Monday, March 31, 2025

DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION OF THE WORLD (1995, Tsutomu Shibayama, Japan, animation, 97min, A+30)

 

รายงานผลประกอบการประจำวันอาทิตย์ที่ 30 มี.ค. 2025

 

วันนี้เราออกมาดูหนังในโรงภาพยนตร์ 5 เรื่อง ตอนแรกเรานึกว่าวันนี้คนในห้างสรรพสินค้าจะน้อย เรานึกว่าคนอาจหวาดกลัวแผ่นดินไหวกัน ปรากฏว่าคนในห้างสรรพสินค้ายังคงแน่นเหมือนเดิม (หรือเปล่า) โดยเฉพาะที่สามย่านมิตรทาวน์ที่เราหาที่นั่งว่างใน FOOD COURT ไม่ได้เลยตอนเที่ยง

 

1. A ROAD TO A VILLAGE (2023, Nabin Subba, Nepal, 106min, A+30)

 

ดูที่ HOUSE SAMYAN รอบ 10.00 น.

 

2. PRESENCE (2024, Steven Soderbergh, 84min, A+30)

 

ดูที่ HOUSE SAMYAN รอบ 12.55 น.

 

3. EMILIA PÉREZ (2024, Jacques Audiard, France/Mexico, 132min, A+25)

 

ดูที่ HOUSE SAMYAN รอบ 14.35 น.

 

4. PINK FLOYD: LIVE AT POMPEII (1972, Adrian Maben, documentary, Belgium/West Germany/France, A+25)

 

ดูที่ BACC รอบ 18.45

 

5. DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION OF THE WORLD (1995, Tsutomu Shibayama, Japan, animation, 97min, A+30)

 

ดูที่พารากอน รอบ 21.00 น.

 

สรุปว่า วันนี้ 3 อันดับแรก เราชอบ A ROAD TO A VILLAGE, PRESENCE และ DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION OF THE WORLD อย่างสุดขีด ตอนนี้ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าเราชอบเรื่องไหนมากที่สุดใน 3 เรื่องนี้

 

ส่วนอันดับ 4 ของวันนี้คือ PINK FLOYD: LIVE AT POMPEII

 

คือเราแทบไม่เคยฟังดนตรีของ Pink Floyd มาก่อน พอเราได้ฟังดนตรีของวงนี้ในหนังเรื่องนี้เราก็รู้สึกตื่นตะลึงมาก ๆ รู้สึกว่ามันไพเราะมาก ๆ แต่เราอยาก “หลับตาฟังดนตรี แล้วจินตนาการภาพอะไรบ้า ๆ บอ  ๆ ในหัวด้วยตัวเอง” มากกว่า 5555 เรารู้สึกเฉย ๆ กับ “ภาพ” ที่เราได้เห็นในหนังเรื่องนี้

 

ส่วนอันดับ 5 ของวันนี้คือ EMILIA PÉREZ ซึ่งเราชอบความ “น้ำเน่า” และความ musical ของมันมาก ๆ และก็ชอบ “ไอเดีย” บางอย่างของหนังด้วย แต่เรารู้สึกว่าหนังมันไม่ convincing เราในบางส่วน เราก็เลยไม่ได้ชอบมันถึงขั้น A+30

 

ซึ่งเราก็มีปัญหาคล้าย ๆ อย่างนี้กับ SPERMAGEDDON (2025, Rasmus A. Sivertsen, Tommy Wirkola, animation, Norway, 80min, A+25) เหมือนกัน เพราะเราก็ชอบ “ความคิดสร้างสรรค์” ของ SPERMAGEDDON มาก ๆ แต่หนังมันขาดความ convincing ในบางจุด เราก็เลยไม่ได้ชอบมันถึงขั้น A+30

 

ส่วน A ROAD TO A VILLAGE นั้นเราดูแล้วนึกถึง OHAYO (1959, Yasujiro Ozu, Japan, A+30) มาก ๆ นึกว่าเป็นคู่หนังที่เหมาะนำมาเปรียบเทียบกัน และเราก็ตัดสินไม่ได้ว่าเราชอบหนังเรื่องไหนมากกว่ากัน แต่เราชอบตอนจบของ A ROAD TO A VILLAGE อย่างรุนแรงมาก ๆ

 

ส่วน PRESENCE นั้น เราก็ชอบสุดขีด โดยเฉพาะตอนจบของหนัง สิ่งแรกที่เราทำหลังจากดูหนังเรื่องนี้จบ คือเข้า google เพื่อเสิร์ชหารูป Eddy Maday ถอดเสื้อ แต่เราหารูปเขาตอนถอดเสื้อไม่ได้เลย มันอะไรกันคะเนี่ย

 

ส่วน DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION OF THE WORLD นั้น เราดูแล้วหวีดสุดขีดมาก ๆ เพราะเราไม่ได้ตั้งความหวังอะไรกับหนังเรื่องนี้ไว้เลย นึกว่ามันคงเป็นหนังสำหรับเด็กที่ไม่เข้าทางเรา ปรากฏว่าดูแล้วหวีดสุดขีด ดูแล้วนึกว่า ETERNALS (2021, Chloé Zhao) ผสมกับ DOCTOR STRANGE IN THE MULTIVERSE OF MADNESS (2022, Sam Raimi) แต่ว่า DORAEMON มาก่อนหน้าหนังกลุ่มนี้ของ Marvel ราว 20 กว่าปี นึกไม่ถึงว่าหนังชุด DORAEMON จะล้ำยุคล้ำสมัยอย่างรุนแรงมาก ๆ

Sunday, March 30, 2025

WHY I AM PARANOID WHEN I SEE CRACKS ON A WALL

 

พอเกิดเหตุตึกถล่มเมื่อวานนี้แล้ว เราก็เลยนึกถึงหนึ่งในเหตุการณ์ที่ฝังใจและสร้างความหวาดกลัวให้เราอย่างสุดขีดมาก ๆ เมื่อ 32 ปีก่อน นั่นก็คือเหตุการณ์ตึกโรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่มที่นครราชสีมาในวันที่ 13 ส.ค. 1993 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 137 ราย จำได้ว่าตอนนั้นเรากับเพื่อนๆ ติดตามข่าวนี้ด้วยความระทึกขวัญมาก เพราะอยู่ดี ๆ มันก็ถล่มลงมาเอง โดยไม่มีปัจจัยภายนอกอย่างเช่น แผ่นดินไหวใด ๆ มาเป็นแรงผลักดัน ข่าวนี้ก็เลยเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึก paranoid มาก ๆ เวลาเห็นรอยร้าวตามอาคารต่าง ๆ

 

ข้างล่างนี้เป็นข้อมูลที่ copy มาจาก

https://www.thairath.co.th/scoop/flashback/2716230

https://www.sanook.com/news/8973934/

 

“หลังจากเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ได้ตรวจพบหลักฐานการประชุมเมื่อปี 2530 ระบุว่าได้เกิดรอยร้าวตามฝาผนัง ซึ่งกรรมการบริหารทราบดี แต่ปกปิดและโบกปูนปิดไว้ กระทั่งปี 2534 ได้ต่อเติมห้องพักบนชั้น 5-6 เพื่อให้ทันกับการประชุมไลออนส์ ต่อมาก็มีรอยร้าวที่บันไดขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ได้รับความสนใจที่จะแก้ไข”

 

 ได้มีการต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้น เป็นอาคาร 6 ชั้น พร้อมห้องประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ที่ชั้น 6 และยังมีอีก 3 โครงการที่จะทำเพิ่ม คือ ปรับปรุงคาเฟ่ใหม่ทั้งหมด และจะสร้างอาคารจอดรถ สูง 8 ชั้น จอดรถได้ 400 คัน ด้วยงบสูงถึง 30 ล้านบาท กับเตรียมจัดงานใหญ่ฉลองครบรอบ 10 ปีโรงแรมฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2536 แต่กลับมาเกิดเหตุการณ์สลดโรงแรมพังถล่มขึ้นเสียก่อนในวันที่ 13 สิงหาคม 2536 จากสาเหตุการก่อสร้างอาคารและการอนุญาตแบบแปลนก่อสร้างอาคารที่ไม่ถูกต้องตามหลัก พรบ.ควบคุมอาคาร ต่อเติมโรงแรมเพิ่มอีก 3 ชั้น ทำให้เสารับน้ำหนักตัวอาคารไม่ไหว อีกทั้งโครงสร้างเสายังไม่ได้เชื่อมยึดติดกัน ทำให้เสาที่ตั้งอยู่บนคาน แบกรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้คานหลุดออกจากหัวเสาที่ชั้น 2 และโครงสร้างอาคารบนหัวเสายุบตาม ส่งแรงดึงรั้งกระทบเสาต้นข้างเคียงให้หักล้มตามมาในที่สุด”

 

“ช่วงเวลาชุลมุนพบหญิงตั้งครรภ์รายหนึ่ง แพทย์ลงความเห็นจำเป็นต้องทำคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากท่อนแขนซ้าย ถูกของหนักทับอาการสาหัส การทำคลอดกลางเศษซากตึกถล่มเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทุกคนเฝ้าลุ้นและภาวนาให้แม่และเด็กรอดปลอดภัย แต่ไม่กี่อึดใจเสียงดีใจของทีมกู้ภัยดังขึ้น หลังเด็กชายลืมตาดูโลก โดยตั้งชื่อว่า ด.ช.ปาฏิหาริย์ แต่มีชีวิตได้เพียง 9 วัน ก็สิ้นลม”

 

WHY I AM PARANOID WHEN I SEE CRACKS ON A WALL

 

พอเราเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวานนี้ และเห็นคลิปเหตุการณ์ตึกถล่มในกรุงเทพเมื่อวานนี้ เราก็เลยย้อนนึกถึงความหวาดกลัวสุดขีดของเราที่มีต่อเหตุการณ์ “ตึกถล่ม” ตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก ซึ่งในตอนเด็ก ๆ นั้น ความหวาดกลัวของเราที่มีต่อเหตุการณ์ตึกถล่ม ก็น่าจะมีสาเหตุมาจากละครโทรทัศน์เรื่อง “คอนโดมิเนียม” (1984, กำกับโดย สุพรรณ บูรณะพิมพ์) ที่ออกอากาศทางช่อง 7 และภาพยนตร์เรื่อง THE TOWERING INFERNO ตึกนรก (1974, John Guillermin, 165min)

 

และความหวาดกลัวของเราที่เกิดจาก fiction อย่างเช่นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ก็เพิ่มพูนขึ้นไปอีกเมื่อเราได้รับรู้ “ข่าว” ตึกถล่มจริง ๆ ในเวลาต่อมา โดยเฉพาะข่าว

 

1.เหตุการณ์โรงแรมนิวเวิลด์ถล่มที่สิงคโปร์ในปี 1986 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 33 ราย โดยก่อนเกิดเหตุโรงแรมถล่มนี้ มี “สัญญาณเตือน” ปรากฏขึ้นมาก่อนในรูปแบบของรอยร้าวตามตัวอาคาร ก่อนที่อาคารโรงแรมจะถล่มในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา

 

2. เหตุการณ์โรงแรมรอยัล พลาซ่าถล่มที่จังหวัดโคราชในปี 1993 ซึ่งก่อนเกิดเหตุนี้ก็มีสัญญาณเตือนปรากฏออกมาในรูปแบบของ “รอยร้าว” ตามตัวอาคารเช่นกัน เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 137 ราย

https://www.thairath.co.th/scoop/flashback/2716230?fbclid=IwY2xjawJU7L9leHRuA2FlbQIxMAABHV72oB3GV2O35hJFstaHMIc3YRgl00Jbp3keWer0u4rHZ0SxEhGC9nGFvg_aem_NGe6d9R0ssxJZptZgMn0Bw

 

3.เหตุการณ์ห้างสรรพสินค้า Sampoong ถล่มที่กรุงโซล เกาหลีใต้ในวันที่ 29 มิ.ย. 1995 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 502 คน โดยก่อนที่ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้จะถล่มนั้น ก็มี “สัญญาณเตือน” ปรากฏขึ้นในรูปแบบของรอยร้าวที่เพดานชั้น 5 ของห้างสรรพสินค้าในเดือนเม.ย.ปี 1995

 

เหตุการณ์ห้างสรรพสินค้าถล่มนี้เคยถูกนำเสนอในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง NON-FICTION DIARY (2013, Jung Yoon-suk, 90min, A+30) ที่เคยเข้ามาฉายในกรุงเทพด้วย

 

4. เหตุการณ์ตึกเวิลด์เทรดถล่มที่นครนิวยอร์คในวันที่ 11 ก.ย.ปี 2001 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3000 คน แต่เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของฝ่ายอาคาร

 

ก็เลยสรุปได้ว่า การที่เรากลายเป็นคนที่ paranoid เวลาเห็นรอยร้าวตามอาคารต่าง ๆ ก็มีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ในข้อ 1-3 นี่แหละ ทั้งเหตุการณ์ “โรงแรมนิวเวิลด์” ถล่มที่สิงคโปร์ในวันที่ 15 มี.ค. 1986 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 33 ราย, เหตุการณ์โรงแรมรอยัล พลาซ่าถล่มที่จังหวัดนครราชสีมาในปี 1993 และเหตุการณ์ห้างสรรพสินค้าถล่มที่กรุงโซลในปี 1995 เพราะทั้งสามเหตุการณ์นี้ มันมี “สัญญาณเตือน” ก่อนถล่ม ซึ่งได้แก่รอยร้าวตามจุดต่าง ๆ ของอาคาร

 

Before the Hotel New World (Lian Yak Building) in Singapore collapsed on March 15, 1986, signs of structural problems included persistent cracks in columns, walls, and floors, as well as crumbling concrete.

 

ข้อมูลในย่อหน้าข้างล่างนี้ มาจาก

https://www.nlb.gov.sg/main/article-detail?cmsuuid=ea8bc1f2-ae27-4208-beb6-7ff88715f3ea

 

On 22 March 1986, then President Wee Kim Wee appointed a commission of inquiry to investigate the cause of the collapse. In the final report released on 16 February 1987, the panel concluded that the collapse was due to the inadequate structural design of the building. The problem was further exacerbated by new installations on the roof, and the appearance of persistent cracks in columns, walls and floors weeks before the collapse. 

 

ข้อมูลในย่อหน้าข้างล่างนี้ มาจาก

https://news.northeastern.edu/2021/07/02/what-are-the-warning-signs-before-a-building-collapses/

 

Q:You’ve spoken of the 1986 collapse of the Hotel New World in Singapore that killed 33 people as another kind of warning example.

 

A: In that building the occupants were seeing that concrete on the garage floor is crumbling. They were going to the owner, who happened to be the building designer, and he was telling them, ‘No, it’s fine.’ And then the building collapsed. So if you see something is wrong, you need to take action.

 

สาเหตุของการถล่มของโรงแรมนิวเวิลด์ จาก wikipedia

“ the original structural engineer had made an error in calculating the building's structural load. The structural engineer had calculated the building's live load (the weight of the building's potential inhabitants, furniture, fixtures, and fittings) but the building's dead load (the weight of the building itself) was completely omitted from the calculation. This meant that the building as constructed could not support its own weight. Three different supporting columns had failed in the days before the disaster, the other columns – which took on the added weight no longer supported by the failed columns – could not support the building.”

 

หลังจากเกิดเหตุการณ์โรงแรมนิวเวิลด์ถล่ม รัฐบาลสิงคโปร์ก็เลยตรวจสอบอาคารหลายแห่ง และก็พบว่าอาคารหลายแห่งไม่ปลอดภัย ทางรัฐบาลก็เลยอพยพคนออกจากอาคารเหล่านั้น และทำลายอาคารเหล่านั้นทิ้ง

 

Following this disaster, all buildings built in the 1970s in Singapore were thoroughly checked for structural faults, with some of them declared structurally unsound and evacuated for demolition, including the main block of Hwa Chong Junior College and Catholic High School campus at Queen Street.

 

ในส่วนของห้างสรรพสินค้าที่กรุงโซลนั้น สัญญาณเตือนในรูปแบบของรอยร้าวก็เกิดขึ้นเช่นกัน

 

In April 1995, cracks began to appear in the ceiling of the fifth floor in the south wing, but the only response by Lee Joon and staff management was to move merchandise and stores from the top floor to the basement.

 

On the morning of June 29, the number of cracks in the area increased dramatically, prompting store management to close parts of the top floor. However, the management failed to shut the building down or issue formal evacuation orders, as the number of customers in the building at the time was unusually high, and management did not want to lose the day's revenue. When civil engineering experts were invited to inspect the structure, a cursory check revealed that the building was at risk of collapse. The facility's manager also examined the slab in one of the fifth-floor restaurants only hours before the collapse. Five hours before the collapse, the first of several loud bangs was heard emanating from the top floors, as the vibration of the air conditioning caused the cracks in the slabs to widen further. Amid customer complaints about the vibration, the air conditioning was turned off, but the cracks in the floors had already grown to 10 cm (3.9 in) wide.

 

An emergency board meeting was held when it became clear that the building's collapse was inevitable. The directors suggested that all staff and customers should be evacuated, but Lee Joon violently refused to do so for fear of revenue losses. However, Lee Joon and the executives left the building safely before the collapse occurred.

https://en.wikipedia.org/wiki/Sampoong_Department_Store_collapse#Documentary

++++++++++++++

ขอสารภาพตามตรงว่า ตอนที่เราดูหนังสารคดีเรื่อง “สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า” INTERVIEWS WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO RETURNED TO THE CITY (1985, produced by Kraisak Choonhavan, documentary, 705 min) ที่หอภาพยนตร์ ศาลายานั้น เรารู้สึกว่าคุณหมอเหวงตอนวัยหนุ่มน่ารักมาก ๆ ดูแล้วเราก็แอบรู้สึกอิจฉาคุณธิดา ถาวรเศรษฐ อยู่ในใจ 55555

Saturday, March 29, 2025

THE BIGGEST EARTHQUAKE IN BANGKOK

 

ตอนนี้นึกถึงละครโทรทัศน์ที่ฝังใจเราในวัยเด็กเรื่องนี้มาก ๆ CONDOMINIUM (1984, Supan Buranapim) ที่เคยออกอากาศทางช่อง 7 ละครโทรทัศน์เรื่องนี้นำแสดงโดยกาญจนา จินดาวัฒน์, ฉัตรชัย เปล่งพานิช, มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา, สมภพ เบญจาธิกุล, อภิชาติ หาลำเจียก, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์, สุชาดา อีแอม, วรารัตน์ เทพโสธร

 

ละครเรื่องนี้สร้างจากนิยายของ “สีฟ้า” ที่เคยลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสาร “สตรีสาร” เนื้อเรื่องก็เกี่ยวกับตัวละครมากมายในคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในยุคที่เพิ่งเริ่มมีการสร้างคอนโดมิเนียมในไทย (ต้นทศวรรษ 1980) และต่อมาคอนโดมิเนียมแห่งนี้ก็ถล่มลงมา (เราจำไม่ได้ว่าเพราะอะไร น่าจะเพราะมันก่อสร้างมาไม่ดี) ซึ่งส่งผลให้ตัวละครบางตัวเสียชีวิต

 

ซึ่งละครโทรทัศน์เรื่องนี้ก็ใส่เรื่องการถล่มของคอนโดมิเนียมมาไว้ในไตเติลฉากเปิดละครเลย โดยผู้สร้างละครโทรทัศน์แบบหลายตอนจบเรื่องนี้ไม่ได้มองว่ามันเป็นการ spoil เนื้อเรื่องแต่อย่างใด แต่มองว่ามันเป็นจุดขายของละครเรื่องนี้ ผู้ชมรู้ได้ตั้งแต่ต้นเรื่องเลยว่า ในตอนท้าย ๆ ของละครเรื่องนี้ คอนโดมิเนียมแห่งนี้จะต้องถล่มลงมาอย่างแน่นอน

 

ซึ่งการที่เราได้ดูละครทีวีเรื่องนี้ตั้งแต่เด็ก (ตอนนั้นเรามีอายุราว 10—11 ขวบ) มันก็เลยเหมือนสร้างความหวาดกลัว “ตึกถล่ม” ให้กับเราตั้งแต่เด็ก ๆ เราก็เลยเหมือนพอเห็นรอยร้าวอะไรตามตึกต่าง ๆ เราก็จะเริ่มหวาดระแวงขึ้นมาในทันที

 

เราแอบเดาว่า นิยายและละครทีวีเรื่องนี้ อาจจะได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนมาจาก THE TOWERING INFERNO (1974, John Guillermin, 165min) ด้วย

https://www.youtube.com/watch?v=kr5i1OeFUhs&t=195s

 

บันทึกความทรงจำสำหรับวันศุกร์ที่ 28 มี.ค. 2025

 

วันนี้ตอนแรกกะว่าจะออกไปดูหนัง 4 เรื่อง ซึ่งได้แก่ A WORKING MAN ที่พารากอน รอบ 11.30 น. แล้วหลังจากนั้นเราก็กะว่าจะไปดูหนัง 2 เรื่องที่เอสเอฟ บิ๊กซี บางพลี ซึ่งได้แก่ “ตำนานหน้ากากผีตาโขน” (รอบ 16.00 น.) กับ THE HAUNTED APARTMENT ผีนรก 610 แล้วก็อาจจะปิดวันด้วย DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION OF THE WORLD ที่เมเจอร์ เอกมัย

 

เราก็เลยออกไปดู A WORKING MAN (2025, David Ayer, UK/USA, 116min) รอบ 11.30 น. แต่กว่าหนังจะฉายก็ราว ๆ เที่ยงตรง พอเราดูไปได้ครึ่งค่อนเรื่อง ราวบ่ายโมงกว่า ๆ เราก็รู้สึกว่าที่นั่งมันสั่นไหว เราก็นึกว่ามีคนถีบเบาะ หรือไม่เราก็มีอาการบ้านหมุน เราก็เลยยังไม่คิดอะไร แต่ต่อมาที่นั่งมันก็สั่นไหวแรงมาก ๆ เหมือนเรากำลังนั่งอยู่บนเกลียวคลื่น เราก็ไม่แน่ใจว่าเรารู้สึกคนเดียวหรือเปล่า เราก็เลยหันไปดูผู้ชมที่นั่งแถวหลัง ๆ เห็นมีบางคนเริ่มลุกขึ้นยืน เราก็เลยรู้ทันทีว่า เราไม่ได้รู้สึกอยู่คนเดียว มันสั่นไหวอย่างรุนแรงจริง ๆ

 

แต่ตอนนั้นเราไม่นึกว่ามันเป็นแผ่นดินไหวนะ เพราะเราไม่เคยเจอแผ่นดินไหวแรง ๆ แบบนี้มาก่อนตลอดอายุ 52 ปีของเรา เราก็เลยนึกว่ามีคนวางระเบิดพารากอน เรานึกว่าอาจจะมีคนวางระเบิดชั้นล่าง ๆ แล้วมันสั่นสะเทือนขึ้นมาถึงชั้นบนหรือเปล่า แล้วเราก็สงสัยว่าตึกมันจะถล่มลงมาหรือเปล่า แล้วเราก็กลัวด้วยว่า มันอาจจะมีผู้ก่อการร้ายมากราดยิงคนตามชั้นต่าง ๆ หรือเปล่า เพราะฉะนั้นกูเผ่นก่อนล่ะ กูไม่รอให้มีใครมากราดยิงกูหรอกนะ I won’t die without a fight

 

เราก็เลยรีบเผ่นออกจากโรงหนังในทันที แล้วก็เห็นมีบางคนเดินออกจากโรงหนังเช่นกันด้วยอาการงุนงง เราเดินออกไปตรงจุดสำหรับฉีกตั๋วหนัง แล้วก็เห็นโคมไฟ chandelier ตรงหน้าโรงหนังสยามภาวลัยสั่นไหวอย่างรุนแรงสุดขีดมาก ๆ  เราก็เลยงง ๆ ว่า ฉันควรหลบตรงไหนดี สรุปมันคือแผ่นดินไหวหรือมันคือวางระเบิดก่อการร้ายกันแน่เนี่ย

 

แล้วก็มีพนักงานโรงหนังสยามพารากอนคนนึง รีบเดินมาบอกผู้ชมที่ยืนออ ๆ ดู chandelier สั่นไหวอย่างรุนแรงสุดขีดตรงนั้น ให้รีบลงทางหนีไฟ แล้วเธอก็ชี้ทางให้พวกเราไปยังทางหนีไฟในโรงหนัง ซึ่งเราไม่เคยสังเกตมาก่อนว่ามันอยู่ตรงจุดนี้ของโรงหนัง

 

เราก็เลยรู้สึกขอบคุณพนักงานโรงหนังสยามพารากอนมาก ๆ ที่ควบคุมสติได้ดีมาก และคำนึงถึงชีวิตของผู้ชมมาก ๆ คือแทนที่เธอจะเผ่นก่อนเพื่อรักษาชีวิตของตนเองเป็นลำดับแรก ในเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดแบบนี้ เธอกลับรีบมาชี้ทางให้ผู้ชมจำนวนมากไปยังทางหนีไฟได้อย่างถูกต้อง คือถ้าหากเธอไม่มาชี้ทางให้ เราก็ไม่รู้หรอกว่า ทางหนีไฟมันอยู่ตรงจุดนี้ของโรงหนัง เหมือนเธอเห็นชีวิตของลูกค้าสำคัญกว่าชีวิตของตนเอง เราก็เลยรู้สึกขอบคุณพนักงานคนนี้มาก ๆ ค่ะ

 

พอเราลงทางหนีไฟมาเรื่อย ๆ จนถึงชั้นล่างสุด และออกมาอยู่นอกตัวอาคารแล้ว เราก็เดินตามคลื่นมหาชนจำนวนมากไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้ว่า พวกเขาจะเดินไปไหนกันแน่ ตอนนั้นเราก็ยังไม่แน่ใจอยู่ดีนะว่า มันเกิดแผ่นดินไหวหรือก่อการร้ายกันแน่ เราเดินงง ๆ ไปเรื่อย ๆ จนเจอเพื่อน cinephile คนนึงโดยบังเอิญ เขามาดูหนังเรื่อง PRESENCE (2024, Steven Soderbergh, 84min) ที่พารากอน ซึ่งเขาก็ดูไม่จบเช่นกัน

 

เรากับเพื่อน cinephile ก็เลยหาที่ยืนบริเวณแถวใกล้ ๆ โรงเรียนวัดปทุมวนาราม เพื่อดูลาดเลาว่าพวกเราควรทำอะไรต่อดี พอเราเห็นคนจำนวนมากออกมาจากหลายอาคารในเวลาเดียวกัน เราถึงค่อยแน่ใจว่ามันเกิดแผ่นดินไหว ไม่ใช่การวางระเบิด

 

เราก็พยายามเช็คข่าวแผ่นดินไหว แต่ปรากฏว่าตอนนั้นโทรศัพท์ใช้การไม่ได้เลย เพื่อนเราโทรหาใครก็ไม่ได้เลย เราเข้า google ก็ไม่ได้ line ก็เหมือนส่งข้อความไม่ไป ส่วน facebook ก็ขึ้นฟีดแต่สิ่งที่คนอื่น ๆ โพสท์ในช่วงก่อนเที่ยงวัน พอเราลอง search คำว่า แผ่นดินไหวใน facebook มันก็ขึ้นแต่ข่าวแผ่นดินไหวเมื่อ 2-3 วันก่อน

 

เราก็เลยเดาว่า ตอนนั้นระบบการสื่อสารคงล่ม ซึ่งก็ไม่รู้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริเวณนั้นมีผู้คนหลายพันหลายหมื่นคนจากหลายอาคารมายืนออ ๆ อยู่ในจุดเดียวกันและพยายามใช้โทรศัพท์พร้อมกันหรือเปล่า

 

เราพยายามโพสท์วิดีโอที่เราถ่ายไว้ตอนช่วง 13.30-13.34 น. แต่กว่าระบบสื่อสารจะใช้ได้ จน facebook สามารถลงวิดีโอของเรา ก็เป็นเวลา 14.17 น.แล้ว

 

เพื่อน cinephile ของเรากลับบ้านไม่ได้ เพราะบ้านของเขาอยู่แถวบางนา แล้วรถไฟฟ้ามันใช้ไม่ได้ เราก็เลยพาเพื่อนของเรา เดินจากพารากอนมาออกถนนใหญ่ตรงหน้า central world แล้วก็พาเดินไปตามถนนเพชรบุรีเรื่อย ๆ แล้วก็มากินข้าวแถวอพาร์ทเมนท์ของเราแถวราชเทวี แล้วเราก็พาเพื่อนมานั่งพักที่อพาร์ทเมนท์ รอเวลาไปเรื่อย ๆ เผื่อรถไฟฟ้าจะใช้งานได้ โชคดีที่ตึกอพาร์ทเมนท์ของเราซึ่งมี 6 ชั้น ดูเหมือนไม่ได้รับความเสียหายอะไรเลยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวนี้

 

ช่วงบ่ายช่วงเย็นช่วงค่ำวันนี้ เราก็เลยอยู่กับเพื่อนคนนี้ เราพาเขาออกไปหาอาหารกินมื้อเย็น แล้วก็กลับมาดูหนังกันต่อที่ห้อง โดยวันนี้เราดูวิดีโอเทปลิขสิทธิ์ของ CVD เรื่อง SILKWOOD (1983, Mike Nichols, A+30) ซึ่งเป็นวิดีโอเทปที่น่าจะมีอายุนานกว่า 30 ปีแล้ว แต่ปรากฏว่า วิดีโอเทปม้วนนี้มันยังดูได้อยู่

 

พอดู SILKWOOD เสร็จ มันก็เป็นเวลาราว 5 ทุ่ม รถเลิกติดแล้ว เราก็เลยส่งเพื่อนเราขึ้นรถเมล์กลับบ้านไป

 

ตอนนี้เราก็หวังว่า เราจะไม่มีอาการ vertiginous syndrome อีกครั้งนะ คือเราเคยมีอาการนี้เมื่อราว 20 ปีก่อนน่ะ ตอนนั้นเราทำงานอยู่ชั้น 35 แล้วมันมีแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มากที่จีนหรืออินโดนีเซียนี่แหละ ซี่งมันส่งแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพ แล้วเรานั่งทำงานอยู่ชั้น 35 ในตอนนั้น มันก็เลยรู้สึกได้ชัด (แต่ความรุนแรงในตอนนั้นก็น้อยกว่าครั้งนี้มาก ๆ นะ เหมือนครั้งนี้รุนแรงกว่าครั้งนั้นราว 10-20 เท่า) ตอนนั้นเราจำได้ว่า แม่บ้านที่ทำงานชั้น 35 หกล้มลงไปเลย

 

แล้วพอเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนั้นผ่านไป (เราจำปีแน่นอนไม่ได้ น่าจะเป็นราวปี 2005-2007) เราก็มีอาการเวียนหัวคล้ายบ้านหมุนเป็นครั้งคราว ราวสัปดาห์ละครั้ง คือบางครั้งเวลาเรานั่งอยู่เฉย ๆ เราก็จะรู้สึกเหมือนเรากำลังนั่งอยู่บนเรือที่โคลงเคลงไปมา เราจะรู้สึกแบบนี้อยุ่ราว ๆ 5-30 นาที ก่อนที่จะกลับเป็นปกติ

 

เราก็เลยไปหาหมอ หมอก็ตรวจแล้วบอกว่า เราเป็น vertiginous syndrome หมอบอกว่า ตอนที่มันเกิดแผ่นดินไหว ประสาทหูของเรา (พวกน้ำในหูของเรา) มันปรับตัวให้เข้ากับแผ่นดินไหวโดยอัตโนมัติ แล้วประสาทหูของเรามันไม่ปรับเข้าสู่โหมดปกติในเวลาต่อมา

 

หมอบอกว่า อาการของเราก็จะคล้าย ๆ กับกลาสีเรือ ที่ประสาทหูของพวกเขาจะปรับให้เข้ากับเรือที่โคลงเคลงโดยอัตโนมัติ แต่พอพวกเขาขึ้นบก ประสาทหูของพวกเขาอาจจะยังไม่ปรับเข้าสู่โหมดปกติในทันที (ถ้าหากเราจำที่หมอพูดไม่ผิดนะ)

 

หมอบอกว่า อาการของเราจะหายไปเอง ซึ่งมันก็เป็นตามที่หมอบอกจริง ๆ แต่มันต้องใช้เวลานานถึง 1 ปีแน่ะสำหรับเรา ก่อนที่อาการ vertiginous syndrome ของเราจะหายไป

 

เราก็เลยหวังว่า อาการที่เราเคยเป็นเมื่อ 20 ปีก่อนจะไม่กลับมาอีก

 

 

 

 

Friday, March 28, 2025

RIP MASAHIRO SHINODA (1931-2025)

 

RIP MASAHIRO SHINODA (1931-2025)

 

เราเคยดูหนังที่เขากำกับแค่ 4 เรื่อง ซึ่งได้แก่

 

1.DOUBLE SUICIDE (1969)

ดูในรูปแบบวิดีโอเทปจากร้านแว่น

 

2.DEMON POND (1979)

เราได้ดูหนังเรื่องนี้ตอนมันมาฉายที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ในเทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่นในวันที่ 18 พ.ย.ปี 2000

 

3.TAKESHI: CHILDHOOD DAYS (1990)

หนังเรื่องนี้เคยมาฉายหลายรอบที่ Japan Foundation ถนนอโศก เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดที่สุด

 

เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ในเว็บบอร์ด SCREENOUT ในปี 2005 ตามนี้ด้วย

 

“รู้สึกว่าหนังเรื่อง TAKESHI: CHILDHOOD DAYS (1990, MASAHIRO SHINODA, A) จะมีดีวีดีขายในกรุงเทพค่ะ แต่ดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้ที่มูลนิธิญี่ปุ่น หนังเรื่องนี้มีส่วนคล้าย MUDDY RIVER เล็กน้อย เพราะมีเนื้อหาเกี่ยวกับมิตรภาพของเด็กชายสองคนในช่วงหลังสงครามโลก แต่ TAKESHI: CHILDHOOD DAYS อาจจะไม่ทรงพลังเท่า MUDDY RIVER (ในความเห็นของคนทั่วไป) อย่างไรก็ดี ดิฉันรู้สึกว่า MUDDY RIVER โหดร้ายไปหน่อยสำหรับดิฉัน เพราะมีฉากการทำร้ายสัตว์ ซึ่งดิฉันไม่ชอบดูฉากเหล่านี้เท่าไหร่

สิ่งที่ทำให้ชอบ TAKESHI: CHILDHOOD DAYS มากเป็นพิเศษ ก็คือการที่ตัวละครหลักในหนังสองเรื่องนี้ กระตุ้นให้ดิฉันเอาไปจินตนาการแต่งเติมเสริมต่อเรื่องเองอย่างมากๆ เพราะหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับมิตรภาพระหว่างเด็กชายสองคน โดยคนหนึ่งเป็นเด็กชายที่ดูเถื่อนๆแมนๆหน่อย ส่วนอีกคนก็ดูเป็นเด็กชายที่นุ่มนิ่ม ต้องการการปกป้องคุ้มครอง บอกแค่นี้ก็คงจะรู้ว่าหนังเรื่องนี้กระตุ้นให้ดิฉันเกิดจินตนาการแต่งเรื่องแต่งราวต่อไปในทิศทางใด ทั้งๆที่ตัวหนังเองไม่ได้มีความเป็นเกย์เลยแม้แต่น้อย”

 

4.SHARAKU (1995)

เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดที่สุด เราได้ดูหนังเรื่องนี้ตอนมันมาฉายในเทศกาลหนังเอเชียที่ศาลาเฉลิมกรุง เป็นหนังที่ดูแล้วกราบตีนของจริง ฉากที่ชอบสุดๆในเรื่องนี้คือฉากที่มีขบวนนักแสดงละครเร่กับขบวนเกอิชา ค่อยๆเคลื่อนตัวมาจากคนละทิศทางกันจนเกือบจะมาปะทะกันกลางเมือง

 

อยากให้มีคนจัดงาน retrospective ของ Masahiro Shinoda มาก ๆ เพราะเขาเคยกำกับหนังมาแล้ว 33 เรื่อง แต่เราได้ดูไปเพียงแค่ 4 เรื่อง อยากดูหนังอีกหลาย ๆ เรื่องของเขาอย่างรุนแรง ทั้ง MOONLIGHT SERENADE (1997), THE DANCER (1989), GONZA THE SPEARMAN (1986), MACARTHUR’S CHILDREN (1984), HIMIKO (1974), THE PETRIFIED FOREST (1973), SILENCE (1971), PALE FLOWER (1964)

 

สมัยก่อนเราชอบจำชื่อของเขาสลับกับ Masaki Kobayashi (HARAKIRI, KWAIDAN, THE HUMAN CONDITION)

 

รูปจาก DEMON POND

Thursday, March 27, 2025

FILMS I PLAN TO SEE IN THE WEEK OF 27 MARCH

 

สรุปสิ่งที่เราวางแผนจะดูในช่วงหนึ่งสัปดาห์ข้างหน้า

 

A. หนังโรง

 

1.DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION OF THE WORLD (1995, Tsutomu Shibayama, Japan, animation, 97min)

หนังเรื่องนี้เป็น “ภาคที่ 16” แต่เราสงสัยว่า ทำไมเขาถึงเอาภาคเก่าในปี 1995 มาลงโรงฉายในตอนนี้ มีใครรู้บ้างไหมคะ

 

แต่เอามาฉายก็ถือเป็นสิ่งที่ดีแล้วนะ เพราะเราก็ยังไม่ได้ดูภาคนี้

 

2.EMILIA PÉREZ (2024, Jacques Audiard, France/Mexico, 132min)

 

ดีใจที่จะได้ดูหนังเรื่องนี้ เพราะเราเคยดูหนังที่กำกับโดย Jacques Audiard ไปเพียงแค่ 5 เรื่อง ซึ่งได้แก่ SEE HOW THEY FALL (1994), A SELF-MADE HERO (1996), READ MY LIPS (2001), THE BEAT THAT MY HEART SKIPPED (2005) และ DHEEPAN (2015)

 

3.THE HAUNTED APARTMENT ผีนรก 610 (2024, Guntur Soeharjanto, Indonesia, 103min)

หนังเรื่องนี้เป็นภาคสอง ต่อจาก THE HAUNTED HOTEL (2023, Guntur Soeharjanto)

 

4.THE LEGEND OF PHI TAKHON MASK ตำนานหน้ากากผีตาโขน (2025, Tang Stuntman, 104min)

ฉายที่บิ๊กซี บางพลี กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

 

5.THE LITTLE FOXES จิ้งจอกลอกลาย (1992, Marut Sarowat, filmed stage performance, 145min)

ฉายที่หอภาพยนตร์ ศาลายา

 

6.THE MOOGAI (2024, Jon Bell, Australia, 86min)

 

7.PINK FLOYD: LIVE AT POMPEII (1972, Adrian Maben, documentary, Belgium/West Germany/France)

https://web.facebook.com/DocumentaryClubTH/posts/pfbid02FBSzPjuRbKUwdzyzKF6qUT76hveqQ9d4nqCgFQFudUuAijukyrKABhx4ZqdvvGnHl

 

8.PRESENCE (2024, Steven Soderbergh, 84min)

 

9.A ROAD TO A VILLAGE (2023, Nabin Subba, Nepal, 106min)

 

10.SIKANDAR (2025, A.R. Murugadoss, India, 140min)

 

11.SPERMAGEDDON (2025, Rasmus A. Sivertsen, Tommy Wirkola, animation, Norway, 80min)

 

12.TOOTSIE (1993, Marut Sarowat, filmed stage performance, 106min)

ฉายที่หอภาพยนตร์ ศาลายา

 

13.WONDERFUL PRETTY CURE! THE MOVIE! GRAND ADVENTURE IN A THRILLING GAME WORLD (2024, Naoki Miyahara, Japan, animation, 71min)

 

14.A WORKING MAN (2025, David Ayer, UK/USA, 116min)

 

B. เรากะว่าจะดู หนังในโปรแกรม GIVE IT A GO ที่จะฉายที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ด้วย

https://web.facebook.com/photo?fbid=679397241265780&set=a.176539414884901

 

หนังในโปรแกรมนี้ประกอบด้วย

 

1.My Diary Does Not Exist / ปภัส เอื้อดิลกกูร (ปั๊ด 59) / 6.44

จากวิชา Personal Film

 

2.จากแมรี่ ถึงซือเจ๊: อินเตอร์เน็ต การรับรู้ และภาพยนตร์ / แทนปิติ สุภัทรวณิชย์ (จีโน่ 56) / 7.06

จากวิชา Advanced Film Analysis

 

3.In the Air ไปตามแรงลม / ชนนพร ทับทัน (แมงปอ 57) / 6.29

จากวิชา Film Directing

 

4.Mukashi Mukashi / ณัชชา สรรพวิชุ (เอิร์น 56) / 6.19

จากวิชา Film Directing

 

5.Vision of An Old Man / เปรม ผลิตผลการพิมพ์ (ฟอย 58) / 11.23

จากวิชา Cinematography

 

6.20 21 22 / ปัณณฉัตร วิรัตนพรกุล (เรน่า 57) / 13.41

จากวิชา Film Directing

 

7.แด่ผู้ครอบครองทุกรอยยิ้มในวัยเยาว์ / ศิระ บูรณศรี (ศิระ 58) / 11.35

จากวิชา Short Filmmaking

 

8.Portrait of a Lady by the Sea / นงนภัส วีระผล (ส้ม 58) / 21.50

จากวิชา Short Filmmaking

 

C. เราอยากไปดูงาน “วังหนัง 9” ที่เมเจอร์ รัชโยธินในวันที่ 1 เม.ย.ด้วย

https://web.facebook.com/photo/?fbid=1223754023087412&set=a.530067242456097

 

D. งาน video installations ที่เรากะว่าจะดู

 

1.INTERVIEWS WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO RETURNED TO THE CITY (1985, produced by Kraisak Choonhavan, documentary, 705 min) ที่ฉายที่หอภาพยนตร์ ศาลายา และมีแววว่าจะเป็น ONE OF MY MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME

 

ตอนนี้เราได้ดูหนังเรื่องนี้ไปเพียงแค่ 438 นาที ( หรือ 7 ชม. 18 นาที)  ยังเหลืออยู่อีก 267 นาที หรือเหลืออยู่อีก 4 ชั่วโมง 27 นาทีที่เรายังไม่ได้ดู

 

2. KIM ASENDORF: COMPLEX at Goethe Institut

 

Among the series on display are: Monogrid (2021), one of his first blockchain-based works, establishes a minimal yet mesmerizing aesthetic, with shifting grids and pixelated black-and-white patterns that evoke the language of early computer art. The series will be installed at the Goethe-Institut as an audiovisual multi-channel version. Sabotage (2022) visualizes the interplay between order and chaos, with rows shifting and a ‘saboteur ’moving pixels to manipulate patterns of grids, lines, and gradients, producing ever-changing arrangements. Alternate (2023) shows a growing complexity in compositional layering and color interplay with pulsing glitch effects and dynamic distortion. PXL DEX (January 2025) extends his abstract animations into architectonic, dense and object-like 3D systems.

https://www.goethe.de/ins/th/en/ver.cfm?event_id=26478018

 

E. มีหนังออนไลน์จำนวนมากที่เราอยากดูใน MUBI และ Festival Scope ที่ใกล้จะหมดอายุ แต่เราถอดใจไปแล้ว รู้สึกว่าตามดูยังไงก็ไม่ทัน เพราะฉะนั้นก็เลยเลิกตามดูดีกว่า แค่ตามดูหนังที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ เราก็ไม่เหลือเวลาไปทำมาหาแดกอะไรแล้ว 55555

 

1. อยากดูหนัง Bolivia กับ Ecuador หลายเรื่องใน Festival Scope เพราะเราแทบไม่เคยดูหนังจากสองประเทศนี้เลย

https://www.festivalscope.com/page/transcinema-festival-internacional-de-cine/

 

2. หนัง MUBI ที่ใกล้จะหมดอายุ

https://mubi.com/en/th/collections/leaving-soon

 

มีวี่แววว่า ภาพยนตร์เรื่อง “สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า” หรือ INTERVIEWS WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO RETURNED TO THE CITY (1985, produced by Kraisak Choonhavan, documentary, 705 min) ที่ฉายที่หอภาพยนตร์ ศาลายา อาจจะเป็น ONE OF MY MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME

 

ตอนนี้เราได้ดูหนังเรื่องนี้ไปเพียงแค่ 438 นาที ( หรือ 7 ชม. 18 นาที)  ยังเหลืออยู่อีก 267 นาที หรือเหลืออยู่อีก 4 ชั่วโมง 27 นาทีที่เรายังไม่ได้ดู

 

มีข้อมูลหลายอย่างในหนังเรื่องนี้ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนเลย ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่เราเพิ่งรู้ก็คือว่า คอมมิวนิสต์ยุคนั้นมองว่า “กีตาร์” เป็นเครื่องมือของนายทุน ส่วนเครื่องดนตรีที่ดีสำหรับสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ ก็คือ “ไวโอลิน”

 

หงา คาราวานเป็นคนให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้ เขาได้เล่าถึงประสบการณ์ตอนเข้าป่าไปอยู่กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ในไทยในทศวรรษ 1970 ซึ่งในตอนนั้นก็มีทั้งวงคาราวาน, วงกรรมาชน, วงต้นกล้า ฯลฯ แต่พอเขาได้เข้าไป เขาก็พบว่า คอมมิวนิสต์ต่อต้านการเล่น “กีตาร์” คอมมิวนิสต์บอกว่ากีตาร์เป็นเครื่องมือของนายทุน และบอกว่าดนตรีร็อคแอนด์โรลคือ  “ศิลปะที่ถ่อยปัญญา”

 

เพราะฉะนั้นทางพรรคคอมมิวนิสต์ในป่าไทยก็เลยให้หงา คาราวาน, วงคาราวาน และวงดนตรีเพื่อชีวิตต่าง ๆ ที่ไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในป่าในยุคนั้น ไปเรียน Cello, เรียน Violin, เรียน Trumpet อะไรพวกนี้ เพื่อที่วงดนตรีเพื่อชีวิตเหล่านี้จะได้ประสานกันกลายเป็นวง Symphony วงเดียวกันอะไรทำนองนี้

 

คือเราไม่เคยรู้เรื่องพวกนี้มาก่อนเลย คือก่อนที่เราจะได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ เรามองว่ากีตาร์เป็นเครื่องดนตรีสำหรับชาวบ้าน และ Violin กับ Cello คือเครื่องดนตรีสำหรับ elites น่ะ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เราได้รับรู้ความจริงว่า คอมมิวนิสต์มองว่ากีตาร์เป็นเครื่องดนตรีสำหรับนายทุน เป็นศิลปะที่ถ่อยปัญญา และคอมมิวนิสต์ในป่าไทยมองว่า violin กับ cello คือเครื่องดนตรีสำหรับคอมมิวนิสต์

 

คือถ้าหากมีโลกคู่ขนาน ที่พรรคคอมมิวนิสต์นำการปฏิวัติในไทยแล้วได้รับชัยชนะตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เราก็อาจจะได้เห็นหงา คาราวานนั่งเล่น Cello ในวงดนตรีซิมโฟนีบนเวทีตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาก็ได้ 55555

 

ซึ่งคุณหงาก็ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เขาก็พยายามโต้แย้งกับทางพรรคคอมมิวนิสต์ในป่านะ เหมือนเขาโต้แย้งว่า กีตาร์มันก็เหมือนกับ “ปืนเอ็ม 16 ที่ผลิตโดยสหรัฐ” อะไรทำนองนี้น่ะ คือถึงแม้มันเป็นอาวุธที่ผลิตในสหรัฐ มันก็ไม่สำคัญว่า มันเป็นอาวุธที่ผลิตโดยประเทศอะไร สิ่งที่สำคัญก็คือว่า ผู้ถืออาวุธนั้น เอาอาวุธนั้นมาใช้ต่อสู้กับอะไรต่างหาก เพราะฉะนั้นเราก็สามารถเอากีตาร์มาใช้ในการแต่งเพลงเชิดชูคอมมิวนิสต์ได้ อะไรทำนองนี้

 

ตอนแรกที่เราได้รับรู้ข้อมูลดังกล่าวจากภาพยนตร์เรื่องนี้ เราก็ตกใจนะ คืองง ๆ กับทัศนคติของคอมมิวนิสต์ในยุคนั้น แต่พอนึกย้อนกลับไป เราก็เข้าใจได้ เพราะว่า ถ้าหากพูดถึง “สหภาพโซเวียต” เราก็นึกถึง “บัลเล่ต์” น่ะ เราไม่ได้นึกถึง “ดนตรีร็อค” และ “ดนตรีแร็ป” เหมือนอย่างสหรัฐอเมริกา คือสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ กลับเป็นประเทศที่เป็นเอกในด้านบัลเลต์ หรือดนตรีคลาสสิค ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะดูเหมือนผูกพันกับ elites ในประเทศอื่น ๆ ก็ตาม ส่วนประเทศทุนนิยมอย่างสหรัฐอเมริกา กลับมีชื่อเสียงด้านดนตรีร็อค, ดนตรีแร็ป ที่ดูเหมือนผูกพันกับคนจน ๆ แทน

 

ตอนนี้หนังเรื่องนี้สามารถดูได้ที่หอภาพยนตร์ ศาลายาในสองช่องทางครับ

 

1. ดูในนิทรรศการ ARCHIVAL TIME ON OUR RETINA ที่ชั้นสองของหอภาพยนตร์ ในวันอังคารถึงวันอาทิตย์ เวลา 09.30-17.30 น. โดยนิทรรศการนี้จะจัดแสดงจนถึงวันที่ 1 มิ.ย.

 

2. ดูได้ที่จอคอมพิวเตอร์ของห้องสมุดหอภาพยนตร์ครับ ตัวห้องสมุดอยู่ที่ชั้น 4 ผมก็ดูทางช่องทางนี้เป็นหลักครับ ทยอยดูวันละ 20-90 นาที

 

ถ้าหาหนังเรื่องนี้ไม่เจอในคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะขอให้บรรณารักษ์ช่วยหาหนังเรื่องให้ได้ครับ

 

ส่วนผมใช้วิธีพิมพ์คำว่า “D4” เวลาเสิร์ชหาหนังเรื่องนี้ครับ เหมือนพอพิมพ์คำว่า D4 เข้าไปในคอมพิวเตอร์ มันก็จะมีหนังเรื่องนี้ขึ้นมาให้เลือกดูครับ โดยไฟล์หนังเรื่องนี้ใช้ชื่อว่า D4-07029 ครับ

 

 

Wednesday, March 26, 2025

THE SMOG OF FOREST FIRE

 

LOOK CLOSELY ENOUGH (2024, Warat Bureephakdee, no grade)

 

จริง ๆ แล้วเราก็ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดนะ รู้สึกว่ามัน cult มาก ๆ เพราะหนังเรื่องนี้นำเสนอกลุ่มหนุ่มสาวที่ไป “นอนแผ่ร้องแอ๊” อยู่หน้ารูปปั้นปรีดี พนมยงค์กับรูปปั้นป๋วย อึ้งภากรณ์ ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด

 

แต่เราของดให้เกรดหนังเรื่องนี้แล้วกัน เพราะเราฟังเสียงตัวละครหรือเสียง voiceover ไม่ออก ซึ่งมันเกิดจากปัญหาเรื่องระบบเสียงในการฉายหนังเรื่องนี้

 

เราดูหนังเรื่องนี้ในงาน GEN C EXHIBITION ที่ชั้น 3 BACC ในวันอาทิตย์ที่ 23 มี.ค. 2025

 

PADTHAI (2024, Nutnaree Preechanan, no grade)

 

เราของดให้เกรดหนังเรื่องนี้แล้วกัน เพราะเราฟังไม่ออกว่าตัวละครคุยกันว่าอะไร ซึ่งมันเกิดจากปัญหาเรื่องระบบเสียงในการฉายหนังเรื่องนี้ เราก็เลยดูหนังเรื่องนี้ไม่จบด้วย 5555

 

NOSTALGIA (2022, Nutnaree Preechanan, short film, A+25)

 

หนังที่นำคลิปที่สร้างโดย AI มาผสมผสานกับเรื่องราวความทรงจำส่วนตัวมั้ง ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด สิ่งที่เราชอบก็คือความพยายามบุกเบิกในการนำ AI มาใช้ประโยชน์ในการสร้างภาพยนตร์

 

เราดูหนังเรื่องนี้ในงาน GEN C EXHIBITION ที่ชั้น 3 BACC ในวันอาทิตย์ที่ 23 มี.ค. 2025

 

ร่องรอย (2025, จิดาภา โนจิตร, ฟัยรูซ อิสมาแอล, ณัชชา อุดมศิลป์, video installation)

 

วิดีโอจัดแสดงในนิทรรศการ ART ON FIRE ที่ชั้น 4 BACC

 

BORN WITH POLLUTION (2025, ชิศณุพงศ์ สุขสมศักดิ์, วรรณิศา ไชยมงคล, ณัฐวัตร ลือชาพิทักษ์, ภาม เอมระดี, video installation)

 

วิดีโอจัดแสดงในนิทรรศการ ART ON FIRE ที่ชั้น 4 BACC

 

EVERY ONE BITES THE DUST (2023, Nithiphat Hoisangthong, video installation)

 

เราชอบวิดีโอนี้มากพอสมควร วิดีโอนี้จัดแสดงในนิทรรศการ ART ON FIRE ที่ชั้น 4 BACC

 

THE SILENT CALL เสียงกรีดร้องจากผืนป่า (2025, ญาณณวีร์ พรหมนิมิต, สรวัฒณ์ เตยอ่อน, อภิษฎา นิมิตรชัย, ปุญรัฏฐ์ ปินใจ, สุวิจักขณ์ เกรียงพันธ์, video installation)


เราชอบวิดีโอนี้มากพอสมควร วิดีโอนี้จัดแสดงในนิทรรศการ ART ON FIRE ที่ชั้น 4 BACC

 

FATAL FLAME (2025, animation)

 

งานออกแบบตัวละครที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหน่วยปราบปรามไฟป่า

 

วิดีโอนี้จัดแสดงในนิทรรศการ ART ON FIRE ที่ชั้น 4 BACC

 

FORGOT (2025, ปุณณ์ภัสสร เลื่อมรัศมี, video installation)

 

วิดีโอนี้จัดแสดงในนิทรรศการ ART ON FIRE ที่ชั้น 4 BACC

 

หมอกควันไฟป่า (2025, ศุภารมย์ พิสฏฐพันธ์, video installation, documentary, 13.57min, A+30)

THE SMOG OF FOREST FIRE (2025, Suparom Pisottapun)

 

วิดีโอสัมภาษณ์อาสาสมัครดับไฟป่าของมูลนิธิกระจกเงา จังหวัดเชียงราย ประทับใจมาก ๆ ค่ะ

 

วิดีโอนี้จัดแสดงในนิทรรศการ ART ON FIRE ที่ชั้น 4 BACC

 

 

 

Monday, March 24, 2025

HAPPY MONDAY(S) (2025, Chakorn Chaiprecha, A+30)

 

เพิ่งรู้ว่ามีนายแบบหนุ่มหล่อชาวไทยชื่อ “มาตาฮารี” ด้วย ตอนแรกก็นึกว่าตั้งตามชื่อของ Mata Hari สายลับสาวชาวดัทช์ แต่พอเสิร์ชดูเราถึงรู้ว่า คำว่า มาตาฮารี แปลว่า พระอาทิตย์ในภาษามาเลย์

-------

ฉันรักเขา Victor Chatchawit Techarukpong from HAPPY MONDAY(S) (2025, Chakorn Chaiprecha, A+30)

 

HAPPY MONDAY(S) (2025, Chakorn Chaiprecha, A+30)

สวัสดีวันจันทร์(ส)

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1. เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในวันที่ 24 ก.พ. หรือเมื่อ 1 เดือนก่อน ซึ่งเราก็ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ นะ แต่เหมือนเราไม่ได้ “รู้สึกอะไรเป็นการส่วนตัว” กับหนังเรื่องนี้น่ะ เราก็เลยไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรดีที่ไม่ซ้ำกับที่เพื่อน ๆ เขียนไปแล้ว 55555 เราก็เลยเน้นแชร์สิ่งที่เพื่อน ๆ เขียนถึงหนังเรื่องนี้เป็นหลัก เพราะว่าสิ่งที่เพื่อน ๆ หลายคนเขียนมันก็ตรงกับสิ่งที่อยู่ในใจเราอยู่แล้ว

 

เพราะฉะนั้นบันทึกความทรงจำของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้ มันก็คงซ้ำ ๆ กับที่เพื่อน ๆ หลายคนเขียนไปแล้ว และเราได้แชร์ไปแล้วเรียบร้อย 55555

 

2. อย่างแรกที่เราชอบสุดขีดในหนังเรื่องนี้ ก็คือการแคสต์ดาราหนุ่ม ๆ ได้ตรงใจเราอย่างสุดขีดมาก ๆ ทั้ง Victor Chatchawit Techarukpong, Oabnithi Wiwattanawarang และ Poon Mitpakdee คือสามคนนี้ตรงสเปคเรามาก ๆ รักชายหนุ่มทั้งสามคนนี้มาก ๆ ค่ะ ขอบคุณแคสติ้งหนังเรื่องนี้มากค่ะ

 

3. จริง ๆ แล้วช่วงแรกเราไม่ค่อยอินกับหนังนะ เพราะเราเกลียดคนแบบพระเอกหนังเรื่องนี้มาก ๆ คนที่ไม่เป็นโล้เป็นพาย ไม่มีความมุมานะพยายาม ไม่เอาจริงเอาจัง อะไรทำนองนี้ แต่พอครึ่งหลังของหนัง พระเอกได้รับบทเรียนอย่างสาสม ระดับความชอบของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้ก็เลยพุ่งขึ้นมาเป็น A+30

 

หนึ่งในสิ่งที่งดงามมาก ๆ ในช่วงครึ่งหลัง ก็รวมถึงการที่พระเอกไม่สามารถกลับไปคืนดีกับเพื่อนสนิทได้อีก ถึงแม้ว่าพระเอกสำนึกผิดแล้วก็ตาม และการที่เจ้าหน้าที่มหาลัยก็ยังคงตกงาน ชีวิตการทำงานของเขาได้รับความเสียหายอย่างถาวรจากการกระทำของพระเอก

 

เราก็เลยชอบมาก ๆ ที่ถึงแม้พระเอกจะสำนึกผิด หนังก็ “จริงใจ” กับตัวละครเพื่อนพระเอกและเจ้าหน้าที่มหาลัย และแสดงให้เห็นว่า โลกมันไม่ได้หมุนรอบตัวพระเอก ถึงแม้พระเอกจะสำนึกผิด กลับตัวเป็นคนดี มันก็ไม่ได้หมายความว่า ชีวิตคนอื่น ๆ จะต้อง happy ตามพระเอกไปด้วย หรือไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะต้องคลี่คลายด้วยดีตามไปด้วย

 

4. อีกสิ่งที่ชอบมากก็คือการที่หนังเหมือน “ใส่ใจกับตัวประกอบ” มาก ๆ น่ะ อย่างเช่น

 

4.1 ตัวละครของสายป่าน ที่มีปัญหาผัวนอกใจ และเธอพยายามใช้ไสยาศาสตร์เข้าช่วย แต่ในที่สุดมันก็ไม่ประสบผลสำเร็จ

 

4.2 ตัวละครของ Poon Mitpakdee ที่ไม่ได้เป็น “หนุ่มหล่อรวยนิสัยเลว ๆ โง่ ๆ” แต่เป็นหนุ่มหล่อรวยที่ดูเป็นมนุษย์มากพอสมควร มีทั้งข้อดีข้อเสียในตัวเอง

 

ชอบเขาในฉากหลัง closing credits มาก ๆ

 

5. ชอบตัวละครนางเอกมาก ๆ เลยด้วย ที่ตอนหลังหนังเฉลยว่า เธอไม่ได้เป็นคนซื่อ แต่เป็นคนที่มีฤทธิ์เดชอยู่ในตัว

 

6. ชอบการแสดงของ “เฟี้ยวฟ้าว สุดสวิงริงโก้” (อิม อชิตะ) มาก ๆ เลยด้วย เหมือนบทเธอไม่มีอะไร แต่เธอแสดงได้อย่างมีเสน่ห์น่าจดจำมาก ๆ

 

7. นอกจากการที่หนังใส่ใจกับตัวละครประกอบแล้ว เราก็ชอบที่หนังเหมือนใส่ใจกับ “รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน” ด้วย เพราะบางจุดที่หนังพูดถึงมันก็คล้าย ๆ กับปัญหาที่เราเจอในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น

 

7.1 การที่ตัวละครของทราย เจริญปุระ กระทุ้งน้ำตรงผ้าใบแล้วสร้างความเดือดร้อนให้กับพระเอก

 

คือเราไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ในชีวิตนะ แต่สิ่งที่เราเจอทุกวันตอนเดินเข้าออกซอย ก็คือเราต้องจดจำให้ได้ว่า ห้องแถวห้องไหนที่มันต่อท่อระบายน้ำแอร์ยื่นออกมาในถนนน่ะ เพราะน้ำจากท่อระบายน้ำแอร์นั้นมันชอบหยดเข้าลูกตาเราเวลาเราเดินผ่าน แล้วเราก็กลัวตาบอดมาก ๆ เพราะฉะนั้นเวลาเราเดินผ่านห้องแถวพวกนี้ เราก็มักจะเลี่ยงไปเดินอีกฝั่งนึง หรือไม่ก็ต้องคอยเอามือมาปิดเหนือลูกตา ไม่ให้น้ำจากท่อแอร์มันหยดใส่ลูกตาเรา

 

เราก็เลยชอบฉากการกระทุ้งน้ำแบบสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านมาก ๆ เพราะชีวิตประจำวันของเราก็ได้รับความเดือดร้อนจาก “น้ำกระเซ็น” จากอาคารต่าง  ๆ เหมือนกัน

 

7.2 ชอบฉากการให้เงินมอเตอร์ไซค์รับจ้างอย่างเชื่องช้าของพระเอกมาก ๆ เลยด้วย เพราะมันเหมือนเป็นสิ่งที่เราพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพราะเราก็ขึ้นมอเตอร์ไซค์รับจ้างทุกวัน และเราก็มักจะต้องเตือนสติตัวเองเสมอว่าเราควรเตรียมเงินให้พร้อมหรือพอดีก่อนขึ้นมอเตอร์ไซค์ เราจะได้จ่ายเงินให้เขาได้อย่างรวดเร็วตอนลงจากรถ แต่หลายครั้งเราก็ลืม ไม่ได้เตรียมเงินให้พร้อม

 

คือเหมือนเราเกรงใจมอเตอร์ไซค์รับจ้างน่ะ แล้วครั้งไหนที่เราจ่ายเงินช้า เขาก็ไม่เคยแสดงอาการไม่ดีกับเรานะ แต่เรามักจะรู้สึกผิดในใจเองน่ะแหละ 555 แล้วพอในหนังเรื่องนี้มีฉากที่พระเอกทำไม่ดีแบบนี้ มันก็เลยเหมือนตรงกับ “สิ่งที่เราพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นในแต่ละวัน” พอดี

 

8. แอบสงสัยว่าหนังเรื่องนี้ต้องการ tribute ให้ “วัยระเริง” (1984, Piak Poster) หรือเปล่า 55555 เพราะตัวละครของปูน มิตรภักดีในหนังเรื่องนี้ เอา “บทเรียนมาดัดแปลงเป็นเนื้อเพลง” เพื่อจะได้ท่องจำบทเรียนได้โดยง่าย

 

ซึ่งในหนังเรื่อง “วัยระเริง” ก็มีอะไรทำนองนี้เหมือนกัน ถ้าหากเราจำไม่ผิด เป็นตัวละครของสุลาลีวัลย์ สุวรรณทัตที่เอาบทเรียนมาดัดแปลงเป็นเนื้อเพลง

 

9. เห็นด้วยกับเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนที่ว่า ชอบไอเดียของหนังเรื่องนี้มาก ๆ ที่เหมือนมีการพลิกแพลงอะไรบางอย่างจากหนังวนลูปเรื่องก่อน ๆ เพราะในหนังวนลูปหลาย ๆ เรื่อง อย่างเช่น GROUNDHOG DAY (1993, Harold Ramis) การวนลูปมักจะส่งผลให้ตัวละครพัฒนาตัวเองไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ และ “การหลุดออกจากลูป” คือ “รางวัล” ที่มอบให้กับตัวละครเอกที่พัฒนาตัวเองได้ดี หรือตัวละครเอกที่สามารถแก้ปัญหาได้ในที่สุด

ซึ่งตอนแรกเราก็นึกว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นเช่นนั้น นึกว่าพระเอกจะเอา “ช่วงเวลาที่วนลูป” ไปใช้ในการตั้งใจอ่านหนังสือเรียนอย่างขะมักเขม้น จนสอบได้คะแนนดี ๆ 55555

 

แต่ปรากฏว่าในหนังเรื่องนี้ การวนลูปกลับส่งผลให้พระเอกทำตัวเลว ๆ ตามใจชอบไปเรื่อย ๆ เหมือนการวนลูปทำให้พระเอกมองว่า “เขาไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำใด ๆ”

 

และการหลุดออกจากลูปก็เลยกลับกลายเป็น “การลงโทษ” แทนที่จะเป็น “รางวัล” เหมือนกับในหนังวนลูปโดยทั่ว ๆ ไป

 

เราก็เลยชอบไอเดียนี้ของหนังเรื่องนี้มาก ๆ

 

10. จริง ๆ แล้วหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงสิ่งที่เราเคยเขียนไว้เกี่ยวกับหนังเรื่อง HAPPY DEATH DAY 2U (2019, Christopher Landon, A+25) ในวันที่ 24 ก.พ.ปี 2019 มาก ๆ มันเหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้ตอบโจทย์ของสิ่งที่เราเคยเขียนไว้เมื่อ 6 ปีก่อนโดยไม่ได้ตั้งใจ 55555 โดยเราเคยเขียนถึง HAPPY DEATH DAY 2U ไว้ที่นี่

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10219180355203079&set=a.10218747653865816

 

และเราก็เลยขอ copy paste สิ่งที่เราเขียนไว้ในตอนนั้นมาแปะไว้ในนี้ด้วยเลยแล้วกัน

 

“ถึงแม้หนังเรื่อง HAPPY DEATH DAY 2U จะมีบางอย่างที่ทำให้นึกถึง FINAL DESTINATION แต่จริงๆแล้ว มันก็มีความตรงข้ามกันอยู่ด้วย เพราะหนังชุด FINSL DESTINATION มันทำให้เราหดหู่มากๆกับความจริงที่ว่า ไม่มีใครหลีกเลี่ยงความตายได้พ้น แต่หนังชุด HAPPY DEATH DAY มันสร้างโลกแฟนตาซีที่น่าสนใจมากๆสำหรับเราขึ้นมา เพราะมันเป็นโลกที่ "เราไม่จำเป็นต้องรับผิดใดๆกับการกระทำของเราอีกต่อไป" เพราะเดี๋ยวเราก็จะตายในคืนวันนั้น แล้วก็ย้อนกลับไปใช้ชีวิตวันนั้นใหม่ แก้ไขข้อผิดพลาดใหม่ได้

การฆ่าตัวตายของนางเอกหลายๆรอบอย่างสนุกสนานในหนังภาคสองนี้ มันเลยก่อให้เกิดโลกแฟนตาซีที่น่าสนใจมากๆสำหรับเรา มันเหมือนเป็นการตอบสนองความปรารถนาด้านมืดลึกๆของมนุษย์บางคนน่ะ คือในโลกแห่งความเป็นจริง และในหนัง 95 % (ยกเว้นหนังชุด GANTZ และหนังกลุ่มย้อนเวลา) เราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้แม้แต่เพียงวินาทีเดียว ถ้าหากเราตัดสินใจอะไรผิดพลาดไปแล้ว บางทีเราอาจต้องแบกรับความเสียหายจากมันไปทั้งชีวิต และถ้าเมื่อใดที่เราตาย เราก็ตายไปเลย ฟื้นคืนชีพตามใจชอบไม่ได้

แต่โลกของ HAPPY DEATH DAY มันสร้างกฎเกณฑ์บางอย่างขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงอะไรแบบนี้ได้ มันเหมือนกับว่า ถ้าหากเราได้เข้าไปอยู่ในหนังเรื่องนี้ แล้วเราเกลียดคนสัก 10 คน และเราอยากร่วมรักกับหนุ่มหล่อสัก 36 คน เราก็อาจจะตอบสนองความต้องการของเราได้อย่างสบายๆเลยน่ะ คือถ้าหากเราเกลียดใครสักคนนึง เราก็เอาปลาร้าไปสาดใส่หน้ามัน แล้วเราก็ฆ่าตัวตาย แล้วเราก็เริ่มต้นวันนั้นใหม่ เราไม่ต้องรอรับผลใดๆทั้งในทางกฎหมายหรือทางสังคมจากการเอาปลาร้าไปสาดใส่หน้าคนที่เราเกลียด หรือถ้าหากเราเงี่ยนมาก เราก็เอากับผู้ชายได้ตามสบาย แล้วก็ฆ่าตัวตาย แล้วก็เริ่มต้นวันนั้นใหม่ เพื่อเอากับผู้ชายอีกคน เราไม่ต้องกลัวติดโรคหรือตั้งครรภ์อะไรใดๆเลย

เราก็เลยชอบ “โลกแฟนตาซี” ใน HAPPY DEATH DAY 2U มาก มันไปไกลกว่าการย้อนเวลาแบบ BACK TO THE FUTURE อีก เพราะโลกแฟนตาซีแบบใน HAPPY DEATH DAY 2U นั้น มันเป็นโลกที่เราแทบไม่ต้อง “รับผิดกับการกระทำใดๆของเราอีกต่อไป”

เพราะฉะนั้น พอดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว เราก็เลยเศร้า 555 เพราะเราต้องกลับเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง โลกที่เราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้เลยแม้แต่เพียงเสี้ยววินาทีเดียว สิ่งใดก็ตามที่เราพูดหรือทำไปในวินาทีใดก็ตามของวันใดก็ตาม เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถย้อนกลับไปลบล้างมันได้ เราต้องรับผิดชอบกับทุกสิ่งที่เราทำไปในทุกๆวินาที กรรมทุกอย่างที่เราทำจะติดตัวเราตลอดไป”

 

เราก็เลยรู้สึกว่า HAPPY MONDAY(S) มันตรงใจเรามาก ๆ ในจุดนี้

 

11. ขอถือโอกาสนี้แปะรายชื่อ “หนังวนลูป หรือหนังแนวใกล้เคียงกัน” ที่เราชอบสุดขีดเอาไว้ด้วยเลยแล้วกัน

 

11.1 THE BUTTERFLY EFFECT (2004, Eric Bress, J. Mackye Gruber)

หนังเรื่องนี้อาจจะเป็นหนังย้อนเวลา มากกว่าหนังวนลูป แต่เรารู้สึกว่าเนื้อหาสาระของหนังเรื่องนี้มันใกล้เคียงกับหนังวนลูป

 

11.2 CELINE AND JULIE GO BOATING (1974, Jacques Rivette, France, 193min)

เหมือนหนังมีการวนลูป 2 ระดับ ระดับแรกคือการที่ตัวละครเข้าไปวนลูปใน “บ้านผีสิง” 3 รอบ เพื่อพยายามคลี่คลายคดีฆาตกรรมและช่วยชีวิตเด็ก โดยตัวละครเอาข้อมูลที่ได้จากการวนลูปแต่ละรอบมาใช้ในการคลี่คลายคดี (จุดนี้ทำให้นึกถึง “การเล่นวิดีโอเกม” ซ้ำ ๆ เพื่อเอาชนะเกมด้วย ถึงแม้ยุคนั้นยังไม่มีวิดีโอเกมก็ตาม)  ส่วนระดับที่สองคือการวนลูปตั้งแต่ตอนที่ตัวละครนางเอกทั้งสองคนเริ่มรู้จักกันครั้งแรก

 

11.3 EDGE OF TOMORROW (2014, Doug Liman)

 

11.4 FATHER & SON (2015, Sarawut Intaraprom)

ยังคงครองตำแหน่ง “หนังวนลูปของไทยที่เราชื่นชอบมากที่สุดในชีวิต” 55555

 

11.5 A FRAGMENT OF ALL THE POSSIBILITIES OF THE ACTION OF GIVING, BUT WHETHER YOU WILL TAKE THE GIFT OR NOT DEPENDS ON YOUR DECISION

เสี้ยวหนึ่งของความเป็นไปได้ทั้งหมดในการให้ แต่จะรับหรือไม่รับ ก็แล้วแต่พิจารณา (2014, Nattawoot Nimitchaikosol)

 

11.6 GROUNDHOG DAY (1993, Harold Ramis)

 

11.7 HAPPY MONDAY(S)

 

11.8 RIVER (2023, Junta Yamaguchi, Japan)

 

11.9 RUN LOLA RUN (1998, Tom Tykwer, Germany)

 

11.10 SMOKING/NO SMOKING (1993, Alain Resnais, France, 4hours 58mins)

 

แล้วก็มีหนังทำนองนี้อีกหลายเรื่องที่เราชอบมาก ๆ นะ แต่อาจจะไม่ถึงขั้น A+30 อย่างเช่น SLIDING DOORS (1998, Peter Howitt, UK), BEFORE I FALL (2017, Ry Russo-Young), MONDAYS: SEE YOU ‘THIS’ WEEK! (2022, Ryo Takebayashi, Japan)

 

12. สาเหตุที่เราชอบหนังวนลูปมาก ๆ เป็นการส่วนตัว ก็เป็นเพราะเราอยากวนลูปบางช่วงเวลาในชีวิตน่ะแหละ แต่ไม่ใช่ตลอดไปนะ คือถ้าหากเราขอพรให้วนลูปได้ เราก็อยากจะขอพรให้เราได้ย้อนกลับไปใช้ชีวิตในปี 1989 อีกสัก 5 รอบ อะไรทำนองนี้ แบบตื่นขึ้นมาแล้วพบว่า ตัวเองได้ย้อนกลับไปใช้ชีวิตใน “วันที่ 1 ม.ค. 1989 จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 1989” อีกสัก 5 รอบ 55555 เพราะว่าปี 1989 เป็นปีที่เรามีความสุขที่สุดในชีวิต และเป็นปีที่เรายังคงนึกถึงอยู่ตลอดเวลา

 

แน่นอนว่าถ้าหากเราวนลูปได้จริง เราตั้งใจว่าเราจะแอบไปสารภาพรัก “รุ่นพี่ ม.6” หนุ่มหล่อคนนึงที่เราแอบชอบ ในปี 1989 เพราะตอนนี้เวลาล่วงเลยมาจนถึงปี 2025 แล้ว เราก็ยังคงหลงรักรุ่นพี่ม. 6 คนนั้นอยู่เหมือนเดิม เรายังคงคิดถึงช่วงเวลาในปี 1989 ที่เราแอบมองเขา ถึงแม้เวลาจะผ่านมานาน 36 ปีแล้ว เราก็ยังคงจดจำเขาและช่วงเวลาที่เราแอบมองเขาได้ดีอย่างไม่เสื่อมคลาย

+++

 

เพิ่งเห็นว่า Shaw Brothers นำหนังในทศวรรษ 1960 หลายเรื่องมาลงให้ดูฟรีในยูทูบ ภาพสวยสุดขีดมาก ๆ แต่เสียดายที่บางเรื่องไม่มีซับไตเติลภาษาอังกฤษ อย่างเช่น CALL OF THE SEA (1965, Lo Wei) แต่บางเรื่องก็มีซับไตเติลภาษาอังกฤษ
https://www.youtube.com/@ShawBrosCinema/videos

++++++++++

กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ตอนที่เราดู GRAND TOUR (2024, Miguel Gomes, Portugal, A+30) เราก็นึกถึง UNTIL THE END OF THE WORLD (1991, Wim Wenders) กับ MYSTERIOUS OBJECT AT NOON (2000, Apichatpong Weerasethakul) เหมือนกันเลย ดีใจสุดขีดที่คุณจุมก็คิดเหมือนกัน

Saturday, March 22, 2025

WILD STRAWBERRIES (1957, Ingmar Bergman, Sweden, A+30)

 

เพิ่งฟังเทป podcast “ทายผลออสการ์! เดิมพัน (ด้วย) กระโปก! (2025)” ของ Man on Film จบ ดีใจที่มีพูดถึงเทศกาลหนังทดลองและ FLAT GIRLS ด้วย

 

ตอนที่เราฟัง podcast ช่องนี้เราก็จะนึกถึงอดีตช่วงที่เราเคยตามฟังรายการวิทยุเกี่ยวกับภาพยนตร์ ซึ่งก็คือรายการ  SAT & SUN ที่จัดโดยคุณณัฐ, คุณณรงค์ และคุณมาลี ซึ่งเราเคยตามฟังในทศวรรษ 1980 และรายการหนังหน้าไมค์ของคุณนราและเพื่อน ๆ ของเขา ซึ่งเราเคยตามฟังในช่วงต้นทศวรรษ 2000

 

แล้วก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า รายการ podcast ของ Man on Film นี่ อาจจะถือได้ว่าเป็นรายการวิทยุเกี่ยวกับภาพยนตร์รายการแรกที่เราติดตามฟัง ที่ “ผู้จัดรายการมีอายุน้อยกว่าเรา” 55555 เพราะในกรณีของ SAT & SUN และ หนังหน้าไมค์นั้น ผู้จัดรายการมีอายุมากกว่าเรา

+++++++

 

เราเพิ่งเริ่มใช้ Air Quality Detector แล้วก็พบว่า มันมี “ความไว” ในการตรวจจับสิ่งต่าง ๆ ในอากาศได้เร็วจริง ๆ

 

คือในช่วงปกตินั้น ค่าอะไรต่าง ๆ ในห้องของเราจะอยู่ประมาณนี้

 

HCHO 0.013 (ถือว่าดีแล้ว เพราะควรอยู่ต่ำกว่า 0.1)

TVOC 0.050 (ถือว่าดีแล้ว เพราะควรอยู่ต่ำกว่า 0.5)

PM 2.5 22 (ควรอยู่ต่ำกว่า 5)

PM10 28 (ควรอยู่ต่ำกว่า 15)

CO 1 (ถือว่าดีแล้ว เพราะควรอยู่ต่ำกว่า 9)

CO2 412 (ถือว่าดีแล้ว เพราะควรอยู่ต่ำกว่า 800)

AQI 31 (ถือว่าดีแล้ว)

 

แต่พอเราเอา “กระดาษเช็ดแว่นตา” ออกมาใช้เช็ดแว่นปุ๊บ ค่าอะไรต่าง ๆ พุ่งพรวดปรี๊ดขึ้นมาในทันที รุนแรงมาก

 

HCHO 0.895

TVOC 2.000

PM2.5 30

PM10 39

CO 33

CO2 3826

AQI 500

 

คือเราไม่เคยใช้อุปกรณ์ Air Quality Detector อะไรแบบนี้มาก่อน แล้วพอเราได้มาใช้อุปกรณ์นี้ เราก็เลยเพิ่งรู้ว่า แค่ “กระดาษเช็ดแว่นตา” แผ่นเล็ก ๆ บาง ๆ เพียงแผ่นเดียว มันก็บรรจุสารเคมีอะไรต่าง ๆ อยู่ในกระดาษมากจนส่งผลกระทบต่อมวลอากาศในห้องของเราได้อย่างรุนแรงถึงเพียงนี้

++++++++++

Favorite Quote from Jean-Luc Godard:

 

Godard ได้ดูหนังเรื่อง WILD STRAWBERRIES (1957, Ingmar Bergman, Sweden, A+30) แล้วเขาเขียนว่า

 

“MULTIPLY HEIDEGGER BY GIRAUDOUX GET BERGMAN”

 

ซึ่งเราเดาว่าน่าจะแปลว่า ถ้าหากนำเอา Martin Heidegger มาคูณกับ Jean Giraudoux แล้วผลลัพธ์จะได้เท่ากับ Ingmar Bergman

 

พออ่านสิ่งที่ Godard เขียนแล้วเราก็สงสัยว่า Jean Giraudoux คือใคร เพราะเราไม่คุ้นชื่อนี้มาก่อน พอลอง google ดูแล้วก็พบว่า เขาเป็นนักประพันธ์ชื่อดังของฝรั่งเศส เขาเคยเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง ANGELS OF SIN (1943, Robert Bresson) ด้วย

 

Giraudoux เคยเขียนบทละครเวทีเรื่อง THE MADWOMAN OF CHAILLOT ด้วย ซึ่งบทละครเวทีเรื่องนี้เคยถูกนำมาสร้างเป็นละครเวทีที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬา เรื่อง “หญิงวิปลาส ณ ไชโยต์” (1992, ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง) ที่นำแสดงโดย ศรัทธา ศรัทธาทิพย์ คมสัน นันทจิต สามมิติ สุขบรรจง กลศ อัทธเสรี รัดเกล้า อามระดิษ ฯลฯ

 

เสียดายมาก ๆ ที่เราไม่ได้ไปดูละครเวทีเรื่องนั้น ทั้ง ๆ ที่ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่เรากำลังเรียนอยู่ในคณะอักษร

 

ส่วนตัวหนัง WILD STRAWBERRIES นั้น เราชอบมาก ๆ นะ แต่ไม่ได้อินอะไรกับมันเป็นการส่วนตัว เพราะฉะนั้นหนังที่เราชอบมากที่สุดของ Ingmar Bergman ก็ยังคงเป็น THE SILENCE (1963) เหมือนเดิม

 

สิ่งที่ชอบที่สุดใน WILD STRAWBERRIES ก็คือ “กลุ่มตัวละครรักสามเส้า สองหนุ่ม หนึ่งสาว” ที่ร่วมเดินทางไปกับพระเอก คือเราชอบสุดขีดที่ “ชายหนุ่มสองคนนี้รักหญิงสาวสวยคนเดียวกัน” แต่ชายหนุ่มทั้งสองคนนี้ไม่ได้ทะเลาะเบาะแว้งกันเพราะรักหญิงสาวคนเดียวกัน ชายหนุ่มสองคนนี้ทะเลาะกันอย่างรุนแรงก็ต่อเมื่อมีการถกเถียงกันในประเด็นที่ว่า “Does God exist?” เพราะประเด็นนี้ทำให้ทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกันจนต้องลงไม้ลงมือกัน

 

คือเรารู้สีกว่าตัวละครแบบนี้นี่แหละ ที่มันเข้าทางเรา หรือสอดคล้องกับโลกจินตนาการของเรา คือเราไม่ค่อยอินกับตัวละครผู้ชายที่ชกต่อยกันเพราะแย่งสาว ๆ สวย ๆ คือเรารู้สึกว่าผู้ชายแบบนี้มันไม่น่าสนใจ (แต่เราอาจจะพบตัวละครแบบนี้บ่อย ๆ ในหนังไทยหรือเปล่านะ เราก็ไม่แน่ใจ) เรา “สนใจ” ตัวละครหนุ่ม ๆ แบบใน WILD STRAWBERRIES นี่แหละ หนุ่ม ๆ ที่มองว่า “การรักสาวสวยคนเดียวกันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้” แต่ประเด็น “Does God exist?” นี่แหละ ที่สามารถสั่นสะเทือนพวกเขาได้อย่างรุนแรงในระดับที่สาวสวยทำไม่ได้

Thursday, March 20, 2025

COLLAPSING CLOUDS FORM STARS (2021, Som Supaparinya, video installation, 24min, A+30)

 KIM ASENDORF EXHIBITION

“Among the series on display are: Monogrid (2021), one of his first blockchain-based works, establishes a minimal yet mesmerizing aesthetic, with shifting grids and pixelated black-and-white patterns that evoke the language of early computer art. The series will be installed at the Goethe-Institut as an audiovisual multi-channel version. Sabotage (2022) visualizes the interplay between order and chaos, with rows shifting and a ‘saboteur ’moving pixels to manipulate patterns of grids, lines, and gradients, producing ever-changing arrangements. Alternate (2023) shows a growing complexity in compositional layering and color interplay with pulsing glitch effects and dynamic distortion. PXL DEX (January 2025) extends his abstract animations into architectonic, dense and object-like 3D systems.”

https://www.goethe.de/ins/th/en/ver.cfm?event_id=26478018

 

COLLAPSING CLOUDS FORM STARS (2021, Som Supaparinya, video installation, 24min, A+30)

 

ประทับใจมาก ๆ เหมือนเป็นประวัติศาสตร์ฉบับย่อของการเมืองไทยยุคใหม่ วิดีโอนี้นำเสนอภาพสถานที่ที่มีความสำคัญทางการเมืองของไทย 24 แห่ง ซึ่งได้แก่

 

1.แม่น้ำคาว ฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง เชียงใหม่

 

2.ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง อุบล

 

3. คุ้มเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ อำเภอเมือง แพร่

 

4. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพ

 

5. ถนนศรีวิชัย บ้านห้วยผาลาด อำเภอเมือง เชียงใหม่

 

6. พระบรมรูปทรงม้า

 

7. ท้องสนามหลวง

 

8. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

 

9. หาดสมิหลา เมืองสงขลา

 

10. วิทยาลัยเทคนิค สว่างแดนดิน สกลนคร

 

11. อนุสรณ์สถานวันเสียงปืนแตก นครพนม

 

12. ทุ่งนาบ้านหนองกุง อำเภอวาริชภูมิ สกลนคร

 

13. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

14. หมู่บ้านแม่มูลยั่งยืน อุบลราชธานี

 

15. มัสยิดกรือเซะ ตันหยงลุโละ อำเภอเมือง ปัตตานี

 

16. สถานีตำรวจอำเภอตากใบ นราธิวาส

 

17.อนุสรณ์นวมทอง ไพรวัลย์ ใต้สะพานลอย กรุงเทพมหานคร

 

18. แยกคอกวัว และถนนดินสอ

 

19. แยกราชประสงค์

 

20. สะพานแขวน อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

 

21. ด่านตรวจ บ้านรินหลวง อำเภอเชียงดาว เชียงใหม่

 

22. แม่น้ำโขงหน้าวัดหัวเวียงรังษี อำเภอธาตุพนม นครพนม

 

23. หมู่บ้านทะลุฟ้า ระหว่างสะพานชมัยมรุเชฐ และสะพานอรทัย กรุงเทพมหานคร

 

24. ศาลฎีกา ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพ

 

งานวิดีโอนี้ติดตั้งพร้อมกับแถบริบบิ้น 279 ชิ้น ที่มีข้อความทางการเมืองพิมพ์ไว้บนริบบิ้น ส่วนเสียงประกอบของวิดีโอนี้เป็นเสียงรหัสมอร์สที่บอกเล่าข้อความที่น่าสนใจมากมาย (ถ้าหากคุณฟังรหัสมอร์สออก) อย่างเช่น บทกวีของไม้หนึ่ง ก. กุนที และ speech ของครอง จันดาวงศ์

Wednesday, March 19, 2025

MAMANTULA

 

เตือนภัย: หนังจำนวนมากใน MUBI กำลังจะหมดอายุในเดือนนี้ หลายเรื่องเราเคยดูแล้ว แต่อีกหลายเรื่องเราก็ยังไม่ได้ดู กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

 

THE AIR THAT TEDDY BEAR BREATHES

 

เราลองซื้อเครื่องตรวจวัดอากาศมาเพื่อใช้วัดอากาศที่เหมาะสมสำหรับการหายใจของลูกหมี แต่เรางง ๆ ว่าอะไรควรอยู่ที่ระดับเท่าไหร่ ก็เลยลอง google ดู

 

HCHO

According to the World Health Organization, exposure to concentrations up to 0.1 mg/m3 is sufficient to prevent effects on lung function and long-term health effects.

 

TVOC

Acceptable levels of TVOC ranges from 0.3 to 0.5 mg/m3 of concentration.

 

PM2.5

For public health, the World Health Organization (WHO) recommends that annual average PM2.5 concentrations should not exceed 5 µg/m3, while 24-hour averages should not exceed 15 µg/m3 more than 3-4 days per year. 

 

PM10

While there's no universally agreed upon "safe" level of PM10, the World Health Organization (WHO) recommends a maximum annual average of 15 µg/m³ and a 24-hour average of 45 µg/m³ to protect human health

 

CO

For indoor air quality, the World Health Organization recommends that carbon monoxide (CO) levels be below an average of 9 parts per million (ppm) for any 8-hour period and below 25 ppm for any 1-hour period

 

CO2

Generally, CO2 levels below 800 ppm are considered indicative of good indoor air quality, while levels above 1000 ppm can lead to drowsiness and poor air quality, and levels above 2000 ppm can cause headaches and fatigue

 

MAMÁNTULA (2023, Ion De Sosa, queer film, sci-fi, Germany/Spain, 49min, A+30)

 

เราดูหนังเรื่องนี้ที่

https://www.e-flux.com/film/650573/mamantula/

 

สุดฤทธิ์ นึกว่า Alain Guiraudie รวมร่างกับ Pedro Almodovar แล้วออกมาเป็นหนังเรื่องนี้

 

หนังเรื่องนี้เล่าถึงมนุษย์ต่างดาวหนุ่มที่ฆ่าคนด้วยการดูดจู๋ผู้ชาย เขาตระเวนฆ่าเกย์และกะเทยไปเรื่อย ๆ โดยมีสองตำรวจสาวเลสเบียนคอยตามล่าเขาอย่างไม่ลดละ

 

ดูแล้วก็นึกถึงอารมณ์ตอนเด็ก ๆ เวลาที่เราดูหนังเกี่ยวกับ “ผีดูดเลือด” เพราะผีดูดเลือดมักฆ่าคนด้วยการ “ดูดคอ” เพราะฉะนั้นตอนเด็ก ๆ เราก็เลยจินตนาการว่า น่าจะมี monster ที่ฆ่าคนด้วยการดูดจู๋บ้าง 55555

 

ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็นึกถึงละครทีวีในจินตนาการของเราเรื่อง SPLASH ME WITH YOUR WATER ด้วย เพราะในละครทีวีเรื่องนั้นก็มีมนุษย์ต่างดาวที่เป็นเกย์ และก็มี “ปอบ” ที่คอยฆ่าเกย์ไปเรื่อย ๆ เหมือนกัน

https://web.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid0BrUGfG9iMhTRN1ttgepo6W3aVKHWnDFC889DqFYVowGjyvYXqZbbb8S1hsEu4WCYl

 

วันนี้ได้มากินอาหารโปแลนด์ที่ร้าน TASTE FROM POLAND ใกล้ ๆ หอภาพยนตร์ ศาลายาค่ะ เพื่อเป็นพลีแด่ Krzysztof Zanussi, Krzysztof Kieslowski, Agnieszka Holland, Andrzej Wajda, Andrzej Zulawski, Jerzy Skolimowski, Walerian Borowczyk, Wojciech Has, Wojciech Marczewski, Malgorzata Szumowska และ Basia ค่ะ

 

วันนี้ลองกิน Goulash, Polish crepes กับเกี๊ยวสตรอว์เบอร์รี่ดู ชอบ Goulash มาก ๆ ค่ะ

 

ตอนขาไปเรานั่ง Grab ไปจากหอภาพยนตร์ มาลงที่ร้านอาหารโปแลนด์ได้เลย แต่ตอนจะกลับ ปรากฏว่าหา Grab กลับไม่ได้ค่ะ ไม่มีรถ Grab มาวิ่งแถวบริเวณนั้นเลย (ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม) เพื่อนของเราก็เลยต้อง google หารถแท็กซี่แถวนั้นเพื่อเรียกรถกลับค่ะ เราก็เลยลงนามบัตรของรถแท็กซี่ไว้ในโพสท์นี้ด้วยเลยแล้วกัน เผื่อใครไปกินร้านนี้แล้วอยากเรียก taxi กลับ

 

รูปตัวเราจะดูแปลก ๆ หน่อย เพื่อเป็นพลีแด่ Andrzej Zulawski 55555

+++

Nostalgic Song: AWESOME (YOU’RE MY HERO) (1991) – Ya Kid K

https://www.youtube.com/watch?v=LtRYsKCdjBs

 

Tuesday, March 18, 2025

RIP EMILIE DUQUENNE (1981-2025)

 

RIP EMILIE DUQUENNE (1981-2025)

 

หนังของเธอที่เราเคยดู

 

1.THE LIGHT (2004, Philippe Lioret) 

 

2.THE BRIDGE OF SAN LUIS REY (2004, Mary McGuckian)

 

3. OUR CHILDREN (2012, Joachim Lafosse, Belgium, A+30)

 

4.NOT MY TYPE (2014, Lucas Belvaux)

 

5.THE THINGS WE SAY, THE THINGS WE DO (2020, Emmanuel Mouret)

 

6.CLOSE (2022, Lukas Dhont, Belgium)


7.SURVIVE ต้องรอด (2024, Frederic Jardin, France, A+30)

ทั้ง 7 เรื่องนี้เราได้ดูในโรงภาพยนตร์หมดเลย เพราะ

 

 THE LIGHT เคยมาฉายในเทศกาลภาพยนตร์ฝรั่งเศสในกรุงเทพ

 

THE BRIDGE OF SAN LUIS REY, CLOSE, SURVIVE ได้รับการจัดจำหน่ายตามโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย

 

OUR CHILDREN, NOT MY TYPE, “THE THINGS WE SAY, THE THINGS WE DO” ฉายที่โรงภาพยนตร์ของสมาคมฝรั่งเศสในกรุงเทพ

Monday, March 17, 2025

STAR APPEAL

 

I WOULD RATHER BE A STONE (2024, Ana Hušman, Croatia, 23min, second and third viewing, A+30)

 

เราได้ดูหนังเรื่องนี้เป็นครั้งแรกในเทศกาล World Film Festival of Bangkok ที่ Central World ในเดือนพ.ย. 2024 แล้วก็ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ พอหนังเรื่องนี้เปิดฉายให้ดูฟรีออนไลน์ เราก็เลยดูซ้ำอีกเป็นรอบที่สองและสาม

 

เหมือนพอดูซ้ำ 3 รอบแล้วเราถึงค่อยตามเนื้อเรื่องได้ทัน 55555 เพราะเราเป็นคนที่แยกโสตประสาทไม่เก่ง แล้วหนังเรื่องนี้มันเต็มไปด้วยฉากที่ “ภาพ, เสียง และ text” ไม่สัมพันธ์กันโดยตรง อย่างเช่น ในฉากนึงเราอาจจะเห็นภาพต้นไม้ แต่ text จะพูดเรื่องการทำขนมปัง และเราจะได้ยินเสียง “กาละมัง” ซึ่งตัวกาละมังจะไม่ปรากฏให้เห็นในภาพ และไม่ถูกพูดถึงโดยตรงใน text

 

ซึ่งหนังเรื่องนี้จะเต็มไปด้วยฉากที่ ภาพ, เสียง และ text ไม่สัมพันธ์กันโดยตรงเยอะมาก แต่มันก็เรียงร้อยออกมาได้งดงามเป็นกวีมาก ๆ เราก็เลยดูซ้ำได้ 3 รอบโดยไม่เบื่อ เหมือนยิ่งดูก็ยิ่งเก็บรายละเอียดได้มากขึ้นเรื่อย ๆ

 

นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังเต็มไปด้วยภาพแบบ superimposition และการตัดต่อฉากที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรงเข้าด้วยกันอีกด้วย เพราะฉะนั้นมันก็เลยยิ่งช่วยให้เราดูหนังซ้ำได้โดยไม่เบื่อ

 

ส่วนเนื้อเรื่องหลัก ๆ ของหนังคือการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในโครเอเชีย ซี่งจะส่งผลให้หมู่บ้านบางหมู่บ้านหายสาบสูญไปตลอดกาล

 

เราดูหนังเรื่องนี้ที่

https://www.festivalscope.com/film/i-would-rather-be-a-stone/

 

CICADA (2020, Swoon, video installation, 17min, A+30)

 

งดงามมาก ๆ หนังเรื่องนี้ฉายที่ SAC GALLERY ซอยสุขุมวิท 39

 

STAR APPEAL (2004, Cui Zi’en, China, queer film, sci-fi, 86min, A+30)

 

น่าจะเป็นหนึ่งในหนังไซไฟที่เราชอบที่สุดตลอดกาล หนังพูดถึงเรื่องของมนุษย์ต่างดาวหนุ่มจากดาวอังคารที่เดินทางมาเจอกับชายหนุ่มบนโลกมนุษย์

 

ดูหนังเรื่องนี้แล้ว nostalgia มาก ๆ เพราะภาพของหนังมันทำให้นึกถึง “early digital film” เมื่อราว 20-30 ปีก่อน ซึ่งในยุคนั้นมีหนังบางเรื่องที่ถ่ายทำด้วยระบบ digital และเทคโนโลยีในยุคนั้นก็ส่งผลให้ภาพในหนังออกมาดิบหยาบมาก ๆ จนกระทั่งถึงช่วงปลายทศวรรษ 2000 มั้งที่หนัง digital ถึงค่อยให้ภาพที่สวยคมชัดมากยิ่งขึ้น

 

เพราะฉะนั้นลักษณะภาพดิบ ๆ หยาบ ๆ ใน early digital film ก็เลยกลายเป็นเหมือนลักษณะเฉพาะของยุคสมัย และเป็นสิ่งที่เราแทบไม่ได้เห็นในหนังทั่วไปในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา

 

ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็นึกถึงลักษณะภาพดิบ ๆ ในหนังอย่าง

 

1. THE OPEN UNIVERSE (1990, Klaus Wyborny, Germany, 94min, A+30)

 

2.DREAMTRIPS (1999, Kal Ng, Hong Kong/Canada, 90min, A+30)

 

3.THE CRUELTY AND THE SOY-SAUCE MAN+ (2000, Phaisit Phanphruksachat, 106 min, A+30)
จอมโหดมนุษย์ซีอิ๊ว+

 

4. EVERYTHING WILL FLOW (2000, Punlop Horharin, 182min, A+30)

 

5.NABI (2001, Moon Seung-wook, South Korea, 30min, A+30)

 

6.THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE (2004, James Lee, Malaysia, 113min)

 

7.TODO TODO TEROS (2006, John Torres, Philippines, A+30)

 

หนังเรื่อง STAR APPEAL นี้เป็นหนังเรื่องที่สองของ Cui Zi’en ที่เราได้ดู ต่อจาก AN INTERIOR VIEW OF DEATH (2004, Cui Zi’en, China, 15min) ที่เคยมาฉายในเทศกาลหนังสั้นในปี 2006

 

เราดู STAR APPEAL ที่

https://www.e-flux.com/film/639001/star-appeal/