ภาพยนตร์,
พลังของคนหนุ่มสาว, ความแตกต่างระหว่าง PROTEST
กับ RESISTANCE และการล่มสลาย
Ulrike
Meinhof หนึ่งในหัวหน้าคนสำคัญของแก๊งบาเดอร์-ไมน์ฮอฟ เคยพูดว่า
“Protest
is when I say this does not please me.
Resistance
is when I ensure what does not please me occurs no more”
พอเราได้ดูหนังเรื่อง
WHEN THERE IS NO MORE MUSIC TO WRITE, AND OTHER ROMAN
STORIES (2022, Éric Baudelaire, France, documentary, A+30) ในเทศกาลภาพยนตร์
Signes de Nuit ในวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา
ซึ่งหนังเรื่องนี้มีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กลุ่ม Red
Brigades ลักพาตัวและสังหารนายกรัฐมนตรี Aldo Moro ของอิตาลีในปี 1978 เราก็เลยคิดขึ้นมาได้ว่า จริง ๆ
แล้วเราสนใจหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นพวกนี้มาก ๆ
นั่นก็คือหนังเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางสังคม โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวของคนหนุ่มสาวในทศวรรษ
1960 ในหลายประเทศทั่วโลก
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในตอนแรกจะเป็นความเคลื่อนไหวแบบสันติ เน้นการประท้วงตามท้องถนน
ซึ่งความเคลื่อนไหวเหล่านี้ดูเหมือนจะไปถึงจุดสุกงอมในเหตุการณ์ MAY 1968 ที่ฝรั่งเศส แต่พอคนหนุ่มสาวหลายคนเห็นว่า
การประท้วงตามท้องถนนไม่ให้ผลสำเร็จตามที่พวกเขาต้องการ
พวกเขาก็เลยหันไปใช้ความรุนแรงเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
และจัดตั้งกลุ่มก่อการร้ายขึ้นมาแทน โดยเฉพาะกลุ่ม Red Army Faction (RAF) หรือแก๊งบาเดอร์-ไมน์ฮอฟ ในเยอรมนี และกลุ่ม Red Brigades ในอิตาลี และนั่นก็นำมาซึ่งความล้มเหลวอย่างรุนแรงของพวกเขาและความชิบหายในทุกภาคส่วนในเวลาต่อมา
ซึ่งเรารู้สึกว่าเรื่องราวของคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เหล่านี้มันน่าสนใจมาก ๆ
เราก็เลยคิดว่าเราควรถือโอกาสนี้จดรายชื่อหนังเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ที่เราเคยดูแล้ว
และหนังเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ที่เราอยากดู แต่ยังไม่ได้ดูดีกว่า
เราว่าประเด็นเรื่อง
“คนหนุ่มสาวที่ละทิ้งการประท้วงแบบสันติ และผันตัวไปเป็นผู้ก่อการร้าย” ในทศวรรษ 1970 มันเป็นประเด็นที่เราสนใจในแง่ความเป็นตัวละครในภาพยนตร์ (แต่เราไม่ได้อยากเจอคนแบบนี้ในชีวิตจริงนะคะ)
เพราะคนกลุ่มนี้มัน “เทา” ดีน่ะ มันเหมือนมีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดีอยู่ตัว
มันเลยเป็น “ตัวละคร” ที่กลมมาก ๆ เวลาอยู่ในภาพยนตร์ เพราะพวกเขาไม่ใช่
“ผู้ก่อการร้ายกระหายเลือดที่ฆ่าคนเป็นเวลาเล่น”
แบบตัวละครผู้ก่อการร้ายในหนังแอคชั่น แต่พวกเขาก็ไม่ใช่ “นักเคลื่อนไหวแบบอหิงสา”
แบบ Sophie Scholl ด้วยเช่นกัน
พวกเขาเหมือนจะมีอุดมการณ์ที่ดี
แต่พวกเขาเลือกใช้ความรุนแรงและการก่อการร้ายเพื่อให้บรรลุอุดมการณ์ของพวกเขา
