14/10/2016 – THE DAY AFTER (2017, Teeraphan Ngowjeenanan,
documentary, 127min, A+30)
ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในเวลาและสถานที่นั้นๆมากๆ
เพราะฉะนั้นจุด focus ของมันจะแตกต่างจาก “สวรรคาลัย” (2017,
Abhichon Rattanabhayon, A+30) เพราะสวรรคาลัยทำให้เรา focus
ไปที่ปฏิกิริยาของผู้คนในสถานที่นั้นๆ เหมือนกับว่า “ดวงตา” และ “หู”
ของเราอยู่ในสถานที่นั้นๆ แต่ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกว่า “ร่างกาย”
ของเราอยู่ในสถานที่นั้นๆด้วย ในขณะที่ 14/10/2016 – THE DAY AFTER ทำให้เรารู้สึกว่าร่างกายของเราอยู่ในสถานที่นั้นๆด้วย
ในแง่หนึ่งมันก็เลยทำให้นึกถึง THE MOST BEAUTIFUL TIME (2014, Teeraphan
Ngowjeenanan, 30min, A+30) เพราะเรารู้สึกว่า THE MOST
BEAUTIFUL TIME มันก็เป็นภาพยนตร์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกทางร่างกายเหมือนกัน
มันเหมือนกับว่าร่างกายของเรารู้สึกได้ถึงความทรมานจากรถติดในขณะดู THE
MOST BEAUTIFUL TIME ด้วย คือในขณะที่หนังสารคดีทั่วไปอาจจะทำให้เรารู้สึกเหมือนตาและหูของเราอยู่ในสถานที่และเวลาเดียวกับคนถ่าย
แต่หนังทั้งสองเรื่องของ Teeraphan Ngowjeenanan ก่อให้เกิดความรู้สึกอย่างรุนแรงต่อ
“ร่างกาย” ของเราด้วย ไม่ใช่แค่เพียงประสาทตาและประสาทหูแบบหนังสารคดีทั่วไป
สรุปได้ว่า การดู 14/10/2016 – THE DAY AFTER เป็น “physical
experience” ที่รุนแรงมากสำหรับเรา
และเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ในหนังทั่วไป หนังเรื่องนี้ติดอันดับประจำปีของเราแน่นอนค่ะ
THE LAST THING (ETC) ON NEW YEAR’S EVE (2017, Bowornlak Somroob,
20min, A+30)
เรื่องสุดท้าย (ฯลฯ) ในวันสิ้นปี
1.นี่แหละ
หนังแบบที่กูต้องการจากเทศกาลหนังสั้นมาราธอน 555 มันคือหนังแบบที่ไม่ต้องสนใจคุณค่าทางโปรดักชั่นหรือความลงตัวทาง
aesthetics อะไรมากนัก
แต่มันเป็นหนังแบบที่ดูจบแล้วต้องอุทานว่า “มันเป็นไปได้อย่างไร” “แต่มันก็เป็นไปแล้ว”
“มันมีคนสร้างหนังไทยแบบนี้ขึ้นมาแล้วจริงๆ” 555
คือเราถูกโฉลกกับหนังแบบนี้อย่างสุดๆน่ะ
และมันเป็นหนังประเภทที่ทำให้เรารักเทศกาลหนังสั้นมาราธอนมากๆ
นั่นก็คือมันเป็นหนังที่อาจจะมีข้อบกพร่องมากมายอะไรก็ได้
แต่ขอให้มันมีองค์ประกอบอะไรสักอย่างที่พีคสุดๆหรือเข้าทางเราอย่างสุดๆ
แค่นั้นก็พอแล้ว เราไม่ได้แสวงหาความงดงามของทุกองค์ประกอบทางสุนทรียะในหนัง เราขอองค์ประกอบที่จั๋งหนับสุดๆสักอย่างสองอย่าง
เราก็พอใจแล้ว
2.ในส่วนของหนังเรื่องนี้นั้น
สิ่งที่เรากรีดร้องด้วยความชอบใจอย่างสุดๆ ก็คือการตัดจบของมันน่ะ
คือมันจบในแบบที่ปมปัญหาอะไรของตัวละครไม่คลี่คลายอะไรเลยทั้งสิ้น ทั้งปมเรื่องพ่อ,
ปมเรื่องแม่, ปมที่ว่าใครพูดจริงใครพูดเท็จ, ปมเรื่องสาวเลสเบียนคนรัก
และปมปริศนาการหายตัวไปของตัวละครสำคัญตัวหนึ่ง (ลองนึกถึง L’AVVENTURA (1960, Michelangelo
Antonioni) ดูสิ) แต่เรารู้สึกว่าการตัดจบแบบนี้มัน
“ใช่” ในทางอารมณ์มากๆ คือมันลงตัวทางอารมณ์สุดๆที่ตัดจบแบบนั้นไปเลย
โดยที่ทุกปัญหาค้างเติ่งอยู่อย่างนั้น
3.คือการตัดจบแบบลงตัวทางอารมณ์มันทำให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังบางเรื่องอย่าง
3.1 หนังประเภทที่ตัดจบเพราะดูเหมือนผู้กำกับถ่ายไม่เสร็จ อย่างเช่น ORANGE JUICE (2017, เขมรุจิ
ทีรฆวงศ์) และเรื่องเล่าของนิน (คีตาลักษณ์ โตมานิตย์) คือเราไม่รู้ว่าหนังแต่ละเรื่องในกลุ่มนี้ผู้กำกับถ่ายไม่เสร็จจริงหรือเปล่านะ
แต่มันให้อารมณ์เหมือนกับถ่ายไม่เสร็จน่ะ
3.2 หนังประเภทที่ผู้กำกับจงใจตัดจบ คือถ่ายเสร็จแล้ว
แต่อารมณ์ของคนดูยังค้างเติ่งอยู่ หรือยังไม่ไปไหน อย่างเช่น หนังบางเรื่องของ Seriphab Sutthisri ซึ่งจริงๆแล้วเราก็ชอบหนังบางเรื่องของคุณ
Seriphab อย่างสุดๆนะ เพราะหนังบางเรื่องของเขามันให้อารมณ์จบจริงๆ
แต่มันก็มีหนังบางเรื่องของเขาที่จบอย่างงงๆว่า อ้าว จบแล้วเหรอ
4.เราว่าคู่แฝดของหนังเรื่องนี้คือ เราโอเค YEAH I’M FINE (2017, Kingkarn
Suwanjinda, A+30) น่ะ เพราะว่า
4.1 เราโอเค YEAH I’M FINE เป็นหนังเกย์ ส่วน “เรื่องสุดท้าย”
เป็นหนังเลสเบียน
4.2 แม่ของตัวละครเอกของหนังสองเรื่องนี้
ถูกสามีทอดทิ้งเหมือนกัน
และตัวละครเอกของหนังสองเรื่องนี้ ต้องรับมือกับความชอกช้ำใจของแม่เหมือนกัน
4.3 ตัวละครเอกของหนังสองเรื่องนี้ มีคนรักที่ดูเหมือนจะรักกันดี
แต่ก็ดูเหมือนจะมีความไม่ลงตัวบางอย่างทางความสัมพันธ์เหมือนกัน
4.4 หนังทั้งสองเรื่องนี้นำเสนอเพียง “เสี้ยวชีวิตสั้นๆ”
ของตัวละครเอกเหมือนกัน เมื่อถึงตอนจบของหนังเรื่องนี้
ตัวละครเอกก็ดูเหมือนไม่สามารถคลี่คลายปัญหาใดๆในชีวิตของตัวเองได้ดีไปกว่าในช่วงเริ่มต้นเรื่อง
แต่สิ่งที่ตัวละครเอกของหนังทั้งสองเรื่องทำ ก็คือก้าวเดินในชีวิตต่อไป
5.สรุปว่า เรารักเทศกาลหนังสั้น เพราะหนังแบบนี้นี่แหละ
หนังแบบที่เราดูจบแล้วต้องอุทานว่า “มันเป็นไปได้อย่างไร”
แต่มันก็มีคนทำหนังแบบนี้ออกมาแล้วจริงๆ ตอนนี้เข้าใจแล้วล่ะว่า ทำไมผู้ชม L’AVVENTURA ในปี
1960 ถึงรู้สึกช็อค 555
No comments:
Post a Comment