Monday, February 28, 2022

UNTITLED GHOST (2021, Thanit Yantrakovit, Areeda Arayarungroj, 39min, A+30)

 

UNTITLED GHOST (2021, Thanit Yantrakovit, Areeda Arayarungroj, 39min, A+30)

คนเย็ดผีเย็ดคน

 

1.ชอบไอเดียหลาย ๆ อย่างในหนังมาก ๆ ชอบที่มันเหมือนเป็นหนังที่อาจจะมีประเด็นทางการเมือง แต่ทำออกมาในแนวทางของตัวเองที่ไม่ซ้ำแบบใคร เพราะมันไม่ได้เป็นหนังอาร์ตนิ่งช้า และเนื้อหาของหนังจริง ๆ แล้วจะทำออกมาให้เป็น horror หรือตลก หรือไซไฟแบบชัด ๆ ไปเลยก็ได้ แต่หนังก็ไม่ได้เลือกที่จะเน้นอารมณ์ horror ให้ชัด ๆ และก็ไม่ได้เน้นอารมณ์ตลกให้ชัด ๆ ความเป็นไซไฟของมันก็ไม่ชัด เราก็เลยชอบมาก ๆ ที่ตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เรารู้สึกว่ามันไม่พยายามจำกัดตัวเองให้อยู่ใน genre ใด genre นึงอย่างชัดเจน

 

ถ้าเปรียบเทียบกับหนังการเมืองไทยด้วยกัน เราว่ามันอาจจะมีความกวนตีน ขำ ๆ ทีเล่นทีจริง อาร์ตแต่ไม่นิ่งช้า ซึ่งหนังของ Sorayos Prapapan, Chulayarnnon Siriphol, Ratchapoom Boonbunchachoke ก็จะมีลักษณะแบบนี้เหมือนกัน แต่หนังของทั้ง 3 คนนี้และหนังเรื่องนี้ต่างก็มีความแตกต่างจากกันเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะเป็นหนังกวนตีนการเมืองไทยเหมือนกัน

 

เอาจริง ๆ แล้วเราว่าประเด็นการเมืองในหนังเรื่องนี้เราก็อาจจะไม่เข้าใจและไม่ได้ประทับใจอะไรมากนะ แต่เราประทับใจความไม่จำกัด genre ของมัน และความเป็นตัวของตัวเองของหนังมาก ๆ

 

2.ดนตรีประกอบดีสุด ๆ

 

3.นางเอกก็เล่นดีมาก ๆ

 

4.การออกแบบท่าทาง (ไม่รู้จะเรียกว่า choreography ได้หรือเปล่า) ในพิธีไล่ผีในหนังเรื่องนี้ก็ดีมาก เหมือนมันต้องออกแบบให้ erotic แบบพอดิบพอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป

 

5.ชอบการใช้ “สไตล์เก่า ๆ” ในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ทั้งโฆษณาทางทีวีแบบโบราณ, คลิปที่ดูคล้ายรายการโทรทัศน์แบบโบราณ

 

6.การใช้กระจกร้าวในหนังเรื่องนี้ก็ดีมาก ๆ

 

SONGS OF OBLIVION (2019-2020, Hui Ye, video installation, A+30)

วิดีโอ 2 จอที่ Jim Thompson ชอบสุด ๆ แต่เป็นสองจอที่ดูพร้อมกันไม่ได้นะ มันต้องดูทีละจอ น่าจะใช้เวลาดูรวมกันราว 25-30 นาที

 

วิดีโอนี้มีความเป็นหนังสารคดี เราไม่แน่ใจว่ามันพูดถึงเกาะนึงในไต้หวันหรือเปล่า เป็นเกาะที่มีชาวบ้านอยู่ และเป็นเกาะที่เคยใช้คุมขังนักโทษต่าง ๆ และนักโทษที่เป็นทหารผ่านศึกด้วยมั้ง เราเองก็ไม่แน่ใจ โดยที่ในอดีตนั้นนักโทษเหล่านี้เคยล่อลวงเด็ก ๆ ในเกาะไปข่มขืนด้วย ซึ่งน่าจะรวมถึงเด็กผู้ชาย เพราะหนังใช้คำว่า sodomy

 

ชาวบ้านในเกาะนี้มีความเชื่อที่น่าสนใจ เพราะพวกเขาเชื่อกันว่าเกาะนี้มีปีศาจร้ายรูปร่างเหมือนแพะ ที่สามารถจำแลงตัวเป็นคนได้ด้วยมั้ง และก็มีภูตผีในเกาะนี้ เหมือนในยุคโบราณชาวบ้านเคยไปเจอภูตผีเหล่านี้ร้องเพลงในถ้ำ ชาวบ้านก็เลยเอาเพลงที่ภูตผีเหล่านี้ร้องมาขับร้องกันต่อ ๆ มา จนกลายเป็นเพลงพื้นบ้านอาถรรพ์ประจำเกาะ

 

หนังได้สัมภาษณ์ผู้ชายที่เคยเจอปีศาจแพะด้วย น่ากลัวมาก ๆ

 

I’LL BE HOME FOR CHRISTMAS (2021, Jutha Saovabha, 20min, A+25)

 

ดูหนังได้ที่นี่

https://vimeo.com/660736223

 

1.ชอบช่วงครึ่งแรกของหนังมาก ๆ ดูแล้วนึกถึงหนังหลาย ๆ เรื่องของ Prapt Boonpan ในทศวรรษ 2000 ที่เป็นบทบันทึกการสนทนาเกี่ยวกับประเด็นน่าสนใจทางการเมือง ณ ช่วงเวลานั้น ๆ แต่พอเข้าสู่ทศวรรษ 2010 คุณ Prapt Boonpan ก็ห่างหายจากการทำหนังแบบเดิมไป และก็ไม่ค่อยมีคนทำหนังแนวเดียวกับคุณปราปต์อีก ถึงแม้ว่าจำนวนหนังการเมืองไทยพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และน่าจะมีหนังการเมืองไทยเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 100 เรื่องที่ออกฉายในเทศกาลมาราธอนปี 2021

 

แต่ช่วงครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้ก็แตกต่างจากหนังของคุณปราปต์นะ เพราะเราว่าช่วงครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้เน้นบทสนทนาที่เป็นธรรมชาติ และดูแทบจะเป็นหนังสารคดีน่ะ ตัวละครในหนังเรื่องนี้พูดถึงประเด็นทางการเมืองไทยในแบบที่คล้าย ๆ กับคนธรรมดา ในขณะที่ตัวละครในหนังของคุณปราปต์จะมีแง่มุมของคนที่อินกับการเมือง หรือมีความเป็น activist หรือนักวิชาการอยู่ด้วย คือเหมือนตัวละครนางเอกในหนังเรื่องนี้ของคุณจุฑาอาจจะแสดงความเห็นทางการเมืองคล้าย ๆ กับคนที่เราอาจจะพบได้ในห้างสรรพสินค้าหรือร้านกาแฟโดยทั่วไปในไทย 55555 แต่ตัวละครในหนังของคุณปราปต์อาจจะนึกว่าต้องมาปะทะกับคุณภัควดี, คำ ผกา, มุกหอม ทำนองนั้น

 

แต่ก็ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ ในระดับนึงนะ ชอบที่มันบันทึกความเห็นทางสังคมและการเมืองของคนไทยในขณะนั้น ๆ เอาไว้

 

2.การใช้ IT’S A WONDERFUL LIFE (1946, Frank Capra) ในหนังเรื่องนี้ก็ซึ้งดี

 

3.ช่วงครึ่งหลังอาจจะดูยากขึ้นมานิดนึง เพราะเราจะไม่เข้าใจว่าทำไมนางเอกถึงร้องไห้ เพราะเธอคิดถึงบ้านหรืออะไร เหมือนช่วงครึ่งหลังผู้ชมกับนางเอกจะมีระยะห่างจากกันมากพอสมควร

 

 

Sunday, February 20, 2022

FLEE (2021, Jonas Roher Rasmussen, Denmark, documentary, animation, A+30)

 

FLEE (2021, Jonas Roher Rasmussen, Denmark, documentary, animation, A+30)

แอบตั้งชื่อภาษาไทยให้หนังเรื่องนี้ว่า “เผ่นแน่บ”

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

1.เนื้อหาของหนังดีสุด ๆ ดูแล้วสงสารพระเอกมาก ๆ เพราะเขาต้องใช้ชีวิตอยู่กับความลับ ก็เลยทำให้เขาไม่สามารถไว้ใจใครได้เลย แม้แต่ผัวของตัวเอง เพราะทุกคนที่รู้ความลับของเขาสามารถ blackmail เขาได้ทุกเมื่อ ถ้าหากเขาทำอะไรให้คนคนนั้นไม่พอใจ แบบที่ผัวเก่าของเขาทำกับเขา

 

2.แต่เขายังโชคดีกว่า subject ของ SILENT VOICE (2020, Reka Valerik, France/Belgium) ในแง่นึงนะ เพราะ subject ของ SILENT VOICE เป็นนักกีฬาหนุ่มจาก Chechnya ที่เป็นเกย์ และเขาถูกพี่ชายและคนในเชชเนียตามฆ่าหรือตามล่าเขา เพียงเพราะเขาเป็นเกย์ เขาก็เลยลี้ภัยมาเบลเยียม และต้องอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และลงเล่นกีฬาที่เขาถนัดไม่ได้อีก เพราะไม่งั้นชุมชนคนเชชเนียในประเทศต่าง ๆ อาจจะตามมาฆ่าเขาได้

 

เราก็เลยรู้สึกว่ามันงดงามสุด ๆ ที่พี่ชายคนโตของพระเอกของ FLEE ยอมรับความเป็นเกย์ของน้องชายได้

 

3.ดูแล้วนึกถึง PAIN AND GLORY (2019, Pedro Almodovar) ในแง่นึงด้วย เพราะเพื่อนเราบอกว่า มีคนตั้งทฤษฎีกันว่า จุดประสงค์นึงที่ Almodovar สร้าง PAIN AND GLORY ขึ้นมา ก็เพื่อใช้หนังเรื่องนี้เป็นเครื่องมือในการตามหาช่างก่อสร้าง (หรือช่างซ่อม?)/นายแบบหนุ่มหล่อ ที่เคยสร้างความระทวยให้เขาในวัยเด็ก แต่หายสาบสูญไปจากชีวิตของเขาในเวลาต่อมา ติดต่อหาตัวไม่ได้อีก เพราะฉะนั้นถ้าหากผู้ชายคนนั้นยังมีชีวิตอยู่ และได้ดู PAIN AND GLORY อัลโมโดบาร์ก็อาจจะได้เจอกับผู้ชายคนนั้นอีกก็เป็นได้

 

พอเราดู FLEE เราก็เลยแอบคาดหวังแบบนั้นเหมือนกัน หวังว่าชายหนุ่มหล่อในฉาก JOYRIDE ฉากนั้น คนที่แยกหลบหนีไปสวิตเซอร์แลนด์ อาจจะได้ดูหนังเรื่อง FLEE และอาจจะได้พบกับตัว subject ในหนังเรื่องนี้อีก

 

4. สิ่งที่กรี๊ดสุด ๆ สำหรับเราเป็นการส่วนตัวใน FLEE ก็คือการที่พระเอกกับเราคลั่งไคล้ใหลหลงพิศวาสเสน่หา Jean-Claude Van Damme เหมือน ๆ กัน 5555

 

คือเรามีรสนิยมชอบหนุ่มหุ่นล่ำบึ้กแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วน่ะ แต่ยุคนั้นไม่มีนิตยสารนายแบบไทยหุ่นล่ำบึ้กเลย ผู้ชายไทยยุคนั้นไม่ค่อยมีกล้ามมากเท่ายุคนี้ ส่วนดาราฝรั่งกล้ามโตแบบ Arnold Schwarzenegger และ Sylvester Stallone ก็ไม่หล่อในสายตาของเรา ก็มี Jean-Claude Van Damme กับ Dolph Lundgren นี่แหละ ที่หล่อตรงสเปคเรามากที่สุด แต่ Dolph Lundgren ก็เล่นหนังได้แข็งทื่อมาก เพราะฉะนั้น Van Damme ก็เลยเหมือนเป็นหนึ่งใน “ดาราชายที่เราอยากมี sex ด้วยมากที่สุด” ในยุคนั้น 55555 คือเหมือนในยุคปลายทศวรรษ 1980-ต้น 1990 Van Damme นี่คือสุดยอดด้าน sexual fantasy ของเรา ในขณะที่ Hiroshi Abe นี่คือสุดยอดด้าน romantic fantasy ของเรา

 

จำได้ว่ายุคนั้นเราแทบน้ำลายฟูมปากตายคาโรง ตอนได้ดู DEATH WARRANT (1990, Deran Sarafian) ที่ Van Damme นำแสดง และต่อมาเราก็ซื้อวิดีโอเทปหนังเรื่อง DEATH WARRANT เก็บไว้ด้วย

 

พอดู FLEE แล้วพบว่าพระเอกหนังเรื่องนี้ก็คลั่งไคล้ Van Damme เหมือนกัน เราก็เลยหวนรำลึกถึงวัยสาวของเรามาก ๆ

THE DAY I SAW 7 FILMS

 

Edit เพิ่ม: พอไปเช็คดูอีกที ก็พบว่ามีอีก 4 วันที่เราดูหนังยาว 6 เรื่องติดกัน ซึ่งก็คือในวันที่ 16, 17, 18 แล้วก็ 24 พ.ย. 2001 ในช่วงเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok Film Festival สรุปว่ามีอย่างน้อย 8 วันที่เราเคยดูหนังยาว 6 เรื่องติดกัน 55555

 

Edit เพิ่มรอบสอง: อ้าว สรุป พอเช็คดูจริง ๆ พบว่าตัวเองเคยดูหนังยาว 7 เรื่องในวันเดียวกัน ซึ่งก็คือวันที่ 30 ก.ย. 2000 ซึ่งวันนั้นเราได้ดูหนังเรื่อง

 

1. WILLOW AND WIND (1999, Mohammad Ali-Talebi, Iran, 81min, A+30)

2. SANTA FE (1997, Andrew Shea, 97min, A+15)

3. RETURN OF THE IDIOT (1999, Sasa Gedeon, Czech, 99min, A+30)

4.THE NINTH GATE (1999, Roman Polanski, France/Spain, 133min, A+30)

5.MY FIRST MISTER (2000, Christine Lahti, 109min, A+15)

6. THE CORNDOG MAN (1999, Andrew Shea, 83min, A-)

7.RHYTHM THIEF (1994, Matthew Harrison, 88min, A+20)

 

วันนั้นเราได้ดูหนังทั้ง 7 เรื่องที่ Emporium ในเทศกาล Bangkok Film Festival

 

ส่วนวันที่เราเคยดูหนังยาว 6 เรื่องในวันเดียวกัน มีอย่างน้อย 8 วัน ดังรายละเอียดในโพสท์นี้

https://www.facebook.com/photo?fbid=10228282453109838&set=a.10206445257193588

 

THE DAYS OF 6-FILM VIEWING

 

เมื่อวานนี้มีเพื่อนถามว่า เราเคยดูหนังยาวมากสุดวันละกี่เรื่อง (ไม่นับหนังสั้น) ซึ่งเราเองก็นึกว่าแค่วันละ 5 เรื่องในเทศกาลภาพยนตร์ แต่มีเพื่อนอีกคนบอกว่า มากสุดน่าจะวันละ 6 เรื่องนะ พอเราไปเช็คดูจริง ๆ ก็พบว่า เราเคยดูหนังยาววันละ 6 เรื่องจริงๆ ด้วย เหมือนเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นอย่างน้อย 4 ครั้งในชีวิตเรา ในยุคที่ “เทศกาลภาพยนตร์” เคยรุ่งเรืองในกรุงเทพ ฮือ ๆๆๆๆๆ คิดถึงความสุขของชีวิตในช่วงนั้นอย่างสุดๆ อยากให้มีคนจัดเทศกาลภาพยนตร์แบบนั้นอีก อยากกลับไปดูหนังดี ๆ วันละ 6 เรื่องอีกครั้ง

 

1.“วันแห่งความสุข” วันแรกเกิดขึ้นในวันที่ 1 ต.ค. 2000 หรือเมื่อ 21 ปีก่อน วันนั้นเราได้ดูหนังเรื่อง

 

1.1 BLESSED ART THOU (2000, Tim Disney, A+20)

1.2 PICKING UP THE PIECES (2000, Alfonso Arau, A+10)

1.3 SOLO FOR CLARINET (1998, Nico Hofmann, Germany, A+)

1.4 BIRDCAGE INN (1998, Kim Ki-duk, South Korea, A+20)

1.5 THE DAY OF THE FULL MOON (1998, Karen Shakhnazarov, Russia, A+30)

1.6 THE ROAD HOME (1999, Zhang Yimou, China, A-)

 

วันนั้นเราได้ดูหนังทั้ง 6 เรื่องที่ Emporium ในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok Film Festival

 

2.วันแห่งความสุขวันที่ 2 เกิดขึ้นในวันที่ 20 ก.พ. 2006 วันนั้นเราได้ดูหนังเรื่อง

 

2.1 CROSSING THE BRIDGE: THE SOUND OF ISTANBUL (2005, FATIH AKIN, documentary, A+)

2.2 GILANEH (2005, RAKHSHAN BANI-ETEMAD + MOHSEN ABDOLVAHAB, Iran, A+30)

2.3 THE BURIED FOREST (2005, KOHEI OGURI,Japan, A+30)

2.4 A LONG WINTER WITHOUT FIRE (2004, GREG ZGLINSKI, Switzerland, A+)

2.5 THE RING FINGER (2005, DIANE BERTRAND, France, A+30)

2.6 GIE (2005, RIRI RIZA, Indonesia,  A+)

 

วันนั้นเราได้ดูหนังทั้ง 6 เรื่องที่ Paragon ในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok International Film Festival

 

3. วันแห่งความสุขวันที่ 3 เกิดขึ้นในวันที่ 23 ก.พ. 2006 วันนั้นเราได้ดูหนังเรื่อง

 

3.1 WHO THE HELL’S BONNIE AND CLYDE (2004, KRISZTINA DEAK, Hungary, A)

3.2 THREE DOTS (2004, ROYA SADAT, Afghanistan, A+25)

หนังเรื่องนี้มีความยาวแค่ 58 นาทีนะ อาจจะไม่เข้าข่าย “หนังยาว” ในบางเกณฑ์ 55555

3.3 THE GREAT ROLE (2004, STEVE SUISSA, France, B+ )

3.4 BRIDE OF SILENCE (2005, MINH PHUONG DOAN + THANH NGHIA DOAN, Vietnam, A+25)

3.5 PLAYED (2006, SEAN STANEK, UK, C+)

3.6 CUT SLEEVE BOYS (2006, RAY YEUNG, UK/Hong Kong, A+30)

 

วันนั้นเราได้ดูหนังทั้ง 6 เรื่องที่ Paragon ในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok International Film Festival

 

4. วันแห่งความสุขวันที่ 4 เกิดขึ้นในวันที่ 28 ก.ค. 2007 วันนั้นเราได้ดูหนังเรื่อง

 

4.1 THE BEST OF TIMES (2002, Chang Tso-chi, Taiwan, A+25)

4.2 BEYOND THE CALL (2006, Adrian Belic, documentary, A+)

4.3 LUXURY CAR (2006, Wang Chao, China, A+25)

4.4 BELLE TOUJOURS (2006, Manoel de Oliveira, Portugal/France, A+30)

4.5 URANYA (2006, Costas Kapakas, Greece, A+30)

4.6 GRINDHOUSE: PLANET TERROR (2007, Robert Rodriguez, A+30)

 

วันนั้นเราได้ดู THE BEST OF TIMES ที่ลิโด แล้วก็ดูเรื่องที่ 2-6 ที่ Central World โดยเรื่องที่ 2-5 อยู่ในเทศกาลภาพยนตร์ World Film Festival of Bangkok ส่วนเรื่องที่ 6 อยู่นอกเทศกาล

 

แต่จริงๆ  แล้ววันที่เราคิดว่าดูหนังเป็นเวลานานไม่แพ้ 4 วันดังกล่าว นั่นก็คือวันที่ 8 ส.ค. 2009 ซึ่งเป็นวันที่เราได้ดูหนังเรื่อง EVOLUTION OF A FILIPINO FAMILY (2004, Lav Diaz, Philippines, 10hrs 43min, A+30) ที่ Conference of Birds Gallery ถนนปั้น แถวสีลม ถือเป็นหนึ่งในวันที่มีความสุขที่สุดในชีวิตของจริง

 

เรายังจำได้เลยว่า วันนั้นเป็นวันแรกที่เราได้เห็น Ratchapoom Boonbunchachoke กับ Chaloemkiat Saeyong ปรากฏตัวในสถานที่เดียวกัน นั่นก็คือในงานฉายหนังครั้งนี้ 555 เหมือนตอนนั้นเราคลั่งไคล้หนังทดลองของ Ratchapoom กับ Chaloemkiat มาก ๆ แล้วพอเราได้เห็นสองคนปรากฏกายพร้อมกันในสถานที่เดียวกันในงานฉายหนังของ Lav Diaz เราก็เลยตื่นเต้นมาก ๆ 55555

 

รูปจาก THE DAY OF THE FULL MOON

Thursday, February 17, 2022

SING A BIT OF HARMONY (2021, Yasuhiro Yoshiura, Japan, animation, A+30)

 

SING A BIT OF HARMONY (2021, Yasuhiro Yoshiura, Japan, animation, A+30)

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

 

1.อย่างที่คุณ Ratchapoom Boonbunchachoke เคยเขียนไว้ในทำนองที่ว่า ญี่ปุ่นชอบทำหนังที่นำเสนอเทคโนโลยีในทางบวก ซึ่งจะตรงข้ามกับฮอลลีวู้ดที่ชอบทำหนังที่นำเสนอเทคโนโลยีในทางลบ อย่างเช่น BELLE (2021, Mamoru Hosoda) และ BRAVE FATHER ONLINE: OUR STORY OF FINAL FANTASY XIV (2019, Teruo Noguchi) ที่นำเสนอจักรวาลนฤมิตและโลกของการเสพติดเกมคอมพิวเตอร์ในทางบวกเป็นอย่างมาก ซึ่งแตกต่างจากฮอลลีวู้ดที่ทำหนังแบบ VIRTUOSITY (1995, Brett Leonard) และ GAMER (2009, Mark Neveldine, Brian Taylor) ออกมา

 

หรือถ้าย้อนไปช่วงกลางทศวรรษ 1990 ฮอลลีวู้ดก็ทำหนังแบบ THE NET (1995, Irvin Winkler) ออกมา เพื่อเตือนถึงภัยร้ายแรงทางอินเทอร์เน็ต แต่ญี่ปุ่นทำหนังแบบ (HARU) (1996, Yoshimitsu Morita) ออกมา เพื่อนำเสนอว่าอินเทอร์เน็ตทำให้หนุ่มสาวได้พบรักกัน

 

พอมาดู SING A BIT OF HARMONY ที่นำเสนอ AI สาวที่พยายามทำให้นางเอกมีความสุขแล้ว มันก็ถือเป็นความสุดขั้วของหนังญี่ปุ่นในทำนองนี้จริง ๆ นึกว่าเป็นด้านกลับของ CHILD’S PLAY (2019, Lars Klevberg) คือมึงจะ optimistic ไปถึงไหนคะ นี่น่าจะเป็นหนังไซไฟที่ optimistic ที่สุดเท่าที่เราเคยดูมาในชีวิตนี้แล้ว

 

แต่ก็ชอบหนังมาก ๆ นะ คือมันอาจจะไม่ใช่หนังที่ “ดี” ในแง่ที่มัน optimistic เกินไป แต่เราว่าการที่มัน optimistic แบบสุดลิ่มทิ่มประตู ไม่สนความเป็นจริงอะไรอีกแล้ว ทำให้มันกลายเป็นหนังที่ “น่าจดจำ” ในแบบของมัน และถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดว่า นี่แหละ “หนังแบบญี่ปุ่น” 55555

 

2.อีกจุดนึงที่น่าสนใจก็คือว่า เราว่าหนังมันนำเสนอ “ประเด็นทางจริยธรรม” ที่น่าสนใจ แต่ไม่รู้ว่าผู้สร้างหนังรู้ตัวหรือเปล่า 55555

 

อันแรกเลยก็คือว่า ตัวนางเอก Satomi มีปัญหาเรื่องจริยธรรมน่ะ เพราะเธอจะพูดจริงหรือพูดเท็จก็เพื่อคนที่เธอรัก เธอไม่ใช่คนที่ “รักความจริง” เธอพูดความจริงเรื่องรุ่นพี่สูบบุหรี่ จนสร้างความเดือดร้อนให้รุ่นพี่ และทำให้เธอถูกคนทั้งโรงเรียนเกลียดชัง ไม่ใช่เพราะเธอ “รักความจริง” แต่เป็นเพราะการเปิดเผยความจริงเรื่องรุ่นพี่มันส่งผลดีต่อชายหนุ่มที่เธอชอบ

 

คือเอาจริง ๆ แล้วเราไม่มีปัญหากับการที่ Satomi พูดความจริงในเรื่องนี้นะ แต่เราว่าการที่เธอพยายามปกปิดความจริงเรื่องหุ่น AI มีข้อบกพร่อง โดยอ้างว่าเธอทำเพื่อแม่ มันแสดงให้เห็นว่าเธอมีปัญหาทางจริยธรรมน่ะ เพราะการปกปิดความจริงในเรื่องแบบนี้มันไม่น่าจะส่งผลดี แม่ของเธอก็จะไม่รู้ความจริงว่าหุ่นบกพร่อง, บริษัทที่จ้างแม่ของเธอก็จะไม่รู้ความจริงว่าสินค้ามีข้อบกพร่อง และถ้าหุ่นที่มีข้อบกพร่องแบบนี้ถูกส่งออกไปในวงกว้าง มันก็จะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้

 

คือเหมือนซาโตมิกล้าหาญที่จะพูดความจริงเพื่อผู้ชายที่เธอชอบ แต่เธอเหมือนเลือกที่จะ “ตอแหล” เพื่อแม่ของเธอ ซึ่งเราว่าจริง ๆ แล้วสิ่งที่เธอทำมันก็อาจจะเป็นสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาทั่วไปทำกัน เราเองก็เลือกที่จะพูดความจริงหรือตอแหลแล้วแต่สถานการณ์ แต่เหมือนหนังเรื่องนี้ขับเน้นธรรมชาติของมนุษย์ตรงนี้ให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น เราก็เลยว่ามันน่าสนใจดี

 

