ตอบน้อง lovejuice
วันนี้ไปงานสัปดาห์หนังสือมาอีกครั้ง และลองไปเดินวนรอบบู๊ธนานมีดูอีกที ปรากฏว่าคราวนี้เจอหนังสือที่ต้องการแล้วค่ะ นั่นก็คือ STEPHEN HAWKING: A LIFE IN SCIENCE หรือ “สตีเฟน ฮอว์คิง” ของ MICHAEL WHITE + JOHN GRIBBIN
คราวที่แล้วมาหาหนังสือเล่มนี้ไม่เจอเป็นเพราะว่าดิฉันเดินดูไม่ทั่วบู๊ธเองแหละค่ะ และก็เป็นเพราะเชื่อใจพนักงานประจำบู๊ธมากไปหน่อย พอพนักงานในบู๊ธนานมีบอกว่าไม่มีหนังสือเล่มนี้ ดิฉันก็เลยคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นของสำนักพิมพ์อื่น แล้วก็เลยไม่ได้เดินสำรวจดูในบู๊ธนานมีต่อด้วยตัวเอง แต่พอแน่ใจว่าหนังสือเล่มนี้เป็นของนานมีจริงๆ ก็เลยลองสำรวจดูด้วยตัวเองอีกครั้งจนเจอมันวางขายอยู่จริงๆ ต้องขอโทษด้วยค่ะที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
ตอบน้อง FILIX THE CAT
ยินดีมากค่ะที่น้องจะส่งตัวเองไปเป็นเครื่องบรรณาการแก่ชายหนุ่มกลุ่มนี้ ขอให้ปฏิบัติภารกิจด้วยความขยันขันแข็งนะคะ
COPY FROM SCREENOUT WEBBOARD
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=3437&start=3925
--เมื่อวันอาทิตย์ได้ดู “อำมหิต พิศวาส” (THE PASSION) (2006, ศรัณยู วงษ์กระจ่าง, A-/B+) รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ให้ความรู้สึกแบบหนังเกรดบีของฝรั่งที่สนุกตื่นเต้นพอสมควร
--สรุปอันดับภาพยนตร์ในเทศกาลที่ได้ดูระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 12 ต.ค. – อาทิตย์ 22 ต.ค. 2006
1.SILENCE WILL SPEAK (2006, PUNLOP HORHARIN, A+++++++++++++++)
2.KONIG’S SPHERE (2002, PERCY ADLON, A+++++++++++++++)
3.THE ACCORD (2005, NICOLAS WADIMOFF + BEATRICE GUELPA, SWITZERLAND, A+++++++++++++++)
4.THE CALM (1976, KRZYSZTOF KIESWLOWSKI, A++++++++++)
5.PERSONNEL (1975, KRZYSZTOF KIESLOWSKI, A++++++++++)
6.A SHORT WORKING DAY (1981, KRZYSZTOF KIESLOWSKI, A+++++)
รู้สึกชอบ THE CALM + PERSONNEL + A SHORT WORKING DAY มากกว่าหนังชุด THREE COLORS ของ KRZYSZTOF KIESLOWSKI เพราะดูหนังยุคแรกๆของ KIESLOWSKI แล้วรู้สึกมีอารมณ์ร่วมมากกว่าหนังชุด “สามสี”หลายเท่า การได้ดู RETROSPECTIVE ของ KRZYSZTOF KIESLOWSKI ในเทศกาลนี้ ทำให้ความรู้สึกชอบ KIESLOWSKI เพิ่มขึ้นจากเดิมราว 5 เท่า
7.THE LOVERS OF MARONA (2005, IZABELLA CYWINSKA, A+++++)
8.FROZEN LAND (2005, AKU LOUHIMIES, A+++++)
9.TRAGEDY OF A RIDICULOUS MAN (1981, BERNARDO BERTOLUCCI, A+++)
10.12:08 EAST OF BUCHAREST (2006, CORNELIU PORUMBOIU, ROMANIA, A+)
11.UNDERGROUND PASSAGE (1973, KRZYSZTOF KIESLOWSKI, A+)
12.GRIZZLY MAN (2005, WERNER HERZOG, A+)
13.THE GRIM REAPER (1962, BERNARDO BERTOLUCCI, A+)
14.CLIMATE (2006, NURI BILGE CEYLAN, A+)
15.I DON’T WANT TO SLEEP ALONE (2006, TSAI MING-LIANG, A+)
16.CLOSE TO HOME (2005, DALIA HAGER + VIDI BILU, ISRAEL, A+)
17.THE CAIMAN (2006, NANNI MORETTI, A+)
18.SKETCHES OF FRANK GEHRY (2006, SYDNEY POLLAK, A+)
19.THE SPIDER’S STRATAGEM (1970, BERNARDO BERTOLUCCI, A+)
20.ISABELLA (2006, PANG HO-CHEUNG, A+)
21.ARIZONA SUR (2005, MIGUEL ANGEL ROCCA + DANIEL PENSA, A+)
22.A MAN THING (2001, SLAWOMIR FABICKI, A+)
23.THE ANTHEM (2006, APICHATPONG WEERASETHAKUL, A+)
24.MY BROTHER NIKHIL (2005, ONIR, INDIA, A+)
25.THE BLOSSOMING OF MAXIMO OLIVEROS (2005, AURAEUS SOLITO, A+/A)
26.FIRST LOVE (1974, KRZYSZTOF KIESLOWSKI, A)
27.ODE TO JOY (2005, POLAND, A)
27.1 SILESIA (ANNA KAZEJAK-DAWID, A+/A)
27.2 POMERANIA (MACIEJ MIGAS, A)
27.3 WARSAW (JAN KOMASA, A/A-)
28.PARIS I LOVE YOU (2006, A)
28.1 14TH ARRONDISSEMENT (Alexander Payne, A+)
28.2 LOIN DU 16EME (Walter Salles, A+)
28.3 LES MARAIS (Gus Van Sant, A+)
28.4 QUARTIER DE LA MADELEINE (Vincenzo Natali, A+)
28.5 PLACE DES FETES (Oliver Schmitz, A+)
28.6 QUARTIER DES ENFANTS ROUGES (Olivier Assayas, A+)
28.7 TUILERIES (Joel & Ethan Cohen, A+/A)
28.8 TOUR EIFFEL (Sylvain Chomet, A+/A)
28.9 QUARTIER LATIN (Gerard Depardieu + Frederic Aubertin, A)
28.10 QUAIS DE SEINE (Gurinder Chadha, A)
28.11 PERE-LACHAISE (Wes Craven, A)
28.12 PARC MONCEAU (Alfonso Cuaron, A)
28.13 MONTMARTRE (Bruno Podalydes, A/A-)
28.14 PORTE DE CHOISY (Christopher Doyle, A-)
28.15 FAUBOURG SAINT-DENIS (Tom Tykwer, A-)
28.16 PLACE DE VICTOIRES (Nobuhiro Suwa, A-)
28.17 PIGALLE (Richard LaGravenese, A-) 2
8.18 BASTILLE (Isabel Coixet, B+)
29.JUST DO IT (2002, FRANCESCO APOLLONI, ITALY, A)
30.CEASE FIRE (2006, TAHMINEH MILANI, A)
31.SEEDS OF DOUBT (2005, SAMIR NASR, GERMANY, A)
32.CHICHA TU MADRE (2006, GIANFRANCO QUATTRINI, PERU, A-)
33.THE GOLD TOOTH (2005, DANIEL RODRIGUEZ, PERU, A-)
34.ANASTASIA (2005, DIMITRIS APOSTOLOU, A-)
35.THE RIGHT OF THE WEAKEST (2006, LUCAS BELVAUX, A-/B+)
36.THE DRAGON HOUSE (2005, JON GARANO, A-/B+)
37.THE FEAST OF THE GOAT (2005, LUIS LLOSA, B+)
38.TAKING BACK THE WAVES (2005, NICOLAAS HOFMEYR, B+)
39.JO SIFFERT: LIVE FAST – DIE YOUNG (2005, MEN LAREIDA, SWITZERLAND, B+/B)
40.FOR BREAD ALONE (2005, RACHID BENHADJ, B)
41.TALE OF THREE FRIENDS (2006, ABHIJIT GUHA + SUDESHNA ROY, B)
42.MY NAME IS EUGEN (2005, MICHAEL STEINER)
งดให้เกรด เพราะหลับสนิทขณะที่ดูหนังเรื่องนี้
ความรู้สึกเล็กๆน้อยๆ
--KONIG’S SPHERE
ขณะที่ดู KONIG’S SPHERE ร้องไห้ไป 3 รอบในฉากดังต่อไปนี้
1.ฉากที่ FRITZ KOENIG กำลังจะเดินเข้าไปดูซากของ THE SPHERE เขาไม่สามารถเดินตรงเข้าไปดูซากของงานประติมากรรมของเขาได้ในทันที เพราะพื้นที่นั้นยังคงมีตำรวจและคนงานคอยควบคุมดูแลการเก็บเศษซากตึก
เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ในบริเวณนั้นอยู่
รู้สึกชื่นชอบการตัดต่อในฉากนี้อย่างสุดๆ เพราะขณะที่ KOENIG กำลังจะเดินเข้าไปดูซากนั้น อยู่ดีๆหนังก็ตัดมาเป็นภาพถ่ายของ KOENIG กับภรรยาที่ถ่ายกับ THE SPHERE เมื่อราว 30 ปีก่อน การตัดต่อระหว่างภาพอดีตของการให้กำเนิดสิ่งที่เรารักและปัจจุบันของการทำลายล้างในฉากนี้ ทำให้รู้สึกมีอารมณ์ร่วมกับ KOENIG ในฉากนั้นอย่างมากๆ การได้ดูฉากดังกล่าวทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่าดิฉันเป็นคุณแม่ที่อยู่ที่สถานที่เกิดเหตุฆาตกรรม และกำลังจะขออนุญาตตำรวจเพื่อเข้าไปดูศพลูกสาวที่ถูกฆ่าตาย และขณะที่ตัวเองกำลังจะเดินเข้าไปเห็นศพของลูกสาวนั้น อยู่ดีๆภาพของลูกสาวขณะที่ยังเป็นเด็กทารกที่อยู่ในอ้อมกอดของดิฉันเมื่อ 30 ปีก่อนก็ผุดขึ้นมา
2.ฉากตำรวจสาว
ในภาพยนตร์เรื่อง KONIG’S SPHERE นั้น เราจะเห็นได้ว่าผู้คนทั่วไปและแม้แต่ตัว KOENIG เองต่างก็พูดว่าการที่ THE SPHERE ถูกทำลายไม่ใช่เรื่องที่สลักสำคัญอะไรมากนักเมื่อเทียบกับจำนวนคนที่ล้มตายหลายพันคนในตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ แต่ถึงแม้ปากของ KOENIG จะพูดอย่างนั้น ดิฉันก็คิดว่าเขาคงรู้สึกเจ็บปวดอยู่ลึกๆ เพราะ THE SPHERE เปรียบได้เหมือนกับเป็นลูกคนหนึ่งของเขา และการที่ลูกสุดที่รักของเขาถูกทำลายไปโดยไม่มีคนสนใจ น่าจะสร้างความรู้สึกเจ็บปวดจนเหลือแสนให้แก่เขา
แต่เมื่อ KOENIG เดินทางไปที่นิวยอร์คอีกครั้ง เขาก็พบกับตำรวจสาวคนหนึ่งที่จดจำ THE SPHERE ได้ เธอแสดงอาการตื่นเต้นยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับประติมากรผู้สร้าง THE SPHERE โดยบังเอิญ และเรียกเพื่อนๆของเธอให้มาดู KOENIG ดิฉันคิดว่า KOENIG คงรู้สึกยินดีและปลาบปลื้มใจเป็นล้นพ้น ที่พบว่าอย่างน้อยในโลกนี้ก็ยังมีตำรวจหญิงคนหนึ่งที่ชื่นชอบผลงานของเขา, ยังคงจดจำผลงานนั้นได้ และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับประติมากรเจ้าของผลงานที่ถูกทำลายไปแล้วนี้
3.ฉากจบ
ในตอนจบของภาพยนตร์เรื่องนี้ KOENIG พูดถึงประโยคของ JOHN UPDIKE ที่ว่า THE TRUTH IN ART CAN BE FOUND IN THE PAIN IT SHELTERS. และเขาก็พูดเหมือนกับว่าการที่ THE SPHERE ถูกทำลาย ทำให้เขาเข้าใจประโยคนี้ในที่สุด
ดิฉันไม่เข้าใจว่าประโยคนี้แปลว่าอะไร แต่ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองสามารถเข้าใจความรู้สึกของ KOENIG ที่มีต่อประโยคนี้ และมันเป็นความรู้สึกที่เจ็บปวดมากๆ และหลังจากนั้นทุกครั้งที่ดิฉันนึกถึงฉากจบนี้ ดิฉันก็จะรู้สึกอยากร้องไห้
ประโยคนี้ช่วยให้ดิฉันได้แง่มุมเพิ่มขึ้นในการมองภาพยนตร์ด้วย โดยมองไปยังภาพยนตร์ในแง่ที่ว่า “ความเจ็บปวดใดบ้างหนอที่อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์เรื่องนั้น”
--ได้คุยกับคุณ filmsick หลังดู SKETCHES OF FRANK GEHRY จบ และคุณ FILMSICK ได้ตั้งข้อสังเกตในทำนองที่ว่า SKETCHES OF FRANK GEHRY มีความเป็นหนังอเมริกันในแง่ที่ว่ามันเป็นเรื่องของคนที่ต่อสู้ทำตามความฝันจนประสบความสำเร็จ
รู้สึกเห็นด้วยกับคุณ filmsick เป็นอย่างมากในจุดนี้ และทำให้รู้สึกเพิ่มเติมว่า เพราะฉะนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดที่ KONIG’S SPHERE จะกำกับโดยผู้กำกับชาวเยอรมัน เพราะในขณะที่ภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง SKETCHES OF FRANK GEHRY เป็นเรื่องของ “ฝันที่เป็นจริงของสถาปนิก” ภาพยนตร์เยอรมันเรื่อง KONIG’S SPHERE ก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ฝันร้ายที่เป็นจริงของประติมากร” และดิฉันก็คิดว่าภาพยนตร์เยอรมันมีแนวโน้มจะถ่ายทอด “ความจริงอันโหดร้าย หรือ ฝันสลาย” ได้ดีมากๆอยู่แล้ว
--KONIG’S SPHERE เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองของ PERCY ADLON ที่ดิฉันได้ดู โดยก่อนหน้านี้ดิฉันเคยดูเรื่อง ROSALIE GOES SHOPPING (1989, B+)
ภาพยนตร์ของ PERCY ADLON เรื่อง YOUNGER AND YOUNGER (1994) มีขายในไทยในแบบวีซีดีลิขสิทธิ์
--ถึงแม้ภาพยนตร์ในเทศกาลครั้งนี้จะไม่ได้ถูกใจดิฉันอย่างรุนแรงสุดขีดเหมือนในเดือนต.ค.ปี 2005 แต่การชมเทศกาลครั้งนี้ก็ทำให้ดิฉันมีความสุขที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะหลังจากชมหนังในเทศกาลจบในแต่ละคืน ดิฉันก็ได้มีโอกาสไปนั่งคุยกับเพื่อนๆใน SCREENOUT ต่อกันแทบทุกคืนถึงตี 2-ตี 3 (จนส่งผลให้ไม่มีเวลาเหลือมาเขียน+อ่านอินเทอร์เน็ต)
กิจกรรมที่ทำหลังดูหนังในเทศกาลจบในแต่ละคืน (ถ้าจำอะไรผิดตรงไหนก็ขออภัยและได้โปรดทักท้วงมาด้วยนะคะ)
พฤหัสบดี 12 ต.ค. – หลังดู PARIS I LOVE YOU ก็ไปกิน NOODLE ที่สีลมกับ FRANKENSTEIN, LUNAR, อ้วน, VESPERTINE และมีฝรั่งหนุ่มน่ารักในชุดเสื้อยืดสีฟ้าแอบหันมาเหล่คุณอ้วนเป็นระยะๆ
ศุกร์ 13 ต.ค. – หลังดู PERSONNEL + THE CALM ก็ไปกินกันต่อที่นิวไลท์กับอ้วน, VESPERTINE, เก้าอี้มีพนัก, FRANKENSTEIN
เสาร์ 14 ต.ค. — หลังดู JUST DO IT ก็ไปนั่งชิงช้าสวรรค์ที่สวนลุมไนท์บาซาร์ กับอ้วน, LUNAR, OLIVER + เก้าอี้มีพนัก โดยดิฉันจะส่งเสียงตะโกนออกจากชิงช้าสวรรค์เป็นระยะๆว่า “ฉันอยากมีผัว”
อาทิตย์ 15 ต.ค.—หลังดู JOE SIFFERT ก็ไปกินส้มตำกับ LUNAR + อ้วน และนั่งเล่นอินเทอร์เน็ตด้วยกันจนถึง ตี 3
จันทร์ 16 ต.ค.—สลายตัว
อังคาร 17 ต.ค.—ตัวใครตัวมัน
พุธ 18 ต.ค. – หลังดู I DON’T WANT TO SLEEP ALONE ก็ไปกินผู้ชายที่สามย่านกับ LUNAR + อ้วน + ธัญสก
พฤหัสบดี 19 ต.ค. – หลังดู ISABELLA ก็ไปกิน BURGER KING กับ LUNAR, FILMSICK, อ้วน, เก้าอี้มีพนัก
ศุกร์ 20 ต.ค. – หลังดู MY BROTHER NIKHIL ก็ไปกิน STARBUCKS + NOODLE + SECRET RECIPE กับ VESPERTINE, อ้วน, LUNAR, FILMSICK, FRANKENSTEIN, เก้าอี้มีพนัก
เสาร์ 21 ต.ค.—หลังดู ODE TO JOY ก็ไปกินกันที่สวนลุมไนท์บาซาร์ + SECRET RECIPE กับผู้กำกับหนังฟิลิปปินส์ 2 คน, FRANKENSTEIN, LUNAR, FILMSICK, อ้วน, VESPERTINE
อาทิตย์ 22 ต.ค.—กินกันที่นิวไลท์ และไปเล่น pillow fight กันต่อกับ FILMSICK,เก้าอี้มีพนัก, LUNAR
http://stephendelasheras.com/fotoblog/uploaded_images/pillowfight-708873.jpg
ขอบคุณทุกๆคนมากค่ะที่ทำให้เดือนต.ค.ปีนี้เป็นหนึ่งในเดือนที่ดิฉันรู้สึกมีความสุขที่สุดในชีวิต
Monday, October 23, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment