Monday, September 15, 2008

THE PEN (2008, Weerasak Suyala, A++++++++++)

This is my comment in Bioscope webboard:
http://www.bioscopemagazine.com/smf/index.php?topic=1317.30

Reply to Merveillesxx

I also love THE PEN (2008, Weerasak Suyala, A++++++++++) very much. I’m glad you also love it. I still can’t stop laughing everytime I think of this film. Has Weerasak accidentally or unintentionally invented a new film language by making this film? Maybe not. But I still think this film is totally unique in my point of view, because it is something I have never seen before in my whole life. Weerasak may intended to make just a narrative horror film, but somehow I think this film ends up going farther than most Thai experimental films do. What I love very much in this film includes the scene in which a guy can’t finish his sentence because the film suddenly jumps into the next scene while he is still speaking, and the soundtrack which seems to be interrupted every ten second. This film is not art. This film is not mass entertainment. But it is the cult film of the year, if ‘cult film’ means a film which is worshipped by a specific small group of audience.

What I also love in THE PEN:

1.The scene in which the boy hugs the TV

2.The intonation pattern of the father’s voice, which is totally unique. The father’s manner of speaking can turn every boring sentence into a classic sentence.

3.Some scenes which seem to be documentary, such as the scene in which a group of students move around, because I think the director may have secretly shot these real scenes while the students didn’t know about it. These secretly-shot scenes remind me of some scenes of women in the street in LONELY NIGHT IN TRUAD ALLEY (2008, Weerasak Suyala, A+).

4.The maniacal acting of the father

5.The wig of the father

6.The product placement in the film. The product here is the book written by the director. In most films, the product placement is a bad thing because it makes us feel as if we are forced to watch advertisment while we don’t want to watch it. But in this film, the product placement is so totally obvious that it becomes a great thing. In the scene in which a boy and a girl should have flirted with each other, we see a girl try to advertise this book to the boy instead. In a scene after the main problem is solved, we see the boy seriously stare at the cover of these books and the logo of the bookshop which sells this novel.

7.I feel as if many things in this film are anti-aesthetic rules, anti-standard filmmaking rules, anti-logic, anti-“what we have (wrongly) believed that a good film should be” . What is great is that Weerasak may have not intended to break any rules at all when he made this film. He just makes films according to what he believes. The result is that his films become unique, and his films make me realize that many things I used to think are essential for a good film are actually not essential at all.

Weerasak Suyala’s filmography:
http://celinejulie.blogspot.com/2008/07/weerasak-suyalas-filmography.html

3 comments:

Anonymous said...

สุดยอดมากเรื่องนี้
สุดยอดดดดดดดดดด

ผมมีคำถามมาอันนึงครับ
คือตอนที่ กิม(ผี) มาสิงน้องของเด็กตัวเอก
เขาพูดอะไร ผมฟังออกเป็น ซื้อนมเปรี้ยวๆๆ

celinejulie said...

ดีใจมากครับที่คุณธัญชอบหนังเรื่องนี้

ผมฟังไม่ออกเลยว่าเขาพูดว่าอะไร จำไม่ได้ด้วยซ้ำว่ามีเสียงพูดอะไรบ้างในฉากนี้ มันคือฉากที่พระเอกอยู่บ้านคนเดียว แล้วเจอผีเด็กใส่หน้ากากใช่ไหมครับ ผมมัวแต่ตะลึงกับเทคนิค "หน้ากากผี" ในฉากนี้ ก็เลยไม่ได้สนใจว่ามีเสียงพูดว่าอะไรบ้าง ผมชอบเอฟเฟคท์หน้ากากผีในฉากนี้มากๆเลยครับ มันเป็นอะไรที่ประหยัดสุดๆ แต่ก่อให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์อย่างรุนแรงที่สุด

celinejulie said...

พอดีมีคนขอให้แปลสิ่งที่เขียนตรงนี้เป็นภาษาไทย ผมก็เลยแปลแล้วเอามาแปะในที่นี้ด้วยแล้วกัน

ตอบน้อง MERVEILLESXX

ผมก็ชอบ “เกมผีปากกา” (2008, วีระศักดิ์ สุยะลา, A++++++++++) มากๆเหมือนกันครับ ผมยังคงหยุดหัวเราะไม่ได้ทุกครั้งที่คิดถึงหนังเรื่องนี้แม้เวลาจะผ่านมานานหลายวันแล้ว หลังจากดูหนังเรื่องนี้เสร็จแล้ว ผมก็สงสัยว่าคุณวีระศักดิ์ได้ให้กำเนิดภาษาใหม่ทางภาพยนตร์ขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเปล่า บางทีอาจจะไม่ก็ได้ แต่อย่างไรเสีย ผมก็คิดว่าหนังเรื่องนี้มีความเป็นตัวของตัวเองอย่างมากๆ และมันแปลกแตกต่างจากหนังทุกเรื่องที่ผมเคยดูมา คุณวีระศักดิ์อาจจะตั้งใจเพียงแค่สร้างหนังสยองขวัญเรื่องนึง แต่ผมคิดว่าผลลัพธ์ที่ออกมากลับกลายเป็นว่าหนังเรื่องนี้ได้ทำให้เราเห็นถึงสิ่งใหม่ๆมากเกินกว่าหนังทดลองของไทยหลายๆเรื่องเสียอีก สิ่งที่ผมชอบมากๆในหนังเรื่องนี้รวมถึงฉากที่พ่อพูดไม่ทันจบประโยค แต่หนังก็ตัดไปอีกฉากนึงในทันที และทิ้งให้ประโยคที่พ่อพูดค้างเติ่งอยู่อย่างนั้น และผมก็ชอบการที่เสียงเพลงประกอบในหนังเรื่องนี้มันสะดุดเป็นช่วงๆทุกครั้งที่มีการตัดภาพด้วย หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่ศิลปะขั้นสูง และไม่ใช่หนังที่สร้างขึ้นเพื่อความบันเทิงสำหรับผู้ชมส่วนใหญ่ แต่ผมคิดว่านี่คือ “หนังคัลท์” แห่งปี ถ้าหากความหมายของคำว่า “หนังคัลท์” คือหนังที่มีผู้ชมกลุ่มเล็กๆกลุ่มนึงชื่นชมบูชาอย่างรุนแรง

สิ่งที่ผมชอบสุดๆใน “เกมผีปากกา” รวมถึง

1.ฉากที่เด็กชายกอดทีวี
2.วิธีการพูดของพ่อ ซึ่งมีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก วิธีการออกเสียงคำแต่ละคำ ประโยคแต่ละประโยคของพ่อ สามารถทำให้ประโยคที่น่าเบื่อๆกลายเป็นประโยคอมตะได้

3.ผมชอบการที่ฉากบางฉากในหนังเรื่องนี้ดูเหมือนสารคดี อย่างเช่นฉากที่เด็กนักเรียนกลุ่มนึงเดินไปเดินมาในลาน ผมคิดว่าบางทีผู้กำกับอาจจะแอบถ่ายฉากจริงเหล่านี้โดยที่กลุ่มนักเรียนไม่รู้ตัวก็ได้ ฉากที่ผมคิดว่าแอบถ่ายเหล่านี้ทำให้ผมนึกถึงฉากผู้หญิงตามท้องถนนใน “คืนเปลี่ยวในซอยตรวจ” (A+)

4.การที่ตัวละครพ่อดูเหมือนคนกึ่งๆเสียสติ

5.วิกผมของพ่อ

6.โฆษณาแฝงในภาพยนตร์ โดยสินค้าที่ถูกโฆษณาผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้คือหนังสือที่เขียนโดยตัวผู้กำกับ ทั้งนี้ ในหนังส่วนใหญ่นั้น โฆษณาแฝงมักจะถือเป็นส่วนแย่ของหนัง เพราะมันทำให้คนดูรู้สึกว่าเราถูกยัดเยียดให้ดูโฆษณาขายสินค้าทั้งๆที่เราไม่ได้ต้องการจะดูมัน แต่ในหนังเรื่องนี้นั้น โฆษณาแฝงในหนังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างโจ่งแจ้ง, จริงใจ และตรงไปตรงมา จนทำให้โฆษณาแฝงกลายเป็นข้อดีข้อนึงของหนังเรื่องนี้ไปโดยปริยาย ในฉากหนึ่งของหนังเรื่องนี้ ซึ่งเป็นฉากที่ตัวละครหนุ่มสาวน่าจะพลอดรักกัน เรากลับได้เห็นตัวละครหญิงสาวทำอาการเหมือนพยายามจะขายหนังสือเล่มนี้ให้ชายหนุ่ม และในอีกฉากหนึ่งในช่วงท้ายเรื่อง เราก็เห็นตัวละครเด็กจ้องเขม็งไปที่หนังสือนิยายเล่มนี้ราวกับว่ามันมีความหมายสำคัญอย่างมากๆ และเราก็ได้เห็นโลโก้ของร้านหนังสือที่ขายหนังสือเล่มนี้ด้วย

7.ผมรู้สึกว่าหลายอย่างในหนังเรื่องนี้เป็นการต่อต้านหลักสุนทรียศาสตร์, เป็นการต่อต้านกฎเกณฑ์มาตรฐานในการสร้างภาพยนตร์, เป็นสิ่งที่อาจจะขัดกับหลักเหตุผล และเป็นสิ่งที่สวนทางกับความเชื่อ (ผิดๆ) ของเราที่ว่าภาพยนตร์ที่ดีควรจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง แต่สิ่งที่ยอดเยี่ยมก็คือว่าคุณวีระศักดิ์อาจจะไม่ได้ “ตั้งใจ” ทำลายกฎเกณฑ์ต่างๆเหล่านี้เลยก็ได้ขณะที่เขาคิดจะสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เขาเพียงแค่สร้างภาพยนตร์ตามแบบที่เขาเชื่อและเขารัก และผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก ซึ่งนั่นคือคุณลักษณะที่หาได้ยากยิ่งในภาพยนตร์ยุคปัจจุบันนี้ และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ทำให้ผมได้ตระหนักว่า หลายสิ่งหลายอย่างที่ผมเคยเชื่อว่ามันเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในภาพยนตร์ที่ดีนั้น จริงๆแล้วมันเป็นองค์ประกอบที่ไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดในภาพยนตร์ที่ดี ภาพยนตร์เรื่อง “เกมผีปากกา” อาจจะขาดความราบรื่นในทางเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพหรือดนตรีประกอบ หรือการเล่าเรื่อง แต่ความไม่ราบรื่นเหล่านี้นี่แหละ ที่ทำให้มันกลายเป็นภาพยนตร์ที่สุดยอดสุดๆในความเห็นของผม