เขี้ยวเสือ (2019, สัจจานันท์ ยศประสิทธิ + สิริชัย เฮงเจริญ, A+30)
1.หนังจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จพระเจ้ายา
ที่เราพลาดดูในงาน CINEMORE แต่มีคนส่งมาให้ดู
ดูแล้วก็ชอบไอเดียของหนัง ที่มันมีทั้งความ self-reflexive (หนังเล่าถึงนิสิตที่จะไปจ้างคนอื่นให้มาทำหนังเพื่อส่งงาน
cinemore) และการเล่นกับ genre
หนังต่างๆ (ตัวละครที่เหมือนอยู่ใน “หนังตลก” คุยกันถึงหนังแนวแอคชั่น, โรแมนติก,
สยองขวัญ) ถึงแม้หนังจะมีความบ้าๆบวมๆอยู่บ้าง หรือถึงแม้รายละเอียดของหนังจะไม่น่าพอใจ
แต่ตัวไอเดียหลักๆของมันเป็นสิ่งที่เราชอบ
2.ชอบช่วงที่เป็น genre แอคชั่นกับโรแมนติกมากๆ
ที่หนังใช้บทสนทนาที่เกือบจะเหมือนกันทุกอย่าง แต่พอตัวละครพูดด้วย “น้ำเสียง”
และท่าทีที่ต่างออกไป ความหมายและอารมณ์ก็เปลี่ยนไปหมดเลย เราชอบที่หนังเรื่องนี้หยิบเอาสิ่งนี้ขึ้นมานำเสนอ
เพราะเรามองว่าในชีวิตจริงนั้นในหลายๆครั้ง “น้ำเสียง” บางทีเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า “สิ่งที่พูด”
คือเหมือนกับว่าในหลายๆครั้งความหมายหรือจุดประสงค์หรือสิ่งที่น่าสนใจจริงๆมันอยู่ใน
“น้ำเสียง” ของผู้พูด ในระดับที่มากกว่าหรือเท่ากับ “เนื้อหาที่พูด”
และหนังเรื่องนี้ก็สะท้อนจุดนี้ออกมาได้ดี
ดูแล้วนึกถึงฉากนึงใน EX LIBRIS: THE NEW YORK PUBLIC LIBRARY (2017,
Frederick Wiseman) ด้วย ที่มีการให้คนสองคนมาอ่านบทพูดบทเดียวกัน
แต่คนนึงอ่านด้วยน้ำเสียงแข็งกร้าว และอีกคนอ่านด้วยน้ำเสียงอ่อนน้อม
แล้วผลที่ออกมามันแตกต่างกันมากๆ
3.ดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง “พลาด” ของปวีณ ภูริจิตปัญญา (2000, 26mins) ที่เล่าหนัง 3 genres
ในเรื่องเดียวกันเหมือนกัน เสียดายที่เราจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว
จำได้แค่ลางๆว่า พระเอกของ “พลาด” เป็นนักเรียนที่กำลังทำข้อสอบ choice แล้วพอเขาเลือกตอบ “ก” ชีวิตเขาหลังจากนั้นก็จะเป็นหนัง genre นึง แล้วพอเขาเลือกตอบ “ข” ชีวิตเขาก็จะกลายเป็น genre “social
realism” ชีวิตหนักๆ สะท้อนปัญหาสังคม หนังจะสีซีดๆจนเกือบขาวดำ แล้วพอเขาเลือกตอบ
“ค” ชีวิตก็จะกลายเป็นอีก genre นึง
ชอบไอเดียของ “พลาด” มากๆ แล้วก็แอบงงว่า ทำไมถึงไม่มีใครทำหนังไทยแบบ
“พลาด” อีก จนกระทั่งผ่านมา 19 ปีนี่แหละ ถึงค่อยมี “เขี้ยวเสือ”
ที่ใช้ไอเดียที่คล้ายๆกัน
No comments:
Post a Comment