Sunday, November 29, 2015

A NEW LIFE IN USA (2015, Thawatchai Thonglor, 40min, A+30)

A NEW LIFE IN USA (2015, Thawatchai Thonglor, 40min, A+30)
อเมริกา 5 หน่วยกิต

1.ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงด้วยเหตุผลเดียวกับที่ทำให้เราร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงตอนดู WE ARE YOUR FRIENDS (2015, Max Joseph, A+30) เพราะเรามักจะอินกับเรื่องของคนที่ชีวิตจมปลัก ไปไหนไม่ได้ ทั้งๆที่อยากจะไป อยากจะออกจากที่อยู่เดิม แต่ก็ไปไหนไม่ได้ เพราะปัจจัยต่างๆในชีวิต

ตอนที่เราดู WE ARE YOUR FRIENDS แล้วร้องห่มร้องไห้ ตอนนั้นเราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเพราะเหตุใดเราถึงอินกับหนังมากขนาดนั้น แต่พอเรามาดู A NEW LIFE IN USA มันก็เลยทำให้เราเข้าใจตัวเองว่า ทำไมเราถึงอินกับ WE ARE YOUR FRIENDS และ A NEW LIFE IN USA มากขนาดนี้ เพราะเราเป็นคนที่ไม่ได้เรียนต่อเมืองนอก, ไม่เคยไปต่างประเทศ, ไม่ได้เรียนต่อปริญญาโทน่ะ ในขณะที่เพื่อนมัธยมและมหาลัยของเรา 99% ได้ไปเรียนต่อเมืองนอก พอเรามาดู A NEW LIFE IN USA มันก็เลยทำให้เรานึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมา และก็เลยอินกับมันอย่างสุดๆ

2.อีกปัจจัยที่ทำให้ชอบ A NEW LIFE IN USA มากกว่าหนังเรื่องอื่นๆในงานบางแสนรามาในวันเสาร์ เป็นเพราะเราชอบที่หนังเรื่องนี้มันนำเสนอทั้ง

2.1 ความใฝ่ฝันของพระเอก

2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกกับครอบครัว ซึ่งได้แก่แม่ในเรื่องนี้

2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกกับเพื่อน

2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกกับเจ้านาย

2.5 ความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกกับครูสอนภาษาอังกฤษ

คือเราชอบที่หนังเรื่องนี้มันนำเสนอ “หลายด้าน” ในชีวิตพระเอกน่ะ ในขณะที่หนังเรื่องอื่นๆในงานบางแสนรามามันอาจจะเป็นหนังที่ดีในสายตาคนอื่น แต่อาจจะไม่เข้าทางเราซะทีเดียว ในแง่ที่ว่า หนังเหล่านี้มันเป็นหนังที่ “นำเสนอประเด็นหลักของหนังอย่างแน่วแน่ มั่นคง ไม่วอกแวก” น่ะ อย่างเช่น ROBBER ที่พอมันนำเสนอเรื่องคู่รัก มันก็นำเสนอแค่เรื่องของคู่รักอย่างเดียว เราไม่ได้เห็นด้านอื่นๆในชีวิตของตัวละครหลักไปด้วย และเราว่า ANGKANA, WELL DONE THEY DON’T DOWN และ BARRIER ก็ค่อนข้างเกร็งในส่วนนี้เช่นกัน

แต่เราก็เข้าใจว่าปัญหานี้มันอาจจะเป็นเพราะมันเป็นหนังส่งอาจารย์ด้วยนะ ไม่ใช่หนังที่สร้างขึ้นตามใจผู้กำกับ และเกณฑ์ในการมองหนังของผู้ชมส่วนใหญ่ก็มักจะชื่นชม “หนังที่นำเสนอประเด็นหลักอย่างแน่วแน่มั่นคงไม่วอกแวก” หนังที่ต้องการจะเป็นหนังดีในสายตาของผู้ชมส่วนใหญ่ก็เลยต้องพยายาม “ลดความซับซ้อนของชีวิตลง” เพื่อจะได้นำเสนอประเด็นหลักของหนังได้อย่างไม่วอกแวก แต่เราไม่ชอบหนังแบบนั้น เราชอบหนังที่ยอมรับความซับซ้อนของชีวิตมากกว่า เราชอบหนังที่สามารถแสดงให้เห็นว่า ในหนึ่งนาที ตัวละครอาจจะคิดถึงทั้งปัญหากับสามี, ปัญหากับแม่, ปัญหาทะเลาะกับเพื่อนเรื่องการเมือง, ปัญหาหนี้จำนองบ้าน, ความอยากมีเซ็กส์กับคนงานก่อสร้างในซอย, ปัญหาแอร์เสีย, ความไม่เข้าใจในคำสอนเรื่อง “นิโรธสมาบัติ”, ปัญหาเป็นโรคติดเชื้อไข้กาฬนกนางแอ่น, ความรู้สึกอยากกลับไปตบครูโรงเรียนมัธยมเพื่อแก้แค้น, ความอยากมีเซ็กส์กับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง, etc. เราว่าชีวิตคนเราจริงๆ หรืออย่างน้อยก็ชีวิตเราเอง มันเป็นแบบนี้น่ะ เราคิดถึงปัญหา 30 อย่างในชีวิตใน 5 นาที เราไม่ได้คิดถึงปัญหาเดียวแบบไม่วอกแวกเหมือนตอนนั่งทำข้อสอบ

เพราะฉะนั้นการที่เราชอบ A NEW LIFE IN USA มากที่สุดในวันเสาร์ ส่วนหนึ่งไม่ได้เป็นเพราะว่าหนังเรื่องอื่นๆดีสู้ไม่ได้นะ แต่เป็นเพราะว่า A NEW LIFE IN USA มันเข้าทางเรามากที่สุดในแง่นี้น่ะ เรารู้สึกเหมือนกับว่าฉากต่างๆในหนังมันเหมือนเป็นการคว้าจับบางห้วงเวลาของชีวิตจริงมาให้เราดู ในขณะที่ฉากต่างๆในหนังเรื่องอื่นๆมันเป็นฉากที่ “ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับประเด็นหลักของหนัง” และพอมันเป็นฉากที่ “ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับประเด็นหลักของหนัง” บางที “ชีวิตจริง” ก็อาจถูกรีดหายออกไปจากฉากนั้นโดยไม่รู้ตัว แต่อันนี้เป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวจ้ะ ผู้ชมหลายๆคนคงจะไม่ได้ชอบอะไรแบบนี้เหมือนกับเรา

3.อีกจุดที่ทำให้ชอบ A NEW LIFE IN USA สุดๆ คือการพูดถึง “ความลังเลใจ” ของตัวละคร คือหนังกระแสหลักโดยทั่วๆไปมักจะนำเสนอว่า “ตัวละครทำอะไร” และให้เวลากับ action เชิงกายภาพของตัวละคร ซึ่งการที่ตัวละครทำอะไรมันเกิดจากการที่ตัวละคร “ตัดสินใจ” ไปแล้วว่าจะทำอะไร


แต่เราชอบหนังที่แสดงให้เห็นว่า ก่อนที่ตัวละครจะ “ตัดสินใจ” ทำอะไรนั้น บางทีมันใช้เวลานานมาก และบางทีมันลังเลใจ กลับไปกลับมา ว่าจะทำดีไม่ทำดี บางทีตัวละครอาจจะเปลี่ยนใจทุกชั่วโมง ว่าจะทำสิ่งนี้ดี หรือไม่ทำสิ่งนี้ดี อะไรทำนองนี้ และเราว่า A NEW LIFE IN USA มันนำเสนอ “ความลังเลใจ” ของตัวละครได้ดีมากๆ แทนที่จะนำเสนอ “ตัวละครที่ตัดสินใจอย่างมั่นใจ แล้วก็มุ่งหน้าต่อสู้กับอุปสรรคอย่างสุดแรง” แบบที่เรามักจะเจอในหนังกระแสหลัก

THE HOLY MOUNTAIN AND JAPANESE COMICS

วันนี้มีฉายหนังเยอรมันเรื่อง NATHAN THE WISE (1922, Manfred Noa) และ THE HOLY MOUTAIN (1926, Arnold Fanck) ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่เวลา 12.30 น.นะครับ ใครทื่ชื่นชอบหนังเกี่ยวกับสงครามครูเสดอย่าง KINGDOM OF HEAVEN (2005, Ridley Scott) ไม่ควรพลาดหนังเรื่อง NATHAN THE WISE และใครที่ชอบหนังผจญภัยปีนเขาอย่าง CLIFFHANGER (1993, Renny Harlin) และ 127 HOURS (2010, Danny Boyle) ไม่ควรพลาดหนังเรื่อง THE HOLY MOUNTAIN นอกจากนี้ พล็อตรัก 3 เส้าในหนังเรื่อง THE HOLY MOUNTAIN ยังทำให้เรานึกถึงการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง “นั๊กกี้ จอมใจจอมแก่น” ด้วย เพราะพระเอกคนหนึ่งใน “นั๊กกี้” ก็เป็นนักปีนเขาเหมือนกัน

รูปจาก THE HOLY MOUNTAIN

Films seen in BANGSAEN RAMA on Saturday, November 28

Films seen in BANGSAEN RAMA on Saturday, November 28

ตอนนี้ขอแปะแค่ระดับความชอบก่อนนะ

1.A NEW LIFE IN USA (2015, Thawatchai Thonglor, 40min, A+30)
อเมริกา 5 หน่วยกิต (ธวัชชัย ทองหล่อ)

2.ROBBER (2015, Piyawat Atthakorn, 35min, A+25)

3.ANGKANA (2015, Narasit Kaesaprasit, 50min, A+25)

4.WELL DONE, THEY DON’T DOWN (2015, Siriwan Janchada, 40min, A+20)

5.BARRIER (2015, Chatchawal Thongkal, 20min, A+20)

6.WE ARE HIGH, BY THE WAY (A+/A)


ส่วน “เรื่องสั้นที่ 13” เราเคยดูมาแล้ว

Wednesday, November 25, 2015

HOW LENI RIEFENSTAHL GET INTO THE MOVIES


โปสเตอร์ภาพยนตร์ที่เปลี่ยนชีวิตคนและเปลี่ยนประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์ไปตลอดกาล

เราอาจจะเคยได้ยินว่ามีหนังบางเรื่องที่เปลี่ยนชีวิตคนได้ด้วยการให้แรงบันดาลใจแก่ผู้ชมบางคนจนผู้ชมคนนั้นตัดสินใจเปลี่ยนชีวิตตนเอง แต่ในบางครั้งโปสเตอร์ภาพยนตร์ก็เปลี่ยนชีวิตคนได้เช่นกัน และโปสเตอร์นั้นก็คือโปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง THE MOUNTAINEERS (1924, Arnold Fanck, Germany) เพราะในปี 1924 Leni Riefenstahl หญิงสาวชาวเยอรมันวัย 22 ปี กำลังรอขึ้นรถไฟเพื่อจะไปหาหมอตามที่นัดไว้ แต่พอเธอได้เห็นโปสเตอร์หนังเรื่อง THE MOUNTAINEERS บนกำแพง เธอก็จ้องมองโปสเตอร์นั้นนานมากจนเธอตกรถไฟ และเธอก็เลยตัดสินใจไม่ไปหาหมอ แต่ไปดูหนังเรื่อง THE MOUNTAINEERS แทน

เลนีพบว่าหนังเรื่อง THE MOUNTAINEERS มันสร้างความประทับใจให้กับเธออย่างรุนแรงมาก และเธอก็เลยตัดสินใจเข้าสู่วงการภาพยนตร์ไปเลย โดยในเวลาต่อมาเธอได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง THE HOLY MOUNTAIN (1926) ที่กำกับโดย Arnold Fanck เช่นกัน และภาพยนตร์เรื่อง THE HOLY MOUNTAIN นี้จะมาฉายที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ในวันอาทิตย์ที่ 29 พ.ย.นี้ เวลา 14.45 น.จ้ะ

นอกจากโปสเตอร์ THE MOUNTAINEERS จะเปลี่ยนชีวิตของ Leni Riefenstahl แล้ว เราอาจกล่าวได้อีกด้วยว่า โปสเตอร์นี้เปลี่ยนประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์ด้วย เพราะถ้าหาก Leni Riefenstahl ไม่เข้าสู่วงการภาพยนตร์ โลกเราก็อาจจะไม่มีหนึ่งในหนังที่อื้อฉาวที่สุดในโลก ซึ่งก็คือเรื่อง TRIUMPH OF THE WILL (1935, Leni Riefenstahl) ออกมา ส่วนตัวเราเองนั้นยังไม่ได้ดู TRIUMPH OF THE WILL นะ แต่เราได้ยินมาว่า มันเป็นหนังที่มีความน่าสนใจในแง่ aesthetic เป็นอย่างมาก ถึงแม้จุดประสงค์ของหนังจะชั่วร้ายสุดๆก็ตาม


ข้อมูลข้างต้นมาจาก imdb.com นะจ๊ะ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจ 100% เต็มว่ามันจริงแท้แน่นอนแค่ไหน 555

ONCE UPON A FOREST (2013, Luc Jacquet, France, documentary, A+30)

ONCE UPON A FOREST (2013, Luc Jacquet, France, documentary, A+30)

--ติดอันดับ one of my most favorite cinematography I have seen this year

--ฉากที่เถาวัลย์ตบกับผีเสื้อนี่ถือเป็นหนึ่งในฉากที่ชอบที่สุดในปีนี้เลย คืองาน visual ในฉากนั้นก็สวยงามสุดๆมาก และเนื้อหาในฉากนั้นก็เป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เราไม่เคยนึกว่าเถาวัลย์ในป่าจะมีอิทธิฤทธิ์รุนแรงกลายพันธุ์ได้ 150 รูปแบบเพื่อมาตบกับผีเสื้อ

--ฉากที่ต้นไม้พ่นพิษก็รุนแรงมาก อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนเหมือนกัน

--ชอบช่วงนึงของหนังมากๆที่พูดถึง concept ที่ว่า “Animals rule the space, while trees rule the time.”


--Luc Jacquet นี่มีของจริงๆ คือตอนเขาทำ MARCH OF THE PENGUINS (2005) เราก็ชอบมาก และพอเขามาทำสารคดีเกี่ยวกับป่า มันก็ออกมาดีสุดๆอีก คือนอกจากประเด็นในหนังของเขาจะแน่นและน่าสนใจมากแล้ว ONCE UPON A FOREST ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า เขามี sense ด้านการถ่ายภาพและการตัดต่อที่งดงามมากๆด้วย

THE HOLY MOUNTAIN (1926)


THE HOLY MOUNTAIN (1926, Arnold Fanck, Germany, A+30) ที่นำแสดงโดย Leni Riefenstahl จะมาฉายที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันอาทิตย์ที่ 29 พ.ย.นี้ เวลา 14.45 น.นะจ๊ะ รายละเอียดโปรแกรมฉายดูได้ที่นี่

ตอนดูหนังเรื่องนี้ เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายภาพได้สวยมากๆ ช่วงต้นๆของเรื่องที่เป็นการเต้นระบำริมชายหาดนี่ทำให้นึกถึงหนังของ Maya Deren เลย นอกจากนี้ เราว่า Ernst Petersen ที่รับบทเป็นหนึ่งในพระเอกของเรื่องนี้ ก็หล่อมากๆด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากในหนังเยอรมันยุคนั้น เพราะหนังเยอรมันยุคนั้นแทบไม่มีพระเอกหล่อๆเลย มี Ernst Petersen นี่แหละที่หล่อที่สุดแล้ว (แต่เขาไม่ใช่คนในรูปนี้นะ)

อย่างไรก็ดี เรารู้สึกแปลกๆเมื่อได้อ่านเจอว่า ฮิตเลอร์เคยพูดถึงหนังเรื่อง THE HOLY MOUNTAIN นี้ว่าเป็น “the most beautiful that I have ever seen on screen” คือเรารู้สึกแปลกๆที่พบว่าตัวเราเองมีรสนิยมคล้ายๆฮิตเลอร์ในเรื่องนี้น่ะ แต่ในแง่นึงเราก็พบว่า เราเองก็อาจจะมีรสนิยมคล้ายๆกับ Leni Riefenstahl ซึ่งเป็นเจ้าแม่นาซีในแง่นึงด้วยนะ เพราะเราเข้าใจว่าหนังสารคดีเรื่อง OLYMPIA (1938, Leni Riefenstahl) ของเลนีนั้นเน้นถ่ายนักกีฬาชายที่มีรูปร่างดีเป็นหลัก หรือพวกหนุ่มๆที่มีรูปร่างคล้ายรูปปั้นกรีก ซึ่งเราเองก็ชอบมองนักกีฬาชายรูปร่างดีเหมือนกัน

แต่เราก็ปลอบใจตัวเองว่าเราไม่ได้มีรสนิยมคล้ายนาซีไปซะทุกอย่างนะ เพราะถึงแม้เราจะมองว่าหนังเรื่อง THE HOLY MOUNTAIN เป็นหนังที่สวยมากๆเหมือนกับที่ฮิตเลอร์มอง หรือเราอาจจะชอบผู้ชายหุ่นดีแบบที่ Leni Riefenstahl ชอบนำเสนอ เราก็ชอบงานศิลปะหรือภาพยนตร์ที่ให้ความรู้สึกถึง filth และอะไรที่ “ไม่บริสุทธิ์” ด้วย และเราเข้าใจว่านาซีจะเกลียดอะไรแบบนี้มากๆ นอกจากนี้ สิ่งที่นาซีชอบอย่างเช่น “ความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติ”, “ความรักชาติ”, “การเชื่อฟังผู้นำ” อะไรทำนองนี้ ก็เป็นสิ่งที่เราต่อต้านอย่างรุนแรง



Tuesday, November 24, 2015

MURDER (UN) SEEN (2015, Grisana Punpeng, stage play, A+30)

MURDER (UN) SEEN (2015, Grisana Punpeng, stage play, A+30)

1.ชอบการแสดงของนักแสดงนำทั้ง 4 คนมากๆ โดยเฉพาะคุณโฬฬา วรกุลสันติ ที่เราไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน

2.สาเหตุที่ทำให้ชอบละครเรื่องนี้สุดๆคงเป็นเพราะการแบ่งผู้ชมออกเป็นสองส่วน และแต่ละส่วนก็ได้รับชมในสิ่งที่ไม่เหมือนกันนี่แหละ เรารู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่แปลกใหม่ดีสำหรับเรา และทำให้มันไปไกลกว่าหนังกลุ่ม RASHOMON ที่อาจจะมีอะไรบางอย่างคล้ายๆกัน นั่นก็คือการหาบทสรุปที่แน่นอนไม่ได้ว่าใครเป็นฆาตกร

3.คือตอนที่เราดู MURDER (UN) SEEN เราจะนึกถึงหนังหลายๆเรื่องที่เกี่ยวกับปริศนาฆาตกรรม ที่มีผู้ต้องสงสัยหลายคน โดยเฉพาะหนังเรื่อง TALVAR (GUILTY) (2015, Meghna Gulzar, India, A+30) ที่สร้างจากคดีจริงเกี่ยวกับการฆาตกรรมเด็กสาวคนหนึ่งในบ้านของตัวเอง เพราะในตอนแรกตำรวจจะมองว่าฆาตกรต้องเป็นใครคนใดคนหนึ่งในบ้านหลังนั้น แต่ในความเป็นจริงนั้น ฆาตกรหรือกลุ่มฆาตกรอาจจะมาจากนอกบ้านก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนในบ้านเดียวกัน เพราะฉะนั้นตอนที่เราดู MURDER (UN) SEEN เราจะแอบนึกในใจว่า มันมีความเป็นไปได้เสมอที่ฆาตกรอาจจะเป็นคนอื่นนอกเหนือจาก 3 คนนี้ เพราะเราไม่ได้เห็นรายละเอียดที่ชัดเจนว่าทำไมฆาตกรถึงถูกจำกัดวงไว้แค่ 3 คนนี้เท่านั้น

แต่เราว่าสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจใน MURDER (UN) SEEN ก็คือว่า มันแตกต่างจากหนังที่สร้างจากคดีปริศนาฆาตกรรมจริงหลายๆเรื่อง เพราะหนังหลายๆเรื่องในกลุ่มนี้ ผู้สร้างหนังมันจะมีความเอนเอียงอยู่แล้วว่าเขาคิดว่าใครคือฆาตกรตัวจริง ซึ่งรวมถึงหนังเรื่อง TALVAR เอง ที่ผู้สร้างหนังพยายามหว่านล้อมให้ผู้ชมเชื่อว่า กลุ่มฆาตกรเป็นคนที่มาจากนอกบ้าน ถึงแม้ศาลจะตัดสินว่าฆาตกรคือพ่อแม่ของเด็กสาวคนนั้นก็ตาม

เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบ MURDER (UN) SEEN ในแง่ที่ว่า บทละครเรื่องนี้มันเฉลี่ยน้ำหนักได้ดีน่ะ มันไม่ได้โน้มเอียงไปในทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจนว่าใครคือฆาตกร มันทำให้เราชั่งน้ำหนักได้ยากพอสมควรว่าใครคือฆาตกรในสามคนนี้ มันก็เลยแตกต่างจากหนังกลุ่มคดีฆาตกรรรมจริงหลายๆเรื่อง

4.แต่การที่ผู้ชมไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างง่ายดายว่าใครคือฆาตกร มันก็อาจจะทำให้ละครเวทีเรื่องนี้ไปคล้ายกับหนังกลุ่ม RASHOMON ในแง่นึง อย่างไรก็ดี ละครเวทีเรื่องนี้ก็แตกต่างจากหนังกลุ่ม RASHOMON ในแง่ที่ว่า ในหนังกลุ่ม RASHOMON นั้น ผู้ชมทุกคนจะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนเท่าๆกันน่ะ แต่ในละครเวทีเรื่องนี้ ผู้ชมทุกคนจะได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนและไม่เหมือนกัน เราก็เลยรู้สึกว่านี่เป็นอะไรที่แปลกใหม่ดีสำหรับเรา

5.แต่เราก็ไม่ได้เลือกให้ใครเป็นฆาตกรในตอนจบนะ เพราะว่า

5.1 เรารู้สึกว่าแหล่งที่มาของข้อมูลในหลายๆฉากมันไม่น่าเชื่อถือ เพราะแหล่งที่มาของข้อมูลในหลายๆฉากมันมาจากคนที่แอบฟังหรือบังเอิญได้ยินหรืออะไรทำนองนี้ หรือแม้แต่ตัวเจ้าของร้านอาหารเองก็ให้การในสิ่งที่อาจจะลำเอียงและไม่เป็นความจริงก็ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราได้เห็นในหลายๆฉากอาจจะไม่เป็นความจริง เราก็เลยไม่รู้ว่า เราสามารถเชื่อได้ว่าฉากไหนบ้างที่เป็นความจริงในเรื่องนี้

5.2 เรารู้สึกว่า เราไม่อยากตัดสินว่าใครเป็นฆาตกร จนกว่าจะได้เห็น “หลักฐานมัดตัว” น่ะ โดยเฉพาะหลักฐานทางนิติเวช หรือสิ่งที่ได้รับการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ แต่ละครเวทีเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงหลักฐานมัดตัวในที่เกิดเหตุอะไรเท่าไหร่ แต่แค่แสดงให้เห็นว่า ทั้ง 3 คนต่างก็มี “แรงจูงใจ” ในการฆาตกรรมเท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วเรามองว่า “แรงจูงใจ” มันเป็นสิ่งที่ห่างไกลจาก “การฆาตกรรมจริง” เป็นอย่างมาก เพราะเราเชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนต่างก็แอบซ่อนความเกลียดชังคนหลายคนไว้ในใจตัวเอง มนุษย์แต่ละคนต่างก็มี “แรงจูงใจ” ในการฆ่าคนหลายคนกันทั้งนั้น แต่ก็ไม่มีใครลุกขึ้นมาประกอบการฆาตกรรมกันจริงๆ เพราะฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกว่า “แรงจูงใจ” มันไม่สามารถใช้ตัดสินได้แต่อย่างใดว่าใครคือฆาตกร นี่ยังไม่นับอีกว่า การฆาตกรรมหลายๆครั้งเกิดขึ้นโดยฆาตกรโรคจิตที่อาจจะฆ่าคนเพียงเพราะอยากฆ่าคนโดยแทบไม่มีเหตุผลด้วยซ้ำ เหมือนอย่างที่เราเคยดูในหนังสารคดีเรื่อง BAD BOYS CELL 425 (2009, Janusz Mrozowski, Poland, A+30) เพราะฉะนั้นการที่เราได้เห็นเพียงแค่ “แรงจูงใจ” แต่เราไม่ได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักฐานต่างๆในที่เกิดเหตุอย่างละเอียด มันก็เลยไม่ทำให้เรารู้สึกอยากเลือกว่าใครคือฆาตกรในเรื่องนี้


6.แต่เราชอบมากนะที่ละครเรื่องนี้ทำให้เราคิดถึงอะไรต่างๆข้างต้น ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะเลือกใครหรือไม่เลือกใครเป็นฆาตกร การกระตุ้นความคิดแบบนี้เป็นสิ่งที่เราชอบมาก และเราว่าละครเรื่องนี้มันสะท้อนบางสิ่งที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันของเราด้วย อย่างเช่นการทะเลาะกันทาง social อย่างเช่นเรื่องเมียทหารตบคนท้องอะไรทำนองนี้ เพราะในกรณีแบบนี้เราไม่สามารถตัดสินเข้าข้างใครได้ง่ายๆหรอก จนกว่าเราจะได้รับรู้ข้อมูลจากทุกๆฝ่ายอย่างครบถ้วนก่อน

Films seen in the World Film Festival of Bangkok 2015

Films seen in the World Film Festival of Bangkok 2015

in preferential order

1.ARABIAN NIGHTS: VOLUME 1 – THE RESTLESS ONE (2015, Miguel Gomes, Portugal, A+30)+ ARABIAN NIGHTS: VOLUME 2 – THE DESOLATE ONE (2015, Miguel Gomes, Portugal, A+30) + ARABIAN NIGHTS: VOLUME THREE -- THE ENCHANTED ONE (2015, Miguel Gomes, Portugal, A+30) 

2.MADELEINE (2015, Lorenzo Ceva Valla + Mario Garofalo, Italy, A+30)

3.MEETING DR. SUN (2014, Yee Chih-yen, Taiwan, A+30) 

4.THE TIME TO LIVE AND THE TIME TO DIE (1985, Hou Hsiao-hsien, Taiwan, A+30)

5.DUST IN THE WIND (1987, Hou Hsiao-hsien, Taiwan, A+30)

6.VIDEOPHILIA (AND OTHER VIRAL SYNDROMES) (2015, Juan Daniel F. Molero, Peru, A+30)

7.RUINED HEART: ANOTHER LOVE STORY BETWEEN A CRIMINAL & A WHORE (2014, Khavn de la Cruz, Philippines, A+30) 

8.THE SEA WITHIN (2014, Wong Wai Nap, Hong Kong, A+30)

9.ON THE RIM OF THE SKY (2014, Xu Hongjie, Germany/China, documentary, A+30)

10.UNDERGROUND FRAGRANCE (2015, Pengfei, China, A+30)

11.ZERO MOTIVATION (2014, Talya Lavie, Israel, A+30) 

12.MARGUERITE & JULIEN (2015, Valerie Donzelli, France, A+30)

13.ABOUT A WOMAN (2014, Teddy Soeriaatmadja, Indonesia, A+30)

14.ANTS APARTMENT (2014, Tofigh Amani, Iran, A+30)

15.UNDER THE SUN (2015, Qiu Yang, Australia, A+30)

16.CRONOPIOS AND FAMAS (2014, Julio César Ludueña, Argentina, A+30)

17.A DAY IN THE LIFE OF ANIL BAGCHI (2015, Morshedul Islam, Bangladesh, A+25)

18.DHEEPAN (2015, Jacques Audiard, France, A+25)

19.FREE FALLING (2015, Namfon Udomlertlak, 53min, A+25)

20.14+ (2015, Andrei Zaitsev, Russia, A+25)

21.PRIVATE VIOLENCE (2014, Cynthia Hill, documentary, A+25)

22.UNDER CONSTRUCTION (2015, Rubaiyat Hossain, Bangladesh, A+20)

23.DAUGHTER OF THE LAKE (2015, Ernesto Cabellos Damian, Peru, documentary, A+20)

24.YELLOWBIRD (2014, Christian De Vita, France, animation, A+20)

25.THE WALL (2015, Andra Tevy, France, A+20)

26.AVE MARIA (2015, Basil Khalil, Palestine, A+20)

27.LIKE A CAST SHADOW (2015, Michael Krummenacher, Germany, A+15)

28.ANITA'S LAST CHA CHA (2013, Sigrid Andrea Bernardo, Philippines, A+15)

29.THE HAMSTERS (2014, Gil Gonzalez, Mexico, A+10) 

30.CLIMAS (2014, Enrica Perez, Peru, A+5)

31.KANUN (2015, Sandra Fassio, Belgium, A+)

32.THE MATCHMAKER (2010, Avi Nesher, Israel, A+/A)

33.THE HUMAN RESOURCES MANAGER (2010, Eran Riklis, Israel, A+/A)

34.BEAR MOUNTAIN (2014, Vagenak Balayan, Armenia, A+/A)

รางวัลพิเศษ
รางวัล “ถวายจิ๋ม ยิ้มด้วยแคม” มอบให้แก่หนังเรื่อง
ABOUT A WOMAN (2014, Teddy Soeriaatmadja, Indonesia, A+30)

MOST FAVORITE SCENES IN THE WORLD FILM FESTIVAL OF BANGKOK 2015

1.ฉากงานปาร์ตี้กลางเรื่อง RUINED HEART ที่มีตัวละครสองสาวทำมือเหมือนเต้นเชียร์ลีดเดอร์แล้ววิ่งไปวิ่งมาท่ามกลางฝูงคนที่เซ็กส์หมู่กัน แล้วมีผู้หญิงหรือกะเทยที่สวมชฎาใช้มีดพร้าตัดหัวคน

2.ฉากใน ARABIAN NIGHTS: VOLUME TWO – THE DESOLATE ONE ที่ตัวละครผัวเมียหนุ่มสาวติดยาในตอน DIXIE เดินมาเจอโซฟาถูกทิ้งไว้ข้างทาง พวกเขาก็เลยยืนอยู่ที่โซฟานั้น แล้วกล้องก็ค่อยๆเคลื่อนห่างออกมาจากพวกเขา และเห็นกำแพงขนาดใหญ่อยู่ด้านหลังพวกเขา

3.ฉากใน ARABIAN NIGHTS: VOLUME ONE – THE RESTLESS ONE  ในตอน COCKEREL ที่เพื่อนบ้านหญิงวัยกลางคนนั่งอยู่ แล้วร่างเธอก็เลือนหายไปกลายเป็นพลุ

4.ฉากนางเอกใน UNDERGROUND FRAGRANCE นั่งรถเมล์กลับบ้านอย่างเหนื่อยอ่อน


5.ฉากนางเอกของ FREE FALLING นั่งเฉยๆอยู่หน้าบ้านของตัวเองตามลำพัง เรารู้สึกว่าฉากนี้มันสอดคล้องกับ “ความสุข” ของเรา เพราะความสุขของเราคือการอยู่ในบ้านหรือห้องของตัวเองตามลำพัง โดยอาจจะอยู่เฉยๆหรือไม่ก็เล่นตุ๊กตาหมี และห่างไกลจากครอบครัวของเรา, ไม่ต้องพบปะผู้คน เราว่าฉากนี้ในแง่นึงมันอธิบายได้ว่า เพราะเหตุใดเราถึงไม่มีอารมณ์ร่วมกับ THE TIME TO LIVE AND THE TIME TO DIE (Hou Hsiao-hsien, A+30) กับ THE YOUNG MAN WHO CAME FROM CHEE RIVER (2015, Wichanon Somumjarn, A+30) มากนัก เพราะความสุขของพระเอกใน THE YOUNG MAN WHO CAME FROM CHEE RIVER มันอาจจะมาจากการขี่มอเตอร์ไซค์ล่องไปในเมืองเรื่อยๆ แต่เราเป็นคนที่ไม่ชอบออกไปนอกบ้าน ส่วนความสุขของพระเอกใน THE TIME TO LIVE AND THE TIME TO DIE มันไม่ได้มาจาก “การได้เห็นสมาชิกในครอบครัวตายไป” คือเรารู้สึกว่าหนังไต้หวันเรื่องนี้มันถ่ายทอดความเศร้าของการพลัดพรากจากสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่มีอารมณ์ร่วมด้วยเลยแม้แต่นิดเดียว ในขณะที่ FREE FALLING มันทำให้เรานึกถึงความสุขของการได้ออกห่างจากสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่เรา identify ด้วยอย่างรุนแรงมาก

Thursday, November 19, 2015

MADELEINE (2015, Lorenzo Ceva Valla + Mario Garofalo, Italy, A+30)

MADELEINE (2015, Lorenzo Ceva Valla + Mario Garofalo, Italy, A+30)

1.สิ่งที่เราชอบในหนังเรื่องนี้เหมือนกับสิ่งที่เราชอบในหนังเรื่อง MENSTRUAL SYNCHRONY วันนั้นของเดือน (2014, Jirassaya Wongsutin, A+30) น่ะ นั่นก็คือเรารู้สึกว่าหนังมันละเอียดอ่อนทางอารมณ์ความรู้สึกมากๆ เหมือนกับว่าผู้กำกับสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครออกมาได้ในทุกๆเสี้ยววินาทีเลย ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากๆ

ตอนที่เราเขียนถึง MENSTRUAL SYNCHRONY เราเคยยกคำวิจารณ์ของ Ray Carney ที่มีต่อหนังของ John Cassavetes มาประกอบด้วย เพราะเรารู้สึกว่าสิ่งที่ Carney เขียนถึงหนังของ  Cassavetes มันนำมาใช้บรรยายถึง MENSTRUAL SYNCHRONY ได้ เพราะฉะนั้นเราก็เลยขอนำมันมาแปะอีกครั้งในที่นี้ด้วย เพราะเรารู้สึกว่ามันสามารถนำมาใช้บรรยายถึง MADELEINE ได้ด้วยเช่นกัน

Specifically, Cassavetes trains us to watch the faces, bodies, and voices of his characters with unusual acuity. No filmmaker has done more to make the subtlest nuances of body language the fundamental building blocks of meaning. Every film might be said to be acted, but virtually no film is acted to the extent Cassavetes’ are—none relies more heavily on the viewer’s ability to read the tiniest facial flickers of emotion or listen to tonal demisemiquavers with greater sensitivity. It is as if the very atoms of the soul were put under a microscope and made visible as they vibrated in place or darted back and forth between characters.


ในแง่นึง เรารู้สึกว่าหนังที่ตรงข้ามกับเรื่องนี้ในจุดนี้อาจจะเป็น ABOUT A WOMAN (2014, Teddy Soeriaatmadja, Indonesia, A+30) ซึ่งเป็นหนังที่เราชอบสุดๆเหมือนกัน แต่เรารู้สึกเหมือนกับว่าในแต่ละฉากของ ABOUT A WOMAN การแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครมันอาจจะได้รับการวางแผนล่วงหน้าไว้อย่างเป๊ะๆแล้วว่า เส้นอารมณ์ของตัวละครในฉากนี้มันจะดำเนินไปแบบนี้ๆ มันไม่ละเอียดอ่อนยิบๆทุกๆเสี้ยววินาทีแบบใน MADELEINE

2.เพราะฉะนั้นในแง่นึงนี่ก็เป็นหนังอีกเรื่องนึงที่เราบรรยายได้ยากว่าเราชอบจุดไหนบ้างของหนัง เพราะทุกๆวินาทีของหนังเรื่องนี้มันเต็มเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ที่ละเอียดอ่อนมากๆ คือเราชอบการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สีกของตัวละครในเกือบทุกๆวินาทีของหนังน่ะ มันก็เลยยากจะบรรยายได้หมด แต่ส่วนที่ติดตาเรามากๆก็มีเช่น

2.1 ตอนที่ Sophie เห็นหน้าไปรษณีย์หนุ่มหล่อ แล้วเธอทำยิ้มขึ้นมาทันที

2.2 ตอนที่ Madeleine เจอคุณหมอครั้งแรก แล้วหลังจากนั้นเธอเหมือนพยายามจะทำตัวเซ็กซี่ตามแบบพี่สาวของเธอ

2.3 ใบหน้าของหนุ่มๆบนรถบัสขณะเห็น Madeleine กับพี่สาว

3.ชอบการที่ Madeleine เดินเท้าเปล่าเป็นระยะทางยาวนานมากๆ คือมันเป็นการกระทำที่ไร้เหตุผลมากๆ แต่เรารู้สึกว่านี่แหละคือสิ่งที่ตัวเราเองมักจะทำเมื่อคุมสติไม่อยู่ หรือควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือเมื่อเกิดอาการจิตแตกอะไรแบบนี้

4.ตอนช่วงแรกๆเราจะ identify กับ Sophie มากๆ เพราะเรารู้สึกรำคาญ Madeleine มากๆ คืออีน้องสาวนี่มันจะมาติดสอยห้อยตามกูทำไมตลอดเวลา แต่พอดูไปเรื่อยๆ เราก็ค่อยๆมองว่า Madeleine และตัวละครทุกตัวในหนังเรื่องนี้เป็นมนุษย์ปุถุชนคนนึงที่พยายามจะรับมือกับสิ่งต่างๆในชีวิต เหมือนๆกับเราเอง


5.ปกติแล้วเราจะชอบหนังเกี่ยวกับเด็กสาววัยรุ่นที่ซ่อนความกราดเกรี้ยวรุนแรงเอาไว้ภายในนะ ประเภท LOVELY RITA (2001, Jessica Hausner, Austria, A+30), ANGEL’S FALL (2005, Semih Kaplanoglu), RESTLESS (2009, Laurent Perreau) หรือหนังเกี่ยวกับเด็กสาวที่ซ่อนความเงี่ยนไว้ภายใน อย่างเช่น OTHER GIRLS (2000, Caroline Vignal) แต่ MADELEINE ไม่เข้าข่ายนี้ เพราะเธอไม่กราดเกรี้ยว และเธอก็ไม่เงี่ยน แต่เราก็ชอบสุดๆอยู่ดี เพราะหนังสามารถนำเสนออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครออกมาได้อย่างละเอียดยิบนี่แหละ ถึงแม้ตัวละครในเรื่องอาจจะไม่ได้เข้าข่ายตัวละครประเภทที่เรามักจะ identify ด้วยก็ตาม

Monday, November 16, 2015

Films seen on Sunday, 15 November, 2015

Films seen on Sunday, 15 November, 2015

1.ARABIAN NIGHTS: VOLUME 2 – THE DESOLATE ONE (2015, Miguel Gomes, Portugal, A+30)

2.THE JOYLESS STREET (1925, G. W. Pabst, Germany, A+30) ดูที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

3.UNDER CONSTRUCTION (2015, Rubaiyat Hossain, Bangladesh, A+20)

4.YELLOWBIRD (2014, Christian De Vita, France, animation, A+20)



Sunday, November 15, 2015

BRING CHALEE HOME (2015, Nasrey Labaideeman, stage play, A+15)

BRING CHALEE HOME (2015, Nasrey Labaideeman, stage play, A+15)
ชาลีมีโฮม

1.ดูแล้วไม่เข้าใจหรอกนะ 555 ไม่เข้าใจในที่นี้หมายถึงว่าเราไม่แน่ใจว่าละครเวทีเรื่องนี้ต้องการจะสื่อถึงอะไร หรืออะไรคือ theme หลักนะ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะเขียนต่อไปนี้ไม่ได้ต้องการจะบอกว่าละครเรื่องนี้สื่อถึงอะไร หรือต้องการจะบอกอะไรคนดู แต่สิ่งที่เราเขียนคือการจดบันทึกว่า ละครเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกอย่างไร หรือทำให้เรานึกถึงอะไรบ้าง โดยที่ตัวผู้สร้างละครอาจจะไม่ได้ตั้งใจทำให้เรานึกถึงก็ได้

2.ถ้าอ่านจากสูจิบัตร ดูเหมือนว่าประเด็นนึงในละครเรื่องนี้คือเรื่องการกำหนดว่าใครเป็นเด็ก และใครเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นประเด็นที่เราอาจจะไม่เคยคิดถึงมาก่อน หรือไม่เคยสนใจมาก่อน เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูละครเรื่องนี้ เราก็เลยไม่ทันนึกถึงประเด็นนี้เลย หรือพอดูจบแล้ว เราก็ยังไม่สามารถเชื่อมโยงมันกับละครได้แบบเป๊ะๆ หรือในแบบที่ว่า พอเอาประเด็นนี้มาจับปุ๊บ เราจะเข้าใจทุกอย่างในละครได้ในทันที

3.แต่สิ่งที่ชอบมากในละครเรื่องนี้ก็คือการที่ตัวละครมะลิ (ณัฐญา นาคะเวช) กลายสภาพเป็นคนป้ำๆเป๋อๆ เหมือนเป็นโรคอัลไซเมอร์ แล้วช่วยตัวเองไม่ได้ในช่วงท้ายๆของเรื่อง แล้วลูกกลับกลายเป็นฝ่ายที่ต้องมาคอยดูแล ประคบประหงม ในสภาพที่สลับกับช่วงต้นเรื่องที่ฝ่ายแม่ต้องคอยประคบประหงมลูกในช่วงนั้น

เราว่าจุดที่ทำให้เรารู้สึกรุนแรงที่สุดในละครเรื่องนี้ก็คือการที่ตัวละครมะลิพูดแต่คำว่า ชั่วช้า ชั่วช้า ชั่วช้า ซ้ำไปซ้ำมาในช่วงท้ายของเรื่องนั่นแหละ เราว่าจุดนี้มันกระทบอารมณ์ความรู้สึกเรารุนแรงมากที่สุดในละครเรื่องนี้

4.อีกจุดที่ชอบมากในละครเรื่องนี้คือประโยคคำถามในช่วงกลางเรื่องที่ว่า “ความเป็นแม่กับความเป็นลูกอะไรเกิดขึ้นก่อนกัน” ซึ่งเป็นคำถามที่ประหลาดมาก ไม่รู้คิดขึ้นมาได้ยังไง คือพอได้ยินคำถามนี้ปุ๊บ ในใจเราจะตอบไปโดยอัตโนมัติว่า “มันเกิดขึ้นพร้อมกัน” แต่ตัวละครในเรื่องนี้กลับตอบในสิ่งที่เราคาดไม่ถึง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าคิดมากๆ นั่นก็คือตัวละครตอบในทำนองที่ว่า “ความเป็นแม่เกิดขึ้นก่อน” เพราะคนเป็นแม่ “รู้ตัว” ว่าตัวเองเป็นแม่ก่อน ในขณะที่คนเป็นลูกนั้น พอคลอดออกมาจากท้องแม่แล้ว มันยังไม่รู้ตัวหรอกว่าตัวเองเป็นลูก มันต้องใช้เวลาสักระยะนึง อาจจะซัก 2-3 ปี กว่ามันจะ “รู้ตัวว่าตัวเองเป็นลูก”

ไม่รู้ว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นหลักของเรื่องหรือเปล่า แต่มันเป็นประเด็นที่เราชอบมากๆ และนำไปคิดต่อยอดถึงเรื่องอื่นๆได้อีกมากมาย โดยที่ผู้สร้างละครเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ตั้งใจ เพราะการสนทนากันในฉากนี้ ทำให้เราคิดถึงประเด็นที่ชอบมากๆ นั่นก็คือ ประเด็นเรื่องมายาคติเกี่ยวกับความเป็นพ่อแม่ลูกอะไรทำนองนี้

ซึ่งละครเรื่องนี้มันมีจุดอื่นๆอีกที่ทำให้เราคิดถึงประเด็นนี้นะ โดยเฉพาะตัวละครมะลิที่เหมือนถูกมายาคติเกี่ยวกับความเป็นแม่เข้าครอบงำ เธอพยายามช่วยเหลือชาลีราวกับว่าเขาเป็นลูกของเธอ เธอเหมือนใช้ชาลีเป็นจุดหมายในการทำสิ่งต่างๆในชีวิต (เธอพยายามเดินทางไปที่นั่นที่นี่ เพื่อทำให้ชาลีมี “บ้าน”) มันทำให้นึกถึงแม่หลายๆคนที่พยายามทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วอ้างว่าตัวเองทำเพื่อลูก ราวกับว่าพวกเธอมีชีวิตอยู่เพื่อลูกของตัวเองเท่านั้น แต่ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อตัวเธอเอง และในหลายๆครั้ง แม่เหล่านี้ก็ทำในสิ่งที่เลวร้าย โดยอ้างว่าทำเพื่อลูก อย่างเช่นในเรื่องนี้พอชาลีฆ่าคน มะลิก็เข้าข้างชาลี

และความผิดที่แม่หลายคนมักจะทำในความเป็นจริง ก็คือการหวงลูกมากเกินไป ซึ่งจุดที่ทำให้เรานึกถึงสิ่งนี้ ก็คือฉากที่มะลิฆ่า “คนที่อาจจะเป็นพ่อแม่ที่แท้จริงของชาลี” ซึ่งมันเป็นอีกจุดที่พีคมากๆในละครเรื่องนี้ และทำให้ละครเรื่องนี้ dark มากๆ และเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เราชอบละครเรื่องนี้ถึงขั้น A+15 เพราะเราว่าจุดนี้มันทำให้เรานึกถึงความเห็นแก่ตัวของมนุษย์หลายๆคนน่ะ โดยเฉพาะแม่ที่อ้างว่าตัวเองรักลูกมาก แต่ไม่ได้นึกถึงความสุขของลูกๆเป็นหลัก แต่นึกถึงความสุขของตัวเองเป็นหลัก คือถ้าหากมะลินึกถึงความสุขของชาลีเป็นหลักอย่างแท้จริง มะลิควรจะปล่อยให้ชาลีไปอยู่กับพ่อแม่ที่แท้จริง และได้อยู่ใน “โฮม” ที่ชาลีต้องการจะอยู่อย่างแท้จริง แต่เอาเข้าจริงแล้ว มะลิที่เดินทางร่อนเร่ไปตามที่ต่างๆ โดยอ้างว่าตัวเองทำเพื่อชาลีนั้น จริงๆแล้วไม่ได้คำนึงถึงความสุขของชาลีเป็นหลักอย่างแท้จริงหรอก เธอคำนึงถึงความสุขของตัวเองเป็นหลักต่างหาก เธอมีความสุขที่ได้คอยเลี้ยงดูชาลี เพราะฉะนั้นเมื่อชาลีจะเริ่มห่างจากเธอไป เธอจึงฆ่าคนที่ชาลีจะไปอยู่ด้วย ถึงแม้คนคนนั้นสามารถให้ความสุขที่แท้จริงกับชาลีได้ก็ตาม

คือจุดนี้ของละครมันทำให้เรานึกถึงพ่อแม่หลายๆคนที่ห้ามลูกทำในสิ่งที่จริงๆแล้วเป็นความสุขของลูกน่ะ อย่างเช่นลูกอยากจะเรียนภาพยนตร์ พ่อแม่ก็ห้ามเรียนอะไรทำนองนี้ พ่อแม่เหล่านี้บอกกับตัวเองและคนอื่นๆว่าพวกเขามีชีวิตอยู่เพื่อลูก ทำสิ่งต่างๆเพื่อลูก แต่พอเอาเข้าจริงแล้ว พวกเขาก็ไม่ได้ต้องการเห็นลูกมีความสุขจริงๆหรอก พวกเขาไม่สนใจหรอกว่าความสุขที่แท้จริงของลูกคืออะไร พวกเขาเห็นความสุขของตัวเองสำคัญกว่า และความสุขของพวกเขาก็คือ “การได้บังคับให้ลูกทำอย่างที่พวกเขาต้องการ”

5.อีกจุดที่ละครเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ตั้งใจสื่อถึง แต่เป็นสิ่งที่เราชอบมาก นั่นก็คือ “เชือก” คือในช่วงต้นของละครเรื่องนี้ มันทำให้เรานึกถึงการมีลูกน่ะ คือพอเรามีลูก เราก็จะพยายามทำสิ่งต่างๆเพื่อสร้างบ้านที่ดีให้กับเขา (เหมือนกับ การพาเขาไปหาบ้าน), เราจะอบรมสั่งสอนเขา (บทบาทของ “หนังสือ” ในละครเรื่องนี้) และเราจะสร้างสายสัมพันธ์กับเขา (เชือก) แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกนั้น มันมีทั้งด้านดีและด้านลบ เหมือนกับเชือกในเรื่องนี้ ที่กลายเป็นอาวุธฆ่าคนได้ในหลายๆครั้ง

6.อีกจุดที่ชอบมากในละครเรื่องนี้ ก็คือเหมือนมันเป็นการผสม “นิทานสำหรับเด็ก” กับละครเวทีแนวแอบเสิร์ดเข้าด้วยกันน่ะ คือโทนของมันเหมือนนิทานสำหรับเด็กน่ะ ซึ่งนิทานสำหรับเด็กหลายๆเรื่องมันจะมีอะไรดาร์คๆอยู่ด้วย และถ้าดัดแปลงดีๆมันจะทรงพลังมาก อย่างเช่นหนังเรื่อง THE VISIT (2015, M. Night Shyamalan, A+30) ที่เหมือนเป็นการดัดแปลงนิทานเรื่อง HANSEL & GRETEL กับหนูน้อยหมวกแดงมาผสมเข้าด้วยกัน แต่นิทานสำหรับเด็กมันจะต่างจากละครเวทีแนวแอบเสิร์ดในแง่ที่ว่า นิทานสำหรับเด็กมันจะเข้าใจง่าย และมันจะไม่กระตุ้นความคิดเหมือนละครแอบเสิร์ด เพราะฉะนั้นถึงแม้ BRING CHALEE HOME จะมีโทนเหมือนนิทานสำหรับเด็ก แต่มันดูแล้วตีความยาก และกระตุ้นความคิดมากๆเหมือนละครเวทีแนวแอบเสิร์ด

คือเราว่าการผสมสองอย่างเข้าด้วยกันนี้เป็นสิ่งที่ดีนะ เพราะมันมีละครเวทีแนวนิทานสำหรับเด็กเยอะแล้ว และก็มีละครเวทีแนวแอบเสิร์ดเยอะแล้ว แต่ละครเวทีที่ผสมสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน มันอาจจะยังมีไม่เยอะ

7.ดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง NURSE ROOM (2012, Nasrey Labaideeman, A+30) ด้วย เพราะ NURSE ROOM ก็มีความแอบเสิร์ด และตัวละครก็เดินทางไปพบเจอบุคคลต่างๆมากมายเหมือนกัน แต่เราจะชอบ NURSE ROOM มากกว่า BRING CHALEE HOME เพราะปัจจัยอันนึงก็คือว่า หนังไทยแนวแอบเสิร์ดแบบ NURSE ROOM มันหาดูได้ยาก มันไม่ค่อยมีคนทำกัน แต่ละครเวทีแนวแอบเสิร์ดอย่าง BRING CHALEE HOME มันอาจจะหาดูได้ง่ายกว่า

8.แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่ได้ชอบ BRING CHALEE HOME ในระดับ A+30 มันอาจจะเป็นเพราะว่า เราไม่เข้าใจมัน และเราไม่ได้สนุกไปกับมันแบบสุดๆเหมือนหนังบางเรื่องที่เราสนุกกับมันมากๆได้ โดยที่เราไม่เข้าใจความหมายของมันเลย

คือตอนที่ดู BRING CHALEE HOME เราจะนึกถึงหนัง surreal สองเรื่องที่เป็น road movie ตัวละครเดินทางผจญภัยเฮี้ยนๆเหมือนกัน แต่หนังสองเรื่องนี้เราจะชอบแบบสุดๆ ซึ่งได้แก่

8.1 THE MILKY WAY (1969, Luis Buñuel, A+30) อันนี้ที่เราชอบมาก เพราะปัจจัยนึงคือเราเข้าใจมันด้วยแหละว่ามันเสียดสีคนกลุ่มต่างๆในองค์การศาสนา เพราะฉะนั้นถึงแม้จะเกิดเหตุการณ์พิศวงพิสดารอะไรขึ้นในเรื่อง เราก็จะเข้าใจมันในระดับนึงว่าเป้าหมายที่หนังต้องการจะโจมตีคืออะไร


8.2 FANDO AND LIS (1968, Alejandro Jodorowsky, A+30) อันนี้ดูแล้วไม่เข้าใจอะไรเลยว่าหนังต้องการจะสื่อถึงอะไร แต่ก็ชอบสุดๆ เพราะมันสนุกมาก เฮี้ยนมาก จัญไรมาก (คำชม)