มีเพื่อนในเฟซบุ๊คให้เราแนะนำหนังที่เกี่ยวกับการปลูกฝังความเชื่อ เราก็เลยตอบไปตามนี้จ้ะ
1.I’M GONNA BE A NAIVE (2012, Viriyaporn Boonprasert)
2.บ้านผีปอบ (2010, อุกฤษณ์ สงวนให้, 15นาที)
หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า
การปลูกฝังความเชื่อที่ผิดๆนำไปสู่ความรุนแรงเชิงโครงสร้างและการทำร้ายคนบริสุทธิ์ได้อย่างไร
3. 40 YEARS OF SILENCE: AN INDONESIAN TRAGEDY (2009, Robert Lemelson)
หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า
การปลูกฝังความเชื่อที่ผิดๆนำไปสู่การสังหารหมู่คนเป็นล้านคนได้อย่างไร
4.TWO & TWO (2011, Babak Anvari)
ต่อไปนี้เป็นรายชื่อกลุ่มหนังที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับการปลูกฝังความเชื่อโดยตรง
แต่มีประเด็นบางอย่างที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจดี
5.THE PARTY AND THE GUESTS (1966, Jan Nemec)
หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า
ชนชั้นกลางค่อยๆกลายเป็นพวกบูชาเผด็จการได้อย่างไร
6.THE NASTY GIRL (1989, Michael Verhoeven)
หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า สิ่งที่พ่อแม่, โรงเรียน, ศาสนา,
คนในชุมชนบอกสอนเรามาโดยตลอด อาจเป็นสิ่งตอแหลก็ได้ และพอเราเริ่มตั้งคำถามถึงความจริงปุ๊บ
คนในชุมชนก็พร้อมที่จะทำร้ายเราในทันที
7.+8. BETRAYED (1988, Costa-Gavras) + MUSIC BOX (1989, Costa-Gavras)
หนังสองเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า “อย่าเชื่อในสิ่งที่พ่อแม่สอน”
เพราะพ่อแม่เราอาจจะไม่ได้บอกความจริงกับเราก็ได้
ถ้าจำไม่ผิด คอสตา-กาฟราสเคยพูดว่า ฉากที่สยองขวัญที่สุดสำหรับเขาใน BETRAYED ไม่ใช่ฉากการไล่ล่าฆ่ากัน
แต่เป็นฉากที่ตัวละครเด็กๆในเรื่องมองว่า ความคิดเหยียดผิว (หรือความคิดที่ว่าคนเราไม่ควรมีสิทธิเท่ากัน)
เป็นความคิดที่ถูกต้อง
9.I FOR ICARUS (1979, Henry Verneuill)
ประเด็นหลักของหนังไม่เกี่ยวข้องกับการปลูกฝังความเชื่อ
แต่มีฉากหนึ่งในหนังที่สำคัญมาก ที่เกี่ยวกับการทดลองเพื่อทดสอบว่า มนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะ
“เชื่อฟังคำสั่ง” มากน้อยเพียงใด และผลการทดสอบก็พบว่า
มนุษย์หลายคนพร้อมที่จะทำร้ายคนอื่นๆโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เพียงเพราะเขาเชื่อว่า
“การทำตามคำสั่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว”
10.THE INEXTINGUISHABLE FIRE (1969, Harun Farocki)
หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า บางทีข้อมูลที่เราได้รับมา
อาจไม่ทำให้เราตระหนักว่าเราตกเป็นเครื่องมือของใครอยู่ อย่างเช่น คนงานโรงงาน A อาจจะผลิตกระบอกโลหะอะไรก็ไม่รู้
คนงานโรงงาน B อาจจะผลิตแท่งโลหะอะไรก็ไม่รู้ นักวิทยาศาสตร์โรงงาน
C อาจจะผลิตสารเคมีอะไรก็ไม่รู้ คนบางคนในกลุ่มนี้อาจจะคิดว่าพวกเขากำลังผลิตส่วนประกอบของเครื่องดูดฝุ่น
แต่พวกเขาไม่รู้ว่าจริงๆแล้วพวกเขากำลังผลิตส่วนประกอบของอาวุธร้ายแรงที่จะถูกนำไปฆ่าคนในประเทศอื่นๆ
11.THE PATRIOT WOMAN (1979, Alexander Kluge)
ดีวีดีหนังเรื่องนี้มีให้ยืมที่ห้องสมุดสถาบันเกอเธ่นะ
หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นปัญหาในการสอนประวัติศาสตร์ในโรงเรียน
เพราะประวัติศาสตร์ที่สอนกันในโรงเรียนมักจะ “ไม่เล่าถึงความชั่วร้ายในอดีตของประเทศตัวเอง”
และ “โฟกัสไปแต่เรื่องราวของวีรบุรุษ” หรือบางทีก็รวมไปถึงเรื่องราวเชิงอภินิหารของวีรบุรุษ,
วีรสตรีในอดีต โดยที่ “ข้อเท็จจริง” ถูกมองข้ามไป และ “ประวัติศาสตร์ของคนธรรมดา”
ถูกมองข้ามไป
อันนี้เป็นข้อความที่นักวิจารณ์บรรยายถึงนางเอกใน THE PATRIOT WOMAN ที่เป็นครูสอนประวัติศาสตร์
“The more she grows suspicious of the linear,
radically reductionist explanations of history found in schoolbooks, the more
she questions a job that calls on her to teach German history in neat 45-minute
segments. When Gabi Teichert shows interest, for instance, in the hundreds of
little everyday stories that have been excluded by the official historiography,
she deals with German history in the spirit of Kluge’s project: “And what else
is the history of a country but the vastest narrative surface of all? Not one
story but many stories.””
อันนี้เป็น quote ที่อยู่ในบทวิจารณ์หนังเรื่อง THE PATRIOT
WOMAN พูดถึงจุดบอดในประวัติศาสตร์ที่การเรียนการสอนในโรงเรียนและสังคมหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึง
และจุดบอดนี้จะนำมาซึ่งการล่มสลายของสังคมนั้น
““Everyone learns—if he has any self-knowledge at
all—that he has a blind spot at each stage of his life. Something he does not
see. That is related to his perceptual capacity, his history. And a society or
a civilization also has a blind spot. Precisely this blind
spot brings about its self-destruction. In my opinion the task of literature is
not only to describe it but to enter it, to go into the eye of the hurricane.
This often happens by means of self-exploration, because, I, you, each of us,
our education and socialization are all a part of this civilization.”
12.BUBBLE BOY (2001, Blair Hayes)
อันนี้เป็นหนังต่อต้านพวกอนุรักษ์นิยม,เคร่งศาสนาในอเมริกา
ที่เลี้ยงลูกแบบ “ไข่ในหิน” และพยายามอบรมเลี้ยงดูลูกโดยไม่ให้ลูกได้รับรู้ความเป็นจริงในโลกนี้
1 comment:
เพิ่มเติมอีกเรื่อง
13.THE AUTOBIOGRAPHY OF NICOLAE CEAUSESCU (2010, Andrei Ujica, Romania)
หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า "ข่าวบางประเภท" จริงๆแล้วมันเป็นการปลูกฝังความเชื่อของคนในชาติได้อย่างน่าสะพรึงกลัวมากๆ
Post a Comment