เมื่อวันเสาร์ได้ไปดูละครเวทีเรื่อง “สีดา: ศรีราม?” (พรรัตน์ ดำรุง, A+) ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬามาค่ะ ชอบสุดๆเลย สิ่งที่ชอบมากในละครเรื่องนี้ก็คือวิธีการนำเสนอที่น่าประทับใจมาก ดูละครเวทีเรื่องนี้แล้วนึกไปถึงหนังเรื่อง HITLER: A FILM FROM GERMANY (1978, HANS-JURGEN SYBERBERG, A+) ซึ่งจริงๆแล้วหนังกับละครเรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรเหมือนกันเลย เพียงแต่ดิฉันรู้สึกว่าทั้งสองเรื่องนี้มัน “บ้าสะใจ” ดิฉันมากๆ และมันก็ทำให้ดิฉันรู้สึกตกตะลึงพรึงเพริดทั้งสองเรื่อง
ความรู้สึกบางส่วนที่มีต่อหนังและละครเวทีสองเรื่องนี้
--HITLER: A FILM FROM GERMANY ไม่ได้เล่าเรื่องชีวิตของฮิตเลอร์อย่างตรงไปตรงมา แต่เล่าถึงอะไรต่างๆมากมายนับไม่ถ้วนที่เกี่ยวข้องกับฮิตเลอร์ และเนื้อหาในหนังสามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันได้หลายส่วน เพียงแต่ว่าทุกส่วนเกี่ยวข้องกับฮิตเลอร์เท่านั้นเอง
--“สีดา: ศรีราม?” ก็ไม่ได้ต้องการจะเล่าประวัติของนางสีดา แต่ดูเหมือนหนังต้องการจะพูดถึงอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องบทบาท, ภาพพจน์ และความคาดหวังที่มีต่อผู้หญิง โดยละครเวทีเรื่องนี้สามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆได้หลายส่วนที่ดูเหมือนไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกัน
--HITLER: A FILM FROM GERMANY มีหลายส่วนที่มีลักษณะของละครเวที, มนตร์เสน่ห์ของละครเวที, “หมอกควัน” แห่งละครเวที, และมีการใช้เทคนิคการนำเสนอที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของเรื่อง ในบางช่วงตัวละครก็ออกมาเล่นหุ่นเชิด, บางช่วงก็ให้นักดาราศาสตร์ (ถ้าจำไม่ผิด) มาบรรยายให้ผู้ชมฟัง, บางช่วงก็เลียนแบบหนังเรื่อง M, บางช่วงก็พูดถึงลูกน้องฮิตเลอร์, อีกช่วงก็ให้คนใช้ฮิตเลอร์มารำลึกอดีตให้ผู้ชมฟัง
--“สีดา: ศรีราม?” ก็มีเทคนิคการนำเสนอที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเช่นกัน บางช่วงก็ดูเหมือนหนังหลอนของ DEREK JARMAN, บางช่วงก็เป็นละครเวทีที่ตัวละครพูดคุยกันเอง, บางช่วงก็เป็นละครเวทีที่ให้ตัวละครออกมาพูดตรงๆกับผู้ชม (เรียกว่า monologue หรือเปล่า ดิฉันก็ไม่แน่ใจ), บางช่วงก็เป็นการร่ายรำ, บางช่วงก็ฉายสไลด์ แถมยังมีการใช้อะไรคล้ายๆหนังตะลุงมาประกอบด้วย
--แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ HITLER: A FILM FROM GERMANY ไม่ได้ทำให้ดิฉันรู้สึกตื่นตะลึงอย่างสุดขีดกับ “การแสดง” ของนักแสดงในเรื่อง แต่ตื่นตะลึงกับไอเดียของผู้กำกับหนัง ส่วน “สีดา: ศรีราม?” ทำให้ดิฉันรู้สึกตื่นตะลึงกับทั้งการกำกับและการแสดงเป็นอย่างมาก
“สีดา:ศรีราม?” ใช้นักแสดงเยอะมาก บางคนก็อาจจะไม่ดีหรือไม่เด่นเท่าไหร่ แต่มีมากมายหลายคนทีเดียวที่เล่นได้ถูกใจดิฉันมากๆ มีอยู่สองคนที่แสดงอารมณ์ออกมาได้สุดขีดคลั่งจนน่าตกใจมาก, บางคนก็ดูสง่าดี และมีอยู่คนนึง (คนที่ออกมาร่ายรำ) ที่ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าเธอเหมาะจะไปอยู่ในหนังของ MARGUERITE DURAS อย่างมากๆ เพราะเธอมีความนิ่งแบบทรงพลัง, ลึกลับ, น่ายำเกรง และดูเป็นเจ้าแม่มากๆ
อย่างไรก็ดี อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประทับใจสุดๆกับละครเวทีเรื่องนี้ ก็คือ “แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ชม” ค่ะ ดิฉันก็ไม่รู้เหมือนกันว่าแบบสอบถามทั่วๆไปมีคำถามอย่างนี้หรือเปล่า เพราะดิฉันไม่ค่อยได้ตอบแบบสอบถามเท่าไหร่ แต่แบบสอบถามนี้มีคำถามนึงที่มี CHOICE ที่ประทับใจดิฉันมากๆ นั่นก็คือคำถามที่ว่า
ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
เพศ
--ชาย
--หญิง
--อื่นๆ ระบุ.....
ชอบมากค่ะที่ “เพศ” มี CHOICE ให้เลือกมากกว่าสอง
“สีดา: ศรีราม?” จะแสดงถึงวันที่ 4 ก.ย. ที่โรงละครอักษรศาสตร์ บัตรราคา 200 บาท นิสิต 150 บาทแสดงวันพฤหัสบดี รอบ 18.30 น., ศุกร์ รอบ 18.30 น., เสาร์ รอบ 14.00 และ 18.30 น. และอาทิตย์ รอบ 14.00 น. สอบถาม โทร. 01-559-7252
ตอบคุณ OLIVER
เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณ OLIVER เขียนถึงในหลายๆเรื่องเลยค่ะ โดยเฉพาะในเรื่องของหนัง ABOUT LOVE (A+)
เคยชอบ VINCE VAUGHN มากๆตอนที่เขาเล่น THE LOST WORLD: JURASSIC PARK แต่หลังจากเขาเจอ “เจ.โล” เข้าไปใน THE CELL ก็รู้สึกว่าเขาดูเหี่ยวๆยังไงไม่รู้
ได้ดู MAURICE เวอร์ชันไม่มีซับไตเติลเหมือนกันเลย จำได้ว่าดูตอนเด็กๆ ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ แต่ก็รู้สึกว่าหนังสวยมากๆ
ชอบประโยคจาก WIN A DATE WITH TAD HAMILTON ที่คุณ OLIVER ยกมามากๆค่ะ
ตอบคุณอ้วน
--ในนิตยสาร REVERSE SHOT มีบทวิเคราะห์ THE GREEN RAY (A+) หนังโปรดของคุณอ้วนด้วยค่ะ
http://www.reverseshot.com/spring04/rayonvert.html
--เห็นคุณอ้วนเคยดู INDIA SONG (MARGUERITE DURAS, A+) ก็เลยอยากแนะนำว่า ถ้าหากคุณอ้วนสนใจอยากอ่านบทความเกี่ยวกับหนังของ MARGUERITE DURAS ก็สามารถอ่านได้ที่นี่ค่ะ
1.อันนี้เป็นบทวิจารณ์หนังเรื่อง WOMEN OF THE GANGES ที่กำกับโดย DURAS ค่ะ โดยในบทวิจารณ์นี้มีการพูดถึงบทสัมภาษณ์ DURAS โดย BENOIT JACQUOT ด้วย
http://www.ejumpcut.org/archive/onlinessays/JC05folder/WomanOfGanges.html
2.สิ่งที่น่าสนใจมากๆก็คือบทวิจารณ์ WOMEN OF THE GANGES ข้างบนนั้น ก่อให้เกิดการตบตีกันอย่างรุนแรงระหว่างนักวิจารณ์ตามมาค่ะ สามารถอ่านเรื่องราวการด่าทอตบตีกันระหว่างนักวิจารณ์ เพราะ WOMEN OF THE GANGES เป็นต้นเหตุ ได้ที่
http://www.ejumpcut.org/archive/onlinessays/JC05folder/DurasDialog.html
ในการตบตีกันระหว่างนักวิจารณ์ครั้งนั้น มีการพูดถึงประเด็นเรื่องภาษาของผู้หญิงและภาษาของผู้ชายด้วยค่ะ และมีการยกข้อความที่ทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจสุดๆมาใส่ไว้ด้วย ซึ่งก็คือข้อความนี้
“The women say, unhappy one, men have expelled you from the world of symbols, and yet they have given you names, they have called you slave, you unhappy slave. Masters, they have rights as masters. They write, of their authority to accord names, that it goes back so far that the origin of language itself may be considered an act of authority emanating from those who dominate. Thus they say that they have said, this is such or such a thing, they have attached a particular word to an object or a fact and thereby consider themselves to have appropriated it. The women say, so doing the men have bawled shouted with all their might to reduce you to silence. The women say, the language you speak poisons your glottis tongue palate lips. They say, the language you speak is made up of words that are killing you. They say, the language you speak is made up of signs that rightly speaking designate what men have appropriated. Whatever they have not laid hands on, whatever they have not pounced on like many-eyed birds of prey, does not appear in the language you speak. This is apparent precisely in the intervals that your masters have not been able to fill with their words of proprietors and possessors, this can be found in the gaps, in all that which is not a continuation of their discourse, in the zero, the 0, the perfect circle that you invent to imprison them and overthrow them.”
—Monique Wittig, The Guerrillieres, Paris, 1969 (trans. David LeVay).
(หนังบางเรื่องของ DURAS อย่างเช่นเรื่อง NATHALIE GRANGER (A+) ก็มีฉากที่ทำให้นักวิจารณ์ตีความว่าเป็น “ฉากที่ผู้หญิงทำลายภาษาของเพศชาย” เหมือนกัน)
--บทความที่อยากอ่าน แต่ยังไม่มีเวลาอ่านในตอนนี้ก็คือบทความเกี่ยวกับ THE DEVIL, PROBABLY (ROBERT BRESSON, A+)
http://www.horschamp.qc.ca/new_offscreen/transcendentalstyle_pt1.html
http://www.horschamp.qc.ca/new_offscreen/transcendentalstyle_pt2.html
วันนี้เพิ่งได้ลองเข้าไปอ่านนิตยสารออนไลน์ REVERSE SHOT ค่ะ เห็นมีบทความน่าสนใจมากมาย ซึ่งรวมถึง
1.บทสัมภาษณ์พี่เจ้ย
http://www.reverseshot.com/summer05/apichatpong.html
2.การนำหนังตะวันออกกับหนังตะวันตกมาตบกันเป็นคู่ๆ โดยคู่ตบที่น่าสนใจได้แก่
2.1 MULHOLLAND MALADY
http://www.reverseshot.com/summer05/tropicalmull.html
2.2 MYSTERIOUS SLACKERS AT NOON
http://www.reverseshot.com/summer05/mysteriousslacker.html
2.3 LAST LOVE IN THE PUNCH-DRUNK UNIVERSE
http://www.reverseshot.com/summer05/lastpunch.html
2.4 SUNRISE CAFE
http://www.reverseshot.com/summer05/cafesunrise.html
2.5 TURNING GARDEN GATE
http://www.reverseshot.com/summer05/turninggarden.html
2.6 ALL ABOUT LILY CALLAR
http://www.reverseshot.com/summer05/lilymorvern.html
2.7 เกิด ชรา
http://www.reverseshot.com/summer05/sharabirth.html
Sunday, August 28, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment