสพติด เป็นบ้านหลังที่สองของเรา บางเดือนเราไปเที่ยวถึง 11 คืนต่อเดือน บางคืนเที่ยวเสร็จ เราก็กลับมานอนที่ห้องตอนตีสามถึงตีห้า แล้วก็ออกไปทำงาน ไม่รู้ยุคนั้นทำไปได้ยังไง ไม่รู้ไปเอาเรี่ยวแรง กำลังวังชามาจากไหน

เราเสพติดการเที่ยว DJ Station อย่างรุนแรง มีบางเดือนเราชักหน้าไม่ถึงหลัง เงินเดือนไม่พอใช้ ต้องเอาของไปเข้าโรงจำนำ ต้องหยิบยืมเงินเพื่อนๆมาใช้ หนังโรงหลายๆเรื่องที่เข้าฉายในยุคปลายทศวรรษ 1990 เราก็ไม่มีเงินไปดู เราก็เลยยังไม่เคยดูหนังอย่าง CON AIR (1997, Simon West), ARMAGEDDON (1998, Michael Bay), COYOTE UGLY (2000, David McNally), etc. จนถึงปัจจุบันนี้ (แต่ยุคนั้นเราไปดูหนังเทศกาลนะ เพราะเทศกาลส่วนใหญ่ฉายหนังฟรี)


อย่างไรก็ดี พอถึงเดือนพ.ย.ปี 2000 เราก็เลิกไปเที่ยวเธค เพราะเราเริ่มอ้วนขึ้น พอเดินเข้าไปในดีเจ เพื่อนๆก็ถามว่า เราท้องเหรอ เราก็เลยสูญเสียความมั่นใจ กะว่าลดความอ้วนได้เมื่อไหร่ เราจะกลับไปเที่ยวอีก ปรากฏว่าเรามีแต่อ้วนขึ้นเรื่อยๆ ลดความอ้วนไม่สำเร็จสักที เราก็เลยไม่เคยได้กลับไปเที่ยวเธคหรือ DJ Station อีกเลยหลังจากคืนวันที่ 9 พ.ย.ปี 2000 เป็นต้นมา

เพลง TOOK MY LOVE ในอัลบัม ENERGIQUE ของ Bizarre Inc ก็เลยเหมือนกลายเป็น “จุดหักเห” สำคัญ หรือจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตเรา การได้ฟังเพลงนี้ใน ROME CLUB มันเหมือนเป็นจุดเริ่มต้นของ chapter ใหม่ในชีวิตเราที่กลายเป็นคนเสพติดการเที่ยวเธคในปี 1993 และ chapter นั้นของชีวิตเราก็สิ้นสุดลงในคืนวันที่ 9 พ.ย.ปี 2000


LOCAL COLOR

เห็นหลายคนคุยกันถึงตั๋วผี เราก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า เราเหมือนเกิดไม่ทันปรากฏการณ์นี้ 555 เหมือนเรามีประสบการณ์แค่ครั้งเดียวกับตั๋วผี นั่นก็คือ ตอนที่เราจะไปดูหนังเรื่อง."พลอยทะเล" (1987,  เชิด ทรงศรี) ที่โรงหนังสยาม แต่พอเราไปถึงหน้าโรง น่าจะประมาณตอน 9 โมงเช้า ปรากฏว่าตั๋วขายหมดไปแล้ว แต่มีคนยืนขายตั๋วผีอยู่หน้าโรง และเราก็ตัดสินใจไม่ซื้อตั๋วผี เพราะเรารู้สึกว่าโดนเอารัดเอาเปรียบ

ถ้าหากเราจำไม่ผิด วันนั้นเราเลยเดินไปดู THE GOLDEN CHILD (1986, Michael Ritchie) รอบ 10.00 น. ที่โรงแมคเคนนาแทน (แต่อาจจะจำผิดก็ได้นะ)

เหมือนหลังจากนั้น เราก็ไม่เคยเจอตั๋วผีอีกเลย อาจจะเพราะคนไทยไม่ได้แห่แหนไปดูหนังโรงมากเท่าแต่ก่อนแล้ว

(ภาพประกอบไม่เกี่ยวอะไรกับตั๋วผี 555)

THE SOUVENIR (2019, Joanna Hogg, UK, A+30)

ดูแล้วนึกว่าอังกฤษส่ง Joanna Hogg มาเป็นตัวแทน เพื่อตบกับ Mia Hansen-Love จากฝรั่งเศส, Maren Ade จากเยอรมนี และ Jirassaya Wongsutin จากไทย 55555 ในฐานะผู้กำกับหญิงที่จับสังเกตธรรมชาติของมนุษย์ได้อย่างแหลมคม, ละเอียดอ่อน และงดงามมากๆเหมือนกัน

THEY ARE FLYING (2008, Huang Chia-chun, Taiwan, documentary, A+30)

หนังสารคดีเกี่ยวกับสถานพินิจชายไต้หวัน ที่มีการให้เด็กๆขี่จักรยานล้อเดียวเป็นระยะทาง 1000 กิโลเมตรรอบเกาะไต้หวัน

subjects ของหนังเต็มไปด้วยหนุ่มๆไต้หวันอายุ 16-17 ปี ฮิฮิ มีหลายฉากที่เรามัวแต่เคลิ้มไปกับการจ้องตัว subjects บนจอ จนลืมอ่าน subtitles 555

สิ่งที่อยู่ในหัวตลอดเวลาขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ คือการจินตนาการว่า เราจะมีความสุขมากเพียงใดนะ ถ้าหากเราเป็น "อานจักรยาน" ที่เด็กหนุ่มๆไต้หวันเหล่านี้ขึ้นขี่ 55555

LOCAL COLOR (1977, Mark Rappaport, A+30)

1 สุดฤทธิ์ เนื้อเรื่องมันคือ melodrama แนว MELROSE PLACE ตัวละครมั่ว sex กันไปมา แต่ style มันประหลาดดี มันมีความตลกหน้าตายแบบ Wes Anderson + Nawapol Thamrongrattanarit, ความจิตวิทยาแบบ Ingmar Bergman และความพิลึกพิลั่นแบบ Raoul Ruiz และหนังเยอรมันยุค 1970

2.ชอบการที่ตัวละครคุยกันอย่างยาวนานในหลายๆฉาก เรื่องธรณีวิทยา และตำนานโบราณที่โหดร้าย ทั้งเรื่อง "เจ้าหญิงที่สวยที่สุดในโลก แต่ไม่มีหัว!?" และเรื่องเจ้าหญิงที่ฆ่าลูกของตัวเอง

Friday, June 26, 2020

SUGAR

RAIN (2020,  Kornkamol Janchalerm, music video, A+)

SPACY (1981, Takashi Ito, Japan, 10min, A+30)

ไม่รู้ใช้เทคนิคในการถ่ายทำและตัดต่อยังไง หนักมากๆ

STILL MOVIE (1978, Yoichi Nagata, Japan, 3min,  A+30)

BELIEVE เชื่อ (2020,  Sarocha Wattanawongsakul, short film, A+25)

หนังเล่าเรื่องแม่ลูกคู่นึงที่ถูกคนในหมู่บ้านกล่าวหาว่าเป็นปอบ

HANIBA (2020, Jirakan Sakunee, A+)

ดูแล้วนึกถึงพวกหนังแนว Guy Ritchie แต่เราไม่ได้ชอบหนังแนวนี้เท่าไหร่

 SUGAR (2020, Sarun Kositsukjaroen, short film, A+30)

หนังเกี่ยวกับ female serial killer ซึ่งเป็นตัวละครที่แทบไม่ค่อยเจอในหนังไทยสักเท่าไหร่ เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ชอบที่หนังเหมือนเลือกที่จะเป็น psychological study และเน้นบรรยากาศ, การจัดแสงสี, การใช้เพลงประกอบ แทนที่จะเน้นการสร้างอารมณ์ลุ้นระทึก, ความลึกลับ, ความสยอง คือหนังเปิดเรื่องด้วยการแสดงให้เห็นเลยว่า นางเอกเป็นฆาตกรโรคจิต และหนังก็เน้นอารมณ์ความรู้สึกขณะนางเอกอยู่ตัวคนเดียว โดยแทบไม่มีการทำให้คนดูลุ้นแต่อย่างใดว่า นางเอกจะฆ่าคนสำเร็จหรือไม่

แต่เหมือนตัวละครนางเอกดูมี “ความลอยๆ” หรือดูไม่หนักแน่นสมจริงซะทีเดียวนะ คือดูหนังเรื่องนี้แล้วจะนึกถึงหนังแบบ TROUBLE EVERY DAY (2001, Claire Denis) น่ะ ที่หนังจะมีความล่องลอย, หลอนๆ และไม่ได้เน้นความสมจริงแบบหนังอย่าง BAISE-MOI หรือ MONSTER (2003, Patty Jenkins)

อยากให้มีคนฉายหนังเรื่องนี้ควบกับ MIDNIGHT RAINBOW (2008, Patha Thongpan) และ NEW GENERATION เด็กโจ๋ (2008, Pakwan Suksomthin) ซึ่งเป็นหนังไทยที่พูดถึง female serial killer เหมือนกัน

Wednesday, June 24, 2020

CATARACT


ขอจดบันทึกไดอารี่ไว้ว่า วันอังคารที่ 23 มิ.ย.ถือเป็นหนึ่งในวันที่หนักที่สุดสำหรับเราในปีนี้

ตอนแรกเรากะว่าวันนี้เราจะไปดู THE SOUVENIR (2019, Joanna Hogg) ที่ Bangkok Screening Room แต่ก็ไม่ได้ไปดู เพราะช่วงเที่ยงๆบ่ายๆ เรารู้สึกว่าตาขวาเรามันมัวๆ เหมือนเห็นตัวอักษรมันซ้อนๆกัน เราก็เลยลองหยีตาข้างซ้าย เปิดตาข้างขวาข้างเดียว แล้วลองกลอกตาไปมา แล้วเราก็ตกใจมาก เพราะเราพบว่ามันเหมือนมีริ้วดำๆหลายอันมาบดบังการมองเห็นในตาขวาของเรา เหมือนรูปด้านล่างที่เราวาดไว้ คือถ้าเรามองตาขวาข้างเดียวตรงๆ เราจะไม่เห็นริ้วๆพวกนี้ แต่ถ้าหากเราหยีตาซ้าย แล้วกลอกตาขวาไปมา เราจะเห็นริ้วๆเหล่านี้มาบดบังการมองเห็นในตาขวา

เราลอง “เอามือปิดตาข้างซ้าย” แทนการหยีตาซ้าย แล้วลองทำแบบเดิม เราก็ไม่เห็นริ้วๆนี้ แต่เราหยีตาขวาไม่ได้ เราเลยลองเอามือปิดตาขวา แล้วกลอกตาข้างซ้ายไปมา เราก็ไม่เห็นอะไรผิดปกติในดวงตาข้างซ้าย

เราพบว่า ไอ้ริ้วๆที่เราเห็นในดวงตาข้างขวานี้ มันคล้ายกับอาการของคนที่เป็น “จอประสาทตาหลุดลอก” ตามภาพด้านบน ซึ่งนั่นคือสิ่งที่เราหวาดกลัวที่สุดในชีวิต เพราะมันเป็นสิ่งที่รักษายากมากๆ

เราก็เลยตัดสินใจไม่ไปดู THE SOUVENIR แล้ว และก็ตัดสินใจรีบไปหาหมอแทน เพื่อตรวจดูว่าดวงตาข้างขวาของเรามันเป็นอะไรกันแน่ แต่หมอมาตอน 5 โมงเย็น เราก็เลยใช้เวลาช่วงราว 1300-1700  น.อยู่กับความทุกข์ทรมานใจ นึกถึงนางเอก CLÉO FROM 5 TO 7 (1962, Agnès Varda) ที่ใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมงในการรอลุ้นว่าตัวเองจะเป็นมะเร็งหรือไม่

โชคยังดีที่หมอตรวจแล้วพบว่าจอประสาทตาเรายังดีอยู่ ยังไม่ฉีกขาดหรือหลุดลอก ส่วนอาการริ้วๆที่เราเห็นนั้น อาจจะเกิดจาก “ฟิล์มน้ำตาไม่เรียบ” ซึ่งถ้าหากเรามองแบบเฉียงๆ เราอาจจะเห็นริ้วๆอะไรแบบนี้ได้

แต่หมอก็พบว่าเราเป็นต้อกระจกในทั้งตาซ้ายและตาขวานะ โดยต้อกระจกในตาขวาจะใหญ่กว่าตาซ้าย หมอก็บอกว่า ถ้าหากมันรบกวนชีวิตประจำวันของเรา ก็ให้มาผ่าตัดต้อกระจกซะ แต่หลังจากผ่าตัดแล้ว ตาข้างนั้นก็ห้ามโดนน้ำนาน 1 เดือน และห้ามยกของหนักกับห้ามขยี้ตานาน 1 เดือนด้วย

เราก็เลยโล่งใจในระดับนึง เพราะสิ่งที่เราหวาดกลัวที่สุดในชีวิต ซึ่งก็คือ “จอประสาทตาหลุดลอก” ยังไม่เกิดขึ้น แต่เราก็กังวลใจกับต้อกระจกเหมือนกัน เราคงรอดูอาการไปเรื่อยๆก่อน แล้วค่อยตัดสินใจอีกทีว่ามันควรจะผ่าตัดได้แล้วยัง เพราะการ “ห้ามดวงตาโดนน้ำนาน 1 เดือน” นี่ ก็เป็นอะไรที่น่าจะลำบากมากๆเหมือนกัน เราคงต้องหยุดงานให้นานที่สุดในช่วงนั้น และคงพยายามอยู่แต่ในห้องให้มากที่สุด เพราะแค่การเดินไป 7-eleven มันก็เสี่ยงกับการที่เหงื่อจะออกและไหลเข้าลูกตาได้แล้ว

พอเสร็จจากการหาหมอ เราก็เลยไปถามร้านตัดผมในซอยว่า ถ้าหากเรามาสระผมที่ร้าน เขาคิดครั้งละเท่าไหร่ เขาก็บอกว่าคิดครั้งละ 80 บาท ส่วนสาเหตุที่เราไปถาม เพราะเรากะว่า ถ้าหากเราผ่าตัดต้อกระจกจริงๆ เราคงสระผมเองไม่ได้น่ะ น้ำคงจะไหลเข้าตาแน่ๆ ช่วง 1 เดือนนั้นเราคงต้องใช้วิธีมาสระผมที่ร้านแทน

ถ้าหากใครมีประสบการณ์เคยผ่าตัดต้อกระจก ก็มาเล่าให้เราฟังได้นะ อยากรู้เหมือนกันว่าหลังผ่าตัดแล้ว ต้องใช้ชีวิตยังไงเพื่อไม่ให้น้ำเข้าลูกตานาน 1 เดือน

Tuesday, June 23, 2020

I, DALIO

JOHN GARFIELD (2003, Mark Rappaport, documentary, A+25)

 หนังสารคดีเกี่ยวกับ John Garfield ผู้ได้ชื่อว่าเป็น sex symbol คนแรกที่เป็นหนุ่มชาวยิว

 I, DALIO – OR THE RULES OF THE GAME (2015, Mark Rappaport, documentary, A+30)

กราบมากๆ เราเคยดูการแสดงของ Marcel Dalio มาแล้วในหนังเรื่อง THE RULES OF THE GAME (1939, Jean Renoir) กับ THE GRAND ILLUSION (1937, Jean Renoir) แต่เราไม่เคยจดจำเขาได้มาก่อน  เขาไม่ได้เป็นดาราดังแบบ Jean Gabin และไม่ได้หล่อเหลาแบบ Louis Jourdan (GIGI) แต่หนังสารคดีเรื่องนี้ทำให้เราได้เห็นว่า ผลงานการแสดงของเขามีความน่าสนใจมากเพียงใด

Rappaport ชี้ให้เห็นว่า ตอนที่ Dalio (ซึ่งเป็นชาวยิวในฝรั่งเศส) เล่นหนังฝรั่งเศส เขามักได้รับบทเป็น “คนยิว” หรือบทคนเจ้าเล่ห์, นักหลอกลวง, นักทรยศหักหลัง แต่พอ Dalio หนีภัยนาซีไปสหรัฐ และได้เข้าไปเล่นหนังฮอลลีวู้ด เขาก็มักได้รับบทเป็น “แบบฉบับของชายฝรั่งเศส” ในสายตาของชาวสหรัฐ มันเหมือนกับว่าบทบาทของคุณในแต่ละสถานที่ มันขึ้นอยู่กับว่าคนอื่นๆมองคุณอย่างไร และคนอื่นๆก็มักจะมองคุณในจุดที่ว่า คุณแตกต่างจากพวกเขาอย่างไรบ้าง

ดูหนังสารคดีเรื่องนี้แล้วก็เลยนึกถึง GULLIVER’S TRAVELS ที่กัลลิเวอร์จะกลายเป็นยักษ์หรือมด ก็ขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบกับคนรอบข้าง ทั้งๆที่ตัวเขามีขนาดเท่าเดิมตลอดเวลา

THE DOUBLE LIFE OF PAUL HENREID (2017, Mark Rappaport, documentary, A+30)

หนังสารคดีที่พูดถึง Paul Henreid หนึ่งในดารานำใน CASABLANCA

Sunday, June 21, 2020

EMMA. (2020, Autumn de Wilde, UK, A+30)


EMMA. (2020, Autumn de Wilde, UK, A+30)

1.ชอบมากกว่า version Gwyneth Paltrow แต่ชอบน้อยกว่า CLUELESS (1995, Amy Heckerling)  แต่ก็ดีที่เหมือนกับผู้สร้างหนังเรื่องนี้รู้ว่า ยังไงเวอร์ชั่นของตัวเองก็ไม่มีทางสู้ CLUELESS ได้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเวอร์ชั่นนี้ก็เลยต้องสู้ด้วยสิ่งที่ CLUELESS สู้ไม่ได้ นั่นก็คือ costume design และ production design

คือเรา enjoy กับ costume design และการออกแบบฉาก, การถ่ายภาพในหนังเรื่องนี้มากๆน่ะ รู้สึกว่า costume design มันกระตุ้นให้เราอยากใส่ชุดแบบในหนังมากๆ นึกว่าพรศรี เดบูตอง 55555 และหลายๆฉากในหนังมันทำให้นึกถึง paintings มากๆ

2.ชอบมากๆที่หนังเลือกที่จะสร้างนางเอกที่ “นิสัยเลว” แต่คิดว่าตัวเองเป็น “คนดี เต็มเปี่ยมไปด้วยเจตนาที่ดี” เพราะเรารู้สึกว่าการสร้างนางเอกเป็น “คนดี” มันน่าเบื่อมากสำหรับเราน่ะ (เพราะฉะนั้นเราก็เลยมักจะไปอินกับนางอิจฉาและตัวประกอบในหนังหลายๆเรื่องแทน)

คือจริงๆแล้วเราก็ไม่ค่อยอินกับนิยายของ Jane Austen นะ เพราะนางเอกมันไม่ใช่ “คนแรงๆ” สักเท่าไหร่ แต่ก็ยอมรับว่าหนังที่สร้างจากนิยายของ Jane Austen มันสะท้อนธรรมชาติของมนุษย์ได้ดีกว่า “หนังน้ำเน่า” โดยทั่วไปน่ะ ทั้งๆที่มันมีบางจุดที่คล้ายคลึงกัน เพราะหนังน้ำเน่าก็มักจะมีความพาฝัน และจบลงด้วยการที่นางเอกสามารถจับเอาผู้ชายดีๆมาทำผัวเหมือนในนิยายของ Jane Austen เหมือนกัน แต่ในหนังน้ำเน่าหลายๆเรื่องนั้น ตัวละครนางเอกและตัวละครอื่นๆในหนังมันมักจะมีความเป็นสูตรสำเร็จ ไม่สามารถสะท้อนรายละเอียดที่น่าสนใจในธรรมชาติของมนุษย์ได้ นางเอกก็มักจะดีแสนดี นางอิจฉาหรือผู้ร้ายก็เป็น one dimension ไปเลย

แต่ในหนัง EMMA ทั้งสามเวอร์ชั่นที่เราได้ดูนี่ จะเห็นได้ชัดเลยว่า นางเอกไม่ใช่คนดี แต่เป็นตัวละครสีเทา มีหลายมิติ มีความซับซ้อนสูงมาก นึกว่าเป็นการนำเอาตัวละครนางอิจฉาอย่างตัวละคร Regina George ของ Rachel MacAdams ใน MEAN GIRLS (2004, Mark Waters) มาผสมเข้ากับ “อีเสือก” (Audrey Tautou) ใน AMÉLIE (2001, Jean-Pierre Jeunet) และผลที่ได้ก็คือ เราได้ตัวละครที่ซับซ้อนและน่าสนใจกว่า Regina และ Amélie เพราะ Emmaไม่ได้เป็นเพียงนางอิจฉาที่โง่ๆ และไม่ใช่นางเอกที่ “เสือกด้วยความบริสุทธิ์ใจ” เพียงอย่างเดียว

เราก็เลยชอบวิธีการสร้างตัวะครนางเอกแบบนี้ คือเนื้อแท้แล้วตัวละครนางเอกแบบนี้อาจจะเป็นคนดี แต่ตัวละครแบบนี้มักจะมีความเหี้ยบางอย่าง, มีข้อบกพร่องร้ายแรงในนิสัยใจคอ, ทัศนคติ หรือความคิดอะไรบางอย่าง และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเอง และแก้ไขข้อบกพร่อง, ความคิด และความเหี้ยของตัวเองได้ในที่สุด ซึ่งการลงลึกในธรรมชาติของมนุษย์แบบนี้ทำให้เราชอบหนังแบบนี้มากกว่าหนังน้ำเน่าโดยทั่วไป

3. ชอบฉากไคลแมกซ์ของหนังอย่างสุดๆ เราคิดว่าฉากไคลแมกซ์ของหนังคือฉากที่นางเอกเผลอหลุดปาก “พูดตรงๆในสิ่งที่ตัวเองคิด” เกี่ยวกับ Miss Bates (Miranda Hart) ออกไป

คือเราคิดว่าโดยปกติแล้ว ถ้าหากเป็นหนังน้ำเน่าโดยทั่วไป ฉากไคลแมกซ์มันมักจะเป็นฉากที่ลุ้นความรักระหว่างพระเอกนางเอกน่ะ อาจจะเป็นฉากแบบที่ว่า พระเอกจะเลือกใครดี, นางเอกจะเลือกใครดี, พระเอกจะวิ่งตามรถม้านางเอกทันหรือไม่, การสารภาพรักจะเกิดขึ้นยังไง, นางเอกจะรู้ใจตัวเองเมื่อไหร่ว่าเธออยากได้ใครเป็นผัวกันแน่, etc.

แต่ในหนังเรื่องนี้ ฉากสำคัญคือฉากที่นางเอกได้เรียนรู้ว่าตัวเองเหี้ยกับคนรอบข้างมากเพียงใดน่ะ มันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้เข้าทางเรามากกว่าหนังน้ำเน่าโดยทั่วไป เพราะหนังน้ำเน่าโดยทั่วไปมักจะให้ความสำคัญกับประเด็นที่ว่า “นางเอกจะจับพระเอกมาทำผัวได้หรือไม่” แต่ EMMA (และ CLUELESS) โฟกัสไปยังประเด็นที่ว่า “นางเอกที่คิดว่าตัวเองเป็นคนดี ทำดี ช่วยเหลือผู้อื่น จะรู้ตัวเมื่อไหร่ว่าตัวเองเป็นคนเหี้ยมากๆ”  

เพราะฉะนั้นถึงแม้ EMMA จะจบลงในแบบที่คล้ายกับหนังน้ำเน่า แต่การที่หนังเลือกฉาก climax แบบนี้ มันก็เลยเป็นอีกจุดที่ทำให้เรามองมันแตกต่างจากหนังน้ำเน่าโดยทั่วไป
4.แต่จริงๆแล้วเราคิดว่าฉาก climax ของ EMMA มัน dilemma ดีด้วยนะ เพราะในฉากนั้น นางเอกไม่ได้พูดโกหกอะไรเลยน่ะ เธอแค่พูดในสิ่งที่ตัวเองคิดจริงๆ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ขัดกับ “ธรรมเนียมปฏิบัติของผู้ดีในยุคนั้น” แต่พอเรามองมันเทียบกับการสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน เราก็จะรู้สึกว่าความผิดของนางเอกในฉากนั้น มันน่าสนใจดี

คือดูฉากนั้นแล้วนึกถึงหนังที่เราชอบมากเป็นอันดับสองของปี 2018 น่ะ ซึ่งก็คือเรื่อง THE MISANTHROPE เกลียดมนุษย์ (2017, Clément Hervieu-Léger, France) ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ Molière เพราะเหมือนในหนัง (ที่เป็นการถ่ายละครเวที) เรื่องนี้ มันตั้งคำถามถึงการรักษาสมดุลที่ยากลำบากระหว่าง “การพูดตรงๆ” กับ “การรักษามารยาท” น่ะ คือเราควรทำอย่างไรถ้าหากเราเกลียดนิสัยหรือการกระทำบางอย่างของเพื่อนเรา  ถ้าหากเราพูดตรงๆ เราก็อาจจะเสียเพื่อนไปตลอดกาล แต่เราควร tolerate สิ่งที่เราเกลียดชังในตัวเพื่อนเราจริงๆเหรอ คือเหมือน THE MISANTHROPE แตะประเด็น dilemma อะไรเหล่านี้ได้ละเอียดและเยอะมากๆ และพอเราดู EMMA. เราก็เลยชอบมากที่หนังเหมือนจะแตะประเด็นนี้ด้วยเหมือนกัน เราว่ามันเป็น dilemma ที่น่าสนใจดี

5.จำ Rupert Graves ไม่ได้เลย เขาแก่จนเราจำไม่ได้

6. สรุปว่า ในบรรดาหนังที่สร้างจากนิยายของ Jane Austen เรายังคงชอบ CLUELESS มากที่สุด ชอบมากกว่า SENSE AND SENSIBILITY และ PRIDE AND PREJUDICE (1995, Simon Langton) ด้วย

แต่ตัวละครนางเอกในหนัง Jane Austen ที่เราอินด้วยมากที่สุด คือนางเอกของ MANSFIELD PARK (1999, Patricia Rozema)

แต่เรายังไม่ได้ดู NORTHANGER ABBEY และ PERSUASION นะ และก็ยังไม่ได้ดู RUBY IN PARADISE (1993, Victor Nunez) ที่ดัดแปลงมาจาก NORTHANGER ABBEY ด้วย

A SIMPLE EVENT (1973, Sohrab Shahid Saless, Iran, A+30)

งดงามที่สุด หนังเหมือนเป็นการจับภาพชีวิตประจำวันของเด็กชายคนนึงไปเรื่อยๆ เขาทำกิจวัตรต่างๆซ้ำๆกันในทุกๆวัน แต่ดูแล้วมันงดงามมากๆ

เวลาเราอ่านหนังสือที่พูดถึง New German Cinema เราก็มักจะได้ยินชื่อของ Sohrab Shahid Saless เป็นประจำ (เพราะเขาย้ายออกจากอิหร่านไปทำหนังในเยอรมันตะวันตก) แต่เราก็ไม่เคยได้ดูหนังของเขาเสียที ในที่สุดก็ได้ดูแล้วในวันนี้


THE MAY LADY (1998, Rakhshan Banietemad, Iran, A+30)

งดงาม หนังเล่าเรื่องชีวิตผู้หญิงอิหร่านชนชั้นกลางวัย 40 กว่าปี เธออยากมีผัวใหม่ แต่ลูกชายของเธอขัดขวางเธอจากการมีผัวใหม่ เธอจะเลือกอะไรดีระหว่างความรักผู้ชายกับความรักลูกชาย

หนังเลือกอาชีพนางเอกได้ดีมากๆ เพราะนางเอกมีอาชีพเป็นคนทำหนังสารคดี เธอก็เลยต้องไปสัมภาษณ์ผู้หญิงอิหร่านหลายๆคนที่ต่างก็มีชีวิตบัดซบกันทั้งนั้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีลูกชายติดคุก คือการที่หนังเลือกอาชีพนางเอกแบบนี้มันทำให้หนังสามารถสะท้อนปัญหาผู้หญิงในสังคมอิหร่านได้ดีมากๆ ในแง่นึงมันสามารถเทียบได้กับหนังอย่าง RIDDLES OF THE SPHINX (1977, Laura Mulvey, Peter Wollen, UK) และ THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY—REDUPERS (1978, Helke Sander, West Germany) ที่สะท้อนปัญหาชีวิตผู้หญิงที่เป็น single mom ในแต่ละสังคมได้ดีมากๆเหมือนกัน

แต่คิดว่าอาชีพของนางเอกหนังเรื่องนี้ มันคงสะท้อนอาชีพของตัวผู้กำกับด้วยน่ะแหละ เพราะผู้กำกับหนังเรื่องนี้ก็เป็นผู้หญิงที่ทำหนังสารคดีด้วยเหมือนกัน
อันนี้เป็นหนังเรื่องที่สามของ Rakhshan ที่เราได้ดู ต่อจาก OUR TIMES...(2002, documentary) ที่เป็นการสัมภาษณ์ผู้หญิงอิหร่านหลายๆคนที่อยากเป็นประธานาธิบดี และ GILANE (2005)

A HIDDEN LIFE (2019, Terrence Malick, A+30)
ชอบการ contrast ระหว่างวิวทิวทัศน์ที่งดงามราวสรวงสวรรค์ของหมู่บ้านในหนัง กับความหีหมาของชาวบ้านในหนัง นึกว่าต้องส่งนางเอกจาก DOGVILLE เข้ามาจัดการคนในหมู่บ้านนี้
การ contrast ระหว่างธรรมชาติที่งดงาม กับความโหดร้ายของมนุษย์ ทำให้นึกถึง THE THIN RED LINE ด้วย
ดูแล้วทำให้กลับมาญาติดีกับ Malick อีกครั้ง 555 เพราะเรารักตัวละครในหนังเรื่องนี้ หลังจากเราจูนไม่ค่อยติดกับ THE TREE OF LIFE, TO THE WONDER, KNIGHT OF CUPS และ SONG TO SONG

----------------------
วันนี้ไปดู FRENCH WAVES (2017, Julian Starke, France, documentary) ที่ Alliance รู้สึกว่าเครื่องฉายหนังที่ Alliance น่าจะมีปัญหาใหญ่ ไม่รู้เราคิดไปเองหรือเปล่า เพราะในหลายๆฉากที่เป็นการสัมภาษณ์ subjects แบบ talking heads หนังมันขึ้น subtitles ภาษาอังกฤษมา 1 บรรทัด แต่เราคิดว่าจริงๆแล้วมันน่าจะขึ้นมา 2 บรรทัด เพราะ subjects พูดยาว แล้ว subtitles ที่ขึ้นมามันดูไม่ครบ มันเหมือน subtitles บรรทัดล่างหายไป ขึ้นมาแค่บรรทัดบน
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน (6 มิ.ย.) ตอนที่ Alliance ฉายหนัง animation เรื่อง MINGA AND THE BROKEN SPOON เราว่าเราก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน เหมือน English subtitles มันขึ้นมาแค่บรรทัดบน ไม่ขึ้นบรรทัดล่างมาให้ แต่ตอนนั้นเรานึกว่าอาจจะเป็นปัญหาที่ตัวไฟล์หนัง MINGA แค่เรื่องเดียว แต่พอคราวนี้เราก็เจอปัญหาแบบเดิมอีก
แต่สัปดาห์ที่แล้ว (13 มิ.ย.) Alliance ฉาย STARS BY THE POUND ก็ไม่มีปัญหาอะไรนะ มี subtitles ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และดูมันครบดี ประโยคไม่ขาดหาย
เสียดาย English subtitles ที่หายไปมากๆ คือตอนดู MINGA ปัญหามันไม่ร้ายแรง เพราะตัวละครพูดไม่เยอะ แล้วมันเล่าเรื่องด้วยภาพได้ แต่ FRENCH WAVES ที่ฉายวันนี้มันเป็นสารคดีแบบ talking heads น่ะ เพราะฉะนั้น English subtitles ที่ขึ้นมาไม่ครบนี่สร้างความเสียหายมากเหมือนกัน ฮือๆๆๆๆ

FANTASY ISLAND (2020, Jeff Wadlow, A+15)
ชอบปมของลูกชายที่มีพ่อเป็น hero รู้สึกว่าปมนี้สามารถเอามาดัดแปลงเป็นหนังดราม่าดีๆได้


Saturday, June 20, 2020

BEAUTIFUL THING (1996, Hettie Macdonald, UK, second viewing, A+30)


BEAUTIFUL THING (1996, Hettie Macdonald, UK, second viewing, A+30)

1.กราบ House Samyan ดีใจมากๆที่เขาเอาหนังเรื่องนี้มาฉาย เราได้ดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกที่ศาลาเฉลิมกรุงเมื่อ 20 กว่าปีก่อน และหนังเรื่องนี้ก็ขึ้นแท่น one of my most favorite gay films of all time ไปเลย นี่เป็นการดูครั้งที่สอง ดูแล้วรู้สึกเหมือนน้ำตาจะไหลตลอดเวลา

แต่เราคงไม่ให้หนังเรื่องนี้เข้าอันดับประจำปีของเราในปีนี้นะ เพราะเราถือว่ามันเคยติดอันดับสูงมากไปแล้วเมื่อ 20 กว่าปีก่อน เราไม่ได้ชอบมันมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ยังคงชอบมันอย่างสุดๆเหมือนเดิม

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไมอินกับหนังเรื่องนี้มากกว่าหนังเกย์วัยรุ่นเรื่องอื่นๆ อินมากกว่า “รักแห่งสยาม”, THE WOUNDED MAN (1983, Patrice Chéreau, France), TWO OF US (1988, Roger Tonge, UK), WILD REEDS (1994, André Téchiné), LIKE GRAINS OF SAND (1995, Ryosuke Hashiguchi, Japan), GET REAL (1998, Simon Shore), NICO AND DANI (2000, Cesc Gay, Spain), HANDSOME DEVIL (2016, John Butler, Ireland), CALL ME BY YOUR NAME (2017, Luca Guadagnino), LOVE, SIMON (2018, Greg Berlanti), GIRL (2018, Lukas Dhont, Belgium), etc.

ถ้าหากจะมีหนังเกย์วัยรุ่นเรื่องไหนที่เราอินหรือชอบมากพอๆกับเรื่องนี้ หนังเรื่องนั้นก็คงเป็น THE BLUE HOUR (2015, Anucha Boonyawatana) มั้ง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าหนังสองเรื่องนี้มันตรงข้ามกันไปเลย เหมือน BEAUTIFUL THING เป็นฝันดี เป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง ส่วน THE BLUE HOUR เป็นฝันร้าย เป็นคืนแรม 15 ค่ำ

2.ส่วนหนึ่งของความอินคงจะเป็นเพราะมันมาถูกที่ ถูกเวลาในชีวิตเราด้วยมั้ง เพราะเราก็เติบโตมากับนิตยสาร Gay Times เหมือนกับตัวละครในหนังเรื่องนี้ จำได้ว่าในยุคทศวรรษ 1990 เราซื้อนิตยสารนี้เป็นประจำที่ศูนย์หนังสือจุฬา เหมือนสื่อเกย์ในยุคนั้นเป็นอะไรที่หายากมากๆ มันเป็นยุคที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ต เราก็เลยต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้ผ่านทางนิตยสาร Gay Times ด้วยเหมือนกัน

3.ส่วนหนึ่งของความอินคงจะเป็นเพราะ “ฐานะ” ของตัวละคร และ “ความเจ็บปวด” ของตัวละครด้วย

4.พอมาดูอีกทีในยุคนี้ ก็รู้สึกว่าจุดเด่นของหนังคือคุณแม่ Sandra (Linda Henry), ตัวละครสาวผิวดำ Leah และความคลั่งไคล้ Mama Cass ของ Leah เพราะเรารู้สึกว่าถึงแม้ตัวละคร Jamie กับ Ste จะดีมากๆ, ดูสมจริง และเราอินกับสองตัวละครเกย์วัยรุ่นคู่นี้มากๆ แต่ตัวละครแบบ Jamie กับ Ste ได้กลายเป็นตัวละครที่เรามักจะพบบ่อยๆในหนังเกย์ไปแล้วน่ะ 555 เหมือนมันไม่ใช่ตัวละครที่ “โดดเด่น” อีกต่อไปแล้วในยุคนี้ ในขณะที่ตัวละคร Sandra มันยังคงดูมีเสน่ห์สุดๆ, Leah ก็ชิบหายมาก และจนถึงบัดนี้เราก็ยังไม่เคยเจอหนังเรื่องไหนที่คลั่งไคล้ Mama Cass เหมือนหนังเรื่องนี้

5.การใช้เพลง SIXTEEN, GOING ON SEVENTEEN ในหนังเรื่องนี้นี่ถือเป็นหนึ่งในการใช้เพลงประกอบหนังที่เราชอบที่สุดในชีวิตเลย

6.ดูแล้วนึกถึง Mike Leigh ในหลายๆจุดด้วย อย่างตัวละคร Sandra นี่ก็นึกว่าเป็นญาติห่างๆของ Cynthia (Brenda Blethyn) ใน SECRETS & LIES (1996, Mike Leigh) ส่วนครอบครัวของ Ste และย่านที่อยู่อาศัยของพวกเขาก็นึกว่าหลุดออกมาจาก MEANTIME (1983, Mike Leigh)

7.ชอบการปะทะกันของ Sandra กับ Leah ในฉากนึงมากๆ ที่ Sandra บอกว่า “ฉันกำลังจะเปิดผับ” แล้ว Leah ถามว่า “มีงานให้ทำไหม” แล้ว Sandra ก็ตอบว่า “ไม่มี แต่ถ้าหากฉันเปิดซ่องเมื่อไหร่ ฉันจะเรียกเธอมาทำงานก็แล้วกัน”


LETTER (2020, Nuchanart Junnum นุชนารถ จันทร์นุ่ม, 13min, A+5)

หนังโรแมนติกสูตรสำเร็จ

UNREQUITED LOVE (2020, Worrapol Kruarsa วรพล เครืออาษา, 11min, A+)

รู้สึกว่านางเอกฮามากๆ

Thursday, June 18, 2020

MOZART IN LOVE (1975, Mark Rappaport, 98min, A+30)


MOZART IN LOVE (1975, Mark Rappaport, 98min, A+30)

หนังโอเปร่า ดูแล้วนึกถึง THE DEATH OF MARIA MALIBRAN (1972, Werner Schroeter) ผสมกับ THE CHRONICLE OF ANNA MAGDALENA BACH (1968, Jean-Marie Straub + Danièle Huillet)

ชอบการใช้เสียงจริงของนักแสดงมาสลับกับเสียงร้องโอเปร่า

Wednesday, June 17, 2020

THE SILVER SCREEN: COLOR ME LAVENDER (1997, Mark Rappaport, documentary, A+30)


THE SILVER SCREEN: COLOR ME LAVENDER (1997, Mark Rappaport, documentary, A+30)

1.ดูเสร็จแล้วก็ก้มกราบจอ Mark Rappaport นี่น่าจะถือเป็น one of the greatest cinephiles on earth เลย ตอนนี้เราได้ดูหนังสารคดีที่เขากำกับมาแล้ว 8 เรื่อง และแต่ละเรื่องมันทำให้เราตระหนักว่า เรามีความรู้เรื่องหนังฮอลลีวู้ดแค่หางอึ่งเท่านั้นเอง เพราะหนังสารคดีแต่ละเรื่องของเขามันอัดแน่นไปด้วยข้อมูลความรู้และเกร็ดสาระอะไรต่างๆมากมายเกี่ยวกับหนังฮอลลีวู้ดยุคเก่าที่เราไม่เคยดูมาก่อน โดยเฉพาะ COLOR ME LAVENDER นี่น่าจะพูดถึงหนังฮอลลีวู้ดราว 100 เรื่องที่เราไม่เคยดูมาก่อน และมันไม่ได้พูดถึงแต่หนังฮอลลีวู้ดดังๆด้วย แต่มันพูดถึงหนังฮอลลีวู้ดมากมายที่อาจจะไม่ได้โด่งดังแบบหนังของ Hitchcock หรืออาจจะไม่ได้มีคุณค่าทางศิลปะในสายตาของนักวิจารณ์ แต่หนังฮอลลีวู้ดเหล่านั้นมันก็มีอะไรน่าสนใจในตัวมันเอง

2.ชอบสุดๆที่ COLOR ME LAVENDER มันทำให้เราเพิ่ง “รับรู้การมีอยู่” ของดาราประกอบบางคนที่เราน่าจะเคยเห็นเขามาแล้วในหนังฮอลลีวู้ดบางเรื่อง แต่เราไม่เคยสนใจดาราประกอบเหล่านี้ เราอาจจะเคยเห็นชื่อพวกเขาบนจอ แต่เราไม่เคยรู้ว่าชื่อที่เราเห็นบนจอนั้น มันคือตัวประกอบตัวไหนในหนังกันแน่

COLOR ME LAVENDER เน้นพูดถึง Clifton Webb, Walter Brennan และ Wendell Corey และมันช่วยให้เราจดจำพวกเขาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากๆ

3.COLOR ME LAVENDER พูดถึง “ดาราดัง” หลายคนในยุคเมื่อ 70 ปีก่อนด้วย ซึ่งก็เป็น “ดาราดัง” ที่เราแทบไม่เคยดูหนังของพวกเขามาก่อนเช่นกัน อย่างเช่น Randolph Scott, Danny Kaye, Bob Hope และ Bing Crosby

4.นอกจากหนังสารคดีของ Mark Rappaport จะกระตุ้นให้เราอยากดูหนังฮอลลีวู้ดยุคเก่าอีกมากมายหลายร้อยเรื่องแล้ว ม้นยังกระตุ้นให้เราจินตนาการว่า อยากให้มีคนสร้างหนัง essay film แบบนี้กับหนังไทย+ละครทีวีไทยด้วย 55555 อย่างเช่น อยากให้มีคนสร้างหนัง essay film เกี่ยวกับ “อัญชลี ไชยศิริ” , เกี่ยวกับ “ชนะ ศรีอุบล”, เกี่ยวกับ “อรสา พรหมประทาน”,  เกี่ยวกับ “งู” ในหนังไทยและละครไทย, เกี่ยวกับ “กะหรี่” ในหนังไทย, เกี่ยวกับ “ฉากสมบัติ เมทะนี ถอดเสื้อ” ในหนังไทย, เกี่ยวกับเสียงพากย์ของจุรี โอศิริในหนังไทย, etc.

คือเหมือนการดูหนังของ Mark Rappaport มันช่วยกระตุ้นให้เราดูหนังได้สนุกขึ้นอีกมากน่ะ คือแทนที่เราจะมองแค่ว่า หนังแต่ละเรื่องกำกับโดยใคร, ใครคือพระเอก, ใครคือนางเอก, พล็อตหลักคืออะไร หนัง essay film ของ Mark Rappaport มันแสดงให้เห็นเราเห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างบทบาทของนักแสดงประกอบในหนังแต่ละเรื่อง, การปรากฏซ้ำๆกันของ “อุปกรณ์ประกอบฉาก” ในหนังหลายๆเรื่อง, ความคล้ายคลึงกันของฉากบางฉากในหนังหลายๆเรื่อง, การที่ฉากบางฉากในหนังบางเรื่องสามารถถูกผู้ชม “ตัด” ออกจากหนัง แล้วนำฉากนั้นไปใส่บริบทใหม่และจินตนาการต่อเติมใหม่ได้ และการที่หนังหลายๆเรื่องไม่ได้มีเนื้อหาเชื่อมโยงกัน แต่มีความเชื่อมโยงกันบางอย่างในจินตนาการของผู้ชม ซึ่งอะไรแบบนี้นี่มันคือสิ่งที่ตรงใจเราอย่างสุดๆเลย

5.หนัง essay film ของ Mark Rappaport 8 เรื่องที่เราดูมาแล้ว คือ

5.1 ROCK HUDSON’S HOME MOVIES (1992)
5.2 FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG (1995)
5.3 THE SILVER SCREEN: COLOR ME LAVENDER (1997)
5.4 BECOMING ANITA EKBERG (2014)
5.5 THE VANITY TABLES OF DOUGLAS SIRK (2014)
5.6 MAX & JAMES & DANIELLE... (2015)
5.7 OUR STARS (2015)
5.8 THE EMPTY SCREEN (2017)

6. THE SILVER SCREEN: COLOR ME LAVENDER มีให้ดูใน vimeo แบบเสียเงินนะ (ราวๆ93 บาท)

XENOGENESE (1981, Akihiko Morishita, Japan, 7min, A+30)

MUR 19 (1966, Mark Rappaport, short film, A+30)
ชอบที่หนังทำเหมือนกับว่า ความรักระหว่างพระเอกกับแฟนสาวครองสัดส่วนเพียง 20% ของชีวิตพระเอกเท่านั้น ในขณะที่พระเอกใช้เวลาว่างอีก 80% ที่เหลือไปกับการเดินตามพิพิธภัณฑ์ และการครุ่นคิดถึงปรัชญาชีวิต

THE CIRCLE CLOSES (2015, Mark Rappaport, documentary, A+30)

ชอบการพูดถึง “เชือกกระโดด” ใน VIRIDIANA (1961, Luis Buñuel) เพราะมันก็เป็นสิ่งที่ติดตาเรามากๆใน VIRIDIANA เหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่ามันมีความสำคัญยังไงกันแน่

ชอบการพูดถึง “กระเบื้องถ้วยกะลาแตก” ใน THE BIRDS (1963, Alfred Hitchcock) และ ALL THAT HEAVEN ALLOWS (1955, Douglas Sirk) ด้วย เพราะเราเคยดูหนังสองเรื่องนี้แล้ว แต่เราไม่เคยสนใจ “กระเบื้องถ้วยกะลาแตก” ในหนังสองเรื่องนี้มาก่อนเลย

Sunday, June 14, 2020

STARS BY THE POUND (2018, Marie-Sophie Chambon, France, A+20)


STARS BY THE POUND (2018, Marie-Sophie Chambon, France, A+20)

นางเอกเป็นสาววัยรุ่นที่อยากเป็นมนุษย์อวกาศ แต่เธอเชื่อว่าการที่เธออ้วนจะส่งผลให้เธอเป็นมนุษย์อวกาศไม่ได้ เธอก็เลยเกิดปมทางจิตอย่างรุนแรง

เป็นหนังที่มีบางจุดที่เจ็บปวดมากๆ โดยเฉพาะฉากที่นางเอกหาว่าแม่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เธออ้วน และฉากที่เพื่อนนางเอก ซึ่งเป็นสาวนั่งรถเข็นมีชายหนุ่มมาจีบ แต่พอเขาเห็นว่าเธอนั่งรถเข็น เขาก็เลยเหมือนจะถอยออกไป

แต่หนังเหมือนมีความสูตรสำเร็จไปหน่อย ดูแล้วนึกถึง MURIEL’S WEDDING (1994, P.J. Hogan) ผสมกับ GIRL, INTERRUPTED (1999, James Mangold) ผสมกับ PLEASE STAND BY (2017, Ben Lewin)

BABA YAGA (2020, Svyatoslav Podgaevskiy, Nathalia Hencker, Russia, A-)

หนังน่าเบื่อมาก 555 เราชอบช่วงแรกของหนังนะ ดูแล้วนึกถึง THE GUARDIAN (1990, William Friedkin) ผสมกับ THE BABY’S ROOM (2007, Álex de la Iglesia, Spain) ผสมกับ IT (2017, Andy Muschietti) ผสมกับ THE FORGOTTEN  (2004, Joseph Ruben) แต่ทำไมมันผสมกันแล้วกลายเป็นแกงจืด แทนที่จะกลายเป็นอาหารรสชาติจัดจ้านอย่างที่มันควรจะเป็น  โธ่ เสียดายจัง

Saturday, June 13, 2020

FORGETTING VIETNAM (2015, Trinh T. Minh-ha, Vietnam, documentary, A+30)


FORGETTING VIETNAM (2015, Trinh T. Minh-ha, Vietnam, documentary, A+30)

เพิ่งได้ดูหนังของ Trinh T. Minh-ha เป็นครั้งแรก รู้สึกเหมือนได้ไปเที่ยวเวียดนาม 555 เพราะตัวภาพในหนังเรื่องนี้เป็นเหมือนการร้อยเรียงวิวทิวทัศน์ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ทิวทัศน์ของสถานที่ท่องเที่ยว แต่เป็นภาพบ้านเมืองทั่วๆไป, ชาวบ้าน และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติในเวียดนาม

เหมือนหนังพยายามจะโยงมันเข้ากับประวัติศาสตร์สงครามเวียดนาม แต่เรารู้สึกเหมือนมันเชื่อมกันไม่ค่อยได้ยังไงไม่รู้ หรือหนังต้องการจะบอกว่า คนเวียดนามในปัจจุบันเหมือนจะลืมสงครามเวียดนามไปแล้ว เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

วิธีการของผู้กำกับก็ประหลาดดี เพราะเธอจะใส่ text เข้ามาเยอะมาก แต่มันดูก้ำกึ่งระหว่างความเป็นกวี กับการเน้นสาระความรู้ คือ text ในหนังเรื่องนี้เหมือนเป็นการให้ข้อมูลนิดๆหน่อยๆ + ความเป็นกวี +กระแสสำนึก ซึ่งเราว่ามันเป็นอะไรที่แปลกดี เพราะส่วนผสมแบบนี้เราไม่ค่อยเจอในหนังเรื่องอื่นๆ

คือดูแล้วจะนึกถึงหนังบางเรื่องที่นำเสนอ “ภาพสถานที่” และให้ข้อมูลผ่านทางเสียง voiceover หรือ text เหมือนกัน อย่างเช่นหนังเรื่อง

1.LISTENER’S TALE (2007, Arghya Basu, India)
2. LONDON (1994, Patrick Keiller)

แต่ในบรรดาหนังสามเรื่องนี้ เราชอบ LISTENER’S TALE มากที่สุด เพราะมันให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “สิกขิม” ได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอัน และดนตรีประกอบของมันไพเราะเพราะพริ้งสุดๆ ทำให้เราตกอยู่ใน “ภวังค์” อย่างรุนแรง  คือเหมือน LISTENER’S TALE เป็นหนังที่ได้ทั้งสาระและทรงพลังทาง “อารมณ์” สำหรับเราน่ะ

ส่วน FORGETTING VIETNAM มันดูเหมือนยังขาดพลังทางอารมณ์อะไรบางอย่าง เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้น้อยกว่า LISTENER’S TALE