Saturday, March 14, 2020

VIRIDIANA

LITTLE MISS PERIOD (2019, Shunsuke Shinada, Japan, A+25)

1.Ren Sudo หล่อน่ารักมาก

2.ประเด็นของหนังน่าสนใจดี เพราะเราไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้เลย เหมือนหนังช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจของเราในเรื่องประจำเดือน

3.แต่สงสัยมากๆว่า ทำไมมีแค่ตัวละครผู้ชายที่ถูกรบกวนด้วย sex drive ผู้หญิงไม่ถูกรบกวนด้วย sex drive บ้างเหรอ

 VIRIDIANA (1961, Luis Buñuel, Spain, A+30)

เหมือนบุนเยลพยายามสร้างความสมดุลให้กับหนังของตัวเอง 555 เพราะก่อนหน้านี้เขาทำ NAZARIN (1959, Mexico) ที่นำเสนอตัวละครนักบุญเคร่งศาสนาในแง่ดี ดูน่าเลื่อมใส เป็น hero มากๆ แต่ปรากฏว่าใน VIRIDIANA นั้น หญิงสาวใจบุญเคร่งศาสนากลับถูกนำเสนอในแง่ที่น่าสงสัยว่า ความใจบุญของเธอนั้น naïve เกินไปหรือเปล่า โง่เกินไปหรือเปล่า

ดู VIRIDIANA แล้วนึกถึง BAANOO (THE LADY) (1992, Dariush Mehrjui, Iran) ด้วย เพราะ BAANOO เล่าเรื่องของหญิงร่ำรวยที่ใจบุญสุนทาน รับเอาคนจนเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน ก่อนที่เธอจะเผชิญกับความเหี้ยห่าต่างๆตามมามากมาย

 HEAD-ON (2004, Fatih Akin, Germany/Turkey, A+30)

ชอบนางเอกในหนังของ Fatih Akin เราชอบนางเอกของ HEAD-ON กับ IN JULY (2000, Fatih Akin) มากๆ เพราะนางเอกของหนังสองเรื่องนี้มีความต้องการผู้ชายอย่างเปิดเผย 55555 และชอบนางเอกของ IN THE FADE (2017, Fatih Akin) มากๆ เพราะนางเอกของเรื่องนี้มีความเป็น “เจ้าแม่กาลี” อยู่ในตัว

LUPIN III: THE FIRST (2019, Takashi Yamazaki, Japan, animation, A+15)

 รู้สึกว่าหนังสนุกปานกลาง ดูแล้วนึกถึงหนังชุด INDIANA JONES และ TIME RAIDERS (2016, Daniel Lee, China)

WHERE ECHOES NEVER END (2020, Piyarat Piyapongwiwat, video installation)

 ชอบการผสมเรื่องต่างๆเข้าด้วยกัน ทั้งชนชั้นแรงงาน, เขมรแดง, 6 ต.ค. 2519 และการจับกุมคุมขังผู้เห็นต่างในไทยในยุคนี้

CODE 8 (2019, Jeff Chan, Canada, A+10)

ชอบไอเดียตั้งต้นของมัน ที่เปรียบเทียบกรรมกร/คนต่างด้าวว่าเป็น กึ่งๆ superhero หรือเป็นคนที่มีพลังพิเศษ เพราะบางคนยกของหนักมากๆได้, โยนรับของได้ด้วยความชำนาญ, ทำงานเสี่ยงภัยได้

แต่เสียดายที่หนังไม่สามารถพัฒนาจากไอเดียตั้งต้น ให้กลายเป็นหนังที่สนุก ตื่นเต้น ลุ้นระทึก บันเทิงได้ ซึ่งตรงข้ามกับหนังอย่าง FREAKS (2018, Zach Lipovsky, Adam B. Stein, Canada) ที่สามารถขมวดอารมณ์ผู้ชมให้ลุ้นระทึกสุดขีดได้ในช่วงท้ายของหนัง

เราว่าปัญหาของ CODE 8 คล้ายๆกับปัญหาของหนังอย่าง ELYSIUM (2013, Neill Blomkamp) น่ะ เพราะ ELYSIUM น่าจะต้องการพูดถึงปัญหาในระบบประกันสุขภาพของสหรัฐ มันเป็นหนังที่ต้องการส่งสารทางสังคมคล้ายๆกับ CODE 8 แต่มันทำออกมาไม่สนุกหรือลุ่มลึกแต่อย่างใด




No comments: