WORD IS OUT (1977, Nancy Adair, Andrew Brown, Rob Epstein,
documentary, 135min, A+30)
คลาสสิคจริงๆ หนังสารคดีเรื่องนี้นำเสนอบทสัมภาษณ์เกย์และเลสเบียน 26
คนในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1970 ตัดสินไม่ได้จริงๆว่าเรื่องของใครหนักที่สุดหรือน่าประทับใจที่สุด
เพราะเรื่องราวของแต่ละคนก็น่าสนใจมากๆ
เราว่าหนังเรื่องนี้ยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป
เพราะมันได้จดบันทึกไว้ว่าเกย์และเลสเบียนในอดีตเคยมีชีวิตที่ทุกข์ทรมาน, ขมขื่น
หรือเผชิญกับการกดขี่ข่มเหงมากเพียงใด เพราะชีวิตของหลายคนในหนังเรื่องนี้มันแตกต่างจากในยุคปัจจุบันมาก
บางคนในหนังเรื่องนี้ถูกจับส่งเข้าโรงพยาบาลบ้าเพียงเพราะเขาเป็นเกย์และเลสเบียน
และหลายคนต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวมากๆ เพราะพวกเขาไม่รู้จักเกย์หรือเลสเบียนคนอื่นๆในชุมชนของตนเองเลย
ซึ่งเราเข้าใจว่าเป็นเพราะยุคนั้นหลายคนใช้ชีวิตแบบปกปิดความจริง และยุคนั้นมันยังไม่มี
internet ซึ่งจะช่วยให้เกย์ที่ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวหลายคนมีช่องทางในการติดต่อพูดคุยกับเกย์คนอื่นๆได้
มันน่าดีใจมากๆที่โลกเราในปัจจุบันนี้พัฒนาไปมากแล้ว
ทั้งในเรื่องสิทธิเกย์, สิทธิคนดำ และสิทธิสตรีเมื่อเทียบกับ 50 ปีก่อน (ยกเว้นเสรีภาพในการแสดงออกในไทยที่ยังไม่ได้พัฒนาไปไหน)
เพราะในปัจจุบันนี้หลายประเทศก็มีกฎหมายให้เกย์แต่งงานกันได้
และรับลูกบุญธรรมมาเลี้ยงได้แล้ว
นายกรัฐมนตรีของประเทศในยุโรปบางประเทศก็เป็นเกย์และเลสเบียนอย่างเปิดเผย คือยุคปัจจุบันนี้ชีวิตเกย์มันดีกว่าเมื่อ
50 ปีก่อนมาก หนังสารคดีเรื่องนี้ก็เลยมีคุณค่ามากๆในการทำให้เราไม่ลืมว่า
กว่าที่เราจะลืมตาอ้าปากได้แบบในปัจจุบันนี้
คนรุ่นก่อนหน้าเราเคยเจอกับการกดขี่ข่มเหงอย่างไรบ้างจากสังคม
เรื่องที่เราชอบมากๆในหนังเรื่องนี้ก็มีเช่น
1.เรื่องของเลสเบียนที่ถูกพ่อแม่จับเข้าโรงพยาบาลบ้า
2.เรื่องของเกย์หนุ่มหล่อคนนึง ที่แต่งงานมีเมีย
แต่เขาแอบรักกับโจที่แต่งงานและมีเมียเช่นกัน จนวันนึงเมียของเขาทนไม่ไหว
ก็เลยโทรศัพท์ไปหาเมียของโจ แล้วบอกว่า “ถ้าโจต้องการผัวกู ก็มาเอาไปได้เลย”
อะไรทำนองนี้
3.เรื่องของเกย์ที่เล่าว่า ตอนเขาอายุ 14 ปี
เขาออกล่าผู้ชายอายุราว 30 ปีเป็นประจำ
และเขารู้สึกขำมากกับกฎหมายที่ทำเหมือนกับว่า เด็กอายุ 14-15 ปีเป็น “เหยื่อ” เพราะจริงๆแล้วตัวเขาตอนอายุ
14-15 ปีนั้น มีสถานะเป็น “ผู้ล่า” ต่างหาก
4.Nathaniel Dorsky ผู้กำกับหนังทดลองชื่อดัง
ก็ให้สัมภาษณ์ด้วย เราชอบมากที่เขาบอกว่า การได้แสดงออกอย่างเสรีถึงรสนิยมทางเพศของตัวเอง
ทำให้เขาเป็น “human” เพราะถ้าเขามัวแต่ต้องปกปิดความจริงเรื่องที่ว่าเขาเป็นเกย์
เขาก็จะกลายเป็น “object of hysteria” แทนที่จะเป็น Human
5.เลสเบียนช่างประปาที่รักกับเลสเบียนช่างไฟฟ้า
คือสองคนนี้ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่างประปากับช่างไฟฟ้านะ
แต่เหมือนสองคนนี้แบ่งงานกันทำ และพัฒนาทักษะต่างๆจนสามารถพึ่งพาตัวเองได้หมดในการสร้างบ้านที่ไหนก็ได้
อะไรทำนองนี้
6.เรื่องของเลสเบียนทหารหญิงในกองทัพ
คือเธอเล่าว่ามีเลสเบียนในกองทัพเยอะมาก แต่อยู่ดีๆในช่วงราวทศวรรษ 1950 กองทัพสหรัฐก็กวาดล้างเลสเบียน
และไล่เลสเบียนออกจากกองทัพหมดเลย แถมยังมีการไต่สวน
ให้แต่ละคนป้ายความผิดซึ่งกันและกันด้วย
7.เรื่องของผู้หญิงที่ทำงานเป็น babysitter แล้วก็เลยได้แม่ของเด็กเป็นแฟน
โดยทั้งสองต่างก็เคยมีสามีและหย่ากับสามีมาแล้ว
8.เรื่องของหนุ่มเอเชีย ที่เคยดูหนังในโรง แล้วมีชายหนุ่มมานั่งข้างๆ
แล้วเอาขามาสีกัน ถูไถกันจนเกิดอารมณ์
9.เรื่องของเกย์วัยชราที่เล่าว่าเขาเบื่อทศวรรษ
1930 มาก เพราะในยุคนั้นผู้ชายต้องสร้างภาพลักษณ์ตัวเองให้เหมือน Gary Cooper และ Clark
Gable ซึ่งมันเป็นเรื่องน่าเบื่อมากๆสำหรับเกย์
10.เรื่องของเลสเบียนวัยชราที่เกิดในปี 1898
เธอเล่าว่าเวลาเธออยู่คนเดียวท่ามกลางธรรมชาติ เธอไม่รู้สึกโดดเดี่ยว
แต่เวลาที่เธออยู่ท่ามกลางฝูงชนหลายๆคน เธอถึงจะรู้สึกโดดเดี่ยว
เราชอบมากๆที่เธอตั้งคำถามว่า
ผู้กำกับหนังสารคดีเรื่องนี้พยายามจะเอาคนที่ถูกสัมภาษณ์ไป fit ใน frame หรือใน structure อะไรหรือเปล่า
ซึ่งเรารู้สึกว่ามันเป็นคำถามที่สำคัญ
เพราะถ้าหากผู้กำกับหนังสารคดีเรื่องนี้มุ่งมั่นแต่จะนำเสนอประเด็นเรื่อง “สิทธิเกย์”
เขาก็จะละเลยแง่มุมความเป็นมนุษย์อื่นๆของตัวผู้ถูกสัมภาษณ์ไป แต่ถ้าหากผู้กำกับหนังเรื่องนี้ไม่พยายามจะบีบอัดผู้ถูกสัมภาษณ์ให้เข้ากับ
frame หรือ structure ที่ตัวเองวางไว้
ผู้ถูกสัมภาษณ์ก็จะได้รับอนุญาตให้เป็นมนุษย์จริงๆ แทนที่จะเป็นเพียงแค่
สิ่งที่มารองรับ “ประเด็น” เท่านั้น
เราก็เลยชอบมากที่หนังเรื่องนี้มีฉากเลสเบียนตัดต้นไม้อะไรทำนองนี้ด้วย
มันช่วยให้หนังเรื่องนี้บรรจุมนุษย์จริงๆเอาไว้ด้วย แทนที่จะพยายามลดทอนผู้ถูกสัมภาษณ์ให้เป็นเพียงเครื่องมือในการนำเสนอประเด็นของผู้กำกับหนัง
HAPPY DEATH DAY (2017, Christopher Landon,
A+30)
อยากเอาหนังเรื่องนี้มารีเมคใหม่เป็นหนังเกย์
พระเอกไม่รู้ชื่อฆาตกร, ไม่รู้หน้าฆาตกร แต่เขาเห็นจู๋ฆาตกรก่อนที่เขาจะถูกฆ่าตาย
เขาจำความยาวของจู๋และลักษณะทุกอย่างของจู๋ฆาตกรได้ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่พระเอกตื่นขึ้นมาใหม่
เขาจะต้องค้นหาให้ได้ว่า หนุ่มคนไหนกันแน่ในมหาลัยที่เป็นเจ้าของจู๋อันนั้น ส่วนคำโปรยบนโปสเตอร์หนังเรื่องนี้ก็คือ
“I don’t know your name. I don’t
know your face. But I definitely remember your dick.”
No comments:
Post a Comment