เพราะฉะนั้นเวลาพวกเขาเป็นตัวละครในภาพยนตร์ มันก็เลยเป็นตัวละครที่เทา ๆ กลม ๆ
มาก ๆ มันไม่ได้เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้บริสุทธิ์กับกลุ่มคนชั่วร้ายแบบนาซี มันไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งที่ขาวจัดดำจัด
เราว่าแก๊งบาเดอร์-ไมน์ฮอฟ
มันน่าสนใจสำหรับเรามากเป็นพิเศษด้วยแหละ
เพราะแก๊งนี้มีผู้หญิงเป็นแกนนำร่วมอยู่ด้วย 2 คน ซึ่งก็คือ Ulrike Meinhof และ Gudrun
Ensslin และแก๊งนี้มันมีเรื่องราวอะไรหลายๆ อย่างที่น่าสนใจ
อย่างเช่น
1.เราเคยได้ยินว่า การที่หนุ่มสาวชาวเยอรมันตะวันตกในยุคทศวรรษ 1970 ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวแบบนี้ ในแง่หนึ่งมันเป็นเพราะพวกเขาต้องการตอบโต้
“พ่อแม่ของตนเองที่เคยสยบยอมต่อนาซี” ด้วย คือเหมือนคนที่เป็นหนุ่มสาวชาวเยอรมันตะวันตกในทศวรรษ
1970 คงเป็นพวกที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สองน่ะ
และพวกเขาก็เติบโตขึ้นมาพร้อมกับการเรียนรู้จากประวัติศาสตร์สงครามโลก
และคงตั้งข้อสงสัยตั้งแต่เด็กว่า พ่อแม่ของพวกเขาเคยทำอะไรบ้างในยุคนาซี
ทำไมพ่อแม่ของพวกเขาไม่ลุกขึ้นมาต่อต้านนาซีซะตั้งแต่ในทศวรรษ 1930 การลุกขึ้นต่อสู้กับผู้มีอำนาจมันเป็นสิ่งที่ทำได้นะ
เราไม่จำเป็นจะต้องสยบยอมต่อผู้มีอำนาจซะหน่อย
และถ้าหากพ่อแม่ของเราไม่ยอมทำแบบนั้นในยุคนาซี
เราซึ่งเป็นลูกก็จะลุกขึ้นมาทำซะเองในยุคของเรา
และแสดงให้เห็นว่าการลุกขึ้นสู้มันเป็นสิ่งที่ทำได้
2.ถ้าหากเราจำไม่ผิด หนังเรื่อง THE THIRD GENERATION (1979, Rainer
Werner Fassbinder, West Germany) มันแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจของกลุ่มนี้ด้วย
เพราะในตอนแรกนั้น หนุ่มสาวกลุ่มนี้อาจจะ transform จาก
“การประท้วงแบบสันติ” มาเป็น “การต่อสู้ด้วยการก่อการร้าย เพื่ออุดมการณ์”
แต่หลังจากแกนนำของแก๊งบาเดอร์-ไมน์ฮอฟเสียชีวิตกันไปแล้วในช่วงกลางทศวรรษ 1970
สมาชิกแก๊งที่เหลืออยู่ ก็ยังคงต่อสู้ด้วยการก่อการร้ายต่อไป
แต่เหมือนพวกเขาสูญเสียอุดมการณ์กันไปแล้ว
มันก็เลยเหมือนเป็นการก่อการร้ายเพื่อความรุนแรงในตัวมันเอง หรือเพื่ออะไรก็ไม่รู้
ไม่ใช่การก่อการร้ายแบบมีอุดมการณ์เหมือนที่แกนนำรุ่นแรกเคยทำไว้
และในที่สุด
หนังเรื่อง THE THIRD GENERATION ก็แสดงให้เห็นว่า ขบวนการก่อการร้ายก็กลายเป็นเครื่องมือของเผด็จการหรือของรัฐบาลทุนนิยมในที่สุด
โดยที่นักก่อการร้ายไม่รู้ตัว คือเราก็จำรายละเอียดในหนังเรื่อง THE THIRD
GENERATION ไม่ได้แล้ว แต่ถ้าหากเราจำไม่ผิด เหมือนกับว่าจริง ๆ
แล้วพวกเผด็จการ/ผู้มีอำนาจ/รัฐบาลทุนนิยม แอบให้เงินทุนสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอย่างลับ
ๆ น่ะ โดยที่กลุ่มก่อการร้ายก็ไม่รู้ว่าเงินทุนพวกนี้มาจากไหน
แต่ฝ่ายผู้มีอำนาจได้วางแผนอย่างแยบยลไว้แล้วว่า
ยิ่งกลุ่มก่อการร้ายใช้ความรุนแรงมากเท่าไหร่
ประชาชนก็จะยิ่งหันไปสนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายขวาจัด, สนับสนุนการออกกฎหมายที่เน้นความปลอดภัย,
สนับสนุนให้รัฐบาลออกมาตรการอะไรแบบเผด็จการเพื่อรักษาความสงบสุขของสังคมมากเท่านั้น,
etc. ผู้ก่อการร้ายก็เลยกลายเป็นหุ่นเชิดหรือเครื่องมือของศัตรูที่พวกเขาต่อต้าน
โดยที่ผู้ก่อการร้ายเองก็ไม่รู้ตัว
ส่วนหนังเรื่อง
WHEN THERE IS NO MORE MUSIC TO WRITE, AND OTHER ROMAN
STORIES ที่เราเพิ่งได้ดู
ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของหนังกลุ่มนี้ที่แสดงให้เห็นถึง “ความเทา” ของคนกลุ่มนี้ได้ดีมาก
ๆ เพราะหนังสารคดีเรื่องนี้เน้นเล่าเรื่องของ “ชายขายดอกไม้”
ที่เข้าไปพัวพันกับแผนการของกลุ่ม Red Brigades โดยบังเอิญ
โดยกลุ่ม Red Brigades นั้นวางแผนไว้ล่วงหน้าว่า
จะลักพาตัวนายกรัฐมนตรี Aldo Moro ที่จุดใด แต่ทางกลุ่มพบว่า
ในการลักพาตัวนายกรัฐมนตรีที่จุดนั้น ชายคนหนึ่งที่เปิดแผงขายดอกไม้ตรงจุดนั้น
อาจจะโดนยิงตายไปด้วย ทางกลุ่ม Red Brigades ก็เลยไปกรีดยางรถของชายขายดอกไม้ในเช้าวันปฏิบัติการ
ชายขายดอกไม้ก็เลยเดินทางไปขายดอกไม้ที่จุดประจำในวันนั้นไม่ได้
เขาก็เลยรอดชีวิตไป และการที่เขารอดชีวิตไปได้นั้นก็เป็นเพราะทางกลุ่ม Red
Brigades จงใจที่จะไม่ทำร้ายเขา อย่างไรก็ดี
ทางกลุ่มได้สังหารบอดี้การ์ดของนายกรัฐมนตรีตายไป 5 คน
และสังหารนายกรัฐมนตรี Aldo Moro ในเวลาต่อมา
ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่ได้เห็นด้วยกับการกระทำของกลุ่ม Red Brigades เลยแม้แต่นิดเดียว แต่หนังสารคดีเรื่องนี้ก็สะท้อนความซับซ้อนของคนกลุ่มนี้ออกมาได้ดีมาก
เราขอจดรายชื่อหนังเหล่านี้โดยแบ่งเป็น
3 กลุ่มก็แล้วกัน ซึ่งก็คือ 1.หนังเกี่ยวกับการประท้วงแบบสันติ, ความเคลื่อนไหวทางสังคมแบบสันติ
(อย่างเช่นการตั้ง commune) หรือการประท้วงที่ยังไปไม่ถึงระดับการก่อการร้าย
ในทศวรรษ 1960 หรือหลังจากนั้น, 2.หนังเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้ายในยุคนั้น
และ 3.หนังเกี่ยวกับชีวิตของอดีตผู้ก่อการร้าย/นักเคลื่อนไหว
เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แล้ว
1.หนังเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวแบบสันติ หรือการประท้วงที่ยังไปไม่ถึงขั้นการก่อการร้าย
1.1 ZABRISKIE
POINT (1970, Michelangelo Antonioni)
1.2 COUP
POUR COUP (1972, Marin Karmitz)
1.3 JONAH,
WHO WILL BE 25 IN THE YEAR 2000 (1976, Alain Tanner, Switzerland)
1.4 WOMEN
WORKERS OF HARA FACTORY (1976, Jon Ungpakorn, Thailand, documentary)
1.5 HEAVEN
AND HELL (1988, Morten Arnfred, Denmark)
1.6 TOGETHER
(2000, Lukas Moodysson, Sweden)
1.7 REGULAR
LOVERS (2005, Philippe Garrel)
1.8 GIE
(2005 Riri Riza, Indonesia)
1.9 1971
(2014, Johanna Hamilton, documentary)
หนังที่เราอยากดูในกลุ่มนี้
1.10 BE
SEEING YOU (1968, Chris Marker, Mario Marret, documentary)
1.11 SOMETHING
IN THE AIR (2012, Olivier Assayas, France)
2.หนังเกี่ยวกับผู้ก่อการร้าย,
กลุ่มคนนอกกฎหมาย หรือผลกระทบจากปฏิบัติการของคนเหล่านี้
2.1 LA
CHINOISE (1967, Jean-Luc Godard, France)
2.2 THE
LOST HONOR OF KATHARINA BLUM (1976, Margarethe von Trotta, Volker Schlöndorff,
West Germany)
2.3 KNIFE
IN THE HEAD (1978, Reinhard Hauff, West Germany)
2.4 THE
SECOND AWAKENING OF CHRISTA KLAGES (1978, Margarethe von Trotta, West Germany)
2.5 MESSIDOR
(1979, Alain Tanner, Switzerland)
2.6 THE
THIRD GENERATION (1979, Rainer Werner Fassbinder, West Germany)
2.7 TRAGEDY
OF A RIDICULOUSMAN (1981, Bernardo Bertolucci)
2.8 BOY’S
CHOIR (2000, Akira Ogata, Japan)
2.9 THE
RASPBERRY REICH (2004, Bruce La Bruce, Canada)
2.10 HATSUKOI
(2006, Yukinari Hanawa, Japan)
2.11 THE
BAADER MEINHOF COMPLEX (2008, Uli Edel)
2.12 IF
NOT US, WHO? (2011, Andres Veiel, Germany)
2.13 7 DAYS
IN ENTEBBE (2018, José Padilha, UK)
2.14 WHEN
THERE IS NO MORE MUSIC TO WRITE, AND OTHER ROMAN STORIES (2022, Éric
Baudelaire, France, documentary)
หนังที่เราอยากดูแต่ยังไม่ได้ดูในกลุ่มนี้
2.15 GERMANY
IN AUTUMN (1978, Various directors, West Germany)
https://www.imdb.com/title/tt0077427/fullcredits?ref_=tt_ov_dr_sm
2.16 MARIANNE
AND JULIANE (1981, Margarethe von Trotta, West Germany)
2.17 STAMMHEIM
– THE BAADER-MEINHOF GANG ON TRIAL (1986, Reinhard Hauff, West Germany)
2.18 PATTY
HEARST (1988, Paul Schrader)
2.19 THE
SECOND TIME (1995, Mimmo Calopresti, Italy)
2.20 BLACK
BOX BRD (2001, Andres Veiel, Germany, documentary)
2.21 BAADER
(2002, Christopher Roth, Germany)
2.22 THE
WEATHER UNDERGROUND (2002, Bill Siegel, Sam Green, documentary)
2.23 GOOD
MORNING, NIGHT (2003, Marco Bellocchio, Italy)
2.24 THE
CAMDEN 28 (2007, Anthony Giacchino, documentary)
3.เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น
ชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างไร
3.1 THE
STATE I AM IN (2000, Christian Petzold, Germany)
3.2 THE
OLD GARDEN (2006, Im Sang-soo, South Korea)
3.3 MELANCHOLIA
(2008, Lav Diaz, Philippines, 7 hours 30mins)
3.4 TO
DIE OF LOVE (2009, Josée Dayan, France)
3.5 THE
COMPANY YOU KEEP (2012, Robert Redford)
ใครอยากพูดถึงหนังเรื่องไหนในแนวนี้ที่เคยดูแล้วประทับใจก็
comment มาได้นะคะ
จริง ๆ
แล้วเราไม่ได้มีความรู้เรื่องความเคลื่อนไหวทางสังคมอะไรพวกนี้เลยนะ ข้อมูลทั้งหมดที่เราเขียนมามาจาก
“ภาพยนตร์” ที่เราได้ดู ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่ามันตรงกับความจริงหรือเปล่า 555
ถ้าใครอยากให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เขียนมาได้เช่นกันนะคะ