Monday, July 27, 2020

ASHMINA

ASHMINA (2018, Dekel Berenson, Nepal, 15min, A+30)

 One of my most favorite films I saw this year นึกว่าเธอมาเพื่อปะทะกับเวฬุรีย์ จาก "เพลิงพ่าย" ชอบสุดๆที่เธอเริ่มจากการเป็น "เด็กหญิงผู้น่าสงสารที่ต้องการกินไอติม" และกลายเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของฆาตกรโรคจิตในตอนจบ

HI, A.I. (2019, Isa Willinger, Germany, documentary, 87min, A+30)

รูปไม่ได้มาจากหนังเรื่องนี้นะ 555

พอดูหนังเรื่องนี้ ซึ่งเป็นสารคดีเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการสร้างหุ่นยนต์ เราก็เลยมั่นใจว่า ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ต้องมีการผลิต "ผัว robot" ออกมาวางขายอย่างแพร่หลายแน่ๆ และลูกค้าคงกำหนดขยาดความยาวขององคาพยพต่างๆในตัว robot ได้ตามใจชอบ

เพราะฉะนั้นตอนนี้ดิฉันต้องเก็บเงินค่ะ ในอนาคตจะได้มีเงินซื้อ "ผัว robot" เอาแค่ 9 ตัวก็พอแล้ว บอกให้เขาผลิตออกมาตามรูปร่างหน้าตาแบบในรูปนี้ 555

แล้วในอนาคต ถ้าพวกคุณกดสั่งซื้อผัว robot จาก lazada หรือ shopee ได้ตามใจชอบ พวกคุณอยากได้ผัว robot รูปร่างหน้าตาแบบไหนคะ แล้วอยากได้ specifications อะไรบ้าง

MTHUNZI (2019, Tebogo Malebogo, South Africa, 8min, A+25)

MONSIEUR PIGEON (2019, Antonio Prata, Switzerland, documentary, 56min, A+25)

WE HAVE BOOTS (2020, Evans Chan, Hong Kong, documentary, 130min, A+30)

THE YEAR WITHOUT A SUMMER (2020, Elise Rasmussen, Switzerland, 20min, A+30)

1.ชอบการเชื่อมโยงกันระหว่างอินโดนีเซียกับสวิตเซอร์แลนด์มากๆ นึกว่า "เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว"  ไม่นึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียเมื่อ 200 ปีก่อน จะส่งผลกระทบมาถึงสวิส และส่งผลมาถึงปัจจุบันผ่านทางนิยายเรื่อง FRANKENSTEIN

2.เหมาะฉายควบกับ GOTHIC (1986, Ken Russell) มากๆ เพราะ GOTHIC ก็เล่าถึงเหตุการณ์การปะทะกันของนักเขียนชื่อดังในตอนนั้นเหมือนกัน

3.เสียดายที่หนังพูดอังกฤษ แต่ไม่มีซับอังกฤษ พอเราต้องฟังเอง ก็พบว่าตามทันแค่ราว 20-30 %

HOW DO YOU SPELL CAPITALISM? (2019, Lars Karl Becker, Germany, 18min, A+30)

เหมือนปีนี้เทศกาล Signes de Nuit มีหนังแนวที่เราขอเรียกว่าแนว " Alexander Kluge" หลายเรื่อง นั่นก็คือหนังที่เอาสิ่งต่างๆที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันมาปะทะกัน และหนังกลุ่มนี้จะ thought provoking มากๆ ในการกระตุ้นให้ผู้ชมพยายามหาทางเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ นึกว่าแบบทดสอบไอคิว

หนังเรื่องนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น เหมือนเสียงบรรยายของหนังจะพูดถึงอาณาจักรโรม, เปอร์เชีย แต่ภาพของหนังจะเป็นคลิปจากหนัง Hollywood แนวแอคชั่นที่ใช้ฉากในแกลเลอรี่หรือ museum

FILMORGH or ELEPHANT-BIRD (2018, Masoud Soheili, Afghanistan, 15min, A+25)

1.นึกถึง " 1-2-3 ด่วนมหาภัย" (1977, Narongpoomin, Winai Wisetsiri) มากๆ

2.เหมือนเป็นหนัง comedy ที่ตอนจบเศร้าสะเทือนใจมากๆ ชอบมากที่ผู้ชมที่นั่งแถวหลังก็คุยกันว่ารู้สึกเศร้ามากๆกับตอนจบเหมือนกัน

I HAD TO BURY CUCU (2018, Philippa Ndisi-Herrmann, Kenya, 13min, A+30)

THE MANILA LOVER (2019, Pyykko Johanna, Norway/Philippines, 26min, A+30)

นึกถึง FORCE  MAJEURE (2014, Ruben Ostlund) ที่เล่นกับความไม่มั่นใจของเพศชาย เมื่อพระเอกพบว่าตนเองไม่สามารถรักษาภาพลักษณ์แบบแมนๆเอาไว้ได้ แต่หนังเรื่อง MANILA LOVER นี้เน้นไปที่ภาพลักษณ์ของเชื้อชาติด้วย เพราะพระเอกของหนังเหมือนมองว่าตนเองเป็น "ชายสแกนดิเนเวียน" เพราะฉะนั้นตนเองต้องเป็นฝ่ายที่รวย และมีเงินหาเลี้ยง "สาวเอเชีย"   แต่เขาจะทำอย่างไรเมื่อเขาถังแตก และเจอกับหญิงสาวที่จริงๆแล้วเหมือนหลุดมาจากคนในแวดวง CRAZY RICH ASIANS

ชอบที่หนังลงลึกไปที่จิตวิทยาของผู้ชายกลุ่มนี้ เพราะถ้าหากเราเป็นพระเอก แล้วพบว่าสาวคนรักรวย เราก็คงยิ้ม มีความสุข ไม่มีความทุกข์ กังวลใจใดๆ แต่พระเอกพอพบว่าตนเองไม่สามารถรักษาภาพลักษณ์ได้ เขาก็เลยจิตแตก

MY OWN LANSCAPES (2020, Antoine Chapon, France, A+30)

BURA (2019, Junjung Eden, Indonesia, 12min, A+30)

นึกถึงความเชื่อเรื่อง "ผีปอบ" และความรุนแรงเชิงโครงสร้างในชนบทไทย

ELECTRIC SWAN (2019, Konstantina Kotzamani, France/Greece/ Argentina, 40min, A+30)

magic มาก

No comments: