พอดีมีเพื่อนคนนึงถามว่า ช่วงปี 1989 มีละครญี่ปุ่นเข้ามาฉายทางโทรทัศน์ในไทยเยอะหรือเปล่า
เราก็เลยตอบไปตามนี้ และก็เลยถือโอกาสเอามาแปะในนี้ด้วยแล้วกัน
“น่าจะไม่เยอะนะ 555 เหมือนช่วงปลายทศวรรษ 1980
เราก็จำได้ว่าได้ดูละครญี่ปุ่นหลัก ๆ แค่ 2 เรื่องมั้ง ซึ่งก็คือ “สิงห์สาวนักสืบ”
ทั้ง 3 ภาค และละครชีวิตตำรวจสาวที่นำแสดงโดย Maiko Ito ที่ฉายทางช่อง
5 ช่วงบ่าย ๆ วันเสาร์
ถ้าจำไม่ผิด ช่วงต้นทศวรรษ 1980 ละครญี่ปุ่นเข้ามาฉายในไทยเยอะกว่านั้นมาก
ทั้ง
1.ละครแนวกีฬาที่ผลิตในทศวรรษ 1970 แต่เข้ามาฉายในไทยในทศวรรษ 1980 ทั้งยอดหญิงชิงโอลิมปิก,
เงือกสาวจ้าวสระ, เกือกแดงแรงฤทธิ์
2.ละครดราม่าโรแมนติกที่นำแสดงโดย Momoe Yamaguchi กับ Tomakazu
Miura
3.ละครเรื่องอื่น ๆ อย่างเช่น “เจ้าสาววัย 16”
ที่นางเอกวัย 16 ปีแต่งงานอยู่กินกับครูหนุ่มที่สอนในโรงเรียนของเธอเอง
4.ละครดี ๆ ที่มาฉายทางช่อง 5 ตอนกลางคืน ราว ๆ กลางทศวรรษ 1980 ทั้งเรื่องชีวิตแอร์โฮสเตส,
WHO WILL WEAR A WEDDING DRESS? ที่เป็นชีวิตดีไซเนอร์, เรื่องของสถานดัดสันดานหญิง, เรื่องของวัยรุ่นที่พยายามจะก่อตั้งวงดนตรีขึ้นมา
เสียดายที่เราจำชื่อละครเหล่านี้ไม่ได้แล้ว
แล้วพอเข้าช่วงทศวรรษ 1990 ละครญี่ปุ่นก็เข้ามาฉายในไทยเยอะขึ้น
ทั้งละครช่อง 3 อย่าง TOKYO LOVE STORY, สวรรค์ลำเอียง, ละครช่อง 5 อย่าง 101
ตื๊อรักนายกระจอก, ละครช่อง 7 ที่นำแสดงโดย Miho Nakayama ที่ฉายช่วงบ่าย ๆ วันธรรมดา และละครช่อง 9 อย่างเช่น บาปกตัญญู
แล้วพอเข้าช่วงปลายทศวรรษ 1990 ITV ก็ทำให้ละครญี่ปุ่นบูมอย่างรุนแรง
สรุปว่าช่วงปลายทศวรรษ 1980 นี่เหมือนละครญี่ปุ่นที่ฉายในไทยน่าจะน้อยกว่ายุคอื่น
ๆ นะ 55555
VOICES OF THE NEW GEN
1.AFTER A LONG WALK, HE STANDS STILL (2020, กันตาภัทร
พุทธสุวรรณ, second viewing, A+30)
--ช่วงที่ทหารหนุ่มน้อยผู้น่ารักโดนลงโทษนี่แอบนึกถึง SALO, OR THE 120 DAYS OF SODOM (1975,
Pier Paolo Pasolini) คือมันไม่ได้โหดร้ายแบบ SALO หรอกนะ แต่มันสะท้อนความดำมืดของจิตใจมนุษย์บางอย่างที่จะปรากฏออกมาเมื่อบุคคลผู้นั้นเข้ามามีอำนาจภายใต้ระบอบแบบฟาสต์ซิสต์
และสามารถใช้อำนาจนั้นในการลงโทษผู้อื่นตามใจชอบอย่างไม่เป็นธรรมได้ (คล้าย ๆ
กับที่ทหารสหรัฐทำกับนักโทษใน Guantanamo แบบในหนังเรื่อง THE