3.ปัญหาทางจริยธรรมอีกอันนึง ก็คือการที่ Shion ขอให้ AI ที่ควบคุมระบบความปลอดภัยในโรงเรียน หรือ AI ที่ควบคุมกล้องวงจรปิดต่าง ๆ ในโรงเรียน ตัดต่อวิดีโอใหม่ เพื่อปกปิดความจริงว่า Shion มีข้อบกพร่อง

 

คือเอาจริง ๆ แล้ว นี่คือสิ่งที่ถูกที่ควรเหรอคะ 55555 มันเหมือนการเล่นพรรคเล่นพวก การปกปิดความจริงเพื่อพวกพ้องของตัวเอง คือสิ่งที่ Shion ทำมันไม่มีปัญหาในหนังเรื่องนี้ เพราะเธอเป็น AI ที่มีจิตใจดีงาม คือเราว่ามันเป็นการทำผิดโดยมีเจตนาดี ผลมันก็เลยออกมาดีน่ะ

 

แต่ถ้าหาก “ระบบรักษาความปลอดภัย” มันมีความ “ลำเอียง” แบบนี้แล้ว แล้วถ้าหากวันนึงมันลำเอียงเข้าข้างคนเลว, หุ่นยนต์เลว, AI เลว ขึ้นมาล่ะ มันจะเกิดอะไรขึ้น

 

คือเราว่าทั้งการที่นางเอกพยายามปกปิดความจริงว่า Shion มีข้อบกพร่อง และการที่ Shion ขอให้ระบบรักษาความปลอดภัยช่วยกันปกปิดความจริง มันเป็นสิ่งที่มีปัญหาในทางจริยธรรมน่ะ คือในกรณีของหนังเรื่องนี้มันยอมรับได้ เพราะนางเอกและ Shion มีจิตใจดีงาม แต่ถ้าหากคนเลวทำแบบนี้ขึ้นมาบ้างล่ะ

 

4.เราว่า Shion เสือกเรื่องส่วนตัวมากเกินไปด้วยแหละ 55555 คือถ้าหากมี AI หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สาระแนแบบนี้ในชีวิตจริง มันก็อาจจะน่ากลัวมากกว่าน่ารักก็ได้นะ คือมึงจับตาดูชีวิตกูโดยที่กูไม่รู้ตัว แล้วแถมตอนจบมึงยังไปอยู่บนดาวเทียมอีก

 

คือเราว่าตรงนี้มันพลิกเป็นหนังสยองขวัญได้สบายมากเลย แบบ Shion อยากให้ Satomi มีความสุข แล้ว Shion พบว่าคนรอบ ๆ ตัว Satomi ติดโควิดกัน Shion เลยให้ดาวเทียมยิงแสงเลเซอร์ลงมาฆ่าคนติดเชื้อทุกคนรอบตัว Satomi อะไรแบบนี้

 

5.อีกจุดที่เราว่าพลิกเป็นหนังสยองขวัญได้สบายมาก คือ Shion ถูกโปรแกรมให้พยายามทำให้ Satomi มีความสุขน่ะ และหนังเรื่องนี้มันออกมา optimistic แบบนี้ได้ เพราะ Satomi เป็นคนที่มีจิตใจดีงาม

 

แต่ถ้าหากวันนึงมีคนทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ AI แบบนี้ให้รักเด็กสาวแบบนางเอกในหนังเรื่อง FEBRUARY (2015, Oz Perkins) ขึ้นมาบ้างล่ะ เด็กสาวที่รักในการฆ่าคนจำนวนมาก แล้ว AI ตัวนั้นก็จะไม่ลุกขึ้นมาฆ่าคนเพื่อทำให้เด็กสาวมีความสุขบ้างเหรอ

 

6.คือถึงแม้ SING A BIT OF HARMONY มันจะเป็นหนังที่ optimistic อย่างสุดขั้วมาก ๆ แต่ฐานคิดของมัน เรื่องวิวัฒนาการของ AI นี่มันเอาไปทำเป็นหนังสยองขวัญได้สบายมากเลย 55555