Tuesday, December 27, 2016

MOTEL MIST (2016, Prabda Yoon, A+30)

MOTEL MIST (2016, Prabda Yoon, A+30)

1.คือเราชอบสุดๆในระดับ A+30 นะ แต่ถ้าจัดอันดับประจำปีแล้ว หนังเรื่องนี้จะติดประมาณอันดับ 20 ในบรรดาหนังยาวของไทยที่เราได้ดูในปี 2016 จ้ะ เพราะฉะนั้นความรู้สึกของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้มันจึงอยู่ในข่าย “ชอบสุดๆ แต่ก็มีหนังอีกหลายเรื่องที่ชอบมากกว่านี้”

สาเหตุที่ชอบในระดับ A+30 อาจจะเป็นเพราะว่า “มันเป็นหนังไทย” ด้วยแหละ คือถ้าหากหนังเรื่องนี้เป็นหนังฝรั่งเศสหรือหนังอเมริกันอินดี้ เราอาจจะชอบมันแค่ในระดับ A+15 ก็ได้ แต่ความที่มันเป็นหนังไทย เราก็เลยเข้าใจบริบทของมันว่าทำไมมันถึง “ไม่แรง” เท่าที่ควร หรือไม่สะใจเราเท่าที่ควร
แต่ถ้าหากมันเป็นหนังที่มาจากสังคมที่เสรีมากกว่าเราเยอะ อย่างยุโรป, อเมริกา หรือญี่ปุ่น เราจะรู้สึกว่าพฤติกรรมของตัวละครในหนังเรื่องนี้มัน “เบา” มากๆ

อีกปัจจัยที่ทำให้ชอบ MOTEL MIST ในแง่ความเป็นหนังไทย ก็คือว่า เราว่ามันเป็นหนังอาร์ตที่ไม่ “นิ่งช้า” น่ะ แต่มันออกไปในแนวหนัง cult หรือหนังแปลกๆแรงๆ มากกว่า คือปกติคนทำหนังอาร์ตในไทยมักจะทำออกมาในแนว “นิ่งช้า” ไง ซึ่งไม่ใช่สิ่งผิดอะไร แต่มันก็ควรจะมีคนทำหนังอาร์ตออกมาในแนวอื่นๆบ้าง อย่างเช่น Ratchapoom Boonbunchachoke ที่ทำหนังอาร์ตออกมาในแนวเล่าเรื่องรวดเร็ว, จัดจ้าน หรือมีความ cult อยู่ในตัวหนัง เราก็เลยชอบ MOTEL MIST ในแง่นี้ด้วย

คือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนกับว่า คนทำหนังอาร์ตในไทยส่วนใหญ่ทำออกมาในแนวช้าๆเนิบๆแบบ Lav Diaz น่ะ แต่ไม่ค่อยมีคนทำออกมาในแนวคัลท์ๆแบบ Khavn de la Cruz เราก็เลยชอบที่ MOTEL MIST ทำให้เรานึกถึง Khavn de la Cruz มากกว่า Lav Diaz (ถึงแม้โดยรสนิยมส่วนตัวแล้ว เราชอบ Lav Diaz มากกว่า Khavn de la Cruz ก็ตาม)

สรุปว่า ความเป็นหนังไทย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราชอบ MOTEL MIST เพราะถ้าหาก MOTEL MIST มันเป็นหนังต่างประเทศ เราจะชอบมันแค่ในระดับ A+15 เท่านั้น เพราะมัน “เบา” เกินไปเมื่อเทียบกับหนังต่างประเทศเรื่องอื่นๆ และมันก็ไม่ได้ outstanding มากนักเมื่อเทียบกับหนังอาร์ตหลากหลายประเภทจากต่างประเทศเรื่องอื่นๆ แต่พอมันเทียบกับหนังไทยด้วยกันเองปุ๊บ มันก็ถือได้ว่า “แรง” กว่าหนังไทยทั่วไป และมันก็ outstanding มากๆเมื่อเทียบกับหนังไทยทั่วไป เพราะเรารู้สึกว่าหนังอาร์ตหรือหนังเทศกาลของไทยไม่ค่อยมีออกมาในแนวนี้


2.เราชอบพาร์ทของวสุพลมากกว่าพาร์ทของอาเสี่ยนะ เราว่าพาร์ทของวสุพลมันเหวอดี มันดูมีความ abstract, มีพลังทางภาพ, เปิดให้คนดูตีความได้

คือจริงๆแล้วเนื้อเรื่องในส่วนของวสุพลจะทำให้นึกถึงหนังเรื่อง MAN FACING SOUTHEAST (1986, Eliseo Subiela, Argentina) ที่ตัวละครหลักของเรื่องอ้างว่าตัวเองเป็นมนุษย์ต่างดาว และชอบไปยืนที่สนามหญ้าในโรงพยาบาลบ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อรับส่งข้อความจากกาแลกซี่อันไกลโพ้น แต่เราชอบที่ MOTEL MIST ไม่ได้เน้น “การเล่าเรื่อง” มากเท่ากับ MAN FACING SOUTHEAST น่ะ เราว่า MOTEL MIST ค่อนข้างให้ความสำคัญกับ “บรรยากาศ” มากทีเดียวในส่วนของวสุพล และก็ทำตรงส่วนของบรรยากาศออกมาได้ดีมาก

แต่ใจจริงของเราแล้ว เราก็รู้สึกว่าพาร์ทนี้มันก็ยังไม่ค่อยเข้าทางเราแบบ 100% เต็มนะ คือเราว่าพาร์ทนี้จริงๆแล้วมันอาจจะถูกออกแบบมาเพื่อ “สื่อสารอะไรบางอย่าง” หรือ “เป็นสัญลักษณ์แทนอะไรบางอย่าง” เหมือนอย่างพาร์ทเด็กสาวกับอาเสี่ยน่ะแหละ และเรารู้สึกว่าการที่มันยังทำหน้าที่เป็นเพียงสัญลักษณ์หรือเครื่องมือสื่อสารอะไรทำนองนี้ ทำให้พลังของพาร์ทนี้มันยังไม่เข้าทางเราแบบสุดๆ

คือถ้าหากมันจะเข้าทางเราแบบสุดๆ มันต้องเป็นแบบหนังเรื่อง THE LIMITS OF CONTROL (2009, Jim Jarmusch) น่ะ คือที่เราเปรียบเทียบกับหนังเรื่องนี้เป็นเพราะว่า เราว่า “บรรยากาศ” อะไรบางอย่างใน MOTEL MIST มันแสดงให้เห็นว่า หนังเรื่องนี้สามารถจะพัฒนาไปถึงขั้นหนังอย่าง THE LIMITS OF CONTROL ได้ แต่มันต้องทำให้ทุกอย่างดู abstract มากกว่านี้ มากจนถึงขั้นที่เราไม่รู้อีกต่อไปว่าอะไรเป็นสัญลักษณ์ของอะไร และสารของเรื่องคืออะไร

สรุปว่า ก็ชอบพาร์ทของวสุพลมากนะ แต่มันก็ยังไม่เข้าทางเราแบบสุดๆอยู่ดี

3.ในส่วนของพาร์ทเด็กสาวกับอาเสี่ยนั้น เราไม่ขอพูดถึงความหมายของพาร์ทนี้นะ เพราะนักวิจารณ์คนอื่นๆได้เขียนถึงไปหมดแล้ว โดยเฉพาะงานเขียนของคุณอุทิศ เหมะมูล, ชญานิน เตียงพิทยากร และชาญชนะ หอมทรัพย์ ที่ตีความพาร์ทนี้ได้อย่างดีสุดๆ คือเราดูเองแล้วก็ไม่ได้เข้าใจความหมายของพาร์ทนี้มากนักหรอก แต่การอ่านบทวิจารณ์ของคนอื่นๆทำให้เราเข้าใจความหมายของพาร์ทนี้มากขึ้นเยอะ โดยเฉพาะงานเขียนของคุณชาญชนะที่ดีมากๆที่เปรียบเทียบหนังเรื่องนี้กับ “เทพธิดาโรงแรม” (1974, Chatrichalerm Yukol) เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้ ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างโสเภณีกับตัวละครคนอื่นๆเป็นสัญลักษณ์แทนสภาพสังคมการเมืองไทยเหมือนๆกัน

คือปกติแล้ว เวลาดูหนังสั้นไทยที่พยายามสะท้อนสภาพสังคมการเมืองไทย ส่วนใหญ่แล้วมันจะทำออกมาเป็นหนังแนว “การใช้อำนาจเผด็จการของครูต่อนักเรียน” และ “คนในครอบครัวเดียวกันที่ทะเลาะกัน” น่ะ แต่มันไม่ค่อยมีหนังไทยที่ใช้โสเภณีเป็นสัญลักษณ์ในทำนองนี้เท่าไหร่ MOTEL MIST ก็เลยมีความแตกต่างจากหนังไทยทั่วไปในแง่นี้ด้วย

อย่างไรก็ดี ปัญหาสำหรับเราที่มีต่อพาร์ทนี้ ก็อาจจะคล้ายๆกับปัญหาของเราที่มีต่อพาร์ทของวสุพล คือเราว่าพลังของพาร์ทนี้มันครึ่งๆกลางๆสำหรับเรา และสาเหตุสำคัญอาจจะเป็นเพราะว่า พาร์ทนี้มันต้องการทำหน้าที่ “เป็นสัญลักษณ์” และต้องการ “ส่งสาร” อยู่ มันก็เลยไม่สามารถพัฒนาพลังทางเนื้อเรื่องของตัวมันเองให้ไปจนสุดตีนได้

คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราไม่ได้ชอบพาร์ทนี้มากนัก เพราะเรารู้สึกว่า พลังของมันทำได้แค่ทำให้เรารู้สึก disgusting กับพฤติกรรมของอาเสี่ย แต่หนังมันไม่ได้ disturbing สำหรับเราน่ะ และอะไรแบบนี้สำคัญมากๆสำหรับเรา เพราะหนังที่ทำให้เรารู้สึก disgusting เป็นหนังที่เราไม่ได้ประทับใจอะไรมากนัก แต่ถ้าหากมันสามารถผลักตัวเองไปจนถึงขั้น disturbing ได้ มันก็จะกลายเป็นหนังในดวงใจที่เราลืมไม่ลงไปในทันที

คือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็คือว่า พฤติกรรมของอาเสี่ยที่ทรมานเด็กสาวในหนังเรื่องนี้ ทำให้เรานึกไปถึงหนังอย่าง SALO OR 120 DAYS OF SODOM (1975, Pier Paolo Pasolini) น่ะ ที่เป็นเรื่องของฟาสต์ซิสต์ที่จับหนุ่มสาวมาทรมาน ส่วนพฤติกรรมการแก้แค้นของสองสาวใน MOTEL MIST ก็ทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง LA CEREMONIE (1995, Claude Chabrol) และ BAISE-MOI (2000, Virginie Despentes + Coralie Trinh Thi)

แต่ความแตกต่างสำคัญก็คือว่า SALO, LA CEREMONIE และ BAISE-MOI นี่แหละ ที่เป็นหนังที่ disturbing สำหรับเรา มันไม่ใช่แค่ disgusting เท่านั้น มัน disturbing จริงๆ และ LA CEREMONIE มันสร้างความรู้สึก disturbing ได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาภาพอุจาดหวาดเสียวรุนแรงใดๆเลยด้วย

คือเราว่าจริงๆแล้ว เนื้อเรื่องในส่วนของพาร์ทเด็กสาวกับอาเสี่ยนั้น มันสามารถพัฒนาไปจนถึงขั้น disturbing ได้น่ะ แต่ถ้าหากมันทำเช่นนั้น มันก็อาจจะผิดจุดประสงค์หลักของหนังไป เพราะตัวละครในหนังอาจจะไม่สามารถใช้แทนค่าเป็นสัญลักษณ์แทนนู่นนั่นนี่, สะท้อนสภาพสังคมไทยได้แบบลงล็อคง่ายๆอีกต่อไป

4.สรุปว่า ชอบ MOTEL MIST ในระดับสุดๆน่ะแหละ แต่มันยังไม่ใช่หนังที่เข้าทางเราซะทีเดียว เพราะเราว่าสารของหนังหรือความเป็นสัญลักษณ์ของอะไรต่างๆในหนัง บางทีมันไปสกัดกั้นอะไรต่างๆในหนังไม่ให้กลายเป็นอะไรในแบบที่เราชอบ 555 คือถ้าหากหนังเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการสะท้อนสภาพสังคมการเมืองไทยอะไรแบบนี้ บางทีมันอาจจะพัฒนาเนื้อเรื่องของเด็กสาวกับอาเสี่ย ให้กลายเป็นอะไรที่ disturbing อย่างรุนแรงมากกว่านี้ก็ได้ หรือมันอาจจะพัฒนาส่วนของวสุพล + บรรยากาศของโรงแรมและสิ่งต่างๆในหนัง ให้กลายเป็นอะไรที่ abstract มากๆแบบ THE LIMITS OF CONTROL ก็ได้ เราก็เลยแอบเสียดายเล็กน้อยที่หนังไม่ได้เข้าทางเราซะทีเดียว มันเหมือนกับปราบดา หยุ่นมีแร่ยูเรเนียมอยู่ในมือ แต่เขาเอามันมาใช้ในโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ ถึงแม้ใจเราอยากให้เขาเอามันมาผลิตระเบิดนิวเคลียร์มากกว่า


แต่ในแง่นึงเราก็ไม่ว่าอะไรเขานะ เพราะในขณะที่เรารู้สึกว่า MOTEL MIST ไม่ใช่หนังที่ disturbing สำหรับเราเลย หนังเรื่องนี้ก็ดูเหมือนจะ disturbing ผู้ชมคนไทยบางคนในระดับที่มากเกินพอดี ไม่งั้นหนังคงไม่ถูกเลื่อนฉายแบบนี้หรอก 555

Sunday, December 25, 2016

A STREET CAT NAMED BOB (2016, Roger Spottiswoode, A+30)

A STREET CAT NAMED BOB (2016, Roger Spottiswoode, A+30)

1.สาเหตุหลักที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เป็นเพราะมรสุมชีวิตของเราเองน่ะ คือพอปีนี้เราเจอมรสุมชีวิตอย่างรุนแรงที่สุด หนังที่ให้กำลังใจในการสู้ชีวิตต่อไปแบบหนังเรื่องนี้ ก็เลยเป็นกลุ่มหนังที่ตอบสนองเราในเวลานี้ได้อย่างดีมากๆ โดยเฉพาะหนังอย่าง BLEED FOR THIS (2016, Ben Younger) และ IT’S A WONDERFUL LIFE (1946, Frank Capra) บางทีถ้าหากปีนี้เราไม่ได้เจอมรสุมชีวิต เราก็อาจจะไม่ได้ชอบหนังกลุ่มนี้อย่างรุนแรงมากเท่านี้ก็ได้

2.รู้สึกว่ามันเป็นทางเลือกชีวิตมากๆ คือการที่พระเอกตัดสินใจสละเงินของตัวเองเพื่อซื้อยาให้แมวในช่วงต้นเรื่อง มันทำให้แมวตัวนี้กลายเป็นผู้ชุบชีวิตพระเอกในเวลาต่อมา ทำนองเดียวกับหนังเรื่อง CATS DON’T COME WHEN YOU CALL (2016, Toru Yamamoto) แต่ถ้าหากพระเอกตัดสินใจไม่ช่วยแมวในช่วงต้นเรื่อง ชีวิตของพระเอกก็อาจจะลงเอยเหมือนกลุ่มหนุ่มสาวติดยาเสพติดในหนังเรื่อง CHRISTIANE F. (1981, Uli Edel) ก็ได้

รู้สึกว่าชีวิตคนเราบางทีมันจะเจอบททดสอบแบบนี้น่ะแหละ ถ้าหากเราตัดสินใจถูก ชีวิตเราก็จะดี แต่ถ้าหากเราตัดสินใจผิด ชีวิตเราก็จะเหี้ย

3.ชอบที่ชีวิตของพระเอกเหมือนเจอ “มารผจญ” ในหลายๆครั้ง ทั้งแม่เลี้ยง, คนจูงหมามาฉี่รด, คนที่มาขอซื้อต่อแมว, คนที่หาว่าพระเอกแย่งที่ขายหนังสือพิมพ์


คือหนังเรื่องนี้มันสร้างจาก “ชีวิตจริง” นะ แต่ทำไมดูแล้วนึกถึง “นิทานชาดก” ก็ไม่รู้  เพราะในนิทานชาดกหลายๆเรื่อง ตัวละครเอกจะได้รับความช่วยเหลือจาก “สัตว์ฉลาดๆ” และตัวละครเอกมักจะเจอมารผจญ 555

Saturday, December 17, 2016

Films about a character searching for his/her ancestors or the past of his/her family

Films about a character searching for his/her ancestors or the past of his/her family
มีเพื่อนถามเกี่ยวกับหนังที่มีตัวละครตามหาบรรพบุรุษของตัวเอง หรืออดีตของครอบครัวตัวเอง เราก็เลยทำรายชื่อนี้ขึ้นมาจ้ะ

1.ถามหาความรัก (1984, อภิชาติ โพธิไพโรจน์)

2.ABOUT MY FATHER (2010, Guillaume Suon, Cambodia, documentary)

3.THE BLONDS (2003, Albertina Carri, Argentina, documentary)

4.CAMBODIA, AFTER FAREWELL (2012, Iv Charbonneau-Ching, Cambodia, documentary)

5.CHAC (2000, Kim-chi Tyler, documentary)

6.DAUGHTER FROM DANANG (2002, Gail Dolgin + Vicente Franco, documentary)

7.FROM BANGKOK TO MANDALAY (2016, Chartchai Ketnust)

8.IDA (2013, Pawel Pawlikowski, Poland)

9.THE ISLAND FUNERAL (2015, Pimpaka Towira)

10.LACE (1984, William Hale, 240min)

11.LACE II (1985, William Hale, 188min)

12.THE LAST REEL (2014, Kulikar Sotho, Cambodia)

13.LITTLE SENEGAL (2001, Rachid Bouchareb)

14.LOST AND LOVE (2015, Peng Sanyuan, China)

15.LOVE INVENTORY (2000, David Fisher, Israel, documentary)

16.MERCI POUR LE CHOCOLAT (2000, Claude Chabrol)

17.MUSIC BOX (1989, Costa-Gavras)

18.SECRETS & LIES (1996, Mike Leigh, UK)

19.THE SPIDER’S STRATAGEM (1970, Bernardo Bertolucci, Italy)

20.TEMPERATURE OF ROOMTONE (2015, Pamornporn Tandiew, 19min)
ในวันที่พระอาทิตย์ขึ้นทิศตะวันตก

21.TO NEVER-BEEN-BACK HOME (Ruchira Chaiprasert, documentary, 15min)
กลับบ้านที่ไม่เคยกลับ
หนังสารคดีเรื่องนี้เกี่ยวกับตัวผู้กำกับที่เป็นชาว “ไตหย่า” ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย และตัวผู้กำกับก็ได้เดินทางไปตามหาบรรพบุรุษของตนเองในยูนนาน

22.TWO MOTHERS (2007, Rosa von Praunheim, Germany, documentary)

23.UP, DOWN, FRAGILE (1995, Jacques Rivette)

24.VOYAGES (1999, Emmanuel Finkiel)

25.WINTER REMINISCENCE (2010, Thanatphan Palakawong Na Ayutthaya, 14min)
ความทรงจำดีดีในหน้าหนาว

เราเองก็ยังไม่ได้ดู THE BLONDS, IDA และ TWO MOTHERS นะ แต่เรามั่นใจว่าหนัง 3 เรื่องนี้เป็นหนังที่ดีมากๆแน่ๆ

รูปมาจาก TEMPERATURE OF ROOMTONE


ใครอยากเพิ่มเติมรายชื่อหนังในกลุ่มนี้ ก็ใส่ไว้ใน comment ได้นะจ๊ะ

Thursday, December 15, 2016

21 NIGHTS WITH PATTIE (2015, Arnaud Larrieu + Jean-Marie Larrieu, A+30)

Favorite quotes from 21 NIGHTS WITH PATTIE (2015, Arnaud Larrieu + Jean-Marie Larrieu, A+30): 

1."My pussy is so wet that I need the winds from Spain to dry it."

2. ฉันต้องการ cocks แต่ฉันไม่ต้องการความรัก เพราะความรักมันจะ consume เวลาทั้งหมดของฉันไป ไม่มีเวลาให้ฉันได้หายใจหายคอ แต่ cocks จะไม่เอาเวลาทั้งหมดไปจากฉัน"


เมื่อหญิงสาวที่เป็น nymphomaniac มาเจอกับผู้ชายที่ชอบร่วมรักกับศพ อะไรจะเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือหนังที่นุ่มนวลอ่อนโยนสุดๆ และมีฉากที่ tribute ให้กับ UNCLE BOONMEE WHO CAN RECALL HIS PAST LIVES ด้วย หนังเรื่องนี้มีประโยคคลาสสิคประมาณ 100 ประโยค และน่าจะติด top ten ประจำปีของเราอย่างแน่นอน

THE INVISIBLE CITY: KAKUMA (2016, Lieven Corthouts, documentary, Belgium, A+20)

THE INVISIBLE CITY: KAKUMA (2016, Lieven Corthouts, documentary, Belgium, A+20)

หนังสารคดีเรื่องนี้ถ่ายทอดสภาพชีวิตในค่ายผู้อพยพแห่งหนึ่งในทะเลทรายในเคนยา สิ่งที่เราประทับใจมากที่สุดในหนังเรื่องนี้คือเด็กหญิงคนหนึ่งที่อยู่ในค่ายแห่งนี้ เธอพลัดพรากจากแม่ เพราะแม่ของเธออยู่ในซูดานใต้ และเธอไม่รู้ว่าแม่เป็นตายร้ายดีอย่างไร ทุกครั้งที่มีผู้อพยพมาใหม่จากซูดานใต้ เธอจะถามพวกเขาเสมอว่า พบเห็นแม่ของเธอบ้างไหม

แววตาของเด็กหญิงคนนี้ในบางฉากมันหนักมากสำหรับเรา คือพอเราจินตนาการว่า เด็กหญิงคนนี้จะรู้สึกอย่างไร จะเป็นห่วงกังวลถึงแม่ของตัวเองมากแค่ไหน จะคิดถึงแม่ของตัวเองมากแค่ไหน เราก็รู้สึกว่ามันเป็นความเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่หนักมากๆ


แต่เราก็ไม่ได้ชอบหนังในระดับ A+30 นะ บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าตัวผู้กำกับไม่ได้สนิทกับ subjects ในหนังมากนักก็ได้ เราก็เลยรู้สึกเหมือนกับว่าหนังมันไม่ได้เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกภายในตัว subjects อย่างรุนแรงสักเท่าไหร่

Saturday, December 10, 2016

A GAS STATION (2016, Tanwarin Sukkhapisit, A+30)

A GAS STATION (2016, Tanwarin Sukkhapisit, A+30)
ปั๊มน้ำมัน

1.สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังคือเรารู้สึกว่ามันประหลาดและเป็นตัวของตัวเองดี คือเรารู้สึกว่ามันอยู่กึ่งกลางระหว่างหนังรักรันทดแนวสมจริงแบบหนังอย่าง A WINTER’S TALE (1992, Eric Rohmer)  กับหนังแนวเพี้ยนหลุดโลกแบบหนังของ Ulrike Ottinger ยุคทศวรรษ 1970-1980 ที่ตัวละครจะแต่งตัวเพี้ยนๆ ทำอะไรเพี้ยนๆ หลุดโลกมากๆ

คือปกติแล้วหนังที่เราดูมันจะมี “ตำแหน่งแห่งที่” ของมันชัดเจนในกลุ่มภาพยนตร์น่ะ หนังของ Eric Rohmer ก็มีตำแหน่งแห่งที่ชัดเจนในฐานะหนังโรแมนติกแบบสมจริงที่ถ่ายทอดส่วนลึกของจิตใจมนุษย์ ส่วนหนังของ Ulrike Ottinger และ Ratchapoom Boonbunchachoke ก็มีตำแหน่งแห่งที่ชัดเจนในฐานะหนัง intellectual ที่นำเสนอประเด็นทางสังคมการเมืองผ่านทางตัวละครที่มีความ weird หรือแม้แต่หนังของ Anocha Suwichakornpong, Apichatpong Weerasethakul, Jakrawal Nilthamrong ก็มีตำแหน่งแห่งที่ชัดเจนในฐานะหนังอาร์ต

เราก็เลยชอบ A GAS STATION ตรงที่เราไม่รู้จะจัดมันเข้าอยู่ในหมวดหมู่ไหนดี ทั้งในแวดวงหนังไทยและหนังโลก มันไม่ใช่หนังอาร์ตแบบที่เราคุ้นเคย, มันไม่ใช่หนัง cult + intellectual แบบหนังของ Ratchapoom Boonbunchachoke, Ulrike Ottinger, Khavn de la Cruz, Bruce La Bruce และมันก็ไม่ใช่หนังโรแมนติกสมจริงแบบ Eric Rohmer ด้วย แต่องค์ประกอบแต่ละอย่างใน A GAS STATION มันสามารถเทียบเคียงกันได้กับหนังหลายๆแนว คือเครื่องแต่งกายของตัวละครอาจจะทำให้นึกถึงหนังของ Ulrike Ottinger แต่ตัวละครพระเอกของหนังเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงนางเอกของ A WINTER’S TALE (1992, Eric Rohmer) ที่ไม่ยอมเปิดใจรับรักใหม่เสียที แม้จะมีผู้ชายดีๆผ่านเข้ามาในชีวิต เธอยังคงปักใจรักมั่นแต่กับ “ชายหนุ่มที่หายสาบสูญไปแล้ว” เท่านั้น

ความที่ตัวหนัง A GAS STATION มันเป็นตัวของตัวเองมากๆแบบนี้นี่แหละ ที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราชอบมันในระดับ A+30

2.ดูแล้วนึกถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่มักจะชอบอะไรที่ไกลเกินเอื้อมเสมอ หรือมักจะตั้งเป้าหมายไว้กับอะไรอย่างหนึ่งที่ยากจะบรรลุได้ เพื่อที่ตัวเองจะได้มีแรงขับในการดำเนินชีวิตต่อไปเรื่อยๆ

ดูแล้วทำให้สงสัยว่า ถ้าหาก “มั่น” ไม่รัก “นก” มากขนาดนี้ “มัท” กับ “ฝน” จะรัก “มั่น” มากขนาดนี้หรือเปล่า

คือเราสงสัยว่า การที่มัทกับฝน รักมั่นมากขนาดนี้ อาจจะเป็นเพราะทั้งสองต่างรู้ดีว่า มั่นรักนกมากๆก็ได้ คือถ้ามั่นเป็นผู้ชายเจ้าชู้ หันมาเอามัทกับฝนได้อย่างง่ายๆ มัทกับฝนก็อาจจะแค่มี sex กับมั่นจนหนำใจ แล้วก็ทิ้งมั่นไป เพื่อไปหาความรักจากผู้ชายคนอื่นๆต่อไปก็ได้

คือการที่มั่นรักนกมากๆ มันทำให้มั่นดูมีค่า ดูน่ายั่ว ดูน่าหลงใหลน่ะ ในแง่หนึ่งมันทำให้เรานึกถึงกลุ่มคนที่เป็น monk fetish น่ะ คือถ้านาย A เป็นเด็กแว้นหนุ่มหล่อ นิสัยเจ้าชู้ เราจะรู้สึกว่าเราอยากมี sex กับนาย A แค่ครั้งเดียวพอ แต่ถ้าหากนาย A เป็นพระหนุ่มหล่อที่มีจริยาวัตรงดงาม เราจะรู้สึกว่านาย A นี่เป็นรางวัลที่น่าไขว่คว้ามามากๆ นาย A ไม่ใช่ไส้กรอกเซเว่นอีเลฟเว่นที่หาซื้อได้ง่ายๆอีกต่อไป แต่นาย A กลายเป็นไส้กรอกขั้วโลกเหนือที่จะร่วงลงมาจากฟ้าพร้อมแสง aurora borealis เท่านั้น เราจะได้มันก็ต่อเมื่อเราได้ใช้ความพยายามจนถึงที่สุดจริงๆ

เราคิดว่าความรู้สึกอยากได้มั่น อยากยั่วมั่น อยากเอามั่นมาเป็นผัว มันคล้ายๆกับความรู้สึกที่อยากได้ “พระหนุ่มหล่อ” น่ะ เพราะมันไม่ง่ายที่จะยั่วคนประเภทนี้ให้ตบะแตกได้ มันต้องใช้ความพยายามขั้นสูง อุตสาหะวิริยะจริงๆ

เราก็เลยรู้สึกว่า A GAS STATION มันสะท้อนความย้อนแย้งของมนุษย์บางกลุ่มตรงจุดนี้ได้ดี เราอยากได้มั่นมาเป็นผัว เพราะเรารู้ว่ามันยากมากที่จะได้เขามาเป็นผัว เราอยากได้มั่นมาเป็นผัว เพราะเรารู้ว่าเขารักคนอื่น  

คือถ้ามั่นตัดใจจากนก มารับรักจากเราได้อย่างง่ายดาย เราก็จะได้ในสิ่งที่สมปรารถนา แต่คุณค่าของสิ่งที่เราได้มามันก็จะลดลงโดยอัตโนมัติ มั่นก็จะไม่ใช่ผู้ชายรักเดียวใจเดียว และเขาก็อาจจะหันไปรักผู้หญิงคนใหม่ๆคนอื่นๆถัดจากเราได้อย่างง่ายๆเช่นกัน

คือมันทำให้เรานึกถึงความจริงที่ว่า ของบางสิ่งมันจะมีคุณค่าสูงมากๆ ก็ต่อเมื่อเรายังไขว่คว้ามันมาไม่ได้เท่านั้น พอเราไขว่คว้ามันมาไม่ได้ สิ่งนั้นมันก็จะดูสูงค่ามาก น่าใช้ความพยายามในการไปเอามันมามากๆ แต่พอเราไขว่คว้ามันมาได้แล้ว เรากลับ “ไม่ได้มีความสุข” แบบที่เราคิด และพอเราไขว่คว้ามันมาได้แล้ว เราอาจจะพบว่ามันกลายเป็น “ของไร้ค่า” สำหรับเราในอีก 2-3 ปีข้างหน้าก็ได้

หนังเรื่องนี้ทำให้เราจินตนาการต่อไปว่า ถ้าหากมั่นตัดใจจากนกได้อย่างง่าย ๆ แล้วมาเลือกฝน ฝนก็อาจจะมีความสุขในช่วงแรก แต่งงานกับมั่นแค่ 2-3 ปี แล้วทั้งสองก็อาจจะพบรักใหม่ หย่ากัน แล้วแยกทางกันไปแต่งงานใหม่ก็ได้ เพราะถ้ามั่นเลิกรักนกได้อย่างง่ายดาย มั่นก็อาจจะเลิกรักฝนได้อย่างง่ายดายเช่นกัน และฝนเองก็อาจจะไม่ได้รัก “ผู้ชายที่ได้มาง่ายๆ”  อย่างหัวปักหัวปำแบบนี้ก็ได้

หรือถ้ามั่นเลือกเจ๊มัท เราก็จินตนาการว่า เจ๊มัทอาจจะทำแบบนางเอกหนังเรื่อง GILLES’ WIFE (2004, Frederic Fonteyne, A+30) ก็ได้ คือถ้าหากมั่นตัดสินใจที่จะมี sex กับเจ๊มัทอีกครั้งหนึ่ง พอร่วมรักกันเสร็จแล้ว เจ๊มัทก็อาจจะฆ่าตัวตายไปเลยก็ได้ เพราะพอเราได้ในสิ่งที่เราดิ้นรนไขว่คว้ามาตลอดชีวิตแล้ว เราก็อาจจะพบว่า ชีวิตเราว่างเปล่า ไม่รู้จะไขว่คว้าอะไรอีกต่อไป ไม่รู้จะอยู่ต่อไปทำไม เพราะเราได้ในสิ่งสูงสุดแล้ว ไม่มีอะไรเป็นแรงขับให้ดิ้นรนไขว่คว้าต่อไปอีก ไม่มีเป้าหมายใดในชีวิตเหลืออีก

แน่นอนว่าตัวละครฝนกับเจ๊มัทอาจจะไม่ทำแบบที่เราจินตนาการก็ได้นะ เราอาจจะไม่เข้าใจตัวละครในหนังเรื่องนี้ดีจริงๆก็ได้ แต่หนังเรื่องนี้มันกระตุ้นให้เราจินตนาการอะไรแบบนี้ต่อไปน่ะ ซึ่งแน่นอนว่าตัวละครฝนกับเจ๊มัทที่อยู่ในหัวของผู้ชมแต่ละคน ก็คงไม่เหมือนกัน และผู้ชมแต่ละคนก็คงจินตนาการให้ฝนกับเจ๊มัททำในสิ่งที่แตกต่างกันไป ถ้าหากมั่นตัดใจจากนก มาเลือกสองคนนี้

3.ตัวละครฝนเป็นตัวละครในแบบที่เราชอบมากๆ คือเป็นผู้หญิงที่แสดงความต้องการทางเพศออกมาอย่างเต็มที่ และ “ยอมรับความจริงของชีวิต” ได้ในระดับนึง คือการที่ฝนรักมั่น แต่ตัดสินใจไปเอากับผู้ชายคนอื่นๆ และแต่งงานกับผู้ชายคนอื่น มันก็เป็นสิ่งเดียวที่เราจะทำเหมือนกัน ถ้าเราตกอยู่ในสถานะเดียวกับฝน คือ “มั่น” เหมือนเป็นผู้ชายที่สมบูรณ์แบบน่ะ และเราก็ย่อมต้องการผู้ชายที่สมบูรณ์แบบ แต่เราต้องยอมรับความจริงที่ว่า มันยากมากที่เราจะได้ผู้ชายแบบนี้มา เพราะฉะนั้นถ้าหากเราอยากมีความสุขอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง เราก็ต้องมี sex กับผู้ชายที่ไม่สมบูรณ์แบบ และเอาผู้ชายที่ไม่สมบูรณ์แบบมาเป็นผัวนี่แหละ

4.รู้สึกว่าตัวละครแต่ละตัวอาจจะเป็นสัญลักษณ์แทนอะไรบางอย่าง และตัวปั๊มน้ำมัน ก็เป็น place หรือ non-place ที่น่าวิเคราะห์มากๆ แต่เราไม่ถนัดเรื่องการตีความและการวิเคราะห์ และคงต้องปล่อยเรื่องนี้ให้เป็นหน้าที่ของคนอื่นๆนะจ๊ะ

5.สรุปว่าชอบ “ความเป็นตัวของตัวเอง” ของหนังเรื่องนี้มากๆ  คือเราว่าการสร้าง “หนังอาร์ต” ในเมืองไทยนี่มันยากสุดๆแล้วนะ แต่เราว่าการสร้างหนังแบบ A GAS STATION ที่ไม่ใช่ “หนังอาร์ต หรือหนัง intellectual” และไม่ใช่ “หนัง mass” ด้วยนี่ อาจจะเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า เพราะหนังมันเป็นตัวของตัวเองจริงๆ และปฏิเสธที่จะทำตัวให้เข้ากรอบประเภทหนังที่มีอยู่แล้ว

ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้นึกถึงสิ่งที่คุณสนธยา ทรัพย์เย็นเคยเขียนถึงหนังทดลองในสูจิบัตรของเทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพปี 1999 น่ะ คุณสนธยาเขียนว่า

“ของที่แปลกใหม่ล้ำยุคจริงๆ มักจะถูกปฏิเสธ ต้องผ่านการทดสอบอันเจ็บปวด และเรียกใช้เวลาในการทำให้คุ้นเคยยาวนานเสมอ ก่อนจะกลมกลืนกลายเป็นของปกติ ลองนึกถึงหนังอย่าง PEEPING TOM (1960, Michael Powell) หรือ PINK FLAMINGOS (1972, John Waters) ดูก็ได้ หนังทั้งสองเรื่องที่เคยฉีกรูปแบบใหม่ผ่านการพิสูจน์ของยุคสมัย จากหนังน่ารังเกียจกลายเป็นหนังคลาสสิคไปแล้วในที่สุด การลุยมาก่อนของมันช่วยแบ่งเบาอุปสรคให้หนังเรื่องอื่นๆที่บ้าบิ่นวิ่งตามมาโล่งใจได้บ้าง”


เราว่า A GAS STATION ก็เป็นแบบนั้นสำหรับเรา มันเป็น trailblazer มันไม่ทำตามแบบใคร มันอาจจะถูกปฏิเสธจากผู้ชมในยุคสมัยเดียวกับมัน แต่ในอนาคต มันอาจจะผ่านการพิสูจน์ของยุคสมัย และกลายเป็นหนึ่งในหนังคลาสสิคของไทยก็ได้ และเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “การกล้าลุยมาก่อน” ของหนังเรื่องนี้ จะช่วยกระตุ้นให้มีผู้สร้างหนังไทยสร้างหนังที่เป็นตัวของตัวเอง ไม่เข้าแก๊ปไม่เข้ากรอบ genre หนังใดๆตามมาอีกเยอะๆ

Friday, December 09, 2016

Films seen in Bangsan Rama III on Thursday, 8 Dec, 2016

Films seen in Bangsan Rama III on Thursday, 8 Dec, 2016

ช่วงนี้ยุ่งมาก อาจจะไม่มีเวลาเขียนถึงหนังเรื่องใดๆอีกต่อไป แต่ขอแปะระดับความชอบที่มีต่อหนังเรื่องต่างๆไว้ก่อนนะ

1.GOODNIGHT, ME (2016, Satapron Suphawatee, Mutita Tongthammachart, 90min, A+30)

2.KANING, BEFORE I... (2016, Worawit Jaramai, 60min, A+30)
คะนิ้ง ก่อนที่ฉันจะ...

3.EYESDOLS (2016, Manita Lowitee, TV program,  A+25)

4.หมีทอดด์ (2016, 4min, A+25)

5.A LITTLE JOURNEY OF PENCIL (2016, Boonkanok Thipdamrong, 25min, A+20)

6.WHITE VDO (2016, ธรรมสรณ์ เจริญศรีทองกุล, 5min, A+)

7.00:21 (2016, Aphisit Plainun, 5min, A+)

8. TOMORROW IS THE CHILDREN’S DAY (2016, ตระการ เกตุแก้ว, 5min, A-)

พรุ่งนี้วันเด็ก

Saturday, December 03, 2016

BEFORE I WAKE (2016, Mike Flanagan, A+30)

BEFORE I WAKE (2016, Mike Flanagan, A+30)

1.เป็นหนังสยองขวัญที่หวานมากๆ

2.ชอบที่ตัวละครพ่อแม่บุญธรรมหาทางใช้ประโยชน์จากพลังพิเศษของเด็กตัวเอก คือแทนที่พ่อแม่บุญธรรมจะหวาดกลัวเด็กที่มีพลังพิเศษ พ่อแม่บุญธรรมกลับหาทาง exploit มัน

3.ชอบที่หนังพูดถึงประเด็นเรื่องความทรงจำ เพราะเรามักจะอินกับประเด็นนี้ ซึ่งรวมถึงประเด็นเรื่อง

3.1 การยึดติดกับความทรงจำเก่าๆที่แสนสุข ซึ่งเมื่อความสุขนั้นมันไม่มีทางหวนคืนกลับมาได้ มันเลยกลายเป็นความทุกข์

3.2 ความทรงจำที่ขาดรายละเอียดไป ซึ่งถูกแทนค่าในหนังเรื่องนี้ด้วยเด็กผีที่เหมือนหุ่น แทนที่จะเหมือนมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อจริงๆ

3.3 trauma จากอดีตที่ตามหลอกหลอน และเป็น trauma ที่มีการบิดเบือนไปจากความจริงในอดีต

4.เราว่าหนังมันทำให้ตัวละครหลักมันมีเลือดมีเนื้อ มีอารมณ์ความรู้สึกน่าเชื่อถือมากๆสำหรับเราน่ะ เราว่าหนังมันจริงใจกับอารมณ์ความรู้สึกและปัญหาชีวิตของตัวละครหลักมากพอสมควร เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะปกติแล้วหนังสยองขวัญจะไม่ได้เน้นที่จุดนี้


เราว่าข้อดีจุดนี้ของ BEFORE I WAKE อาจจะเทียบเคียงได้กับหนังสยองขวัญอย่าง DARK WATER (2005, Walter Salles, A+30) ที่สร้างตัวละครแม่ได้อย่างน่าเชื่อถือมากๆเหมือนกัน