MAURITANIAN) คือการปล่อยให้มีระบอบอำนาจแบบนี้เกิดขึ้น
มันก็จะเกิดความเลวร้ายแบบนี้ตามมา และระดับความชั่วร้ายรุนแรงที่เกิดขึ้นก็จะขึ้นอยู่กับสถานะของทั้งสองฝ่ายในระบอบนั้น
ซึ่งในหนังไทยเรื่องนี้ สถานะของผู้ลงโทษกับผู้ถูกลงโทษไม่ได้ห่างจากกันมากนัก การลงโทษก็เลยอาจจะไม่ได้รุนแรงมากนัก
ส่วนใน THE MAURITANIAN นั้น ผู้ถูกลงโทษมีสถานะเป็นนักโทษ
การทรมานก็เลยรุนแรงยิ่งขึ้น และถ้าหากเราปล่อยให้ระบอบแบบนี้ดำรงอยู่ต่อไป
หรือปล่อยให้ใครมีอำนาจสูงเยี่ยมเทียมฟ้ามากเท่าไหร่ภายในระบอบแบบนี้
มันก็จะนำไปสู่ SALO, OR THE 120
DAYS OF SODOM ในที่สุด
--พัฒนาการของตัวละครพระเอกก็ทำให้นึกถึง THE
PARTY AND THE GUESTS (1966, Jan Nemec, Czechoslovakia) ด้วย
เรื่องของคนที่ค่อย ๆ สมยอม, กลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด
และกลายเป็นแข้งขาของระบอบเผด็จการไปในที่สุด
ก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันน่าสนใจดี ตรงที่มันเลือกที่จะเล่าเรื่องผ่านทางตัวละครที่เลือกที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบอบเผด็จการแบบนี้
แทนที่จะเล่าเรื่องผ่านทางตัวละครที่ต่อต้านระบอบ
2.THE REPRODUCTION OF A CATASTROPHIC REMINISCENCE (2020, Kulapat
Aimmanoj, second viewing, A+30)
--พอดูรอบสองก็ชอบมากขึ้น
เพราะถึงแม้เวลาจะผ่านมานานหนึ่งปีหลังจากดูรอบแรกแล้ว ประเด็น dilemma ในหนังก็ยังคงไม่ล้าสมัยเลย ดูแล้วแอบนึกถึงการที่ฝ่าย liberal ชอบถกเถียงด่าทอตบตีกันเองอย่างรุนแรงเป็นระยะ ๆ ด้วย 55555
ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วหลาย ๆ คน หลาย ๆ
ฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตนเองที่น่ารับฟังกันทั้งนั้น
เคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้แล้วที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10227346496551509&set=a.10225784745948720
3.FATHERLAND (2020, Panya Zhu, second viewing, A+30)
ยังคงสะเทือนใจกับ “น้ำเสียง” ของพระเอกตอนแจกใบปลิวมาก ๆ
เคยเขียนถึงหนังไว้แล้วที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10225002217986010&set=a.10224961569689828
4.BANGKOK TRADITION (2021, ฐามุยา ทัศนานุกูลกิจ, second
viewing A+30)
เคยเขียนถึง BANGKOK TRADITION ไว้แล้วที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10226433324962790&set=a.10225784745948720
ความเห็นเพิ่มเติมในการดูรอบสอง
4.1 ดูแล้วนึกว่าต้องไหว้จอ
ทำไมหนังเรื่องนี้ถึงออกแบบตัวละครหญิงได้ตรงใจเราสุดขีดขนาดนี้
คือพอตัวละครหญิงมันตรงใจเราอย่างสุด ๆ แบบนี้ เราก็เลยรู้สึกอยากร้องกรี๊ด ๆ ๆ ๆ ออกมาเลยน่ะ
โดยเฉพาะฉากที่สามสาวออฟฟิศแผนกเอกสารคุยกันช่วงต้นเรื่อง ทำไมดูแล้วรู้สึกว่าการที่ตัวละครคุยกันมันถึง
electrifying อย่างรุนแรงสุดขีดขนาดนี้คะ
คือดูแล้วรู้สึกราวกับว่า การโต้ตอบกันของสามสาวออฟฟิศในแต่ละประโยคมันทำให้เรารู้สึกเหมือนโดนช็อตด้วยไฟฟ้า
คือมันเปรี้ยงมาก ๆ
เราคิดว่าปัจจัยที่ทำให้เราชอบฉากสามสาวออฟฟิศคุยกันอย่างรุนแรงขนาดนี้เป็นเพราะว่า
4.1.1 ตัวละครทั้งสามตัว ทั้งดารารัตน์, Sirai และยุ
ไม่มีใครยอมใครเลยน่ะ คือทั้งสามกล้าด่าทอปะทะคารมกันอย่างหยาบ ๆ คาย ๆ
ไม่มีใครกลัวใคร ไม่มีใครยอมลดราวาศอกให้ใคร
4.1.2 ทั้งสามมีความกร้าน ดิบ หยาบอะไรบางอย่างที่เข้าทางเราอย่างรุนแรงที่สุด
4.1.3 ตัดสินไม่ได้ว่าใครแรงกว่ากัน เพราะทุกคนต่างก็มีความแรงในแบบของตัวเอง
Sirai อาจจะดูพูดจาโผงผาง
เสียงดัง แต่ดารารัตน์ก็กล้าถ่มน้ำลายใส่รองเท้าเจ้านาย
ส่วนยุนี่อาจจะดูนิ่งกว่าอีกสองคน แต่จริง ๆ แล้วเธออาจจะเป็นคนแบบน้ำนิ่งไหลลึก
คือเหมือนยุรู้ว่าจริง ๆ แล้วตัวเองต้องการอะไร และทำอย่างไรถึงจะได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการโดยไม่ต้องหาเหาใส่หัว
แกว่งเท้าหาเสี้ยน หรือทำให้ตัวเองลำบากโดยใช่เหตุ 55555
4.2 อินสุด ๆ กับ “ความหวั่นไหวทางใจของพนักงานบริษัทเอกชนที่อาจจะโดนปลดออกจากงานได้ทุกเมื่อ”
4.3 นอกจากฉากสามสาวออฟฟิศคุยกันแล้ว อีกฉากที่เราขอยกให้เป็น one of my most favorite scenes of
all time ก็คือฉากที่ดารารัตน์ถูกเจ้านายสั่งให้ซ่อมพิมพ์ดีดกับขัดรองเท้านี่แหละ
ชอบฉากนี้อย่างสุดขีดตรงที่
4.3.1 ชอบวิธีการพูดของตัวเจ้านายมาก ๆ ที่ไม่ได้ออกคำสั่งด้วยน้ำเสียงแบบนางอิจฉา
แต่เป็นการออกคำสั่งในทางอ้อม ผ่านทางประโยคคำถามในบางครั้ง ดูเหมือน soft แต่จริง ๆ
แล้วเหี้ยมาก
4.3.2 ชอบน้ำเสียงและการพูดว่า “ไม่” ของนางเอกในฉากนี้มาก ๆ
คือเจ้านายถามว่านางเอกซ่อมพิมพ์ดีดเป็นมั้ย นางเอกก็ตอบว่า ไม่เป็นค่ะ
ด้วยน้ำเสียงกึ่งแข็งกระด้าง และพอเจ้านายพยายามจะให้นางเอกขัดรองเท้าผ่านทางการถามคำถามบางคำถาม
นางเอกก็ตอบว่า “ไม่” เช่นเดียวกัน
คือเราว่า “น้ำเสียง” ของการพูดว่า “ไม่” ต่าง ๆ
ของนางเอกในฉากนี้นี่มันตรงใจเราอย่างที่สุดของที่สุดเลยน่ะ คือมันไม่ใช่การพูดว่า
“ไม่” ที่แข็งเกินไป หรืออ่อนเกินไป
เพราะนางเอกจะใช้น้ำเสียงแข็งกระด้างรุนแรงกว่านี้ก็ไม่ได้
เพราะเขาเป็นเจ้านายของเธอ และเธอกลัวตกงาน แต่เธอก็ “ไม่พอใจ”
สิ่งที่เจ้านายทำอย่างรุนแรง น้ำเสียงของเธอในฉากนี้เลยมีทั้ง “ความไม่พอใจ”, “ความเกลียดชังเจ้านาย”,
“ความรำคาญ” แต่มันถูกสกัดกั้นไว้ด้วยความเจียมตนว่าตนเองเป็นลูกน้องและความกลัวตกงานอยู่ด้วย
คือมันไม่ใช่การพูดว่า “ไม่” ด้วยอารมณ์เดียวอย่างโดด ๆ
แต่เป็นการตอบคำถามเจ้านายด้วยอารมณ์หลากหลายอย่างผสมผสานกันและขัดแย้งกันในเวลาเดียวกัน
คือเกลียดเจ้านายก็เกลียด แต่จะให้ใช้น้ำเสียงแข็งกว่านี้ก็ไม่ได้ เพราะกลัวตกงาน เธอเลยทำได้แค่ตอบว่า ไม่ อย่างชัดถ้อยชัดคำ
แต่ไม่สามารถใช้น้ำเสียงที่แรงเกินไปกว่านี้ได้ และเธอก็เหมือนรู้ตัวอยู่กลาย ๆ
ว่า ต่อให้เธอตอบว่า ไม่ ไม่ ไม่ สักกี่ครั้งก็ตาม
เจ้านายก็จะบังคับให้เธอทำในสิ่งที่เธอไม่ต้องการอยู่ดี
4.3.3 การที่เธอถ่มน้ำลายใส่รองเท้าเจ้านายก็ทำให้ฉากนี้กลายเป็นหนึ่งในฉากคลาสสิคของหนังไทยสำหรับเราไปเลย
4.4 พอมาดูรอบสองถึงเพิ่งสังเกตว่า
หนังชอบถ่ายตอนพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน เห็นท้องฟ้าเป็น vanilla sky ทั้งฉากที่นางเอกไปสัมภาษณ์อดีตสาวคาเฟ่ที่อพาร์ทเมนท์
เราก็จะเห็นท้องฟ้ายามสายัณห์เป็นฉากหลัง
และฉากที่นางเอกร้องห่มร้องไห้หลังจากไปเสนอข่าวแล้วเหมือนไม่ประสบความสำเร็จ
เธอเดินออกมาแถวลานจอดรถ ฉากนั้นเราก็เห็นท้องฟ้ายามสนธยาชัดมาก ๆ และสวยมาก ๆ
ซึ่งเราว่ามันก็เข้ากับหนังเป็นอย่างมาก เพราะชีวิตของตัวละครในหนังเรื่องนี้หรือชีวิตของพวกเราในดินแดนแห่งนี้ก็เหมือนอยู่ในแดนสนธยา
อยู่ในดินแดนแห่งแสงริบหรี่โพล้เพล้นี่แหละ
4.5 สรุปว่าพอมาดูรอบสองแล้วก็ขอยกให้ฉากนางเอกปะทะกับเจ้านายตอนซ่อมพิมพ์ดีดนี่ถือเป็น one of my most favorite scenes of
all time ไปเลย
และขอยกให้สามสาวออฟฟิศในหนังเรื่องนี้นื่ถือเป็นกลุ่มตัวละครที่ชอบที่สุดในภาพยนตร์ไทยไปด้วยเลย
คือพอมาดูรอบสองแล้วก็เลยพบว่า
ถึงแม้เราจะชอบประเด็นการเมืองและเรื่องการสะท้อนยุคสมัยของความกลัวโรคเอดส์ในหนังมาก
ๆ แต่สิ่งที่เราชอบที่สุดในหนังก็คือการออกแบบตัวละครหญิงที่ตรงใจเรามากที่สุด และการสะท้อนชีวิตสาวออฟฟิศนี่แหละ
ทั้งความไม่มั่นคงของการทำงานในบริษัทเอกชน, วิธีการใช้อำนาจระหว่างเจ้านายกับลูกน้องในออฟฟิศ
และการพูดคุยกันแบบถึงใจของสาวออฟฟิศ คือเหมือนถ้าเป็นฉากที่สามสาวออฟฟิศนี้คุยกันเมื่อไหร่
ระดับความชอบของเราจะพุ่งปรี๊ด รู้สึกเหมือนมีสายฟ้ามาฟาดเปรี้ยง ๆ ที่ตัวเรา
แต่พอเป็นฉากคาเฟ่หรืออะไรต่าง ๆ ที่ไม่ใช่สามสาวคุยกัน ระดับความหวีดของเราจะลดลง
55555
4.6 สาเหตุที่เรายกให้ BANGKOK TRADITION เป็น ONE
OF MY MOST FAVORITE THAI FILMS OF ALL TIME ก็เป็นเพราะตัวละครสามสาวออฟฟิศที่เหมือนหลุดออกมาจากดวงจิตของเรานี่แหละ
คือเหมือนถ้าหนังเรื่องไหนออกแบบตัวละครหญิงให้ตรงใจเราแบบนี้ได้
หนังเรื่องนั้นก็จะครองใจเราได้อย่างรุนแรง ซึ่งหนังที่ทำแบบนี้ได้ ก็มีอย่างเช่น
4.6.1 “เมืองในหมอก” (1978, เพิ่มพล เชยอรุณ) ที่ถือเป็น ONE
OF MY MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME ตัวละครในหนังเรื่องนี้มีทั้งแม่กับลูกสาวที่เป็นฆาตกรต่อเนื่อง
ฆ่าคนไปหลายศพ, สามสาวในหมู่บ้านที่ทำพิธีปลุกวิญญาณ และสาวสวิงกิ้ง ฉากที่นางเอกที่เป็นฆาตกรโรคจิตปะทะสาวสวิงกิ้งนี่ถือเป็นหนึ่งในฉากที่ชอบที่สุดในหนังไทยเหมือนกัน
4.6.2 “ประสาท” (1975, Piak Poster) การปะทะกันของตัวละครนำหญิงทั้งสามตัวในหนังเรื่องนี้นี่มันสุดตีนจริง
ๆ แน่นอนว่าหนังเรื่องนี้ก็เป็น ONE OF MY MOST FAVORITE THAI FILMS OF ALL
TIME เช่นเดียวกัน
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10228852135311537&set=a.10227993335122069
4.6.3 MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg) พอเวลาล่วงเลยมาถึงตอนนี้
เราก็พบว่าหนังเรื่องนี้นี่แหละที่เป็น MY MOST FAVORITE FILM OF THE
DECADE 2010-2019 เพราะเราไม่สามารถสลัดหนังเรื่องนี้ออกไปจากใจเราได้เลยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ตัวละครหญิงที่แสดงโดย Mia Wasikowska, Julianne Moore และ Olivia
Williams ในหนังเรื่องนี้นี่ตรงใจเราอย่างที่สุดของที่สุดจริง ๆ
สรุปว่า I WORSHIP YOU –ยุ, Sirai และดารารัตน์
พวกเธอทั้งสามคือหนึ่งในสิ่งที่เรารักที่สุดในภาพยนตร์ไทยจริง ๆ
-