BRIGITTE MIRA เป็นหนึ่งในดาราขาประจำของ FASSBINDER ค่ะ ถ้าหากชอบเธอ หนังที่พลาดไม่ได้อีกเรื่องหนึ่งของเธอก็คือ MOTHER KUSTERS GOES TO HEAVEN (1975, RAINER WERNER FASSBINDER, A) http://www.imdb.com/title/tt0073424/
โดยในเรื่องนี้เธอก็รับบทเป็นนางเอกเหมือนใน ALI: FEAR EATS THE SOUL
BRIGITTE MIRA เพิ่งอำลาโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค.นี้เองค่ะ เธอเกิดปี 1910 และจากโลกนี้ไปขณะอายุกำลังจะครบ 95 ปี
EL HEDI BEN SALEM พระเอกผิวดำของ ALI: FEAR EATS THE SOUL (A) เป็นคนรักคนหนึ่งของ FASSBINDER ในชีวิตจริงค่ะ เขาฆ่าตัวตายขณะติดคุกในปี 1982 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ FASSBINDER เสียชีวิต
http://www.imdb.com/name/nm0373289/
ถ้าหากชอบประเด็นความเกลียดชังชาวต่างชาติ หนังอีกเรื่องหนึ่งของ FASSBINDER ที่นำเสนอจุดนี้ได้ดี (และฮา) ก็คือเรื่อง KATZELMACHER (1969, A+)
ชอบ ALL THAT HEAVEN ALLOWS และ FAR FROM HEAVEN ในระดับ A+ ค่ะ
--ได้ดู ELECTRIC SHADOW (A-) แล้วรู้สึกว่าหนังก็ดีใช้ได้ค่ะ โดยส่วนตัวแล้ว สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ “อารมณ์ซึ้งๆ” แต่เป็นการที่หนังเรื่องนี้แนะนำให้เราได้รู้จักหนังน่าดูมากมายหลายเรื่องในอดีตที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน โดยเฉพาะหนังจีนยุคเก่าๆ และหนังเก่าของประเทศ “แอลเบเนีย” แต่ถ้าให้เล่าเนื้อเรื่องของ ELECTRIC SHADOW ดิฉันก็จำไม่ค่อยได้แล้วค่ะ เพราะช่วงที่ผ่านมาได้ดูหนังหลายเรื่องจนชักงงๆว่าฉากบางฉากที่ติดอยู่ในหัวตัวเอง มันมาจากหนังเรื่องไหนกันแน่
ดีใจมากค่ะที่มีคนได้ดู LOST IN TIME (A) เหมือนกัน หนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันเปลี่ยนความคิดที่มีต่อจางป๋อจือจากหลังตีนมาเป็นหน้ามือเลยค่ะ เพราะก่อนหน้านี้ดิฉันคิดว่าจางป๋อจือมีแต่ความสวย แต่ LOST IN TIME ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าจริงๆแล้วเธอก็เล่นหนังเก่งมาก (ดิฉันยังไม่ได้ดู FAILAN ค่ะ)
สรุปหนังที่ได้ดูตั้งแต่วันเสาร์ที่ 18 มิ.ย. –ศุกร์ 24 มิ.ย.
(ความรู้สึกชอบที่มีต่อหนังบางเรื่องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ)
1.L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE (2003-2005, CHRISTELLE LHEUREUX, A+)
http://christelle.lheureux.free.fr/ANGLAIS/GionAnglais/Gion.html
--รู้สึกว่าคุณปราบดา หยุ่นคิดเนื้อเรื่องออกมาได้ดีมาก ไม่นึกว่าเนื้อเรื่องของเขาจะซีเรียสขนาดนี้ แต่ถึงแม้เนื้อเรื่องของเขาจะซีเรียส ดิฉันก็ยังคงรู้สึกขำกับภาพบางภาพที่ออกมา ขณะที่ดิฉันดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันต้องใช้สมาธิในการดูมากกว่าปกติเมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ เพราะในขณะที่ตาดูภาพ และหูฟังเสียงพากย์ไปด้วยนั้น ใจดิฉันก็มักจะจินตนาการเนื้อเรื่องใหม่ไปด้วย และพอใจดิฉันว่อกแว่ก เผลอไปแต่งเนื้อเรื่องใหม่ให้กับหนัง ก็เลยทำให้ฟังเสียงพากย์ของคุณปราบดาไม่ทัน ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันจึงต้องคอยเพ่งเล็งความคิดของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้เผลอคิดว่อกแว่กมากเกินไป
--EXPERIENCE ของดิฉันในการดูหนังเรื่องนี้จึงเป็น EXPERIENCE ที่ประหลาดกว่าหนังเรื่องอื่นๆ เพราะนอกจากหนังเรื่องนี้จะมีภาพ, เสียง และเนื้อเรื่องเหมือนกับหนังทั่วๆไปแล้ว หนังเรื่องนี้ยังมี “เนื้อเรื่องใหม่ในใจคนดู” แทรกเข้ามารบกวนจิตใจอยู่เป็นระยะๆด้วย
--ฉากที่รู้สึกทึ่งกับความคิดของคุณปราบดาคือฉากที่ผู้หญิงคนนึงมองไปที่อะไรบางอย่าง, ภาพชายหนุ่มยืนอยู่ในพงหญ้า และตัดมาเป็นภาพชายหนุ่มทำท่าคล้ายกับว่านั่งยองๆอยู่ในพงหญ้า โผล่ออกมาแต่ใบหน้า ถ้าจำไม่ผิด เนื้อเรื่องในฉากนี้จะเป็นความคิดคำนึงของผู้หญิงคนนึงที่มีต่อผู้ชายคนนึงที่กำลังจะถูกฆ่าตาย การที่ผู้ชายคนนี้โผล่แต่ใบหน้าออกมาจากพงหญ้าจึงเหมือนกับแทนการกำลังจะจากโลกนี้ไป
--อย่างไรก็ดี ถึงแม้เนื้อเรื่องของฉากนี้ออกมาในทำนองนี้ แต่พอดิฉันคิดถึงฉากนี้ทีไร ดิฉันมักจะคิดถึง “เนื้อเรื่องใหม่ในใจตนเอง” ซึ่งออกมาในทำนองที่ว่า ผู้หญิงคนนั้นเกลียดชายหนุ่มคนนั้นมาก เพราะชายหนุ่มคนนั้นแอบมานั่งอุจจาระในสนามหลังบ้านของเธอ
--คุณ kit แห่งเว็บบอร์ด SCREENOUT เคยตั้งข้อสังเกตในทำนองที่ว่าหนังญี่ปุ่นชอบมีตัวละครที่ทำหน้า “ไม่บอกอารมณ์” และพอดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้นำเอาจุดเด่นจุดนี้ของคนญี่ปุ่นหรือหนังญี่ปุ่นมาใช้ได้ดีมาก เพราะการที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้ “ทำสีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ชัดเจน” เกือบตลอดทั้งเรื่อง ใบหน้าของตัวละครเหล่านี้จึงมีลักษณะคล้ายผืนผ้าใบเปล่าๆ ที่เอื้อให้คนพากย์และผู้ชมแต่ละคนแต่งเนื้อเรื่องระบายสีลงไปในหนังเรื่องนี้ได้ตามใจชอบ แต่ถ้าหากตัวละครในหนังทำสีหน้าที่บอกอารมณ์ชัดเจนแล้ว หนังเรื่องนี้ก็จะไม่เปิดกว้างให้คนพากย์หรือผู้ชมแต่งเนื้อเรื่องใหม่ได้ง่ายนัก
--สีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ชัดเจนใน L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE ยังทำให้นึกถึงประเด็นคล้ายๆกันนี้ที่ปรากฏอยู่ในหนังสารคดีเรื่อง FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG (1995, MARK RAPPAPORT, A+) ถ้าจำไม่ผิด ในหนังสารคดีเรื่องนั้น จะมีการพูดถึง
1.สีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ของ JEAN SEBERG ในบางฉากของหนังอย่าง BONJOUR TRISTESSE (1958, OTTO PREMINGER)
2.สีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ของคลินท์ อีสต์วูดในหนังบางเรื่อง
3.การทดลองของหนังรัสเซียยุคโบราณที่เรียกกันว่า KULESHOV EFFECT
http://www.longpauses.com/blog/2003_06_01_longpauses_archive.html
--ถ้าเข้าใจไม่ผิด KULESHOV EFFECT ในหนังเรื่อง FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG คือการทดลองตัดต่อภาพใบหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ของคนๆหนึ่งมาอยู่ติดกับภาพของสิ่งต่างๆที่แตกต่างกัน และพบว่าการกระทำเช่นนี้ ทำให้คนดูรู้สึกว่าคนๆนั้นแสดงอารมณ์ออกมาแตกต่างกัน ทั้งๆที่จริงๆแล้วคนๆนั้นไม่ได้แสดงอารมณ์อะไรออกมาเลย
http://www.longpauses.com/blog/2002/01/benito-cereno-1855.html
ในเว็บไซท์ข้างบน ได้ยกตัวอย่างของ KULESHOV EFFECT เช่น
1.คนดูเห็นภาพใบหน้าไม่บอกอารมณ์ของ IVAN MOUSJOUKINE และต่อมาคนดูก็เห็นภาพทารกตาย
2.คนดูเห็นภาพใบหน้าไม่บอกอารมณ์ของ IVAN MOUSJOUKINE และต่อมาคนดูก็เห็นภาพถ้วยซุป
3.คนดูรู้สึกว่า IVAN ในข้อ 1 แสดงความรู้สึก “สงสาร” ออกมาทางใบหน้า และคนดูรู้สึกว่า IVAN ในข้อ 2 แสดงความรู้สึก “หิว” ออกมาทางใบหน้า ทั้งๆที่จริงๆแล้วใบหน้าของ IVAN ทั้งในข้อ 1 และข้อ 2 คือภาพๆเดียวกัน
4.คนดูเห็นใบหน้าของเจมส์ สจ็วร์ตมองออกไปนอกหน้าต่าง และต่อด้วยภาพสุนัข
5.คนดูเห็นใบหน้าของเจมส์ สจ็วร์ตมองออกไปนอกหน้าต่าง และต่อด้วยภาพของหญิงสาวแต่งกายวับๆแวมๆ
6.คนดูรู้สึกว่าเจมส์ สจ็วร์ตแสดงอารมณ์ใจดียิ้มแย้มออกมาในข้อ 4 และคนดูรู้สึกว่าเจมส์ สจ็วร์ตแสดงอารมณ์ลามกปนหื่นออกมาทางใบหน้าในข้อ 5 ทั้งที่จริงๆแล้วภาพเจมส์ทั้งในข้อ 4 และข้อ 5 คือภาพๆเดียวกัน
--ที่โยงไปถึง KULESHOV EFFECT ในหนังเรื่อง FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG ก็เพราะรู้สึกว่าใบหน้าตัวละครใน L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE มันก่อให้เกิด “จินตนาการ” คล้ายๆอย่างนี้นี่แหละค่ะ อย่างเช่นใบหน้าของผู้หญิงที่มองออกไปเห็นชายหนุ่มในพงหญ้าในหนังเรื่องนี้ มันเป็นใบหน้าที่ “ไม่บอกอารมณ์ชัดเจน” ว่าในขณะนั้นเธอรู้สึกยังไงกันแน่ คุณปราบดาแต่งเรื่องให้ผู้หญิงคนนั้นกำลัง “คิดถึง” ผู้ชายคนนั้น ซึ่งดิฉันก็รู้สึกว่าเนื้อเรื่องของคุณปราบดามันเข้ากับภาพที่เห็นอย่างมากๆ แต่จินตนาการของดิฉันแต่งเนื้อเรื่องใหม่เป็นว่าผู้หญิงคนนั้นกำลัง “ไม่พอใจ” ที่มีชายหนุ่มมาอุจจาระข้างหลังบ้านเธอ เพราะดิฉันก็รู้สึกว่าใบหน้าของผู้หญิงคนนั้น มันก็อาจจะแสดงอารมณ์ “ไม่พอใจ” ได้เช่นกัน
2.THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON (2004, NIELS MUELLER, A+)
3.2003 (2003, ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, A+)
4.ONCE UPON A TIME (2000, PANU AREE, A+)
5.BEHIDE THE WALL (2003, อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา, A+)
6.A SNAKE OF JUNE (2002, SHINYA TSUKAMOTO, A+)
7.SWING GIRLS (2004, SHINOBU YAGUCHI, A+/A)
8.ONE MISSED CALL (2003, TAKASHI MIIKE, A+/A)
9.TWISTER (1990, MICHAEL ALMEREYDA, A)
10.GHOSTTRANSMISSIONS (2005, A)
หนัง (หรือวิดีโอ) เกี่ยวกับอาคารร้างๆเรื่องนี้ดูที่ H GALLERY สาทร ซอย 12 แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าใครเป็นคนกำกับวิดีโอเรื่องนี้กันแน่ ขณะที่ดูวิดีโอเรื่องนี้ ไม่ได้รู้สึกชอบมันถึงขั้น A แต่เพิ่งมารู้สึกชอบมันอย่างรุนแรงขณะขึ้นรถไฟฟ้ากลับบ้าน และมองออกไปจากหน้าต่างรถไฟฟ้า เห็นภาพอาคารร้างๆ แล้วก็พบว่าวิดีโอเรื่องนี้ทำให้ความรู้สึกที่เรามีต่อภาพตึกร้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว
11.THE POINTSMAN (1986, JOS STELLING, A/A-)
12.705 สุขุมวิท 55 (2002, อาทิตย์ อัสสรัตน์, A-)
13.นรก (2005, B-/C+)
Saturday, June 25, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment