Tuesday, March 31, 2020

THAPPAD

SEVEN FAVORITE FILMS

DAY 6 – CONCERNING VIOLENCE (2014, Göran Hugo Olsson, Sweden, documentary)

เห็นประเทศ Guinea-Bissau มียอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั้งประเทศแค่ 2 คน ก็เลยทำให้สงสัยว่า เราเคยดูหนังเกี่ยวกับประเทศนี้บ้างหรือเปล่า พอลองค้นดูก็พบว่า เราเคยดูหนังสารคดีเรื่อง CONCERNING VIOLENCE ที่มีการนำฟุตเตจการเรียกร้องเอกราชในประเทศกินี-บิสเซามานำเสนอในหนังด้วย

 SEVEN FAVORITE FILMS

DAY 7 – CARLA’S SONG (1997, Ken Loach, UK)

เห็นประเทศนิคารากัวมียอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั้งประเทศแค่ 2 คน ก็เลยทำให้นึกถึงหนังเรื่อง CARLA’S SONG ที่มีนางเอกเป็นชาวนิคารากัว

ยกให้หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังอังกฤษที่ชอบที่สุดในชีวิตเลย เราได้ดูหนังเรื่องนี้ตอนมันมาฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง ประทับใจอย่างสุดๆ

BAAGHI 3 (2020, Ahmed Khan, India, F)

THE INVISIBLE MAN (2020, Leigh Whannell, A+30)

อยากได้ Aldis Hodge

MEDITATION PARK (2017, Mina Shum, Canada, A+30)

DESPERATELY SEEKING SUSAN (1985, Susan Seidelman, A+30)

ติดอันดับประจำปีแน่นอน

YELLOW IS FORBIDDEN (2018, Pietra Brettkelly, New Zealand, documentary,  A+30)

I AM (2005, Dorota Kedzierzawska, Poland, A+30)

THAPPAD (2020, Anubhav Sinha, India, A+30)

ชอบสุดๆ เหมือนตอนแรกเราจะไม่ได้เข้าข้างนางเอกมากนัก แต่หนังก็ค่อยๆทำให้เราเข้าใจเธอมากขึ้นเรื่อยๆในเวลาต่อมา

8 JAN – 14 JAN 1990


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 54
8 JAN – 14 JAN 1990

1. BREAKAWAY – Donna Summer

2. LA LUNA – Belinda Carlisle (New Entry)

3. GRAND PIANO – The Mixmaster (New Entry)

4. WALK ON BY – Sybil

5. WHATCHA GONNA DO WITH MY LOVIN’ – Inner City

6. WHEN YOU COME BACK TO ME – Jason Donovan

7. LISTEN TO YOUR HEART – Sonia

8. SINGLE AGAIN – Mariya Takeuchi (New Entry)

9. COMMENT TE DIRE ADIEU – Jimmy Somerville featuring June Miles Kingston

10. C’MON AND GET MY LOVE – D-Mob Introducing Cathy Dennis 

Monday, March 30, 2020

1 JAN – 7 JAN 1990


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 53
1 JAN – 7 JAN 1990

1. LISTEN TO YOUR HEART – Sonia

2.  HITOMIGA HOHOEMU KARA – Miki Imai

3. BREAKAWAY – Donna Summer (New Entry)

4. C’MON AND GET MY LOVE – D-Mob Introducing Cathy Dennis (New Entry)

5. COMMENT TE DIRE ADIEU – Jimmy Somerville featuring June Miles Kingston (New Entry)

6. WHATCHA GONNA DO WITH MY LOVIN’ – Inner City (New Entry)

7. WHEN YOU COME BACK TO ME – Jason Donovan (New Entry)

8. MOVE TO MOVE – Kon Kan (New Entry)

9. WALK ON BY – Sybil (New Entry)

10. JUST BETWEEN YOU AND ME – Lou Gramm (New Entry)

Sunday, March 29, 2020

THE DARKEST DAYS OF US

THE DARKEST DAYS OF US (2017, Astrid Rondero, Mexico, A+30)

FLESH AND SKIN (2018, Santi Taepanich, documentary, A+5)

DEAW DAN NAI (2020, Santi Taepanich, documentary, A+30)
เดี่ยวด้านใน

Saturday, March 28, 2020

24 DEC – 30 DEC 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 52
24 DEC – 30 DEC 1989

1. DEAR JESSIE – Madonna (New Entry)

2. LISTEN TO YOUR HEART – Sonia (New Entry)

3.FILM NO MUKOGAWA – Yoko Minamino (New Entry)

4. HERE WE ARE – Gloria Estefan (New Entry)

5. HEART – Neneh Cherry (New Entry)
ชอบมิวสิควิดีโอนี้อย่างสุดๆ

6. OPPOSITES ATTRACT – Paula Abdul/The Wild Pair (New Entry)

7. BACK TO LIFE – Soul II Soul

8. DANGEROUS – Roxette (New Entry)

9. ALL AROUND THE WORLD – Lisa Stansfield

10. EVERYTHING – Jody Watley (New Entry)

11. MOVE ON – Waterfront (New Entry)

12. HITOMIGA HOHOEMU KARA – Miki Imai

13. WE CAN’T GO WRONG – The Cover Girls (New Entry)

14. NEVER 2 MUCH OF U – Dino (New Entry)

15. TELL ME WHY – Exposé (New Entry)

Thursday, March 26, 2020

17 DEC – 23 DEC 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 51
17 DEC – 23 DEC 1989

1. HITOMIGA HOHOEMU KARA – Miki Imai (New Entry)
                                    
2. ALL AROUND THE WORLD – Lisa Stansfield

3. THIS ONE'S FOR THE CHILDREN  -- New Kids On The Block (New Entry)

4. CAN’T SHAKE THE FEELING – Big Fun (New Entry)

5. HOW AM I SUPPOSED TO LIVE WITHOUT YOU – Michael Bolton (New Entry)

6. JUST LIKE JESSE JAMES – Cher (New Entry)
ชอบเนื้อร้องที่ว่า “Come on baby show me what that loaded gun is for.” มากๆ 555

7.PRECIOUS HEART – Seiko Matsuda (New Entry)

8.GENKI WO DASHITE NE – Mariko (New Entry)

9. WHEN LOVE TAKES OVER YOU – Donna Summer (New Entry)

10. LITTLE ROCK – Rebecca (New Entry)

11. HEAVEN – Yuma Nakamura (New Entry)

12. WHAT KIND OF MAN WOULD I BE? – Chicago (New Entry)

13. GIRL I AM SEARCHING FOR YOU – Stevie B (New Entry)

14. WOMAN IN CHAINS – Tears For Fears (New Entry)

15. I THANK YOU – Adeva (New Entry)


Wednesday, March 25, 2020

UNDER THE EARTH


SEVEN FAVORITE FILMS

DAY 2 – UNDER THE EARTH (DEBAJO DEL MUNDO) (1987,
Beda Docampo Feijóo, Argentina/Czechoslovakia)

หนังที่สร้างจากเรื่องจริง เกี่ยวกับชาวยิวในโปแลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวยิวกลุ่มนี้ต้องขุดหลุมไปหลบอยู่ใต้ดินในช่วงสงคราม พวกเขาต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากมาก

ช่วงนี้เรามักจะคิดถึงหนังแนวนี้เพื่อปลอบใจตัวเอง คิดถึงชีวิตคนที่ประสบภัยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พยายามจะบอกตัวเองว่า ถ้าหากพวกเขาอยู่รอดมาได้จนผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่สอง เราก็ควรจะอยู่รอดได้เช่นกัน

หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาใกล้เคียงกับ MORITURI (1948, Eugen York, Germany) และ IN DARKNESS (2011, Agnieszka Holland) ที่พูดถึงชาวยิวในโปแลนด์ที่ซ่อนตัวในป่า หรือหลบอยู่ในท่อระบายน้ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

เราดู UNDER THE EARTH จากวิดีโอที่ซื้อจากร้าน AVS คิดถึงร้านนี้มากๆ

ลิงค์ข้างล่างนี้คือ DAY 1




Tuesday, March 24, 2020

DAY 1 – A VIRUS KNOWS NO MORALS (1986, Rosa von Praunheim, West Germany)


ได้รับคำเชิญจากคุณ Jumpol ให้โพสโปสเตอร์หนังที่ชื่นชอบเป็นเวลา  7 วัน แต่เนื่องจากเราไม่ถนัดเรื่องการจดจำโปสเตอร์หนัง เราก็เลยขอโพสเกี่ยวกับหนังที่ชื่นชอบแทนก็แล้วกัน

DAY 1 – A VIRUS KNOWS NO MORALS (1986, Rosa von Praunheim, West Germany)

เหตุการณ์ในช่วงนี้ทำให้นึกถึงชื่อหนังเรื่องนี้ตลอดเวลา เพราะ Virus มัน knows no morals จริงๆ

หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับการระบาดของโรคเอดส์ในยุคทศวรรษ 1980 เราเคยดูหนังเรื่องนี้ที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์ เราจำได้ว่า ตอนแรกเรานึกว่าเราดู trailer หนังอยู่ เพราะมันเป็นฉากสั้นๆ แรงๆ มาเรียงต่อๆกันไป ทุกอย่างไปเร็วมากๆๆๆ เหมือนกับเป็น trailer หนัง เราก็นั่งดูต่อไปเรื่อยๆ จนมันผ่านไปราว 15 นาทีแล้ว เราถึงเพิ่งสำเหนียกได้ว่า นี่เราไม่ได้ดู trailer หนังอยู่ หนังมันเล่าเรื่องของมันมานาน 15 นาทีแล้ว เพียงแต่สไตล์ของหนังมันปรู๊ดปร๊าด ฉับไว ขี้เยี่ยวแตกแบบนี้นี่แหละ

เราเคยดูหนังของ Rosa von Praunheim อีกสองเรื่อง ซึ่งก็คือ THE EINSTEIN OF SEX (1999) กับ QUEENS DON’T CRY (2002, documentary) ซึ่งสองเรื่องนี้ก็เล่าเรื่องด้วยจังหวะปกตินะ ไม่ได้ปรู๊ดปร๊าดแบบ A VIRUS KNOWS NO MORALS

Sunday, March 22, 2020

10 DEC – 16 DEC 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 50
10 DEC – 16 DEC 1989

1. ALL AROUND THE WORLD – Lisa Stansfield (New Entry)

2. NEVER TOO LATE – Kylie Minogue

3. WALTZ DARLING – Malcolm McLaren and the Bootzilla Orchestra (New Entry) ชอบมิวสิควิดีโอนี้อย่างรุนแรงมาก นึกว่าเป็นฉากหนึ่งจากหนังในจินตนาการของเรา

4. ANOTHER DAY IN PARADISE – Phil Collins (New Entry)

5.OPEN YOUR HEART – Mari Hamada (New Entry)

6. OH FATHER – Madonna (New Entry)
มิวสิควิดีโอนี้กำกับโดย David Fincher และถือเป็นหนึ่งในมิวสิควิดีโอที่ชอบที่สุดตลอดกาล

7. ONE NIGHT IN HEAVEN MAYONAKA NO ANGEL – Wink (New Entry)

8. I FEEL THE EARTH MOVE – Big Fun (New Entry)

9. LAMBADA – Kaoma (New Entry)

10. IF YOU LEAVE ME NOW – Jaya (New Entry)

11. I’M NOT THE MAN I USED TO BE – Fine Young Cannibals (New Entry)

12. LOVE ON TOP OF LOVE (KILLER KISS) – Grace Jones (New Entry)

13. GRINGO – Sabrina (New Entry)

14. RHYTHM NATION – Janet Jackson (New Entry)

15. LOVE SHACK – The B-52’s (New Entry)

Saturday, March 21, 2020

MELANCHOLIA DIARY


บันทึกชีวิตเรื่อยเปื่อย เพื่อระบายความเครียด

--WHAT A DIFFERENCE A WEEK MAKES! ภายในเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียว ชีวิตก็เหมือนพลิกจากหน้ามือเป็นหลังตีนในทันที ฮือๆๆๆ เมื่อวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ที่แล้ว เรายังพอจะมีความสุขอยู่บ้าง แต่ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 มี.ค.เป็นต้นมา เราก็ไม่อยากทำอะไรเลย นอกจากนอน-ตื่นมาทำงาน-นอน เพราะมีแค่การนอนหลับเท่านั้นที่จะช่วยให้เราไม่เครียดกับสิ่งที่เกิดขึ้น เหมือนตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นมา เรานอนหลับประมาณวันละ 8-12 ชั่วโมง จากเดิมที่เคยนอนแค่วันละ 6-7 ชั่วโมง

--ไม่รู้เหมือนกันว่าตัวเองจะรอดชีวิตจากวิกฤติโรคระบาดนี้ได้ไหม ตอนนี้สิ่งที่ตัวเองทำได้ก็คงมีแค่การจดบันทึกและระลึกถึง “ความสุขของชีวิตช่วงก่อนหน้านี้” เพราะเราไม่แน่ใจว่า โลกจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้หรือเปล่า, โลกจะต้องใช้เวลานานกี่ปี กว่าประชาชนจะออกมาเดินถนนได้เหมือนเดิม, เราจะรอดชีวิตหรือเปล่า, คนจะตายกี่คน, คนจะฆ่าตัวตายเพราะความยากจนกี่คน, เราจะเป็นหนึ่งในนั้นไหม

บางทีวิกฤตินี้อาจจะกินเวลานานหลายปี บางทีโลกอาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปหลังจากนั้น บางที “ความสุขของชีวิต” ในช่วงตั้งแต่เราเกิดมาจนถึงสองสัปดาห์แรกของเดือนมี.ค. 2020 อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่หวนคืนมาอีก เพราะโลกมันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

--ช่วงนี้นึกถึงแต่ MELANCHOLIA (2011, Lars von Trier)

--ได้ไปเยี่ยมแม่ครั้งสุดท้ายในวันที่ 22 ก.พ. และถ้าหากไม่มีโรคระบาด วันนี้เราคงได้ไปเยี่ยมแม่อีกครั้งแล้ว แต่พอมีโรคระบาด เราก็ไม่ไปดีกว่า เพราะแม่เราก็อายุ 80 กว่าปีแล้ว เรากลัวตัวเองเป็นพาหะแบบไม่รู้ตัว

ไม่รู้เหมือนกันว่าจะได้เจอหน้าแม่อีกครั้งเมื่อไหร่ ตอนนี้ก็ได้แต่โทรศัพท์คุยกันไปก่อน

--ได้ว่ายน้ำครั้งสุดท้ายในวันที่ 21 ก.พ. เรารักการว่ายน้ำมากๆ ถึงแม้เราจะว่ายน้ำช้ามากก็ตาม แต่ต้นปีนี้เราแทบไม่ได้ไปว่ายน้ำเลย เพราะมลพิษทางอากาศมันสูง เราก็เลยไม่กล้าไปว่าย แต่พอช่วงที่ค่ามลพิษมันลดลงมาบ้าง เราก็ไม่กล้าไปว่ายอีก เพราะตั้งแต่ช่วงกลางเดือนม.ค.เป็นต้นมา คนก็เริ่มกลัวเชื้อไวรัสโคโรนา แล้วเราจะมีอาการประจำตัวอย่างนึง นั่นก็คือหลังว่ายน้ำเสร็จ เราจะมีน้ำมูก (ไม่รู้มีคนอื่นที่มีอาการเป็นแบบเดียวกับเราหรือเปล่า) ซึ่งถ้าเป็นในช่วงก่อนๆหน้านี้ เราก็ไม่แคร์อะไร เพราะคนไม่ได้หวาดกลัวอะไรกัน แต่พอตั้งแต่กลางเดือนม.ค. เราก็เลยไม่ค่อยกล้าว่ายน้ำ เพราะพอเราว่ายน้ำเสร็จ เราจะมีน้ำมูก แล้วเราก็จะรู้สึกหวาดระแวงว่า เราจะถูกสังคมรังเกียจหรือเปล่า เราก็เลยไปว่ายน้ำน้อยครั้งมากในช่วงต้นปีนี้

หวังว่าเราจะมีชีวิตอยู่รอดจนถึงเวลาที่สระว่ายน้ำเปิดทำการอีกครั้ง

--ได้ไป fitness ครั้งสุดท้ายในวันศุกร์ที่ 13 มี.ค. เหมือนสัปดาห์นั้นเราได้ไป fitness 4 วันต่อสัปดาห์ ไม่นึกไม่ฝันว่า จะไม่ได้กลับไปอีกเป็นเวลานาน

หวังว่าเราจะมีชีวิตอยู่รอดจนถึงเวลาที่ fitness เปิดทำการอีกครั้ง

--ได้ดูหนังในโรงภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายในวันอาทิตย์ที่ 15 มี.ค. ซึ่งก็คือเรื่อง OSAMU TEZUKA’S METROPOLIS (2001, Rintaro, Japan, animation, A+30)

หวังว่าเราจะมีชีวิตอยู่รอดจนถึงเวลาที่โรงภาพยนตร์เปิดทำการอีกครั้ง

--ได้เมาท์มอยกับเพื่อนๆมหาลัยครั้งสุดท้ายในวันที่ 1 ม.ค., ได้เมาท์มอยกับเพื่อนๆมัธยมครั้งสุดท้ายในวันที่ 25 ม.ค., ได้เจอเพื่อนๆ cinephiles (กลุ่ม Kafe Lumiere) แบบแป๊บๆในวันที่ 16 ก.พ. แล้วหลังจากนั้นก็ไม่ได้มีโอกาสคุยยาวๆกันอีก

หวังว่าพวกเราจะได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง

Friday, March 20, 2020

THE SALT OF THE EARTH

THE SALT OF THE EARTH (2014, Juliano Ribeiro Salgado + Wim Wenders, documentary, A+30)

หนังงดงามมากๆ สะเทือนใจมากๆกับช่วงที่ Sebastiao Salgado ไปตามถ่ายภาพหลังสงครามกลางเมืองใน  Rwanda ในปี 1995-1998 แล้วเขารู้สึกว่า "มนุษยชาติไม่ควรจะอยู่รอดอีกต่อไป"

แต่ยังดีที่พอเขาได้มาทำงานปลูกป่าในบราซิล เขาก็รู้สึกกลับมามีความหวังในโลกมนุษย์อีกครั้ง

OPAL'S WORLD (2019) by Krissadank Intasorn ชอบงานนี้มากที่สุดในนิทรรศการ SPECTROSYNTHESIS II ชอบที่ "โลกภายใน" ของงานชิ้นนี้เป็นโลกของ Sailor Moon, หนัง horror และภูตผีปีศาจ

Monday, March 16, 2020

RIDDLES OF THE SPHINX

RIDDLES OF THE SPHINX (1977, Laura Mulvey, Peter Wollen, UK, A+30)

1.มีสิทธิติดอันดับหนึ่งประจำปีไปเลย ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป หนักมากๆ กราบขอบคุณผู้ที่นำหนังเรื่องนี้มาฉายในกรุงเทพ แล้วทำซับไตเติลภาษาไทยมาให้ด้วย เพราะเราว่าหนังเรื่องนี้มันน่าจะแปลซับไตเติลได้ยากมากๆ เพราะมันมีทั้งส่วนที่พูดถึงปรัชญายากๆ และส่วนที่คล้ายๆ stream of consciousness ไม่รู้ว่าใครเป็นคนแปลซับไตเติลภาษาไทยของหนังเรื่องนี้ แต่ต้องกราบเบญจางคประดิษฐ์จริงๆ

2.ชอบการผสมกันของส่วนต่างๆที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ มันช่วยให้หนังเรื่องนี้ติดค้างอยู่ในหัวของเราอย่างรุนแรง ในแง่นึงมันทำให้นึกถึงหนังของ Alexander Kluge แต่หนังเรื่องนี้ดูเป็นระบบระเบียบกว่าหนังของ Kluge

3.ชอบช่วงที่เป็นผู้หญิงเล่นกายกรรมมากๆ ไม่สามารถตีความอะไรได้อีกต่อไป

4.ช่วงที่ 4 ของหนังก็เนื้อหาดีมากๆ ที่เป็นเรื่องปัญหาของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่ต้องทำงานและเลี้ยงลูกเล็กไปด้วยพร้อมกัน ส่วนนี้ทำให้นึกถึงหนังหลายๆเรื่องของ Helke Sander โดยเฉพาะ A BONUS FOR IRENE (1971), THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY -- REDUPERS (1978) และ THE SUBJECTIVE FACTOR (1980) และทำให้นึกถึงหนังอย่าง THE LEFT-HANDED WOMAN (1978, Peter Handke) และ KIM JI-YOUNG: BORN 1982 (2019, Kim Do-Young) ด้วย

5.แต่ถึงแม้เนื้อหาหลักของ chapter 4 ของหนังเรื่องนี้จะคล้ายกับหนัง feminists หลายๆเรื่อง form ของหนังช่วงนี้ก็แปลกประหลาดพิสดารมากๆ และมันช่วยให้หนังน่าจดจำมากๆ โดยความแปลกประหลาดอย่างแรกก็คือการที่หนังถ่ายภาพโดยใช้กล้องหมุนวน 360 องศา แทนที่จะถ่ายเจาะไปที่ตัวละครแต่ละคน วิธีการแบบนี้ช่วยให้เราได้เห็น "สภาพแวดล้อม" ของชีวิตผู้หญิงในแต่ละฉากได้ดีสุดๆ

การหมุนวนของกล้องก็ประหลาดดี เหมือนช่วงครึ่งแรกของ chapter 4 กล้องจะวนขวาเป็นหลัก แต่พอถึงฉากที่นางเอกไปเยี่ยมผัวเก่าในที่ทำงาน กล้องจะเริ่มวนซ้าย

6.ความแปลกอีกอย่างของ chapter 4 คือการที่หนังใช้ voiceover ในหลายๆฉากเป็นการพูด "คำ" ต่างๆออกมา โดยไม่ได้เรียบเรียงมันให้เป็นประโยค ผู้ชมต้องแต่งประโยคในใจเอง หรือสร้างความหมายจากคำเหล่านั้นขึ้นมาเอง วิธีนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง AWARENESS (2014, Wachara Kanha) ด้วย

7.ความแปลกอีกอย่างก็คือ ในส่วนของ chapter 4 นั้นหนังเล่าเรื่องโดยใช้ text ด้วย แต่ผู้ชมจะได้เห็น text เพียงบางส่วนเท่านั้น อย่างเช่นเห็น text ที่เขียนว่า  "เป็นคนที่ช่วยเธอไว้ แต่เธอก็" คือผู้ชมจะไม่เห็นประโยคเต็มๆในหลายๆครั้ง และผู้ชมต้องต่อเติมเรื่องราวเอาเองจากเศษเสี้ยวของเหตุการณ์, ภาพ, เสียงพูด และ text ที่ผู้ชมได้รับรู้

8.ชอบปริศนาในหนังมากๆ ถ้าจำไม่ผิด สฟิงซ์จะพูดกับนางเอกในความฝันว่า “ทุนนิยม”, “เรือนร่าง” และ “เชื่องช้า” ซึ่งไม่รู้ว่าหมายความว่าอะไร

9.ชอบฉากที่ลูกอายุราว 2 ขวบของนางเอกพยายามป้อนอาหารให้ตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆมากๆ เหมือนเราเห็นตัวเองในฉากนั้น เพราะเราก็มีความสุขกํบความพยายามจะป้อนอาหารให้ตุ๊กตาหมีเหมือนกัน ถึงแม้เราจะรู้ว่าตุ๊กตาหมีไม่สามารถกินมันได้ก็ตาม 555 (สรุปว่าสภาพจิตเราเหมือนกับเด็ก 2 ขวบ)

Saturday, March 14, 2020

VIRIDIANA

LITTLE MISS PERIOD (2019, Shunsuke Shinada, Japan, A+25)

1.Ren Sudo หล่อน่ารักมาก

2.ประเด็นของหนังน่าสนใจดี เพราะเราไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้เลย เหมือนหนังช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจของเราในเรื่องประจำเดือน

3.แต่สงสัยมากๆว่า ทำไมมีแค่ตัวละครผู้ชายที่ถูกรบกวนด้วย sex drive ผู้หญิงไม่ถูกรบกวนด้วย sex drive บ้างเหรอ

 VIRIDIANA (1961, Luis Buñuel, Spain, A+30)

เหมือนบุนเยลพยายามสร้างความสมดุลให้กับหนังของตัวเอง 555 เพราะก่อนหน้านี้เขาทำ NAZARIN (1959, Mexico) ที่นำเสนอตัวละครนักบุญเคร่งศาสนาในแง่ดี ดูน่าเลื่อมใส เป็น hero มากๆ แต่ปรากฏว่าใน VIRIDIANA นั้น หญิงสาวใจบุญเคร่งศาสนากลับถูกนำเสนอในแง่ที่น่าสงสัยว่า ความใจบุญของเธอนั้น naïve เกินไปหรือเปล่า โง่เกินไปหรือเปล่า

ดู VIRIDIANA แล้วนึกถึง BAANOO (THE LADY) (1992, Dariush Mehrjui, Iran) ด้วย เพราะ BAANOO เล่าเรื่องของหญิงร่ำรวยที่ใจบุญสุนทาน รับเอาคนจนเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน ก่อนที่เธอจะเผชิญกับความเหี้ยห่าต่างๆตามมามากมาย

 HEAD-ON (2004, Fatih Akin, Germany/Turkey, A+30)

ชอบนางเอกในหนังของ Fatih Akin เราชอบนางเอกของ HEAD-ON กับ IN JULY (2000, Fatih Akin) มากๆ เพราะนางเอกของหนังสองเรื่องนี้มีความต้องการผู้ชายอย่างเปิดเผย 55555 และชอบนางเอกของ IN THE FADE (2017, Fatih Akin) มากๆ เพราะนางเอกของเรื่องนี้มีความเป็น “เจ้าแม่กาลี” อยู่ในตัว

LUPIN III: THE FIRST (2019, Takashi Yamazaki, Japan, animation, A+15)

 รู้สึกว่าหนังสนุกปานกลาง ดูแล้วนึกถึงหนังชุด INDIANA JONES และ TIME RAIDERS (2016, Daniel Lee, China)

WHERE ECHOES NEVER END (2020, Piyarat Piyapongwiwat, video installation)

 ชอบการผสมเรื่องต่างๆเข้าด้วยกัน ทั้งชนชั้นแรงงาน, เขมรแดง, 6 ต.ค. 2519 และการจับกุมคุมขังผู้เห็นต่างในไทยในยุคนี้

CODE 8 (2019, Jeff Chan, Canada, A+10)

ชอบไอเดียตั้งต้นของมัน ที่เปรียบเทียบกรรมกร/คนต่างด้าวว่าเป็น กึ่งๆ superhero หรือเป็นคนที่มีพลังพิเศษ เพราะบางคนยกของหนักมากๆได้, โยนรับของได้ด้วยความชำนาญ, ทำงานเสี่ยงภัยได้

แต่เสียดายที่หนังไม่สามารถพัฒนาจากไอเดียตั้งต้น ให้กลายเป็นหนังที่สนุก ตื่นเต้น ลุ้นระทึก บันเทิงได้ ซึ่งตรงข้ามกับหนังอย่าง FREAKS (2018, Zach Lipovsky, Adam B. Stein, Canada) ที่สามารถขมวดอารมณ์ผู้ชมให้ลุ้นระทึกสุดขีดได้ในช่วงท้ายของหนัง

เราว่าปัญหาของ CODE 8 คล้ายๆกับปัญหาของหนังอย่าง ELYSIUM (2013, Neill Blomkamp) น่ะ เพราะ ELYSIUM น่าจะต้องการพูดถึงปัญหาในระบบประกันสุขภาพของสหรัฐ มันเป็นหนังที่ต้องการส่งสารทางสังคมคล้ายๆกับ CODE 8 แต่มันทำออกมาไม่สนุกหรือลุ่มลึกแต่อย่างใด




Thursday, March 12, 2020

THREE SISTERS WANG BING

THREE SISTERS (2012, Wang Bing, China, documentary, A+30)

 ฉากที่เด็กผู้หญิงข้างบ้านมาหาเรื่องตัวพี่สาวคนโตนี่หนักมากๆ นี่ยังดีนะที่มีทีมงานถ่ายทำสารคดีอยู่ตรงนั้น เราเดาว่า ถ้าหากไม่มีทีมงานสารคดีอยู่ตรงนั้น มีสิทธิเด็กหญิงสองคนนี้ตบกันแหลกไปแล้ว

 THE CLOSET (2020, Kim Kwang-bin, South Korea, A+15)

1.ฉากเปิดเรื่องมันคล้ายกับ 0.0 MHZ (2019, Yoo Sun-dong, South Korea) มากๆ จนเรานึกว่าโรงหนังฉายหนังผิดเรื่อง 55555 เพราะมันเปิดเรื่องด้วยฉากวิดีโอเก่าๆที่บันทึกภาพพิธีทรงเจ้าเข้าผีคล้ายๆกัน

2.ดูแล้วนึกถึง INNOCENT CURSE (2017, Takashi Shimizu, Japan) กับ THE CLOCK: SPIRITS AWAKENING (2019, Leak Lyda, Cambodia) มากๆ เพราะหนังทั้ง 3 เรื่องนี้พูดถึงภูติผีปีศาจกับเด็กน้อยที่มีปัญหาครอบครัวเหมือนๆกัน โดยปีศาจใน THE CLOSET กับ INNOCENT CURSE เจาะจงเล่นงานเด็กๆกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ส่วนปีศาจใน THE CLOCK ไม่ได้เจาะจงเล่นงานเด็กๆกลุ่มนี้ เพียงแต่ว่าเหยื่อรายล่าสุดเป็นเด็กหญิงที่ถูกแม่เลี้ยงตบตี และหนังเหมือนจะบอกว่าการที่เด็กไม่ได้รับความอบอุ่นแบบนี้เปิดทางให้ปีศาจเข้ามาครอบงำได้ง่ายขึ้น

เราชอบ THE CLOSET กับ INNOCENT CURSE ในระดับใกล้เคียงกัน เราว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้สนุกปานกลาง ส่วน THE CLOCK น่าเบื่อมาก

3.ดูแล้วเหมือน THE CLOSET จะเป็นการอุปมาในแบบนึงนะ เพราะเด็กๆที่ถูกปีศาจดูดเข้าตู้ไปแบบในหนัง ในแง่นึงอาจจะคล้ายๆกับ “เด็กที่หนีออกจากบ้าน” หรือ “เด็กที่อยู่ในบ้านเดิมต่อไป แต่กลายเป็นอันธพาล กลายเป็นเด็กเลว ไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป” เหมือนๆกับว่าการที่พ่อแม่รังแกเด็ก ได้ฆ่า “เด็กตี” ในตัวเด็กแต่ละคนไปแล้ว

4.ชอบเมืองผีในหนังมากๆ มันคล้ายๆกับ INSIDIOUS (2010, James Wan) และเราก็ชอบโลกวิญญาณใน INSIDIOUS อยู่แล้ว เพราะเราว่าโลกวิญญาณใน INSIDIOUS มันคล้ายคลึงกับสิ่งที่เราเห็นในความฝันในบางคืนของเรา

เราก็เลยชอบเมืองผีใน THE CLOSET มากๆ เราว่ามันเป็นโลกที่น่าเข้าไปผจญภัยในนั้นมากๆ อยากเข้าไปเดินแบบในเมืองผีแบบนี้มากๆ

THE MAN WHO MENDS WOMEN: THE WRATH OF HIPPOCRATES (2015, Thierry Michel, Belgium, documentary, A+30)

1.ยกให้เป็นหนังที่มีเนื้อหาโหดร้ายที่สุดเท่าที่เคยดูมาในรอบหลายเดือน

2.หนังเหมือนเป็นภาค 3 ต่อจาก HOTEL RWANDA (2004, Terry George, UK) และ THE SALT OF THE EARTH (2014, Wim Wenders, Juliano Ribeiro Salgado, documentary) เพราะ  HOTEL RWANDA เล่าถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาในช่วงกลางทศวรรษ 1990 , THE SALT OF THE EARTH เล่าถึงช่วงเวลา 2-3 ปีหลังสงครามรวันดาสิ้นสุด และชาวฮูตูหนีเข้าไปอยู่ในคองโก ส่วน THE MAN WHO MENDS WOMEN  แสดงให้เห็นว่า ในช่วงราว 20 ปีต่อมา (1995-2015) ผู้อพยพชาวฮูตูเหล่านี้ได้ฆ่าและข่มขืนชาวคองโกอย่างโหดร้ายทารุณเป็นจำนวนมาก และทหาร+ตำรวจ+ผู้ชายคองโกเองก็ดูเหมือนจะข่มขืนผู้หญิงจำนวนมากเช่นกัน