Monday, August 15, 2005

VIOLET BASIL (2005, ศุภโมกข์ ศิลารักษ์, A+)

ตอบน้อง merveillesxx (ต่อจากกระทู้ 20489)

ภาค 1
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=19170

ภาค 2
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=19753

ภาค 3
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=20489



เนื่องจากกระทู้เดิมตอบมาถึงความเห็นที่ 42 แล้ว ก็เลยขอถือโอกาสมาตั้งเป็นกระทู้ใหม่เลยแล้วกัน จะได้ไม่ต้องใช้เวลาโหลดนาน และจะได้ไม่หวาดเสียวว่าจะถูก reset ใหม่เวลาเข้าใกล้เลข 50

--เมื่อคืนนี้แทบอยากจะร้องกรี๊ดให้กับความ “บุญมีแต่กรรมบัง” ของตนเอง เพราะว่า

1.ฟังรายการเพลงญี่ปุ่นช่อง 100.25 FM ไม่ได้ เพราะโดนคลื่นข้างๆกวนตลอด

2.ฟังรายการ CLUBKLASS ช่อง 94.5 FM แล้วดีเจสุดหล่อบอกว่ารายการจะจัดเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้าย อ้าว แล้วทีนี้ดิฉันจะหาเพลงแดนซ์ยุค 1980 ฟังฟรีๆจากที่ไหนดีล่ะเนี่ย

อ่านเรื่องการเรียนพิเศษของน้อง merveillesxx แล้ว ก็รู้สึกเห็นใจมากเลยค่ะ สมัยดิฉันอยู่มัธยมปลาย (1988-1990) ดิฉันกับเพื่อนสนิทบางคนไม่เคยเรียนพิเศษเลย (เพราะความขี้เกียจอย่างรุนแรง) นอกจากช่วง 1 เดือน (เดือนมี.ค.) ก่อน ENTRANCE เท่านั้น ช่วงปิดเทอมและวันหยุดเสาร์อาทิตย์ จึงหมดไปกับการโทรศัพท์, ฟังเพลง, อ่านนิยาย, อ่านการ์ตูน และทำอันดับเพลงที่ตัวเองชอบ

ส่วนช่วงเรียนพิเศษ 1 เดือนก่อน entrance ก็เป็นช่วงที่หฤหรรษ์ที่สุดในชีวิต เพราะดิฉันกับเพื่อนๆโดดเรียนพิเศษและไปแดนซ์กันที่โรงยิมแทน โดยหอบเอาเครื่องเล่นเทปจากที่บ้านมาด้วย เพลงที่เต้นกันสุดเหวี่ยงในโรงยิมก่อนเอ็นทรานซ์รวมถึงเพลง RHYTHM NATION ของ JANET JACKSON, SECRET RENDEZVOUS ของ KARYN WHITE, DON’T YOU LOVE ME ของ 49ERS และ TOUCH ME ของ 49ERS

49ERS เป็นวงแดนซ์ที่ดิฉันชอบมากๆ แต่รู้สึกวงนี้จะออกอัลบัมมาแค่ 2 ชุด ชุดที่สองออกมาประมาณปี 1992-1993 แล้วดิฉันก็ไม่ได้ยินชื่อของวงนี้อีกเลย

เมื่อใดก็ตามที่นึกถึงช่วงก่อนเอ็นทรานซ์ ดิฉันจึงมักนึกถึงเพลง RHYTHM NATION อยู่เสมอค่ะ ดิฉันไม่ได้ชอบเพลงนี้ในระดับ A+ แต่ประทับใจกับความทรงจำที่เพื่อนๆเต้นกันในโรงยิมกับเพลงนี้ช่วงก่อนเอ็นทรานซ์ โดยเพื่อนๆได้เอาท่าทางการฝึกขณะเรียนรด. มาประยุกต์ใช้กับท่าเต้น RHYTHM NATION ด้วย

--ไม่เคยได้ดู “ตำนานรักดอกเหมย” เลยแม้แต่ภาคเดียวค่ะ แต่พอพูดถึงคำว่า “ดอกเหมย” ดิฉันก็มักนึกถึงนิทานที่ดิฉันกับเพื่อนๆแต่งกันตอนเด็กๆ โดยเอาเพื่อนๆในชั้นเรียนเดียวกันมาดัดแปลงเป็นตัวละครในเรื่อง มีเพื่อนผู้หญิงคนนึงที่ดิฉันกับเพื่อนๆไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ พวกเราเลยเอาเธอมาใส่ในนิทานที่พวกเราแต่ง โดยเรียกเธอในนิทานว่า “มาดามดอกเหมยดำ” เพราะว่าเมื่อใดก็ตามที่ตัวละครตัวนี้ย่างเท้าก้าวไปที่ใด จะมีดอกเหมยดำผุดขึ้นมาจากพื้นตามรอยเท้าที่เธอก้าวย่าง

--อ่านพล็อตของตำนานรักดอกเหมยที่คุณแม่ตามหาลูกๆ 7 คน ก็เลยนึกถึงหนังเรื่องนึงที่อยากดูอย่างสุดๆค่ะ นั่นก็คือเรื่อง TWELVE CHAIRS (2004, ULRIKE OTTINGER) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนที่ตามหา “เก้าอี้ 12 ตัว” ที่กระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆกัน เพราะมีทรัพย์สมบัติซ่อนอยู่ในเก้าอี้ตัวหนึ่งใน 12 ตัวนี้

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อยากดูหนังเรื่องนี้อย่างมากๆ ก็เป็นเพราะว่าชอบ ULRIKE OTTINGER ที่เป็นผู้กำกับหนังเรื่องนี้ค่ะ เธอเคยกำกับหนังเรื่อง TICKET OF NO RETURN (A+) ที่เคยเข้ามาฉายในกรุงเทพเมื่อไม่กี่ปีก่อน และเป็นหนังที่เพี้ยนพิสดารพันลึกมาก

ดิฉันเคยนำรูปจากหนังเรื่องต่างๆของ OTTINGER มาโพสท์ไว้ในกระทู้ข้างล่างนี้ค่ะ ลองดูรูปจากหนังของเธอแล้วจะพบว่าหนังของเธอเฮี้ยนมากๆ
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=4978


เรื่องย่อของ TWELVE CHAIRS ซึ่งมีความยาว 198 นาที

ขณะที่หญิงวัยชราผู้สูงศักดิ์คนหนึ่งของรัสเซียกำลังจะตาย เธอได้เปิดเผยความลับของเธอให้ลูกเขยคนหนึ่งฟัง และความลับนั้นก็คือว่าเธอได้ซ่อนเครื่องเพชรทั้งหมดของเธอไว้ในเก้าอี้ 1 ใน 12 ตัวของเธอ แต่หลังการปฏิวัติในรัสเซีย ทางการก็ยึดเก้าอี้ทั้ง 12 ตัวไปจากเธอ
Ippolit Matwejewitch Worobjaninow ซึ่งเป็นลูกเขยของเธอ เคยเป็นขุนนางมาก่อน แต่ปัจจุบันนี้เขาเป็นเพียงข้าราชการระดับล่างที่ดูแลเรื่องการจดทะเบียนสมรส เขาเบื่อหน่ายงานที่ทำอยู่ในตอนนี้มาก ดังนั้นเขาจึงรีบออกตามหาทรัพย์สมบัตินี้ในทันที

อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เก้าอี้ทั้ง 12 ตัวนี้ได้กระจัดกระจายไปอยู่ตามจุดต่างๆกันทั่วประเทศ และลูกเขยก็ไม่ใช่คนเพียงคนเดียวที่ออกตามล่าเก้าอี้ 12 ตัวนี้ เพราะมีนักต้มตุ๋นชื่อ Ostap Bender ที่ออกตามล่าเก้าอี้ 12 ตัวเหมือนกัน นอกจากนี้ Fther Fjodor ก็ออกตามล่าเก้าอี้กลุ่มนี้เหมือนกันด้วย เพราะหญิงชราเคยสารภาพความลับให้บาทหลวงองค์นี้ฟังเหมือนกัน

การตามล่าเก้าอี้อย่างบ้าคลั่งได้เริ่มต้นขึ้น พวกเขาเดินทางจากเหนือจรดใต้ จากตะวันตกสู่ตะวันออก พวกเขาเดินทางข้ามน้ำและข้ามแผ่นดิน และเดินทางจากชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่

TWELVE CHAIRS ดัดแปลงมาจากนิยายที่เคยสร้างเป็นหนังแล้วหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงเวอร์ชันปี 1962 ที่มีความยาว 5 ชม.และกำกับโดย TOMAS GUTIERREZ ALEA ผู้กำกับชื่อดังชาวคิวบา และเวอร์ชันปี 1970 ที่กำกับโดย MEL BROOKS และนำแสดงโดย FRANK LANGELLA

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ULRIKE OTTINGER ได้ที่
http://www.ulrikeottinger.com/en/index-en.html


ตอบคุณ grappa

--ไม่เคยรู้มาก่อนเลยค่ะว่าหนังสือพิมพ์อินเดียราคาถูกขนาดนั้น :-)

--เคยนำข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ REGARDING THE PAIN OF OTHERS ของ SUSAN SONTAG มาแนะนำไว้ในเว็บบอร์ดนี้ค่ะ สามารถอ่านได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=5452

--ถ้าจำไม่ผิด หลังจาก SUSAN SONTAG เสียชีวิต นสพ.กรุงเทพธุรกิจฉบับวันอาทิตย์ SECTION จุดประกายวรรณกรรมก็เคยเขียนถึงเธอเหมือนกัน

--อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SUSAN SONTAG ได้ที่
http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/A3279409/A3279409.html


--ช่วงนี้มีนักประพันธ์ชื่อดังเสียชีวิตหลายคน ซึ่งรวมถึง

1.VIZMA BELSEVICA กวีหญิงชาวแลตเวียที่คนเคยลุ้นให้เธอได้รับรางวัลโนเบล
http://www.msnbc.msn.com/id/8870664/

2.RICHARD EBERHART กวีชาวสหรัฐ
http://www.msnbc.msn.com/id/8193950/

3.CLAUDE SIMON ซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลในปี 1985 คนนี้น่าสนใจมาก เพราะว่าบางคนจัดให้เขาอยู่ในกลุ่ม NOUVEAU ROMAN ของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีนักประพันธ์/ผู้กำกับภาพยนตร์ขั้นสุดยอดอย่าง MARGUERITE DURAS และ ALAIN ROBBE-GRILLET รวมอยู่ด้วย (อ่านเรื่องของ MARGUERITE DURAS ได้ในหนังสือ “บุ๊คไวรัส เล่ม 1” และอ่านเรื่องของ ALAIN ROBBE-GRILLET ได้ในหนังสือ “ฟิล์มไวรัส เล่ม 1”

http://www.kirjasto.sci.fi/csimon.htm

4.อีเฟรม ไคชอน ซึ่งเป็นทั้งนักประพันธ์และผู้กำกับภาพยนตร์

ไคชอนเริ่มต้นเขียนบทและกำกับภาพยนตร์อิสราเอลในทศวรรษ 1960 โดยภาพยนตร์เรื่อง Salah Shabati ของเขาเป็นภาพยนตร์แนวเสียดสีที่พูดถึงชีวิตของผู้อพยพกลุ่มหนึ่งที่ต้องต่อสู้กับระบบราชการและอคติในประเทศอิสราเอล โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมในปี 1965 แต่พลาดรางวัลดังกล่าวไปให้กับภาพยนตร์เรื่อง Yesterday, Today and Tomorrow ที่กำกับโดยวิตตอริโอ เดอ สิกา จากอิตาลี

Salah Shabati ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมในปี 1965 ด้วย โดยได้รับรางวัลดังกล่าวร่วมกับภาพยนตร์อีก 2 เรื่อง ซึ่งได้แก่ Marriage Italian-Style ที่กำกับโดยวิตตอริโอ เดอ สิกาจากอิตาลี และ Girl with Green Eyes ที่กำกับโดยเดสมอนด์ เดวิสจากอังกฤษ


ผลงานการกำกับภาพยนตร์ของไคชอนรวมถึง The Fox in the Chicken Coop (1978), The Policeman (1970), The Big Dig (1970) และ Ervinka (1967)

โทโพลเคยแสดงภาพยนตร์เรื่อง Fiddler on the Roof, Flash Gordon, For Your Eyes Only, House on Garibaldi Street และ Queenie (A)


หนังที่ได้ดูในวันเสาร์ที่ 13 ส.ค. (ถ้าวันหลังมีเวลาว่าง อาจจะมาเขียนบรรยายความรู้สึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังที่ได้ดู)

1.VIOLET BASIL (2005, ศุภโมกข์ ศิลารักษ์, A+)

2.ทางเดิน (อุรุพงศ์ รักษาสัตย์, A+)

3.จากแม่ (อัญชลี ไทยงามศิลป์, A+)

4.A MOTH AND A BUTTERFLY (2003, GILBERT KWONG, A+)

5.CHASING TERBIT (2004, IVAN POETRA, A+)

6.DAJANG SOEMBI, THE LADY WHO WAS MARRIED WITH A DOG (2004, EDWIN, A+)

7.RED SAGA (2004, GABRIELA KRISTA DALENA, A)

8.THE STANDOFF (2004, VANNI JAMIN, A-)

9.LEFT TURN (2005, ROX LEE, LAI CRISOSTOMO, MAISA DEMETILLO, A-)

10.APPLE (2005, SHERAD ANTHONY SANCHEZ, A-)

11.MY DEAR FLOWER (2003, CHUNG WAI KUEN, A-)

12.LU REN (2002, LAU CHI CHUNG, A-)

13.THE VISIT (2004, RAYA MARTIN ,A-)
หนังเรื่องนี้เหมาะดูควบกับ HOTEL ของ JESSICA HAUSNER เป็นอย่างมาก

14.LONELY PLANET (2004, TSANG TSUI SHAN, A-)

15.KULTADO (2005, LAWRENCE FAJARDO, A-)

16.EXAGGERATION (2005, BRYAN BLUE CUEVAS, A-)

17.UNRESCUED WORLD (2003, ZEKE HARIS GUMELAR, A-)

18.STOP HUMAN CLONING (2004, WAHYU ADITA, A-)

19.COMING TO PASS (2005, SHERAD ANTHONY SANCHEZ, A-)

20.TEDDY (2004, ZULMAN, B+)

21.MY FANTASIA (2002, CHENG KWONG CHUEN, B+)

22.ROMANTIC (2004, ROBIN MORAN, B+)

23.SALAT (2004, JOHN TORRES, B+/B)

24.NIGHTMARE (2003, CHEUNG KA TO + LAW WAI LOK, B)

25.ABSTRACTION (2005, SHERAD ANTHONY SANCHEZ, B)

26.ONE DAY AT A PLACE (2003, KRESNA D. WICAKSANA, B-)

27.A WISH (2004, LANI H., C+)

2 comments:

Supamok said...

ขอส่งข่าวถึงคนเขียนบล็อกนี้หน่อยครับ
ไม่ทราบว่าจะช้าไปไหม เพราะนานทีเดียวกว่าผมจะเปิดเข้ามาเจอ
ถ้าคุณชอบ Violet Basil วันพฤหัสที่ 1 พ.ย.นี้เวลาบ่ายโมงตรง ขอเชิญไปดูหนังเรื่อง The songs of Eh doh Shi ในเทศกาลภาพยนตร์โลกที่เอสพลานาท หนังพูดภาษากะเหรี่ยง ซับอังกฤษครับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.worldfilmbkk.com

celinejulie said...

ขอบคุณมากค่ะคุณศุภโมกข์ คิดว่าคงจะไปดูหนังเรื่องนี้แน่นอนค่ะ :-)