This is my comment in Bioscope webboard:
http://www.bioscopemagazine.com/smf/index.php?topic=71.1470
FAVORITE MUSICAL ARTIST
JAZZTRONIK
http://www.myspace.com/jazztronik
ตอบคุณ BlueWhiteRed
“แปลกใจเล็กน้อยที่ใน Paris, je t'aime ตอนสุดท้ายไปถ่ายสุสานมงปาร์นาส แล้วมีแต่ซาร์ตร์กับเดอ โบวัวร์ ไม่มีซอนแท็ก”
พูดถึงสุสาน ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่าอยากดูหนังสารคดีเรื่อง FOREVER (2006, Heddy Honigmann, Netherlands) มากๆ หนังสารคดีเรื่องนี้ไปถ่ายทำสุสาน Pere Lachaise ในฝรั่งเศส และสัมภาษณ์คนที่มาเที่ยวหรือมาไว้อาลัยในสุสานนั้น ดิฉันอ่านเจอในนิตยสาร FILM QUARTERLY ว่าคนที่มาไว้อาลัยบางคนดูน่าสนใจมากๆ โดยเฉพาะผู้หญิงคนหนึ่งที่มาไว้อาลัยให้กับสามีของเธอที่ตายไป โดยเธอกับสามีเพิ่งรู้จักกันได้แค่ 3 ปี และเขามีอายุอ่อนกว่าเธอ 20 ปี และเขาเสียชีวิตเพียงเพราะถูกผึ้งต่อย อ่านแล้วรู้สึกว่าสงสารผู้หญิงคนนี้มากๆ
ตอบน้อง merveillesxx
พูดถึง THE BANDAGE CLUB (2007, Yukihiko Tsutsumi, A+) แล้วรู้สึกว่ามีฉากนึงที่น่าสนใจดี และดิฉันไม่รู้ว่าดิฉันควรจะรู้สึกยังไงดีกับฉากนั้น และดิฉันก็ไม่แน่ใจด้วยว่าตัวเองจำฉากนั้นถูกต้องหรือเปล่า ก็เลยหวังว่าถ้าหากน้อง MERVEILLESXX ได้ไปดูหนังเรื่องนี้ในอนาคต จะได้ช่วยดูฉากนั้นด้วยว่าดิฉันจำถูกต้องหรือเปล่า ฉากที่ดิฉันจะเล่าต่อไปนี้ไม่มีการ SPOIL เนื้อหาในส่วนสำคัญของหนังแต่อย่างใดค่ะ โดยฉากที่ว่านี้ก็คือฉากที่หนึ่งในสมาชิก THE BANDAGE CLUB นั่งอยู่ในห้องเรียนที่กำลังจะสอนเรื่องการทำสงครามของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (ถ้าดิฉันจำไม่ผิด) แล้วสมาชิกคนนั้นก็ทำอาการเบื่อหน่ายมาก โดยฉากต่อมาให้เหตุผลว่าเธอรู้สึกเบื่อเพราะเธอสอบเข้ามหาลัยได้แล้วหรืออะไรทำนองนี้ เธอก็เลยขี้เกียจเรียน
สาเหตุที่ดิฉันไม่รู้ว่าตัวเองควรจะรู้สึกยังไงกับฉากนี้ เป็นเพราะดิฉันไม่แน่ใจว่า
1.ผู้กำกับมีจุดประสงค์อะไรถึงให้เนื้อหาที่จะสอนในฉากนั้นเป็นเรื่องสงครามมหาเอเชียบูรพา คือถ้าหากฉากนั้นต้องการจะแค่บอกว่าตัวละครรู้สึกเบื่อการเรียน วิชาที่จะสอนในฉากนั้นก็อาจจะเป็นวิชาฟิสิกส์, เลข, วรรณคดี หรืออะไรก็ได้
2.หรือผู้กำกับต้องการจะเสียดสีตัวละครพวกนี้ เพราะในขณะที่สมาชิกใน THE BANDAGE CLUB ต้องการทำความเข้าใจกับความเจ็บปวดของเพื่อนมนุษย์ และต้องการจะเยียวยาความเจ็บปวดนั้น แต่พวกเขากลับไม่สนใจความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัสที่ญี่ปุ่นเคยก่อไว้กับหลายประเทศในเอเชียในอดีต
3.แต่ดิฉันก็ไม่รู้ว่าหลักสูตรที่สอนตามโรงเรียนไฮสกูลในญี่ปุ่นเป็นยังไง มีความเป็นไปได้สูงมากที่การสอนเรื่องสงครามโลกครั้งที่สองตามโรงเรียนในญี่ปุ่น คงไม่ได้มีเนื้อหาใกล้เคียงกับในหนังสือ THE RAPE OF NANKING ก็เลยไม่แน่ใจว่าผู้กำกับอาจจะต้องการเสียดสี “หลักสูตรเรื่องสงครามโลกครั้งที่สอง” ตามโรงเรียนก็ได้ มากกว่าจะเสียดสีตัวละคร
อย่างไรก็ดี ดิฉันเดาว่าสิ่งที่อาจจะมีความเป็นไปได้สูงก็คือ ผู้กำกับอาจจะไม่ได้คิดอะไรกับประเด็นนี้เลยก็ได้ แต่มันก็ทำให้ดิฉันรู้สึกตะขิดตะขวงใจอยู่เล็กน้อย ที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้พยายามจะทำความเข้าใจกับความเจ็บปวดของเพื่อนมนุษย์ แต่กลับเบื่อหน่ายเรื่องราวความเจ็บปวดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
พูดถึงประเด็นนี้ ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่ามีหนังที่อยากดูมากๆ 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ
THE LITTLE WHITE GIRL HAD TO BOW HER HEAD FOR EMPEROR HIROHITO (2003, Frans Buyens + Lydia Chagoll)
http://filmref.com/notes/archives/2008/07/the_little_white_girl_had_to_b.html
THREE YEARS WITHOUT GOD (1976, Mario O’Hara, Philippines)
http://criticafterdark.blogspot.com/2007/02/tatlong-taong-walang-diyos-three-years.html
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment