Saturday, March 18, 2006

CAPOTE (BENNETT MILLER, A++++++++++)

ตอบคุณเจ้าชายน้อย

จริงๆแล้วดิฉันแทบไม่มีความรู้เรื่องการเมืองเลยค่ะ แต่ก็ฟังข่าวเรื่องสถานการณ์การชุมนุมที่ทำเนียบบ้างเหมือนกัน ด้วยเหตุผลส่วนตัวที่ว่า ได้ข่าวมาว่าแม่ดิฉันซึ่งมีอายุประมาณ 70 ปีอาจจะไปร่วมชุมนุมกับเขาด้วย ก็เลยทำให้รู้สึกเป็นห่วงสถานการณ์อยู่บ้าง (แต่ดิฉันจำอายุที่แน่นอนของแม่ตัวเองไม่ได้ค่ะ แต่เดาว่าตอนนี้น่าจะอายุใกล้ๆ 70 ปี จริงๆแล้วดิฉันจำอายุสมาชิกในครอบครัวไม่ได้เลยแม้แต่คนเดียว)


ตอบน้อง merveillesxx

--ชอบเพลงหลายเพลงที่เปิดใน J-POP อาทิตย์ที่แล้วมากค่ะ ซึ่งรวมถึงเพลง KEEP TRYIN ของ UTADA HIKARU


ตอบคุณแฟรงเกนสไตน์

ไม่รู้ว่าหนังเรื่อง GE GE ที่คุณแฟรงเกนสไตน์ได้ดูคือเรื่องอะไร แต่ดิฉันเคยดูหนังจีนเรื่องนึงชื่อ BROTHER (GEGE) (2001, YAN YAN MAK, A+/A) ซึ่งเป็นหนังที่ถ่ายทอดทัศนียภาพอันเวิ้งว่างว่างเปล่าในชนบทของจีนออกมาได้อย่างสวยงามถูกใจมากๆ

YAN YAN MAK ซึ่งเป็นผู้หญิง ต่อมาได้กำกับหนังเลสเบียนเรื่อง BUTTERFLY ซึ่งลงโรงฉายที่ EGV METROPOLIS ในขณะนี้ รู้สึกจะฉายวันละ 1 รอบ ตอน 14.50 น.

นอกจาก BROTHER (GEGE) แล้ว ก็มีหนังที่ถ่ายในจีน/มองโกเลียหลายเรื่องที่ให้ทัศนียภาพที่งดงามไม่แพ้กัน ที่ชอบมากก็มีเรื่อง

1.MONGOLIAN PING PONG (2005, NING HAO, A) ตากล้องของหนังชื่อ JIE DU
http://www.imdb.com/title/tt0461804/fullcredits

ดูภาพจาก MONGOLIAN PING PONG ได้ที่
http://outnow.ch/Media/Img/2005/LuCaoDi/
http://www.filmhai.de/kino/kinoplakat/bilder_0001/mongolian_ping_pong/index.php

ชอบภาพนี้ใน MONGOLIAN PING PONG
http://www.moviereporter.net/fotos/mongolian_ping_pong/mongolian3.jpg


2.THE STORY OF THE WEEPING CAMEL (2003, BYAMBASUREN DAVAA + LUIGI FALORNI, A) ถ่ายภาพโดย LUIGI FALORNI
http://www.imdb.com/title/tt0373861/
http://www.imdb.com/name/nm0266510/

อูฐในเว็บไซท์ของหนังเรื่องนี้น่ารักจังเลย
http://www.weepingcamelmovie.com/index2.html

ตัวอย่างภาพ
http://www.weepingcamelmovie.com/downloads/wc_poster.jpg
http://www.weepingcamelmovie.com/downloads/noble_camel.jpg
http://www.weepingcamelmovie.com/downloads/brothers_camels.jpg

3.JOAN OF ARC OF MONGOLIA (1989, ULRIKE OTTINGER, A+)
ถ่ายภาพโดย ULRIKE OTTINGER


ตอบภรรยา JAKE GYLLENHAAL

--ยังไม่ได้ดู MATCH POINT เลย แต่อ่านบทความเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ใน FILM COMMENT แล้ว เห็นบอกว่า WOODY ALLEN เคยเขียนเรื่องลงนิตยสาร THE NEW YORKER ที่มีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับ A housekeeper who had worked as a horse whisperer “BUT SUFFERED A NERVOUS BREAKDOWN WHEN A HORSE WHISPERED BACK.”

ชอบมุกฮาๆแบบนี้ในหนังของ WOODY ALLEN มาก โดยเฉพาะมุก NEVER TRUST A NAKED BUS DRIVER ใน ANYTHING ELSE (2003, A)
http://www.imdb.com/title/tt0313792/quotes

Jerry Falk: Dobel, you're a madman.

David Dobel: Yeah, that's what they said in Germany. You know there were actually groups in Germany called "Jews for Hitler"? They were deluded, they thought he'd be good for the country. They trusted a naked bus driver, never trust a naked bus driver.


ตอบคุณกาฬวนาลัย

หนังอีกเรื่องนึงที่ขอมอบรางวัล BEST ENSEMBLE HANDSOMENESS ให้ ก็คือเหล่าดาราประกอบใน FIREWALL ค่ะ โฮะๆๆๆ ทำไมไม่มีกลุ่มหนุ่มๆหน้าตาอย่างนี้มาจับดิฉันเป็นตัวประกันบ้างนะ ดิฉันคิดว่าผู้สร้างหนังฮอลลีวู้ดเขาเข้าใจจับจุดขายได้ดีเหมือนกัน เพราะเขารู้ว่าหนุ่มๆหลายคนไม่อยากไปดูหน้า HARRISON FORD ในหนังแน่ๆ ผู้ชมกลุ่มหนุ่มๆอายุ 18-49 ปี จำนวนมาก คงอยากไปดูหน้า PAUL BETTANY, NIKOLAJ COSTER-WALDAU, MATTHEW CURRIE HOLMES (BOBBY) และ KETT TURTON (VEL) มากกว่า
http://firewallmovie.warnerbros.com/img/stills/still_5.jpg
http://firewallmovie.warnerbros.com/img/stills/still_8.jpg

KETT TURTON
http://www.imdb.com/name/nm0878141/



--มีคนที่ดิฉันรู้จักตั้งคำถามว่ามีหนังเรื่องไหนบ้างที่ถ่ายทอด “กรุงเทพ” ได้อย่างดีมากๆ และอย่างสมจริง (ไม่ใช่ในแบบโรแมนติกเกินจริงอย่าง CITIZEN DOG) ซึ่งดิฉันก็คิดไม่ออกเหมือนกัน หนังส่วนใหญ่ของไทยอาจจะใช้ฉากหลังเป็นกรุงเทพ แต่อาจจะไม่ได้ใช้ “กรุงเทพ” เป็นตัวละครสำคัญของเรื่อง

Blog ของคนนั้นอยู่ที่
http://thegreatnamedropper.blogspot.com

อันนี้เป็นสิ่งที่ดิฉันเขียนตอบเขาไปค่ะ

I also can’t think of a film which shows BANGKOK in a realistic way. But my most favorite films about BANGKOK are BIRTH OF THE SEANEMA (2004, SASITHORN ARIYAVICHA, A+++++), which shows very little of the real Bangkok, but seems to reflect urban life in a positive way, not in a negative way like some other young Thai filmmakers.

Another film which shows Bangkok in a very romantic way is FAKE (2003, Thanakorn Pongsuwan, A+)

I also like the reflection of Bangkok in A BITE OF LOVE (2006, Siwaporn Pongsuwan, A-).

I like one short film very much. It’s called ROUGHT NIGHT (2001, Samart Imkum, A+++++). I think this film also shows Bangkok in a very romantic way. It is about a couple who is breaking up in a rough night. It shows the location near Chao Phraya River, and shows a scene of many cars running at night in Bangkok. The scene of the cars moving with their flashlights at night is very very beautiful. I think this film uses the song “Walk On By” as its soundtrack. And I’m not sure if this film also uses some song by TINDERSTICKS. I think this film should be shown together with FRIDAY NIGHT (CLAIRE DENIS, A+).

Another short film which I like very much is called BANGKOK AT 09:45 PM (2001, THANES MANEEJAK, A+++++). It shows a scene in the Skytrain station. The scene is contemporary, but it is shot as if it were done 30 years ago. It gives a very nostalgic feeling, but it is about BANGKOK at the present moment.

A short film called THE WORLD OF GARBAGE (1997, Monchai Noikamsin, A-) might show the downright filth of Bangkok. But I think there are many short films which show only the low-life side in Bangkok, while there are hardly any films which show many sides of Bangkok in the same film.

A short documentary called AMAZING THAILAND (1998, SORAYA NAKHASUWAN + PANATTA YUSUKSAWASDI, A+++++) also shows an interesting side of Bangkok. It shows the joviality of KHAO SARN ROAD at New Year’s time. This might not be interesting in foreigners’ point of view. But for me, this is the film which introduced me to Khao Sarn Road, and made me frequent the road for a while. This amazing film also shows Ayudhaya and Pattaya in a very interesting way.

By the way, I saw a film called LONDON (1994, PATRICK KEILLER, A) a few years ago. I like it a lot, especially its style and concept, but my listening comprehension is very bad. I guess I could catch only 10 % of what the narrator said in the film.

--รู้สึกว่า A HISTORY OF VIOLENCE เป็นหนังที่เหมาะดูควบกับ CAPOTE (2005, BENNETT MILLER, A++++++++++) และ THE MATADOR (2005, RICHARD SHEPARD, A) เพราะว่าถ้าหากผู้ร้ายสองคนนั้นไม่ได้ถูกพระเอกฆ่าตายใน A HISTORY OF VIOLENCE ชีวิตของผู้ร้ายสองคนนั้นอาจดำเนินต่อไปแบบในหนังเรื่อง CAPOTE

ส่วน THE MATADOR นั้นเหมือนกับเป็น THE PRESENT STATE OF VIOLENCE เพราะตัวละครใน THE MATADOR แทบไม่มีปฏิกิริยาในทางลบต่อ “นักฆ่า” หรือ “อาชญากร” อีกต่อไป พวกเขาต้อนรับนักฆ่าให้เข้ามาอยู่ในบ้านราวกับเป็นคนธรรมดา (ดูปฏิกิริยาของ HOPE DAVIS ที่มีต่อ PIERCE BROSNAN สิ) และ “ความรุนแรง” ใน THE MATADOR ก็กลายเป็นเพียง “กิจวัตรอันน่าเบื่อ” และ “สิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อจะได้มีชีวิตอยู่ต่อไป”

ในขณะที่ A HISTORY OF VIOLENCE นำเสนอ “ความรุนแรง” ในแบบที่ทำให้ดิฉันตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ทำไมเราถึงยอมรับ “ความรุนแรง” ในบางกรณี และไม่ยอมรับ “ความรุนแรง” ในบางกรณีกันนะ” THE MATADOR กลับทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่า “คนยุคปัจจุบันนี้เขาไม่แคร์เรื่องนี้กันแล้วล่ะ เพราะพวกเขาคิดกันว่า ถ้าหากเรารู้สึกผิดที่เราใช้ความรุนแรงกับคนอื่นๆ เราก็ควรกำจัด “ความรู้สึกผิด” นั้นไปซะ ไม่ใช่เลิกใช้ความรุนแรงกับคนอื่นๆ” (ดิฉันคิดว่า THE MATADOR ไม่ได้สนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงนะคะ แต่คิดว่าหนังเรื่องนี้ “เสียดสี” คนหลายคนในสังคมยุคปัจจุบันที่ทำร้ายคู่แข่งได้โดยไม่รู้สึกผิด ได้อย่างดีมากๆ)

ชอบฉากจบของ THE MATADOR อย่างสุดๆเหมือนกัน ฉากจบของหนังเรื่องนี้ดูเผินๆนึกว่าเป็นฉากจบหนังประเภท THE FAMILY STONE (2005, THOMAS BEZUCHA, A+) นั่นก็คือเป็นฉากตัวละครรำลึกถึงสมาชิกครอบครัวที่ตายไปแล้ว มันดูเหมือนเป็นฉากครอบครัวถวิลหาถึงกันแบบอบอุ่นเล็กๆ แต่จริงๆแล้วฉากจบของ THE MATADOR ให้ความรู้สึกตรงข้ามกับ THE FAMILY STONE อย่างสิ้นเชิง เพราะตัวละครที่ทำ “อบอุ่นๆกับครอบครัว” ในฉากจบของ THE MATADOR ต่างก็ “มือเปื้อนเลือด” ด้วยกันทั้งนั้น (โดยที่หนังแทบไม่ได้ให้เราเห็นเลือดเลย)

ฉากจบของ THE MATADOR ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับฉากจบของ THE PLAYER (ROBERT ALTMAN, A+) ที่เป็นฉากพระเอก (TIM ROBBINS) ทำอบอุ่นกับครอบครัว แต่พระเอกเพิ่งฆ่าคนตายมา (ถ้าจำไม่ผิด)


--ได้ดูหนังที่สร้างจากการ์ตูนหลายเรื่องในช่วงนี้ และแต่ละเรื่องก็ให้อารมณ์, บรรยากาศ และสไตล์ภาพแตกต่างกันไป ซึ่งรวมถึง

1.A HISTORY OF VIOLENCE ที่สร้างจากการ์ตูนของ JOHN WAGNER (JUDGE DREDD, THE BOGIEMAN) + VINCE LOCKE
http://www.rzero.com/books/HistoryOfViolence.html

2.V FOR VENDETTA (2005, JAMES MCTEIGUE, A+) ที่สร้างจากการ์ตูนของ ALAN MOORE (THE LEAGUE OF EXTRAORDINARY GENTLEMEN, FROM HELL)
http://www.shadowgalaxy.net/Vendetta/images/gallery/cover_8.jpg
http://www.shadowgalaxy.net/Vendetta/images/gallery/collage.jpg

WATCHMEN ของ ALAN MOORE
http://www.amazon.com/gp/product/0930289234/ref=pd_sim_b_2/102-8479655-6664901?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=283155
http://images.amazon.com/images/P/0930289234.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

JUDGMENT DAY ของ ALAN MOORE
http://www.amazon.com/gp/product/0974166456/qid=1142653703/sr=2-3/ref=pd_bbs_b_2_3/102-8479655-6664901?s=books&v=glance&n=283155
http://images.amazon.com/images/P/0974166456.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://images.amazon.com/images/P/0974166456.01.IN03._SCLZZZZZZZ_.jpg

PROMETHEA ของ ALAN MOORE
http://images-eu.amazon.com/images/P/1840237732.02.LZZZZZZZ.jpg

TOM STRONG ของ ALAN MOORE
http://www.amazon.com/gp/product/1401205712/ref=pd_sbs_b_2/102-8479655-6664901?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=283155
http://images.amazon.com/images/P/1401205712.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


3.IMMORTEL (AD VITAM) (2004, ENKI BILAL, A+) ที่สร้างจากการ์ตูนของ ENKI BILAL (TYKHO MOON, BUNKER PALACE HOTEL)
http://images-eu.amazon.com/images/P/2203353279.08.LZZZZZZZ.jpg
http://images-eu.amazon.com/images/P/2731614722.08.LZZZZZZZ.jpg
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0000664MC.08.LZZZZZZZ

อ่านเพิ่มเติมเรื่องของ ENKI BILAL ได้ในหนังสือ “บุ๊คไวรัส 2”


ชอบสไตล์ภาพในหนัง 3 เรื่องนี้ (และอาจจะรวมถึง SIN CITY ของแฟรงค์ มิลเลอร์ด้วย) รู้สึกว่าสไตล์ภาพของ A HISTORY OF VIOLENCE ทำให้นึกถึงสไตล์ภาพของ ODETE (2005, JOAO PEDRO RODRIGUES, A+) บอกไม่ถูกว่ามันเรียกว่าสไตล์อะไร แต่มันให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าเราสามารถสัมผัสความแข็งแกร่งของฝาผนังที่ปรากฏในภาพได้ รู้สึกว่าทุกอย่างในภาพ ทั้งสีสัน,แสงเงา มันออกมาเป๊ะๆๆ ตรงตามจุดที่กำหนดไว้และอยู่ในระดับความเข้มข้น/อ่อนเบาตามที่ผู้กำกับกำหนดไว้

ส่วนสไตล์ภาพโปสเตอร์ของ V FOR VENDETTA ก็ทำให้นึกถึงหนัง GERMAN EXPRESSIONIST ในทศวรรษ 1920-1930 แถมยังมีตัวละครชื่อ DEITRICH อีกต่างหาก

V FOR VENDETTA VS. METROPOLIS (1927, FRTITZ LANG)
http://vforvendetta.warnerbros.com/img/poster_dagger.jpg
http://vforvendetta.warnerbros.com/img/poster_rays_web.jpg
http://www.movieposter.com/posters/archive/main/6/MPW-3136

http://vforvendetta.warnerbros.com/img/poster_0.jpg
http://www.movieposter.com/posters/archive/main/9/b70-4721

http://vforvendetta.warnerbros.com/img/poster_redX_web.jpg
http://images.art.com/images/-/Metropolis-Style-B--C10133054.jpeg

ทางด้านสไตล์ภาพของ IMMORTEL (AD VITAM) ก็ดูสวยงามในแบบล่องลอยหลอกหลอน เป็นสไตล์ภาพที่ให้ความรู้สึกถึงบางสิ่งบางอย่างที่พลิ้วไหว ซึ่งตรงข้ามกับสไตล์ภาพใน A HISTORY OF VIOLENCE + ODETE ที่ให้ความรู้สึกแข็งแกร่ง


สิ่งที่ได้ดูในวันจันทร์-ศุกร์

1.CAPOTE (2005, BENNETT MILLER, A++++++++++)

2.ปลิว (2006, จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ, A+)
http://www.chaliang.com/Board-Detail.asp?ID=08738
http://www.nakedmasks.com/
ผู้กำกับละครเวทีเรื่องนี้หน้าตาดี และรู้สึกว่าจะอายุน้อยมาก

3.V FOR VENDETTA (2006, JAMES MCTEIGUE, A+)

4.IMMORTEL (AD VITAM) (2004, ENKI BILAL, A+)

5.ZATHURA (2005, JON FAVREAU, A-)
JON FAVREAU เคยกำกับหนังเรื่อง ELF (2003, B+/B)
http://www.imdb.com/name/nm0269463/


MOST DESIRABLE ACTOR
THOMAS KRETSCHMANN—IMMORTEL (AD VITAM)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/17/08/18373484.jpg

FAVORITE ACTOR
1.สุริยันต์ พะธะนะ—ปลิว

2.CLIFTON COLLINS JR.—CAPOTE
http://www.imdb.com/name/nm0004286/

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
SINEAD CUSACK—V FOR VENDETTA

FAVORITE ART DIRECTION
IMMORTEL (AD VITAM)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/17/08/18373486.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/17/08/18366684.jpg


ความรู้สึกต่อหนังที่ได้ดูในช่วงนี้

--จำไม่ได้เลยว่าคุณผาเรือง ยั่งยืน จาก QUARTET (2005, มัลลิกา ตั้งสงบ, A+) มาเล่นใน “ไพรรีพินาศ” ด้วย ต้องขอบคุณคุณอ้วนมากๆที่บอกเรื่องนี้มา รู้สึกอิจฉานางนารีผลจริงๆที่ได้ดูดน้ำจากตัวเขามาหล่อเลี้ยงชีวิตของตัวเอง

--ใน V FOR VENDETTA รู้สึกจะมีตัวละครพูดว่า EVERYTHING IS CONNECTED

ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ก็รู้สึกว่าองค์ประกอบอย่างนึงในหนังเรื่องนี้ มีจุดเชื่อมโยงกัน นั่นก็คือดาราชาย 8 คนในหนังเรื่องนี้ ต่างก็เคยเล่นหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเกย์มาแล้วทั้งนั้น ซึ่งได้แก่

1.HUGO WEAVING (V) จาก THE ADVENTURES OF PRISCILLA, QUEEN OF THE DESERT (1994, STEPHAN ELLIOTT, A+)

2.STEPHEN REA (หัวหน้าตำรวจ) จาก THE CRYING GAME (1992, NEIL JORDAN, A+)

3.STEPHEN FRY (DEITRICH) จาก WILDE (1997, BRIAN GILBERT, A) เขาเป็นเกย์ในชีวิตจริง

4.JOHN HURT (ADAM SUTLER) จาก LOVE AND DEATH ON LONG ISLAND (1997, RICHARD KWIETNIOWSKI, A+/A)

5.TIM PIGOTT-SMITH (CREEDY) จาก ALEXANDER (2004, OLIVER STONE, A-)

6.RUPERT GRAVES (ตำรวจหนุ่ม) จาก DIFFERENT FOR GIRLS (1996, RICHARD SPENCE, A/A-)

7.BEN MILES (DASCOMB) จาก IMAGINE ME & YOU (2005, OL PARKER) (หนังเลสเบียน)

8.GUY HENRY (HEYER) จาก ANOTHER COUNTRY (1984, MAREK KANIEVSKA)


--ดู V FOR VENDETTA แล้วรู้สึกว่ามันเป็นหนังที่นำเสนอแนวคิดทางการเมือง/สังคมในระดับคล้ายๆกับ LORD OF WAR (2005, ANDREW NICCOL, A) นั่นก็คือมันนำเสนอ “แนวคิด” เป็นหลัก ในขณะที่ตัวละครและเนื้อหาส่วนอื่นๆในหนังเป็นเพียงเรื่องรองๆเท่านั้น

รู้สึกว่าในบรรดาหนัง FICTION ที่นำเสนอแนวคิดแบบนี้ V FOR VENDETTA และ LORD OF WAR อาจจะอยู่ตรงกลางระหว่างหนังอย่าง THE FEVER (2004, CARLO NERO, A+/A) ที่ให้ตัวละครออกมาพูดแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นหนังที่สุดขั้วในแง่นึง ในขณะที่อีกขั้วนึง ก็เป็นหนังที่นำเสนอแนวคิดทางการเมืองในแบบที่ผสานกลืนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับความบันเทิงในหนังอย่างเช่น LAND OF THE DEAD (B+/B)


--รู้สึกว่าหนังหลายเรื่องที่มีสิทธิเข้าชิงออสการ์ประจำปี 2005 เป็นหนังที่เข้าทางตัวเองมากๆ เพราะทั้ง BROKEBACK MOUNTAIN, A HISTORY OF VIOLENCE และ CAPOTE ต่างก็เป็นหนังที่ตัวเองชอบสุดๆ และชอบมากกว่าหนังหลายเรื่องที่เข้าชิงออสการ์ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา

ถึงแม้จะชอบ MUNICH น้อยกว่าหนัง 3 เรื่องข้างต้น แต่ถ้าหากนำ MUNICH ไปเทียบกับหนังของสปีลเบิร์กด้วยกันเองแล้ว ก็รู้สึกว่า MUNICH จะเป็นหนังที่มีมาตรฐานสูงกว่าหนังเรื่องอื่นๆของเขาอีกหลายเรื่อง

สิ่งที่ดิฉันชอบมากใน MUNICH ก็รวมถึงการดึงดาราสุดโปรดของดิฉันอย่าง DANIEL CRAIG, MATHIEU KASSOVITZ, HANNS ZISCHLER, MICHAEL LONSDALE, MATHIEU AMALRIC, MORITZ BLEIBTREU และ VALERIA BRUNI TEDESCHI เข้ามาไว้ในหนังเรื่องเดียวกันได้ แทบนึกไม่ถึงว่าดาราสุดโปรดเหล่านี้จะได้มาประชันฝีมือกันในหนังของสปีลเบิร์ก นึกว่าเป็นเรื่องโกหก ชอบการแสดงของ MATHIEU AMALRIC ในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ

ชอบคำวิจารณ์ของ NATHAN LEE ใน FILM COMMENT เกี่ยวกับ MUNICH ด้วย โดยเขาตั้งข้อสังเกตในทำนองที่ว่าเป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจมากที่สปีลเบิร์กไม่ได้ทำตอนจบแย่ๆใน MUNICH หลังจากที่สปีลเบิร์กเคยทำตอนจบห่วยแตกมาแล้วใน A.I., MINORITY REPORT และ WAR OF THE WORLDS

(สำหรับความเห็นของดิฉัน ดิฉันไม่ชอบฉากก่อนจบใน MUNICH สักเท่าไหร่ แต่ไม่มีปัญหาอะไรกับฉากจบหนังเรื่องนี้ ส่วนฉากจบใน A.I., MINORITY REPORT และ WAR OF THE WORLDS นั้น ก็มีทั้งจุดที่ดิฉันชอบและไม่ชอบ ส่วน THE TERMINAL นั้นดิฉันไม่ค่อยชอบตั้งแต่ต้นจนจบ)


ตอบภรรยา BRYAN GREENBERG + JUSTIN BARTHA

ดีใจมากๆค่ะที่น้องชอบ CAPOTE

----เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะตัดสินว่าชอบหนังเรื่องไหนมากที่สุดตั้งแต่ต้นปี เพราะว่าแต่ละเรื่องก็ส่งผลกระทบในแบบที่แตกต่างกันไป BROKEBACK MOUNTAIN ให้ความรู้สึกว่าเป็นหนังที่ดีสมบูรณ์แบบ, THE SUN กับ INVISIBLE WAVES ก็อบอวลไปด้วยมนตร์เสน่ห์ทางบรรยากาศในแบบที่ดิฉันหลงใหล, OBABA ก็เป็นหนังที่กระตุ้นจินตนาการดิฉันมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี ส่วน STRONG SHOULDERS กับ CAPOTE ก็นำเสนอ “ตัวละคร” ที่ดิฉันชอบที่สุด

หลังจากได้ดู CAPOTE ดิฉันก็พบว่าถ้าหากดิฉันต้องเลือกระหว่าง BROKEBACK MOUNTAIN กับ CAPOTE ดิฉันก็อาจจะเลือก CAPOTE เพราะว่า CAPOTE “โดน” กว่าค่ะ และดิฉันเสียน้ำตาให้กับ CAPOTE มากกว่าเสียน้ำตาให้กับ BROKEBACK MOUNTAIN

แต่ดิฉันเดาว่าถ้าหากดิฉันได้ดู THE NEW WORLD (TERRENCE MALICK) ดิฉันก็อาจจะเปลี่ยนใจไปเข้าข้าง THE NEW WORLD ก็เป็นได้

THE NEW WORLD
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/37/85/18473109.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/37/85/18386881.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/37/85/18414430.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/37/85/18404098.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/37/85/18474995.jpg

ตอนนี้รู้สึกว่า BROKEBACK MOUNTAIN เป็นหนังที่ลงตัวและสมบูรณ์แบบกว่า CAPOTE แต่ถ้าหากดิฉันเป็นแจ็ค ดิฉันคงลืมเอนนิสไปภายในเวลาอันรวดเร็ว และคงไม่ได้เลือกใช้ชีวิตแบบแจ็ค ตัวละครอย่างแจ็คและเอนนิสเป็นตัวละครที่ห่างไกลจากดิฉันพอสมควร แต่ตัวละครอย่าง CAPOTE เป็นตัวละครที่ใกล้ดิฉันมากกว่าเยอะ ดิฉันพบว่าคาโปทีทำอะไรหลายๆอย่างหรือตัดสินใจอะไรหลายๆอย่างที่อาจจะใกล้เคียงกับดิฉัน เพราะหลายๆครั้งดิฉันรู้สึกสนใจอยากสัมภาษณ์ฆาตกรชาวไทยหลายๆคน แต่ก็ไม่กล้าพอ (และหลังจากดู CAPOTE จบแล้ว ดิฉันก็รู้สึกว่า “ความไม่กล้า” ของตัวเองอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว) และดิฉันคงถูกดึงดูดเข้าหาเพอร์รี สมิธ (CLIFTON COLLINS JR.) อย่างรุนแรงในทันทีที่เห็นเขาในกรง ความผูกพันระหว่างคาโปทีกับเพอร์รี สมิธสร้างความรู้สึกซาบซึ้งกินใจให้ดิฉันอย่างมากๆ ถีงแม้มันจะเต็มไปด้วยการแสวงหาประโยชน์จากกันและกันก็ตาม

ชอบอารมณ์ใน CAPOTE ตลอดทั้งเรื่อง รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้รักษาระดับอารมณ์ความรู้สึกได้ดีสุดๆตั้งแต่ต้นจนจบ และรู้สึกว่าสิ่งที่ดิฉันเพิ่งเขียนบรรยายถึง MONSTER ไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ก็สามารถนำมาใช้อธิบายความรู้สึกชอบของดิฉันที่มีต่อ CAPOTE ได้เช่นกัน

อ่านเนื้อหาตรงส่วนนี้ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=27131

การแสดงของ CATHERINE KEENER ในเรื่องนี้ก็สุดยอดตรงใจดิฉันมากๆ

อย่างไรก็ดี ถ้าหากดิฉันเป็น CAPOTE ดิฉันคงไม่คิดแสวงหาประโยชน์จากฆาตกรเหมือนอย่างเขา แต่อาจจะทำดีกับฆาตกรด้วยความรู้สึกผูกพันอย่างแท้จริง

ถึงแม้ดิฉันจะไม่เห็นด้วยที่ CAPOTE แสวงหาประโยชน์จากฆาตกร แต่ก็ชอบที่หนังเรื่องนี้นำเสนอด้านลบของ CAPOTE อย่างไม่ปิดบัง ประโยคที่บาดใจที่สุดประโยคนึงในหนังเรื่องนี้คือประโยคที่ตำรวจถามคาโปทีในทำนองที่ว่า “ชื่อหนังสือ IN COLD BLOOD มันหมายถึงการกระทำของฆาตกร หรือมันหมายถึงการที่คุณยังคงคุยกับฆาตกรอยู่” หนังเรื่องนี้นำเสนอด้านมืดในตัว CAPOTE ออกมาได้อย่างน่าสนใจมาก ในขณะที่หนังเรื่องอื่นๆ นำเสนอตัวละครสีดำขาว หรือเทา แต่ตัวละครอย่าง CAPOTE และฆาตกรของเขาดูเหมือนจะเต็มไปด้วยสีดำ แต่ก็เป็นความดำในแบบที่แตกต่างกัน มีเฉดของสีดำที่แตกต่างกันในการตัดสินใจกระทำการแต่ละครั้ง มีความรู้สึกผิดบาปและความสุขที่เจือปนกันในสัดส่วนที่แตกต่างกันไปในการที่ตัวละครคิดชั่ว, พูดชั่ว หรือทำชั่วในแต่ละครั้ง ถ้าหาก CAPOTE เปลี่ยนชื่อเรื่องใหม่ ดิฉันคิดว่าหนังเรื่องนี้อาจตั้งชื่อได้ใหม่ว่า 40 SHADES OF BLACK หรือไม่ก็ TOUCH OF EVIL

เป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าคาโปทีทำถูกหรือทำผิดที่ไม่ยอมช่วยเหลือฆาตกร เขาไม่ยอมช่วยเหลือฆาตกรด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ถึงแม้เขามีเจตนาที่ไม่ถูกต้อง การกระทำของเขาก็อาจจะถูกต้องแล้วก็ได้ ถ้าหากเขาช่วยเหลือฆาตกรอย่างเต็มที่ เขาอาจจะต้องสำนึกเสียใจในภายหลังแบบที่พระเอก CRONICAS (2004, SEBASTIEN CORDERO, A+) ต้องประสบก็เป็นได้ คาโปทีเหมือนกับเผชิญกับทางเลือกที่มีแต่เสียกับเสีย ไม่ว่าเขาจะช่วยหรือไม่ช่วยฆาตกร เขาก็ต้องเสียใจในภายหลัง เขาต้องเลือกเพียงแค่ว่าทางเลือกไหนที่จะทำให้เขาเสียใจน้อยกว่ากัน

แต่สิ่งที่บาดใจที่สุดและทำให้ดิฉันร้องห่มร้องไห้ขณะที่ดู CAPOTE ก็คือประโยคที่คาโปทีพูดว่า “It's as if Perry and I grew up in the same house. And one day he went out the back door and I went out the front.”

ดิฉันรู้สึกอินกับประโยคนี้อย่างรุนแรง และมันทำให้นึกถึงสิ่งที่ผู้หญิงคนนึงเพิ่งบอกกับดิฉันเมื่อไม่นานมานี้ว่า “ฉันเข้าใจความรู้สึกของคุณดี ฆาตกรหญิงสองคนใน BAISE-MOI เปรียบเสมือนกับน้องสาวของคุณเอง”

No comments: