PLAYBOY (AND THE GANG OF CHERRY) (2017, Oompon Kitikamara, A+30)
1.กะแหลดจิ้มหำ กะหล่ำจิ้มหอย กะหล่อยจิ้มแตด จริงๆค่ะ
ตายแล้วววววววววววววววววววววววววว คุ้มค่ากับการลางานมาดูหนังเรื่องนี้จริงๆ ขอเสนอชื่อหนังเรื่องนี้ให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติเลยค่ะ
555 คือในแง่ aesthetics นี่เราไม่สามารถตัดสินได้นะ
ว่าหนังเรื่องนี้ดีหรือไม่ แต่เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันช่วยผลัก “ขอบเขตของหนังไทย”
ออกไปในแบบที่เราชอบมากๆ คือรู้สึกว่ามันเป็นนิมิตหมายที่งดงามมากๆที่มีการสร้างหนังไทยแบบนี้ออกมา
แล้วมันได้ฉายในโรงปกติน่ะ เราว่ามันเป็นสิ่งที่เมื่อ 20
ปีก่อนเราคงแทบไม่สามารถจินตนาการได้เลยว่า
มันจะมีคนสร้างหนังไทยแบบนี้แล้วฉายโรงปกติได้ ก็เมื่อ 20 ปีที่แล้วนี่ หนังอย่าง BUGIS
STREET (1995, Yonfan, Singapore) ยังไม่ผ่านเซ็นเซอร์เมืองไทยเลย
เพราะฉะนั้นการที่มีหนังไทยแบบนี้ได้ฉายในโรงปกติ มันก็เลยเหมือนเป็นหมุดหมายว่า “เมืองไทยในปี
2017” เป็นอย่างไร และแตกต่างจากเมื่อ 20 ปีก่อนอย่างไรบ้าง
2.เคยเขียนถึงหนังเรื่อง BITTERSWEET CHOCOLATE (2014) ของผู้กำกับคนเดียวกัน ไว้ในลิงค์ข้างล่างนี้
โดยเราบอกว่า BITTERSWEET CHOCOLATE นั้น เหมือนมี “ศักยภาพ”
ที่จะพัฒนาเป็นหนังแบบ Pier Paolo Pasolini ได้
แต่เสียดายที่มันไม่ได้ใช้ศักยภาพนั้น
ปรากฏว่า PLAYBOY (AND THE GANG OF CHERRY) นี่ใช้ศักยภาพความ
sadist masochist แบบ Pasolini อย่างเต็มที่เลยค่ะ
จัดเต็มมาเลย และนี่แหละคือสิ่งที่เราต้องการ
คือจริงๆแล้วเหมือนเจ้าของหนังจะบอกว่า หนังเรื่องนี้ทำขึ้นในแบบหนัง pink film นะ
แต่เสียดายที่เราแทบไม่เคยดูหนังแนว pink film เลย
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราจะนึกไปถึงหนังอาร์ตแนว “เซ็กส์กับความรุนแรง”
แทน อย่างเช่น IN THE REALM OF THE SENSES (Nagisa Oshima), SALO OR 120
DAYS OF SODOM (Pier Paolo Pasolini), AN ARIA ON GAZE (Hisayasu Sato), GRADIVA
(2006, Alain Robbe-Grillet), STRANGER BY THE LAKE (2013, Alain Guiraudie), THE
DOOM GENERATION (Gregg Araki), IRREVERSIBLE (Gaspar Noe), TROUBLE EVERY DAY
(Claire Denis), THE BLUE HOUR (Anucha Boonyawatana), FUNERAL PARADE OF ROSES
(1969, Toshio Matsumoto), FRUITS OF PASSION (1981, Shuji Terayama) อะไรทำนองนี้
หรือไม่ก็หนังคัลท์อย่าง BEAUTIFUL MYSTERY (Genji Nakamura), PINK
NARCISSUS (1971, James Bidgood) และหนังที่กำกับโดย Takashi
Miike, Alwa Ritsila, Jean Rollins และ Jesus Franco
คือเราชอบมากที่มีการผลิตหนังไทยที่ให้กลิ่นอายแบบหนังของผู้กำกับข้างต้นออกมาน่ะ
แต่ไม่ได้จะบอกว่าหนังเรื่องนี้เทียบชั้นได้กับหนังของ Hisayasu Sato หรือ Pasolini
นะ เพราะหนังเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการจะทำตัวเป็น “หนังอาร์ต”
อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็เลยไม่มีลักษณะ intellectual และไม่มีวิธีการเล่าเรื่องที่พิศวงพิสดารแบบหนังของ Hisayasu Sato หรือ Alain Robbe-Grillet แต่มันมีการนำเสนอแฟนตาซีแบบ
sadist masochist ออกมาในแบบที่น่าสนใจไม่แพ้หนังของ Hisayasu
Sato, Alain Robbe-Grillet และ Pasolini คือเราว่าแฟนตาซีทางเพศของมันสามารถเทียบเคียงได้กับหนังอาร์ตของผู้กำกับข้างต้นน่ะ
ถึงแม้ว่ามันจะไม่มีลักษณะ intellectual แบบหนังอาร์ตก็ตาม
คือมันต้องการจะทำตัวเป็น pink film น่ะ ซึ่งเราว่าในแง่นึงมันสามารถเทียบเคียงได้กับหนังของ
Jean Rollins และ Jesus Franco มากกว่า
คือเป็นหนังกึ่งอาร์ตกึ่งอีโรติกที่ไม่เน้นความ intellectual แต่เน้นการสร้าง erotic images ที่งดงามแบบเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
3.ในแง่นึงความรู้สึกชอบอย่างสุดขีดของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้
ก็คล้ายกับความรู้สึกชอบอย่างสุดขีดของเราที่มีต่อหนังอย่าง TANK YOU TANK
ME TANK US (2017, ปานณิชศา คันธวัฒน์) และ INAUGURATION OF
THE PLEASURE DOME (1954, Kenneth Anger) นะ ทั้งๆที่หนังสามเรื่องนี้ไม่เหมือนกันเลย
คือ TANK YOU TANK ME TANK US เป็นเรื่องของหญิงสาวที่ไปเที่ยวเล่นในโลกที่ไร้กฎเกณฑ์
และเป็นโลกที่ดูใสสะอาดบริสุทธิ์มากๆ ส่วน INAUGURATION OF THE PLEASURE
DOME ก็เป็นหนังเกี่ยวกับงานปาร์ตี้ของคนแต่งตัวแปลกๆ
แต่สิ่งที่หนังสามเรื่องนี้เหมือนกันในสายตาของเราก็คือ
หนังสามเรื่องนี้ไม่เน้น “การเล่าเรื่อง” หรือ “เนื้อเรื่อง”
และไม่สนหีสนแตดอะไรผู้ชมในวงกว้างแต่อย่างใดน่ะ มันเหมือนกับว่า หนัง 3
เรื่องนี้เน้นการตอบสนอง pleasure ของผู้สร้างหนังเป็นหลัก และสร้าง “โลกสมมุติ”
ที่เป็นตัวของตัวเองมากๆๆๆ ขึ้นมา ซึ่งเป็นโลกสมมุติที่ตอบสนอง pleasure ของตัวผู้สร้างหนังอย่างแท้จริง ซึ่งถ้าหากผู้ชมคนใดจูนติดกับโลกสมมุติที่เป็นตัวของตัวเองอย่างสุดๆแบบนี้ได้
ผู้ชมคนนั้นก็จะ enjoy หรือร่วมเสพ pleasure ในหนังได้อย่างเต็มที่
และเราก็แสวงหาหนังแบบนี้นี่แหละ หนังที่ดูเหมือนไม่แคร์อะไรอีกต่อไป
หนังที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนอง pleasure ของตัวผู้สร้างเอง
แต่มันดันตรงกับ pleasure ของเราไปด้วยในระดับนึง
INAUGURATION OF THE PLEASURE DOME เป็นหนึ่งในหนังสั้นที่เราชอบมากที่สุดในชีวิต,
TANK YOU TANK ME TANK US เป็นหนึ่งในหนังสั้นไทยที่เราชอบมากที่สุดในปีนี้
ส่วน PLAYBOY (AND THE GANG OF CHERRY) อาจจะเป็นหนังที่รุนแรงเกินไปสำหรับรสนิยมของเรา
เพราะจริงๆแล้วเราเป็นสาวธัมมะธัมโม อย่างไรก็ดี ถ้าหากเทียบกับหนังฉายโรงของไทยด้วยกันเองแล้ว
เราขอยกให้หนังเรื่องนี้เป็น “มรดกของชาติ” ในใจเราค่ะ
No comments:
Post a Comment