ขอบคุณคุณทาเรนซ์มากค่ะที่เอาเรื่องของไล่ ตง จิ้นมาให้อ่านกัน
ส่วนที่ประทับใจมากคือส่วนที่น้องกำลังจะเอาอึเข้าปากตัวเอง อ่านตรงนี้แล้วรู้สึกว่าได้ทั้งสัมผัสทาง “ภาพ”, “กลิ่น” และ “รส” ในเวลาเดียวกัน
อ่านแล้วนึกถึงหนังแนวชีวิตบัดซบของไต้หวันเรื่องนึง นั่นก็คือเรื่อง SUCH A LIFE (1997, CHANG CHI-YUNG, B) แต่รู้สึกว่าชีวิตของไล่ ตง จิ้นจะเลวร้ายกว่าหลายเท่า
พูดถึงเรื่องราวแนวชีวิตต้องสู้แล้ว ก็นึกถึงละครญี่ปุ่นเรื่อง “โอชิน” ด้วยเหมือนกัน จำได้ว่าไต้หวันผลิตละครเรื่องนึงที่เลียนแบบโอชินด้วย รู้สึกว่า “โอชิน” จะฉายทางช่อง 5 แต่ละครไต้หวันเรื่องนั้นจะฉายทางช่อง 3 จำชื่อเรื่องไม่ได้แล้วว่าชื่อเรื่องอะไร
มีละครฮ่องกงแนวชีวิตต้องสู้อีกเรื่องนึงที่ชอบมากๆด้วย แต่จำชื่อเรื่องไม่ได้แล้ว จำได้แต่ว่าเป็นละครย้อนยุคช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พระเอกไม่หล่อ เป็นผู้ชายธรรมดาตัวเตี้ยๆ และมีนางเอกสองคน คนนึงเป็นคนฐานะยากจนเหมือนพระเอก ส่วนอีกคนเป็นผู้หญิงฐานะดี (โจวไห่เม่ย) เสียดายที่จำชื่อเรื่องไม่ได้แล้ว
ตอบคุณ SENSITIVEMAN
ต้องขอกราบเท้าคุณ SENSITIVEMAN ไว้ตรงนี้เลยค่ะ ดีใจมากๆที่ได้ดูการแข่งขันในปี 1988 อีกครั้ง ดิฉันไม่ได้อัดวิดีโออะไรในตอนนั้นเก็บไว้เลยค่ะ เพราะตอนนั้นยังเป็นเด็กนักเรียนยากจน ไม่ค่อยมีเงินซื้อวิดีโอ ก็เลยอัดวิดีโอรายการทีวีต่างๆเก็บเอาไว้น้อยมาก เสียดายเหมือนกันที่ไม่ได้อัดอะไรดีๆหลายๆอย่างเก็บเอาไว้ เพราะละครทีวีหรือโฆษณาหลายๆอย่างในอดีตเป็นสิ่งที่ดีมาก และคงยากที่จะหามาดูได้อีก
อ่านเรื่องของ SHUSHUNOVA กับ SILIVAS แล้วรู้สึกสนุกมากเลยค่ะ เป็นอะไรที่ dramatic มากๆราวกับว่าเป็นเรื่องแต่ง แต่ในเรื่องแต่งนั้น มักจะมี “นางเอก” กับ “นางอิจฉา” และเรามักจะไม่รู้สึกสงสารเวลาที่ “นางอิจฉา” พ่ายแพ้ แต่ในชีวิตจริงนั้น เวลาดิฉันดูกีฬา ก็มักจะเกิดความรู้สึกแปลกๆอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือรู้สึกสุขใจไปกับผู้ชนะและเสียใจไปกับคนแพ้ในเวลาเดียวกัน เพราะหลายครั้งเราไม่รู้ว่านักกีฬาคนไหนดีหรือเลว ไม่มีใครเป็นนางอิจฉาในสายตาของเรา เราไม่สามารถบอกตัวเองได้ว่า “สมควรแล้วล่ะที่อีนี่แพ้” เหมือนเวลาที่เราดูละครน้ำเน่า เพราะฉะนั้นเวลาดูการแข่งขันกีฬาจริงๆ มันก็เลยเกิดความรู้สึก “ก้ำกึ่ง” ดีเหมือนกัน และมันก็ทำให้เห็นข้อเสียของละครหรือหนังบางเรื่องด้วยที่พยายามทำให้ผู้ชมมองข้าม “ความเศร้าโศกเสียใจ” ของตัวละครบางตัวที่เป็นคู่แข่งของพระเอกหรือนางเอก ทั้งๆที่ตัวละครเหล่านั้นสมควรได้รับความเห็นอกเห็นใจมากกว่าความรู้สึกสมน้ำหน้า หรือความรู้สึกที่ว่า “ลืมๆมันไปซะ เราสนใจแต่ความสุขสมหวังของพระเอกนางเอกก็พอแล้ว”
ชอบคลิป FLOOR EXERCISE ที่คุณ SENSITIVEMAN เอามาให้ดูมากๆเลยค่ะ ดูเพลินมาก แถมยังสามารถดูซ้ำได้หลายรอบติดต่อกันด้วย ชอบท่าตรงช่วงกลางของนักกีฬาหญิงทั้ง 3 คนมากๆ โดยเฉพาะของชูชูโนว่า ประมาณนาทีที่ 0:50 – 1:00 (ตามในคลิป) ที่เธอกระโดดตีลังกาแล้วมีการแยกขากลางอากาศ มันมหัศจรรย์มาก ส่วนของ DOBRE นั้นก็ชอบช่วงประมาณนาทีที่ 0:50 เหมือนๆกัน ที่เธอควงสว่านตัวเองโดยเอาหัวลงไปทิ่มพื้นแล้วก็หมุนตัวกลับขึ้นมาอีกครั้ง เป็นท่าที่ไม่รู้ว่าเล่นยากหรือเปล่า แต่ดู “สวยงาม” มากๆ
DOBRE ดูสง่ามากค่ะ เธอดูเหมือนเป็นเจ้าหญิงเลย
ส่วนของ SILIVAS นั้น ชอบท่า “ขึ้น” คานทรงตัวของเธอมาก ที่เอาหัวขึ้นไปพาดคานไว้อย่างนั้น
แต่สิ่งที่ทำให้ “รู้สึก” อย่างมากๆในคลิปของ SILIVAS ก็คือช่วง 3-5 วินาทีท้ายคลิปบาร์ต่างระดับ ที่อยู่ดีๆกล้องก็ตัดฉับไปที่หน้าตาอันบึ้งตึงของชูชูโนว่า แล้วก็ตัดมาที่ใบหน้ายิ้มระรื่นระริกระรี้ของ SILIVAS มันเป็นอะไรที่รุนแรงมากๆ และสิ่งที่สงสัยอย่างมากๆก็คือว่า การตัดต่อภาพในครั้งนั้นอาจจะเกิดขึ้นอย่าง “ฉับพลัน” แบบที่คนคุมกล้องกับคนตัดต่อภาพอาจจะคาดเดาล่วงหน้าไม่ได้ด้วยซ้ำว่านักกีฬาหญิงทั้งสองคนนี้จะแสดงอาการอะไรออกมา เพียงแต่เดาๆเอาไว้ก่อนว่า เดี๋ยวตัดภาพจากกล้องนี้แล้วก็ตัดมากล้องนี้ แต่เผอิญนักกีฬาหญิงทั้งสองแสดงอาการที่มันลงล็อคอย่างมากๆ พอตัดต่อภาพจากสองกล้องนี้เข้าด้วยกันในวินาทีนั้น มันก็เลยเกิดอารมณ์ที่ DRAMATIC อย่างรุนแรง เพียงแต่ว่าความ DRAMATIC นี้มันมีความเป็น “สารคดี” และเป็น “สารคดี” ที่เกิดจากการถ่ายภาพและตัดต่อแบบฉับพลันด้วย
ลองหาประวัติของชูชูโนว่ามาอ่านดูแล้วก็รู้สึกทึ่งกับชีวิตของเธอมากค่ะ
http://www.gymnpics.com/gymnasticgreats/wag/shushunova.htm
1.ช่วงแรกที่เธอเล่นยิม มีคนคิดว่าเธอไม่เหมาะจะเล่นยิมด้วยเหตุผลอะไรหลายๆอย่าง แต่มีโค้ชคนนึงที่คิดว่าเธอมีความเข้มแข็งภายในตัวเอง
2.มีการแข่งขันครั้งนึงที่โค้ชตัดสินใจเลือกเอาเธอลงเล่น และทำให้เพื่อนร่วมทีมของเธอต้องพลาดสิทธิในการเล่นครั้งนั้นไป และเธอก็รู้สึกผิดที่ทำให้เพื่อนร่วมทีมเสียสิทธินั้น
3.การปะทะกับ SILIVAS ในโอลิมปิกปี 1988 กระตุ้นให้แฟนๆยิมนาสติกหลายคนถกเถียงกันอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการแข่งขันครั้งนั้น
4.รัฐบาลโซเวียตเคยสัญญาว่าจะให้อพาร์ทเมนท์กับเธอและครอบครัวของเธอเพื่อตอบแทนความสำเร็จของเธอ แต่ในที่สุดรัฐบาลโซเวียตก็ไม่ให้
5.หลังการแข่งขันโอลิมปิกปี 1988 ผ่านไปได้ไม่นาน ชีวิตของชูชูโนว่าก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล เพราะเธอประสบอุบัติเหตุรถยนต์
6.เธอไม่ได้รับบาดเจ็บเท่าไหร่จากอุบัติเหตุนั้น แต่ชีวิตเธอเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลเพราะพอเธอเอารถยนต์คันนั้นไปซ่อม เธอก็ตกหลุมรักชายหนุ่มที่เป็นช่างซ่อมรถคันนั้น เธอก็เลยแต่งงานกับเขาเสียเลย
ลองไปอ่านประวัติของ SILIVAS ดู ก็พบว่าเธอได้สามีที่อายุน้อยกว่าเธอ 2 ปี
http://www.geocities.com/Colosseum/Field/1388/LifeAfter.htm
อยากให้มีสารคดีที่ถ่ายทำชีวิตของชูชูโนว่ากับซิลิวาสมากๆเลยค่ะ โดยเอาคลิปการแข่งขันเก่าๆของทั้งสองคนมารวมไว้ในหนัง, ติดตามถ่ายทำชีวิตประจำวันของทั้งสองคน, เอาศิษย์เอกของทั้งสองคนมาแข่งกัน และในที่สุดก็เอาทั้งสองคนนี้มาเผชิญหน้ากันอีกครั้ง อยากรู้จังเลยว่าหลังจากการแข่งขันกันอย่างดุเดือดในโอลิมปิกที่กรุงโซลผ่านไปแล้ว 17 ปี เมื่อทั้งสองได้มาเจอกันอีกครั้ง ทั้งสองจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ทั้งสองอาจจะยิ้มฝืนๆใส่กัน, เสแสร้งดีต่อกัน, แสดงความเป็นศัตรูต่อกัน หรือว่าจะหวนรำลึกถึงความหลังเก่าๆที่เคยห้ำหั่นกันอย่างรุนแรง และหัวเราะให้กับอดีตที่ผ่านไปแล้ว หัวเราะให้กับการที่ทั้งสองต่างก็เคยทำให้อีกฝ่ายร้องไห้มาแล้ว
นึกไม่ค่อยออกเหมือนกันว่าตัวเองเคยดูหนังเกี่ยวกับยิมนาสติกบ้างหรือเปล่า จริงๆแล้วยิมนาสติกน่าจะเป็นกีฬาที่เอื้อต่อการนำมาทำเป็นหนังเป็นอย่างมาก เพราะ FLOOR EXERCISE มีความเป็น “การแสดง” อย่างมากๆ แต่ก็เป็นไปได้ว่าเป็นเรื่องยากที่จะสร้างหนังประเภทนี้ เพราะการจะหาดาราที่สามารถเล่นยิมนาสติกได้อย่างสมจริงคงเป็นเรื่องที่ยากมากๆเลย ไม่เหมือนกีฬาประเภทอื่นที่อาจจะพออาศัยมุมกล้องกับการตัดต่อช่วยลวงๆตาคนดูให้รู้สึกว่าดาราคนนั้นสามารถเล่นกีฬานั้นๆได้บ้าง การเอาดารามาแสดงเป็นนักกีฬาประเภท VOLLEYBALL, BASKETBALL, FOOTBALL, RUGBY, BASEBALL, TENNIS, ชกมวย, คาราเต้, พายเรือ, วิ่งแข่ง คงไม่ใช่สิ่งที่ยากมากเกินไป แต่การจะเอาดารามาตีลังกาดึ๋งๆๆๆบน FLOOR EXERCISE คงต้องเป็นเรื่องที่ยากมากแน่ๆ
กีฬาประเภท “สวยงาม” ที่เห็นเคยเอามาทำเป็นหนัง ก็คือ “สเก็ตน้ำแข็ง” เรื่องที่ได้ดูก็คือ THE CUTTING EDGE (1992, PAUL MICHAEL GLASER, B) ซึ่งประทับใจเพียงเล็กน้อย แต่ก็ชอบดาราที่เล่นเป็นพระเอก (DB SWEENEY) นางเอก (MOIRA KELLY) มากพอสมควร
http://www.imdb.com/title/tt0104040/
เดาว่า “สเก็ตน้ำแข็ง” น่าจะเป็นกีฬาในดวงใจของเกย์หลายคน อยากให้มีการแข่งขัน สเก็ตน้ำแข็งแบบ “คู่ชาย-ชาย” และให้มีการแข่งขัน “ยิมนาสติกลีลาใหม่สำหรับผู้ชาย” ด้วยเหมือนกัน
นักยิมนาสติกหญิงอีกคนนึงที่ชอบมาก และทุกคนคงรู้จักดีก็คือ SVETLANA KHORKINA ชอบมาดของเธอมากๆ เธอดู “นางพญา” มากๆ คิดว่า NEMOV กับ KHORKINA เหมาะจะเป็นราชาและราชินีแห่งยิมนาสติกมากๆ
ถ้าเข้าใจไม่ผิด รูปนี้เป็นรูปของ NEMOV กับนักกีฬายิมนาสติกชื่อ IGOR CASSINA
http://gblx.cache.el-mundo.net/jjoo/2004/html/fotografia/nemov/imagenes/nemov7retuers.jpg
รูปของ SVETLANA KHORKINA
http://www.intlgymnast.com/images/gallery/russian-cup04/khorkina_svetlana.jpg
http://www.southcn.com/sports/star/khorkina/pics1/200304100766_315127.jpg
http://www.tomtheobald.com/gallery/albums/album05ukr-rus-ag/khorkina209ana20030818_rus_600.jpg
http://k43.pbase.com/u18/singlo/upload/32922692.khorkina7057.jpg
ส่วนหนังเกี่ยวกับยิมนาสติกที่เคยมีการสร้าง แต่ดิฉันยังไม่ได้ดู ก็มีเรื่อง NADIA (1984, ALAN COOKE) ที่สร้างจากเรื่องจริงของ NADIA COMENECI นักยิมชื่อดังชาวโรมาเนียที่มีแมวมองเห็นแววเธอตั้งแต่อายุ 6 ขวบ เธอได้รับการฝึกฝนเป็นเวลานาน 8 ปีโดยโค้ชชื่อ BELA KAROLYI และก็ได้เหรียญทองมาครอง 3 เหรียญในการแข่งขันที่มอนทรีอัล โดยเป็นนักยิมนาสติกคนแรกที่ได้คะแนนเต็ม 10 ด้วย
อย่างไรก็ดี การเป็นคนดังในโรมาเนียก็ส่งผลลบต่อเธอในเวลาต่อมา เธอเริ่มอ้วนเกินไป, พ่อแม่ของเธอหย่าร้างกัน, เธอทะเลาะกับเพื่อนๆของเธอ และเธอก็ดื่มน้ำยาฟอกผ้าขาว
นาเดียต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆจนก้าวขึ้นมาประสบความสำเร็จได้อีกครั้ง เธอต่อสู้กับมือที่ติดเชื้อ และต่อสู้กับทีมรัสเซีย และในที่สุดเธอก็ทำให้ทีมของเธอได้รับชัยชนะเมื่อเธอทำคะแนนได้ 9.95 บนคานทรงตัว
หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย TALIA BALSAM และ CARRIE SNODGRESS
http://images.amazon.com/images/P/B00000IBMH.01.LZZZZZZZ.jpg
อย่าจำหนังเรื่อง NADIA สลับกับ
1.NADINE (1987, ROBERT BENTON) นำแสดงโดย KIM BASINGER
2.NADJA (1994, MICHAEL ALMEREYDA) นำแสดงโดย ELINA LOWENSOHN (SOMBRE)
3.NADA (1974, CLAUDE CHABROL) นำแสดงโดย FABIO TESTI, LOU CASTEL และ MARIANGELA MELATO
http://images.amazon.com/images/P/B00007G1XF.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
FABIO TESTI
http://dosestrellas.skyblog.com/pics/224343471_small.jpg
ในขณะที่หนังเรื่อง NADIA มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักกีฬาที่ล้มแล้วลุกขึ้นมาอีกครั้ง หนังเกี่ยวกับนักกีฬาเรื่องนึงที่ชอบมากๆก็คือ ONE MAN UP (2001, PAOLO SORRENTINO, A+) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักฟุตบอลที่เคยประสบความสำเร็จ ก่อนจะมีชีวิตตกต่ำดิ่งลงเหว แต่ในเรื่องนี้ เมื่อเขาล้มแล้ว เขาไม่สามารถลุกขึ้นมาได้อีกเลย ไม่ว่าเขาจะพยายามเพียงใดก็ตาม ซึ่งจุดนี้ทำให้รู้สึกประหลาดใจและทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มากๆ
หนังเกี่ยวกับยิมนาสติกอีกเรื่องนึงก็คือ TAKE IT EASY (1986, ALBERT MAGNOLI) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสตีฟ (MITCH GAYLORD) นักกีฬายิมนาสติกและอเมริกันฟุตบอลในโรงเรียนไฮสกูล เขามีปัญหากับพ่อ และเขาก็ตกหลุมรักจูลี่ (JANET JONES) หญิงสาวคนใหม่ที่เพิ่งย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองนี้ โดยจูลี่ก็เป็นนักยิมนาสติกเหมือนกัน และเขากับเธอก็ฝึกฝนร่วมกันภายใต้การดูแลของโค้ช (MICHAEL PATAKI) ในขณะที่โค้ชก็พยายามอบรมวินัยให้กับลูกศิษย์ก่อนที่พวกเขาจะได้มีโอกาสสมัครเป็นทีมชาติ
TAKE IT EASY เป็นหนังประเภท “เด็กเลวกลับตัวเป็นคนดี” ซึ่งเป็นธีมที่ ALBERT MAGNOLI เคยใช้มาแล้วในหนังเรื่อง PURPLE RAIN ที่นำแสดงโดย PRINCE
พูดถึงหนังเกี่ยวกับกีฬา ก็นึกขึ้นมาได้ว่าเคยเห็นโปสเตอร์หนังสารคดีเรื่อง THE YEAR OF THE YAO (2004, ADAM DEL DEO + JAMES D. STERN) มาแปะไว้ที่ HOUSERAMA เมื่อหลายเดือนก่อน แล้วก็หายไปเลย ไม่รู้เหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้จะได้มีโอกาสเข้ามาฉายในไทยหรือเปล่า
http://www.imdb.com/title/tt0360216/
THE YEAR OF THE YAO มีเนื้อหาเกี่ยวกับ YAO MING นักบาสเกตบอลชาวจีนที่ไปโด่งดังในสหรัฐ ตัวเขา “ยาว” เหมือนชื่อ YAO ของเขาเลยค่ะ เขาสูง 2.29 เมตร หรือ 7 ฟุต 6 นิ้ว
ตอบน้อง ZM
เคยได้ยินคำพูดที่ว่า "ตี 1 ลมพัด ตี 2 หมาหอน ตี 3 ผีออก" เหมือนกันค่ะ ประหลาดใจเหมือนกันที่ไทยกับฝรั่งเชื่อในเรื่องอาถรรพ์ตี 3 เหมือนๆกัน หรือว่าตี 3 จะเป็นเวลาอาถรรพ์จริงๆ
มีเพลงสองเพลงที่ชื่อเพลงมีคำว่า “ตี 3” อยู่ด้วย แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไร นั่นก็คือเพลง ESCAPE AM 3:00 ของวง SHOHJYO-TAI กับเพลง 3AM ETERNAL ของวง KLF
เนื้อเพลงบางส่วนของ 3AM ETERNAL (อ่านแล้วงง แต่เพลงเพราะดี)
http://www.lyricsfind.com/k/klf/the-white-room/3-a.m.-eternal.php
KLF is gonna rock you, 'cos you haftaMove to the flow of the pyramid-blasterBass ballistics . . . I'm gonna kick this HARDAn' you can catch itDown with the crew crewTalkin' 'bout the MU MUJustified Ancient Liberation ZuluGot to teach, an' everything you learn'llPoint to the fact that time is EternalIt's Three A.M., Three A.M.It's Three A.M. eternalEternal
--ส่วนเรื่องแสงสีประหลาดๆที่น้องเห็นนั้น พี่มั่นใจค่ะว่ามันคือ “ดวงวิญญาณลึกลับ” และน้องมีตาทิพย์สามารถสื่อวิญญาณได้
ฮ่าฮ่าฮ่า ล้อเล่นค่ะ จริงๆแล้วพี่คิดว่ามันน่าจะเป็นความผิดปกติบางอย่างในดวงตา เพราะถึงแม้น้องหลับตา น้องก็ยังเห็นอยู่ดี แต่น้องยังโชคดีที่อาการน้อยลงเมื่อโตขึ้น
ส่วนพี่เป็นคนที่มีสายตาสั้นมากค่ะ ประมาณ 700-750 และตั้งแต่เด็กๆแล้ว ก็จะเห็นหยากไย่ลอยไปลอยมาอยู่มากมายในอากาศ ตอนเด็กๆเคยพยายามเอื้อมมือคว้าจับหยากไย่เหล่านั้น ตอนหลังถึงได้รู้ว่ามันเป็นเพราะเราสายตาสั้นมากๆ ก็เลยอาจเห็นอะไรบางอย่างที่ลอยอยู่ในวุ้นลูกตาของเราเอง
เมื่อไม่กี่ปีก่อนพี่เห็นหยากไย่เหล่านี้เยอะมาก ก็เลยไปหาจักษุแพทย์ แต่หมอก็ช่วยอะไรไม่ได้ แต่หลังจากนั้นอาการก็ทุเลาลงเอง
แต่ช่วง 2-3 เดือนมานี้พี่มีปัญหากับดวงตาอย่างรุนแรงค่ะ นอกจากเห็นหยากไย่เยอะแล้ว ยังเห็นฝ้าขุ่นๆมาบังสายตาเป็นจุดๆด้วย แต่พอกลอกลูกตา ฝ้าขุ่นๆก็จะเขยื้อนไปบังจุดอื่นๆแทน ไปหาหมอแล้ว 2 ครั้ง หมอก็ช่วยอะไรไม่ได้เหมือนกัน กะว่าถ้าอาการเลวร้ายลง อาจจะเปลี่ยนไปหาหมออีกโรงพยาบาลนึงแทน
ชอบ DOWN WITH LOVE (2003, PEYTON REED) ในระดับ A- เหมือนกันค่ะ EWAN ในเรื่องนี้น่ารักมาก ชอบ “สไตล์” ของหนังมาก แต่รู้สึกเหมือนกันว่าอารมณ์ของหนังไปได้ไม่สุด ชอบนางรอง (SARAH PAULSON) ในหนังเรื่องนี้มาก และก็ชอบสาวคนนึงในงานปาร์ตี้ที่พูดกับพระเอกว่า “ASK ME WHY I MOAN”
SARAH PAULSON (SERENITY, DEADWOOD)
http://www.imdb.com/name/nm0005299/
DOWN WITH LOVE ได้รับแรงบันดาลใจมาจากกลุ่มหนังโรแมนติกคอมเมดี้ที่นำแสดงโดย DORIS DAY + ROCK HUDSON ค่ะ โดยเฉพาะเรื่อง LOVER COME BACK (1961, DELBERT MANN) ที่ดาราหญิงชายคู่นี้รับบทเป็นคู่แข่งกันในธุรกิจโฆษณา
ตอบคุณอ้วน
ชอบรูปอาคารของ FRANK GEHRY ที่เอามาโพสท์ไว้มากๆค่ะ มันดูไม่เป็นเรขาคณิตดี
ชอบการออกแบบของ ANTONI GAUDI ด้วยเหมือนกัน
http://www.union.ic.ac.uk/arts/sinfonietta/photos/barcelona/places2/images/more%20gaudi%20art.jpg
http://www.sepal.org/gulick/graphics/gaudi-sagrada-familia_bg.jpg
ส่วนสถาปัตยกรรมของไทยที่ชอบมากก็คือ “ปราสาทสัจธรรม” ที่พัทยาค่ะ
--พิพิธภัณฑ์ที่อยากไปดูมากก็คือพิพิธภัณฑ์ HOLOCAUST ใน BERLIN ค่ะ
http://www.juedisches-museum-berlin.de/site/img/presse/bilderdownloads/libeskind_innen/turm.jpg
http://fcit.usf.edu/holocaust/PICS34/BJM02.jpg
THE GARDEN OF EXILE AND EMIGRATION ในพิพิธภัณฑ์
http://fcit.usf.edu/holocaust/PICS34/BJM70.jpg
http://fcit.usf.edu/holocaust/PICS34/BJM67.jpg
http://fcit.coedu.usf.edu/holocaust/PICS34/BJM33.jpg
--หนังเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ที่เคยดู
1.RUSSIAN ARK (A+)
2.หนังสั้นเรื่องนึงที่ฉายที่สถาบันเกอเธ่ในช่วงปลายปี 2001 หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ชายคนนึงที่เข้าไปเดินในพิพิธภัณฑ์ HOLOCAUST ในกรุงเบอร์ลินตอนที่พิพิธภัณฑ์ยังสร้างไม่เสร็จ
3.LOURVE CITY (1990, NICOLAS PHILIBERT, B+/B) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ LOURVE ของฝรั่งเศส โดยเน้นไปที่การเล่าเรื่องวิธีเก็บรักษาภาพวาดอันมีค่าในพิพิธภัณฑ์
http://www.imdb.com/title/tt0100872/
4.REALTIME (1983, HELLMUTH COSTARD + JUERGEN EBERT, A+++++)
http://movies2.nytimes.com/gst/movies/movie.html?v_id=152136
หนังเรื่องนี้พิศวงมาก ถ้าจำไม่ผิด หนังเรื่องนี้จะตัดสลับระหว่างเรื่องราวของคนกลุ่มนึงที่เดินเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์และฟังผู้บรรยายในพิพิธภัณฑ์ (หรือเดินชมรัฐสภาหรือสถานที่อะไรบางอย่าง ไม่แน่ใจในจุดนี้เหมือนกัน) กับเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์คนนึงที่มีปัญหาทางจิตอย่างรุนแรงหลังจากมองดูภาพถ่ายพื้นผิวโลกผ่านทางจอคอมพิวเตอร์
วิดีโอหนังเรื่องนี้มีให้ยืมในห้องสมุดสถาบันเกอเธ่ ซ.สาทร 1
5.ALL THE VERMEERS IN NEW YORK (JON JOST, A+++++)
6.RENDEZVOUS IN PARIS (1995, ERIC ROHMER, A+)
7.THE STENDAHL SYNDROME (1996, DARIO ARGENTO, A+)
ส่วนหนังเกี่ยวกับ MUSEUM ที่อยากดูมากๆก็คือ UNE VISITE AU LOURVE (2004, JEAN-MARIE STRAUB + DANIELE HUILLET)
http://www.imdb.com/title/tt0405418/
--ถ้าหากไม่ใช่หนังสารคดีแล้ว หนังที่ใช้ฉากหลังเป็นพิพิธภัณฑ์ก็มักจะเป็นหนังสยองขวัญ
หนังตลกหลุดโลกเรื่อง I KNOW THE WAY TO THE HOFBRAUHAUS (1992, HERBERT ACHTERNBUSCH, A-) ก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์เหมือนกัน ถ้าจำไม่ผิด หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับมัมมี่สาวในพิพิธภัณฑ์ที่ฟื้นคืนชีพขึ้นมา และก็มีชายเยอรมันคนนึงมาตกหลุมรักเธอ ในขณะเดียวกัน ผู้คนทั่วไปก็ไม่สนใจพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เลย ผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาแถวพิพิธภัณฑ์ต่างถามหาเส้นทางที่จะไป “โรงเบียร์” แทนที่จะเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์
ฉากที่ชอบสุดขีดในหนังเรื่องนี้ก็คือฉากที่มีคนเล่น “กระดานโต้คลื่น” ตามแม่น้ำที่ไหลลอดสะพานต่างๆ เป็นฉากที่เซอร์เรียลและฮามากๆ ไม่รู้ ACHTERNBUSCH คิดขึ้นมาได้ยังไง และเขาก็ไม่ได้ใช้สเปเชียลเอฟเฟคท์หรือลงทุนอะไรเลยด้วย เขาแค่ตัดภาพ “คนมองไปที่แม่น้ำใต้สะพาน” กับภาพ “คนเล่นกระดานโต้คลื่นตามชายหาด” (ซึ่งคงถ่ายมาจากทะเลต่างๆ) มาต่อเข้าด้วยกันเท่านั้นเอง เขาไม่ต้องเสียเงินอะไรเลย แต่ก็ได้ผลลัพธ์ที่สุดขีดมากๆ
HERBERT ACHTERNBUSCH เป็นหนึ่งในผู้กำกับที่ดิฉันชอบที่สุดในชีวิตค่ะ
--ชอบสถาปัตยกรรม และชอบช่วงแรกๆของ AEON FLUX มากๆค่ะ รู้สึกว่าพลังมันใกล้กับหนังเรื่อง “สวยประหาร” (A++++++++) มากๆ แต่ช่วงครึ่งหลังของเรื่อง รู้สึกว่าพลังของหนังเริ่มแผ่วๆลงเรื่อยๆ ตัวละครไม่ได้บู๊กันล้างผลาญแบบที่ตัวเองคาดคิด ตอนนี้ก็เลยรู้สึกว่าชอบ AEON FLUX แค่ในระดับ A เท่านั้น
อย่างไรก็ดี ชอบที่ฮอลลีวู้ดผลิตหนังผู้หญิงบู๊ทำนองนี้ออกมาค่ะ แต่รู้สึกว่าแต่ละเรื่องจะล้มเหลวด้านรายได้หมดเลย แต่ก็ถูกใจดิฉันมากๆ ตั้งแต่เรื่อง CATWOMAN (A), ELEKTRA (A), SERENITY (A+, เรื่องนี้รู้สึกว่าจะทำรายได้ดี), และ DOMINO (A+)
อยากให้ CATWOMAN, ELEKTRA และ AEON FLUX มาปะทะกันจังเลย อยากรู้ว่าใครจะเก่งกว่าใคร บางทีทั้งสามคนอาจจะต้องมาร่วมมือกันแบบสามสาวสวยประหาร (จางม่านอี้, เหมยเยี่ยนฟาง, มิเชลล์ โหยว) ในการปราบปรามเหล่าร้าย
--MY SUMMER OF LOVE (A+) เป็นหนังที่ชอบในระดับเท่ากับที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าค่ะ หนังดูได้เพลินมาก, นางเอกสองคนเล่นได้ดี, หนังถ่ายทอดอารมณ์กดดันของนางเอกคนนึงได้ดี แต่หนังยังไม่ถึงขั้น “มหัศจรรย์” เหมือนที่แอบหวังไว้เล็กๆตอนก่อนจะเข้าไปดู
ทั้ง MY SUMMER OF LOVE และ BULLET BOY มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มคนที่มีศรัทธาแรงกล้าในศาสนาเหมือนกันด้วย
ถ้าหากคุณอ้วนชอบ A GIRL (2002, DOROTHEE VAN DEN BERGHE, BELGIUM, A+) และ SOMERSAULT (2004, CATE SHORTLAND, AUSTRALIA, A+) ก็มีแนวโน้มว่าน่าจะชอบ MY SUMMER OF LOVE ค่ะ เพราะหนัง 3 เรื่องนี้นำเสนอเรื่องราวของหญิงสาว COMING OF AGE ที่ให้อารมณ์คล้ายๆกัน
อย่างไรก็ดี ดิฉันยังไม่ชอบหนังทั้ง 3 เรื่องนี้ถึงระดับสุดขีดคลั่งค่ะ หนังเกี่ยวกับหญิงสาว COMING OF AGE ที่ชอบระดับสุดขีดคลั่งก็คือ BU SU (JUN ICHIKAWA, A+++++), LOVELY RITA (JESSICA HAUSNER, AUSTRIA, A+++++) และ HI, TERESKA (2001, ROBERT GLINSKI, POLAND, A+++++)
http://www.imdb.com/title/tt0288491/
--ชอบรูปของ TERRY RICHARDSON ที่เอามาโพสท์ให้ดูมากๆเลยค่ะ เป็นโฆษณาที่ “ส่อ” มากๆ
--ไม่รู้ “ดัสติน ฮอฟแมน” เกิดอารมณ์อะไรขึ้นมา ถึงได้ทำอย่างนั้น รู้สึกว่าเป็นชุดภาพที่น่ารักมากๆ
--ชอบ KAT DENNINGS ที่เล่นเป็นลูกสาวนางเอกใน THE 40 YEAR OLD VIRGIN มากค่ะ ก่อนหน้านี้เธอเคยเล่นหนังเรื่อง RAISE YOUR VOICE (2004, SEAN MCNAMARA, B) และดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในหนังเรื่องนั้น
--ดีใจมากค่ะที่คุณอ้วน “อยากลองของ” อุ๊ย ขอโทษค่ะ ชอบหนังเรื่อง “ลองของ” เฮ้อ นี่ถ้าคุณครูชลัฏ มาบังคับให้ดิฉันอม (พะนำ) แทนที่จะไปบังคับนักเรียนกลุ่มนั้น ทุกอย่างก็คงจะจบลงด้วยดี HAPPY ENDING กันทุกฝ่ายตั้งแต่ต้นเรื่องไปแล้ว และหนังเรื่อง “ลองของ” ก็อาจจะเปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น HAPPILY EVER AFTER แบบหนังของ CHARLOTTE GAINSBOURG แทน
--ต้องกราบขอบพระคุณคุณอ้วนสำหรับรายชื่อนักแสดงใน “เพราะรักนะค๊า” มากๆเลยค่ะ ดูแล้วรู้สึกอิ่มบุญเป็นอย่างมาก
ชอบธโนทัย เอื้ออมรรัตน์ในรับน้องสยองขวัญมากๆค่ะ
ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ก็น่ารักมากๆ
ดูแล้วเลือกไม่ถูกจริงๆว่าจะจองทีมไหนดี แต่ที่มั่นใจก็คือหนังเรื่องนี้ต้องทำเงินสูงอย่างแน่นอนในช่วงคริสต์มาสปีนี้ หลังจากที่สตูดิโอ SCREENOUT ประสบความสำเร็จมาแล้วจากหนังเรื่อง SEVEN BRIDEGROOMS FOR SEVEN BROTHERS ในช่วงต้นปี
เนื้อหาใน “เพราะรักนะค๊า” จะมีจุดเด่นดังต่อไปนี้
1.เครื่องแบบสำหรับผู้แข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดในเรื่องนี้คือใส่แต่กางเกงว่ายน้ำแบบ SPEEDOS เท่านั้น โดยไม่ใส่เสื้อ
เครื่องแต่งกายสำหรับผู้แข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด
http://justinland.typepad.com/justinland/images/fs_2004-08-16T212350Z_01_OLY707D_RTRIDSP_2_OLYMPICS.jpg
http://www.menshealth.gr/id/files/14904/lefterhs-speedo-eksoxiko.jpg
http://www.menshealth.gr/id/files/5636/Gay%20Speedo%20Muscles.jpg
2.เนื้อหาในเรื่องจะเน้นการพูดคุยกันขณะอาบน้ำและเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว
3.นักกีฬาในเรื่องจะทะเลาะกันอย่างรุนแรงในห้องล็อกเกอร์ และมีการต่อสู้กอดปล้ำกัน
4.ฉากไคลแมกซ์ในช่วงท้ายเรื่อง คือฉากที่ทีมที่พ่ายแพ้หลายทีมรวมหัวกันกลั่นแกล้งพระเอก ด้วยการรุมกันปลุกปล้ำพระเอก
5.อย่างไรก็ดี พระเอกไม่รู้สึกเสียใจแต่อย่างใดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เขายังคงทำดีกับทุกๆคน และเมื่อคนถามเขาว่าทำไมเขาถึงทำเช่นนั้น เขาก็ตอบว่า “เพราะผมรักทุกคนครับ” และนั่นเองคือที่มาของชื่อหนัง “เพราะรักนะค๊า”
ถ้าหากคุณอ้วนหรือคนอื่นๆต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเสนอแนะสิ่งใดสำหรับหนังเรื่อง “เพราะรักนะค๊า” ก็ช่วยกันบอกมาด้วยนะคะ
ตอบคุณ THUNSKA
ดีใจค่ะที่ชอบภาพของ SLAVA MOGUTIN
เห็นภาพหน้ากากที่ใส่ตอนเล่นกีฬาแล้ว ทำให้นึกถึงฆาตกรโรคจิตอย่าง “เจสัน” ใน FRIDAY THE 13 TH
http://images.amazon.com/images/P/B00005NG6D.01.LZZZZZZZ.jpg
ตอบน้อง VESPERTINE
ชอบ HEATHERS มากค่ะ เหมาะจะดูกับหนังอย่าง MEAN GIRLS มากๆ
EYES OF LAURA MARS เคยดูตอนมาฉายทางช่อง 9 จำได้ว่าชอบในระดับปานกลาง
ชอบ AARON ECKHART มากๆๆ
http://www.cinema.com/image_lib/5533_003.jpg
ดาราที่รู้สึกว่ามีเสน่ห์ใกล้ๆกับ AARON ECKHART ก็คือ EDWARD BURNS แต่ชอบ ECKHART มากกว่า
EDWARD BURNS
http://www.robertofrankenberg.com/media/ch1/Burns.jpg
ชอบ JOAN CRAWFORD มากๆจาก WHATEVER HAPPENED TO BABY JANE กับ THE WOMEN รู้สึกว่าเธอร้ายดี
หนังของ JOAN CRAWFORD ที่อยากดูมากๆรวมถึง
1.RAIN (1932, LEWIS MILESTONE)
หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องสั้นเรื่อง MISS THOMPSON ของ SOMERSET MAUGHAM ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมิชชันนารีที่เก็บกด (WALTER HUSTON) และโสเภณีชื่อซาดี ธอมป์สัน (CRAWFORD) ที่ติดฝนอยู่ด้วยกัน และต้องต่อสู้ทางความคิดต่อกัน โดยการแสดงของครอว์ฟอร์ดในเรื่องนี้ได้รับคำชมว่ามีความเป็นผู้ใหญ่มาก
เรื่องสั้นของ MAUGHAM เคยได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นละครเวทีเรื่อง RAIN โดยมี JOHN COLTON + CLEMENCE RANDOLPH เป็นผู้เขียนบท และหนังเรื่องนี้ก็ดัดแปลงมาจากละครเวทีอีกทอดนึง
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00011D1MC.01.LZZZZZZZ.jpg
2.HUMORESQUE (1946, JOHN NEGULESCU)
หนังเมโลดรามาเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับหนุ่มสลัม (JOHN GARFIELD)ที่ไต่เต้าขึ้นมาจนได้กลายเป็นนักเล่นไวโอลินคลาสสิค (เสียงไวโอลินในหนังเรื่องนี้จริงๆแล้วมาจากฝีมือการเล่นของ ISAAC STERN) โดยมีสาวสังคม (ครอว์ฟอร์ด) เป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูเขา โดยสาวสังคมคนนี้รู้สึกเหงาเปล่าเปลี่ยวและติดเหล้า และในที่สุดพระเอกก็ต้องเลือกเส้นทางเดินชีวิตของตัวเองว่าจะตอบแทนความรักของสาวสังคมหรือไม่
OSCAR LEVANT รับบทเป็นนักเล่นเปียโนที่คอยเตือนสติตัวละครคนอื่นๆในเรื่อง
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0008ENI98.01.LZZZZZZZ.jpg
3.POSSESSED (1947, CURTIS BERNHARDT)
หนังเรื่องนี้น่าดูสุดๆๆ และมีเนื้อหาเกี่ยวกับนางพยาบาล (ครอว์ฟอร์ด) ที่ตกหลุมรักชายหนุ่มที่ไม่มีอะไรดี (VAN HEFLIN) แต่เธอกลับเลือกที่จะแต่งงานกับนายจ้างของเธอ (RAYMOND MASSEY) ซึ่งเป็นคนร่ำรวย หลังจากภรรยาของนายจ้างล้มป่วย, เป็นบ้า และฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ดี นางพยาบาลคนนี้กลับพบว่าตัวเองมีอาการคล้ายๆจะเป็นอย่างนั้นในเวลาต่อมา
หนังเรื่องนี้มีความเป็นเมโลดราม่าสูงมาก และเป็นผลงานการกำกับของ BERNHARDT ซึ่งเป็นคนเยอรมัน โดยหนังเรื่องนี้มีความเป็น EXPRESSIONIST โดยเน้นไปที่จินตนาการที่วิปริตและสภาพจิตที่ทุกข์ทรมาน
สิ่งที่สำคัญก็คือว่า นอกจากตัวละครหลายตัวในหนังเรื่องนี้จะเป็นบ้าแล้ว ตัวหนังเองยัง “บ้า” เสียยิ่งกว่าตัวละครในเรื่อง
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0008ENICA.01.LZZZZZZZ.jpg
ตอบพี่ KIT + คุณ OLIVER
พูดถึงเรื่องการโดนด่าว่า F*** YOU ทำให้นึกถึงเพื่อนเกย์ไทยคนนึงตอนที่เขาไปเรียนต่อที่ออสเตรเลีย มีอยู่วันนึงเขาเดินอยู่ข้างถนน แล้วก็เจอกลุ่มฝรั่งหนุ่มๆเหยียดผิวขับรถผ่านมาแล้วก็ตะโกนด่าเขาว่า F*** YOU เขาก็เลยยิ้มหวานตอบกลับไปว่า “DO YOU REALLY WANT TO F*** ME?” ฝรั่งกลุ่มนั้นก็เลยรีบขับรถหนีเขาไปเลย
พูดถึงเรื่องสัตว์ฆ่าตัวตาย ก็เลยนึกถึง ปลาวาฬ ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมมันถึงต้องพากันมาเกยตื้น แล้วมันก็น่าจะเป็นสัตว์ที่ฉลาดกว่าสัตว์ทั่วไปด้วย พูดแล้วก็นึกถึงหนังนิวซีแลนด์เรื่อง WHALE RIDER (A-) ไม่รู้เหมือนกันว่าฉากปลาวาฬเกยตื้นในหนังเรื่องนี้ถ่ายทำกันยังไง ใช้เทคนิคด้านภาพช่วยหรือเปล่า แต่ดูเหมือนกับว่าใช้ปลาวาฬจริงในการถ่ายทำ
มีฉากสัตว์พยายามฆ่าตัวตายใน CHICKEN LITTLE ด้วย รู้สึกว่าจะเป็นกลุ่มฝูงหนูเลมมิ่งที่พยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงจากม้านั่งในสวนสาธารณะ เพราะว่าหาหน้าผาไม่เจอ
ก่อนหน้านี้มีความเชื่อกันว่าหนูเลมมิ่งบางฝูงฆ่าตัวตายหมู่ด้วยการกระโดดหน้าผาเมื่อใดก็ตามที่มีจำนวนหนูในฝูงมากเกินไป โดยความเชื่อนี้มีต้นกำเนิดมาจากหนังสารคดีเรื่อง WHITE WILDERNESS (1958, JAMES ALGAR) ของดิสนีย์ อย่างไรก็ดี หลายคนบอกว่าฉากฝูงหนูฆ่าตัวตายหมู่ในหนังสารคดีเรื่องนี้เกิดจากความเข้าใจผิด
http://www.imdb.com/title/tt0052389/
ภาพวาดการฆ่าตัวตายของหนู LEMMING ของ STEVE COLGAN
http://www.stevecolgan.com/Portfolio/Lemmings%20(Fortean%20Times).jpg
หนู LEMMING ที่ไม่เกี่ยวอะไรกับหนังของ CHARLOTTE RAMPLING
http://images.encarta.msn.com/xrefmedia/sharemed/targets/images/pho/t013/T013694A.jsm
จุดที่ชอบมากใน CHICKEN LITTLE คือการล้อเพลงต่างๆ เพลงนึงที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือเพลง IT’S TOO LATE รู้สึกว่าจะเป็นเพลงเก่าของ CAROLE KING แต่ดิฉันชอบเวอร์ชันของ QUARTZ FEATURING DINA CARROLL มากๆๆๆค่ะ
http://www.loglar.com/song.php?id=3
And it's too late baby, now it's too lateThough we really did try to make itSomething inside has diedand I can't hide itAnd I just can't fake it
ถ้าคุณ Kit ชอบ DANIEL CRAIG ในบทเกย์ ขอแนะนำให้ดูหนังเกย์เรื่อง LOVE IS THE DEVIL – STUDY FOR A PORTRAIT OF FRANCIS BACON (1998, JOHN MAYBURY, B+) ค่ะ หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับขโมยหนุ่มชื่อ GEORGE DYER (แดเนียล เครก) ที่ไปย่องเบาในบ้านของฟรานซิส เบคอน (DEREK JACOBI) แต่พอฟรานซิส เบคอนเห็นรูปร่างหน้าตาโจรหนุ่มคนนี้ เขาก็เลยเชื้อเชิญโจรหนุ่มให้มาขึ้นเตียงนอนกับเขาเลย และโจรคนนี้ก็เลยได้เป็นคนรัก, นายแบบ และแรงบันดาลใจให้กับฟรานซิส เบคอนในการผลิตผลงานศิลปะต่างๆ
RYUICHI SAKAMOTO ทำดนตรีประกอบให้หนังเรื่องนี้ และการถ่ายภาพในหนังเรื่องนี้ใกล้เคียงกับผลงานศิลปะของฟรานซิส เบคอนเป็นอย่างมาก
ภาพวาดของฟรานซิส เบคอน
THREE STUDIES OF GEORGE DYER (1966)
http://www.francis-bacon.cx/portraits/dyer/g2.jpg
STUDY FOR HEAD OF GEORGE DYER (1967)
http://www.francis-bacon.cx/portraits/dyer/dyer67.jpg
PORTRAIT OF GEORGE DYER AND LUCIAN FREUD (1967)
http://www.francis-bacon.cx/portraits/dyer/dyerfreud.jpg
GEORGE DYER ตัวจริง
http://www.francis-bacon.cx/photo/dyer_c67.jpg
DANIEL CRAIG
http://www.bluematia.com/shower2.jpg
http://www.bluematia.com/snap225j.jpg
DANIEL CRAIG เล่นหนังเรื่อง SYLVIA (2003, CHRISTINE JEFFS, A++++++) ด้วย โดยรับบทเป็นสามีของซิลเวีย แพลธ (กวิเน็ธ พัลโทรว์)
--เห็นชื่อ GUSTAVO SANTAOLALLA แล้วรู้สึกตลกมาก เพราะนามสกุลเขาออกเสียงว่า “ซานต้าโอ้ลั้ลลา” แต่เพลงของเขาเพราะ, เศร้า, เหงาดีมากๆค่ะ
--ฟังเพลงของ EMMYLOU HARRIS แล้วก็เลยนึกถึงเพลงคันทรี่ค่ะ แล้วก็เลยขอนำภาพหนุ่มนักร้องเพลงคันทรี่มาให้ดูกัน เขาคือ KEITH URBAN
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00006JOG7.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
ตอบคุณ CHRIS’S GIRLFRIEND
นอกจาก PIALAT จะกำกับหนังเกี่ยวกับจิตรกรแล้ว ตัว PIALAT เองยังเป็นจิตรกรด้วยค่ะ
เห็นด้วยอย่างมากๆเรื่อง MAURICE PIALAT ค่ะ
รู้สึกว่าการอธิบายถึงความงดงามในหนังของ MAURICE PIALAT, CLAUDE SAUTET และ PHILIPPE GARREL เป็นเรื่องที่ยากมากๆเหมือนกัน เพราะมันไม่ใช่ความงดงามด้านภาพ, มันไม่มีสไตล์ที่เด่นชัด และมันไม่มี “ความแปลก” เลย มันเป็นอะไรบางอย่างที่เรียบๆแต่แฝงไว้ด้วยพลังที่เปี่ยมล้น
เคยเห็นคุณสนธยา ทรัพย์เย็นเขียนบรรยายถึงหนังของ MAURICE PIALAT ไว้ในหนังสือ “บุ๊คไวรัส 1” ด้วยเหมือนกัน โดยอยู่ในหัวข้อของนักเขียนชื่อ GEORGES BERNANOS (หนังสือเล่มนี้เรียงลำดับข้อมูลตามตัวอักษรแรกของนามสกุลของนักประพันธ์ ดังนั้นข้อมูลของหนังที่สร้างจากงานเขียนของ BERNANOS จึงอยู่ในหมวด B) เพราะว่าหนังเรื่อง UNDER THE SUN OF SATAN (1987) ของ MAURICE PIALAT สร้างจากบทประพันธ์ ของ GEORGES BERNANOS (1888-1948) จำได้ว่าคุณสนธยาเขียนได้ดีมาก http://images.amazon.com/images/P/B00008SLUX.08._SCLZZZZZZZ_.jpg
หนังเรื่อง MOUCHETTE (1967, ROBERT BRESSON) ก็สร้างจากงานเขียนของ GEORGES BERNANOS เหมือนกัน
ในหนังสือ “บุ๊คไวรัส 1” คุณสนธยาเขียนถึงหนังของ MIKIO NARUSE ด้วย ดิฉันยังไม่เคยดูหนังของ MIKIO NARUSE แต่อ่านคำวิจารณ์หนังของเขาแล้ว รู้สึกว่าบางประโยคเอามาใช้กับหนังของ MAURICE PIALAT ได้เหมือนกัน
MIKIO NARUSE ไม่โด่งดังเท่าผู้กำกับในรุ่นเดียวกันอย่าง KENJI MIZOGUCHI, YASUJIRO OZU และ AKIRA KUROSAWA ทั้งๆที่ฝีมือของเขาไม่ด้อยไปกว่า 3 คนนี้เลย สาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า
1.MIKIO NARUSE ไม่มีลักษณะเฉพาะตัวด้าน “ภาพ” เหมือนอย่าง OZU และเขาไม่ได้ถ่ายภาพอลังการเท่าคุโรซาวะ
2.หนังของเขาเรียกร้อง “ความเป็นผู้ใหญ่” จากคนดูอย่างมากๆ เพราะหนังของเขาจะดูจืดๆ ธรรมดาๆ ถ้าหากผู้ชมคนนั้นขาดประสบการณ์ชีวิต
รู้สึกว่าลักษณะข้างต้นของ NARUSE ตรงกับ PIALAT อยู่เหมือนกัน และอีกสิ่งนึงที่ตรงก็คือว่า หนังของ NARUSE เปี่ยมไปด้วยความสงบนิ่ง แต่มีกระแสธารที่เชี่ยวกรากไหลอยู่ภายใต้พื้นผิวที่สงบนิ่งนั้น
SUSAN SONTAG ชื่นชอบ MIKIO NARUSE มากๆ
ภาพจากหนังเรื่อง FLOATING CLOUDS (1955) ของ MIKIO NARUSE
http://www.imdb.com/title/tt0048757/
http://dev.68k.free.fr/Calorifix/Ukigumo/affiche.jpg
อย่าจำหนังเรื่อง FLOATING CLOUDS (1955, MIKIO NARUSE) สลับกับ FLOATING WEEDS (1959, YASUJIRO OZU)
http://images.amazon.com/images/P/B0001GH5RY.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
ถ้าจำไม่ผิด ในหนังสือบุ๊คไวรัส 1 ข้อมูลของ MIKIO NARUSE จะอยู่ในหมวด K เพราะหนังเรื่อง THE THUNDER OF THE MOUNTAIN (1954) ของ MIKIO NARUSE สร้างจากบทประพันธ์ของ YASUNARI KAWABATA (THE HOUSE OF THE SLEEPING VIRGINS, THREE SISTERS WITH MAIDEN HEARTS, A PAGE OF MADNESS)
http://www.imdb.com/name/nm0442704/
หนังของ PIALAT ที่เคยดู ก็รวมถึงเรื่อง WE WILL NOT GROW OLD TOGETHER (1972, A) เป็นหนังเกี่ยวกับผู้หญิงผู้ชายวัยกลางคนที่คบชู้กัน หนังดูเหมือนหนังดราม่าฝรั่งเศสทั่วไป ไม่มีอะไรแปลกประหลาด แต่มันมีความ “หนักแน่น” ทางอารมณ์อย่างมากๆ
WE WILL NOT GROW OLD TOGETHER นำแสดงโดย JEAN YANNE (LE BOUCHER, THE BEAST MUST DIE), MACHA MERIL และ MARLENE JOBERT (แม่ของ EVA GREEN)
http://images.amazon.com/images/P/B00008SLUS.08._SCLZZZZZZZ_.jpg
ในหนังเรื่อง IN A YEAR OF 13 MOONS (1978, RAINER WERNER FASSBINDER, A) รู้สึกว่าจะมีฉากกะเทยที่เป็นนางเอก/พระเอกของเรื่อง (VOLKER SPENGLER) ดูหนังเรื่อง WE WILL NOT GROW OLD TOGETHER ทางโทรทัศน์ด้วย
http://images.amazon.com/images/P/6303386431.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
อ่านบทวิเคราะห์การที่ FASSBINDER อ้างอิงถึงหนังของ PIALAT ได้ที่นี่ค่ะ
http://www.sensesofcinema.com/contents/05/37/thirteen_moons.html
นี่คือหน้าปกดีวีดีหนังเรื่อง TO OUR LOVES (A) ของ MAURICE PIALAT ที่เคยเขียนถึงไปก่อนหน้านี้
http://images.amazon.com/images/P/B00008SLV1.08._SCLZZZZZZZ_.jpg
สมาคมฝรั่งเศสเคยเอาหนังเรื่อง NAKED CHILDHOOD (1968, A-) ของ MAURICE PIALAT มาฉายด้วย แต่ไม่รู้จะหาดูจากที่ไหนได้อีก หนังเกี่ยวกับเด็กเรื่องนี้มักได้รับการเปรียบเทียบกับ THE 400 BLOWS และผู้ชมบางคนก็ยกย่องว่า NAKED CHILDHOOD ดีกว่า THE 400 BLOWS เสียอีก
http://www.imdb.com/title/tt0065695/
http://festival2004.ifrance.com/pialat/enfancenue.jpg
ผู้ชมคนนึงใน IMDB.COM เขียนถึงหนังของ MAURICE PIALAT ได้ดีมากๆค่ะ
Pialat was a realist, maybe to the point of turning off his audiences. If you have seen A nos amours or Loulou, you know you're in for a grueling experience. Actors pushed to the breaking point, cutting that puts you right in the action, without any establishing background.
JACQUES RIVETTE เคยกล่าวถึง MAURICE PIALAT ว่า เขาชอบหนังเรื่อง VAN GOGH กับ THE HOUSE IN THE WOODS (1971) มากที่สุด เพราะในหนังสองเรื่องนี้ PIALAT ประสบความสำเร็จในการถ่ายทอด “ความสุขก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง” ลงบนจอภาพยนตร์ได้อย่างงดงามเท่าเรอนัวร์
ส่วนในหนังเรื่อง UNDER THE SUN OF SATAN นั้น RIVETTE บอกว่า เขาชอบส่วนที่เกี่ยวกับตัวละครชื่อ MOUCHETTE (SANDRINE BONNAIRE) ในหนังเรื่องนี้ แต่เขาคิดว่าหนังเรื่องนี้ยังมีข้อบกพร่อง เพราะในบทประพันธ์เดิมของ BERNANOS นั้น แก่นกลางของหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นใน “เวลากลางคืนที่มืดสนิท” และ PIALAT อาจจะถ่ายทอดตรงจุดนี้ออกมาไม่ได้ เพราะมีผู้กำกับเพียงคนเดียวเท่านั้นในโลกที่สามารถถ่ายทอดจุดนี้ในบทประพันธ์ UNDER THE SUN OF SATAN ออกมาได้ และผู้กำกับคนนั้นก็คือ MARGUERITE DURAS
Friday, December 09, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment