Monday, January 31, 2022

WHY SOME HORROR FILMS AFFECT ME A LOT

 

ชอบที่เพื่อนคนนึงใน Facebook เขียนมาก ๆ ที่เขาเขียนในทำนองที่ว่า หนังแนว Agatha Christie, Sherlock Holmes, Conan เป็นหนังที่มีการฆาตกรรม แต่ดูแล้วไม่รู้สึกกลัว ซึ่งจะแตกต่างจากหนังฆาตกรโรคจิตอย่าง THE TEXAS CHAINSAW MASSACRE, HALLOWEEN, THE HILLS HAVE EYES, FRIDAY THE 13TH, TOOLBOX MURDERS (2004, Tobe Hooper) WOLF CREEK (2005, Greg McLean), VACANCY (2007, Nimrod Antal), etc. ที่ดูแล้วจะรู้สึกกลัว เพราะพอเพื่อนคนนี้เขียนแบบนี้ เราก็เลยได้ทฤษฎีขึ้นมาว่า ทำไมเราถึง อินกับ FEBRUARY (2015, Oz Perkins) และ KRISTY (2014, Olly Blackburn) อย่างรุนแรงมาก ๆ ซึ่งนั่นก็คงเป็นเพราะเรามีพื้นฐานจิตใจดีงามนั่นเอง 55555 ล้อเล่นค่ะ

 

คือเราชอบหนังทั้งสองกลุ่มมาก ๆ นะ (หนังสืบสวนสอบสวนฆาตกรรม และหนังฆาตกรโรคจิต) และเราก็รู้สึกเหมือนกันว่า เวลาที่เราดูหนังกลุ่ม Conan และ Agatha Christie เราดูแล้วเราไม่รู้สึกกลัวน่ะ ในขณะที่เวลาที่เราดูหนังอย่าง SCREAM เรารู้สึกกลัวมาก ๆ โดยเฉพาะภาคแรก ซึ่งความรู้สึกกลัวนี้มันมีสาเหตุมาจากความรู้สึกที่ว่า ตัวเราสามารถตกเป็นเหยื่อได้น่ะ

 

คือเรารู้สึกว่าในหนังกลุ่มปริศนาฆาตกรรมนั้น เหยื่อส่วนใหญ่มักจะเป็น คนรวยหรือ คนที่เคยทำผิดในอดีตน่ะ เขาก็เลยถูกฆ่าเพื่อล้างแค้น หรือเพื่อผลประโยชน์ที่ฆาตกรหวังจะได้รับ เพราะฉะนั้นเราจึงรู้สึกว่า เหยื่อในหนังกลุ่ม Agatha Christie นั้น ห่างไกลจากตัวเราในชีวิตจริงเราก็เลยไม่ค่อยรู้สึกกลัวเวลาดูหนังแบบนี้ เพราะกูจนค่ะ 55555

 

ส่วนเหยื่อในหนังกลุ่มฆาตกรโรคจิตนั้น มีสิทธิจะเป็นเราได้อย่างมาก ๆ อย่างไรก็ดี เราแทบไม่เคยเดินทางไปต่างจังหวัดเลย เพราะฉะนั้นในแง่นึง หนังแบบ THE TEXAS CHAINSAW MASSACRE, FRIDAY THE 13TH, THE HILLS HAVE EYES, VACANCY ก็เลยไม่ทำให้เราเชื่อมโยงกับตัวเองมากนัก แต่ TOOLBOX MURDERS กับ DOOR LOCK ที่ใช้ฉากเป็นอพาร์ตเมนท์ในเมืองใหญ่ และ SCREAM ที่ใช้ฉากการฆาตกรรมเป็นบ้านเรือนหรือสถานที่ชุมนุมชน ก็เลยทำให้เรารู้สึกหวาดกลัวได้มากกว่า เพราะสถานที่ในชีวิตประจำวันของเรามันมีความใกล้เคียงกับสถานที่ใน SCREAM, TOOLBOX MURDERS, DOOR LOCK, THESIS (1996, Alejandro Amenabar, Spain) มากกว่าสถานที่ต่าง ๆ ในหนังกลุ่มเดินทางไปต่างจังหวัด

 

และเราก็เลยคิดว่า หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เราอินกับ KRISTY และ FEBRUARY อย่างรุนแรง อาจจะเป็นเพราะว่าหนังสองเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกว่าเราอาจจะตกเป็นเหยื่อของฆาตกรโรคจิตในหนังได้อย่างมาก ๆ น่ะ เพราะฆาตกรในหนังสองเรื่องนี้เน้นเล่นงาน คนที่มีจิตใจดีงาม” 55555

 

คือใน KRISTY นั้น นางเอกช่วยเหลือหญิงสาวคนนึงในร้านขายของน่ะ แต่หญิงสาวคนนั้นกับแก๊งของเธอเป็นกลุ่มฆาตกรโรคจิตที่เกลียดคนดี เพราะฉะนั้นพอหญิงสาวคนนี้เห็นว่านางเอกทำตัวเป็นคนดี หญิงสาวคนนี้ก็เลยพาพรรคพวกของเธอออกไล่ล่าฆ่านางเอก

 

ส่วนใน FEBRUARY นั้น นางเอกของเรื่องซึ่งเป็นฆาตกรโรคจิตก็ฆ่าคนต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่เธอ เพราะเธอเป็นโรคจิต

 

ตอนที่เราดูหนังสองเรื่องนี้ เราก็เลยอินมาก ๆ หวาดกลัวอย่างรุนแรง และแน่นอนว่าหวาดกลัวกว่าหนังฆาตกรโรคจิตหลาย ๆ เรื่องที่ชอบเลือกเหยื่อเป็น หญิงสาวสวยเพราะกูไม่ใช่หญิงสาวสวยแบบที่มักตกเป็นเหยื่อในหนังน่ะค่ะ แต่เรารู้สึกว่า เราเชื่อว่าถ้าหากเราทำดีกับคนอื่น ๆ เราก็น่าจะได้รับผลดีตอบกลับมา

 

คือพอเรามีความเชื่อแบบนี้ในชีวิตประจำวัน เชื่อว่าเราควรทำดีกับคนอื่น ๆ ไว้ก่อน แล้วเรามาดูหนังสองเรื่องนี้ มันก็เลยอาจจะเป็นสาเหตุส่วนนึงที่ทำให้เราอินกับหนังสองเรื่องนี้อย่างรุนแรงมาก ๆ เพราะมันเหมือนกับว่า เราสามารถตกเป็นเหยื่อของฆาตกรในหนังสองเรื่องนี้ได้ มากกว่าฆาตกรในหนังเรื่องอื่น ๆ ที่เลือกฆ่า คนรวย”, “คนที่เคยทำผิดในอดีต”, “คนที่เดินทางไปต่างจังหวัดหรือ หญิงสาวสวย

 

และการมองว่าตัวเองสามารถตกเป็นเหยื่อได้นี้ ก็คือหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกอินของเราที่มีต่อหนังผีเรื่องต่าง ๆ ด้วย โดยเฉพาะต่อหนังอย่าง DEMONIC (2021, Neill Blomkamp) และ THE CONJURING: THE DEVIL MADE ME DO IT (2021, Michael Chaves) อะไรแบบนี้ ซึ่งแตกต่างจากหนังสยองขวัญที่เราชอบสุด ๆ บางเรื่อง แต่เป็นการชอบสุดๆ แบบ ไม่ได้รู้สึกกลัวอย่างเช่น MALIGNANT, THE POWER (2021, Corinna Faith) และ AMULET (2020, Romola Garai) น่ะ

 

คือเรามองว่า ฆาตกรใน MALIGNANT มันเน้นเลือกฆ่าคนที่มันมีความแค้นเป็นหลักน่ะ มันไม่ได้เน้นเลือกฆ่าคนทั่วไปตามท้องถนน ส่วนผี/ปีศาจใน THE POWER กับ AMULET ก็เหมือนเลือกทำร้าย ผู้ชายที่เคยทำเลว ๆ กับผู้หญิงเป็นหลักน่ะ เราก็เลยไม่ได้มองว่าตัวเองจะต้องตกเป็นเหยื่อของฆาตกรหรือผีในหนังกลุ่มนี้ 55555 แต่ก็ชอบหนัง 3 เรื่องนี้อย่างสุด ๆ นะ แต่เป็นความชอบที่ไม่ได้สัมพันธ์กับ ความกลัว

 

แต่เหมือนพอเราเชื่อเรื่องแม่มด, ปีศาจ และสนใจในเครื่องรางของขลังต่าง ๆ ที่เปิดขายตามเพจหรือกรุ๊ปแม่มด เราก็เลยรู้สึกว่าอะไร ๆ แบบที่ตัวละครเจอใน THE CONJURING 3 และ DEMONIC มันไม่ไกลจากตัวเราน่ะ เหมือนมันอาจจะเกิดขึ้นกับเราได้ถ้าหากเราเลือกซื้อของแล้วได้ของที่มีอะไรบางอย่างติดมาด้วย หรือถ้าหากมีใครมาหลอกเราว่า ท่องคาถานี้แล้วจะมีผัวแต่จริง ๆแล้วมันเป็นคาถาปลุกปีศาจอะไรสักตัวขึ้นมา อะไรทำนองนี้ 55555 คือเหมือนเรารู้สึกว่าเราอาจตกเป็นเหยื่อของแม่มดหรือปีศาจแบบในหนังสองเรื่องนี้ได้น่ะ แต่เราไม่ได้มีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อของ ผีที่ต้องการล้างแค้นผู้ชายที่ทำตัวเลว ๆแบบในหนังสยองขวัญหลาย ๆ เรื่อง

 

และปัจจัยแบบนี้ก็เลยมีผลอย่างมาก ๆ ต่อ ความอินและ ความรู้สึกกลัวที่เรามีต่อหนังสยองขวัญหลาย ๆ เรื่องค่ะ ซึ่งเรื่องแบบนี้ก็ย่อมแตกต่างกันไปอย่างมาก ๆ สำหรับผู้ชมแต่ละคน

---------------

ชอบประเด็นที่อุ้ยเขียนอย่างสุด ๆ ทำให้นึกถึง BRAVE FATHER ONLINE: OUR STORY OF FINAL FANTASY XIV (2019, Teruo Noguchi) ที่นำเสนอวิดีโอเกมว่าเป็นสิ่งที่ช่วยรักษาความรักความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว แทนที่จะนำเสนอวิดีโอเกมว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ลูก ๆ แปลกแยกจากพ่อแม่ ซึ่งจะแตกต่างจากหนังฝรั่งอย่าง GAMER (2009, Mark Neveldine + Brian Taylor) และ EXISTENZ (1999, David Cronenberg) ที่อาจจะเป็นการทำนายล่วงหน้าถึงโลก จักรวาลนฤมิตในทางลบ (ถ้าจำไม่ผิด)

 

พอเราดู BELLE แล้ว เราก็หวังว่า ถ้าหากมีการสร้างโลกจักรวาลนฤมิตแบบในหนังเรื่องนี้ขึ้นมาจริง ๆ ดิฉันก็ขอใช้ชีวิตเป็น "กะหรี่" ในจักรวาลนฤมิตค่ะ 55555

 

Sunday, January 30, 2022

SCREAM 5

 

HOUSE OF GUCCI (2021, Ridley Scott, A+25)

 

1.อยากสร้าง “จักรวาลคู่ขนาน” ที่ Diana Spencer ได้แต่งงานกับผู้ชายแบบ Maurizio Gucci ส่วนเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ได้แต่งงานกับผู้หญิงแบบ Patrizia Reggiani คือรู้สึกว่าราชวงศ์อังกฤษเหมาะจะได้ลูกสะใภ้แบบ Patrizia อย่างสุด ๆ ลูกสะใภ้แบบนี้แหละที่ราชวงศ์อังกฤษคู่ควร นึกว่าต้องมีใครทำหนัง found footage ที่ remix HOUSE OF GUCCI กับ SPENCER เข้าด้วยกันเพื่อส่ง Patrizia ไปตบควีนอังกฤษ

 

พอดูไล่เลี่ยกับ SPENCER (2021, Pablo Larrain) แล้วเลยขำมาก ๆ ที่ไดอาน่าใน SPENCER ดูเหมือนพยายามเหลือเกินหรือมีความสุขอย่างมาก ๆ ที่จะกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตนเอง ซึ่งก็คือ Spencer แต่ Patrizia ใน HOUSE OF GUCCI พยายามย้ำจนวินาทีสุดท้ายในหนังว่าตอนนี้เธอนามสกุลกุชชี่ ไม่ใช่ Reggiani

 

2.เฉย ๆ กับการกำกับ แต่รู้สึกว่าเนื้อเรื่องสนุกดี นึกถึงละครโทรทัศน์เรื่อง “สงครามเงิน” (1989) ที่ปรียานุช ปานประดับปะทะกับชนาภา นุตาคม

 

3.รัก Jeremy Irons, Jack Huston (Domenico de Sole) และ Camiille Cottin (Paola) ในหนังเรื่องนี้ รู้สึกถูกโฉลกกับ Camille Cottin มากๆ ก่อนหน้านี้เราเคยเห็นเธอในหนังเรื่อง SOMEONE, SOMEWHERE (2019, Cedric Klapisch)

 

SCREAM (หรือจริง ๆ คือ SCREAM 5) (2022, Matt Bettinelli-Olpin, Tyler Gillett, A+30)

 

Serious Spoilers alert

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1. รู้สึกสองจิตสองใจกับตอนจบของหนังมาก ๆ ในแง่ที่ว่า เราอยากให้มีภาคต่อหรือไม่ เพราะเรารู้สึกผูกพันและรัก Sidney กับ Gale มาก ๆ เลยน่ะ รู้สึกเหมือนกับว่า พวกเราเติบโตมาด้วยกัน, รอดชีวิตมาด้วยกัน, แก่เฒ่าไปด้วยกัน ใจนึงก็อยากเห็นทั้งสองอีก แต่อีกใจนึงก็รู้ดีว่า ถ้าหากมันมี SCREAM 6, 7, 8, ETC. โอกาสที่ทั้งสองจะถูกฆ่าตายก็มีสูงมาก ๆ เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่แน่ใจว่าอยากให้มีภาคต่อหรือไม่ กลัวทั้งสองจะตาย คือหนังชุด SCREAM ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ทั้งสองเป็นคนจริง ๆ ไปแล้ว ไม่ใช่แค่ตัวละคร 55555

 

ซึ่งสาเหตุที่เป็นแบบนี้ เป็นเพราะว่า เราหลงใหลหนังชุดนี้มาก ๆ และเราเติบโตมากับมันด้วยแหละมั้ง ตลกดีที่มันเป็นหนังซีรีส์สยองขวัญที่เราผูกพันกับมันอย่างรุนแรงขนาดนี้ แทนที่เราจะรู้สึกผูกพันกับ

 

1.1 หนังสารคดี SERIES ชุด UP ของ Michael Apted เพราะเราได้ดูมันช้าเกินไป คือเราเพิ่งได้ดูมันเมื่อราว 5-6 ปีก่อน คือถ้าหากหนังสารคดีชุดนี้ได้เข้ามาฉายในไทยทุก ๆ 7 ปี และเราได้ดูมันมาตั้งแต่เด็ก เราก็คงได้รู้สึกว่า เราเติบโตไปพร้อมกับ subjects ในหนังด้วย

 

1.2 ละครซีรีส์ SEX AND THE CITY (1998-2004) ที่เราชอบสุดๆ แต่เราไม่ค่อยชอบ SEX AND THE CITY 2 (2010, Michael Patrick King) และเรายังไม่ได้ดู AND JUST LIKE THAT (2021) เราก็เลยยังไม่ได้รู้สึกว่า เราแก่เฒ่าไปพร้อมกับพวกเธอ

 

1.3 หนังชุดที่เราผูกพันมาก ๆ อย่าง X-MEN ตัวละครหญิงในหนังก็เหมือนไม่ได้ "แก่เฒ่า" ไปพร้อมกับเรา

 

1.4 หนังชุดที่เราไม่ได้ผูกพัน อย่างเช่น JAMES BOND และ SPIDER-MAN นักแสดงก็ถูกเปลี่ยนตัวไปเรื่อย ๆ เราก็เลยไม่รู้สึกว่า ตัวละครแก่เฒ่าไปพร้อมกับเราเช่นกัน

 

1.5 โคนัน 55555

 

2.คิดว่าสาเหตุนึงที่เรารักหนังชุด SCREAM มาก ๆ เป็นเพราะมันรวมความสนุกของหนังสอง genres ที่เราชอบมากเข้าไว้ด้วยกัน นั่นก็คือ

 

2.1 หนังฆาตกรโรคจิตคนบ้าไล่ฆ่าคนจำนวนมาก อย่างเช่น “สิงหาสับ” (THE TEXAS CHAINSAW MASSACRE), FRIDAY THE 13TH, HALLOWEEN, PEEPING TOM (1960, Michael Powell), FRENZY (1972, Alfred Hitchcock), etc.  คือหนัง genres นี้สนุกมาก ๆ ก็จริง แต่เราจะรู้อยู่แล้วว่าใครเป็นฆาตกร

 

2.2 หนังแนว Agatha Christie, Sherlock Holmes, Conan ที่เน้นสืบสวนสอบสวนว่าตัวละครตัวใดเป็นฆาตกร แต่ไม่เน้นการร้องกรี๊ดด ๆๆๆ วิ่งหนีฆาตกร และในหนังชุดนี้เราจะรู้ว่าใครเป็น “นักสืบ” และนักสืบจะไม่ถูกฆ่าตาย

 

คือเราคิดว่าหนังชุด SCREAM มันรวมความสนุกของหนัง 2 genres นี้เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัวน่ะ ซึ่งก่อนหน้า SCREAM ก็จะมีหนังแบบ “แต่งตัวไปฆ่า” (1980, Brian De Palma) และ DEEP RED (1975, Dario Argento) ที่เราว่ารวมความสนุกของหนังฆาตกรโรคจิตและหนังแนว Agatha Christie เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างสนุกสุดขีดเหมือนกัน

 

และเราว่าหลังจาก SCREAM ภาคแรกในปี 1996 เป็นต้นมา ก็มีการผลิตหนังแนวนี้ตามมาอีกหลายเรื่อง อย่างเช่น I KNOW WHAT YOU DID LAST SUMMER (1997, Jim Gillespie), 303 กลัว กล้า อาฆาต (1998, สมจริง ศรีสุภาพ), CHERRY FALLS (2000, Jeffrey Wright), VALENTINE (2001, Jamie Blanks), SORORITY ROW (2009, Stewart Hendler), MY SOUL TO TAKE (2010, Wes Craven) และล่าสุดก็คือ SEANCE (2021, Simon Barrett, A+) แต่เราว่ายังไม่มีเรื่องไหนใน genre นี้ที่เราชอบมากเท่า SCREAM เลยนะ มีที่ใกล้เคียงก็คือ URBAN LEGEND (1998, Jamie Banks) ที่เราว่าทำได้ดีเกือบเท่า SCREAM และหนังชุด HAPPY DEATH DAY ที่ฉีกแนวออกไปได้ดี

 

เราก็เลยรู้สึกว่า หนังชุด SCREAM ยังคงยืนหนึ่งในใจเราในส่วนของ genre นี้

 

3.แต่ถึงแม้เราจะชอบ SCREAM 5 มาก ๆ แต่หนังเรื่องนี้ก็อาจจะไม่ได้ติด 50 อันดับแรกประจำปีของเรานะ แต่อาจจะติด 100 อันดับประจำปี ไม่รู้เป็นเพราะเราแก่แล้วหรือเปล่า เราก็เลยรู้สึกว่า SCREAM 5 มันทำได้ดีใน genre ของมันเอง แต่มันก็ยังคงติดอยู่ในกรอบบางประการใน genre ของมัน และไม่สามารถทำให้เราตื่นเต้นกับมันเหมือนแต่ก่อน

 

คือเหมือนเราไม่อินกับมันหรือไม่ลุ้นกับมันมากเท่าแต่ก่อนน่ะ คือถ้าหากเทียบ “ความลุ้น” แล้ว เราว่าเราลุ้นกับ MIDNIGHT (2021, Kwon Oh-seung, South Korea) และ DOOR LOCK (2018, Kwon Lee, South Korea) มากกว่า เหมือนช่วงหลัง ๆ เราว่าเกาหลีใต้ทำหนังฆาตกรโรคจิตออกมาได้น่ากลัวมาก ๆ สำหรับเรา คือเหมือนหนังเกาหลีสองเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกถูกคุกคาม ตกอยู่ภายใต้อันตรายจริง ๆ ในขณะที่ SCREAM 5 มันมีความยักคิ้วหลิ่วตากับผู้ชมตลอดเวลา เราเลยรู้สึก “ผ่อนคลาย” กว่า 5555 เลยไม่ค่อย “ลุ้น” มากเท่า

 

และในส่วนของ “ความอิน” แล้ว เราก็อินกับหนังอย่าง FEBRUARY (2015, Oz Perkins) และ KRISTY (2014, Olly Blackburn) มากกว่า แต่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเพราะเหตุใดเราถึงอินกับหนังสองเรื่องนี้อย่างสุดขีด

 

4.สิ่งหนึ่งที่กราบมาก ๆ ใน SCREAM 5 คือการสร้างบุคลิกให้ตัวละครผู้หญิงแต่ละตัว คือแต่ละตัวแค่โผล่มาแป๊บเดียว แต่ทำไมเราจดจำมันได้ แยกมันออกได้ในทันทีเลย เราว่าผู้กำกับและคนเขียนบทเก่งมาก ๆ ในการแนะนำตัวละครหลายตัวในช่วงต้นเรื่อง และทำให้เรา “แยก” ตัวละครเหล่านี้ได้โดยง่าย คือเราชอบบุคลิกของทั้ง Amber (Mikey Madison), Mindy (Jasmin Savoy Brown) และ Liv (Sonia Ammar) มากๆ เลยน่ะ คือเหมือนทั้ง 3 ตัวนี้มีออร่าเป็นของตัวเองมาก ๆ

 

5.แต่แอบขำที่หนังสยองขวัญยุคหลัง ต้องมี “ตัวละครหญิงผิวดำแรง ๆ” อย่างน้อย 1 ตัว เหมือนกลายเป็น ingredient สำคัญที่ขาดไม่ได้ในหนังสยองขวัญยุคนี้ ทั้ง Mindy ในเรื่องนี้, ตัวละครหญิงผิวดำใน SEANCE และตัวละครหญิงผิวดำใน BLACK CHRISTMAS (2019, Sophia Takal)

 

6.ฉากที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ คือก่อนเข้าองก์ 3 ที่ตัวละครหลายตัวไม่ไว้วางใจกันเองอีกต่อไปว่าใครเป็นฆาตกรกันแน่ เราชอบ moment แบบนี้อย่างสุด ๆ น่ะ เราว่ามันหนักมาก ๆ แต่พอหนังเริ่มเฉลยว่าใครเป็นฆาตกร ความชอบของเราก็ drop ลงเล็กน้อย 55555

 

ชอบฉากที่ Mindy กับ Amber ท้าทายกันว่าใครเป็นฆาตกรตอนอยู่ในห้องใต้ดินด้วยนะ moment นั้นเราก็ลุ้นมาก ๆ เหมือนกัน เพราะตอนนั้นเราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าใครเป็นฆาตกร

 

7.อีก moment นึงที่ชอบสุดขีด คือตอนที่ฆาตกรออกมาหลอก Gale กับ Sidney แล้ว Gale กับ Sidney ก็คุยกันว่า

 

“What do you think?”
“It’s a trap.”

 

คือตายแล้ววววววววววววววววว นึกว่ามือใหม่ปะทะกับ “ทหารผ่านศึก” ของจริง กราบ Gale กับ Sidney มาก ๆ พวกเธอคือทหารผ่านศึก ผ่านสมรภูมิรบมาแล้วอย่างโชกโชนจริง ๆ DIE HARD WITH A VENGEANCE มาก ๆ นึกว่าเล่นกับใครไม่เล่น มาเล่นกับทหารที่ผ่านมาแล้ว “4 สมรภูมิรบ” ทั้งสงครามโลกครั้งที่สอง, สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม, สงครามอิรัก 555555

 

8. พอดูหนังจบแล้ว มาอ่าน Wikipedia ถึงรู้ว่าสามีของ Sidney คือ Mark (Patrick Dempsey) จาก SCREAM 3

 

9.ถ้าให้เปรียบเทียบทั้ง 5 ภาค ตอนนี้เราก็อาจจะชอบ

 

9.1 ภาคหนึ่งมากที่สุด

 

9.2 SCREAM 3 (2000) มากเป็นอันดับสอง เพราะเราชอบความเป็นหนังซ้อนหนัง

 

9.3 SCREAM 2 (1997) มากเป็นอันดับสาม เราว่าจริง ๆ แล้วภาคนี้อาจจะไม่ค่อยดี แต่พอเราได้ดูมันตอนที่เรายังเป็นเด็ก เราก็เลยสนุกกับมันมาก ๆ น่ะ และเราฝังใจกับ 3 จุดนี้ใน SCREAM 2 มาก ๆ ซึ่งได้แก่

 

9.3.1 ฉากเปิดของ Jada Pinkett Smith ที่คาดไม่ถึงมาก ๆ ว่าจะเกิดฆาตกรรมแบบนี้ได้

 

9.3.2 ฉากฆาตกรรมคนกลางวันแสก ๆ ในที่ชุมนุมชนด้วยรถตู้ที่ตั้งอยู่กลางมหาลัย คือมันคาดไม่ถึงอย่างสุด ๆ สำหรับเรา น่ากลัวมาก ๆ

 

9.3.3 การเปิดตัวฆาตกรที่เป็นผู้หญิง ที่ทำให้เรากับเพื่อน ๆ ร้องวี้ดมาก ๆ 55555

 

9.4 ภาค 5 มากเป็นอันดับ 4

 

9.5 SCREAM 4 (2011, Wes Craven) มากเป็นอันดับ 5

 

คือเราว่าภาค 5 กับภาค 4 ก็ดีมาก ๆ แหละ แต่คงเป็นเพราะเราได้ดูสองภาคนี้ตอนที่เราแก่ตัวลงแล้ว เราก็เลยไม่ลุ้นกับมันมากเท่าตอนที่เรายังเป็นเด็ก

 

 

RICH HILL (2014, Andrew Droz Palermo, Tracy Droz Tragos, documentary, A+30)

 

RICH HILL (2014, Andrew Droz Palermo, Tracy Droz Tragos, documentary, A+30)

 

1.หนักมาก ๆ หนังสารคดีที่ติดตามชีวิตเด็กวัยรุ่นชายมีปัญหา 3 คนในสหรัฐ นึกว่าต้องฉายควบกับ SCHOOL TOWN KING

 

2. เด็กคนนึงในหนังเป็นเด็กเล่นสเก็ต ที่มีปัญหาเรื่องการใช้ความรุนแรงกับเพื่อน จนในที่สุดเขาก็ถูกส่งเข้าสถานดัดสันดาน

 

3.เด็กคนที่สองเป็นเด็กหนุ่มหล่อน่ารักหน่วยก้านดีที่ดิฉันหลงรัก แต่ครอบครัวของเขายากจนสุด ๆ แม่ของเขาป่วยจนทำงานไม่ได้ ส่วนพ่อของเขาก็ประหลาด คือเหมือนทนทำงานไหนไม่ได้นาน ๆ และชอบย้ายเมืองไปหางานใหม่ไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นเขาก็เลยเหมือนมีปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรงสุด ๆ ต้องรับจ้างทำงานต่าง ๆ เท่าที่จะพอหาได้ แล้วเขาก็ขาดกลุ่มเพื่อนสนิทด้วย เพราะเขาต้องย้ายโรงเรียนไป ๆ มา ๆ เป็นประจำ ดูแล้วก็รู้สึกสงสารเขามาก ๆ

 

4. แต่เด็กหนุ่มคนที่ 3 นี่หนักที่สุดในชีวิตการแสดง น่ากลัวขนหัวลุกมาก ๆ เพราะเป็นเด็กหนุ่มที่มีความรุนแรงอัดแน่นอยู่ในตัวมาก ๆ เขาอาศัยอยู่กับย่า และเขาหลงใหลในมีดด้ามโต ๆ มีครั้งนึงที่ย่าพูดอะไรนิดนึงกับเขาที่ระเบียงแล้วทำให้เขาไม่พอใจ เขาก็เลยชักมีดเล่มโตขึ้นมา แล้วเสียบเข้าที่ราวระเบียงต่อหน้าย่า คือเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นต่อหน้าทีมงานถ่าย doc ด้วย คือดูแล้วก็ไม่รู้ว่า ถ้าไม่มีทีมงานถ่ายหนังอยู่ด้วย เด็กคนนี้จะน่ากลัวขนาดไหน

 

ฉากที่เด็กหนุ่มคนนี้ถูกเด็กสาวผิวดำตบหน้าอย่างรุนแรงกลางโรงเรียนก็ดีมาก ๆ

 

แต่หนังก็ทำให้เราเปลี่ยนความเห็นที่มีต่อเด็กคนนี้ด้วยเหมือนกัน เพราะตอนแรกเรากลัวเด็กหนุ่มคนนี้อย่างมาก ๆ แต่หลังจากนั้นเราก็เข้าใจเขามากขึ้น เพราะเขาเล่าในวัน Halloween ว่าพ่อกับแม่ของเขาหย่ากัน เขาอาศัยอยู่กับแม่และพ่อเลี้ยง และเขาถูกพ่อเลี้ยงข่มขืน แม่ของเขาก็เลยฆ่าพ่อเลี้ยงตาย (ถ้าเราจำไม่ผิด) และแม่ของเขาก็เลยติดคุกนานหลายปีทั้ง ๆ ที่เธอทำเพื่อช่วยเหลือเขาที่ถูกข่มขืน หลังจากนั้นเขาก็เลยมาอาศัยอยู่กับย่า โดยหนังเรื่องนี้ได้ตามไปสัมภาษณ์แม่ของเขาที่อยู่ในคุกด้วย

 

คือพอรู้อย่างนี้แล้วเราก็เลยเข้าใจว่าทำไมเขาถึงเป็นชายหนุ่มที่อัดแน่นด้วยความรุนแรงอยู่ในตัวน่ะ เพราะเขาผ่านอะไรที่หนักหนาสาหัสมาเยอะมากจริง ๆ เขาคงอยากอยู่กับแม่ด้วยแหละ แต่แม่ติดคุกเพราะช่วยเหลือเขา และสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาคงทำให้เขาไม่สามารถมองโลกอย่างสดใสได้แบบเด็กคนอื่น ๆ

 

กราบทีมงานสร้างหนังเรื่องนี้มาก ๆ ที่ถ่ายทอดชีวิตเด็กหนุ่มเหล่านี้ให้พวกเราได้ชมกัน มันหนักหนาสาหัสมากจริง ๆ

 

 

PLOY (2020, Prapat Jiwarangsan, documentary, 51min, A+30)

 

1.รู้สึกว่าทั้งเนื้อหาและวิธีการของหนังน่าสนใจดี โดยเนื้อหาหลัก ๆ ของหนังเล่าถึงหญิงสาวชาวไทยที่ไปทำงานเป็นโสเภณีในป่าที่สิงคโปร์ และถูกทหารกูรข่าจากเนปาลคนหนึ่งล่วงละเมิดทางเพศ

 

ส่วนวิธีการของหนังนั้นเหมือนเน้นถ่าย location ต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้นึกถึงหนังอย่าง A.K.A. SERIAL KILLER (1969, Masao Adachi) ที่เน้นถ่ายสถานที่ที่ subject เคยใช้ชีวิตอยู่เหมือนกัน

 

เราว่าตัวเนื้อหาของหนังนั้นน่าสนใจอยู่แล้ว และวิธีการที่หนังใช้ก็มีข้อน่าสนใจบางอย่าง เพราะเราคิดว่า ถ้าหนังเรื่องนี้เลือกนำเสนอเรื่องราวด้วยการ reenactment เหตุการณ์ โดยให้นักแสดงมาเล่นเป็นโสเภณี เราจะรู้สึกว่าเรากำลังดูเรื่องราวของคนคนเดียว และมันจะง่ายต่อการเป็นหนังเร้าอารมณ์ melodrama แต่พอหนังเลือกถ่ายแต่ locations ต่าง ๆ เป็นหลักแบบนี้ หนังเลยเหมือนสะท้อน “ภาพรวม” ของปัญหาได้มากยิ่งขึ้น และลดทอนอารมณ์ melodrama ต่างๆ ลงไป

 

2.การขีดเขียนลงบนภาพถ่ายของหญิงสาวต่าง ๆ ก็น่าสนใจดี คือเราไม่รู้หรอกว่ามันสื่อถึงอะไร แต่มันติดตามาก ๆ

 

3.เหมาะฉายควบกับ REMOTE SENSING (2001, Ursula Biemann, Switzerland, documentary, 56min, A+30) มาก ๆ เพราะ REMOTE SENSING ก็นำเสนอเรื่องโสเภณีข้ามชาติเหมือนกัน โดยหนังเรื่องนี้เน้นถ่ายแผนที่การเดินทางของโสเภณีข้ามชาติทั่วโลก

 

4.เหมือนก่อนหน้านี้เราเคยดูหนังเกี่ยวกับ “โสเภณีในป่าที่สิงคโปร์” แค่เรื่องเดียวเองมั้ง ซึ่งก็คือเรื่อง A YELLOW BIRD (2016, K. Rajagopal) โดยในหนังเรื่องนั้นเล่าเรื่องของโสเภณีชาวจีน ถ้าจำไม่ผิด

 

5.ดูแล้วก็นึกขึ้นได้ว่า นอกจากที่สิงคโปร์แล้ว ก็มีที่ฝรั่งเศสที่มีโสเภณีเลือกใช้ป่าในสวนสาธารณะเป็นสถานที่ทำงาน เพราะในปีที่แล้วเราได้ดูหนังสารคดีสองเรื่องที่นำเสนอเรื่องนี้ ซึ่งได้แก่ THE WOODS DREAMS ARE MADE OF (2015, Claire Simon) และ LOCKED OUT (2020, Julien Goudichaud, France) แต่ดูเหมือนว่าตำรวจฝรั่งเศสไม่ได้ตามจับโสเภณีเหล่านี้นะ เหมือนตำรวจปล่อยให้โสเภณีเหล่านี้ทำงานในสวนสาธารณะ/ป่าได้ตามสบาย แต่ต้องไม่เกินเวลาเคอร์ฟิวในช่วง lockdown ซึ่งเราคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีงามสุด ๆ ที่ตำรวจฝรั่งเศสปล่อยให้โสเภณีเหล่านี้ทำงานได้ตามสบาย (อย่างน้อยก็เท่าที่เห็นในหนังสารคดีสองเรื่องนี้)

Saturday, January 29, 2022

ANATOMY OF TIME (2021, Jakrawal Nilthamrong, A+30)

 

ANATOMY OF TIME (2021, Jakrawal Nilthamrong, A+30)

เวลา

 

ดูหนังเรื่องนี้ไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ม.ค. แต่เพิ่งมีเวลาเขียน ถ้าหากเราจำอะไรผิดไปก็บอกมาได้นะ

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

1.รู้สึกว่าเป็นหนังที่ดูง่ายที่สุดของคุณ Jakrawal เท่าที่เคยดูมา 55555 แต่ก็ดูด้วยความงุนงง ไม่เข้าใจอยู่บ้างนะ แต่คิดว่ามันเป็นหนังที่มีเรื่องเล่าให้จับต้องได้มากที่สุดเรื่องนึงของคุณจักรวาลแล้วล่ะ และถึงแม้ว่าเราจะไม่แน่ใจว่าฉากไหนในเรื่องเป็นความจริงหรือความฝันหรือจินตนาการกันแน่ เราก็สามารถแต่งเรื่องต่อเติมหรือเอาฉากต่าง ๆ ในหนังมาจินตนาการให้สนุกสนานในหัวของตัวเองต่อได้โดยง่าย คือเหมือนแต่ละฉากในหนังนำเสนอเหตุการณ์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนน่ะ เหมือนแต่ละฉากในหนังเป็น “ของแข็ง” หรือเป็นก้อนอะไรสักอย่าง และเราสามารถเอาก้อนเหล่านี้มาประกอบกันเป็นสิ่งต่าง ๆ ตามใจเราได้โดยง่าย (เหมือนที่เราเขียนถึงหนังแบบตัวต่อ LEGO ตอนที่เราเขียนถึง THE EDGE OF DAYBREAK)  ในขณะที่หนังเรื่องอื่น ๆ ของคุณจักรวาล เรารู้สึกว่ามันมี “ความฟุ้ง” กว่านี้ คือเหมือนหนังเรื่องอื่น ๆ ของคุณจักรวาลสำหรับเราให้ความรู้สึกคล้ายกับมันมีความเป็น “ก๊าซ” มากกว่าจะเป็น “ของแข็ง” น่ะ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราดูหนังเรื่องอื่น ๆ ของคุณจักรวาล เราจะรู้สึกว่าเรากำลัง deal กับก๊าซ และเราจะใช้ระบบประสาทอีกแบบนึงในการ enjoy หนังเรื่องอื่น ๆ ของคุณจักรวาล แต่กับหนังเรื่องนี้เราเหมือนใช้ระบบประสาทในการ deal กับของแข็งในการดื่มด่ำกับหนังเรื่องนี้ 55555

 

2.ไม่รู้ว่าทางผู้สร้างหนังตั้งใจหรือเปล่า แต่จุดนึงที่หนังเรื่องนี้กับ THE EDGE OF DAYBREAK ทำให้เรามีความสุข ก็คือเหมือนหนังทั้งสองเรื่องมันเป็น wish fulfillment ในการทำให้เราได้เห็นเผด็จการมีความทุกข์ แต่หนังทั้งสองก็รู้ตัวดีว่ามันเป็นแค่ wish เท่านั้น มันไม่ใช่ความจริง

 

คือใน THE EDGE OF DAYBREAK นั้น ฉากที่หญิงสาวฆ่าชายแก่ตายในโรงพยาบาล มันให้ความรู้สึกคล้าย ๆ กับการตอบโต้กับเผด็จการน่ะ ถึงแม้เราจะไม่แน่ใจ 100% เต็มว่า หญิงสาวคนนั้นคือใคร, ชายแก่คนนั้นคือใคร และการฆาตกรรมนี้มีจุดประสงค์เพื่ออะไร อย่างไรก็ดี การที่ THE EDGE OF DAYBREAK ทำให้เราไม่แน่ใจว่าเหตุการณ์ไหนจริงหรือไม่จริง เกิดขึ้นก่อนหรือหลังเหตุการณ์ไหน ใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไหร่กันแน่ หนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนไม่ได้บอกอย่างชัดเจนแต่อย่างใดว่า เผด็จการจะต้องถูกลงโทษ คือเหมือนเราดูฉากนี้แล้วเราจินตนาการไปเองว่า มันคือเผด็จการที่ถูกลงโทษ 55555

 

ส่วนใน ANATOMY OF TIME นั้น ตัวละครเสธฯเป็นเหมือนตัวแทนหนึ่งของเผด็จการในหนังเรื่องนี้ และเราก็เหมือนได้เห็นเขาถูกลงโทษในยามแก่ชรา ทั้งการกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง, ฉี่ราด, ถูกเจ้าของร้านขับไล่ในข้อหาเป็นขี้ข้าเผด็จการ (ถ้าจำไม่ผิด) , ถูกตำรวจดุ, etc. ซึ่งการได้เห็นตัวละครคนเลวเจออะไรแบบนี้ มันก็สะใจดีในแง่นึง

 

อย่างไรก็ดี ถ้าหากหนังเรื่องนี้บอกเพียงแค่ว่า “โอ๊ย คนเลว ๆ เผด็จการเลว ๆ สักวันมันก็ต้องถูกกฎแห่งกรรมลงโทษแบบในหนังเรื่องนี้เองน่ะแหละ” เราก็คงไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้มากนัก 55555 เพราะในความเป็นจริงนั้น เราก็มองเห็นอยู่แล้วว่า มีคนเลว  ๆ หลายคนเสวยสุขอยู่เป็นเวลานานในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก (อย่างเช่นในพม่า) ไม่เห็นกฎแห่งกรรมจะเล่นงานพวกมันสักที

 

เราก็เลยชอบตอนจบของหนังเรื่องนี้อย่างมาก ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วเราไม่รู้หรอกว่าตอนจบของหนังเรื่องนี้หมายความว่าอะไร แต่ในเมื่อผู้สร้างหนังไม่ได้บอกความหมายของมันอย่างตรง ๆ เราก็เลยถือวิสาสะทำในสิ่งที่เราชอบทำอย่างสุดๆ นั่นก็คือเอาตอนจบของหนังและฉากอื่น ๆ ในหนัง มาจินตนาการต่อเอาเองตามใจชอบ

 

คือในจินตนาการของเรานั้น ตอนจบของหนังเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกว่า ฉากส่วนใหญ่ในหนังอาจจะเป็นความฝันของเสธฯในวัยชราขณะนอนป่วยอยู่บนเตียงก็ได้น่ะ และในความเป็นจริงนั้น ภรรยาของเขาอาจจะกลายเป็นฝ่ายที่ตายก่อนเขาก็ได้ ส่วนเขาอยู่ดี ๆ ก็หายดี และลุกขึ้นมาใช้ชีวิตเลว ๆ ของตัวเองต่อไปก็ได้

 

เพราะฉะนั้นการที่เราได้เห็นเสธฯในวัยชรา เผชิญความเหี้ยห่าต่าง ๆ นานามาก่อนหน้านี้นั้น (ซึ่งรวมถึงฉากที่อาจจะเป็นงานศพของเขา) มันอาจจะเป็นได้ทั้งเรื่องจริง หรืออาจจะเป็นความฝันของเขาที่ก่อตัวมาจากความรู้สึกผิดและความหวาดกลัวในใจเขาก็ได้

 

และในแง่ความรู้สึกของคนดูอย่างเรานั้น เนื้อหาในส่วนที่เป็น “เผด็จการถูกลงโทษในวัยชรา”  มันก็เลยเหมือนกับเป็นการขอจินตนาการอะไรสะใจ ๆ สักหน่อย เพื่อหลบลี้จากความเป็นจริงอันโหดร้ายที่เผด็จการยังคงลอยนวลอยู่ แต่หลังจากเราได้ดูอะไรสะใจ ๆ ในหนังไประยะหนึ่งแล้ว หนังก็จบด้วยการบอกเราว่า มันเป็นแค่จินตนาการสะใจ ๆ นะ มันไม่ใช่ความจริงนะ เพราะในความเป็นจริงนั้น เผด็จการอาจจะยังคงลุกขึ้นเดินปร๋อกันต่อไป

 

เพราะฉะนั้นในจินตนาการของเรา เนื้อหาส่วนใหญ่ในหนังเรื่องนี้ อาจจะเป็น “an old man’s dream” เหมือนที่เสื้อยืดของนางพยาบาลบอกไว้ และมันก็ทำหน้าที่เป็น “a movie viewer’s wish fulfillment” ไปด้วยในขณะเดียวกัน

 

นอกจากนี้ ฉากจบของหนังเรื่องนี้ยังทำให้เรานึกถึง BELLE DE JOUR (1967, Luis Bunuel) โดยไม่ได้ตั้งใจด้วย เพราะในฉากจบของ BELLE DE JOUR ผัวของนางเอกที่เป็นอัมพาต อยู่ดี ๆ ก็ลุกขึ้นเดินได้อย่างปาฏิหาริย์โดยไม่มีคำอธิบายใด ๆ อีกต่อไป มันเป็นฉากที่บอกไม่ได้ว่าฝันหรือจริง เหมือนกับฉากอีกหลาย ๆ ฉากใน BELLE DE JOUR ซึ่งก็คล้ายกับฉากจบของ ANATOMY OF TIME และอีกหลาย ๆ ฉากในหนังเรื่องนี้ที่บอกไม่ได้ว่าฝันหรือจริงเช่นกัน

 

3.ส่วนฉากก่อนจบที่เป็น sex on the beach ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก PERSONA (1966, Ingmar Bergman) นั้น มันก็เป็นตัวอย่างนึงของความพิศวงของหนังเรื่องนี้ในแบบที่เราชอบมาก เพราะเราไม่รู้ว่า

 

3.1 มันเกิดขึ้นจริง หรือเป็นจินตนาการ หรือเป็นความฝัน

 

3.2 ถ้าหากมันเกิดขึ้นจริง มันคือครั้งแรกที่นางเอกได้เจอกับตัวละครที่แสดงโดยเผ่าภูมิหรือเปล่า

 

3.3 ถ้าหากมันเป็นจินตนาการหรือความฝัน มันเป็นความฝันของใคร ของนางเอกหรือของเสธฯ

 

ส่วนในจินตนาการของเรานั้น เราจินตนาการว่ามันอาจจะเป็นฝันร้ายอันนึงของเสธฯในวัยชราก็ได้ 5555 คือที่เสธฯฝันร้ายแบบนี้ เพราะเขานอนป่วยเป็นผัก, มี sex ไม่ได้แล้ว และเขามีปมที่นางเอกเคยชอบเผ่าภูมิ และมีปมที่นางเอกเหมือนจะเคยบอกว่าอยากไปเที่ยวทะเลมากกว่าภูเขา ปมในใจเขาก็เลยแสดงตัวออกมาเป็นฉาก sex on the beach ของนางเอกในวัยสาวกับคนรักเก่าแบบนี้ ซึ่งถือเป็นฝันร้ายสำหรับเขา 55555

 

4.แน่นอนว่าคนดูคนอื่น ๆ คงตีความหรือมีความเห็นต่อฉาก sex on the beach ในแบบที่แตกต่างจากเราอย่างแน่นอน ซึ่งเรามองว่านั่นคือสิ่งที่เราชอบมาก ๆ ในหนังเรื่องนี้ ที่มันเปิดโอกาสให้ผู้ชมมองแต่ละฉากในแบบที่แตกต่างกันไปได้

 

ในส่วนของเรานั้น เรามองว่าหลาย ๆ ฉากในหนังมันอาจจะเป็นได้ทั้งความจริงและความฝันนะ และบางฉากอาจจะเป็นความฝันของแหม่มหรืออาจจะเป็นความฝันของเสธฯก็ได้ เพราะหนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยฉากที่ “แหม่มหลับอยู่” (เพื่อนของเราตั้งข้อสังเกตไว้)  ส่วนเสธฯ ในวัยชรานั้นนอนเกือบตลอดเวลาอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหนังก็เลยเหมือนบอกกลาย ๆ อยู่แล้วว่า หลาย ๆ ฉากมันอาจจะเป็นได้ทั้งความจริงและความฝัน

 

5.ในแง่นึง หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึง ASHES OF TIME (1994, Wong Kar-wai) โดยไม่ได้ตั้งใจ ในแง่ที่ว่า ASHES OF TIME มันได้รับแรงบันดาลใจมาจากนิยายเรื่อง “มังกรหยก” ของกิมย้ง ที่เนื้อหาทั้งหมดของมันเหมาะจะนำมาสร้างเป็นละครทีวี 60 ชั่วโมงจบ แต่ Wong Kar-wai เหมือนเลือกหยิบจับเฉพาะอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างของตัวละครในมังกรหยก และนำมันมาสร้างเป็นหนังที่มีความยาวแค่ 100 นาที

 

คือเรารู้สึกว่า ชีวิตของตัวละครใน ANATOMY OF TIME มันขยายไปเป็นละครทีวี 15 ตอนจบได้สบาย ๆ มากเลยน่ะ แต่เหมือนหนังเรื่องนี้เอาชีวิตของตัวละครในละครทีวี 15 ตอนจบ หรือชีวิตของตัวละครในนิยายขนาดยาว มากลั่นกรองให้เหลือเพียงแค่หนัง 2 ชั่วโมงจบเท่านั้น เพื่อขับเน้นเฉพาะประเด็นหรือสัมผัสทางอารมณ์บางอย่างที่ผู้กำกับต้องการ

 

คือถ้าหากหนังเรื่องนี้จะขยายเป็นละครทีวี มันขยายได้สบายมาก โดยทำเพียงแค่เล่าเรื่องของตัวละครต่าง ๆ เหล่านี้เพิ่ม

 

5.1 เด็กทารกที่เสธฯตั้งใจจะฆ่าตาย แต่เพื่อนเสธฯช่วยชีวิตเด็กคนนั้นไว้ เด็กทารกคนนั้นเติบโตขึ้นมา และกลายเป็นตัวละครสำคัญอีกตัวในเรื่อง

 

5.2 หญิงสาวชาวเขาที่เป็นคนรักของเสธฯ

 

5.3 ลูกชายของเสธฯที่เกิดกับหญิงชาวเขา ที่ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด เขาโตขึ้นมาแล้วทำงานเป็นยาม (เหมือนเราเห็นคำว่า security guard อยู่บนเสื้อของเขาตอนที่เขาบุกเข้ามาเอากล่องในบ้าน แต่เราไม่แน่ใจ)

 

5.4 ลูกน้องคนสนิทของเสธฯ

 

5.5 นางพยาบาล ที่เราชอบสุด ๆ คือเราจินตนาการต่อเอาเองว่า จริง ๆ แล้วนางพยาบาลคนนี้เป็นกะหรี่ในบาร์ของเผ่าภูมิ (ตอนโต) แล้วเผ่าภูมิเลยส่งกะหรี่คนนี้มาทำงานเป็นสายลับในฐานะพยาบาลในบ้านของเสธฯ 555555

 

5.6 พี่สาวของเสธฯ คือเธอดูเป็นตัวละครที่มีออร่าบางอย่างที่น่าสนใจอย่างสุด ๆ ทั้ง ๆ ที่เธอเหมือนไม่ได้ทำอะไรมากมาย

 

6. นอกจากหนังเรื่องนี้จะเต็มไปด้วยตัวละครประกอบที่กระตุ้นให้เราจินตนาการชีวิตต่อเอาเองแล้ว หนังเรื่องนี้ยังเต็มไปด้วยความพิศวงอันอื่น ๆ ที่เราชอบมาก อย่างเช่น

 

6.1 ฉากนางเอกร้องเพลง เราสงสัยว่ามันคือฉากแรกที่นางเอกได้เจอกับเสธฯ หรือเปล่า

 

6.2 เราอยากรู้มากว่ากล่องที่เสธฯเอาไปจากหญิงชาวเขาบรรจุอะไรไว้ข้างใน ทำไมลูกชายต้องตามมาทวงคืนหลังจากเวลาผ่านไปหลายสิบปี แต่ถึงหนังไม่บอกว่าข้างในกล่องมีอะไร เราก็ไม่มีปัญหาอะไรกับจุดนี้ คือถ้าหนังบอกตามตรงว่าข้างในกล่องมีอะไร เราก็อาจจะรู้สึกเฉย ๆ ก็ได้ แต่พอหนังมันไม่บอก มันก็เลยกลายเป็นสิ่งที่น่าจดจำสำหรับเรา 55555

 

จริง ๆ แล้วประเด็นเรื่อง “ข้างในกล่องมีอะไร” ทำให้เรานึกถึงบทความของ Jean-Claude Carriere ในหนังสือ “ฟิล์มไวรัส 2” ด้วยนะ เพราะ Carriere บอกว่า ในหนังเรื่อง BELLE DE JOUR (1967, Luis Bunuel) ที่เขาเขียนบทนั้น มันมีกล่องอยู่อันนึงในหนัง ที่ลูกค้าชาวเกาหลีเอาเข้ามาในซ่องของนางเอก แล้วคนดูก็ไม่รู้เลยว่าข้างในกล่องมีอะไร ซึ่งแม้แต่ตัว Carriere ซึ่งเป็นคนเขียนบทหนังเรื่องนี้เองก็ไม่รู้ แล้วเขาก็บอกว่าหลังจากหนังเรื่องนี้ออกฉาย เขาก็ถูกคนดูถามไม่ต่ำกว่า 1 พันครั้งว่าอะไรอยู่ในกล่องนั้น ซึ่งเขาก็ไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไร 55555 และเราก็ชอบอะไรแบบนี้มาก ๆ

 

ในบทความนั้นในหนังสือ “ฟิล์มไวรัส 2” Carriere เขียนไว้อีกด้วยว่า “สิ่งที่คลุมเครือดีกว่าสิ่งที่แจ้งชัด ถึงแม้สิ่งที่แจ้งชัดจะพิสดารขนาดไหนก็ตาม บุนเยลฝันที่จะใส่ข้อมูลผิด ๆ บางอย่างเข้าไปในภาพยนตร์ทุกเรื่องของเขา ราวกับว่าเขาจงใจจะหักล้างหรือบิดเบือนภูมิศาสตร์หรือประวัติศาสตร์สักชั่วระยะหนึ่ง “true reality” สร้างความอึดอัดให้กับเขาเหมือนเสื้อรัดรูปสตรีที่แน่นเกินไป”

 

และเราก็เห็นด้วยกับ Carriere และบุนเยลมาก ๆ ในจุดนี้ แต่เราไม่ได้เห็นด้วยในแง่ที่ว่า ความคลุมเครือดีกว่าความแจ้งชัดนะ แต่เราเห็นด้วยในแง่ที่ว่า true reality มันไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับหนังทุกเรื่อง และเราก็ชอบสุด ๆ ทั้งหนังที่ไม่แคร์ความสมจริง/หนังที่ไร้ขอบเขตทางจินตนาการ และหนังที่พยายามจะสมจริง คือไม่ว่าจะเป็นความคลุมเครือหรือความแจ้งชัด เราก็ enjoy กับมันได้อย่างสุด ๆ ทั้งสองอย่าง เพราะฉะนั้นสำหรับผู้กำกับบางคน อย่างเช่น Bunuel, David Lynch, Andrei Tarkovsky,Taiki Sakpisit และ Jakrawal Nilthamrong ถ้าหากเขามีความสุขและความถนัดในการสร้างความคลุมเครือ เราก็สามารถ enjoy กับหนังของเขาได้อย่างสุด ๆ เช่นกัน เหมือนความคลุมเครือในหนังของผู้กำกับบางคนมันมีมนตร์เสน่ห์, มันฝังใจ, มันอาจจะกระตุ้นความคิดของเราได้อย่างมาก ๆ หรือเป็นเวลานาน หรือมันอาจจะกระตุ้นจินตนาการบางอย่างของเรา และทำให้เรามีความสุขสุด ๆ กับจินตนาการนั้น ๆ น่ะ แต่ถ้าหากเป็น “หนังสารคดีวิทยาศาสตร์” อะไรแบบนี้ เราก็ enjoy ความแจ้งชัดหรือการอธิบายทุกอย่างให้เข้าใจได้โดยง่ายในหนังกลุ่มนี้ได้เหมือนกัน 55555

 

7.ชอบการถ่าย “ตลาด” ในหนังเรื่องนี้มาก ๆ เราว่ามันถ่ายตลาดแล้วได้บรรยากาศอะไรบางอย่างที่เราชอบมาก ๆ

 

8.ชอบการ “ข้ามเวลา” ผ่านการเติบโตของลูกหมามาก ๆ ซึ่งไม่รู้ว่าเราเข้าใจผิดหรือเปล่านะ คือเหมือนตอนกลางเรื่อง มันมีฉากหมาคลอดลูก แต่อีกแป๊บนึง เราก็เห็นหมาโต ๆ ฝูงนึงในบ้านนางเอก เราก็เลยเข้าใจว่า หมาโต ๆ ฝูงนั้นคือลูกหมาที่โตขึ้นมาแล้ว เพราะฉะนั้นเนื้อหาของหนังในสองช่วงนี้อาจจะห่างกันอยู่หลายปีหรือเปล่า หรือเราเข้าใจผิดไปเอง 55555

 

9.เราว่าชีวิตของตัวเสธฯ น่าสนใจมาก ๆ ด้วย เพราะมันสามารถสะท้อนประวัติการเมืองไทยในบางส่วนได้ดี เพราะถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด

 

9.1 เขาน่าจะเป็นพรรคพวกของสฤษดิ์ ที่ไม่ถูกกับถนอม เพราะในหนังมีฉากเขื่อนภูมิพล เพราะฉะนั้นช่วงเวลาในหนังช่วงนั้นน่าจะเป็นยุคปี 2506 ซึ่งเป็นยุคที่มีการสร้างเขื่อนดังกล่าว และพอสฤษดิ์ตาย ก็เลยเกิดการแย่งชิงอำนาจกันขึ้น

 

คือเราก็ไม่รู้เรื่องความขัดแย้งระหว่างสฤษดิ์กับถนอมมากนักนะ แต่เราเคยอ่านนิยายเรื่อง “เมียน้อย” ของทมยันตี ที่เล่าเรื่องเมียน้อยของสฤษดิ์ที่ตอนหลังเจอกับการคุกคามอย่างรุนแรงจากลูกน้องของถนอม (ถ้าหากเราจำไม่ผิด) เพราะฉะนั้นเราก็เลยคิดว่าเนื้อหาใน ANATOMY OF TIME กับเนื้อหาในนิยายเรื่อง “เมียน้อย” ของทมยันตี น่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน

 

9.2 ต่อมาเสธฯน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มกบฏยังเติร์กในปี 2524 เพราะเราเดาว่าพยาบาลคงเอาชื่อของเสธฯ ไปกูเกิล แล้วก็เลยได้ดูคลิปกบฏยังเติร์ก

 

ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด หลาย ๆ คนในกบฏยังเติร์ก ก็เคยมีประวัติปราบคอมมิวนิสต์มาก่อนเหมือนกับตัวเสธฯ เหมือนกัน

 

เราชอบสุด ๆ ที่มีการพูดถึงกบฏยังเติร์กในภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะเราก็เกิดทันเหตุการณ์นี้ 55555 แต่เราไม่เคยเห็นเรื่องนี้ถูกพูดถึงในภาพยนตร์มาก่อน เพราะเราเดาว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้มีอิทธิพลที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยแหละ มันก็เลยทำเป็นหนังไม่ได้ เหมือนนอกจากหนังเรื่องนี้แล้ว ก็มีเพียงแค่ละครเวทีเรื่อง FUGITIVES (2014, Ninart Boonpothong) ที่พูดถึงเหตุการณ์นี้ที่เราเคยดูมา

 

9.3 เสธฯ คงทำอะไรบางอย่างโด่งดังมากพอสมควรในยุคหลังด้วยแหละ ไม่งั้นเขาคงไม่โดนชาวบ้านขับไล่ในข้อหาเป็นขี้ข้าเผด็จการ

 

10.ชอบคุณเทวีรัตน์ ลีลานุช ในหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ ชอบมาก ๆ ที่หนังบางเรื่องทำให้นักแสดงหญิงรุ่นเก่าบางคนได้สำแดงฝีมือออกมาอย่างเต็มที่จนเราจดจำได้ คือการได้ดูคุณเทวีรัตน์ในหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงตอนที่ได้เห็นคุณอมรา อัศวนนท์ใน “คน ผี ปีศาจ” (2003, Chookiat Sakveerakul) และตอนที่เราได้เห็นคุณวาสนา ชลากร ใน “แปดวัน แปลกคน” (2008, ฉัตรชัย ยอดเศรณี) คือเหมือนเราอาจจะเคยเห็นนักแสดงเหล่านี้แบบผ่าน ๆ ตามาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่นักแสดงเหล่านี้ไม่เคยสะดุดตาเราอย่างจัง ๆ จนกระทั่งพวกเธอได้รับบทที่ทำให้พวกเธอได้ฉายแสง shine bright like a diamond ออกมาแบบในหนัง 3 เรื่องนี้

 

11.ดูแล้วนึกถึงหนังเก่า ๆ ของคุณจักรวาลด้วยนะ อย่างเช่นฉากที่พ่อนางเอกพูดถึงการเข้าถ้ำและเปรียบเปรยกับการค้นพบสัจธรรมของศาสนาต่าง ๆ เพราะถ้าหากเราจำไม่ผิด หนังของคุณจักรวาลหลายเรื่องก็มักจะมีอะไรเกี่ยวกับศาสนาแบบนี้เหมือนกัน อย่างเช่น PATTERNS OF TRANSCENDENCE (2006, 49min) และ MAN AND GRAVITY (2009)

 

ส่วนฉากนางเอกตอนแก่เปลือยกาย ก็ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่องอื่น ๆ ของคุณจักรวาลที่มีเรือนร่างของหญิงชราเหมือนกัน อย่างเช่น IMMORTAL WOMAN (2010) ซึ่งเรายังไม่ได้ดู และ VANISHING POINT (2015) ที่มีตัวละคร immortal woman ที่คลอดลูกไม่หยุด

 

12.ส่วนฉากที่เราชอบที่สุดใน ANATOMY OF TIME ก็คือฉากที่แหม่มนั่งตรัสรู้ใต้ต้นไม้ริมลำธารนี่แหละ 55555 คือผู้กำกับอาจจะไม่ได้ตั้งใจนะ แต่เราจินตนาการว่าฉากนั้นเหมือนเธอได้ตรัสรู้ถึงความจริงบางอย่างของชีวิต นึกว่าตรัสรู้หลักอิทัปปัจจยตา หรือปฏิจจสมุปบาท อะไรทำนองนี้

 

คือก่อนหน้านั้นเมื่อหลายสิบปีก่อน เธอเคยตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดต้นไม้ต้นนั้นถึงมาขึ้นที่หน้าผาได้น่ะ และพอเวลาผ่านมาหลายสิบปี เธอก็มานั่งริมลำธาร แล้วก็เหมือนตรัสรู้ว่า อ๋อ มันก็เป็นเรื่องธรรมดา ง่าย ๆ นี่เอง ก็แค่นกไปกินผลไม้ แล้วนกก็บินไป แล้วนกก็ขี้เอาเมล็ดหล่นออกมาที่หน้าผา แล้วเมล็ดนั้นก็เติบโตขึ้นมาเป็นต้นไม้ใหญ่ในอีกหลายสิบปีต่อมา มันเป็นความเป็นไปตามธรรมดาธรรมชาติของโลกแบบนี้นี่เอง 55555

 

13.สรุปว่า ชอบ ANATOMY OF TIME อย่างสุดๆ แต่ถ้าหากเปรียบเทียบกับหนังเรื่องอื่น ๆ ของคุณจักรวาลแล้ว เราอาจจะชอบหนังเรื่องนี้น้อยกว่า IN TRANSIT (2013) , PATTERNS OF TRANSCENDENCE และ VANISHING POINT นะ เพราะเราว่า IN TRANSIT มันสวยสุด ๆ มันงดงามสุด ๆ ส่วน PATTERNS OF TRANSCENDENCE มันก็มีมนตร์เสน่ห์ลึกลับน่าหลงใหลอย่างสุด ๆ สำหรับเรา ส่วน VANISHING POINT มันมีความพิศวงที่เราอธิบายไม่ได้ เราก็เลยชอบหนัง 3 เรื่องนี้มากกว่า ANATOMY OF TIME ในตอนนี้

 

แต่ก็ชอบ ANATOMY OF TIME มากกว่าหนังเรื่องอื่น ๆ ของคุณจักรวาลด้วยเช่นกัน อย่างเช่น DRIPPING (2004), A VOYAGE OF FORETELLER (2007),  MAN WITH A MOVIE CAMERA (2007), ORCHESTRA (2008), MAN ON THE MOON (2008), MAN AND GRAVITY, UNREAL FOREST (2010), HANGMAN (2012), OPENING CLIP FOR 21ST THAI SHORT FILM FESTIVAL (2017), INVALID THRONE (2018), KAMJORN SANKWAN (2018),  CODE UNKNOWN (2019)

 

สรุปว่าชอบหนังทุกเรื่องของคุณจักรวาลมาก ๆ น่ะแหละ แต่อันดับหนึ่งในใจเราตอนนี้ยังคงเป็น IN TRANSIT จ้ะ