Saturday, September 09, 2006

REPLY TO PRAP

อ่านความเห็นของคุณปราปต์ บุนปานได้ที่นี่ค่ะ
http://www.bioscopemagazine.com/web2006/webboard/index-in.php?id=44308


ตอบคุณปราปต์

--ดีใจมากค่ะที่ได้อ่านความเห็นของคุณปราปต์ รู้สึกทึ่งกับหนังสองเรื่องของคุณที่ได้ชมมากค่ะ มันมีวิธีการนำเสนอที่แตกต่างจากหนังไทยโดยทั่วๆไปเป็นอย่างมาก หรือถ้าหากเทียบกับหนังทั้งโลกแล้ว มันก็คงมีหนังเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่เลือกวิธีการนำเสนอที่ “เรียบง่าย แต่ได้ใจความ” เช่นนี้

(ข้อความข้างล่างนี้อาจจะไม่ได้เป็นการตอบคุณปราปต์โดยตรง แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นเรื่อยเปื่อยของดิฉันว่าการได้ดูหนังของคุณปราปต์ทำให้คิดไปถึงหนังเรื่องอื่นๆเรื่องใดบ้าง)

--หนังที่มีวิธีการนำเสนอที่เรียบง่าย แต่โดนใจดิฉันมากๆก็รวมถึง

1.”อวดดี” (2003, สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์, A+++++)
หนังสั้นเรื่องนี้ให้หนุ่มหล่อคนหนึ่งพร่ำบ่นถึงอะไรหลายๆอย่างในสังคมเป็นเวลานาน ก่อนจะจบลงด้วยการแสดงให้เห็นว่าผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ตัวละครพูดมาเลยแม้แต่นิดเดียว

2. หนังสั้นเรื่องนึงของคุณมานัสศักดิ์ ดอกไม้ จำชื่อเรื่องไม่ได้ แต่ว่าตลอดทั้งเรื่องเราจะได้ยินเสียงคนสองคนคุยกันเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม โดยไม่ได้เห็นตัวคนพูดทั้งสองคนเลย แต่อาจจะได้เห็นมือหรือแขนโผล่เข้ามาบ้างนิดหน่อย ส่วนภาพในหนังจำไม่ได้ว่าเป็นภาพกรงนกหรืออะไรสักอย่าง และถ้าจำไม่ผิดหนังจะจับภาพกรงนกหรืออะไรทำนองนี้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องโดยไม่ได้เคลื่อนกล้องไปไหน

3.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนายโดม สุขวงศ์ ตอน ภัยเงียบ (2005, มานัสศักดิ์ ดอกไม้, A+)
นอกจากหนังเรื่องนี้จะถ่ายทอดประเด็นในหนังอย่างตรงไปตรงมาแล้ว ดิฉันยังรู้สึกว่าคุณมานัสศักดิ์สามารถถ่ายทอด “ความน่ารัก” ของคุณโดมออกมาได้ด้วย

--ตอนที่ได้ดู “ทวิภพในเอกภพ” รู้สึกทึ่งมากๆตอนที่หนังใช้วิธีถ่ายไปตามหน้ากระดาษบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เพื่อถ่ายทอดข้อเขียนออกมาจากหน้ากระดาษนั้นให้ผู้อ่านได้อ่านตรงๆ มันเป็นวิธีการที่ “ตรงไปตรงมา” ในแบบที่ดิฉันชอบมากๆ มันเป็นวิธีการถ่ายทำที่น่าจะเรียกได้ว่า “ง่ายที่สุด” แต่ในขณะเดียวกันมันก็สามารถสื่อสารถึงผู้อ่านได้ตรงที่สุด แต่ก็มักจะไม่ค่อยเจอหนังที่ทำแบบนี้สักเท่าไหร่ นอกจากนี้ “ทวิภพในเอกภพ” ยังเป็น “หนังอิงหนัง” ในแบบที่แตกต่างอย่างมากๆจาก “หนังอิงหนัง” เรื่องอื่นๆ ด้วย


--ตอนที่ได้ดูฉาก “ถ่ายไล่เรียงไปตามหน้ากระดาษ” ใน “ทวิภพในเอกภพ” นั้น อยู่ดีๆก็นึกถึงหนังของ JEAN-LUC GODARD ขึ้นมา (หนังของคุณ “มานัสศักดิ์ ดอกไม้” บางเรื่องก็ทำให้นึกถึงหนังของ GODARD เช่นกัน) เพราะหนังของ GODARD มักจะมีบางฉากที่เป็นการแสดงความคิดเห็นทางสังคม-การเมืองที่ทั้ง “ตรงไปตรงมา” แต่ดู “เฮื้ยนมากๆ” ในเวลาเดียวกัน โดยมักจะผ่านทางเสียงบรรยายในหนัง

วิธีการถ่ายไล่เรียงตามหน้ากระดาษแบบนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง

1.MY STORY (2000, ทรงพล ชาญใช้จักร, A+)
http://www.thaifilm.com/shortFilmDetail.asp?id=14
หนังเรื่องนี้มีการถ่ายให้เห็นตัวอักษรตามหน้ากระดาษเช่นกัน แต่อ่านไม่ค่อยออกสักเท่าไหร่ เพราะหนังคงไม่ได้ต้องการเน้นให้ผู้อ่านได้อ่านข้อความที่เขียนไว้ แต่ต้องการถ่ายทอด “ความรู้สึก” มากกว่า “ข้อความ”

2.NINJA BUGEI-CHO (1967, NAGISA OSHIMA, A+++++)
http://www.imdb.com/title/tt0062044/

หนังการ์ตูนเกี่ยวกับนินจา ที่ไม่รู้ว่าจะเรียกว่า “แอนิเมชั่น” ดีหรือไม่ เพราะหนังความยาว 135 นาทีเรื่องนี้ใช้วิธีเคลื่อนกล้องไปตามภาพใน “หนังสือการ์ตูน” ตลอดความยาว 135 นาทีของหนัง นี่อาจจะเป็นหนังการ์ตูนที่ถ่ายทำง่ายที่สุดในโลก แต่ในเมื่อเนื้อหาในหนังสือการ์ตูนมัน “สนุกสุดๆ” อยู่แล้ว การเคลื่อนกล้องไปตามภาพในหนังสือการ์ตูนมันก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ดิฉันรู้สึกสนุกตื่นเต้นอย่างสุดๆกับเนื้อหาของเรื่อง โดยไม่จำเป็นต้องตำน้ำพริกละลายแม่น้ำด้วยการทำให้ภาพมันเคลื่อนไหวให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุแต่อย่างใด

NINJA BUGEI-CHO ยังทำให้นึกถึงผู้กำกับภาพยนตร์บางคนที่ชอบการ IMPROVISE ในระหว่างการถ่ายทำ หรือเปลี่ยนใจดัดแปลงบทใหม่ในระหว่างการถ่ายทำด้วย เพราะดูเหมือนผู้กำกับบางคนในกลุ่มนี้จะเคยพูดว่า ถ้าหากเขาต้องทำหนังให้ออกมาตรงเป๊ะๆตามบทที่เขียนไว้แล้วล่ะก็ เขาก็ไม่รู้จะถ่ายทำหนังเรื่องนั้นออกมาทำไม สู้เอากล้องไปถ่าย “สตอรี่บอร์ด” ตั้งแต่ต้นจนจบสตอรี่บอร์ดซะดีกว่า


3.INTO THE PICTURE SCROLL: THE TALE OF YAMANAKA TOKIWA (2004, SUMIKO HANEDA)
http://www.imdb.com/title/tt0481945/
http://www.sffs.org/fest05/titleDetail.asp?title_id=44
Experimental film transposing frame by frame the famous 150-meter Japanese parchment into celluloid. The original parchment tells the story of a son trying to avenge his mother's death.
หนังความยาว 100 นาทีเรื่องนี้ถ่ายทอดภาพนิ่งที่วาดไว้ในม้วนภาพกระดาษโบราณ โดยเนื้อหาในม้วนภาพนี้เป็นเรื่องของลูกชายที่พยายามล้างแค้นให้แม่ที่ถูกกลุ่มโจรฆ่าตาย แต่จุดเด่นของหนังอยู่ที่การจัดวางกรอบภาพในหนัง, จังหวะการเล่า, เพลงประกอบ, การที่ “กล้อง” สามารถถ่ายทอดรายละเอียดบางอย่างในม้วนกระดาษที่ตาเปล่ามองไม่เห็น, จังหวะการตัดต่อ, การลำดับภาพแบบไอเซนสไตน์ในบางฉาก และการถ่ายแบบโคลสอัพในบางจุดเพื่อให้ผู้ชมได้สังเกตเห็นชีวิตประจำวันในยุคเอโดะ
http://www.filmex.net/2004/img_sakuhin/ph_yamanaka_1.jpg


--หนังกลุ่มที่ให้กล้องถ่ายไล่เรียงไปตามหน้ากระดาษในกลุ่มข้างบน อาจจะเป็นหนังกลุ่มที่เป็นเพื่อนสนิทกับกลุ่มที่สองนี้ ซึ่งก็คือหนังกลุ่มที่ให้ “ตัวละคร”? มาอ่านอะไรบางอย่างให้ผู้ชมฟังตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง

หนังสำคัญในกลุ่มที่สองนี้รวมถึง

1.THE HAMBURG LECTURES (2006, ROMUALD KARMAKAR)
เคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้แล้วใน
http://www.bioscopemagazine.com/web2006/webboard/index-in.php?id=35688

หนังเรื่องนี้มีความยาว 133 นาที และนำเสนอบทพูดของ MOHAMMAD FAZAZI ซึ่งเป็น IMAM ของมัสยิดใน HAMBURG ซึ่งเป็นมัสยิดที่นักจี้เครื่องบินในเหตุการณ์ 9/11 หลายคนชอบไป โดย KARMAKAR (1965) ให้นักแสดงชื่อ MANFRED ZAPATKA มาอ่านบทพูดของ FAZIZI ให้ผู้ชมฟัง และหนังทั้งเรื่องไม่มีอะไรมากกว่านี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้พิจารณาสิ่งที่ FAZAZI พูดได้อย่างเต็มที่ วิธีการกำกับของ KARMAKAR ใน THE HAMBURG LECTURES มีความคล้ายคลึงกับหนังเรื่องอื่นๆของเขา อย่าง THE HIMMLER PROJECT (2000) และ A FRIENDSHIP IN GERMANY (1985) เพราะเขาต้องการให้ผู้ชม “คิด” ตลอดเวลาที่ได้ดูหนังของเขา ไม่ใช่ทำให้ผู้ชม “เชื่อ” ในสิ่งที่ปรากฏต่อหน้า เพราะฉะนั้นในหนังของเขา MANFRED ZAPATKA จึงอ่านบทพูดของตัวเองอย่างผิดๆถูกๆ และอ่านด้วยน้ำเสียงราบเรียบ แทนที่จะพยายามอ่านด้วยสำเนียงและท่าทางให้เหมือนกับ FAZAZI เพราะ KARMAKAR เชื่อว่า THE “INCORRECT” WAY OF READING WOULD MAKE PEOPLE HEAR THE TRUE MEANING OF THE WORDS อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ THE HAMBURG LECTURES ได้ที่ http://www.onthemedia.org/transcripts/transcripts_033106_continental.html http://www.cantonrep.com/index.php?ID=272220 อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ROMUALD KARMAKAR ได้ที่ http://www.sensesofcinema.com/contents/02/21/karmakar.html http://www.german-films.de/en/germanfilmsquaterly/previousissues/seriesgermandirectors/romualdkarmakar/

2.THE HIMMLER PROJECT (2000, ROMUALD KARMAKAR)
หนังความยาว 182 นาทีเรื่องนี้ให้นักแสดงชื่อ MANFRED ZAPATKA มาอ่านสุนทรพจน์ของไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ ผู้นำเกสตาโปในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง โดยทั้ง 3 ชั่วโมงนี้ผู้ชมจะได้เห็นและได้ยินเพียงแค่ MANFRED อ่านสุนทรพจน์นี้ไปเรื่อยๆตลอดทั้ง 3 ชั่วโมง
the actor Manfred Zapatka reads a three-hour-long famous speech by Gestapo leader Heinrich Himmler, held on the 4th of October 1943 in front of leading Nazi officers at the Golden Hall of Posen Castle; giving an impressive insight into the perversions of Nazi ideology.
http://on1.zkm.de/zkm/stories/storyReader$3013
The film takes the speech out of its historical context so that the impression arises of taking part in a political event today. By reducing the stage-setting and montage, the danger of taking the bite out of the historical speech is avoided. »The Himmler-Project« marks a new development within film-making, on the border between documentary and dramatic cinema.


--ส่วน “หนังอิงหนัง” หรือ “หนังอิงละคร” เรื่องอื่นๆของไทยก็มีเช่น

1.บ้านทรายทอง (2006, จุฬญาณนนท์ ศิริผล)
ยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้

2.มนต์รักวิศิษฎ์ (2006, สุภพร อุเทนพันธ์ + จรัสพงษ์ วิจิตรสุนทรกุล)
เข้าใจว่าผู้กำกับน่าจะชอบหนังของวิศิษฎ์

3.ฝันเรียม (2006, ลัดดาวัลย์ สืบเพ็ง, A++++++++++)
เป็นการนำเอา “ขวัญเรียม” มาดัดแปลงใหม่ให้กลายเป็นหนังที่ตลกสุดๆ

4.HAUNTED HOUSES (2001, APICHATPONG WEERASETHAKUL, A+)
เป็นการนำแรงบันดาลใจจาก “ทองประกายแสด” มาสร้างเป็นหนังที่มีการเปลี่ยนผู้เล่นไปเรื่อยๆ
http://www.kickthemachine.com/works/hauntedhouses.html

5.SWAN’S BLOOD (2001, APICHATPONG WEERASETHAKUL + MASAHITO ARAKI + FUJIWARA TOSHI)
http://www.kickthemachine.com/works/narrative.html
รู้สึกว่าจะได้แรงบันดาลใจมาจากละครทีวีเรื่อง “เลือดหงส์” ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าหนังเรื่อง “I-SAN SPECIAL” (2002, MINGMONGKOL SONAKUL, A+) มาจาก”เลือดหงส์” เหมือนกันหรือเปล่า
http://movie.sanook.com/drama/drama_02070.php

6.มีหนังสั้นไทยอีกอย่างน้อย 3 เรื่องที่สร้างขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจจาก
ONG BAK (2003, PRACHYA PINKAEW, C-) แต่จำชื่อหนังสั้นไทยกลุ่มนี้ไม่ได้

7.”เมืองมายา กรุงธิดา” (2000, ลี ชาตะเมทิกุล, A+) ที่พาดพิงถึงหนังไทยเก่าๆ

8.รุมกัดสัตว์ประหลาด (2005, อลงกต, A-)
ที่พูดถึงปฏิกิริยาของผู้ชมบางกลุ่มบางคนที่มีต่อ TROPICAL MALADY

จริงๆแล้วก็ไม่แน่ใจว่าหนังบางเรื่องในกลุ่มข้างบนจะเรียกได้ว่าเป็น “หนังอิงหนัง” หรือ “หนังอิงละคร” ได้หรือเปล่า เพราะบางเรื่องอาจจะเข้าข่ายเป็น “หนังรีเมค” มากกว่า แต่มันก็ไม่ใช่การรีเมคแบบจริงๆจังๆซะทีเดียว แต่เป็นการนำมารีเมคใหม่ด้วยวิธีการที่เพี้ยนพิลึกมากๆ

จะเห็นได้ว่า “หนังอิงหนัง” บางเรื่องข้างต้นไม่ได้เป็นหนังที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อถ่ายทอด “ความคิดเห็น” ของผู้กำกับที่มีต่อ “หนังต้นแบบ” เหมือนอย่าง “ทวิภพในเอกภพ” แต่เป็นการถ่ายทอด “ความประทับใจ” หรือเป็นการทดลอง “วิธีการเล่าเรื่องแบบใหม่” มากกว่า เพราะฉะนั้นหนังอย่าง “ทวิภพในเอกภพ” ก็เลยดูโดดเด่นสะดุดตามากๆ เมื่อนำมาเทียบกับ “หนังอิงหนัง” ด้วยกัน นึกไม่ออกเหมือนกันว่ามีหนังอิงหนังเรื่องไหนที่สร้างขึ้นเพื่อวิพากษ์หนังต้นแบบ, ถ่ายทอดความคิดเห็นต่อหนังต้นแบบ หรือต่อยอดความคิดเห็นจากหนังต้นแบบเหมือนอย่าง “ทวิภพในเอกภพ” อีกหรือไม่ ส่วนถ้าเป็นในเมืองนอกนั้น ก็อาจจะนึกถึงหนังอย่าง

1.MICHAEL MOORE HATES AMERICA (2004, MICHAEL WILSON) ที่สร้างขึ้นเพื่อตอบโต้ FAHRENHEIT 9/11 (2004, MICHAEL MOORE, A-)

2.WHY WAL-MART WORKS: AND WHY THAT DRIVES SOME PEOPLE C-R-A-Z-Y (2005, RON GALLOWAY) ที่สร้างขึ้นเพื่อตอบโต้ WAL-MART: THE HIGH COST OF LOW PRICE (2005, ROBERT GREENWALD)

รู้จักหนังกลุ่มข้างบนก็จากนิตยสาร BIOSCOPE นี่แหละ

3.หนังเรื่อง IN PRAISE OF LOVE (2001, JEAN-LUC GODARD, A+) ก็ดูเหมือนจะมีการจิกกัดด่าทอสตีเวน สปีลเบิร์ก และ SCHINDLER’S LIST (A+)


--การสร้าง “หนังอิงหนัง” แบบ “ทวิภพในเอกภพ” ขึ้นมา ทำให้รู้สึกชื่นชมผู้กำกับมากๆ ในจุดนึงในแง่ที่ว่า หนังแบบนี้สร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดความเห็นหรือความรู้สึกในตัวผู้กำกับจริงๆ โดยผู้กำกับคงไม่ได้คาดหวังว่าหนังเรื่องนี้จะได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างหรือในต่างประเทศมากนัก เพราะ “หนังอิงหนัง” แบบนี้มีข้อจำกัดในแง่ที่ว่า ผู้ชมจะเข้าใจมันได้ก็ต่อเมื่อได้ดูหนังต้นแบบอย่าง “ทวิภพ” (2004, สุรพงษ์ พินิจค้า) มาก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นหนังแบบ “ทวิภพในเอกภพ” จึงเป็นหนังที่สร้างขึ้นโดยจำกัดกลุ่มผู้ชมเป้าหมายหลักอย่างมาก ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าหากนำหนังเรื่องนี้ไปให้ผู้ชมกลุ่มที่ไม่เคยดู “ทวิภพ” มาก่อน ผู้ชมกลุ่มนั้นจะรู้สึกอย่างไรบ้าง

หนังแบบที่บังคับกลายๆให้ผู้ชมต้องดู “หนังต้นแบบ” มาก่อน ก็อาจจะรวมถึงกลุ่มหนัง

1.หนังกลุ่ม SCARY MOVIE เพราะถ้าคุณไม่ดูหนังต้นแบบมาก่อน คุณก็จะไม่ขำ แต่หนังกลุ่มนี้ล้อเลียนหนังทีเดียวเป็นสิบๆ เรื่อง เพราะฉะนั้นถึงคุณไม่ได้ดูหนังต้นแบบบางเรื่อง คุณก็ยังพอฮาๆไปได้บ้างในบางฉากที่คุณรู้จัก

2.หนังสารคดีเบื้องหลังการถ่ายทำหนัง อย่างเช่น

2.1 MALADY DIARY (2004, TEEKHADET VUCHARADHANIN, A+) ที่เป็นเบื้องหลังการถ่ายทำ TROPICAL MALADY

2.2 HEARTS OF DARKNESS: A FILMMAKER’S APOCALYPSE (1991, FAX BAHR, + GEORGE HICKENLOOPER + ELEANOR COPPOLA) ที่เป็นสารคดีเกี่ยวกับการถ่ายทำ APOCALYPSE NOW (FRANCIS FORD COPPOLA)
http://ec3.images-amazon.com/images/P/6302414016.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1122565952_.jpg

2.3 WHERE HAS YOUR HIDDEN SMILE GONE? (2001, PEDRO COSTA) ที่เป็นสารคดีเกี่ยวกับการตัดต่อ SICILIA! (1999, JEAN-MARIE STRAUB + DANIELE HUILLET)

2.4 JEAN-MARIE STRAUB AND DANIELE HUILLET AT WORK… (1983, HARUN FAROCKI) ที่เป็นสารคดีเกี่ยวกับการฝึกซ้อมนักแสดงขณะถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง CLASS RELATIONS (1984, JEAN-MARIE STRAUB + DANIELE HUILLET)
http://filmref.com/notes/archives/2005/06/jeanmarie_straub_and_daniele_h.html
http://www.imdb.com/title/tt0087566/

HARUN FAROCKI ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับสมญานามว่าเป็น JEAN-LUC GODARD แห่งเยอรมนี นอกจากนี้ ดีวีดีภาพยนตร์เรื่อง VIDEOGRAMS OF A REVOLUTION ของเขาก็มีเข้ามาวางขายในไทยนานแล้ว โดย HARUN FOROCKI คนนี้คือเจ้าพ่อภาพยนตร์แนว ESSAY คนสำคัญของโลก
http://www.amazon.com/Videograms-a-Revolution-Harun-Farocki/dp/B000EMGIX2/ref=sr_11_1/103-4478362-2125402?ie=UTF8
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000EMGIX2.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V55976131_.jpg

2.5 THE EIGHTIES (1983, CHANTAL AKERMAN, A-) ที่เป็นเบื้องหลังการถ่ายทำ GOLDEN EIGHTIES หรือ WINDOW SHOPPING (1986, CHANTAL AKERMAN, A)
http://www.filmref.com/directors/dirpages/akerman.html#eighties
http://www.amazon.com/Window-Shopping-Chantal-Akerman/dp/1566870577/sr=1-2/qid=1157773017/ref=sr_1_2/103-4478362-2125402?ie=UTF8&s=video

http://ec3.images-amazon.com/images/P/1566870577.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056519562_.jpg

2.6 THE YOUNG GIRLS TURN 25 (1993, AGNES VARDA, A+) ที่เป็นการย้อนรำลึกถึงหนังเรื่อง THE YOUNG GIRLS AT ROCHEFORT (1967, JACQUES DEMY + AGNES VARDA, A+)
http://ec3.images-amazon.com/images/P/B000062XI7.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056707900_.jpg

2.7 MAKING “THE SHINING” (1980, VIVIAN KUBRICK)
Vivian Kubrick catalogues the emotional and physical abuse that her husband and Jack Nicholson pour onto Shelley Duvall. Her systematic breakdown and the intensity of their sexually-marked scorn gives the darkness in the film a breathtaking clarity.



--ตอนที่ดู “หนังผี 16 ปีแห่งความหลัง” ก็รู้สึกดีใจมากที่คุณปราปต์ยังคงความเป็นตัวของตัวเองเอาไว้ได้ และดูเหมือนจะมีความหนักแน่นมากขึ้นด้วย สิ่งที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้รวมถึง

1.ปกติแล้วดิฉันไม่เคยดูฟุตบอลหรือสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับฟุตบอลเลย แต่ช่วงครึ่งแรกของหนังที่มีการพูดถึงฟุตบอลเป็นเวลานานนั้น กลับไม่ทำให้ดิฉันรู้สึกเบื่อแต่อย่างใด เพราะวิธีการถ่ายทอดที่ให้กล้องจับหน้าจอทีวีตลอดเวลานั้น มันเข้าทางดิฉันมากๆ มันให้ความรู้สึกถึงความสงบนิ่ง, หนักแน่น และไม่ว่อกแว่กดี ความรู้สึกแบบนี้ทำให้ดิฉันนึกถึงตอนที่ฟังรายการวิทยุของคุณวาสนา วีระชาติพลี ซึ่งเธอชอบเปิดเพลงร็อคแนวที่ดิฉันไม่ได้โปรดปรานสักเท่าไหร่ แต่กลับชอบฟังสิ่งที่เธอพูดมากๆ ทั้งๆที่ในบางครั้งก็ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เธอพูด ดิฉันรู้สึกว่าวิธีการพูดของคุณ “วาสนา วีระชาติพลี” และวิธีการทำหนังของคุณปราปต์มันมี “เสน่ห์” บางอย่างที่เข้าทางดิฉันมากๆ ทั้งๆที่ “เนื้อหา” (เกี่ยวกับฟุตบอลในหนังของคุณปราปต์ หรือเกี่ยวกับเพลงร็อคของคุณวาสนา) และ “ทัศนคติ” ในหนังของคุณปราปต์หรือในสิ่งที่คุณวาสนาพูดอาจจะไม่ได้เข้าทางดิฉันหรือตรงกับดิฉัน 100 % ก็ตาม


2.การที่หนังเรื่องนี้พูดถึงปัญหาทักษิณและเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ ก็เลยทำให้นึกถึงหนังของ JEAN-LUC GODARD อีกเช่นกัน เพราะคุณค่าอย่างหนึ่งในหนังของ JEAN-LUC GODARD คือการบันทึกเหตุการณ์บางอย่างในปัจจุบันขณะของสังคมยุคนั้น ซึ่งในแง่หนึ่ง หนังกลุ่มนี้อาจจะ “ล้าสมัย” ได้อย่างรวดเร็วมากเมื่อเหตุการณ์ในสังคมเปลี่ยนไป หรือเมื่อปัญหาสังคมนั้นได้รับการคลี่คลายแล้ว (หนังอิสราเอลบางเรื่องอาจจะมีจุดอ่อนตรงนี้ เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในอิสราเอลเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก มีปัญหารุนแรงใหม่ๆเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน เพราะฉะนั้นหนังอิสราเอลหลายเรื่องเลยไม่พูดถึงปัญหาทางการเมืองในปัจจุบัน แต่ไปนำเสนอชีวิตครอบครัวแทน) แต่ในอีกแง่หนึ่ง ถึงแม้เนื้อหาของหนังอาจจะทำให้หนัง “ล้าสมัย” ได้อย่างรวดเร็ว แต่มันก็ได้ทำหน้าที่เป็น “บันทึกทางประวัติศาสตร์” ไปด้วย มันได้บันทึกไว้ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างในปีนั้น และดิฉันคิดว่านี่แหละคือคุณค่าของหนังกลุ่มนี้ และยิ่งเวลาผ่านไป คุณค่าของมันในฐานะ “บันทึกทางประวัติศาสตร์” ก็อาจจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆพร้อมกับอายุของมัน

ในขณะที่หนังหลายเรื่องมีคุณค่าในความเป็น “คลาสสิก” ของมัน เพราะหนังเรื่องนั้นถ่ายทอดประเด็นปัญหาชีวิตที่คนทุกยุคทุกสมัยทุกประเทศต้องประสบ อย่างเช่นหนังปัญหาชีวิตวัยเด็ก THE 400 BLOWS (1959, FRANCOIS TRUFFAUT, A-), หนังรักสามเส้า, หนังปัญหาชีวิตครอบครัว แต่หนังของ GODARD ก็มีคุณค่าต่อดิฉันในแง่ที่มันทำให้ดิฉันได้เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจหลายอย่างในประวัติศาสตร์อย่างเช่น

2.1 LE PETIT SOLDAT (1963, A+) ที่พูดถึงสงครามแอลจีเรีย

2.2 LA CHINOISE (1967, A+++++++++++++++) ที่พูดถึงการตบกันแหลกระหว่างปัญญาชนกลุ่มนิยมจีนกับกลุ่มนิยมโซเวียต หนังเรื่องนี้ให้ความรู้แก่ดิฉันอย่างรุนแรงมาก เพราะก่อนหน้าที่จะดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันมักจะนึกแต่ว่าสังคมยุคนั้นมีแต่การตบตีกันระหว่างสหรัฐอเมริกากับคอมมิวนิสต์ แต่หนังเรื่องนี้กลับเน้นแต่การตบกันเองอย่างรุนแรงในฝ่ายซ้ายด้วยกันเอง และหนังยังเต็มไปด้วยฉากฮาแตกหลายๆฉากด้วย อย่างเช่นฉากหญิงสาวไปลอบสังหารทูตโซเวียต
http://images.amazon.com/images/P/B000CCQANW.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V51315907_.jpg

ยังมีหนังอีกหลายเรื่องของ GODARD ที่ดิฉันยังไม่ได้ดู แต่เดาว่ามันน่าจะบันทึกเหตุการณ์น่าสนใจในยุคสมัยนั้นเอาไว้แน่ๆ อย่างเช่นเรื่อง

2.3 PALESTINE WILL WIN (1970)
ชอบชื่อหนังเรื่องนี้มากๆ

2.4 PRAVDA (1970)
Pravda was filmed clandestinely in Czechoslovakia on 16mm.

2.5 SEE YOU AT MAO (1970)
The film has six parts, including the famous ten-minute track through an auto assembly line and a four-minute shot of a woman's nude torso; it is also filled with speech, whether it's a text from Engels read aloud or a newscaster talking about the necessities of burning women and children.

2.6 WIND FROM THE EAST (1970)
ผู้ชมบอกว่าหนังเรื่องนี้เหมือนกับ “โจวเอินไหล” มาร่วมงานกับโมสาร์ทในการดัดแปลง THE ABDUCTION FROM THE SERAGLIO


3.การที่เจ้าของบ้านกับแขกพูดคุยกันทั้งๆที่มีความเห็นทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมากๆ และยังคงรักษามิตรภาพที่มีต่อกันไว้ได้ ทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจมากๆ และจุดนี้ทำให้เสียดแทงใจมากๆ เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่พารากอน หรือเหตุการณ์รุมกระทืบฝ่ายตรงข้ามที่เกิดขึ้นบ่อยมากในระยะหลัง คิดว่าคุณปราปต์คงไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดเหตุการณ์รุมกระทืบเช่นนี้ขึ้นขณะที่คุณสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมา แต่ปรากฏว่าภาพยนตร์ของคุณออกฉายอย่าง “ถูกจังหวะ” อย่างมากๆ และมันทำให้ผู้ชมยังคงมี “ความหวัง” หล่อเลี้ยงหัวใจว่า ถึงแม้เราจะมีความเห็นทางการเมืองแตกต่างกันอย่างรุนแรง เราก็หารือกันได้แบบในหนังเรื่องนี้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงหรือพยายามข่มขู่คุกคามฝ่ายตรงข้าม หรือก่อสงครามกลางเมืองขึ้นมาแต่อย่างใด

มิตรภาพระหว่างคนที่มีทัศนคติไม่ตรงกันในหนังเรื่องนี้เป็นจุดที่ทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เพราะมันทำให้นึกถึงชีวิตประจำวันของตัวเองและความรู้สึก “ก้ำกึ่ง” บางอย่างที่ต้องเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวัน เพราะในหลายๆครั้ง ดิฉันมักจะพบว่าเพื่อนที่ดีมากๆหรือเพื่อนร่วมงานที่ดีมากๆบางคน เทิดทูนบูชา “นักการเมือง” ที่ดิฉันเกลียดชังอย่างรุนแรงสุดๆ และมันก็เป็นความรู้สึกที่ประหลาดดี เพราะถึงแม้เราจะเกลียดนักการเมืองคนนั้นมากขนาดไหน เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “เพื่อน” ของเราคนนั้นมีความดีงามอย่างอื่นๆอยู่ในตัวเขาเองเยอะมากๆ และการที่เราจะเกลียดเขาเพียงเพราะเขาบูชานักการเมืองคนนั้น มันก็เป็นเรื่องที่ดิฉันไม่สามารถทำได้อย่างแน่นอน

4.ชอบการตัดฉากจาก “แฟนฉัน” มาแทรกในหนัง คิดว่าคุณปราปต์คงมีจุดประสงค์บางอย่างในการนำ “แฟนฉัน” มาแทรกในหนังเรื่องนี้ ดิฉันไม่ค่อยแน่ใจว่าจุดประสงค์นั้นคืออะไร แต่พอนำมาคิดแบบเล่นๆตลกๆฮาๆแล้วก็สนุกดี เพราะถ้านำมาคิดแบบฮาๆแล้ว ก็ทำให้คิดได้ว่าหนังเรื่องนี้อาจจะฉีกออกไปในอีกแนวทางนึงได้อย่างสบายๆ เพราะหนังเรื่องนี้สามารถใช้ประโยชน์จาก “แฟนฉัน” ได้ในอีกแง่นึงด้วยการนำมาใช้ในการส่อเป็นนัยว่าเจ้าของบ้านกับเพื่อนอาจจะเคยมีความสัมพันธ์กันในอดีตแบบในหนังเรื่อง “แฟนฉัน” (ล้อเล่นค่ะ)


--โครงการหนังเรื่องใหม่ๆของคุณปราปต์น่าสนใจมากค่ะ แต่ดิฉันเดาว่าในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้ ประเทศไทยอาจจะเผชิญกับเหตุการณ์ที่น่าสนใจมากมาย ดิฉันขอเดาเล่นๆว่า บางทีสถานการณ์ในประเทศไทยในช่วงหลายเดือนข้างหน้า อาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้คุณปราปต์ได้โครงการหนังเรื่องใหม่ๆเพิ่มขึ้นก็ได้

No comments: