Thursday, December 09, 2021

HOR TAEW TAEK 8 (2021, Poj Arnon, A+30)

 

HOR TAEW TAEK 8 (2021, Poj Arnon, A+30)
หอแต๋วแตก แหกโควิดปังปุริเย่

1. น่าจะเป็นหนังของพชร์ อานนท์ที่เราชอบมากที่สุดนะ เพราะเราชอบหนังที่มีตัวละครแรง ๆ หลายตัวมาปะทะกันน่ะ เพราะฉะนั้นภาคนี้ก็เลยเข้าทางเรามากที่สุด ตัดสินไม่ได้ว่าใครหนักกว่ากัน ทั้งพระมหาเทวีจ้าว, สิตางค์, เจ๊แต๋ว, แพนเค้ก, อีพะยูน และอีตัวประกอบแต่ละตัวก็กินกันไม่ลง ทั้งอีบัวลื่น, อีบัวไหล, แก๊ง power puff gays,  ไบรท์+วิน สรุปว่า อีสองสาวแก้ม + วิชญาณีคือปกติที่สุดแล้ว คืออีสองสาวนี่อาจจะดูประสาทแดกที่สุดถ้าไปอยู่ในหนังเรื่องอื่น แต่พอมาอยู่ในหนังเรื่องนี้พวกเธอกลายเป็นปกติที่สุด

2.ชอบที่หนังเหมือนไม่มี "พระเอก" หรือ "นางเอก" แบบหนังทั่วไป

3. ชอบมุกตอนตรวจโควิดมาก ๆ ที่เจ๊แต๋วถามสิตางค์ว่า

"เธอเป็นใช่มั้ย"

(เราก็นึกว่าถามว่า เป็นโควิดใช่มั้ย
)

 

สิตางค์: เป็น LGBTQ เหรอคะ

เจ๊แต๋ว: เธอน่ะ เป็นคนใช่มั้ย

 

4.อยากให้มีคนเขียน “ตำราเชิงอรรถหอแต๋วแตก” เพื่อบันทึกอย่างละเอียดว่า แต่ละคำพูด, แต่ละบทสนทนา, แต่ละฉาก, แต่ละดารารับเชิญ ในแต่ละภาค เป็นการพาดพิงถึงสิ่งใดหรือกระแสใดในสังคมในยุคนั้น ๆ  และกระแสดังกล่าวมีที่มาที่ไปอย่างไร คือแค่ภาค 8 ภาคเดียวนี่น่าจะมีการทำเชิงอรรถได้กว่า 100 หัวข้อได้แล้วมั้ง และถ้ารวมกันทั้ง 8 ภาคนี่น่าจะทำเป็นตำราได้ 55555

 

นึกถึงตอนที่เราไปดู LE PETIT SOLDAT (1963, Jean-Luc Godard, A+30) รอบสามที่ Alliance แล้วเราเอาสมุดโน้ตเข้าไปนั่งจดรายชื่อต่าง ๆ ที่ถูกพาดพิงถึงในหนังเรื่องนี้ คือ LE PETIT SOLDAT มันเกี่ยวข้องกับสงครามแอลจีเรีย-ฝรั่งเศสในยุคนั้น และในหนังมันมีการพาดพิงถึงบุคคลต่าง ๆ, กลุ่มเหี้ยห่าต่าง ๆ ที่มีตัวตนจริงเยอะมากในยุคนั้น แต่เราไม่มีพื้นฐานความรู้เรื่องพวกนี้เลย เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูสองรอบแรก เราก็เลยงง ๆ แต่พอดูรอบสาม กูเลยเอาสมุดเข้าไปนั่งจดชื่อต่าง ๆ ที่ถูกพาดพิงถึงในหนังเลย แล้วค่อยเอาแต่ละชื่อที่จดไว้มา google หาความรู้เพิ่มเติมจาก internet จะได้เข้าใจหนังมากขึ้น

 

เราก็เลยชอบ LE PETIT SOLDAT และหนังบางเรื่องของ Godard อย่างสุด ๆ เพราะมันเหมือนกระตุ้นให้เราไปหาความรู้เพิ่มเติมเยอะมาก โดยใช้อะไรต่าง ๆ ที่ถูกพาดพิงถึงในหนังเป็นลายแทงในการไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติม คือเอาง่าย ๆ แค่หนังเรื่อง THANKS FROM JEAN-LUC GODARD TO HIS HONORARY SWISS FILM PRIZE (2015, Jean-Luc Godard) ที่มีความยาวแค่ 5 นาทีนี่ก็เต็มไปด้วยรายชื่อต่าง ๆ ที่ถูกพาดพิงและกระตุ้นให้ไปหาความรู้เพิ่มเติมเยอะมาก ๆ แล้ว เพราะเราไม่มีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสวิตเซอร์แลนด์มาก่อน

 

เพราะฉะนั้นเวลาเราดูหนังของ Godard บางเรื่อง เราก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นหนังที่เต็มไปด้วย “เชิงอรรถ” (ที่อยู่นอกหนัง) เยอะมาก ๆ และคิดว่าบางทีหนังอย่างหอแต๋วแตกและหนังเรื่องอื่นๆ บางเรื่องของพชร์ อานนท์ ก็อาจจะต้องการ “ตำราเชิงอรรถ” มาประกอบไว้ด้วยเช่นกัน เผื่อสำหรับผู้ชมในอนาคตที่ไม่ทันกระแสสังคมต่าง ๆ เหล่านี้ หรือเผื่อสำหรับผู้ชมต่างชาติเวลามาดูหนังเหล่านี้ จะได้เข้าใจหนังหอแต๋วแตกมากขึ้น หรือไม่งั้นก็ต้องใส่เชิงอรรถผ่านทางการทำ video commentary แทน 55555

 

5.เรียงลำดับความชอบของหอแต๋วแตก

 

5.1 ภาค 8

5.2 ภาค 2

5.3 ภาค 1

5.4 ภาค 3

5.5 ภาค 6

5.6 ภาค 4, 5, 7 ชอบในระดับพอ ๆ กัน

No comments: