Wednesday, February 05, 2020

O HORIZON

TWO STONES (2019, Wendelien van Oldenborgh, Netherlands, video installation, , 56min, A+30)

ชอบเรื่องของ "อาคาร feminist ที่ผิดพลาดมากๆ" เหมือนหนังเรื่องนี้เล่าว่า เคยมีคนสร้างอาคาร feminist ในโซเวียตในทศวรรษ 1920-1930 มั้ง ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด เป็นอาคารที่พักที่ไม่มี "ห้องครัว" เพื่อที่ผู้หญิงจะได้ไม่ถูกใช้งานให้ทำครัว และผู้พักอาศัยจะต้องไปกินอาหารใน canteen หรือตามร้านอาหารแทน แต่อาคารแบบนี้ก็สร้างปัญหาให้กับผู้หญิงที่มีลูกเล็ก และเกิดปัญหาเมื่อ canteen ทำอาหารเหี้ยๆ

หนังมีความเป็นกวีสูงมาก และพูดถึงอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจมากๆ อย่างเช่นกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ในทศวรรษ 1970 ที่ห้ามอาคารบางแห่งมีชาวสุรินัมเข้าพักเกิน 5%

 O HORIZON (2018, The Otolith Group, India, video installation, 81min, A+30)

นึกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อปะทะกับ Chalermkiat Saeyong จริงๆ 555 คือหนังเรื่องนี้ต้องการนำเสนอวิทยาลัย Visva-Bharati ในอินเดียที่ก่อตั้งโดยรพินทรนาถ ฐากูรเมื่อราว 100 ปีก่อน ซึ่งตอนแรกเราก็นึกว่า หนังเรื่องนี้จะสัมภาษณ์คณาจารย์, นักศึกษา และนำเสนอจุดเด่นของวิทยาลัยแห่งนี้อย่างเป็นรูปธรรม แบบเดียวกับหนังอย่าง THE SYMPHONY OF UNCERTAINTY (2018, Claudia Lehmann, Germany, documentary) ที่นำเสนอภาพสถาบันวิจัย DESY ในเมืองฮัมบวร์กของเยอรมนี

แต่ปรากฏว่าพอเราดู O HORIZON ไปเรื่อยๆ เราก็พบว่าหนังเรื่องนี้พิศวงมาก ท้าทายประสบการณ์การดูหนังของเรามากๆ เพราะหนังเหมือนจะเน้นถ่ายทอดการร่ายรำของผู้คนต่างๆ โดยตัดสลับกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง, ประติมากรรม และต้นไม้ใบหญ้า บรรยากาศต่างๆในมหาลัย โดยมีเสียง voiceover ที่พูดถึงอะไรก็ไม่รู้ แต่เราเดาว่ามันคง quote มาจากงานเขียนของรพินทรนาถ ฐากูร ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคยเลย

พอดูหนังจบเราก็เลยรู้สึกงงมากๆ แต่ก็ชอบความประหลาดพิสดารของหนัง เราก็เลยไปอ่านบทสัมภาษณ์ของ The Otolith Group ใน Artforum แล้วเราก็เข้าใจว่า ทางผู้กำกับเขาคงต้องการถ่ายทอดบรรยากาศของวิทยาลัยแห่งนี้เป็นหลักนั่นแหละ เพราะเขามองว่า “บรรยากาศ” ของมหาลัยแห่งนี้นี่แหละที่บรรจุจิตวิญญาณของรพินทรนาถ ฐากูรเอาไว้

ลองนึกภาพว่า มีใครทำหนังเกี่ยวกับมหาลัยในไทยแบบนี้ดูบ้างสิ คือไม่มีการสัมภาษณ์อาจารย์, นักศึกษา และเกียรติประวัติต่างๆของศิษย์เก่า+อาจารย์ในมหาลัยเลย แต่เน้นถ่ายทอดต้นไม้ใบหญ้าในมหาลัยแห่งนั้นเป็นหลัก เราว่าไอเดียอะไรแบบนี้มันน่าสนใจอย่างสุดๆ

ดูแล้วนึกถึงหนังของ Chaloemkiat Saeyong มากๆ โดยเฉพาะ “บุคคลที่ติดค้างอยู่ภายในความทรงจำ” HISTORY IN THE AIR (2009, 58MIN) ที่เน้นถ่ายทอดบรรยากาศของสนามบินดอนเมือง โดยเฉพาะช่วง 20 นาทีสุดท้ายของหนังที่เน้นถ่ายภาพส่วนประกอบของอาคารอะไรไม่รู้ในสนามบินดอนเมืองไปเรื่อยๆ

 THE MOST BEAUTIFUL CAMPUS IN AFRICA (2019, Zvi Efrat, video installation, A+30)

ภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดความงดงามของอาคารมหาลัย Obafemi Awolowo ในไนจีเรีย ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ มันเป็นหนังที่ดูง่ายที่สุดในงาน BAUHAUS IMAGINISTA แต่เนื่องจากเราไม่มีความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมเลย หนังที่ดูง่ายที่สุดในงานนี้ก็เลยอาจจะเป็นหนังที่เหมาะกับเราที่สุด เพราะหนังอธิบายอย่างตรงไปตรงมาเรื่องประวัติของอาคารมหาลัยนี้ และชี้ให้เห็นว่าอาคารในมหาลัยนี้มีข้อดีอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะการเปิดให้อากาศไหลผ่าน, การเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาจับกลุ่มนั่งติวกันได้อย่างสบาย, การปรับตัวให้เข้ากับภูมิอากาศของไนจีเรีย, การนำวัฒนธรรม Yoruba เข้ามาผสมผสาน และหนังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า อาคารมหาลัยนี้ได้รับการออกแบบเพื่อแข่งขันกับอาคารมหาลัยชั้นนำอีกแห่งหนึ่งในไนจีเรีย ซึ่งเป็นอาคารที่ออกแบบโดยชาวอังกฤษ ดังนั้นอาคารมหาลัยนี้ซึ่งตั้งขึ้นในยุค “หลังอาณานิคม” จึงต้องออกแบบให้ดีกว่าหรือทัดเทียมกว่าผลงานสถาปัตยกรรมของชาวอังกฤษให้ได้

ดูหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกว่าชายหนุ่มนักศึกษาชาวไนจีเรีย รูปร่างสูงโปร่งดีด้วย 555 ไม่รู้เราคิดไปเองหรือเปล่า เพราะเราไม่เชี่ยวชาญเรื่องชายชาวแอฟริกา ไม่รู้ว่าชายชาวแอฟริกาในแต่ละเชื้อชาติมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง มีใครมีข้อสังเกตอะไรในเรื่องนี้บ้างไหมคะ

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่

https://vimeo.com/338514395

No comments: