I just found out that many opening titles of my favorite Hong Kong TV series had been uploaded into Youtube by ARM 193. You can watch his channel at
http://www.youtube.com/user/arm193
These are the title clips of my favorite Hong Kong TV series:
1.THE BLACK SABRE จอมดาบหิมะแดง (1989, A+++++++++++++++)
http://www.youtube.com/watch?v=2R5HnZOdQl0
2.THE GRAND CANAL ศึกลำน้ำเลือด (1987, A+++++++++++++++) starring Tony Leung Chiu Wai
http://www.youtube.com/watch?v=vsFaZUMeNz4
3.THE NEW HEAVEN SWORD & THE DRAGON SABRE ดาบมังกรหยก (1986, A++++++++++) starring Tony Leung Chiu Wai
http://www.youtube.com/watch?v=rbwZ1PbYx4U
4.THE RETURN OF THE CONDOR HEROES มังกรหยก 4 (1983, A++++++++++) starring Andy Lau
http://www.youtube.com/watch?v=0jaBpwhWdW4
5.THE LAMP LORE โคมวิเศษเจ้าแม่หัวซาน (1986, A++++++++++) starring Simon Yam
http://www.youtube.com/watch?v=R11YrhhZ8XM
6.THE RETURN OF LUK SIU PHUNG เล็กเซียวหงส์ (1986, A+++++)
http://www.youtube.com/watch?v=Ea1eLg9tC24
7.THE DEMI-GOD & SEMI-DEVILS แปดเทพอสูรมังกรฟ้า (1982, A+++++)
http://www.youtube.com/watch?v=8k-9jJpz5X8
http://www.youtube.com/watch?v=GIltZaG9Q0I
8.REINCARNATED กระบี่ไร้เทียมทาน (1978, A+)
http://www.youtube.com/watch?v=xqEVuJfMTRM
DRAGON STRIKES (It is the sequel of REINCARNATED) ยอดยุทธจักรมังกรฟ้า (1979, A+)
http://www.youtube.com/watch?v=EkuF1ni97gM
9.TWO MOST HONORABLE KNIGHTS เดชเซียวฮื่อยี้ (1988, A+) starring Tony Leung Chiu Wai
http://www.youtube.com/watch?v=mw9uMc17WfU
10.THE SAGA OF THE LOST KINGDOM อิทธิฤทธิ์เจ้ายุทธภพ (1988, A+)
http://www.youtube.com/watch?v=RrlH1Q-CHTg
--I like the theme song of this TV series very much:
GOD OF SABRE ฤทธิ์ดาบวงพระจันทร์ (1979)
http://www.youtube.com/watch?v=cJioLvqgVbg
Friday, January 23, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
5 comments:
ว้าว! น่าดูทั้งนั้นเลยครับ
พูดถึง "ศึกลำน้ำเลือด" แล้ว ตอนนี้ ช่อง 3 กำลังแพร่ภาพละครเรื่อง "ฮ่องเต้หลี่ซื่อหมิน" ในทุกตีสามถึงตีสามครึ่งของวันจันทร์ถึงศุกร์ มาได้หลายเดือนแล้ว ซึ่งเหตุการณ์ท้องเรื่องของละครสองเรื่องนี้ก็น่าจะตรงกัน คือ ช่วงปลายราชวงศ์สุยถึงช่วงก่อตั้งราชวงศ์ถัง
ตอนแรก ๆ ผมไม่ค่อยชอบ "ฮ่องเต้หลี่ซื่อหมิน" นัก เพราะละครเรื่องนี้ดันเปิดฉากมาด้วย การเตะลูกหนัง (คล้าย ๆ ฟุตบอล)ด้วยกำลังภายในต่าง ๆ นานา โดยบรรดาตัวละครที่แต่งชุดเกราะออกแนวแฟนตาซี แต่เมื่อดู ๆ ไป ก็พบว่าละครเรื่องนี้เข้มข้นดีเหมือนกัน และบุคลิกของตัวละครในเรื่องก็ "กลม" ดีอย่างน่าสนใจ เช่น กรณี "หยางก่วง" ฮ่องเต้คนสุดท้ายของราชวงศ์สุย ซึ่งละครที่พูดถึงปลายสุยต้นถังในเรื่องอื่น ๆ (ผมจำ "ศึกลำน้ำเลือด" ไม่ได้แล้ว) มักจะเสนอภาพฮ่องเต้คนนี้เป็นพวกบ้าเลือด บ้าผู้หญิง บ้าเหล้า นิสัยเป็นเด็กอะไรทำนองนั้นแบบสุดขีด จนหาข้อดีไม่ได้เลย แต่ใน "ฮ่องเต้หลี่ซื่อหมิน" หยางก่วงแม้จะเป็นคนที่วิตกจริตไม่ไว้ใจใคร แต่เขาก็เป็นคนเล่นการเมืองเป็น มี "น้ำใจนักกีฬา" และกล้าหาญมากพอสมควร และที่สำคัญลูกสาวของเขาก็ยังเป็นนางเอกของเรื่อง/เป็นคนรักของหลี่ซื่อหมินอีกด้วย
ขณะเดียวกัน ละครเรื่องนี้ก็ให้น้ำหนักกับตัวละครพวก "กุนซือ" ซึ่งให้รสชาติแปลกดี (แต่สนุก) เหมือนกัน คือ กุนซือสองคนสำคัญในเรื่องก็เป็นศิษย์สำนักเดียวกัน แต่อยู่กันคนละค่ายหรือพยายามแข่งขันกันตลอด ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวก็แสดงออกผ่านการเล่นเกมการเมือง ที่ทั้งสองหาโอกาสจะเอากันตายอยู่ตลอดเวลา แต่พอตกดึกก็ดันมานั่งกินเหล้าเป็นเพื่อนกันเป็นประจำ 555 หรือบางครั้งพวกเค้าก็ร่วมมือกันในการจัดการ "ศัตรูร่วม" ที่อยู่ฝ่ายที่สาม เป็นต้น
ขออนุญาตพูดถึงละครอีกสองเรื่องนะครับ
เรื่อง "เล็กเซียวหงส์" ผมเคยซื้อวีซีดีมาดูเมื่อประมาณห้าหกปีก่อน โดยรวมแล้วก็ค่อนข้างชอบ (ถ้าจำไม่ผิดละครเรื่องนี้จะสร้างจากนิยายประมาณ 3-4 ตอน จากที่มีทั้งหมด 7 ตอน)
แต่ผมกลับไม่ชอบตอนสุดท้ายของละคร ซึ่งดัดแปลงมาจากนิยายตอน "หมู่ตึกภูติพราย" มากนัก ทั้ง ๆ ที่ตอนเป็นนิยาย ผมชอบ "หมู่ตึกภูติพราย" มากที่สุด (หลายคนมักชอบ "สองนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่" ที่ว่าด้วยการดวลกระบี่กันระหว่าง "ไซมึ้งชวยเซาะ" กับ "เอี๊ยบโกวเซี้ย" แต่ผมกลับรู้สึกว่ามัน "แมน" เกินไป)เพราะมันเป็นตอนที่มีความซับซ้อนและหักมุมอย่างรุนแรง เนื่องจากสุดท้ายแล้วตัวร้ายของนิยายตอนนี้ กลับเป็นหนึ่งในกลุ่มสหายสนิทของเล็กเซียวหงส์ที่ปรากฏตัวออกมาในแทบทุกตอนก่อนหน้านั้น คือ บักเต้าหยิน ผู้อาวุโสของบู๊ตึ๊ง และดูเหมือนตัวละครทุกตัว แม้แต่เล็กเซียวหงส์เอง จะไม่สามารถจัดการกับบักเต้าหยินได้ด้วย (ทั้งในแง่กลโกงและแง่กำลังฝีมือ) แต่สุดท้ายแล้ว บักเต้าหยินก็ตายง่าย ๆ อย่างคาดไม่ถึงด้วยกระบี่ของลูกสาวตนเอง ซึ่งฆ่าเขาเพราะคิดว่าบักเต้าหยินเป็นคนฆ่าพ่อของนาง
อย่างไรก็ตาม ตอน "หมู่ตึกภูติพราย" ในละคร กลับมีการดัดแปลงเนื้อเรื่องไปมาก คือ แม้บักเต้าหยินจะยังต้องตายอยู่ แต่ละครก็ขยับบทบาทไม่ให้เขาเป็นตัวร้ายหรือคนเลว แต่ตัวร้าย/คนเลวกลับกลายเป็นตัวละครอาจารย์อาของเขา (ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาใหม่)ราวกับว่าเพื่อนสนิทของเล็กเซียวหงส์จะเลวไม่ได้อย่างนั้นแหละ
นอกจากนี้ สิ่งที่ผมรับไม่ค่อยได้ในละครตอนนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การดัดแปลงให้ตัวละครที่มีเสน่ห์มากที่สุดคนหนึ่งในนิยายชุดเล็กเซียวหงส์ ได้แก่ จอมขโมยที่ชื่อ "ซีคงเตียะแช" ต้องถูกฆ่าตายอย่างง่าย ๆ โดยนักพรตอาจารย์อาของบักเต้าหยินในตอนท้ายของเรื่อง
สำหรับ "ยอดยุทธจักรมังกรฟ้า" ซึ่งเป็นภาคต่อของ "กระบี่ไร้เทียมทาน" ผมก็ชอบตอนท้ายของละครเรื่องนี้มาก เนื่องจาก "ฮุ้นปวยเอี๊ยง" ที่ดูเหมือนจะเป็นพระเอก กลับถูกน้องสาวของตนเองที่ถูกสะกดจิตโดยพรรคมาร ฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยม (ถ้าจำไม่ผิดคือ ฮุ้นปวยเอี๊ยงถูกซัดเข็มพิษและกระชากดึงเส้นเอ็นจนตาย แถมยังถูกนำศพมาประจานอีกกลางเมืองอีก) นอกจากนี้ ตัวละครเอกอีกตัวในเรื่องที่มีหนวด (ขออภัยที่จำชื่อไม่ได้) ซึ่งดูเหมือนจะขึ้นมาเป็นพระเอกแทนฮุ้นปวยเอี๊ยง ก็ดันมาตายในตอนจบอีก เพราะถูกวางยาพิษโดยฮ่องเต้ สุดท้ายแล้วพระเอก/ตัวละครฝ่ายธรรมะที่เหลือรอดใน "ยอดยุทธจักรมังกรฟ้า" จึงกลายเป็นตัวละครตลกที่มีบุคลิกเป็นพวกผู้ช่วยพระเอกมากกว่า อย่าง "เจ้าหนู" 555
เมื่อจำ "ความมืดหม่น" ของยอดยุทธจักรมังกรฟ้าได้ ผมจึงไม่รู้สึกอินเท่าไหร่ตอนที่หนังเรื่อง "แฟนฉัน" มีฉากรำลึกถึง "กระบี่ไร้เทียมทาน" (ภาคแรกของยอดยุทธจักรมังกรฟ้า) อย่างสนุกสนานสดใส เพราะในใจผมกลับรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า เหตุการณ์หลังจากกระบี่ไร้เทียมทานมันไม่ใส ไม่บวกขนาดนั้นนี่หว่า แต่มันโคตรหม่นและเศร้าเลย 55555
--ยังไม่เคยอ่าน “เล็กเซียวหงส์” เลย และก็จำรายละเอียดของละครที่ดูทางช่อง 7 เมื่อกว่าสิบปีก่อนไม่ได้แล้วด้วย ก็เลยไม่แน่ใจว่ามันเป็นเวอร์ชันเดียวกับที่คุณคนมองหนังได้ดูหรือเปล่า แต่ “เล็กเซียวหงส์” เวอร์ชันที่ได้ดู เป็นตอนที่สนุกมากพอสมควร เพราะนางเอกมีพลังจิตประเภท telekinesis ในการเคลื่อนย้ายวัตถุได้ แต่นางเอกไม่สามารถใช้พลังจิตดังกล่าวในการต่อสู้กับเจ้าแม่พรรคมารและเจ้าพ่อเกาะวิเศษซึ่งเป็นสองมารร้ายสำคัญในละครเรื่องนี้ได้ เพราะสองมารร้ายคนนี้เป็นพ่อแม่ของนางเอกเอง นอกจากนี้ นางเอกยังมีศิษย์หญิงรุ่นพี่สองคนที่อยู่ร่วมสำนักเดียวกันที่น่าตบมากๆ
--จำชื่อตัวละครที่มีหนวดใน “ยอดยุทธจักรมังกรฟ้า” ไม่ได้เหมือนกัน จำได้แต่ว่าดาราที่เล่นชื่อ “ไป่เปียว”
ถ้าจำไม่ผิด ชะตากรรมของไป่เปียวในยอดยุทธจักรมังกรฟ้า จะคล้ายๆกับชะตากรรมของตัวละครที่เล่นโดยเดวิด เจียงใน “ศึกสายเลือด” เพราะตัวละครประเภทนี้จะจงรักภักดีต่อคนในราชวงศ์จีน แต่ก็ถูกราชวงศ์หักหลังในที่สุด
--พูดถึงการสร้างตัวละครแบบ “กลม” แล้วก็น่าสนใจดี เพราะเราพบว่ามีสองกรณีที่มีการจงใจทำให้ตัวละครแบนราบอย่างไม่น่าให้อภัย ซึ่งก็คือ
1.การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง “หน้ากากแก้ว” ของ Miuchi Suzue มีตัวละครนางเอกชื่อคิตาจิมะ มายะที่เป็นสาวยากจนและมีคุณสมบัติเพียบพร้อมแบบนางเอกในนิยายทั่วไป แต่มายะมีคู่แข่งในวงการแสดงชื่ออายูมิ ซึ่งเป็นสาวรวย+สวย+เก่ง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ตรงกับคุณสมบัติของนางอิจฉาในหนังไทยอย่างมากๆ แต่แตกต่างกันตรงที่อายูมิไม่ใช่คนเลว
อย่างไรก็ดี เมื่อมีการนำการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องนี้มาดัดแปลงสร้างเป็นละครไทยทางช่อง 7 ในปี 1989 ผู้สร้างละครไทยกลับเลือกที่จะแตกตัวละครอายูมิออกเป็นสองตัวละคร โดยตัวนึงรู้สึกว่าจะรับบทโดย “กันตา ดานาว” รับบทเป็นเพื่อนนางเอกที่รวยแต่นิสัยดี แต่ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะเป็นคู่แข่งในการประกอบอาชีพนักแสดงของนางเอก ส่วนอีกตัวละครรับบทโดย “โมนิก้า แมดด็อกซ์” ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนนางอิจฉาทุกประการ และพยายามแข่งขันแย่งชิงบทกับนางเอกอย่างรุนแรง
เราดูละครเรื่องนี้แล้วก็ไม่พอใจเป็นอย่างมาก ทำไมผู้สร้างละครถึงไม่กล้าให้ผู้ชมยอมรับความจริงที่ว่า “ใครก็ตามที่เป็นคู่แข่งของเรา เขาไม่ใช่คนเลว เขาก็เป็นเพียงแค่คนๆนึงเหมือนกับเรา” ทำไมผู้สร้างถึงพยายามปลูกฝังความเชื่อที่ว่า “คู่แข่งของนางเอกต้องเป็นนางอิจฉาเท่านั้น” ทั้งๆที่ในต้นฉบับบทประพันธ์ดั้งเดิมก็ไม่ได้ปลูกฝังแนวคิดนี้เลยแม้แต่น้อย
2.หนังฝรั่งเศสเรื่อง L’APPARTEMENT (1996, Gilles Mimouni) ได้รับการดัดแปลงเป็นหนังเกาหลีเรื่อง CALLA (1999, Song Hae-sung) แต่สิ่งที่แตกต่างกันจนไม่น่าให้อภัยระหว่างสองเวอร์ชันนี้ก็คือ นางเอกของ L’APPARTEMENT ค่อนข้างเลวพอสมควร แต่นางเอกของ CALLA กลับใสซื่อบริสุทธิ์อย่างมากๆ
--พูดถึงละครทีวีเกี่ยวกับราชสำนักจีนแล้ว ก็เลยทำให้นึกถึงหนังเยอรมันเกี่ยวกับราชสำนักเรื่อง DIE NIBELUNGEN (1924, Fritz Lang, A++++++++++) ที่เพิ่งได้ดูแล้วชอบมากๆ โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้ก็คือคติสอนใจที่ว่า “ความสามัคคีไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี ความสามัคคีก็เป็นความเลวได้เช่นกัน” เพราะตัวละครในหนังเรื่องนี้ ซึ่งได้แก่ราชวงศ์ของกษัตริย์ที่ชื่อกุนเธอร์ ถูกฆ่าล้างเกือบหมดทั้งราชวงศ์เพราะคนในราชวงศ์สามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันปกป้องขุนนางเลวๆคนหนึ่ง เพียงเพราะเห็นว่าขุนนางเลวคนนั้นจงรักภักดีต่อราชวงศ์ แทนที่จะพิจารณาตัดสินตามความเป็นจริงว่าขุนนางคนนั้นทำเลว
อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ชอบ DIE NIBELUNGEN มากๆ ก็คือคติสอนใจที่ว่า “การโกงการแข่งขันโดยใช้มือที่มองไม่เห็นย่อมนำมาซึ่งความวิบัติฉิบหาย” เพราะช่วงแรกของหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องของกษัตริย์กุนเธอร์แห่งเบอร์กันดีที่ลงสนามแข่งขันเพื่อหวังเอาชนะราชินีบรุนฮิลด์แห่งไอซ์แลนด์ แต่กษัตริย์กุนเธอร์เป็นคนอ่อนแอ เขาก็เลยขอความช่วยเหลือจากซิกฟรีด ซึ่งมีความสามารถในการล่องหนหายตัวและมีพละกำลังแข็งแกร่ง ให้ช่วยเหลือเขาในการเอาชนะการแข่งขัน ซิกฟรีดก็เลยใช้ความสามารถของเขาช่วยเหลือกุนเธอร์ในการโกงการแข่งขันจนชนะในที่สุด แต่ชัยชนะที่ได้มาจากการโกงการแข่งขันในครั้งนั้นกลับเป็นต้นเหตุให้ราชวงศ์ของกษัตริย์กุนเธอร์ถูกฆ่าล้างโคตรในเวลาต่อมา
"เล็กเซียวหงส์" เวอร์ชั่นที่คุณ MdS ดูทางช่อง 7 น่าจะเป็นคนละเวอร์ชั่นกับที่ผมดูทางวีซีดีครับ (แต่ทั้งสองเวอร์ชั่นนี้น่าจะสร้างในทศวรรษ 1980 เหมือนกัน) อย่างไรก็ตาม ผมเคยผ่านตาเล็กเซียวหงส์เวอร์ชั่นช่อง 7 อยู่เหมือนกันครับ เพราะรู้สึกว่าทางยูบีซีจะเคยนำละครเรื่องนี้มาฉายเมื่อหลายปีก่อน
ส่วนชะตากรรมของเดวิด เจียงใน "ศึกสายเลือด" ที่คุณ MdS ยกขึ้นมา ก็ช่วยเตือนความจำผมเหมือนกันครับ เพราะผมจำได้ว่า ตอนที่ได้ดูละครเรื่องนี้เป็นครั้งแรก (ถ้าจำไม่ผิดคือไอบีซีนำมาฉายใหม่) ตัวเองก็รู้สึกอึ้งมาก (ผสมผสานกับอาการไม่เข้าใจ ตามประสาเด็ก ๆ ที่เชื่อในเรื่องราวประเภทธรรมะย่อมชนะอธรรม 555) กับชะตากรรมของเดวิด เจียงในตอนจบของละคร ซึ่งไม่ต่างอะไรกับอาการอึ้งและไม่เข้าใจ/รับไม่ได้กับชะตากรรมของไป่เปียวในยอดยุทธจักรมังกรฟ้า
พูดถึงตอนจบของเรื่องราวประเภทอธรรมชนะธรรมะแล้ว ที่ผมจำได้ฝังใจก็มีอยู่ 3 เรื่องครับ แต่ 3 เรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง ก็เลยไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จบลงด้วยการให้อธรรมดูเหมือนจะชนะฝ่ายธรรมะ
1.SOPHIE SCHOLL: THE FINAL DAYS
ถึงแม้เรื่องนี้จะจบลงด้วยการให้โซฟี โชลล์ถูกฆ่าตาย แต่คนดูก็รู้ดีว่าหลังจากนั้นฝ่ายนาซีเองก็ไม่รอดเหมือนกัน
2.DANTON (1983, Andrzej Wajda, A++++++++++)
หนังเรื่องนี้เป็นหนังย้อนยุค/การเมืองที่ผมชอบสุดๆเลยครับ ดูแล้วสนุกมากๆๆๆ หนังเรื่องนี้นำเสนอความขัดแย้งของดังตองกับโรเบสปิแอร์ในยุคหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยนำแสดงดังตองในแง่บวก และนำเสนอโรเบสปิแอร์ในแง่ลบ ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าในความเป็นจริงเป็นเช่นนั้นหรือเปล่า แต่หนังก็จบลงด้วยฉากที่คล้ายคลึงกับโซฟี โชลล์ นั่นก็คือฉากที่วีรบุรุษ/วีรสตรี ของเรื่องถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน
3.”เพลิงพระนาง”
ละครทีวีเรื่องนี้อาจจะไม่ได้จบลงด้วยการให้ฝ่ายอธรรมชนะธรรมะเสียทีเดียว แต่ผมก็คิดว่าละครทีวีเรื่องนี้จบลงด้วยการให้ฝ่ายอธรรม (เจ้านางอนัญทิพย์ , เจ้านางเก็จถวา, เจ้านางแก้วอากาศ) ไม่ได้รับบทลงโทษมากเท่าที่ควร โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากความโหดเหี้ยมที่เจ้านางเหล่านี้ได้เคยก่อไว้ ในความรู้สึกของผม ผมรู้สึกว่าเจ้านางอนัญทิพย์โหดเหี้ยมมาก และมีส่วนในการฆ่าคนบริสุทธิ์ไปเยอะมาก แต่ก็ดูเหมือนคนบริสุทธิ์เหล่านั้นถูกฆ่าตายไปฟรีๆ ในขณะที่ตัวเจ้านางอนัญทิพย์เองกลับไม่ได้รับการลงโทษอย่างสาสม ผมคิดว่าถ้าหากละครเรื่องนี้เป็นเรื่องแต่ง เจ้านางอนัญทิพย์ไม่น่าจะตายดีอย่างแน่นอน ส่วนเจ้านางเก็จถวากับเจ้านางแก้วอากาศนั้น กลับดูเหมือนจะเป็นหนึ่งในตัวละครที่ลงเอยด้วยการประสบความสำเร็จมากที่สุด ผมรู้สึกว่าเจ้านางสองคนนี้ตอแหลปลิ้นปล้อนและคอยประจบสอพลอหรือเข้าข้างคนเลวอยู่ตลอดเวลา แต่ในที่สุด เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองในพม่าเปลี่ยนไป เจ้านางสองคนนี้ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า "ผู้ที่จะอยู่รอดได้ดีที่สุด คือผู้ที่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้เก่งที่สุด” และเจ้านางสองคนนี้ก็ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และดูเหมือนจะได้ดีกว่าตัวละครคนอื่นๆในท้ายที่สุด ทั้งๆที่เจ้านางสองคนนี้ไม่ใช่คนดีอะไรเลย
ส่วนเรื่องราวประเภทอธรรมชนะธรรมะที่ผมชอบในระยะหลังนั้น ก็รวมถึง “ตอกตราผี” (THE FATALITY) ด้วยครับ
Post a Comment