Sunday, October 30, 2022

THE TERRORIZERS (1986, Edward Yang, Taiwan, second viewing, A+30)

 

THE TERRORIZERS (1986, Edward Yang, Taiwan, second viewing, A+30)

 

SPOILERS ALERT สำหรับ TERRORIZERS, A BRIGHTER SUMMER DAY, YI YI, ประสาท

--

--

--

--

--

1.พอตัวละครตากล้องหนุ่มและ Li Lizhong ใน TERRORIZERS ตีความว่านิยายของ Zhou Yufang ได้รับแรงบันดาลใจมาจากชีวิตจริงของ Zhou เราก็เลยนึกถึง “ประสาท” (1975, Piak Poster) ขึ้นมาเลย 55555 เพราะถ้าหากเราจำไม่ผิด ตัวละครสำคัญตัวหนึ่งใน “ประสาท” ที่แสดงโดยมยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช เป็นนักแต่งนิยาย แล้วพอเธอแต่งนิยายใหม่ออกมา ญาติหนุ่มของเธอกับสามีหนุ่มของเธอก็เข้าใจผิดว่า นิยายเรื่องนั้นสะท้อน “ความเงี่ยนผู้ชาย” และ “ความเบื่อผัว” ในชีวิตจริงของตัวนักแต่งนิยาย ญาติหนุ่มก็เลยพยายามจะปลุกปล้ำนักแต่งนิยาย ส่วนผัวของเธอก็หัวใจวายตายด้วยความช้ำใจหรืออะไรสักอย่าง ถ้าจำไม่ผิด ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วตัวละครเกือบทุกตัวใน “ประสาท” ต่างก็ “ประสาท” หรือคิดมากไปเอง และสับสนระหว่าง fiction กับ reality กันไปเอง

 

2.อย่างที่ทุกคนรู้ ๆ กันดีว่า โดยปกติแล้วเรามักจะไม่ “อิน” หรือไม่ identify ตัวเองกับตัวละคร “หญิงสาวสวยที่ชายหนุ่มต่างหมายปอง” หรืออะไรทำนองนี้ (แต่ก็ไม่เสมอไปนะ) เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบ THE TERRORIZERS, A BRIGHTER SUMMER DAY กับ YI YI ในจุดหนึ่งที่ตรงกันมากเป็นพิเศษ เพราะหนังทั้ง 3 เรื่องนี้ต่างก็แสดงให้เห็นว่า ชายหนุ่มที่หลงใหล “สาวสวย นิสัยเหี้ย” ก็จะต้องซวยกันไปตาม ๆ กัน เราดูแล้วก็เลยสะใจสุดๆ 55555

 

แต่ตัวละครตากล้องหนุ่มใน THE TERRORIZERS อาจจะโชคดีหน่อย เพราะถึงแม้เขาดูเหมือนจะหลงใหล “สาวสวย นิสัยเหี้ย” และเธอก็ขโมยกล้องของเขาไป แต่เธอก็เอากล้องมาคืนเขา ถึงแม้เราจะคิดว่าการที่เธอเอากล้องมาคืนเขาไม่ได้เป็นเพราะว่าเธอเกิดกลับใจเป็นคนดีหรอก แต่สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าผัวเธอออกมาจากคุกแล้วต่างหาก เธอก็เลยไม่จำเป็นต้องพึ่งเงินจากการขโมยกล้อง

 

ส่วนใน A BRIGHTER SUMMER DAY นั้นชัดเจนว่า การที่พระเอกหนุ่มหล่อไปหลงใหล “สาวสวย นิสัยเหี้ย” นั้น นำมาซึ่งความชิบหายของทั้งพระเอกและนางเอกอย่างไรบ้าง

 

ส่วนใน YI YI นั้น ก็มีตัวละครหนุ่มหล่อที่เป็นแฟนกับสาวร่าน แต่ตอนหลังหนุ่มหล่อก็ไปออกเดทกับสาวเรียบร้อย และสาวเรียบร้อยก็พยายามเสยหีใส่เขา แต่เขาก็ไม่เอาเธอ เขากลับไปคบกับสาวร่านต่อ และมันก็ทำให้เขากลายเป็นอาชญากรฆ่าคนในที่สุด

 

เราก็เลยชอบจุดนี้ในหนังทั้ง 3 เรื่องของ Edward Yang อย่างสุดๆ ดูแล้วสะใจเป็นการส่วนตัวสำหรับเรา 55555

 

 

SOME FILMS SEEN IN TAIWAN DOCUMENTARY FILM FESTIVAL 2021

 

62 YEARS AND 6,500 MILES BETWEEN (2005, Anita Chang, Taiwan, documentary, A+30)

 

 BEFORE THE DAWN (2020, Huang Pan-chuan, Lin Chunni, Taiwan, documentary, A+30)

 

I’M HERE (2021, Wu Yao-tung, Taiwan, documentary, A+10)

 

IN THEIR TEENS (2020, Lin Yu-en, Taiwan, documentary, A+30)

 

THE OLD MEN’S PARTY (2020, Lin Tse-yu, Taiwan, documentary, A+30)

 

TEMPORARY (2018, Hsu Hui-ju, Taiwan, documentary, A+30)

 

DAYS (2020, Tsai Ming-liang, Taiwan, A+30)

THE MAKING OF CRIME SCENES

 

ดูภาพยนตร์เรื่อง THE MAKING OF CRIME SCENES (2021, Hsu Che-yu, Taiwan, documentary, A+30) ที่ DOC CLUB & PUB แล้วนึกถึงสิ่งที่เกิดกับผู้ลี้ภัยชาวไทยในลาว, กัมพูชา และเวียดนามมาก ๆ เพราะ THE MAKING OF CRIMES SCENES เล่าถึงเรื่องที่พรรคก๊กมินตั๋งของไต้หวันเคยส่งคนไปลอบสังหาร Henry Liu ซึ่งเป็นชาวไต้หวัน-อเมริกันที่อาศัยอยู่ในสหรัฐ โดย Henry Liu นั้นชอบวิจารณ์พรรคก๊กมินตั๋ง ทางพรรคเลยส่งคนไปลอบสังหารเขาในสหรัฐ รุนแรงมาก ๆ

https://en.wikipedia.org/wiki/Henry_Liu

 

Friday, October 28, 2022

FLUFF UP, FEEL DOWN

 FLUFF UP, FEEL DOWN ลูกหยีอีหัวหยอย (2022, Anakamont Aungsathammarat, 28min, A+30)


1. ชอบสุดขีด ปัจจัยหนึ่งที่ชอบเพราะหนังมันนำเสนอปัญหาทางกายภาพที่เราไม่เคยรู้หรือไม่เคยตระหนักถึงมาก่อน เพราะตัวเราเองไม่ได้มีลักษณะทางกายภาพแบบนั้น เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าคนผมหยิกอาจจะเจอปัญหาต่าง ๆ แบบในหนังเรื่องนี้

จุดนี้ทำให้นึกถึงหนัง 2 เรื่องที่เคยฉายในงานกางจอที่นำเสนอปัญหาทางกายภาพของตัวละครเช่นกัน ซึ่งได้แก่เรื่อง BONNE EN ROUGE (2020, บุญรักษา สาแสง) ที่นำเสนอปัญหาของสาวผมแดง และ 8CM (2008, Sapassorn Santijitrungreung) ที่นำเสนอปัญหาของคู่รักที่ฝ่ายนึงสูงกว่าอีกฝ่ายนึง 8 cm. (ถ้าจำไม่ผิด) ซึ่งทั้ง 3 เรื่องก็มีจุดเด่นแตกต่างกันไป ถ้าเทียบกันแล้ว FLUFF UP, FEEL DOWN ดูสมจริงมากที่สุด ส่วน BONNE EN ROUGE อาจจะดูเป็นหนังการเมืองได้ด้วย ส่วน 8CM ออกไปในทาง comedy

นึกถึง BALA (2019, Amar Kaushik, India) ที่นำเสนอปัญหาของชายหัวล้านด้วยเหมือนกัน แต่ปัญหาของชายหัวล้านดูเหมือนเป็นเรื่องสากลที่คนอาจจะพอรู้ ๆ กันอยู่บ้างแล้ว แต่ FLUFF UP, FEEL DOWN นี่น่าจะเป็นหนังเรื่องแรกที่เราได้ดูที่พูดถึงปัญหาของคนผมหยิก

2.ชอบการนำเสนอสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตนางเอก ทั้งการใส่หมวกว่ายน้ำ, การหาซื้อยางรัดผม, แม่ที่ยืดผม, คำทักทายของเพื่อนแม่, การสมัครทุน, etc.

3.ชอบที่การปิดร้านรวงต่าง ๆ ในช่วงตรุษจีนส่งผลให้นางเอกเผชิญวิกฤติใหญ่

4.ชอบการสร้างตัวละครนางเอกให้ดูเทา ๆ ดีด้วย เพราะเธอก็มีความดื้อรั้น เอาแต่ใจตัวเหมือนกัน ชอบการปะทะกันระหว่างนางเอกกับเพื่อนขณะแสงอาทิตย์กำลังจะลาลับไปในช่วงท้ายเรื่องมาก ๆ
รายงานผลประกอบการ ประจำวันที่ 22-24 ต.ค. 2022

เสาร์ 22 ต.ค.

1.A MONKEY'S TALE (1999, Jean-Francois Laguionie, France, animation, A+30)

ดูที่ Alliance รอบ 14.00 น.

เพิ่งรู้ว่ามันคือภาคแรกของ THE PRINCE'S VOYAGE (2019, Jean-Francois Laguionie, A+30) ที่เคยมาฉายที่ SF มิน่าล่ะ ตอนเราดู THE PRINCE'S VOYAGE เราถึงรู้สึกว่ามัน set จักรวาลของมันได้แปลกและซับซ้อนผิดปกติมาก ที่แท้แล้วมันคือหนังภาคสองนี่เอง

แอบตกใจที่มันเป็นหนัง animation สำหรับเด็ก (หรือเปล่า) ที่ภาคแรกกับภาคสองสร้างห่างจากกัน 20 ปี

2.LOST ILLUSIONS (2021, Xavier Giannoli, France, 149min, A+30)

ดูที่ Alliance รอบ 16.30

เป็นหนังที่สนุกสุดขีดสำหรับเรา นึกว่าสร้างเป็นละครไทยยาว 15 ตอนจบได้สบาย ปะทะกับ FLOWERS OF SHANGHAI (1998, Hou Hsiao-hsien, Taiwan, A+30) ได้สบายเลยด้วย ในแง่หนังที่ตีแผ่ระบบโครงสร้างบางอย่างของโลกเก่า

3. MY TEMPO น้องพี่ ดนตรี+เพื่อน (2022, Natthaphong Aroonnet, C- )

ดูที่ Paragon รอบ 20.00

วันอาทิตย์ ที่ 23 Oct 2022

1.SCHOOLGIRLS (2020, Pilar Palomero, Spain, A+30)

ดูที่ศาลายา รอบ 13.00

กลายเป็นว่า ฉากที่รบกวนจิตใจเรามากที่สุด คือฉากที่นางเอกซึ่งมีอายุ 11 ขวบ ไม่สามารถตอบได้ว่า 3×5 = อะไร

คือเราตาม subtitle ไม่ทันช่วงต้นเรื่องที่นางเอกพูดถึงวิชาเลข หรือบัญญัติไตรยางค์ อะไรทำนองนี้ เราก็เลยไม่แน่ใจว่าที่นางเอกตอบไม่ได้ว่า 3×5 = 15 เป็นเพราะว่านางเอกโง่เลขมาก หรือเป็นเพราะว่า เธอเกลียด Mother Consuelo มาก หรือเธอเครียดกับสถานการณ์ในตอนนั้นมากจนไม่สามารถตอบคำถามได้ หรือเธอเลือกที่จะไม่ตอบคำถาม หรืออะไร ขอเชิญผู้ชมท่านอื่น ๆ อภิปรายเกี่ยวกับประเด็นนี้ค่ะ

2.เงาะป่า (1980, Prince Phanuphan Yukol, Piak Poster, A+30)

ดูที่หอภาพยนตร์ รอบ 15.30

3. CONFIDENTIAL ASSIGNMENT 2: INTERNATIONAL (2022, Lee Seok-hoon, South Korea, A+30)

ดูที่ Major Ratchayothin  รอบ 19.00

จันทร์ 24 Oct 2022

1. AMSTERDAM (2022, David O. Russell, A+30)

ดูที่ HOUSE SAMYAN รอบ 12.20

นึกว่าหนังด่าประยุทธ์และสลิ่ม

2.TICKET TO PARADISE (2022, Ol Parker, A+25)

ดูที่ Major Ratchayothin รอบ 16.00

3. TOUKEN RANBU HANAMARU: CHAPTER OF SNOW (2022, Takashi Naoya, Japan, animation, A+10)

ดูที่  Major Ratchayothin รอบ 19.00

---

กลัวว่าอาจจะดูงานใน GHOST ไม่ทัน เลยขอจดไว้ก่อนว่าวิดีโอแต่ละแห่งยาวกี่นาที

1.บ้านตรอกถั่วงอก 116MIN
MANGOSTEEN 40MIN
PHANTOM BANQUET 10MIN
WA’ANAK WITU WATU 25MIN
THE EPOCH OF MAPALUCENE 14MIN
GARDEN AMIDST THE FLAME 27MIN

2.WORLD TRAVEL SERVICE 174MIN
THE ODDS 16MIN
AETHER (POOR OBJECTS) 18MIN
DEATH 20MIN
SNAKE CHARMER 20MIN
IF REVOLUTION IS A SICKNESS 19MIN
NIGHT FOR DAY 47MIN
LIFE ON THE CAPS 34MIN

3.JIM THOMPSON
BRINE LAKE (A NEW BODY) 44MIN ON TWO OPPOSING SCREENS = 88 MIN
เราเดาว่าเราไม่สามารถแยกประสาทดูสองจอพร้อมกันได้ อาจจะต้องดูจอนึงให้จบ แล้วค่อยดูอีกจอนึงให้จบ อันนี้เป็นจุดอ่อนเฉพาะตัวของเราที่ไม่สามารถแยกประสาททำอะไรแบบนี้ได้

QUALITIES OF LIFE 17MIN (อันนี้เราดูแล้ว)

4.NOVA CONTEMPORARY
สู่-ขวัญ 25MIN

5.BANGKOK CITYCITY
THE SHOW IS OVER 29MIN

THE SAND CASTLE (2022, มนอัปสร สฤษดิ์อภิรักษ์ Monapsorn Saritapirak,  23min, A+15)

หนังความสัมพันธ์ระหว่างพี่สาวน้องสาว ซึ่งจริง ๆ แล้วหนังก็ดูจริงดี แต่พอเนื้อเรื่องมันน้อย และเราไม่มีประสบการณ์ร่วมกับตัวละครในเรื่อง เราก็เลยอาจจะไม่ได้อินกับหนังมากนัก

WRATHFUL REMEDY (2022, Jakkrapan Sriwichai, 15min,  A+30)

เหมือนหนังมีความเป็นสัญลักษณ์บางอย่างที่เราตีความไม่ออก แต่นั่นถือเป็นข้อดีของหนัง เพราะมันทำให้หนังค้างคาใจเราเป็นเวลานาน ไม่ใช่หนังสยองขวัญที่มีดีเพียงแค่ความสยองขวัญเพียงอย่างเดียว

ฉันรักเขา Shodai Fukuyama จาก ALIVE DRIFT (2022, Ten Shimoyama, Japan, A+25)

ฉันรักเขา Go Kyung-pyo จาก DECISION TO LEAVE (2022, Park Chan-wook, South Korea, A+30)

ฉันรักเขา Shivin Narang จาก GOODBYE (2022, Vikas Bahl, India, A+30)


ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (2021, Nuttorn Kungwanklai, 12min, second viewing, A+30)

1.เป็นหนังที่ตอนดูรอบแรกก็ชอบพอสมควร แต่พอมาดูรอบสองหลังจากเวลาผ่านไป 1 ปีก็ชอบในระดับสุดขีด เพราะบรรยากาศในโรงมันดีมาก ผู้ชมมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับต่อหนังอย่างดีมาก ๆ 555 และสิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่า เราพบว่าหนังมันช่วยบันทึกประวัติศาสตร์วาทกรรม, ข้อโต้แย้ง และ "ประวัติศาสตร์ทางอารมณ์" ของคนไทย 2 ฝ่ายในยุควิกฤติโควิดเอาไว้ได้ดีมาก

2.คือตอนดูรอบแรกเมื่อ 1 ปีก่อน เรายังไม่เห็นคุณค่าของหนังเรื่องนี้มากนักในแง่ "การบันทึกประวัติศาสตร์ เพราะบทสนทนาในหนังเป็นสิ่งที่ยังพบเห็นได้อยู่ หรือเป็นสิ่งที่เพิ่งผ่านมาได้ไม่นาน

แต่พอวิกฤติโควิดคลี่คลาย เราก็ค่อย ๆ ลืมเลือนวาทกรรมต่าง ๆ ในช่วงนั้นไป เพราะฉะนั้นพอเราได้มาดูหนังเรื่องนี้อีกครั้ง เราก็เลยพบว่า มันช่วย "บันทึกประวัติศาสตร์" ได้ดีมาก ๆ เหมือนหนังแบบนี้นี่แหละที่จะมีคุณค่าสำหรับเรามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป

3.และพอมันไม่ได้เป็นเพียงแค่ "ตัวอักษรใน social media" แต่เป็นภาพยนตร์ที่เราได้เห็นการแสดงและน้ำเสียงของนักแสดงด้วย หนังเรื่องนี้เลยเหมือนช่วยบันทึก "ประวัติศาสตร์ทางอารมณ์" ของคนไทยในยุควิกฤติโควิดด้วย เพราะการอ่านแค่ข้อความโต้เถียงกันเหล่านี้ในรูปแบบตัวอักษรเฉย ๆ ในปี 2021 มันอาจได้อารมณ์ที่พลุ่งพล่านมาก แต่ถ้ามาอ่าน "ข้อความ"เหล่านี้ในช่วงปลายปี 2022 เราอาจลืมอารมณ์เก็บกดและเดือดดาลในปี 2021 ไปแล้ว หนังเรื่องนี้เลยเหมือนช่วยบันทึก "ประวัติศาสตร์ทางอารมณ์" ของคนไทยในยุควิกฤติโควิดเอาไว้ด้วยได้อย่างดีมาก ๆ

หนึ่งในสิ่งที่ตัดสินได้ในทันทีว่า หนังเรื่อง SCHOOLGIRLS (2020, Pilar Palomero, Spain, A+30) ถ่ายทอดชีวิตในปี 1992 ได้อย่างถูกต้อง คือการที่ผนังห้องของตัวละครในเรื่อง แปะรูป  Rob Lowe สามีเก่าของดิฉันเอาไว้ด้วย

FILM WISH LIST: วังนางโรม (1955, Prince Anusornmongkolkarn) เห็นโปสเตอร์แล้วอยากดูเลย

FILM WISH LIST:  อีก้อย (1961, สำเนาว์ หิริโอตัปปะ)

TERRITORY (2022, Verayut Sapprasert, 29min, A+30)

1.เหมือนเป็นหนังที่ไม่ได้มีเหตุการณ์พิสดารพันลึกอะไรเกิดขึ้น แต่เราว่า approach ของหนังมันประหลาดดี เพราะหนังเหมือนไม่ได้ขับเน้นหรือขีดเส้นใต้ตรง ๆ ว่าจะพูดถึงประเด็นอะไร

ประเด็นที่เราสนใจที่สุดในหนังซึ่งเราไม่แน่ใจว่าหนังต้องการจะพูดถึงประเด็นนี้เป็นหลักหรือเปล่า ก็คือเรื่องของการทำแท้ง และเหมือนหนังทำให้เรารู้สึกว่ามันควรจะเป็น territory ของผู้หญิงคนนั้น ร่างกายของเธอคือ territory ของเธอ เป็นสิทธิของผู้หญิงคนนั้นเองในการตัดสินใจว่าควรจะทำแท้งหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องของความเชื่อทางศาสนา หรือสายตาของบุคคลภายนอก ที่ไม่รู้ความเป็นมาเป็นไปของผู้หญิงคนนั้น หรือไม่รู้เงื่อนไขต่าง ๆ ในชีวิตของผู้หญิงคนนั้น

2.เราก็เลยชอบสุด ๆ ที่เหมือนหนังไม่ได้บอกตรง ๆ ว่าหนังต้องการจะบอกอย่างนั้นกับผู้ชมหรือเปล่า คือเราอาจจะคิดเองเออเองก็ได้ แต่เราชอบสุด ๆ ที่หนังเหมือนจะนำเสนอชีวิตนางเอกในแง่มุมอื่น ๆ ที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นให้เราได้ดู แล้วผู้ชมแต่ละคนก็คิดเอาเองว่า หนังต้องการจะบอกอะไร

เราชอบมากที่หนังเล่าเรื่องชีวิตของนางเอก, สาเหตุที่ทำให้เธออยากทำแท้ง, อาชีพนางเอกที่เกี่ยวข้องกับการขายส่งเสื้อผ้า หรืออะไรทำนองนี้ ซึ่งเป็นอาขีพที่น่าสนใจมาก, การได้เจอเพื่อนเก่าโดยบังเอิญ, เพื่อนเก่าอาจจะแอบชอบเธอ, การแวะฉี่ข้างทางแล้วเจอศพคนตายปริศนา, การไปวัด, etc.

คือเหมือนพอหนังไม่ได้ขีดเส้นใต้ชัด ๆ ว่าต้องการจะพูดอะไร แต่ทำออกมาแบบนี้ มันทำให้เรารู้สึกว่าหนังมันไม่ยัดเยียดน่ะ และมันไม่ลดทอนความซับซ้อนของชีวิตมนุษย์ลงจนทำให้หนังกลายเป็นเพียงแค่ "บุรุษไปรษณีย์ที่ทำหน้าที่ส่งสาร" ด้วย

3.สิ่งที่หนังไม่ได้ตั้งใจ แต่ทำให้หนังนึกถึงประสบการณ์ส่วนตัวของเรา คือการที่นางเอกเจอศพคนตายปริศนา แล้วเลยตัดสินใจแวะเข้าวัด

เหตุการณ์ช่วงนี้ของหนังทำให้นึกถึงตัวเองมาก ๆ เพราะเราเองก็ไม่ค่อยสนใจศาสนา แต่พอเราเจออุบัติเหตุใหญ่ในชีวิตตอนปี 2016 เราก็รู้สึกได้ถึงความสำคัญของศาสนาในฐานะ "ที่พึ่งทางใจ" โดยเฉพาะสำหรับคนที่เจอ "เคราะห์กรรมที่ไม่มีคำอธิบาย" น่ะ ซึ่งเราก็ตระหนักดีว่า ถึงแม้ศาสนาจะเป็น "ที่พึ่งทางใจ" ที่ดีมาก เราก็ไม่ได้เชื่อในคำสอนทั้งหมด เราเลือกเชื่อเฉพาะเพียงแค่บางคำสอนเท่านั้น

4.เราชอบมาก  ๆ ด้วยที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ประณามหรือเชิดชูศาสนาตรง ๆ เหมือนหนังเรื่องนี้เหมือนกับให้ territory ของวัด เป็นพื้นที่ที่ศาสนาสามารถแสดงคำสอนในแบบที่ตัวเองเชื่อได้อย่างเต็มที่ แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเชื่อหรือไม่เชื่ออะไร

SECRET MOONSHINE (2022, Kantee Teerawaropas, A+30)

1.นึกถึงหนังเรื่องแรก ๆ ของคุณ Kantee ที่เราได้ดูแล้วชอบมาก ซึ่งก็คือ THE VANILLA AGE สิ้นศตวรรษ (2018) ในแง่ที่ว่า ชอบบรรยากาศหรือ mood  ในหนังทั้งสองเรื่องมาก ๆ คือแทนที่เราจะชอบ "เนื้อเรื่อง" แบบในหนังทั่ว ๆ ไป หนังทั้งสองเรื่องนี้เหมือนมีจุดเด่นที่บรรยากาศแทน และมันแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของคุณ Kantee ด้วย เพราะในขณะที่บรรยากาศใน THE VANILLA AGE ดูค่อนไปในทาง "ไม่ห่างไกลจากความเป็นจริงมากนัก" บรรยากาศใน SECRET MOONSHINE กลับดู "ข้นคลั่ก" มาก ๆ ทั้งการจัดแสง, การออกแบบสี etc. ราวกับว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คุณ Kantee พัฒนาความสามารถด้านเทคนิค, งาน production หรืองาน post-production อย่างมาก จนสามารถสร้างบรรยากาศที่มีมนตร์เสน่ห์อย่างรุนแรงขนาดนี้

2.ชอบการโพสท่าของนางเอกในหนังเรื่องนี้มาก ๆ มันดูติดตามาก ๆ

3.ใช่หนังเรื่องนี้หรือเปล่า ที่พระเอกเล่าเรื่องที่แฟนเก่าฆ่าตัวตายด้วยวิธีการพิสดาร

4. ฟังบทสนทนาไม่ออกในหลาย ๆ ช่วง แต่รู้สึกว่าบทสนทนาในหนังไม่ได้เน้นเล่าเรื่อง แต่เจาะเข้าไปในความลึกลับทางจิตวิญญาณของตัวละคร

5.อยากให้พัฒนาเป็นหนังยาวมาก ๆ อาจจะได้หนังที่สามารถปะทะกับ THE PHANTOM HEART (1996, Philippe Garrel) ได้

แต๋วแหววเป็นประจำ (2021, อภิญญา พุกศรีสุข, 16min, second viewing,  A+30)

1.ชอบมาก ๆ ที่หนังนำเสนอกลุ่มเพื่อนที่มีทั้งผู้หญิงผู้ชายอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

2.ชอบที่หนังพูดถึงเรื่องการมีเมนส์ด้วย เหมือนเป็นประเด็นที่ไม่ค่อยเจอในหนังส่วนใหญ่

3.เหมือนเป็นหนังที่ "เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูก็สนุกดี" ซึ่งเรารู้สึกว่าหนังกลุ่มนี้ทำได้ยากเหมือนกัน เพราะมันต้องรักษา  balance ระหว่างผู้ชมสองกลุ่ม

THE DREAM ABOUT BEING A SERIAL KILLER (พิพิธภัณฑ์หิ่งห้อย) (2022, มรรค ก่อเกียรติมานะ, 7min, A+30)



Tuesday, October 25, 2022

THE PHOTO OF JIT POOMSAK

 

ได้หนังสือ “แม่ง โคตรโฟนี่เลย” ของคุณไอดา อรุณวงศ์มาแล้ว ลองพลิกดูผ่าน ๆ พบว่าน่าสนใจสุด ๆ เราเพิ่งรู้ว่ามีนวนิยายเรื่อง “เราลิขิต-บนหลุมศพวาสิฏฐี” (1947) ของร. จันทพิมพะ ที่น่าสนใจสุด ๆ อยู่ด้วย นางเอกคนหนึ่งของเรื่องชื่อ “จิตรี” เป็นตัวละครหญิงที่รุนแรงมาก ๆ สงสัยมากว่าทำไมเราไม่เคยได้ยินชื่อนิยายเรื่องนี้มาก่อนเลย เหมือนไม่เคยมีใครเอานิยายเรื่องนี้มาดัดแปลงสร้างเป็นละครทีวีเลยมั้ง ทั้ง ๆ ที่มันเป็นนิยายที่น่าสนใจสุด ๆ

 

 แล้วพอพลิกอ่าน “แม่ง โคตรโฟนี่เลย” อย่างผ่าน ๆ ต่อไป เราก็ต้องตกใจมาก ๆ เมื่อพบว่า คุณไอดาเขียนว่า เธอคือคนที่เอารูปของ “จิตร ภูมิศักดิ์” ไปวางไว้ที่หลังตู้เหล็กของห้องกรรมการนิสิตของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ที่ตึก 4 ของคณะอักษร (ตึกนี้น่าจะถูกทุบทิ้งไปราว 20 ปีแล้วมั้ง ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) เพราะเราจำได้ว่า เราเคยเห็นรูปนั้น ที่ห้องนั้น ที่ตึกนั้น ตั้งแต่ตอนที่เราเข้าไปเรียนที่คณะนี้ในปี 1991 เหมือนตอนนั้นเป็นครั้งแรกในชีวิตมั้งที่เราได้ยินชื่อของจิตร ภูมิศักดิ์ เราจำรูปนั้นได้ดี เพราะเราก็ชื่อ “จิตร” เหมือนกัน แต่ตอนนั้นเราไม่เคยรู้หรอกว่า จิตร ภูมิศักดิ์มีประวัติอะไรบ้าง เราเดาเอาเองว่าเขาคงเป็นศิษย์เก่าที่น่านับถือสุด ๆ คนหนึ่งของคณะอักษร เลยมีคนเอารูปเขาไปวางไว้บนนั้น

 

ไม่นึกว่าหลังจากเราเห็นรูปนั้นครั้งแรกในปี 1991 หรือเมื่อ 31 ปีก่อน เราจะเพิ่งได้รู้ในตอนนี้เองว่า คุณไอดาคือผู้ที่เอารูปนี้ไปวางไว้ที่จุดนั้นเอง

Sunday, October 23, 2022

MY TEMPO

 

MY TEMPO น้องพี่ ดนตรี+เพื่อน (2022, Natthaphong Aroonnet, C- )

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

1.ชอบครึ่งแรกของหนังในระดับ A+ และชอบครึ่งหลังของหนังในระดับ F ค่าเฉลี่ยโดยรวมของหนังก็เลยออกมาประมาณ C-

 

2.ระดับความหล่อของนักแสดงมวลรวมของหนัง = A+30  เพราะหนังมีนักแสดงหล่อ ๆ เยอะมาก ชอบอาทิตย์ที่เป็นพี่ชายของตัวละครหลักมากที่สุด ไม่รู้ว่าใครคือนักแสดงที่เล่นเป็นคนนี้ กับชอบเด็กในร้านของพี่อาทิตย์ เห็นหน้าเด็กในร้านแล้วนึกถึงพระเอกหนังเรื่อง BLOCK (2016, รัตนวรรณ งามวงษ์, A+30) ไม่แน่ใจว่าใช่คนเดียวกันหรือเปล่า
https://www.youtube.com/watch?v=36KX9hFupe4

 

3.ช่วงครึ่งแรกนี่โอเคกับหนังมาก ๆ เลย เพราะเรากรี๊ดกร๊าดกับความหล่อของนักแสดงมากมาย และเราชอบที่หนังพาไปสำรวจทั้งการเล่นกีตาร์ 4 hands ซึ่งเราไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีสิ่งนี้บนโลกด้วย, การเล่นซึง, การเล่นแบบ improvisation และการแรป คือการที่หนังพาไปสำรวจแนวดนตรีต่าง ๆ อันหลากหลายนี่ดีมาก ๆ

 

4.แต่รำคาญตัวละคร “ตะวัน” มากพอสมควรในช่วงครึ่งแรก เพราะเราไม่ชอบคนที่ “ขาดความรับผิดชอบ” แบบนี้

 

5.ส่วนครี่งหลังนี่พังพินาศชิบหายวินาศสันตะโรมากที่สุด และความอดทนของเราก็ถึงขีดสุดเมื่อ “ตะวัน” กับ “แทคุณ” กลายเป็นผู้ชนะในงานประกวด โดยหนังไม่ได้อธิบายอะไรว่าทำไมถึงชนะ คือให้ F กับครึ่งหลังก็เพราะสาเหตุนี้แหละ

 

6.คือถ้าหากหนังจบลงตั้งแต่ครึ่งเรื่องแรก ด้วยการให้

 

6.1 ตะวันยอมรับความจริงว่าตัวเองมีขีดจำกัด เขาเอาชนะ stage fright ไม่ได้ เขาลาออกจากโรงเรียน แต่เรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่ “มีความรับผิดชอบในการทำงาน”

 

6.2 หรือไม่หนังก็เล่าเรื่องต่อไป โดยให้ตะวันเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ เพื่อที่จะเอาชนะ stage fright โดยไม่ต้องพึ่งพา HOPE เขากับ HOPE รักกัน แต่ทั้งสองต่างเรียนรู้ที่จะไม่พึ่งพากัน เรียนรู้ที่จะยืนหยัดอยู่ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร โดยหนังเล่าเรื่องในส่วนนี้ออกมาอย่าง “น่าเชื่อถือ”

 

คือถ้าหากเส้นเรื่องของหนังมันเป็นแบบ 6.1 หรือ 6.2 เราก็คงชอบหนังในระดับ A+30 ไปแล้ว

Saturday, October 22, 2022

RUDE AWAKENING

 

สืบเนื่องจากโพสท์ของพี่สนธยาเกี่ยวกับหนังค่าย HAMMER เราก็เลยจะเสริมว่า ถ้าหากใครอยากดูความยอดเยี่ยมของหนังค่ายนี้ อาจจะดูได้จาก RUDE AWAKENING (1980, Peter Sasdy) ได้นะ อันนี้เป็น made-for-TV movie ที่เคยมาฉายทางช่อง 3 ตอนที่เราเด็ก ๆ เราน่าจะได้ดูหนังเรื่องนี้ทางช่อง 3 ตอนประมาณปี 1983 มั้ง ดูแล้วก็ร้องกรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดด และยังคงประทับใจไม่รู้ลืมมาเป็นเวลานาน 39 ปีแล้ว กราบมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ นึกว่าหนักกว่า INCEPTION

https://www.youtube.com/watch?v=MR1qBuE96TI

Wednesday, October 19, 2022

SHOOT FROM HOME

 

SHOOT FROM HOME (2021, ธีรติ มินทร์ปภาภัทร, 29min, SECOND VIEWING, A+30)

 

1.เป็นหนึ่งในตัวแทนของหนังที่บันทึกยุคสมัยของวิกฤติโควิดได้ดีทีเดียว ทั้งในส่วนของเนื้อหาของเรื่อง และในส่วนของรูปแบบการถ่ายทำ ซึ่งตลอดทั้งเรื่องเหมือนเป็นการดูหน้าจอคอมผ่านโปรแกรม video chat แบบ ZOOM

 

คือในปี 2021 นั้น มีหนังสั้นไทยหลายเรื่องที่เป็นการให้ตัวละครคุยกันผ่านโปรแกรมแบบ ZOOM และมีหนังสั้นไทยหลายเรื่องที่พูดถึงความพยายามจะทำหนัง แต่ทำได้ไม่สำเร็จเพราะปัญหาโควิดระบาด และหนังเรื่องนี้ก็คือรวมจุดเด่นทั้งสองอย่างนี้ของหนังสั้นไทยในปี 2021 เข้ามาไว้ในเรื่องเดียวกัน

 

ลิสท์หนังไทยกลุ่ม video chat ในปี 2021
https://www.facebook.com/photo/?fbid=10228100883730717&set=a.10227993335122069

 

2.เหมือนเป็นหนังที่ไม่ได้ทำให้เราว้าวกับเนื้อเรื่องหรือเทคนิคการถ่ายทำ แต่ชอบ “ความจริงของชีวิตในยุคโควิด” ที่สะท้อนออกมาผ่านทางหนังเรื่องนี้มาก ๆ คือเหมือนหนังมันดูจริงมาก ๆ จนเราสงสัยว่ามันสร้างจากเรื่องจริงหรือเปล่า แบบเป็นหนังแนว NOT ONE LESS หรือ CLOSE-UP (1990, Abbas Kiarostami) หรือเปล่าที่เอาตัวคนจริง ๆ มาแสดงเป็นตัวเอง และเหตุการณ์ทั้งหมดในหนังคือเรื่องที่เคยเกิดขึ้นจริงมาแล้ว

 

3.ชอบการตัดสินใจของตัวละครในช่วงท้ายเรื่องมาก ๆ ที่ถอดใจแล้วว่า คงทำหนังแนวผีไซไฟไม่สำเร็จ ก็เลยตกลงกันว่าจะเอา “ประสบการณ์ในการทำหนังไม่สำเร็จ” มาสร้างเป็นภาพยนตร์แทน

 

คือเราชอบเพราะมันเป็น “การพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส” ได้ดี และมันสะท้อน spirit ในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ด้วย คือเหมือนชีวิตมนุษย์มักจะต้องไล่ตามความฝัน เจออุปสรรคที่ไม่คาดคิด ผิดหวัง ยอมแพ้ แต่ก็พยายามจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุดจากความพ่ายแพ้นั้น คือยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นว่าเราทำไม่สำเร็จ แต่ก็เรียนรู้ที่จะ “ปรับตัว” ไปตามสถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้อยู่รอดต่อไป

 

4.ก็เลยรู้สึกว่า ถึงแม้เนื้อเรื่องมันจะไม่ได้สนุกตื่นเต้นมากนัก แต่ชอบ “ความจริงของชีวิต” ที่อยู่ในหนังเรื่องนี้มาก ๆ

WHY DO THESE FILMS HAVE NO EXIT

 เห็นที่อาจารย์ดองตั้งคำถามไว้ จากการที่เราได้ดูหนังไทยบางเรื่องที่สะท้อนความสิ้นหวังของนักศึกษาสายภาพยนตร์ในช่วงนี้ เราก็เลยเดาเล่น ๆ ว่า สาเหตุของความสิ้นหวังอาจจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ประกอบร่วมกัน ซึ่งก็คงเป็นการเดาที่ผิดอย่างแน่นอน เพราะเราไม่ใช่เด็กรุ่นนี้ แต่ขอเดาเล่น ๆ ไว้ก่อน 55555


1.ปัญหาการเมืองในไทย ที่สร้างความหดหู่ต่อสภาพจิตใจคนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการประท้วงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่ยังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมได้มากนัก การจินตนาการว่าตัวเองจะต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปในประเทศนี้ไม่ใช่อะไรที่จะทำให้จิตใจแช่มชื่นได้ และเราก็จินตนาการไม่ออกเช่นกันว่า เราจะทำอะไรให้ประเทศนี้มันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราต้องการได้

2.วิกฤติโควิด-19 ที่สร้างความยากลำบากให้กับชีวิต, การทำงาน, การหาเลี้ยงชีพ และอาจส่งผลให้นักศึกษาในบางสาขามองว่าความสามารถหรือความรู้ของตัวเองอาจจะดูไม่มีประโยชน์มากนักเมื่อเทียบกับอาชีพแพทย์, พยาบาล, ETC. เหมือนวิกฤติโรคระบาดนี้นอกจากสร้างความยากลำบากอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว มันอาจทำให้บางคนตั้งคำถามเรื่องคุณค่าของตัวเองด้วย (แต่แน่นอนว่าทุกคนมีคุณค่าในตัวเองนะ)

3. กระแสความนิยมที่เปลี่ยนแปลงไป เหมือนคนดูภาพยนตร์ในโรงน้อยลงมาก ๆ คนหันไปดู tiktok หรืออะไรแทน คือถ้าหากเป็นเมื่อ 10-20 ปีก่อน อาจจะมีคนตั้งความฝันว่าอยากทำภาพยนตร์ดัง ๆ ได้เงิน แต่ทุกวันนี้มันไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว

4.และเหมือนโลกมันเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากท่ามกลางการพัฒนาของเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมาน่ะ จนทำให้เราอาจจะมองไม่ออกว่า เราจะทำงานอะไรที่มันจะมั่นคง หาเงินได้ดี เพราะความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมันทำให้ “อาชีพที่ทำเงินได้ดี” เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

คือเหมือนนักศึกษาบางคนอาจจะเกิดคำถามว่า เราเรียนอันนี้ไป จบแล้วจะทำงานอะไรดี มันมีงานไหนที่จะช่วยให้เรามั่นใจเรื่องรายได้ได้บ้าง, เรามีคุณค่าในตัวเองมากน้อยแค่ไหน และเราจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไรในประเทศเส็งเคร็งนี้   คือเหมือนเจอทั้ง political crisis, economic crisis, career crisis และ existential crisis ในเวลาเดียวกัน

คือเหมือนดูหนังนักศึกษาในช่วงนี้แล้วเรานึกถึง MELANCHOLY OF A VIDEO (2013, Ukrit Sa-nguanhai) ที่ถ่ายชายหนุ่มขี่มอเตอร์ไซค์ไปเรื่อย ๆ ในชนบทโดยเหมือนไม่มีจุดหมายหรืออะไร มันเหมือนกับการใช้ชีวิตในไทยในช่วงนี้ ที่ได้แต่ใช้ชีวิตไปวัน ๆ ไปเรื่อย ๆ เพราะโครงสร้างสังคมไม่เปิดโอกาสให้เรามีความหวังที่เรืองรองรออยู่

โพสต้นทางของอาจารย์ดอง
https://www.facebook.com/Nextlife.Records/posts/pfbid0c6pWMTvREQVVTHKfDSzBEVLFWusBMrZF8Bfgt8crRRofjKuedHJsuRtHWEeWx5Rkl
‐----

อัจฉราคืนเวหา (2021, ศิวกร บุญสร้าง, 15min, A+30)

1.พิศวงมาก เหมือนเป็นหนังอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีฉากเผาป่า แต่หนังเล่าเรื่องราวพิศวงของแม่กับลูกสาวที่ใช้ชีวิตอย่างแปลกประหลาดกับความเชื่อที่แปลกประหลาด ความประหลาดของมันก็เลยน่าจดจำมาก ๆ

2.นึกว่าต้องปะทะกับ MOTHER! (2017, Darren Aronofsky) ในแง่หนัง symbolic ที่พูดถึงโลก/ธรรมชาติ เหมือนกัน 555

3.คิดว่าถ้ามีการสร้างหนังเหนือจริง symbolic แบบนี้ ใน scale ที่ใหญ่กว่านี้ เราอาจจะได้หนังที่สามารถปะทะกับหนัง czech new wave ได้

LOW (ตม) (2021, วรัตม์ ศักดิ์สิทธานุภาพ, ชัญญา จูมิ, 16min, second viewing, A+30)

หนัง surreal ที่น่าสนใจดี ไม่แน่ใจว่าหนังจะพูดถึงอะไร แต่เราเดาเอาเองว่าประเด็นของหนังอาจจะพูดถึงการที่คนชนบทต้องการจะเข้ากรุงเทพ เพราะหวังว่ากรุงเทพจะช่วยให้ทางออกแก่ชีวิตที่ตีบตันในชนบท หรือช่วยดลบันดาลให้ความหวังหรือความฝันบางอย่างเป็นจริง แต่มันก็ไม่เป็นเช่นนั้น

มันก็เลยเศร้ามาก ๆ ที่ตัวละครพูดในทำนองที่ว่า เขาไม่เหลือความฝันอะไรอีกแล้ว หรือเขามองไม่เห็นตัวเองในอนาคต

ถ้าประเด็นของหนังเป็นแบบที่เราเดาไว้ เราก็คิดว่าจริง ๆ แล้วประเด็นของหนังมันอาจจะคล้าย ๆ กับหนังสั้นของไทยหลาย ๆ เรื่อง แต่จุดเด่นของหนังเรื่องนี้คือการใช้วิธีการนำเสนอแบบ surreal หลอน ๆ พิศวง ไม่ได้นำเสนอชีวิตตัวละครที่แร้นแค้นอย่างตรงไปตรงมาแบบหนังเรื่องอื่น ๆ

Tuesday, October 18, 2022

KRADUMPEE

 

BEFORE DIVORCE (2022, จักรภัทร รุ่งแสง, 17min, A+30)

 

กระฎุมพี (2019, พงษ์กวิน มั่นคง, 13min, A+30)

 

ดูแล้วนึกถึง Robert Bresson เพราะเป็นหนังที่เหมือนมี ellipsis เยอะมาก เหมือนเป็นหนังเล่าเรื่องที่ให้เราเห็นภาพเพียงเล็กน้อย แต่เราสามารถปะติดปะต่อได้เองว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ชอบวิธีการแบบนี้มาก ๆ

Monday, October 17, 2022

A DOCUMENTARY BY KULLAPAT

 

แด่สิ่งที่ไม่แปรเปลี่ยนชั่วนิรันดร์ (2021, กุลภัทร์ เอมมาโนชญ์, documentary, 28min, second viewing, A+25)

 

ตอนดูรอบแรกในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนครั้งที่แล้ว เราชอบแค่ในระดับประมาณ A- เท่านั้นมั้ง เพราะเราไม่ค่อยชอบ subjects ของหนัง 55555 แต่พอมาดูรอบสองด้วยใจที่เป็นกลาง ก็ทำให้ชอบหนังมากขึ้น เพราะหนังมันก็ไม่ได้พยายามเชิดชูตัว subjects ด้วยเทคนิคต่าง ๆ แต่อย่างใด แต่หนังเพียงแค่ปล่อยให้ subjects พูดไปเรื่อย ๆ เหมือนในแง่นึงหนังก็เปิดโอกาสให้เราได้รู้ว่า คนกลุ่มนี้คิดอะไรและทำอะไรบ้าง

Sunday, October 16, 2022

OCTOBER 2022

 รายงานผลประกอบการประจำวันเสาร์ที่ 15 ต.ค. 2022


1.EVANGELION: 3.0 +1.01 THRICE UPON A TIME (2021, Hideaki Anno, Japan, animation, 154min, A+30)

ดูที่ House รอบ 10.00

2.นิทรรศการ NODUS ที่ Numthong Gallery มีงานวิดีโอของคุณ Jakrawal Nilthamrong

3. นิทรรศการ TIMIRBHU: THE NEW WORLD ORDER by Nakrob Moonmanas ที่  Jim Thompson

4. QUALITIES OF LIFE: LIVING IN THE RADIANT COLD (2022, James Richards, video installation, A+30) ที่ Jim Thompson

5.นิทรรศการ THE MAY 18, THE GREAT HERITAGE OF KOREA'S DEMOCRACY ที่ Jim Thompson

6. GALLANT INDIES (2020, Philippe Beziat, France, documentary, A+30)

ดูที่ ALLIANCE รอบ 16.30

7. DOCTOR G (2022, Anubhuti Kashyap, India, A+30)

ดูที่  Esplanade Ratchada  รอบ 20.00

รายงานผลประกอบการประจำวันอาทิตย์ที่ 16 ต.ค. 2022

1. HALLOWEEN ENDS (2022, David Gordon Green, A+30)

ดูที่ Paragon รอบ 11.30

2. ALIVE DRIFT (2022, Ten Shimoyama, Japan, A+25)

ดูที่  Paragon รอบ 14.40

รายงานผลประกอบการประจำวันศุกร์ที่ 14 ต.ค. 2022

1. HOLY SPIDER (2022, Ali Abbasi, Denmark, A+30)

ดูที่ HOUSE รอบ 10.15

2. THE WITCHES OF THE ORIENT (2021, Julien Faraut, France, documentary, A+30)

ดูที่ doc club รอบ 13.45

3.นิทรรศการ HUMAN ERROR ที่ ART4C GALLERY ได้ดู video installations ด้วย 2 ชิ้น

4.LIKE SOMEONE IN LOVE (2012, Abbas Kiarostami, Japan/France, A+30)

ดูที่  Doc Club รอบ 17.50

5.LOS REYES (2018, Bettina Perut, Ivan Osnovikoff, Chile, documentary, A+30)

ดูที่ Doc Club  รอบ 20.00

QUALITIES OF LFE: LIVING IN THE RADIANT COLD (2022, James Richards, video installation,17min, A+30)

ภาพส่วนหนึ่งในวิดีโอนี้มันคือการส่องกล้องเข้าไปในรูตูดแล้วสำรวจลำไส้ใหญ่หรือเปล่า

From the exhibition THE MAY 18, THE GREAT HERITAGE OF KOREA'S DEMOCRACY @ Jim Thompson

1.ดีงามมาก ๆ เป็นนิทรรศการภาพถ่ายที่เล่าเรื่องปวศ.การเมืองเกาหลีตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1960 จนถึงช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยโฟกัสไปที่  GWANGJU MASSACRE

2.ดูแล้วก็นึกถึงปวศ.ไทยในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการต่อสู้กับเผด็จการมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี และการนองเลือด แล้วเราก็เพิ่งรู้ว่า "การประท้วงของคนงานโรงงานหญิง" เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญในเกาหลีใต้ด้วย นึกถึงหนังสารคดีเรื่อง "การต่อสู้ของกรรมกรหญิงโรงงานฮาร่า" (1975, จอน อึ้งภากรณ์) เลย

แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือว่า เกาหลีใต้เขาต่อสู้จนรอดพ้นจากเผด็จการมาได้นานแล้ว ส่วนไทยนั้น...

3.เหมือนเราเคยดูหนังเกาหลีที่พูดถึงปวศ.การเมืองมาบ้าง แต่หนังแต่ละเรื่องมันเจาะเป็นหนึ่งเหตุการณ์น่ะ ในขณะที่นิทรรศการนี้มันร้อยเรียงหลายเหตุการณ์เข้าด้วยกัน

เหมือนนิทรรศการนี้มันร้อยเรียงหนังเหล่านี้เข้าด้วยกันด้วย

3.1 THE PRESIDENT'S BARBER (2004, Lim Chang-san)

3.2 THE PRESIDENT'S LAST BANG (2005, Im Sang-soo)

3.3 A PETAL (1996, Jang Sun-woo)

3.4 HUNT (2022, Lee Jung-jae)

3.5 AN ESCALATOR IN WORLD ORDER (2011, Kim Kyung-man, documentary)

3.6 THE OLD GARDEN (2006, Im Sang-soo)

IN LOVE by Thanapat Ngamngernwan ที่ Art4c Gallery

นึกถึงตัวเองมาก ๆ เราเองก็อยากเขียน fiction ที่เป็นแฟนตาซีทางเพศของเราเหมือนกัน

นึกถึงหนึ่งในชายหนุ่มที่เราแอบหลงรักตอนม.2 ในราว ๆ ปี 1985 ด้วย ตอนนั้นเราไปเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ แล้วก็อยากได้เพื่อนร่วมชั้นคนหนึ่งเป็นผัว นี่แหละค่ะ ข้อดีของโรงเรียนสอนศาสนา

ตอนนี้เวลาผ่านมานาน 37 ปีแล้ว เรายังสงสัยอยู่ว่าเขามีลูกมีเมียหรือยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่านะ

FEMME-FAR-TELL (2022, Pareeya Udorn, video installation) ดูที่ Art4c Gallery

FUNGI-FI (2022, Enrico Dedin, video installation 1min)

DEBRIS (2022, Jakrawal Nilthamrong, video installation, 10min)

เสียดายที่วิดีโอเสียงมันเบา และไม่มี subtitle เราเลยฟังไม่ค่อยออกว่าเสียงบรรยายพูดว่าอะไรบ้าง

ตอนที่เราได้ชมภาพยนตร์ของคุณ Jakrawal ครั้งแรกในปี 2006 เรามีภาพจำว่าหนังของเขาจะมีความพุทธ ๆ พราหมณ์ ๆ ศาสนา อะไรทำนองนี้ แต่พอมาได้ดู DEBRIS เราก็เลยเพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่า ผลงานภาพเคลื่อนไหวของคุณจักรวาลหลายเรื่อง มันพูดเรื่องธรรมชาติด้วยเหมือนกัน (จริง ๆ แล้วรากศัพท์ของคำว่า ธรรมชาติ ก็มีคำว่า ธรรมะ อยู่ด้วยหรือเปล่า 55555) อย่างเช่น MAN AND GRAVITY:PLATEAU (2009) ที่เรารู้สึกว่ามันดูมีความศาสนา แต่หนังมันก็นำเสนอธรรมชาติหรือลักษณะทางกายภาพของโลกอยู่ด้วย, ANATOMY OF TIME (2021) ก็ดูมีทั้งความธรรมะและธรรมชาติผสมอยู่รวมกัน ในขณะที่ UNREAL FOREST (2010), INTRANSIT (2013) และ INVALID THRONE (2018) ก็เหมือนนำเสนอแง่มุมบางอย่างทางธรรมชาติอยู่ด้วย

ช่วงคิดเองเออเอง FACES OF ANNE

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
พอเพื่อนบอกว่า แอนโทนี่ ทำให้นึกถึง "โทนี่" เราก็เลยจะบอกว่า ชุดของตัวละครชายอีกคน ทำให้เรานึกถึง "เชิ้ตผ้าฝ้ายขาว" ของธนาธร ซึ่งผู้กำกับคงไม่ได้ตั้งใจ แต่พอเราเป็นแฟนคลับของธนาธร พอเห็นเสื้ออะไรแบบนี้ ก็เลยนึกถึงไปเอง 55555

https://voicetv.co.th/read/ByjvP_4az

นิทานก่อนตื่น (2022, Boonyaree Tantinarawat, video installation, A+30)

ชอบสุดขีด เราเดาว่าตัววิดีโอนี้ถ้าไปฉายใน setting อื่น ๆ แบบในโรงปกติ มันอาจจะไม่ทรงพลังด้วยตัวมันเองมากนัก แต่พอมันฉายใน setting นี้ แล้วมันมีมนตร์ขลังมาก ๆ

ดูในนิทรรศการ HUMAN ERROR ที่ ART4C

นี่คือใบหน้าทางจิตของดิฉันเมื่อ 30 ปีก่อน 55555 -- Yoko Minamino, Talisa Soto, Isabelle Adjani, ปทุมรัตน์ วรมาลี

หนึ่งในการประกอบสร้างตัวตนของดิฉันก็มาจากกลุ่มเพื่อน ๆ ด้วย คือในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ตอนที่ดิฉันเรียนอยู่ม.ปลายนั้น เพื่อน ๆ ในกลุ่ม จะสมมุติตัวเองเป็นนางแบบ Revlon กัน ดิฉันเป็น Talisa Soto ส่วนคนอื่น ๆ ในกลุ่มก็เป็น Cindy Crawford, Jerry Hall, Tatjana Patiz, Iman, etc.

ถ้าจะมีการสร้างหนังประวัติชีวิตดิฉัน ก็ให้ Yoko Minamino, Talisa Soto, Isabelle Adjani, ปทุมรัตน์ มาแสดงเป็นดิฉันได้นะคะ ดิฉันไม่เกี่ยงเรื่องเพศหรือสีผิว หรือหนังหน้าไม่ตรงกับตัวจริง 55555


หนังที่อยากดู แต่ไม่สามารถหาเวลาไปดูได้

3.COME BACK ANYTIME (2021, John Daschbach, Japan, documentary)

4. VIKRAM VEDHA (2022, Gayatri and Pushkar, India)

COME BACK ANYTIME นี่ถือเป็นบทเรียนสำหรับเราว่าอย่าประมาท เพราะเราคิดว่าหนังเรื่องนี้น่าจะฉายหลายสัปดาห์ เราก็เลยไม่ได้รีบดูในสัปดาห์แรก ๆ แล้วก็วางแผนว่าจะไปดูในวันอังคารที่ 4 ต.ค. แต่พอดีช่วงนั้นเรามีอาการเห็น "รอยเปรอะเหมือนน้ำโคลนเป็นจุด ๆ หลายจุด ลอยไปลอยมาในดวงตา" เราก็เลยกลัวว่าจะเป็นจอประสาทตาฉีกขาด เพราะก่อนหน้านี้เราเคยมีอาการจอประสาทตาฉีกขาดมาแล้ว 4 จุด เราก็เลยรีบไปหาหมอในวันที่ 4 ต.ค. ก็เลยไม่ได้ดูหนัง แล้วรอบฉาย COME BACK ANY TIME อีกรอบก็ตรงกับงานกางจอ เราก็เลยไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ในที่สุด

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าประมาท เพราะโชคชะตามักจะหาโอกาสเล่นงานเราอย่างโหดร้ายอยู่เสมอ

ช่วงนี้เราไปหาจักษุแพทย์มาแล้ว 3 รอบ แต่ยังไม่เจอจอประสาทตาฉีกขาดเป็นจุดที่ 5 แต่อย่างใด ก็ถือว่ายังโชคดีอยู่

อาการผิดปกติครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อค่ำวันอาทิตย์ที่ 9 ต.ค. วันนั้นเราเห็นอาการคล้าย ๆ ฟ้าผ่าหรือแสงแฟลชในลูกตาเป็นร้อย ๆ รอบ จิตตกหนักมาก แต่ไปหาหมอแล้วก็ยังไม่เจออะไร

วันนี้เราก็ยังเห็นแสงแว้บ ๆ ในลูกตาอยู่นะ แต่เลิกกังวลกับมันแล้ว น่าจะเป็นวุ้นลูกตาเสื่อม แล้วทำให้เราเห็นเป็นแสงขาวแว้บ ๆ มั้ง เราเดาว่าอย่างนั้น


RED'S SCAR บาดแผลสีแดง (นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์, documentary, 12min, second viewing, A+30)

เหมือนเป็นภาคสองต่อจาก "นครอัศจรรย์: MIGHT" (2011, Wachara Kanha) เพราะนครอัศจรรย์สัมภาษณ์ทนายความในคดีเผาศาลากลาง ส่วนหนังเรื่องนี้สัมภาษณ์ผู้บริสุทธิ์ที่ติดคุกเป็นเวลานานในคดีดังกล่าว เขาต้องสูญเสียหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตอย่างที่ไม่อาจเรียกคืนมาได้ ดูแล้วก็รู้สึกเศร้าใจมาก ๆ กับความอยุติธรรมของประเทศไทย

RED POETRY: VERSE 1 เราไปไหนได้ (2021, Supamok Silarak, ธะเบลพอ, documentary, 10min,  second viewing, A+30)

ดีมาก ๆ ที่มีคนบันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ครั้งนี้ไว้ เรามองว่าหนังแบบนี้จะยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ในฐานะบทบันทึกทางประวัติศาสตร์

สำหรับเรา หนังแบบนี้ถือเป็น "หนัง superhero ในชีวิตจริง" นับถือความกล้าหาญของนักสู้เหล่านี้มาก ๆ


WAITING LIST (2021, สวิตต์ นาคสกุล, documentary, 30min, second viewing, A+30)

หนังเหมือนถ่ายลานด้านนอกอาคารร้าง ๆ ไปเรื่อย ๆ แล้วมีฉากคนเล่นหมากรุกเข้ามาในช่วงท้าย ชอบสุด ๆ เหมือนหนังถ่ายอาคารสถานที่ร้าง ๆ แบบนี้ออกมาได้อย่างมีมนตร์เสน่ห์มาก ๆ เหมือนมันกระตุ้นจินตนาการถึงอดีตของพื้นที่นั้น ๆ ได้ดีมาก ๆ ดูแล้วรู้สึกเศร้า ๆ ด้วย

มารู้ทีหลังว่าหนังอาจจะพูดถึง gentrification ของพื้นที่แถบดินแดง ก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ยิ่งน่าสนใจมากยิ่งขึ้นไปอีก

เพื่อนคนนึงสงสัยว่า มีการทำสารคดีเกี่ยวกับชีวิตชาวแฟลตดินแดงบ้างหรือเปล่า เพราะเขารู้สึกว่าชีวิตชาวแฟลตดินแดงน่าสนใจมาก เหมาะติดตามถ่ายทำเป็นเวลานาน ๆ เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงของชีวิตผู้คนขณะพื้นที่บริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป

Friday, October 14, 2022

13102022

 

รายงานผลประกอบการ ประจำวันที่ 13 ต.ค. 2022

 

1.FACES OF ANNE (2022, Kongdej Jaturanrasamee, Rasiguet Sookkarn, A+30)

 

ดูที่ Major Ratchayothin รอบ 12.00

 

คิดว่าประเด็นที่แท้จริงของหนังเรื่องนี้คงอ่านได้จาก reviews ของคนอื่น ๆ นะคะ

 

แต่สิ่งที่เราหยุดหัวเราะไม่ได้คือมีจุดหนึ่งของหนังที่ทำให้นึกถึงตัวเองตอนวัยรุ่น เพราะจิตแพทย์ในหนังพูดในช่วงนึงของหนังว่า หน้าของนางเอกเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามคนที่นางเอกอยากจะเป็น แต่นางเอกควรยอมรับใบหน้าที่แท้จริงของตัวเองให้ได้

 

เราก็เลยนึกถึงตัวเองตอนวัยรุ่น ที่วางแผนว่าโตขึ้นแล้วอยากผ่าตัดแปลงเพศ อยากทำศัลยกรรม ตอนนั้นคนที่เราใฝ่ฝันอยากเป็นก็มีเช่น Yoko Minamino, Isabelle Adjani, Talisa Soto, Martine Maury, etc.

 

ลองนึกถึงคนที่คิดว่าตัวเองสวยสง่าแบบ Isabelle Adjani แต่พอส่องกระจกแล้วพบว่าใบหน้าของตัวเองเหมือน Jit Phokaew ดูสิคะ สยองขวัญพอไหม 55555

 

อยากให้ “หอแต๋วแตก” ภาคใหม่ ล้อเลียนทั้ง มายาพิศวง + FACES OF ANNE เป็น SIX CHARACTERS IN SEARCH OF AN AUTHOR + MANY PERSONALITIES IN SEARCH OF THE TRUE SELF AND AN EXIT FROM THAILAND’S VICIOUS CIRCLE = EVERY CHARACTER IN หอแต๋วแตก IN SEARCH OF A HUSBAND EVERYWHERE ALL AT ONCE

 

 

2.THA RAE UNITED (2022, Sakchai Deenan, A+30)

ท่าแร่ยูไนเต็ด

 

ดูที่ Major Ratchayothin รอบ 14.40

 

ชอบตอนจบของหนังอย่างรุนแรง รู้สึกว่ามัน "ไม่ฝืน" ดี มันปล่อยให้ตัวละครเป็นอย่างที่มันควรเป็น

 

แต่ยอมรับว่า พอมันเป็นเรื่องผู้ชายเตะบอล เราเลยไม่รู้สึกอินกับหนังมากเท่ากับ "บั้งไฟสไลเดอร์" 55555

 

3.THE ONE HUNDRED (2022, Chalit Krileadmongkon, Pakphum Wongjinda, A)

 

ดูที่ Major Ratchayothin รอบ 17.00

 

ชอบครึ่งแรกของหนังอย่างมาก ๆ เหมือนมันปูสถานการณ์และสร้างตัวละครออกมาได้เข้าทางเราในระดับ A+30 แต่พอช่วงครึ่งหลังที่สัตว์ประหลาดมันอาละวาดอย่างเต็มที่ เรารู้สึกว่าหนังมันไม่สนุกเอาเสียเลย ระดับความชอบก็เลยหล่นฮวบลงเรื่อย ๆ

 

4. GOODBYE (2022, Vikas Bahl, India, A+30)

 

ดูที่ Esplanade Ratchada รอบ 20.00

ซึ้งสุด ๆ นึกว่าสร้างมาตบกับหนังญี่ปุ่นที่ชอบทำหนัง genre นี้ เราว่าหนังมันมีความการเมืองด้วย เพราะตัวละครพ่อแม่+ลูก 3 เป็นฮินดู แต่ลูกบุญธรรมเป็นซิกข์ และสาวใช้เหมือนมาจากกลุ่มชาติพันธุ์อะไรสักกลุ่ม (หน้ากระเดียดมาทางคนไทยมาก ๆ) ตัวละครครอบครัวนี้เลยสะท้อนลักษณะเฉพาะของสังคมอินเดียที่ญี่ปุ่นไม่มีด้วย

 

สรุปว่าตอนนี้ใช้บัตร M PASS ปีสอง ดูหนังไปแล้ว 83 เรื่อง เฉลี่ยเรื่องละ 58 บาท

 

Tuesday, October 11, 2022

TAIWAN DOCUMENTARY FILM FESTIVAL 2022

ตารางชีวิตฮิสทีเรียของกะหรี่สาวดาวมฤตยู

 

THURSDAY 27 OCT

18.00 A SILENT GAZE (2022, Huang Hsin-yao, 181min)

@DOC CLUB

 

FRIDAY 28 OCT

16.15 RAIN IN 2020 (2021, Lee Yong-chao, 79min)

@DOC CLUB

 

18.00 SHORTS

@DOC CLUB

 

SAT 29 OCT

12.00 CROSSING’S END (2021, Shih Yu-lun, 116min) + THE MAKING OF CRIME SCENES (2021, Hsu Che-yu, 22min)

@DOC CLUB

 

14.45 GREEN JAIL (2021, Huang Yin-yu, 101min)

@DOC CLUB

 

17.30 REMEMBER ME (2022, Hung Chun-hsiu, 85min)

@DOC CLUB

 

19.35 DAD’S SUIT (2018, Po-hao Hung, 95min)

@HOUSE SAMYAN

 

SUNDAY 30 OCT

12.30 CITY OF LOST THINGS (2020, Chih-yen Yee, 91min)

@ DOC CLUB

 

15.15 THE BRIDE WHO HAS RETURNED FROM HELL (1965, Chi Hsin, 117min)

@HOUSE

 

17.25 TARZAN AND THE TREASURE (1965, Liang Zhefu, 83min)

@HOUSE

 

19.00 THE TERRORIZERS (1986, Edward Yang, 109min)

@HOUSE