BANGKOK JOYRIDE: CHAPTER 2 – SHUTDOWN BANGKOK (2017, Ing K.,
documentary, A+15)
1.ตอนดูจะนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง “ทวาทศมาส” (2013,
Punlop Horharin, 222min) ในแง่ที่ว่า เราไม่ได้ชอบทั้ง “เทคนิค” และ
“เนื้อหา” ของทั้งหนังเรื่องนี้และทวาทศมาส แต่ชอบที่หนังได้บันทึกสิ่งต่างๆเอาไว้
คือการที่หนังสองเรื่องนี้ได้บันทึกสิ่งต่างๆเหล่านี้เอาไว้มันน่าจะมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไปน่ะ
สรุปว่าเราไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้ทั้งในแง่ filmmaking และ attitude
แต่ชอบที่มันเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ และในแง่นึงมันคือ jigsaw
ที่หายไปสำหรับเรา เพราะเราได้ดูหนังเรื่อง THIS FILM HAS BEEN INVALID (2014, Watcharapol Saisongkroh), THIS FILM HAS
BEEN INVALID TOO (2014, Theeraphat Ngathong), I WISH THE WHOLE COUNTRY WOULD
SINK UNDER WATER (2014, Theeraphat Ngathong), AWARENESS ภาษาที่เธอไม่เข้าใจ
(2014, Wachara Kanha), ท้องฟ้าในวันที่ 1 พฤศจิกายน
พุทธศักราช 2556 (2013, Theeraphat Ngathong), ถาม-ตอบ (2014,
Patiparn Amorntipparat), MYTH OF MODERNITY (2014, Chulayarnnon Siriphol), etc. ไปแล้ว มันก็เหมือนกับว่าเราได้ดู jigsaws
ของมุมมองเหตุการณ์จากทางฝั่งเราไปมากแล้ว การได้ดูหนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนช่วยให้เราได้เห็น
jigsaw ของอีกฝั่งนึง
2.เราชอบหนังเรื่องนี้ในแง่บันทึกทางประวัติศาสตร์ในแง่ที่ว่า
อย่างน้อยมันก็บันทึกไว้ว่า ผู้ที่ต่อสู้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในตอนนั้น
มี “สิทธิและเสรีภาพ” มากน้อยเพียงใดในการแสดงออกถึงสิ่งที่ตัวเองคิด ผู้ชมสามารถเห็นได้ว่า
คนแต่ละคนในกลุ่มนี้ “สามารถพูดและทำอะไรได้บ้าง” หรือ “สามารถแสดงความเกลียดชังได้ทางการกระทำใดบ้าง”
และผู้ชมแต่ละคนก็สามารถเปรียบเทียบได้เองว่า ฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับคนกลุ่มนั้นมี “สิทธิและเสรีภาพ”
มากน้อยเพียงใดในการแสดงออกแบบเดียวกัน โดยเฉพาะในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
3.เมื่อวานเพิ่งดูหนังเรื่อง COLD SKIN (2017, Xavier Gens, A+30)
และไปๆมาๆปรากฏว่า
ประโยคเปิดของหนังเรื่องของ COLD SKIN วนเวียนอยู่ในหัวของเราตลอดเวลาที่ดู
BANGKOK JOYRIDE ภาคสอง โดยประโยคเปิดของหนังเรื่อง COLD
SKIN เป็นการ quote คำพูดของ Friedrich
Nietzsche ที่ว่า
No comments:
Post a Comment