Wednesday, October 19, 2022

WHY DO THESE FILMS HAVE NO EXIT

 เห็นที่อาจารย์ดองตั้งคำถามไว้ จากการที่เราได้ดูหนังไทยบางเรื่องที่สะท้อนความสิ้นหวังของนักศึกษาสายภาพยนตร์ในช่วงนี้ เราก็เลยเดาเล่น ๆ ว่า สาเหตุของความสิ้นหวังอาจจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ประกอบร่วมกัน ซึ่งก็คงเป็นการเดาที่ผิดอย่างแน่นอน เพราะเราไม่ใช่เด็กรุ่นนี้ แต่ขอเดาเล่น ๆ ไว้ก่อน 55555


1.ปัญหาการเมืองในไทย ที่สร้างความหดหู่ต่อสภาพจิตใจคนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการประท้วงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่ยังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมได้มากนัก การจินตนาการว่าตัวเองจะต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปในประเทศนี้ไม่ใช่อะไรที่จะทำให้จิตใจแช่มชื่นได้ และเราก็จินตนาการไม่ออกเช่นกันว่า เราจะทำอะไรให้ประเทศนี้มันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราต้องการได้

2.วิกฤติโควิด-19 ที่สร้างความยากลำบากให้กับชีวิต, การทำงาน, การหาเลี้ยงชีพ และอาจส่งผลให้นักศึกษาในบางสาขามองว่าความสามารถหรือความรู้ของตัวเองอาจจะดูไม่มีประโยชน์มากนักเมื่อเทียบกับอาชีพแพทย์, พยาบาล, ETC. เหมือนวิกฤติโรคระบาดนี้นอกจากสร้างความยากลำบากอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว มันอาจทำให้บางคนตั้งคำถามเรื่องคุณค่าของตัวเองด้วย (แต่แน่นอนว่าทุกคนมีคุณค่าในตัวเองนะ)

3. กระแสความนิยมที่เปลี่ยนแปลงไป เหมือนคนดูภาพยนตร์ในโรงน้อยลงมาก ๆ คนหันไปดู tiktok หรืออะไรแทน คือถ้าหากเป็นเมื่อ 10-20 ปีก่อน อาจจะมีคนตั้งความฝันว่าอยากทำภาพยนตร์ดัง ๆ ได้เงิน แต่ทุกวันนี้มันไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว

4.และเหมือนโลกมันเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากท่ามกลางการพัฒนาของเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมาน่ะ จนทำให้เราอาจจะมองไม่ออกว่า เราจะทำงานอะไรที่มันจะมั่นคง หาเงินได้ดี เพราะความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมันทำให้ “อาชีพที่ทำเงินได้ดี” เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

คือเหมือนนักศึกษาบางคนอาจจะเกิดคำถามว่า เราเรียนอันนี้ไป จบแล้วจะทำงานอะไรดี มันมีงานไหนที่จะช่วยให้เรามั่นใจเรื่องรายได้ได้บ้าง, เรามีคุณค่าในตัวเองมากน้อยแค่ไหน และเราจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไรในประเทศเส็งเคร็งนี้   คือเหมือนเจอทั้ง political crisis, economic crisis, career crisis และ existential crisis ในเวลาเดียวกัน

คือเหมือนดูหนังนักศึกษาในช่วงนี้แล้วเรานึกถึง MELANCHOLY OF A VIDEO (2013, Ukrit Sa-nguanhai) ที่ถ่ายชายหนุ่มขี่มอเตอร์ไซค์ไปเรื่อย ๆ ในชนบทโดยเหมือนไม่มีจุดหมายหรืออะไร มันเหมือนกับการใช้ชีวิตในไทยในช่วงนี้ ที่ได้แต่ใช้ชีวิตไปวัน ๆ ไปเรื่อย ๆ เพราะโครงสร้างสังคมไม่เปิดโอกาสให้เรามีความหวังที่เรืองรองรออยู่

โพสต้นทางของอาจารย์ดอง
https://www.facebook.com/Nextlife.Records/posts/pfbid0c6pWMTvREQVVTHKfDSzBEVLFWusBMrZF8Bfgt8crRRofjKuedHJsuRtHWEeWx5Rkl
‐----

อัจฉราคืนเวหา (2021, ศิวกร บุญสร้าง, 15min, A+30)

1.พิศวงมาก เหมือนเป็นหนังอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีฉากเผาป่า แต่หนังเล่าเรื่องราวพิศวงของแม่กับลูกสาวที่ใช้ชีวิตอย่างแปลกประหลาดกับความเชื่อที่แปลกประหลาด ความประหลาดของมันก็เลยน่าจดจำมาก ๆ

2.นึกว่าต้องปะทะกับ MOTHER! (2017, Darren Aronofsky) ในแง่หนัง symbolic ที่พูดถึงโลก/ธรรมชาติ เหมือนกัน 555

3.คิดว่าถ้ามีการสร้างหนังเหนือจริง symbolic แบบนี้ ใน scale ที่ใหญ่กว่านี้ เราอาจจะได้หนังที่สามารถปะทะกับหนัง czech new wave ได้

LOW (ตม) (2021, วรัตม์ ศักดิ์สิทธานุภาพ, ชัญญา จูมิ, 16min, second viewing, A+30)

หนัง surreal ที่น่าสนใจดี ไม่แน่ใจว่าหนังจะพูดถึงอะไร แต่เราเดาเอาเองว่าประเด็นของหนังอาจจะพูดถึงการที่คนชนบทต้องการจะเข้ากรุงเทพ เพราะหวังว่ากรุงเทพจะช่วยให้ทางออกแก่ชีวิตที่ตีบตันในชนบท หรือช่วยดลบันดาลให้ความหวังหรือความฝันบางอย่างเป็นจริง แต่มันก็ไม่เป็นเช่นนั้น

มันก็เลยเศร้ามาก ๆ ที่ตัวละครพูดในทำนองที่ว่า เขาไม่เหลือความฝันอะไรอีกแล้ว หรือเขามองไม่เห็นตัวเองในอนาคต

ถ้าประเด็นของหนังเป็นแบบที่เราเดาไว้ เราก็คิดว่าจริง ๆ แล้วประเด็นของหนังมันอาจจะคล้าย ๆ กับหนังสั้นของไทยหลาย ๆ เรื่อง แต่จุดเด่นของหนังเรื่องนี้คือการใช้วิธีการนำเสนอแบบ surreal หลอน ๆ พิศวง ไม่ได้นำเสนอชีวิตตัวละครที่แร้นแค้นอย่างตรงไปตรงมาแบบหนังเรื่องอื่น ๆ

No comments: