Sunday, December 22, 2024

THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM

 THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM (2023, Naruepong Boonkert, 30.49min, A+30)

 

1.เราเคยคุยกับเพื่อน cinephile บางคนในช่วงต้นปี 2023 ว่า พอเราเห็นคุณ Weerapat Sakolvaree แล้วเรารู้สึกว่า บุคลิกของเขาทำให้นึกถึงพระเอกภาพยนตร์เรื่อง THE DEVIL, PROBABLY (1977, Robert Bresson) ซึ่งเพื่อน cinephile ท่านนั้นก็เห็นด้วย

 

ปรากฏว่าวันนี้เราได้ดูหนังเรื่อง THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM (2023, Naruepong Boonkert, 30.49min, A+30) แล้ว ก็พบว่าหนังเรื่องนี้นำแสดงโดยคุณ Weerapat เราก็เลยหวีดร้องสุดเสียง เพราะมันเหมือนช่วยยืนยันว่า น่าจะมีคนอื่น ๆ ด้วยเหมือนกันที่เห็นบุคลิกของคุณ Weerapat แล้วนึกถึงหนังของ Robert Bresson 55555

 

2.ส่วนตัวหนัง THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM เราก็ชอบสุดขีดนะ สิ่งที่เราชอบในหนังเรื่องนี้ ก็รวมถึง

 

2.1 style ของหนังเรื่องนี้ คือเราแอบรู้สึกราวกับว่า ในหนังเรื่องนี้ THE STYLE IS THE SUBSTANCE น่ะ ราวกับว่า สไตล์ คือเนื้อหาหลักของหนังเรื่องนี้ แต่มันไม่ใช่ว่าหนังเรื่องนี้มีแต่สไตล์นะ เพราะหนังเรื่องนี้มันก็มีเนื้อหาและเรื่องราวของมันเหมือนกัน แต่เรารู้สึกว่าสไตล์ของมันโดดเด้งถูกจริตเรามาก ๆ จนพอดูจบแล้วเรากลับจำได้แต่สไตล์ของหนังเป็นหลัก แต่จำเนื้อหาอื่น ๆ ของหนังไม่ค่อยได้ในการดูรอบแรก

 

2.2 พลังทางภาพและเสียงของหนังเรื่องนี้ เข้าทางเรามาก ๆ ตั้งแต่ฉากแรก ๆ ที่มีการตั้งกล้องนิ่งถ่ายแสงลอดหน้าต่าง+ผ้าม่านออกมาได้งามมาก ๆ จนถึงฉากท้าย ๆ บนสะพานลอยที่งดงามพิลาสพิไลที่สุด

 

2.3 การเลือก location แต่ละจุดก็น่าสนใจมาก ๆ

 

2.4 ดูหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกเศร้ามาก ๆ ด้วย และดูแล้วก็ยิ่งคิดถึง THE DEVIL, PROBABLY มากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเรารู้สึกว่า THE DEVIL, PROBABLY มันเหมือนเป็นหนังที่ตอกย้ำ “ความล่มสลายในการปฏิวัติของหนุ่มสาว ตั้งแต่การลุกฮือของหนุ่มสาวในยุโรป โดยเฉพาะในฝรั่งเศสในปี 1968 เรื่อยมาจนถึงการก่อกำเนิดของกลุ่มก่อการร้าย Baader Meinhof, กลุ่ม Red Brigade, etc.” อะไรต่าง ๆ ซึ่งการลุกฮือของหนุ่มสาวทั่วยุโรปตั้งแต่ปี 1968 จนถึงทศวรรษ 1970 มันก็ไม่สามารถนำพาไปสู่การโค่นล้มทุนนิยมหรือจักรวรรดินิยมอเมริกาหรืออะไรได้ และหนังเรื่อง THE DEVIL, PROBABLY ก็เหมือนเป็นบทสรุปของความล้มเหลวในการปฏิวัติของหนุ่มสาวยุคนั้น

 

ในแง่เดียวกัน THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM ก็ทำให้เรารู้สึกแบบนั้นเหมือนกัน ราวกับว่าหนังเรื่องนี้เป็นภาคต่อของหนังหลาย ๆ เรื่องที่กำกับโดยคุณ Weerapat Sakolvaree ราวกับว่ามันเป็นภาคต่อของ NOSTALGIA (2022, Weerapat Sakolvaree, 14min, A+30) , THE ETERNAL LABYRINTH (2022, Weerapat Sakolvaree, 30min, A+30), ZOMBIE CITIZENS (2021, Weerapat Sakovaree, 11min, documentary) และในแง่หนึ่ง มันก็อาจจะเป็นภาคต่อของ PARADOX DEMOCRACY (2024, Uruphong Raksasad, documentary, 61min, A+30) ด้วย แต่เป็นภาคต่อแบบ tragic ending เพราะมันเหมือนกับว่า การลุกฮือของหนุ่มสาวในไทยตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา มันไม่ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากเท่าที่ควร ราวกับว่ามันล้มเหลว และนำไปสู่การล่มสลายของจิตวิญญาณทางการเมือง คล้าย ๆ กับใน THE DEVIL, PROBABLY เหลือไว้เพียงความว่างเปล่า

 

แต่ในแง่หนึ่ง เราก็คิดว่าการลุกฮือของหนุ่มสาวในยุโรปตั้งแต่ปี 1968 เป็นต้นมา มันก็อาจจะไม่ได้ “ล้มเหลว” ไปซะทั้งหมดก็ได้นะ คือการลุกฮือในปี 1968 มันอาจจะไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันทีก็จริง แต่มันก็อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ค่อย ๆ ผลักดันสังคมไปในทางที่ถูกที่ควรก็ได้ เราอาจจะไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน แต่การเปลี่ยนแปลงอาจจะค่อย ๆ ดำเนินต่อไปทีละน้อย เพราะหลังจากเกิดการลุกฮือในปี 1968 และ THE DEVIL, PROBABLY ออกฉายในปี 1977 ต่อมาในปี 1981 ประเทศฝรั่งเศสก็ได้ประธานาธิบดีที่มาจาก “พรรคการเมืองฝ่ายซ้าย” เป็นคนแรกในรอบหลายสิบปี ชัยชนะของฝ่ายซ้ายมันเกิดขึ้นได้จริง เพียงแต่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

 

เพราะฉะนั้นเราก็เลยคาดหวังในแง่ดีว่า THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM ก็อาจจะมีสถานะคล้าย ๆ THE DEVIL, PROBABLY ในแง่นี้ด้วยเช่นกัน หนังเรื่องนี้อาจจะเพียงแค่บันทึก “การฝ่อตัว” หลังการลุกฮือครั้งใหญ่ของหนุ่มสาว แต่มันไม่ได้หมายความว่า ทุกอย่างล้มเหลว เพราะความเปลี่ยนแปลงยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เพียงแต่ว่าความเปลี่ยนแปลงมันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างร้อนแรงและเห็นได้ชัดเท่านั้นเอง

 

3.ถึงแม้เราจะชอบ THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM อย่างรุนแรง แต่เราก็ไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้มากที่สุดในบรรดาหนังที่เข้าชิงรางวัลช้างเผือกพิเศษปีนี้นะ เพราะหนังที่เราชอบที่สุดในกลุ่มนี้ก็คือ “อื่น ๆ นับจากนี้” OTHERS FROM NOW ON (2024, Tanadol Sodsri, 30min, A+30) ซึ่งเป็นหนังที่เราดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงที่สุด และเป็นหนังที่เราดูแล้วนึกถึง Robert Bresson อย่างรุนแรงสุดขีดเหมือนกัน เพราะ OTHERS FROM NOW ON นี่คือหนังที่เหมาะฉายปะทะกับ MOUCHETTE (1967, Robert Bresson) มาก ๆ

 

4.ถ้าหากจะฉายหนังเรื่อง THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM ควบกับหนังเรื่องไหน เราก็คิดว่า เราอยากให้มีคนฉายมันควบกับหนังอีกเรื่องที่เคยเข้าชิงรางวัล “ช้างเผือกพิเศษ” เหมือนกันเมื่อ 17 ปีก่อน ซึ่งก็คือหนังเรื่อง THE OTHER WORLD คนละโลก (2007, Chutchon Ajanakitti, 16min, A+30) เพราะทั้ง เรื่อง THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM และ THE OTHER WORLD ต่างก็ทำให้เราทึ่งสุดขีดกับ “ความสามารถในการกำกับภาพยนตร์ของเด็กมัธยม” เหมือนกัน และเพราะว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้ บันทึก/ถ่ายทอด “จิตวิญญาณขบถที่บอบช้ำของคนหนุ่ม” เอาไว้ได้อย่างดีงามสุดขีดเหมือนกัน ถ้าหากเราจำไม่ผิดนะ

 

บางคนอาจจะรู้สึกว่า ชื่อผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง “THE OTHER WORLD คนละโลก” มันคุ้น ๆ ซึ่งถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ในปี 2007 ในช่วงที่เขายังเป็น “เด็กมัธยม” นั้น ในเวลาต่อมา เขาก็คือคนเดียวกันกับผู้ประพันธ์หนังสือ “ลุกไหม้สิ! ซิการ์” นั่นเอง

Saturday, December 21, 2024

HALE COUNTY THIS MORNING, THIS EVENING

 

เพิ่งรู้จากเพื่อนว่า Quintessa Swindell ที่เคยแสดงเป็น Cyclone ในหนังซูเปอร์ฮีโร่เรื่อง BLACK ADAM (2022, Jaume Collet-Serra) ได้กำกับหนังสั้นเรื่อง THE LILY (2025) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมวยไทย โดยมีนักมวยไทยชื่อ “เมย์ เพชรชมพู” ร่วมแสดงด้วย หนังเรื่องนี้จะฉายในเทศกาลภาพยนตร์ SUNDANCE

+++

เห็นเขาลือกันว่า ถ้าหากใครใส่ชุดที่มี “สีเขียว, ขาว และน้ำเงิน” และมาเต้นระบำหน้าประติมากรรมนี้ในเวลาโพล้เพล้ ผีตากผ้าอ้อม แล้วเต้นได้ถูกใจเจ้าแม่ฮิปโป ในคืนวันโกนถัดจากการเต้นครั้งนั้น เจ้าแม่ฮิปโปจะมาเข้าฝัน เพื่อใบ้หวยเป็นภาษา Krio

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

คงไม่มีคนเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงนะ 55555 คือพอเราเห็นอะไรแบบนี้แล้วก็มักจะจินตนาการอะไรแบบนี้ขึ้นมาในหัวโดยอัตโนมัติ

+++

เพิ่งรู้จากเพื่อนว่า หนังเรื่อง INCIDENT (2023, Bill Morrison, documentary, A+30) ที่เพิ่งเข้าฉายในเทศกาล SIGNES DE NUIT FILM FESTIVAL IN BANGKOK ได้เข้า shortlist OSCAR ด้วย กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดมาก ๆ นอกจากนี้ INCIDENT ก็ได้รับรางวัล Edward Snowden จากเทศกาลภาพยนตร์ Signes du Nuit in Bangkok ด้วย

 

ส่วน AN ORANGE FROM JAFFA (2023, Mohammad Almughanni, Palestine, A+30) ที่ได้เข้า shortlist OSCAR สาขาหนังสั้นยอดเยี่ยมนั้น ก็ได้เข้าฉายในเทศกาล Signes de Nuit Film Festival in Bangkok เช่นกัน และได้รับรางวัล Special Mentioned for Main Award จากเทศกาลนี้

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10160347905833576&set=a.10160293678308576

+++

ซื้อ “มะระขี้นกทอดกรอบ” , คุ้กกี้มะพร้าว, ปลากรอบเจ และหมูกระจกเจมากิน  ซึ่งสามอย่างหลังอร่อยดี แต่มะระขี้นกทอดกรอบ “ขมปี๋มาก” แต่ก็ไม่ได้ขมเกินไปนะ กินแล้วก็อยากกินอีก เหมือนปกติเรากินแต่ “ของหวาน” พอได้กินของขม ๆ อย่างมะระขี้นกทอดกรอบแล้วก็เริ่มรู้สึกติดใจ 55555

+++

HALE COUNTY THIS MORNING, THIS EVENING (2018, RaMell Ross, documentary, 76min, A+30)

 

เราดูฟรีออนไลน์ทาง lecinemaclub

 

หนังสารคดีบันทึก fragments ในชีวิตประจำวันของคนในเทศมณฑลเฮล รัฐอลาบามา ซึ่งเหมือนมีแต่คนผิวดำอยู่ในเทศมณฑลนี้ หนังเรื่องนี้ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์หนังสารคดียอดเยี่ยมด้วย แต่ผู้ชนะรางวัลออสการ์ในปีนั้นคือ FREE SOLO (2018, Jimmy Chin, Elizabeth Chai Vasarhelyi, A+30)

 

ตอนแรกนึกว่ามันจะเป็นหนังสารคดีสะท้อนประเด็นการเมืองสังคมความด้อยโอกาสอย่างหนัก ๆ ตรงไปตรงมา แต่ปรากฏว่ามันเป็นหนังสารคดีที่มีความเป็นกวีสูงมาก ๆ และสะท้อนชีวิตคนผิวดำในชนบทสหรัฐไปด้วยในเวลาเดียวกัน เหมือนหนังเรื่องนี้มีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 อย่างที่เราชอบสุด ๆ ซึ่งได้แก่

 

1. การสะท้อนชีวิตคนจน ที่โอกาสจะลืมตาอ้าปากมันทำได้ยากมาก โดยในเทศมณฑลนี้นั้น โอกาสสำหรับเด็กหนุ่มที่อยากจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ดูเหมือนจะต้องผ่านทางการก้าวขึ้นมาเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลชื่อดังให้ได้

 

2. การเลือกถ่ายภาพต่าง ๆ ได้อย่างงดงามมาก ๆ โดยเฉพาะการเลือกถ่ายเงาคน แทนที่จะเลือกถ่ายตัวคนโดยตรง หรือการวางเฟรมภาพต่าง ๆ ที่เน้นความเวิ้งว้างของ subject ของภาพท่ามกลางทัศนียภาพโล่งกว้าง

 

3. อารมณ์แบบกวี

 

4. การให้ความสำคัญกับ “ชีวิตประจำวัน” ของผู้คน โดยฉากที่เราชอบที่สุดของหนังคือฉากที่หนังถ่ายเด็กตัวเล็ก ๆ อายุราว 2 ขวบ วิ่งไปวิ่งมาในห้องเป็นเวลานานหลายนาที โดยไม่มีอะไรสำคัญเกิดขึ้น และไม่รู้ว่าฉากดังกล่าวมีความสำคัญอย่างไรต่อเนื้อเรื่องของหนัง แต่ฉากนี้มันทรงพลังและตราตรึงใจเรามากที่สุด

 

ขณะที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็แอบงงว่าทำไมหนังมีความเป็นกวีสูงมาก ๆ แต่พอ ending credits มันขึ้นว่า creative advisor คือ Apichatpong Weerasethakul เราก็เลยหายสงสัยในทันที 55555 คือเราไม่ได้คิดว่า Apichatpong เป็นคนทำให้หนังเรื่องนี้มีความเป็นกวีสูงมากนะ แต่เราคิดว่าตัว RaMell Ross เขาคงมีความเป็นกวีสูงมากอยู่ในตัวเขาเองอยู่แล้ว เขาเลยเลือก creative advisor ที่ไปด้วยกันกับเขาได้ดี อะไรทำนองนี้

 

ตอนนี้เรายังไม่ได้ดู NICKEL BOYS (2024, RaMell Ross) นะ แต่เราก็เชียร์ให้หนังเรื่อง NICKEL BOYS ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ หรือชนะรางวัลออสการ์  เพราะถ้าหากหนังเรื่องนี้ชนะรางวัลออสการ์ โอกาสที่เราจะได้ดูหนังเรื่องนี้ก็จะเพิ่มสูงขึ้น 55555

 

RaMell Ross ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ เป็นอดีตนักกีฬาบาสเกตบอลด้วย

 

Thursday, December 19, 2024

THE NIGHT DARA DIED

 

RIP MARISA PAREDES (1946-2024)

 

หนังของเธอที่เคยดู

 

1.HIGH HEELS (1991, Pedro Almodóvar, Spain)

 

2.THE FLOWER OF MY SECRET (1995, Pedro Almodóvar, Spain)

เราได้ดูตอนมันมาฉายที่สมาคมฝรั่งเศส

 

3.THREE LIVES AND ONLY ONE DEATH (1996, Raúl Ruiz, France/Portugal)

 

4.DOCTOR CHANCE (1997, F.J. Ossang, France/Chile)

เราเคยดูหนังเรื่องนี้ตอนมันมาฉายที่ JAM SATHORN

 

5.LIFE IS BEAUTIFUL (1997, Roberto Benigni, Italy)

 

6.ALL ABOUT MY MOTHER (1999, Pedro Almodóvar, Spain)

 

7.NO ONE WRITE TO THE COLONEL (1999, Arturo Ripstein, Mexico)

สร้างจากบทประพันธ์ของ Gabriel García Márquez และเคยเข้าฉายที่โรง Lido ในเทศกาลภาพยนตร์เม็กซิโกในกรุงเทพ

 

8.TALK TO HER (2002, Pedro Almodóvar, Spain)

 

9.QUEENS (2005, Manuel Gómez Pereira, Spain)

 

10.THE SKIN I LIVE IN (2011, Pedro Almodóvar, Spain)

 

อยากให้มีคนจัดงาน retrospective ของเธอมาก ๆ อยากดูหนังอีกหลายเรื่องที่เธอแสดง โดยเฉพาะ

 

1. IN A GLASS CAGE (1987, Agustí Villaronga, Spain)

เราเคยดู BLACK BREAD (2010) ของ Agustí Villaronga แล้วชอบอย่างสุดขีดมาก ๆ เราเพิ่งรู้ว่า Agustí Villaronga เสียชีวิตไปแล้วในปี 2023 จากโรคมะเร็ง

 

2.SILVER-BEET FACE (1987, José Sacristán, Spain)

เธอเข้าชิงรางวัลโกย่าดาราสมทบหญิงจากเรื่องนี้

 

3.MAGIC MIRROR (2005, Manoel de Oliveira, Portugal)

เธอเข้าชิงรางวัลดาราสมทบหญิงในเทศกาลภาพยนตร์เมโทร มะนิลาจากหนังเรื่องนี้

 

4. THE GOD OF WOOD (2010, Vicente Molina Foix, Spain)

เธอได้รับรางวัล Best Actress จากเทศกาลภาพยนตร์สเปนมะละกาจากหนังเรื่องนี้

 

5.PETRA (2018, Jaime Rosales, Spain)

เธอเข้าชิงรางวัล Gaudí สาขาดาราสมทบหญิงยอดเยี่ยม

 

RIP WOLFGANG BECKER (1954-2024)

 

เราเคยดูหนังที่เขากำกับแค่ 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ

 

1. LIFE IS ALL YOU GET (1997) ที่เราดูแล้วเฉย ๆ เพราะเราไม่ค่อยอินกับหนังโรแมนติก

 

2. GOOD BYE LENIN! (2003)

 

อยากดู BUTTERFLIES (1988, Wolfgang Becker) มาก ๆ เพราะหนังเรื่องนี้ชนะรางวัล GOLDEN LEOPARD จากเทศกาลภาพยนตร์ Locarno และสร้างจากบทประพันธ์ของ Ian McEwan (ATONEMENT, THE COMFORT OF STRANGERS, THE CEMENT GARDEN)

 

เราตกใจมากที่เพิ่งรู้ว่า จริง ๆ แล้วมีผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อ WOLFGANG BECKER สองคน โดย Wolfgang Becker อีกคนนั้นมีชีวิตในปี 1910-2005 และเคยกำกับหนังเรื่อง I SLEEP WITH MY MURDERER (1970)

+++++++++

วันนี้เราเพิ่งได้ดูหนังเรื่อง THE NIGHT DARA DIED (2024, Asamaporn Piriyapokanon, 30min, A+30) ที่คอมพิวเตอร์ในห้องสมุดของหอภาพยนตร์ ศาลายา เห็นใน ending credits มีชื่อของ Daniel Eisenberg ในฐานะ Advisor แล้วก็ดีใจมาก ๆ เพราะเราเคยดูหนังเรื่อง SOMETHING MORE THAN NIGHT (2003, Daniel Eisenberg, 72min) ตอนที่หนังเรื่องนี้มาฉายที่สวนลุมพินีในเทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพครั้งที่ 4 ในวันที่ 25 ธ.ค. 2005 หรือเมื่อ 19 ปีมาแล้ว เราชอบ SOMETHING MORE THAN NIGHT มาก ๆ จนยกให้หนังเรื่องนี้ติดอันดับ 7 ประจำปีของเราไปเลย (เป็นอันดับหนังสุดโปรดของเราประจำปี 2006 ที่รวมหนังที่เราได้ดูในช่วงปลายปี 2005 ไว้ด้วย)

 

ก่อนหน้านั้น Daniel Eisenberg ก็เคยมีหนังเรื่อง PERSISTENCE (1997, 86min) มาฉายในเทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพครั้งที่ 2 ในช่วงปลายปี 1999 ด้วย โดยมาฉายในรูปแบบฟิล์ม 16 มม. และฉายที่สมาคมฝรั่งเศส ถนนสาทรใต้ แต่เราพลาด ไม่ได้ไปดูหนังเรื่องนี้ ส่วนเพื่อนของเราที่ได้ไปดู PERSISTENCE ในเทศกาลนี้สรรเสริญเยินยอหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงสุดขีดมาก หนังเรื่อง PERSISTENCE ก็เลยกลายเป็นตราบาปในใจเราตลอด 25 ปีที่ผ่านมา และเป็นบทเรียนสอนใจเราว่า ถ้าหากคุณพลาดดูหนังบางเรื่องใน “เทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพ” คุณก็อาจจะพลาดมันไปเลยตลอดชีวิตก็ได้ หรืออาจจะหามันมาดูไม่ได้อีกเลยในช่วงเวลา 25 ปีต่อมา เหมือนอย่างเช่นในกรณีของ PERSISTENCE (มันมีใน PRIME VIDEO แต่ดูในไทยไม่ได้)

 

ส่วนตัวหนัง THE NIGHT DARA DIED นั้น เราชอบสุดขีดมาก เพราะว่า

 

1. เราว่าหนังเรื่องนี้มีลักษณะบางอย่างที่ไม่เหมือนหนังสั้นไทยโดยทั่ว ๆ ไป แต่บอกไม่ถูกเหมือนกันว่ามันคือลักษณะอะไร แต่เหมือนกับว่าหนังสั้นไทยโดยทั่ว ๆ ไปไม่ได้ออกมาเป็นแบบนี้น่ะ

 

2. ชอบตัวละครนางเอกมาก ๆ ในฐานะ “ตัวละคร” นะ ไม่ใช่ในฐานะที่เราอยากเป็นเพื่อนกับคนแบบนี้ในชีวิตจริง 55555 คือนึกถึงตัวละครประเภทนางเอกของ THE GREEN RAY (1986, Éric Rohmer) หรือตัวละครนางเอกหนังฝรั่งเศสหลาย ๆ เรื่องน่ะ ที่ตัวละครมันเป็น “มนุษย์” มาก ๆ มีความเผ็ด มีฤทธิ์เดช และอาจจะมีข้อเสียหรือความไม่น่ารักในตัวเองสูงมาก คือเวลาที่เราดูหนังแบบนี้ เราจะชื่นชอบ “ความเป็นมนุษย์” ของตัวละครในหนังมาก ๆ และมันเป็นมนุษย์ปุถุชนที่มีข้อบกพร่องในตัวเองเยอะมากจนเราเข็ดขยาดถ้าหากเราเจอคนแบบนี้ในชีวิตจริง 55555

 

คือถ้าหากเป็นตัวละครชาย ก็เปรียบเทียบได้ง่าย ๆ เลยว่า นึกถึงพวกผู้ชายในหนังของ John Cassavetes นะ ตัวละครชายที่ “มีความเป็นมนุษย์” สูงมาก จนเราทึ่งในความสามารถของผู้สร้างภาพยนตร์ที่ปั้นตัวละครแบบนี้ออกมาได้ แต่ตัวละครชายในหนังของ John Cassavetes ก็เป็นคนที่เราไม่อยากคบหาในชีวิตจริงเช่นกัน 55555

 

3. ในแง่นึงเรารู้สึกว่า THE NIGHT DARA DIED คือ “เหรียญอีกด้าน” ของ JEANNE DIELMAN, 23, QUAI DU COMMERCE, 1080 BRUXELLES (1975, Chantal Akerman, Belgium) โดยไม่ได้ตั้งใจ 55555

 

คือเรารู้สึกว่า หนังทั้งสองเรื่องนี้เหมือนจะนำเสนอ “ชีวิตประจำวัน” ของผู้หญิงสองคนเหมือน ๆ กันน่ะ และนำเสนอกิจวัตรประจำวันที่ดูเหมือนไม่มีความสลักสำคัญอะไรของชีวิตนางเอกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงจุดพลิกผันบางอย่างที่ทำให้นางเอกในหนังทั้งสองเรื่องไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันในวันนั้นตามแผนได้ 55555 โดยในกรณีของ THE NIGHT DARA DIED ก็คือการที่นางเอกลืม ID card ส่วนกรณีของ Jeanne Dielman นั้นก็คือการต้มมันฝรั่งนานเกินไป หรือไม่ก็อะไรสักอย่างที่กระทบจิตใจ Jeanne Dielman จนส่งผลให้เธอเริ่มใจลอย และส่งผลให้เธอต้มมันฝรั่งนานเกินไป และส่งผลให้เธอทำอะไรอื่น ๆ ผิดไปจากกิจวัตรประจำวันของเธอด้วย

 

ซึ่งถึงแม้ THE NIGHT DARA DIED กับ JEANNE DIELMAN จะมีอะไรพ้องกันบางอย่างในข้างต้น แต่เราก็รู้สึกว่าหนังสองเรื่องนี้เหมือนเป็นเหรียญคนละด้านกัน เพราะตัวละครนางเอกของ THE NIGHT DARA DIED มีลักษณะตรงข้ามกับ JEANNE DIELMAN โดยสิ้นเชิง อย่างเช่น

 

3.1 ทั้งสองเหมือนเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ของ “ผู้หญิง” ในยุคสมัยที่ห่างจากกันอย่างน้อย 50 ปี โดยตัวละคร Jeanne Dielman นั้นทำให้เรานึกถึง “แม่บ้าน” ในทศวรรษ 1950 ถึงแม้หนังจะออกมาในทศวรรษ 1970 ส่วน “ดารา” ใน THE NIGHT DARA DIED นั้น คือผู้หญิงทศวรรษนี้ ที่เน้นการสร้างภาพลักษณ์ของตนเองทาง social media ให้ดูดีตลอดเวลา

 

3.2 “ดารา” เป็นสาวโสดวัย 20 กว่าปีที่อาศัยอยู่กับพ่อ ส่วน Jeanne Dielman เป็น single mom ที่อาศัยอยู่กับลูกชาย

 

3.3  สิ่งที่ Jeanne Dielman ทำเกือบตลอดทั้งเรื่อง คือ “การทำงาน” ส่วนสิ่งที่ “ดารา” ทำเป็นส่วนใหญ่ คือการหาความสุขในแบบของตนเองไปเรื่อย ๆ

 

3.4 เหมือน Jeanne Dielman จะมีปัญหาเรื่องการเงิน ส่วน “ดารา” เหมือนจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเงิน ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิดนะ

 

3.5 Jeanne Dielman ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน เหมือน “ชีวิต” ของเธอคือเวลาที่เธออยู่ในบ้าน (เพราะบ้านก็เป็นสถานที่ทำงานของเธอด้วย) แต่ในส่วนของ “ดารา” นั้น ช่วงเวลาที่ทำให้เธอรู้สึก “มีชีวิตชีวา” จริง ๆ เหมือนจะเป็นเวลาที่เธออยู่นอกบ้าน

 

3.6 และเนื่องจากสไตล์การใช้ชีวิตของนางเอกหนังสองเรื่องนี้ แตกต่างจากกันอย่างสิ้นเชิง สไตล์การถ่ายของหนังสองเรื่องนี้ก็เลยตรงข้ามกันไปด้วย เพราะ JEANNE DIELMAN เน้นการตั้งกล้องนิ่ง static long take ซึ่งก็สะท้อนความซ้ำซากจำเจของชีวิตนางเอกหรือผู้หญิงยุคนั้นได้เป็นอย่างดี ส่วนสไตล์การถ่ายของ DARA เป็นกล้อง handheld ตามติดตัวละครนางเอก มีการตัดสลับฉับไว ซึ่งก็สะท้อนสไตล์การใช้ชีวิตแบบปรู๊ดปร๊าดของตัวละคร “ดารา” และหญิงสาวยุคนี้ได้เป็นอย่างดี

 

4. ส่วนฉากที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ คือฉากการกรอกน้ำก๊อกใส่กระป๋องเบียร์ ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด คือเราชอบที่ “ดารา” เหมือนพยายามสร้างภาพลักษณ์ของตัวเองตลอดเวลา ทั้งการถ่ายรูปลง social media อยู่เสมอ, การหมกมุ่นกับเครื่องแต่งกาย และการสร้างภาพลักษณ์ของตัวเองให้ดูเป็นสาวเปรี้ยวดื่มเหล้าในผับบาร์ ซึ่งสิ่งที่เธอทำก็เหมือนล้อไปกับชื่อ “ดารา” ของเธอด้วย

 

ในแง่หนึ่งตรงจุดนี้ก็ทำให้นึกถึง JEANNE DIELMAN ด้วย เพราะถึงแม้ JEANNE DIELMAN จะไม่ได้หมกมุ่นกับการสร้างภาพลักษณ์ของตัวเอง แต่เหมือนเรารู้สึกว่า ในขณะที่เราได้เห็นตัวละคร Jeanne Dielman ทำอะไรต่าง ๆ เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง หนังกลับไม่ได้บอกเราตรง ๆ ถึง “สิ่งที่อยู่ในใจของนางเอก” เหมือนเราได้เห็น Jeanne Dielman ทำอะไรมากมาย แต่ผู้ชมต้องจินตนาการเอาเองว่า นางเอกคิดอะไรและจิตวิญญาณของนางเอกเป็นอย่างไรกันแน่

 

ในส่วนของ THE NIGHT DARA DIED นั้น เราก็รู้สึกคล้าย ๆ กัน เราได้เห็นกิจวัตรต่าง ๆ มากมายของ “ดารา” ในหนังเรื่องนี้ เราได้เห็น “เปลือกนอก” ที่เธอพยายามสร้างให้คนอื่น ๆ เห็นตลอดเวลา แต่เหมือนหนังก็ไม่ได้บอกตรงๆ ว่า “แก่นแท้” หรือ “จิตวิญญาณ” ของ “ดารา” เป็นอย่างไร มันมีความเหงา, ความเปล่าเปลี่ยว, ความว่างโหวง, ความไร้ราก, etc. อะไรซ่อนอยู่ข้างในไหม

 

ซึ่งเราก็ชอบหนังทั้งสองเรื่องนี้ตรงจุดนี้มาก เหมือนหนังทั้งสองเรื่องนี้เปิดโอกาสให้เราได้เห็นชีวิตมนุษย์บางคนอย่างละเอียด แต่ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกว่า “มนุษย์” เป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่าย ๆ เลยแม้แต่นิดเดียว

 

หนังเรื่องนี้น่าจะเป็นหนังเรื่องที่ 4 ของคุณ Asamaporn Piriyapokanon ที่เราได้ดู ต่อจาก THE ROTTEN LAND (2019, documentary, 43min, A+30), RIGHT BEFORE YOUR EYES (2021, 43min, A+30) และ COMING THRO THE RYE (2023, 7min, A+30)

++++++++

 

STUFFED TOFU (2023, Feisal Azizuddin, Malaysia, 8min, A+15)

 

ดูจบแล้วงง ว่าตกลงมันเกิดอะไรขึ้น มันมีสัญญะอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า หรือหนังเรื่องนี้ต้องการจะบอกอะไรกันแน่

 

BUGS (2022, Gwai Lou, Malaysia, 14min, A+30)

 

ชอบสุดขีด เป็นหนัง feel bad ที่ดูแล้วหายใจไม่ทั่วท้อง นึกถึงหนังเรื่อง “เหยื่อ” VICTIM (1987, Chana Kraprayoon) เพียงแต่ว่า BUGS เป็นการปรับเปลี่ยนบริบทมาเป็นยุคสมัยปัจจุบัน ยุคของ LIVE STREAMING และ social media

 

GAREK (2024, Cech Adrea, Malaysia, 5min, A+15)

 

เหมือนหนังมันสั้นไป พอยิงประเด็น dilemma แล้วก็จบเลย เป็นการปะทะกันระหว่างหญิงสาวที่อาจจะทำตัวเสรีจนเกินไป กับเด็กหญิงที่อาจจะเชื่อฟังประเพณีมากเกินไป เหมือนเอาตัวละครที่ too liberal กับตัวละครที่ too conservative มาปะทะกัน แล้วก็จบ

 

PHONE CALL MAN WOMAN (2023, Lim Kean Hian, Malaysia, 11min, A+30)

 

นางเอกแรงมาก นึกว่าต้องฉายควบกับ LOVE LIES (2024, Ho Miu-Kei, Hong Kong, A+30)  ในประเด็น “ความรักคือธุรกิจ”

 

DURIAN TREES (2023, Cheun Shi Chin, Malaysia, 25min, A+30)

 

เดี๋ยววันหลังเราจะเอาชื่อหนังเรื่องนี้ไปแปะในรายชื่อหนังกลุ่ม “หนังที่มีอะไรบางอย่างพ้องกัน แล้วออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันโดยไม่ได้ตั้งใจ” ด้วย เพราะหนังเรื่องนี้นึกว่าเป็นคู่แฝด เป็น doppelganger ของหนังเรื่อง THE PARADISE OF THORNS วิมานหนาม (2024, Naruebet Kuno) เพราะหนังทั้งสองเรื่องพูดถึงการต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตายสุดชีวิตเพื่อแย่งชิง “กรรมสิทธิ์ในที่ดินสวนทุเรียน” เหมือนกัน และตัวละครเอกในหนังทั้งสองเรื่องก็ถูกโหมกระหน่ำด้วย “เพลิงแค้น” เหมือนกัน เพียงแต่ว่าในกรณีของ DURIAN TREES นั้น พระเอกเป็น “ชาวสวนวัยชรา” และเขาต้องฟาดฟันกับ “นายทุน + อำนาจรัฐ”

 

DROPPING ASHES (2023, Phang Jing Xian, Malaysia, 11min, A+15)

 

หนังเกี่ยวกับวิญญาณชายหนุ่มที่กลับมาหาพ่อแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ หนังให้อารมณ์ซึ้งๆ มากเกินไปหน่อยสำหรับเรา

 

SAYANG (2021, Roanne Woo, Malaysia, 16min, A+25)

 

หนัง SCI-FI ที่พูดถึงประเด็นที่น่าสนใจ นั่นก็คือโลกอนาคตที่เต็มไปด้วยมลพิษ จนคนต้องซื้อ+ใส่หน้ากาก OXYGEN ตลอดเวลา ซึ่งนั่นก็เปิดโอกาสให้คนรวยสามารถเข้าถึง OXYGEN ได้มากกว่าคนจนด้วย ซึ่งเราชอบประเด็นนี้ เพราะนึกถึงวิกฤติ PM 2.5 ในไทย ที่คนรวยก็สามารถพึ่งพา “เครื่องฟอกอากาศ” ได้มากกว่าคนจน

 

แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ประเด็นเดียว แต่มีการจินตนาการถึงอุปกรณ์หลอนจิตในโลกอนาคตด้วย ซึ่งก็น่าสนใจดีเหมือนกัน

+++++++++

 

ในบรรดา OSCAR SHORTLIST FOREIGN LANGUAGE FILMS 15 เรื่อง เราได้ดูไปเพียงแค่ 6 เรื่อง ซึ่งก็ชอบสุด ๆ ในระดับ A+30 ทั้ง 6 เรื่อง โดยเรียงตามลำดับความชอบส่วนตัวได้ดังนี้

 

1. UNIVERSAL LANGUAGE (2024, Matthew Rankin, Canada, 89min)

 

2. FLOW (2024, Gints Zilbalodis, Latvia, animation)

 

3. VERMIGLIO (2024, Maura Delpero, Italy, 119min)

 

4. DAHOMEY (2024, Mati Diop, France/Senegal/Benin, documentary, 68min)

 

5. HOW TO MAKE MILLIONS BEFORE GRANDMA DIES (2024, Pat Boonnitipat, Thailand)

 

6. SANTOSH (2024, Sandhya Suri, India, 120min)

 

ก็หวังว่าเราจะได้ดูหนังอีก 9 เรื่องที่เหลือในช่องทางใดช่องทางหนึ่งในอนาคตนะคะ โดยส่วนตัวแล้วเราชอบ UNIVERSAL LANGUAGE มากที่สุด แต่หนังเรื่องนี้จะได้เข้าชิงออสการ์หรือชนะออสการ์หรือไม่ เราก็ไม่ได้แคร์อะไร 5555 เหมือนเราแคร์แค่ความชอบของตัวเราเองเท่านั้น ส่วนตัวหนัง UNIVERSAL LANGUAGE มันจะได้รางวัลหรือไม่ หรือคนอื่น ๆ จะชอบจะเกลียดมันอะไรยังไง เราก็ไม่ได้สนใจอะไร คือถ้าหากมีคนอื่นๆ เขียนชม UNIVERSAL LANGUAGE เราก็ดีใจ และคงแชร์สิ่งที่คนนั้นเขียน แต่ถ้าหาก UNIVERSAL LANGUAGE ไม่ได้เข้าชิงออสการ์ เราก็เฉย ๆ ไม่ได้เสียใจอะไร จบ

 

 

Tuesday, December 17, 2024

HERE VS. FORREST GUMP

 

ในบรรดาหนังของ Jacques Rivette เราก็ได้ดู CELINE AND JULIE GO BOATING เป็นเรื่องแรก ดูแล้วก็หลงรัก Jacques Rivette ไปเลย เรายังจำได้เลยว่า เรากับเพื่อน ๆ ไปดูหนังเรื่องนี้ด้วยกันที่สมาคมฝรั่งเศส ในช่วงต้นปี 1997 พอดูเสร็จ เรากับเพื่อน ๆ ก็วิ่งข้ามทางม้าลายตรงถนนสาทรหน้า Alliance พอข้ามทางม้าลายมาได้แล้ว เรากับเพื่อน ๆ ก็มองหน้ากัน คิดถึงหนังเรื่องนี้ แล้วก็พูดออกมาพร้อมกันว่า "ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป"

 

เพราะฉะนั้นพอเรานึกถึงวลี "ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป" เราก็จะนึกถึงหนังเรื่อง CELINE AND JULIE GO BOATING ควบคู่ไปด้วยเสมอ เพราะเหมือนเรากับเพื่อน ๆ ใช้วลีนี้ในการบรรยายถึงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในช่วงต้นปี 1997 และหนังเรื่องแรกในชีวิตที่ถูกเรากับเพื่อน ๆ บรรยายว่า "ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป" ก็คือ CELINE AND JULIE GO BOATING นี่แหละ

 

+++

 

ชอบที่อุ้ย Ratchapoom เขียนถึงประเด็นเรื่อง WHAT COULD HAVE BEEN ใน HERE (2024, Robert Zemeckis) มาก ๆ พออ่านสิ่งที่อุ้ยเขียนแล้วก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า จริง ๆ แล้วตัวหนัง HERE ทั้งเรื่องก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “WHAT COULD HAVE BEEN ถ้าหากพระเอกนางเอกของ FORREST GUMP เกิดเป็นชนชั้นกลางธรรมดา ๆ ในสหรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่สอง” แทนที่จะเป็นพระเอกนางเอกที่มีปัญหาชีวิตรุนแรงแบบใน FORREST GUMP (1994. Robert Zemeckis) คือเหมือนชีวิตของตัวละครใน HERE อาจจะเป็นอีก multiverse นึงของตัวละครใน FORREST GUMP หรือไม่พระเอกนางเอกของ HERE ก็อาจจะเป็นหนึ่งในผู้คนที่เดินสวนไปมากับตัวละครพระเอกนางเอกใน FORREST GUMP ตามท้องถนนได้เลย เพราะ timeline ของหนังสองเรื่องนี้มันทับซ้อนกัน โดยตัวละครพระเอกของ FORREST GUMP อาจจะเคยได้เจอกับตัวละครน้องชายของพระเอก HERE ก็ได้ เพราะทั้งสองตัวละครไปร่วมรบในสงครามเวียดนามเหมือนกัน

 

แน่นอนว่า เราชอบ HERE มากกว่า FORREST GUMP อย่างรุนแรง เพราะชีวิตเราไม่หวือหวาอย่าง FORREST GUMP ชีวิตของเราเป็นเป็นชีวิตคนธรรมดา ๆ ที่เต็มไปด้วยความผิดหวังมากมาย แต่เราก็ชอบมาก ๆ ที่ HERE treat ชีวิตชนชั้นกลางธรรมดา ๆ ว่าเป็นเหมือนเพียง “เศษธุลีเล็ก ๆ เศษหนึ่งในระยะเวลาหนึ่งมหากัป” อะไรทำนองนี้ ชีวิตของตัวละครหลักใน HERE จริงๆ  แล้วมันง่ายต่อการทำให้เป็นเมโลดราม่าฟูมฟาย แต่พอชีวิตของตัวละครหลักมันถูกนำเสนอควบคู่ไปกับชีวิตของคนและสัตว์อื่น ๆ อีกมากมายในช่วงเวลา “มหากัป” เดียวกัน หนังเรื่องนี้มันก็เลยเข้ากับมุมมองของเราที่ว่า “ชีวิตของเราเต็มไปด้วยความทุกข์ แต่ชีวิตของคนอื่น ๆ ก็อาจจะเต็มไปด้วยความทุกข์ในแบบของเขาเองเช่นเดียวกัน”

++++

Edit เพิ่ม: พอดีเราเดินข้ามสะพานลอยตรงสี่แยกปทุมวันวันนี้ แล้วเห็นเด็กฝรั่งกำลังปีนขึ้นไปเล่นบนบัวบ้า เราเลยถ่ายคลิปนี้ไว้ เราเพิ่งมารู้จาก comment ว่า จริง ๆ แล้วเขาห้ามคนปีนขึ้นไปเล่นบนนี้นะจ๊ะ

 

ถ้าเข้าใจไม่ผิด งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะชื่อ BREATHING ของ Choi Jeong Hwa จากเกาหลีใต้

++++

 

เห็นงาน BREATHING ของ Choi Jeong Hwa จากเกาหลีใต้ ที่หน้า BACC วันนี้ (จริง ๆ แล้วเขาห้ามคนปีนขึ้นไปเล่นข้างบนนะ) แล้วนึกถึง “โคมวิเศษเจ้าแม่หัวซาน” มาก ๆ 55555

MISS JIT LIVE IN BOMBAY

 

ฉันรักเขา วศิน ภาณุมาภรณ์ Wasin Panumaporn from THE NATURE OF DOGS (หมา-ป่า) (2024, Pom Bunsermvicha, 27min, A+30)

++++

อ่านเรื่องของ “คริสติน่า แซ่แต้” แล้วนึกถึงกิจกรรมที่เพื่อน ๆ ของเราชอบทำสมัยมัธยมในช่วงปลายทศวรรษ 1980 มาก ๆ ซึ่งยุคนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ คือยุคนั้นเพื่อน ๆ ของเราชอบสมมุติว่าเพื่อน ๆ บางคนเป็น “นักร้องชื่อดัง” แล้วก็มีการจัดทำโปสเตอร์โปรโมทคอนเสิร์ตปลอม ๆ ขึ้นมา แล้วไปแอบติดโปสเตอร์ปลอม ๆ เหล่านี้ตามสถานที่ต่าง ๆ อย่างเช่นในห้องน้ำชายของสถาบันสอนภาษาบางแห่ง อะไรทำนองนี้

 

ซึ่งถึงแม้เรื่องราวเหล่านี้จะผ่านมานานราว 35 ปีแล้ว เราก็ยังจำได้ดี คือถ้าหากจำไม่ผิด มันจะมีโปสเตอร์อันนึง เป็นโปสเตอร์โปรโมทคอนเสิร์ต “MISS JIT LIVE IN BOMBAY” (จริง ๆ แล้วในโปสเตอร์นั้นจะใช้ชื่อเพื่อนอีกคนนึง ไม่ใช่ชื่อเรา แต่เราไม่อยากระบุชื่อคนอื่นๆ ในโพสท์นี้ 55555)  แล้วในโปสเตอร์นี้จะเป็นรูปวาด MISS JIT ถือไมโครโฟนร้องบนเวทีคอนเสิร์ต โดยมีงูเหลือมพาดคออยู่ แล้วก็มีการเขียนโปรโมทคอนเสิร์ตในทำนองที่ว่า “เธอร้องไปร้องมา แล้วงูเหลือมเลื้อยเข้าปิ๊ แล้วงูก็หายสาบสูญไปเลย” เป็น concert ที่มอบ unforgettable experience ให้แก่ audience หรืออะไรทำนองนี้

 

เพราะฉะนั้นพอเราเห็น “ตำนานที่สร้างขึ้นใหม่” ของคริสติน่า แซ่แต้ เราก็เลยนึกถึงกิจกรรม “การแต่งตำนาน” ของเพื่อน ๆ เราในสมัยมัธยมในช่วงปลายทศวรรษ 1980 มาก ๆ เหมือนการแต่งตำนานขึ้นมาใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุขสุด ๆ ในตอนนั้น 55555

 

++++

ชอบบทความนี้ใน HOLLYWOOD REPORTER บทความนี้มีชื่อว่า “Remembering Sarajevo’s War-Time Movie Club Where Tickets Cost a Cigarette (But You Had to Watch Out for Snipers)” หรือ “รำลึกถึงสโมสรภาพยนตร์ในกรุงซาราเจโวช่วงสงคราม ที่ซึ่งตั๋วภาพยนตร์ซื้อได้ด้วยบุหรี่หนึ่งมวน แต่คุณต้องคอยหลบนักซุ่มยิงเมื่อเดินทางมาดูหนังที่นี่”

 

บทความนี้พูดถึงเรื่องราวของต้นกำเนิดของ SARAJEVO FILM FESTIVAL ซึ่งจัดขึ้นปีแรกในปี 1995 แต่ต้นกำเนิดของมันเกิดขึ้นจากงานฉายภาพยนตร์ในชั้นใต้ดินของอาคารแห่งหนึ่งในเดือนก.พ. 1993 ในช่วงสงครามกลางเมืองบอสเนีย ซึ่งเป็นสงครามที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนเม.ย. 1992 และมีคนถูกฆ่าตายในสงครามกลางเมืองครั้งนี้ราว 100,000 คน

 

ในเดือนก.พ. 1993 นั้น กรุงซาราเจโว ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบอสเนีย เฮอร์เซโกวินา ถูกกองกำลังชาวเซิร์บปิดล้อมไว้ มีการทิ้งระเบิดใส่เมืองนี้มานาน 10 เดือนแล้ว และก็มีนักแม่นปืนคอยลอบยิงประชาชนในเมืองที่เดินไปเดินมาตามท้องถนน ประชาชนต้องอาศัยน้ำฝนในการทำอาหาร และต้องใช้จักรยานในการปั่นไฟฟ้าเพื่อใช้งานในบ้านเรือนของตนเอง

 

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางสงครามกลางเมืองที่รุนแรงสุดขีดในตอนนั้น โรงหนังอะพอลโล ซึ่งตั้งอยู่ในชั้นใต้ดินของสถาบันศิลปะการแสดงซาราเจโว ก็เริ่มเปิดทำการอีกครั้งและเริ่มฉายหนัง โดยคิดค่าตั๋วเป็นบุหรี่หนึ่งมวน งานฉายหนังที่ชั้นใต้ดินนี้มีผู้ชมอย่างแน่นขนัด ถึงแม้ว่าผู้ชมต้องฝ่าดงกระสุนและนักซุ่มยิงขณะเดินทางมายังโรงภาพยนตร์ที่นี่ก็ตาม โดยโรงภาพยนตร์แห่งนี้ใช้เครื่องปั่นไฟในการทำงาน เพราะเมืองนี้ไม่มีไฟฟ้าใช้ และหนังที่ฉายก็มาจากม้วนวิดีโอเทปที่ได้รับบริจาคมาจากคนต่าง ๆ  

 

เอลมา ทาทาราจิค ซึ่งมีอายุ 16 ปีในตอนนั้นเล่าว่า “ฉันยังเป็นเด็ก และก็ต้องการจะใช้ชีวิตอย่างปกติ ต้องการจะหาเรื่องสนุก ๆ ทำ และพอฉันได้ยินเรื่องของ Apollo War Cinema ฉันก็รู้ว่าฉันต้องไปที่นี่ให้ได้ พ่อแม่ของฉันอ้อนวอนไม่ให้ฉันไป พ่อของฉันถึงกับคุกเข่าก้มลงอ้อนวอนฉัน แต่ฉันก็ไม่ฟัง ฉันขี่จักรยานไปที่โรงหนังอะพอลโล ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ฉันต้องขี่จักรยานผ่านดงของนักซุ่มยิง แต่ฉันก็หาได้แคร์ไม่ ฉันรู้สึกตื่นเต้นมาก ฉันเลือกใส่เสื้อผ้าชุดที่ดีที่สุด และฉันยังคงจำได้ดีว่าฉันใส่รองเท้าผ้าใบสีขาวคู่ใหม่ด้วย”

 

“หนังเรื่องแรกที่ฉันได้ดูคือ Bodyguard ที่นำแสดงโดยวิทนีย์ ฮุสตัน แล้วหลังจากนั้นก็เป็นสัปดาห์ภาพยนตร์ของ  French New Wave ฉันไม่แคร์ว่าจะฉายเรื่องอะไร ฉันแค่ต้องการจะดูหนัง มันคือช่วงเวลาสองชั่วโมงที่ได้หลบลี้หนีหายเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง ได้หนีออกจากสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราในแต่ละวัน”

 

แฟนภาพยนตร์พากันหลั่งไหลมาดูหนังที่นี่ และพอเรื่องราวนี้แพร่ออกไป เทศกาลภาพยนตร์เอดินเบอระและเทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โนก็ช่วยส่งหนังมาฉายที่นี่ด้วย โรงหนังใต้ดินแห่งนี้เปิดทำการตั้งแต่เดือนก.พ. 1993 จนถึงเดือนธ.ค. 1995 และก็ได้กลายเป็นเทศกาลภาพยนตร์ซาราเจโวในปี 1995 ในขณะที่สงครามกลางเมืองบอสเนียสิ้นสุดลงในเดือนธ.ค. 1995  

 

เอลมา ทาทาราจิค ได้กลายเป็น head of the festivals competition selection ในเวลาต่อมา

 

เราอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกรุนแรงกับมันมาก ๆ กราบคนจัดฉายหนังใน MOVIE CLUB ท่ามกลางสงครามกลางเมืองในปี 1993-1995 พอเราอ่านบทความนี้แล้วก็นึกถึงประโยคสำคัญในหนังเรื่อง FIELD OF DREAMS (1989, Phil Alden Robinson) ประโยคที่ว่า “IF YOU BUILD IT, HE WILL COME.”

 

ตัวบทความเต็ม ๆ อ่านได้ที่นี่นะ

https://www.hollywoodreporter.com/movies/movie-news/remembering-sarajevo-war-time-movie-clubs-tickets-cigarette-snipers-1235558461/

 

 

Monday, December 16, 2024

LORD MEKHIN

เมื่อวันเสาร์ตอนที่เรานั่งรถ 515 กลับจากหอตอนสามทุ่มกว่า คนขับรถเมล์ถามผู้โดยสารในรถว่า หอภาพยนตร์เขาฉายอะไรข้างใน ผู้โดยสารท่านหนึ่งก็เลยตอบว่า ช่วงนี้เป็นเทศกาลหนังสั้น แล้วเราก็เลยเสริมว่า แต่ถ้าเป็นช่วงปกติ เขามักจะฉายหนังไทยยุคเก่า ๆ คนขับก็เลยเล่าให้ฟังว่า ตอนเด็ก ๆ เขาชอบดูหนังกลางแปลง แล้วประสบการณ์ที่ฝังใจเขาตอนเด็ก ๆ คือเขาได้ดู “แก้วขนเหล็ก” ที่นำแสดงโดยดามพ์ ดัสกร แล้วมันน่ากลัวมาก จนเขาแทบไม่กล้าเดินกลับบ้าน

 

วันนี้เราก็เลยไปค้นข้อมูลมา แล้วก็เลยเดาว่า หนังที่ฝังใจคนขับรถเมล์ท่านนี้ น่าจะเป็น “จอมเมฆินทร์” (1973, Saner Kraprayoon) ที่เป็นภาคสองของ “แก้วขนเหล็ก” เพราะว่ามีดามพ์ ดัสกรร่วมแสดงใน จอมเมฆินทร์ด้วย ดีใจมาก ๆ ที่หนังเรื่องนี้มีให้ดูในยูทูบ

 

เราเองก็ยังไม่เคยดูจอมเมฆินทร์เวอร์ชั่นนี้นะ แต่เราชอบตัวนิยายแก้วขนเหล็กกับจอมเมฆินทร์ของตรี อภิรุมมาก ๆ

https://www.youtube.com/watch?v=wBhucsCjsCE


Sunday, December 15, 2024

CRAZY LOTUS (2024, Naween Noppakun, A+30)

 

ลูกหมีบอกแม่หมีว่า “All I want for Christmas is CHA CHA HEELS!” แม่หมีรู้สึกกลัวมากค่ะ 55555

+++

 

ชอบ CRAZY LOTUS (2024, Naween Noppakun, A+30) อย่างรุนแรงสุดขีดคลั่งมาก ๆ หนังมีคุณสมบัติเข้าทางเรามาก ๆ นั่นก็คือความ limitless cinema, ความ “ไม่ทราบชีวิต”, ความ hyperbolic paraboloid 555555

 

พอได้ฟังช่วง Q&A ของคุณ Naween ที่พูดถึง concept เกี่ยวกับดนตรีและ dissonance เราก็เลยจินตนาการว่า ถ้าหากเราจะฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังเรื่องไหน เราก็คงจะฉายควบกับ EDEN AND AFTER (1970, Alain Robbe-Grillet, France, A+30) ซึ่งถือเป็น one of my most favorite films of all time เพราะถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด EDEN AND AFTER ก็เป็นหนังที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากทฤษฎีดนตรีเหมือนกัน เหมือนจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากทฤษฎีดนตรีของ Arnold Schoenberg ซึ่งเป็นเจ้าของ concept ชื่อ EMANCIPATION OF THE DISSONANCE แต่เราก็ไม่แน่ใจในเรื่องนี้นะ

 

คือเราคิดว่า EDEN AND AFTER ก็มีความเป็น limitless cinema, ความไม่ทราบชีวิต, ความ hyperbolic paraboloid เหมือนกัน และเราก็ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดคลั่งมาก ๆ ตอนที่ได้ดู แต่ถ้าหากเทียบกับ CRAZY LOTUS แล้ว EDEN AND AFTER ก็ “ดูง่าย” กว่าเยอะเลยนะ เพราะ EDEN AND AFTER มันมี “เนื้อเรื่อง” ให้พอติดตามได้บ้าง เพียงแต่ว่า “การตัดต่อ” ของมันพิสดารพิลึกพิลั่นมาก ๆ มีการใส่ฉากเฮี้ยน ๆ หรือการตัดต่อเฮื้ยน ๆ เข้ามาอย่างรุนแรงตลอดเวลา แต่มีเส้นเรื่องให้เราตามติดได้

 

หลังจากที่เราได้ดู EDEN AND AFTER ไปแล้วราว 3 รอบ คุณสนธยา ทรัพย์เย็น ก็เคยให้บทความภาษาอังกฤษเรามาอ่าน แต่เราจำรายละเอียดในบทความนั้นไม่ได้แล้ว จำได้คร่าว ๆ แค่ว่า ผู้เขียนบทความเขาวิเคราะห์ว่า การตัดต่อฉากเฮื้ยน ๆ อะไรต่าง ๆ ใน EDEN AND AFTER มันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสะเปะสะปะหรือตามอำเภอใจ แต่มันมี “โครงสร้าง” บางอย่างที่ได้รับแรงบันดาลใจจากทฤษฎีดนตรีกำกับควบคุมอยู่ เราเคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้ใน blog ของเราดังนี้

https://celinejulie.blogspot.com/2007/05/royal-s-brown-interviews-alain-robbe.html

 

The first article is SERIALISM IN ROBBE-GRILLET'S EDEN AND AFTER: THE NARRATIVE AND ITS DOUBLES. In this article, Royal S. Brown analyzes EDEN AND AFTER (1970, Alain Robbe-Grillet) thoroughly and makes a fascinating table to show that EDEN AND AFTER has 12 motifs, and these 12 motifs occur repeatedly as series for at least six times in the film. The twelve motifs are IMAGINATION, PRISON, MALE SEXUAL ORGAN, SPERM, BLOOD, DOORS, LABYRINTH, DOUBLE, WATER, DEATH, DANCE, and PAINTING. For example, the motif MALE SEXUAL ORGAN occurs first in the title sequence as a text "sexual violence", the second time it was represented as a gang rape scene, the third time it was shown as the key in a bizarre game which leads the heroine towards a revolver, the fourth time it was shown as chains & whips which tied Marie-Eve, the fifth time it was shown as tableu of tortures in which women are chained to wheels or to spiked grilles, and the sixth time it was shown as the torture of the heroine by using scorpions.

......

“Alain Robbe-Grillet has noted that the basic idea for l’Eden was to use as a narrative generator a form as hostile as possible to the very idea of a narrative. Now, the form that is the most hostile to the continuity, to the causality of the narrative is obviously the series. What characterizes the succession of events in a chronological narrative is the causal linking of events to each other through a kind of hierarchy. On the other hand, as in music, where the Schoenbergian series represents the suppression of the very idea of tonality, so that there is no longer any dominant, no longer any tonic, serialism in a narrative would be a completely equal treatment of a certain number of themes.”

 

เพราะฉะนั้นพอเราได้ฟังว่า CRAZY LOTUS มันอาจจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากทฤษฎีดนตรี เราก็เลยจินตนาการว่า เราอยากฉายหนังเรื่องนี้ควบกับ EDEN AND AFTER มาก ๆ เพราะ EDEN AND AFTER ได้รับแรงบันดาลใจมาจากทฤษฎีดนตรีเช่นกัน ซึ่งก็น่าจะเป็นทฤษฎีดนตรีของ Arnold Schoenberg ซึ่งเป็นเจ้าของ concept ชื่อ EMANCIPATION OF THE DISSONANCE


 

Friday, December 13, 2024

NAPAPORN HONGSAKUL

 

ฉาก “ป้าสร้อยปืนยาว” ใน ล่า (1994, Supol Wichienchai) นี่คลาสสิคมาก ๆ และที่ฮามาก ๆ คือพอตำรวจจะมาจับป้า ป้ากลับบอกว่า “อย่าทำร้ายคนแก่ คนแก่ไม่มีพิษมีภัย” ถ้าหากเราจำไม่ผิด 55555

 

ฉาก “ป้าสร้อยปืนยาว” นี่เราเข้าใจว่าเป็นการ tribute ให้ฉาก “ป้าศรีปืนยาว” ใน GROUNDED GOD เทวดาเดินดิน (1976, Chatrichaloem Yukol) ด้วย

 

ล่า (1994) นื่ถือเป็น ONE OF MY MOST FAVORITE TV SERIES OF ALL TIME เลย คือมันเข้าทางเราอย่างสุด ๆ และมันมีการ tribute ให้อะไรต่าง ๆ เยอะมาก ตั้งแต่ tribute ให้ “เทวดาเดินดิน”, tribute ให้ THE SILENCE OF THE LAMBS (1991, Jonathan Demme) และ tribute ให้ MUSIC VIDEO เพลง BEETHOVEN (I LOVE TO LISTEN TO) (1987) ของวง Eurythmics ด้วย

 

ดีใจมาก ๆ ที่เพจ "เชื่อGU ไปดูเลย" เขียนถึงคุณนภาพร หงสกุล เราก็เลยถือโอกาสนี้ repost หนึ่งในฉากคลาสสิคตลอดกาลในดวงใจของเราอีกครั้ง ซึ่งก็คือฉากจากละครโทรทัศน์เรื่อง "คุณหญิงบ่าวตั้ง" (1991) ที่เป็นฉากนภาพร หงสกุล ปะทะ สุนันทา นาคสมภพ และมณีรัตน์ วัยวุฒิ 55555

https://web.facebook.com/jit.phokaew/videos/10217830237410978

 

ONE OF MY MOST FAVORITE ADVERTISEMENTS OF ALL TIME คือโฆษณาไบกอนเขียวในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ดูได้ในคลิปนี้ในนาทีที่ 5.50-6.20

https://www.youtube.com/watch?v=BraUbxwCXI8

 

เพิ่งเห็นว่า โปรแกรม THAI SHORT FILMS TO THE WORLD คนดูกะหล่ำแตกมาก ๆ