THE WORKSHOP (2017, Laurent Cantet, France, A+30)
1.ชอบสุดๆ หนังมีความคล้าย THE
CLASS (2008, Laurent Cantet) ตรงที่มีฉากตัวละคร debate กันอย่างจริงจังและรุนแรง ซึ่งเราจะชอบอะไรแบบนี้มากๆ
ฉากที่ตัวละครปะทะกันอย่างเดือดๆนี่ดูแล้วนึกถึง THE BANGKOK BOURGEOIS
PARTY (2007, Prap Boonpan) เลย
2.ชอบที่หนังมันนำเสนอสภาพสังคมฝรั่งเศสหลังเหตุก่อการร้ายที่
Bataclan และ Nice ด้วย
เพราะเราอยากรู้ว่าสังคมฝรั่งเศสได้รับผลกระทบอย่างไรจากเหตุก่อการร้ายดังกล่าว
และหนังเรื่องนี้นำเสนอมุมมองที่แตกต่างออกไปจาก THE SOURCE (2018, William S Touitou, France, A+25) เพราะ THE SOURCE นำเสนอประเด็นนี้ผ่านทางชุมชนชาวมุสลิมในฝรั่งเศส
แต่ THE WORKSHOP เน้นไปที่ "ฝ่ายขวาจัด"
ในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอะไรที่ดู controversial กว่า
และหมิ่นเหม่กว่าในสายตาของเรา เพราะเวลาที่เราดู THE SOURCE นั้น เรารู้สึกเข้าข้างและเห็นใจตัวละครได้ในทันที แต่ใน THE
WORKSHOP นั้น เราไม่รู้ว่า เราควรจะรู้สึกอย่างไรกับพระเอก
ซึ่งมาจากสังคมขวาจัด
3.ชอบการสร้างตัวละครพระเอกมากๆ
มันเหมือนเป็นการยกระดับจาก THE CLASS เพราะใน THE
CLASS นั้น ถ้าเราจำไม่ผิด มันไม่มี “ตัวละครที่มีศักยภาพที่จะเป็นฆาตกรโรคจิต”
แต่พระเอกของ THE WORKSHOP มันเป็นคนที่ดูเหมือนจะเข้าอกเข้าใจผู้ก่อการร้าย,
ฆาตกรโรคจิต, นักกราดยิง, คนที่ฆ่าคนเพียงเพราะรู้สึกอยากฆ่าคน เพราะฉะนั้นการที่พระเอกของหนังเรื่องนี้ดูเหมือนจะเข้าอกเข้าใจฆาตกรโรคจิต
และการที่เขาทำในสิ่งที่ล้ำเส้นคนทั่วไป มันก็เลยทำให้เกิดความรู้สึกน่าหวาดกลัวตลอดเวลาว่า
ตัวเขาเองก็มีศักยภาพที่จะเป็นฆาตกรโรคจิตด้วยหรือไม่
และคนอื่นๆในสังคมควรจะปฏิบัติต่อเขาอย่างไร หรือควรจะทำตัวอย่างไร
เมื่อเจอคนแบบนี้ในสังคมเดียวกับเรา
4.จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้มีบางจุดที่คล้ายกับ THE SCYTHIAN LAMB (2018, Daihachi Yoshida) แต่ในขณะที่
THE SCYTHIAN LAMB เลือกจะทำตัวเป็นหนัง thriller หนังเรื่องนี้ก็เลือกที่จะทำตัวเป็นหนังมนุษยนิยมตามสไตล์ถนัดของ Laurent
Cantet
หนังมีบางจุดที่ทำให้นึกถึง THE LIFE OF JESUS (1997, Bruno Dumont) ในแง่การสะท้อนภาพวัยรุ่นขวาจัดในฝรั่งเศส
และมีบางจุดที่ทำให้นึกถึง VOX LUX (2018, Brady Corbet) ในแง่ที่มันทำให้เราตระหนักถึง
“การอาศัยอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการก่อการร้าย, การกราดยิง” เหมือนๆกัน
แต่แน่นอนว่า หนังของ Laurent Cantet ทำให้เรารู้สึกอบอุ่นปลอดภัยมากกว่าหนังแบบ
VOX LUX
แต่ถึงแม้หนังของ Laurent Cantet มันจะดูมนุษยนิยมมากๆ
และดูอบอุ่น+มีความหวัง แต่มันก็ไม่ทำให้เรารู้สึก “กึ๋ยๆ” แบบหนังของ Robert
Guediguian นะ คือเราว่า Robert Guediguian ก็ชอบทำหนังมนุษยนิยม
และมีทัศนคติทางการเมืองที่ถูกต้องเหมือนกัน แต่หนังของ Robert Guediguian มันอบอุ่นมากเกินไปนิดนึง, มัน romanticize มากเกินไปนิดนึง
หรือมันมี sense แบบ activist มากเกินไปนิดนึงน่ะ
มันเหมือนกับว่าหนังของ Robert Guediguian มองปัญหาสังคมด้วยสายตาของ
actvisit ในขณะที่หนังของ Laurent Cantet มันจะมองปัญหาสังคมด้วยสายตาของนักสังคมวิทยาน่ะ
5. ชอบการที่หนังมันเหมือน self
reflexive หรือเหมือนจะล้อตัวเองและหนังอย่าง THE CLASS ด้วย ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นความจงใจหรือเปล่า
คือรู้สึกว่าหลายๆอย่างในหนังเรื่องนี้ มันสะท้อนตัวหนังเองน่ะ
อย่างเช่น
5.1 ตัวละครตั้งคำถามว่า limit ของการเขียนนิยายคืออะไร
เราสามารถบรรยายฆาตกรโรคจิตในแบบไหนได้บ้าง การที่เราเขียนสิ่งที่หลายคนบอกว่า sick
นั้น จริงๆแล้วมัน “ผิด” หรือเปล่า
ซึ่งเราว่าการที่หนังเรื่องนี้นำเสนอตัวละครพระเอกและเพื่อนๆพระเอกที่มีแนวคิดขวาจัด
และมีพฤติกรรมหมิ่นเหม่ มันก็เหมือนๆจะเป็นการลองแตะเส้นของ “สิ่งที่เหมาะสม/ไม่เหมาะสม”
คล้ายๆกับที่ตัวละครตั้งคำถาม
5.2 ตัวละครถกกันว่า การที่เราบรรยายความคิดในหัวฆาตกรโรคจิตนั้น
มันไม่ได้หมายความว่าคนเขียน “เข้าข้าง” ฆาตกรโรคจิตเสมอไป
เพราะนักประพันธ์สามารถบรรยาย “ความคิด หรือแนวคิด” ต่างๆอย่างละเอียดลออได้
เพื่อจะได้ “ประณาม” แนวคิดนั้นๆ
มันไม่ใช่ว่านักประพันธ์ต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่ตัวละครคิดหรือพูด
เพราะนักประพันธ์อาจจะเห็นตรงข้ามกับสิ่งที่ตัวละครคิดหรือพูดก็ได้
ซึ่งเราว่า นี่แหละคือจุดหลักที่เราชอบในหนังของ Laurent Cantet หลายๆเรื่อง
เพราะหนังของเขาเหมือนจะเปิดโอกาสให้ตัวละครแสดงความเห็นได้อย่างเต็มที่
โดยที่นั่นไม่ได้หมายความว่า Laurent Cantet ต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่ตัวละครพูดเสมอไป
5.3 นางเอกเป็นนักประพันธ์ชื่อดัง แต่พระเอกซึ่งเป็นหนุ่มวัยรุ่นบอกว่านางเอกบรรยายความคิดในหัวของฆาตกรได้อย่างไม่สมจริง
นางเอกก็เลยพยายามสัมภาษณ์พระเอก เพื่อที่เธอจะได้เข้าใจคนแบบเขา
และจะได้เอาสิ่งนี้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์เวลาเธอเขียนถึงตัวละครบางตัว แต่พระเอกกลับมองว่า
นางเอกพยายาม exploit เขาเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
จุดนี้ของหนังทำให้เราสงสัยว่า มันคือกลวิธีที่ Laurent Cantet ใช้ในการสร้างหนังแบบ
THE CLASS และหนังเรื่องอื่นๆ หรือเปล่า เพราะเราว่าหนังแบบ THE
CLASS นั้น สิ่งที่ตัวละครแต่ละตัวพูด มันไม่น่าจะออกมาจากหัวของ “คนเขียนบท/คนเขียนหนังสือ”
เพียงอย่างเดียว แต่มันน่าจะมาจากความเข้าใจวัยรุ่นจริงๆด้วย และคนเขียนบท/คนเขียนหนังสือจะเข้าใจวัยรุ่นจริงๆได้
ก็ด้วยการตามสังเกต, สัมภาษณ์, คลุกคลี คล้ายๆกับที่นางเอกหนังเรื่อง THE
WORKSHOP ทำกับคนต่างๆในเวิร์คช็อปของเธอ
6.สรุปว่า เราก็เลยชอบ THE WORKSHOP อย่างสุดๆในสอง layers หลักๆ
ทั้งในส่วนของเนื้อเรื่องที่มันสะท้อนสภาพสังคมฝรั่งเศสหลังการก่อการร้าย+สะท้อนพวกขวาจัด
และใน layer ของความเป็น self-reflexive ที่อะไรหลายๆอย่างในหนังเรื่องนี้ มันสะท้อนตัวหนังเอง
HUGBY BANBAG (2019, Bhin Bunluerit, A+30)
ฮักบี้ บ้านบาก
1.รักคุณครูในหนังเรื่องนี้ที่สุดเลย 555555
รักมัดกล้ามของคุณครู แผงอกของคุณครู และรักทัศนคติของคุณครูมากๆ
2.เหมือนโครงหลักของมันเป็นหนังสูตรสำเร็จนะ ดูแล้วจะนึกถึงหนังญี่ปุ่นประเภท
TUG OF WAR! (2012, Nobuo Mizuta) หนังประเภททีมกีฬา loser ที่พยายามไต่เต้าขึ้นไปให้ได้น่ะ
ซึ่งเอาเข้าจริง เราว่าฮักบี้ บ้านบาก ไม่ค่อยแม่นในเรื่อง “การเร้าอารมณ์ตามขนบหนังสูตรสำเร็จ”นะ
อารมณ์ในหนังมันเลยไม่ได้เป็นกราฟขึ้นลงอย่างสวยงามตามจังหวะหนังสูตรสำเร็จที่เราคุ้นเคย
ซึ่งมันก็เป็นทั้งข้อดีและข้อเสียของหนัง ข้อเสียของมันก็คือ
ผู้ชมทั่วไปอาจจะไม่รู้สึกสนุกกับมันอย่างเต็มที่ หรือลุ้นกับมันอย่างเต็มที่
แต่ข้อดีของมันก็คือ เราเองก็เบื่อกราฟอารมณ์ที่ขึ้นลงแบบหนังสูตรสำเร็จน่ะ 555
เพราะฉะนั้นการที่หนังเรื่องนี้ไม่ค่อยแม่นในเรื่อง “การเร้าอารมณ์” มันก็เลยทำให้เรารู้สึกว่าหนังมันมีอะไรบางอย่างที่เป็นธรรมชาติกว่าหนังสูตรสำเร็จเรื่องอื่นๆ
3.ชอบที่ครึ่งหลังของหนังจริงจังกับการแข่งขันอย่างเต็มที่
4.แอบรู้สึกว่าหนัง romanticize ชนบทมากเกินไปนิดนึง
และรู้สึกว่าสีเขียวของทุ่งหญ้าในหนังมันดูเขียวใสแสงมรกตมากเกินไป
ดูแล้วแอบสงสัยว่า ทุ่งหญ้ามันเขียวอย่างนั้นจริงๆ หรือมันถูกทำให้เขียวเกินจริง
5.พอดูหนังเรื่องนี้ใกล้ๆกับ PRO MAY แล้วทำให้รู้เลยว่า เราชอบ
“ฮักบี้ บ้านบาก” มากกว่า เพราะความสุขของชีวิตเราไม่ใช่ “การเป็นอันดับหนึ่งของโลก”
แต่ความสุขของเราคือการได้แดก MK สุกี้ แค่นี้ก็พอแล้ว
SAAHO (2019, Sujeeth, India, A+25)
หนังเว่อร์มากจนขำ 555555
เราดูที่พารากอน ตั๋ว 450 บาทนะ แต่หนังยาว 3
ชั่วโมง มีพักครึ่ง