หนังที่ได้ดูในวันเสาร์
1.HOME ALONE (2005, นภดล สุเนต์ตา, A)
ดูที่ TK PARK ดูโปรแกรมการฉายของที่นี่ได้ที่
http://www.tkpark.or.th/movie_room.php?grp_id=3
2.FINAL DESTINATION 3 (JAMES WONG, A-)
JAMES WONG เคยกำกับ THE ONE (2001) และ FINAL DESTINATION (2000, A-)
3.ดวงเนตร (2003, ณัฐ ฤทธารมย์, A-)
4.THE PASSENGER (2005, สมพบ แก้วบัณดิษฐ์, A-)
ความรู้สึกต่อหนังที่ได้ดูในช่วงนี้
--FINAL DESTINATION 3 (A-)
รู้สึกสนุกกว่าที่คาด เพราะปกติแล้วจะชอบหนังที่มีการเล่นเกม และหนังเรื่องนี้ก็มีการเล่นเกม “ตีความภาพถ่าย” ด้วย ก็เลยทำให้รู้สึกสนุกกับเกมนี้มาก
รู้สึกชอบภาคสองของ FINAL DESTINATION น้อยที่สุด แต่ชอบ MICHAEL LANDES (born 1972) พระเอกของภาคสองมากที่สุด
http://www.imdb.com/name/nm0484680/
http://www.nellmedia.com/landes/images/boston3.jpg
http://www.nellmedia.com/landes/images/houseluthor/12.jpg
--ความรู้สึกต่อหนังเกย์เรื่อง ODETE (2005, JOAO PEDRO RODRIGUES, A+)
ชอบมากที่คุณเจ้าชายน้อยพูดเปรียบเทียบ ODETE กับหนังของไฉ่มิ่งเหลียงในเว็บบอร์ด BIOSCOPE ตอนที่ดู ODETE ไม่ได้นึกถึงประเด็นนี้มาก่อน แต่พอมาเปรียบเทียบกันอย่างนี้แล้ว เรากลับรู้สึกชอบ ODETE มากกว่าหนังหลายๆเรื่องของไฉ่มิ่งเหลียงอีก เพราะเราไม่ได้ชอบอารมณ์ขันในหนังของไฉ่มิ่งเหลียงมากนัก ตอนแรกๆที่เราดูหนังของไฉ่มิ่งเหลียง เราก็รู้สึกชอบหนังของเขาอย่างสุดๆนะ โดยที่ไม่ได้แยกแยะว่าชอบส่วนไหนไม่ชอบส่วนไหนในหนังของเขา แต่มีอยู่ปีนึง ได้ดูหนังเรื่อง JACKY (2000, FOW PYNG HU + BRAT LJATIFI, A+++++) กับหนังเรื่อง WHAT TIME IS IT THERE? (TSAI MING-LAING, A+) ในเวลาใกล้เคียงกัน เราก็เลยรู้ตัวว่าอารมณ์ขันในหนังของไฉ่มิ่งเหลียงอาจจะไม่เข้าทางเราเท่าไหร่ เพราะ JACKY ก็เป็นหนังเกี่ยวกับชาวจีนที่ช้าๆนิ่งๆ เหมือนกัน และก็มีอารมณ์ขันแทรกอยู่บ้าง แต่น้อยกว่า WHAT TIME IS IT THERE? อย่างมาก ตั้งแต่นั้นเราก็เลยรู้สึกว่าถ้าหากไฉ่มิ่งเหลียงตัดอารมณ์ขันออกไปจากหนังของเขาให้หมด เราก็อาจจะชอบหนังของเขาเพิ่มขึ้นอีกเยอะก็ได้ เพราะปกติเราก็ไม่ชอบหนังตลกอยู่แล้ว และพอเราถามตัวเองว่าเราชอบอะไรมากกว่ากันระหว่างหนังประเภท THE WAYWARD CLOUD กับหนังประเภท ODETE เราก็รู้สึกว่า ODETE ถูกกับรสนิยมเรามากกว่า เรารู้สึกว่า THE WAYWARD CLOUD อาจจะเป็นหนังที่เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และมีเนื้อหาสาระมากกว่า ODETE นะ แต่เรารู้สึกชิดใกล้กับ ODETE มากกว่า
ข้อมูลเกี่ยวกับ JACKY ดูได้ที่
http://www.imdb.com/title/tt0246710/
แต่เราก็แค่เดาๆเอานะ บอกอะไรแน่นอนไม่ได้เหมือนกัน เพราะหนังอย่าง THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE (2004, JAMES LEE, B+) ก็ให้ความรู้สึกบางอย่างคล้ายกับไฉ่มิ่งเหลียงเหมือนกัน และก็มีอารมณ์ขันน้อยกว่าด้วย แต่เราก็ไม่ได้ชอบมากเท่าหนังของไฉ่มิ่งเหลียง (แต่เพื่อนเราชอบหนังเรื่องนี้มากๆ)
http://www.imdb.com/title/tt0407568/
http://redfilms.com.my/tbwm.htm
รู้สึกเหมือนกันว่าถึงแม้ JOAO PEDRO RODRIGUES บอกว่าเขาสร้าง ODETE เพราะได้รับแรงบันดาลใจจากหนังเมโลดราม่า แต่เราก็เห็นความเป็นเมโลดราม่าในแบบที่คุ้นเคยแค่ในช่วงต้นเรื่องเท่านั้น โดยเฉพาะในฉากที่พอตัวละครเศร้าปุ๊บ ฝนก็ตกลงมาในทันที
แต่ในช่วงหลังจากนั้น เราก็รู้สึกว่าหนังมันเหมือนกับเอาองค์ประกอบบางอย่างของเมโลดราม่ามาใช้ แต่มาใช้ในบริบทที่ต่างออกไป บอกไม่ถูกเหมือนกัน เหมือนกับว่าเขาเอาการแสดงออกแบบเมโลดราม่ามาใช้ แต่ไม่ได้เอาความสัมพันธ์ของตัวละครแบบที่พบในหนังเมโลดราม่ามาใช้ เพราะในหนังเมโลดราม่ามันจะมีพระเอก, นางเอก, นางอิจฉา, ตัวโกง อะไรทำนองนั้น และคนดูหนังหรือละครเมโลดราม่าจะ “เข้าใจ” ความรู้สึกหรืออารมณ์ของตัวละครได้ในทันที เข้าใจว่าพระเอกมันต้องรู้สึกอย่างนี้กับนางเอก เข้าใจว่านางอิจฉามันต้องรู้สึกอย่างนี้กับนางเอก มันเหมือนกับว่าความสัมพันธ์และอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครในหนังเมโลดรามามันถูกกำหนดตายตัวไว้แล้ว ไม่ค่อยมีพลิกผันอะไรมาก และ “เหตุผลในการกระทำ” ของตัวละครก็มักจะถูกกำหนดตายตัวไว้แล้วล่วงหน้า (และในความเป็นจริงแล้ว หนังแนวอื่นๆนอกเหนือจากแนวเมโลดราม่า ก็มักจะมีการกำหนดไว้เช่นกันว่าพระเอกมักจะต้องเป็นอย่างนี้, นางเอกมักจะต้องเป็นอย่างนี้ และอารมณ์ความรู้สึกกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละครจะต้องเคลื่อนไหวไปตามเส้นกราฟนี้)
แต่ใน ODETE มันไม่เป็นเช่นนั้นเลย ตัวละครอาจจะแสดงอารมณ์ฟูมฟาย แต่จิตใจของตัวละครมันลึกล้ำสุดหยั่ง มันพลิกผันไปมา มันบอกไม่ถูกว่าใครทำหน้าที่เป็นอะไรในเรื่อง ตอนที่เราไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ เราไปถามเพื่อนคนนึงที่ดูแล้วว่า “นางเอกหนังเรื่องนี้เป็นยังไงบ้าง” เพื่อนเราก็ถามกลับมาว่า “หมายถึงนางเอกคนที่เป็นผู้หญิงหรือนางเอกคนที่เป็นผู้ชาย” เราก็เลยรู้สึกชอบ ODETE ตรงส่วนนี้ด้วย เพราะมันเหมือนกับเอาองค์ประกอบบางอย่างของเมโลดราม่ามาใช้ แต่ก็ทำลายแบบแผนของเมโลดราม่าไปด้วยในขณะเดียวกัน โดยเฉพาะในเรื่องอารมณ์ความรู้สึกและความสัมพันธ์ของตัวละคร
ฉากที่ชอบมากๆใน ODETE ก็รวมถึงฉากที่ นางเอกทุ่มตัวลงไปบนหลุมศพ, ฉากที่ RUI (NUNO GIL) ทุ่มตัวลงไปบนหลุมศพ และฉากที่ทั้งสองคนจูบกันตอนเห็นแหวนเหมือนกัน เราชอบที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้ทำสิ่งที่เราไม่ได้คาดหมายไว้ แต่ทำตามแรงกระตุ้นที่ผุดขึ้นมาอย่างฉับพลัน เพราะในชีวิตจริงเราก็มักเจอคนที่ทำในสิ่งที่เราไม่ได้คาดหมายไว้อยู่เสมอ
ดู ODETE เสร็จแล้ว เพลง MOON RIVER เลยติดค้างอยู่ในหัวเราไปเลย เราเคยดู BREAKFAST AT TIFFANY’S (1961, BLAKE EDWARDS, A-/B+) ตอนเด็กๆ แต่ตอนนั้นดูไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ และก็ไม่เคยชอบเพลง MOON RIVER มาก่อนเลย จนกระทั่งได้มาดู ODETE นี่แหละ ถึงทำให้ค่อยรู้สึกชอบเพลงนี้
ฟังดนตรี MOON RIVER ได้ที่
http://www.niehs.nih.gov/kids/lyrics/moonriver.htm
Moon riverWider than a mileI'm crossing you in styleSome day...Old dream makerYou heart breakerWherever you're goingI'm going your way...Two drifters (เข้าใจว่าคำสลักที่แหวนคงมาจากเนื้อเพลงตรงนี้)Off to see the worldThere's such a lot of worldTo see...We're after the same rainbow's endWaiting around the bendMy Huckleberry friendMoon River and me...
พูดแล้วก็นึกถึงเพลง BREAKFAST AT TIFFANY’S ของวง DEEP BLUE SOMETHING เป็นเพลงป็อปที่เคยชอบมากเพลงนึง
VERSE1:You say we've got nothing in commonNo common ground to start fromAnd we're falling apartYou say the world has come between usOur lives have come between usBut I know you just don't careCHORUS:And I said "What about Breakfast at Tiffany's?"She said "I think I remember the filmAnd as I recall, I think we both kinda liked it"And I said "Well, that's the one thing we've got"I see you, the only one who knew meBut now your eyes see through meI guess I was wrongSo what now? It's plain to see we're overI hate when things are overWhen so much is left undone
เพลงนี้อยู่ในอัลบัมชุด HOME (1995)
http://www.amazon.com/gp/product/B000001Y7D/103-7912176-2546234?v=glance&n=5174
http://images.amazon.com/images/P/B000001Y7D.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
เราว่าคำว่า TWO DRIFTERS มันเข้ากับตัวละคร ODETE และ RUI มากๆเลย เพราะตัวละครสองตัวนี้เหมือนไร้ที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจและอารมณ์จริงๆ
นอกจาก RAINER WERNER FASSBINDER กับ DOUGLAS SIRK แล้ว JOAO PEDRO RODRIGUES ก็บอกว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจจากหนังเมโลดราม่าของ JOHN M. STAHL (1886-1950) ด้วยเช่นกัน
JOHN M. STAHL เคยกำกับหนังเรื่อง
1.IMITATION OF LIFE (1934)
http://www.imdb.com/title/tt0025301/
http://images.amazon.com/images/P/0783227647.01.LZZZZZZZ.jpg
http://www.americanphoto.co.jp/pages/celebrity/C/Previews/Plans-46854.jpg
หนังเรื่องนี้ได้รับการรีเมคในปี 1959 โดย DOUGLAS SIRK
http://www.imdb.com/title/tt0052918/
2.THE KEYS OF THE KINGDOM (1944)
http://images.amazon.com/images/P/6301628616.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
3.LEAVE HER TO HEAVEN (1945)
http://www.amazon.com/gp/product/B00074DY0M/qid=1142143696/sr=8-9/ref=sr_1_9/103-7912176-2546234?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=130
http://images.amazon.com/images/P/B00074DY0M.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
4.FATHER WAS A FULLBACK (1949)
http://www.amazon.com/gp/product/6303450830/qid=1142143444/sr=8-15/ref=sr_1_15/103-7912176-2546234?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=404272
http://ec1.images-amazon.com/images/P/6303450830.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
Sunday, March 12, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment