Wednesday, February 24, 2016

HERITAGE FROM KING MONKUJ (1954, Prince Sukarawandis Diskul, A+15)

HERITAGE FROM KING MONKUJ (1954, Prince Sukarawandis Diskul, A+15)
มรดกพระจอมเกล้า (1954, ม.จ.ศุกรวรรณดิศ ดิศกุล)

1.เป็นหนังที่มีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์จริงๆ สมควรแล้วที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ แต่มันเป็นคุณค่าในเชิง “ประวัติศาสตร์” นะ แต่ในแง่ aesthetics หรืออะไรพวกนี้แล้ว เราว่ามันดีในระดับนึงน่ะ แต่ไม่ได้ดีถึงขั้นสุดยอดอะไรแบบนั้น

คือพอเปรียบเทียบหนัง propaganda เรื่องนี้กับหนัง propaganda ของคอมมิวนิสต์แล้ว เราจะชอบหนัง propaganda ของคอมมิวนิสต์มากกว่า พวกหนังของผู้กำกับโซเวียตยุคเก่าอย่าง Sergei Eisenstein, Vsevolod Pudovkin, Alexander Dovzhenko, Mikhail Kalatozov ซึ่งหนังโฆษณาชวนเชื่อของโซเวียตพวกนี้ น่าจะส่งอิทธิพลมาถึงหนังคอมมิวนิสต์เวียดนาม อย่าง THE WILD FIELD (1979, Nguyen Hong Sen, A+30) ด้วย

คือ THE WILD FIELD เป็นหนังโฆษณาชวนเชื่อของเวียดนามที่ด่าสหรัฐอเมริกาอย่างรุนแรง ส่วน “มรดกพระจอมเกล้า” เป็นหนังโฆษณาชวนเชื่อที่เชิดชูสหรัฐอย่างรุนแรง แต่ถ้าหากเอาหนังสองเรื่องนี้มาเทียบกันแล้ว เราชอบ THE WILD FIELD มากกว่าประมาณ 30 เท่าค่ะ

2.แต่ก็ไม่ใช่ว่า “มรดกพระจอมเกล้า” ไม่ใช่หนังดีนะ จริงๆแล้วเราชอบมันมากพอสมควรแหละ เพียงแต่เมื่อกี้เราเอามันไปเทียบกับหนัง propaganda ระดับสุดยอดของโลกเท่านั้นเอง 555

ถ้าหากเทียบกับหนังไทยด้วยกันเองแล้ว มันก็น่าสนใจเหมือนกันนะว่า หนังเรื่องนี้ทำขึ้นเพื่อออกฉายตามโรงหนังปกติ หรือทำขึ้นเพื่อออกฉายที่ไหน เพราะเราว่ามันเหมือนกับเป็นหนังที่เหมาะออกฉายตามโรงเรียนมัธยมหรือโรงเรียนประถมทั่วประเทศเพื่อสอนประวัติศาสตร์ให้เด็กนักเรียนมากกว่าที่จะออกฉายตามโรงหนังทั่วไป

คือเราชอบที่หนังมันไม่ได้พยายามจะสร้างความบันเทิงแบบหนังปกติน่ะ มันก็เลยประหลาดดี เพราะปกติพอเรานึกถึงหนังเก่าของไทย เราก็มักจะนึกถึงแต่หนัง mainstream ที่เน้นสร้างความบันเทิงเป็นหลัก แต่หนังเรื่องนี้แทบจะไม่บันเทิงเลย มันเป็นหนังที่สร้างขึ้นมาเพื่อโฆษณาชวนเชื่อผ่านทางการให้ความรู้แก่ผู้ชมโดยมีเจตนาแอบแฝง การที่มันแตกต่างจากหนังบันเทิง mainstream ทั่วๆไปอย่างมากๆแบบนี้ ทำให้มันน่าสนใจมากๆ

3.ชอบที่มันทำให้ “บุคคลในประวัติศาสตร์” ในแบบเรียนกลายเป็นตัวละครในหนัง ทั้งร.4, ร.5, กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หมอบรัดเลย์ และมีการพูดถึงปัญหาฝีดาษ, ประวัติศาสตร์ของโรงเรียนแพทย์แห่งแรกในประเทศไทย, และความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาในการแก้ไขปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในไทยด้วย คือเราชอบความเป็น educational film ของมันน่ะ คล้ายๆกับที่เราชอบ LINCOLN (2012, Steven Spielberg) และ THE BIG SHORT (2015, Adam McKay) ที่ทำให้ “ภาพยนตร์” กับ “ตำราเรียน” มาบรรจบกันได้เหมือนกัน


4.แต่จุดสำคัญที่ทำให้เราไม่ปลื้มกับหนังเรื่องนี้ก็คือว่า ถึงแม้ว่าความเป็น educational film ของมันจะทำให้มันแตกต่างจากหนังกระแสหลัก แต่เนื้อหาที่หนังเรื่องนี้บอกสอนผู้ชม มันก็ตรงกับ “ประวัติศาสตร์กระแสหลัก” น่ะ มันตรงกับสิ่งที่เราถูกบอกสอนมาตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถึงแม้หนังเรื่องนี้จะแปลกในแง่ความเป็น educational film แต่สิ่งที่หนังเรื่องนี้ educate เรากลับไม่ใช่สิ่งใหม่ที่น่าสนใจอะไรมากนัก หนังเรื่องนี้ก็เลยไม่ใช่หนังที่เราชอบสุดๆเป็นการส่วนตัวจ้ะ


รูปไม่ได้มาจากหนังเรื่องนี้นะ แต่หนังเรื่องนี้พูดถึงหมอบรัดเลย์ เราก็เลยเอารูปนี้มาใช้

No comments: