IN THE GREY ROOM (2014, Sukanya Pheansri, stage play, A+10)
SPOILERS ALERT
ดูละครเรื่องนี้แล้วนึกถึงสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
1.ชอบการจัดแสงของละครเรื่องนี้มากๆในระดับ A+30 มันสวยสุดๆ
บางช่วงนึกว่าภาพจิตรกรรม โดยเฉพาะฉากที่คุณอรรถพล อนันตวรสกุลนั่งอยู่ที่โต๊ะ
โดยส่วนตัวแล้ว เรารู้สึกว่าพอฉากไหนที่ไม่มีการจัดแสง
หรือฉากที่เปิดแสงสว่างจ้าแบบธรรมดาไปเลย มนต์เสน่ห์ในฉากนั้นจะ drop ลงในทันที
คือเรารู้สึกเหมือนกับว่า ฉากที่มีการจัดแสงในละครเรื่องนี้
มันทำให้เราสัมผัสได้ถึง “มิติบางอย่างในจิตใจตัวละคร” อย่างเช่น “มิติแห่งความวังเวงในใจตัวละคร”
หรืออะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้น พอฉากไหนที่เปิดไฟสว่างจ้า
เราก็จะกระเด็นออกมาจากมิติพิเศษในจิตใจตัวละคร
และออกมารับชมเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายนอกตัวละครแทน
การได้เข้าไปสัมผัสจิตใจตัวละคร ผ่านทางการจัดแสงในละครเรื่องนี้
ทำให้เรารู้สึกว่ามันพิเศษมากๆ
2.เนื้อเรื่องคร่าวๆของละครเรื่องนี้ ทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง A HOME AT THE END OF THE WORLD
(2004, Michael Mayer) แต่เราว่าละครเรื่องนี้พิเศษไปจากหนังรักสามเส้าอย่าง
A HOME AT THE END OF THE WORLD ในแง่ที่ว่า
ละครเรื่องนี้มันสะท้อนเบื้องลึกในจิตใจตัวละครด้วย แทนที่จะเล่าเฉพาะ “เหตุการณ์”
ที่เกิดขึ้นกับตัวละครอย่างเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาพยนตร์ทั่วไปมักจะทำกัน
โดยในละครเรื่องนี้ การสะท้อนเบื้องลึกในจิตใจตัวละครทำโดยการจัดแสง และการให้ตัวละครพูดรำพึงรำพันความคิดของตัวเองออกมา
พอเราดูละครเรื่องนี้ เราก็เลยไพล่ไปนึกถึงสิ่งที่ Maya Deren เคยพูด โดยเธอพูดในทำนองที่ว่าหนัง
narrative ส่วนใหญ่เล่าเรื่องเหมือนเป็นเส้นที่ลากยาวไปเรื่อยๆเป็น
horizontal line เล่าเรื่องเป็นเหตุการณ์ 1, 2, 3, ...
ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตัวละคร แต่หนังทดลองหลายเรื่อง ทำตัวเหมือนเป็น
vertical line คือดำดิ่งลงไปในอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครในห้วงขณะหนึ่งๆ
โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับ “เหตุการณ์”
เราว่า IN THE GREY ROOM มันมีทั้งส่วนผสมของ horizontal
line และ vertical line ในระดับที่พอเหมาะพอดี
คือถ้าละครเรื่องนี้เล่าเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตตัวละคร เป็น horizontal
line มันก็คงจะไม่ต่างไปจากหนังอย่าง A HOME AT THE END OF THE
WORLD แต่ละครเรื่องนี้ มันมีช่วงที่ทำให้เราสัมผัสได้ถึงอารมณ์ความรู้สึกข้างในตัวละครด้วย
ผ่านทางบทพูดและการจัดแสง มันก็เลยเหมือนมี moment ของ vertical
line มาสอดแทรกอยู่เป็นระยะๆ และเราก็ชอบตรงจุดนี้มาก
(อันนี้เป็นสิ่งที่ Maya Deren เคยพูดไว้
โดยเธอตบกับ Arthur Miller อย่างรุนแรงในประเด็นนี้
3. ชอบที่ละครเรื่องนี้พูดถึงความไม่ลงตัวทางความสัมพันธ์,
ความอิหลักอิเหลื่อทางความสัมพันธ์ หรือความพร่องของมนุษย์ อะไรทำนองนี้
คือละครเรื่องนี้จะแตกต่างจากเรื่องโรแมนติกโดยทั่วไปในแง่ที่ว่า
ตัวละครในเรื่องนี้มันไม่ใช่ soul mates, perfect match หรือคนที่พร้อมจะเข้าไปเติมเต็มคู่รักได้อย่างสมบูรณ์
ตัวละครในเรื่องนี้โหยหาความรัก
แต่ก็พบว่ามนุษย์เรานั้นมันไม่สามารถเข้ากับคนรักได้ 100% เต็มหรอก
มันมีจุดที่เข้ากันไม่ได้อยู่ มันมี “ความไม่สมบูรณ์” อยู่
และในบางครั้งเราก็ต้องเลือกว่าเราจะเอายังไงดี จะเป็นคนรักกันต่อไป
มันก็ไม่สุขเต็มที่ จะเลิกรากันไปเลย เราก็ยังรู้สึกต้องการอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ดี
เราไม่รู้ว่าเราควรจะจัดวางสถานะของตัวเองกับอีกฝ่ายหนึ่งยังไงดี
มันถึงจะลงตัวที่สุด เราว่าความไม่สมบูรณ์พร้อมและการหาจุดที่ลงตัวไม่ได้ของตัวละครและความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่องนี้
มันเป็นอะไรที่เป็นมนุษย์มากๆ
4.ชอบที่ละครเรื่องนี้พูดถึงเกย์และไบเซ็กชวล
แต่ตัวละครไม่ได้ประสบปัญหาทางความสัมพันธ์เพราะ “อคติของสังคม” แต่ประสบปัญหาเพราะตัวของเขาเอง
คือในเรื่องนี้เราจะไม่เห็นอคติของสังคมที่มีต่อเกย์เลย แต่ตัวละครในเรื่องนี้ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตรักได้อยู่ดี
5.ชอบการ casting คุณอรรถพลและคุณสายฟ้าในเรื่องนี้มากๆ
การได้เห็นสองคนนี้มาแตะเนื้อต้องตัวกันบนเวทีเป็นอะไรที่ฟินมากๆสำหรับเรา 555
6.จริงๆแล้วเนื้อหาของละครเรื่องนี้สามารถทำออกมาเป็นเมโลดราม่าได้สบาย
แต่ละครเรื่องนี้ทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม คือมันออกมาดู minimal มากพอสมควร และเราก็ชอบความ minimal ของละครเรื่องนี้ในระดับนึงนะ
แต่ในแง่นึง เราก็คิดว่ามันอาจจะ minimal เกินไปสำหรับรสนิยมของเรา
เพราะเรารู้สึกว่าอารมณ์มันลอยๆเกินไปสำหรับเราน่ะ แต่อันนี้ไม่ใช่ว่าเป็นข้อเสียของละครเรื่องนี้นะ
เพียงแต่ว่ารสนิยมส่วนตัวของเรามักจะอินกับหนังที่เน้นไปที่ความเจ็บปวดหรือความโกรธแค้นน่ะ
แต่ละครเรื่องนี้ไม่ได้ออกมาในแนวที่ตรงกับรสนิยมส่วนตัวของเราอย่างเต็มที่
สรุปว่าเราชอบที่ละครเรื่องนี้กลั่นกรองเอาความฟูมฟายทิ้งไป
แต่ในขณะเดียวกันเราก็ไม่ได้ชอบละครเรื่องนี้ในระดับ A+30 เพราะละครเรื่องนี้ไม่ได้มีความเจ็บปวดในแบบที่เราชอบน่ะ
แต่มันมีองค์ประกอบนึงในละครเรื่องนี้ที่ทำให้เราสัมผัสได้ถึงความเจ็บปวดในแบบที่เราชอบนะ
นั่นก็คือน้ำเสียงของสายฟ้าในบางช่วง เรารู้สึกว่าน้ำเสียงของเขาในบางช่วงมันสะท้อนความเจ็บปวดออกมาได้ดี
7.อีกปัจจัยนึงที่ทำให้เราไม่ได้ชอบละครเรื่องนี้ในระดับ A+30 อาจจะเป็นเพราะว่าเราชอบดูหนังมากกว่าน่ะ
และเราจะอินกับบางสิ่งที่หนังทำได้ แต่ละครเวทีทำไม่ได้ นั่นก็คือ “การโคลสอัพไปที่ใบหน้าตัวละคร”
คือละครเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงหนังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่รานร้าวอย่างเรื่อง
THE BIRTH OF LOVE (1993, Philippe
Garrel, A+30) และ THE PHANTOM HEART (1996, Philippe
Garrel, A+30) น่ะ แต่สาเหตุหลักอย่างนึงที่ทำให้เราชอบหนังสองเรื่องนี้มากก็คือ
มันมี “การโคลสอัพใบหน้าที่เหนื่อยหน่ายกับชีวิต” ของตัวละคร
การได้เห็นริ้วรอยแห่งชีวิตบนใบหน้าของตัวละครในหนังสองเรื่องนี้ มันเป็นอะไรที่ impact
เราอย่างรุนแรงมาก ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ละครเวทีคงทำไม่ได้
แต่มันก็มีบาง moment ในละครเรื่องนี้ที่ทำได้ในระดับใกล้เคียงนะ
นั่นก็คือช่วงเปิดเรื่องที่เราเห็นตัวละครทำหน้าทำตาใส่กันโดยไม่พูดอะไร เราว่าช่วงนั้นมันทำให้เรานึกถึง
“อารมณ์ที่บรรยายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ที่ปรากฏอยู่บนใบหน้าของมนุษย์” ในหนังของ Philippe
Garrel เหมือนกัน คือถ้าละครเวทีเรื่องนี้ดัดแปลงเป็นหนัง แล้วกล้องโฟกัสไปที่ใบหน้าของตัวละครตรงจุดนี้
โดยไม่ให้ตัวละครพูดเลย มันคงเป็น moment ที่เราชอบมากๆ
สรุปว่าการที่เราไม่ได้ชอบละครเรื่องนี้อย่างสุดๆในระดับ A+30
เป็นเพราะรสนิยมส่วนตัวของเราที่อยากสัมผัสความเจ็บปวดของตัวละครมากกว่านี้
และเป็นเพราะรสนิยมส่วนตัวของเราที่ชอบลักษณะบางอย่างในภาพยนตร์มากกว่าละครเวทีจ้ะ
No comments:
Post a Comment