THE FOUNDATION (2019, Nattanon Mukda, 46min, A+15)
1.ดูแล้วแอบขำมาก
เพราะรู้สึกว่าไอเดียของหนังมันตลกมากๆ (โลกอนาคตที่บังคับให้คนแต่งหน้า
ถ้าใครไม่แต่งหน้า ก็อาจจะถูกจับเข้าคุก และอาจจะถึงขั้นถูกประหารชีวิต?!?)
แต่ผู้สร้างหนังก็กล้าสร้างหนังที่มีไอเดียดูบ้าบอมากๆนี้ออกมา
และตั้งใจสร้างอย่างจริงๆจังๆด้วย
2.เหมือนเป็นหนังที่โชว์ความสามารถด้าน special
effects และ production design นะ
เพราะเราไม่ชอบบทภาพยนตร์เท่าไหร่ แต่งานด้าน visual effects นี่โดดเด่นสุดๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังไทยด้วยกัน
คิดว่าคนคุมงานด้าน effects ของหนังเรื่องนี้ น่าจะไปได้ไกล
งาน production
design ก็ดีด้วย เหมือนหนังของมศว ปีนี้จะมีจุดเด่นที่ production
design โดยเฉพาะเรื่อง แมลงวัน, FERMATA และเรื่องนี้
คงเป็นเพราะที่มหาลัยนี้มีนิสิตที่เรียนด้านนี้โดยตรงด้วยมั้ง
ซึ่งจะแตกต่างจากหนังของมหาลัยอื่นๆที่เน้นการกำกับเป็นหลัก
3.ชอบการแสดงของคนที่เล่นเป็นคุณป้า
หรือรัฐมนตรีมากๆ
เหมือนเธอช่วยสร้างความหนักแน่นสมจริงให้กับหนังที่ดูเพ้อมากๆเรื่องนี้ 555
4.ดูแล้วนึกถึง KISS OF THE
SPIDER WOMAN (1985, Hector Babenco, 120min) นะ 555 เพราะมันเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของคนคุกสองคน
โดยที่คนคุกคนนึงจะช่วยปลูกฝัง "จิตสำนึกทางการเมืองที่ถูกต้อง"
ให้กับนักโทษอีกคนเหมือนกัน
แต่ในขณะที่เราเชื่อใน
"ความสัมพันธ์ของตัวละคร" และ "พัฒนาการของตัวละคร" ใน KISS OF THE SPIDER WOMAN เรากลับไม่เชื่ออะไรแบบนี้ในหนังเรื่องนี้เลยน่ะ
5.คือเหมือนกับว่า หนังเรื่องนี้คิดโครงเรื่อง
และพัฒนาการของตัวละครไว้แล้ว ว่านางเอกต้องมีนิสัยเหมือนนางอิจฉาในช่วงเริ่มแรก,
ต้องมีพัฒนาการทางความคิดขณะติดคุก และต้องจบด้วยฉาก speech แบบล้มล้างความเชื่อเดิมๆทางสังคม อะไรแบบนี้
แต่
"รายละเอียดทางบทภาพยนตร์" ไม่สามารถทำให้เราเชื่อในหนังได้น่ะ
เริ่มตั้งแต่เหตุการณ์ที่ทำให้นางเอกต้องติดคุกแล้ว
คือแค่การถูกคนอื่นๆรุมแกล้งด้วยการลบเครื่องสำอางออกจากหน้า
แล้วก็ต้องติดคุกโดยไม่มีโอกาสได้แก้ต่างเลยเหรอ คือเราว่าตั้งแต่เหตุการณ์นี้
มันก็ไม่ทำให้เราเชื่อในหนังแล้วน่ะ ว่ามันจะเกิดอะไรแบบนี้ได้จริงในโลกสมมุติที่หนังสร้างขึ้นมา
ส่วนพัฒนาการของนางเอกในคุก
เราก็ไม่ค่อยเชื่อเหมือนกัน คือเหมือนตัวละครเจนนี่มันดูเป็น “คนดีแบบลอยๆ”
ยังไงไม่รู้น่ะ คือเหมือนเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมา “เพื่อทำหน้าที่”
หรือเพื่อรองรับ function ในการสร้างพัฒนาการทางความคิดให้กับนางเอก
มากกว่าจะดูเป็นคนที่สมจริง แม้ว่านักแสดงจะพยายามตั้งใจเล่นให้ดีที่สุดแล้วก็ตาม
พัฒนาการของนางเอก
เราดูแล้วก็ไม่เชื่อ แต่อาจจะเป็นเพราะว่าหนังมันสั้นเกินไป บางทีมันอาจจะต้องยาว
2 ชั่วโมงแบบ KISS OF THE SPIDER WOMAN เราถึงจะค่อยๆเข้าใจได้ว่า
สังคมในหนังเรื่องนี้มันปลูกฝังให้นางเอกคิดอย่างไรในตอนแรก แล้วทำไมหลายๆคนในสังคมถึงเชื่อแบบนั้น
แล้วทำไมความเชื่อเดิมของนางเอกถึงค่อยๆถูกกัดเซาะไปได้
6.แล้วพอถึงตอนจบ
เราก็รู้สึกว่า speech ของหนังมันดูไม่เข้ากับหนังยังไงไม่รู้
คือเหมือนกับว่า ถ้าหากจะทำหนังเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง คุณค่าที่แท้จริงของตัวเอง
อะไรแบบนี้ ก็น่าจะสร้างเรื่องเล่าแบบอื่นๆ มากกว่าแบบหนังเรื่องนี้นะ
คือเหมือนกับว่า speech ตอนท้ายเรื่องมันคือการทำตามขนบที่ว่า
“เทพนิยาย ต้องมีคติสอนใจในตอนจบ” อะไรแบบนี้น่ะ
เพราะฉะนั้นหนังก็เลยต้องยัดคติสอนใจอะไรสักอย่างเข้าไปให้ได้ในช่วงท้ายเรื่อง
ทั้งที่จริงๆแล้ว คติสอนใจของหนังเรื่องนี้ มันก็น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ชม 90%
เชื่ออย่างนั้นอยู่แล้ว คือไม่จำเป็นต้องทำหนังเพื่อบอกในสิ่งที่ผู้ชมส่วนใหญ่เชื่ออยู่แล้วก็ได้
(ว่า การแต่งหน้า เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น 555)
คือเรื่อง “คุณค่าที่แท้จริงของตัวเอง
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คนอื่นมอง แต่มันอยู่ที่เธอมองตัวเธอเองอย่างไรต่างหาก”
แบบที่หนังเรื่องนี้พยายามจะบอกนั้น เราว่ามันไม่ควรนำเสนอด้วยเรื่อง “การแต่งหน้า”
น่ะ เราว่ามันดูลักลั่นยังไงไม่รู้ 555
คือเราว่าพอพูดถึงประเด็นอะไรแบบนี้
เราจะคิดถึงพล็อตประเภทที่ว่า “นิสิตสาวสองคน คนนึงทำตัวเป็นเด็กเรียน เรียบร้อย
น่ารัก อ่อนโยน อ่อนหวาน แต่งหน้าบางๆ ทำตัวนิสัยดี ชอบช่วยเหลือผู้คน กับนิสิตสาวอีกคน
แต่งหน้าจัด เหมือนมีโลหะหนักอยู่บนหน้าเธอ ปากร้าย ทำตัวกะหรี่
นอนกับนิสิตชายไปทั่ว แต่จริงๆแล้ว นิสิตสาวคนแรก เป็นคน fake ทำทุกอย่างเพื่อ “หวังเสียงชื่นชมจากผู้คน”
เป็นหลัก มากกว่าจะมีจิตใจดีงามจริงๆ ส่วนนิสิตสาวคนที่สองนั้น
ถึงเธอจะเงี่ยนผู้ชายมาก แต่จริงๆแล้วเธอไม่ได้คิดร้ายกับใครก่อน
เธอแค่ไม่ค่อยสนใจ “เสียงชื่นชมจากผู้คน” มากกว่า” อะไรแบบนี้ 555
คือถ้าจะนำเสนอประเด็นเรื่อง “อย่าตัดสินคนจากภาพลักษณ์ภายนอก” เราจะคิดถึงพล็อตอะไรแบบนี้มากกว่าน่ะ
แทนที่จะคิดถึงพล็อต “การแต่งหน้า”
7.เหมือนตอนดูหนังเรื่องนี้
จะรู้สึกว่าหนังมันสามารถพัฒนาตัวเองไปได้ใน 2 แนวทางคือ
7.1 เป็นหนังการเมือง เพราะถ้าหากปรับพลิกอะไรสักเล็กน้อย
มันจะเป็นหนังการเมืองที่สะท้อนว่า “ผู้ที่แสดงความเห็นแตกต่างจากคนอื่นๆ สามารถถูกจับเข้าคุกและตายในคุก”
ได้ เหมือนคดีหลายๆคดีที่พวกเรารู้ว่าเกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง
แต่หนังเรื่องนี้ก็เลือกที่จะไม่เป็น “หนังการเมือง”
ซึ่งก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีแล้ว เพราะถ้าทำแบบนั้น มันก็อาจจะไปซ้อนเหลื่อมกับ LOST IN YOU และ DAWNING
DOWN
7.2 เป็นหนังโลกอนาคตที่ดูสมจริงมากกว่านี้ แบบหนังอย่าง EQUALS (2015, Drake Doremus) ที่นำเสนอโลกอนาคตที่มีกฎประหลาดๆ และเป็นกฎที่สมควรถูกทำลายล้าง
ซึ่งความสมจริงในที่นี้
มันต้องมาจากบทภาพยนตร์ที่สามารถสร้างโลกอนาคตที่ดูมีความน่าเชื่อถือในแบบของมันนะ
ความสมจริงในที่นี้ไม่ได้มาจาก production design หรือการแสดงของนักแสดง
ซึ่งเราว่าจริงๆแล้วอะไรแบบนี้มันก็ยากมากแหละ เพราะบทภาพยนตร์มันต้องจินตนาการโลกขึ้นมาใหม่
จินตนาการกฎเกณฑ์ต่างๆในโลกใหม่ขึ้นมาหมดเลย แล้วต้องดูไม่ให้กฎเกณฑ์เหล่านี้มันขัดแข้งขัดขากันเอง
หรือดูอ่อนยวบมากเกินไป คืออย่าบิดเบือนกฎจนมันไม่สมจริงเพียงเพื่อให้เนื้อเรื่องที่หนังอยากจะเล่ามันดำเนินไปตามแนวทางที่วางไว้ล่วงหน้าได้
คือเหมือนกับว่าถ้าหากหนังที่อยากจะเล่าเรื่องในยุคปัจจุบัน
มันไม่ต้องจินตนาการอะไรแบบนี้น่ะ มันก็เล่าเรื่องที่อยากจะเล่าไปได้เลยท่ามกลางกฎเกณฑ์ในโลกแห่งความเป็นจริง
แต่เมื่อใดก็ตามที่เราอยากจะเล่าเรื่องราวในโลกอนาคต เราก็จะเผชิญความยากลำบากในการทำให้ผู้ชม
“เข้าใจ” และ “เชื่อถือ”
ในกฎเกณฑ์ของโลกอนาคตที่เราต้องจินตนาการขึ้นมาใหม่หมดด้วย
8.แต่เหมือนผู้ชมหลายคนที่เรารู้จัก จะชอบหนังเรื่องนี้อย่างมากๆนะ
เพราะฉะนั้นถึงแม้เราจะมีปัญหาอยู่บ้างกับหนังเรื่องนี้
แต่ก็คิดว่าหนังเรื่องนี้คงกลายสถานะเป็น หนัง cult ในใจผู้ชมหลายๆคนไปแล้วล่ะ
555
No comments:
Post a Comment