Monday, March 16, 2020

RIDDLES OF THE SPHINX

RIDDLES OF THE SPHINX (1977, Laura Mulvey, Peter Wollen, UK, A+30)

1.มีสิทธิติดอันดับหนึ่งประจำปีไปเลย ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป หนักมากๆ กราบขอบคุณผู้ที่นำหนังเรื่องนี้มาฉายในกรุงเทพ แล้วทำซับไตเติลภาษาไทยมาให้ด้วย เพราะเราว่าหนังเรื่องนี้มันน่าจะแปลซับไตเติลได้ยากมากๆ เพราะมันมีทั้งส่วนที่พูดถึงปรัชญายากๆ และส่วนที่คล้ายๆ stream of consciousness ไม่รู้ว่าใครเป็นคนแปลซับไตเติลภาษาไทยของหนังเรื่องนี้ แต่ต้องกราบเบญจางคประดิษฐ์จริงๆ

2.ชอบการผสมกันของส่วนต่างๆที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ มันช่วยให้หนังเรื่องนี้ติดค้างอยู่ในหัวของเราอย่างรุนแรง ในแง่นึงมันทำให้นึกถึงหนังของ Alexander Kluge แต่หนังเรื่องนี้ดูเป็นระบบระเบียบกว่าหนังของ Kluge

3.ชอบช่วงที่เป็นผู้หญิงเล่นกายกรรมมากๆ ไม่สามารถตีความอะไรได้อีกต่อไป

4.ช่วงที่ 4 ของหนังก็เนื้อหาดีมากๆ ที่เป็นเรื่องปัญหาของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่ต้องทำงานและเลี้ยงลูกเล็กไปด้วยพร้อมกัน ส่วนนี้ทำให้นึกถึงหนังหลายๆเรื่องของ Helke Sander โดยเฉพาะ A BONUS FOR IRENE (1971), THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY -- REDUPERS (1978) และ THE SUBJECTIVE FACTOR (1980) และทำให้นึกถึงหนังอย่าง THE LEFT-HANDED WOMAN (1978, Peter Handke) และ KIM JI-YOUNG: BORN 1982 (2019, Kim Do-Young) ด้วย

5.แต่ถึงแม้เนื้อหาหลักของ chapter 4 ของหนังเรื่องนี้จะคล้ายกับหนัง feminists หลายๆเรื่อง form ของหนังช่วงนี้ก็แปลกประหลาดพิสดารมากๆ และมันช่วยให้หนังน่าจดจำมากๆ โดยความแปลกประหลาดอย่างแรกก็คือการที่หนังถ่ายภาพโดยใช้กล้องหมุนวน 360 องศา แทนที่จะถ่ายเจาะไปที่ตัวละครแต่ละคน วิธีการแบบนี้ช่วยให้เราได้เห็น "สภาพแวดล้อม" ของชีวิตผู้หญิงในแต่ละฉากได้ดีสุดๆ

การหมุนวนของกล้องก็ประหลาดดี เหมือนช่วงครึ่งแรกของ chapter 4 กล้องจะวนขวาเป็นหลัก แต่พอถึงฉากที่นางเอกไปเยี่ยมผัวเก่าในที่ทำงาน กล้องจะเริ่มวนซ้าย

6.ความแปลกอีกอย่างของ chapter 4 คือการที่หนังใช้ voiceover ในหลายๆฉากเป็นการพูด "คำ" ต่างๆออกมา โดยไม่ได้เรียบเรียงมันให้เป็นประโยค ผู้ชมต้องแต่งประโยคในใจเอง หรือสร้างความหมายจากคำเหล่านั้นขึ้นมาเอง วิธีนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง AWARENESS (2014, Wachara Kanha) ด้วย

7.ความแปลกอีกอย่างก็คือ ในส่วนของ chapter 4 นั้นหนังเล่าเรื่องโดยใช้ text ด้วย แต่ผู้ชมจะได้เห็น text เพียงบางส่วนเท่านั้น อย่างเช่นเห็น text ที่เขียนว่า  "เป็นคนที่ช่วยเธอไว้ แต่เธอก็" คือผู้ชมจะไม่เห็นประโยคเต็มๆในหลายๆครั้ง และผู้ชมต้องต่อเติมเรื่องราวเอาเองจากเศษเสี้ยวของเหตุการณ์, ภาพ, เสียงพูด และ text ที่ผู้ชมได้รับรู้

8.ชอบปริศนาในหนังมากๆ ถ้าจำไม่ผิด สฟิงซ์จะพูดกับนางเอกในความฝันว่า “ทุนนิยม”, “เรือนร่าง” และ “เชื่องช้า” ซึ่งไม่รู้ว่าหมายความว่าอะไร

9.ชอบฉากที่ลูกอายุราว 2 ขวบของนางเอกพยายามป้อนอาหารให้ตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆมากๆ เหมือนเราเห็นตัวเองในฉากนั้น เพราะเราก็มีความสุขกํบความพยายามจะป้อนอาหารให้ตุ๊กตาหมีเหมือนกัน ถึงแม้เราจะรู้ว่าตุ๊กตาหมีไม่สามารถกินมันได้ก็ตาม 555 (สรุปว่าสภาพจิตเราเหมือนกับเด็ก 2 ขวบ)

No comments: