Monday, September 10, 2018

THE RIVER FLOWS (2016, Makoto Kumazawa, Laos/Japan, A+30)


THE RIVER FLOWS สายน้ำไหล (2016, Makoto Kumazawa, Laos/Japan, A+30)

1. ว้าย ทำไมฉันดูแล้วซึ้งมาก สงสัยฉันเป็นโรคบ้าผู้ชาย 555 ชอบมากๆที่ฉากที่ซึ้งที่สุดในหนังเรื่องนี้สำหรับเรา ไม่ใช่ฉากที่มีพระเอกนางเอกอยู่บนจอ แต่เป็นฉากที่ถ่ายภาพเขื่อนน้ำงึมไปเรื่อยๆ ถ่ายห้องควบคุมเขื่อน ถ่ายสันเขื่อน ถ่ายที่ตั้งเขื่อน ถ่ายป้ายจารึกเขื่อน รู้สึกว่าหนังประสบความสำเร็จในการหลอกคนดูบางคน อย่างเช่นเรา ให้รู้สึกซาบซึ้งตรึงใจไปกับความยากลำบากในการก่อสร้างเขื่อน และการดำรงอยู่ของเขื่อนได้เป็นอย่างดี

2.ถือเป็นหนัง propaganda ที่ประสบความสำเร็จสำหรับเรานะ คือดูแล้วก็เคลิ้มไปกับบทบาทของญี่ปุ่นในฐานะผู้วางรากฐานด้าน infrastructure ให้ลาว ซึ่งตรงนี้จะคล้ายหนังกัมพูชาเรื่อง BEYOND THE BRIDGE (2016, Kulikar Sotho) ที่นำเสนอบทบาทของญี่ปุ่นในฐานะผู้วางรากฐานด้าน infrastructure ให้กับกัมพูชาด้วยเหมือนกัน  และเราก็เคลิ้มไปกับ "ด้านบวก และด้านลบ" ของวิถึชาวบ้าน ตามที่ทางการลาวต้องการให้เรามองด้วย คือทางการลาว คงต้องการจะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่า การเป็นเกษตรกรเป็นสิ่งที่ดี, ความเชื่อเรื่องบั้งไฟพญานาคเป็นสิ่งที่ดี แต่ความเชื่อเรื่องพญานาคในแบบที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการสร้างเขื่อนเป็นสิ่งที่ไม่ดี 555

3.แน่นอนว่าจุดพลิกผันของหนัง ดูฝืนมากๆ คือดูแล้วไม่เชื่อว่าชาวบ้านจะกลับใจหันมาช่วยพระเอกง่ายๆแบบนั้น แต่เรามองว่ามันตลก และไม่ได้รู้สึกแย่กับมันมากนัก อาจจะเป็นเพราะมันเป็นหนังลาว เราก็เลยไม่รู้ว่าทางการลาวเข้ามาควบคุมทิศทางหรือบทภาพยนตร์ของหนังเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน

4.ชอบที่หนังใส่ประเด็นเรื่องชาวบ้านอาจจะต้องอพยพย้ายถิ่นเพราะการสร้างเขื่อนเข้ามาด้วย

5.เราว่าหนังมีจุดยืนทางการเมืองที่ประหลาดดี อาจจะเป็นเพราะมันเป็นหนังที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทางการลาวก็ได้มั้ง หนังมันก็เลยต้องสนับสนุนการสร้างเขื่อน

คือเหมือนเราแทบไม่ได้ดูอะไรที่สนับสนุนการสร้างเขื่อนมานานมากแล้วน่ะ ที่นึกออกก็มีละครทีวีช่อง 7 เรื่อง “ชาวเขื่อน” (1981) ที่ไม่ได้พูดถึงการสร้างเขื่อนในทางลบ เพราะหนังหลายๆเรื่องที่เราดูในระยะหลัง ทั้ง BEFORE THE FLOOD (2005, LIi Yifan, Yan Yu, China, docunentary), BINGAI (2007, Feng Yan, China, documentary), MY GRANDPA’S ROUTE HAS BEEN FOREVER BLOCKED (2012, Sutthirat Supaparinya), แถวนี้แม่งเขื่อน ไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้ (2012, Pairach Khumwan, Siriporn Kongma, Patchara Eaimtrakul, documentary), ARPOR (2017, Paisit Wangrungseesathit, documentary) ก็ดูเหมือนจะนำเสนอด้านลบจากการสร้างเขื่อนมากกว่าด้านบวก

6.สิ่งที่ขัดใจในหนัง ก็คือการถ่าย long shot ในหลายๆฉากค่ะ คือจริงๆแล้วการถ่าย long shot แบบนี้เป็นสิ่งปกติในหนัง “อาร์ตนิ่งช้า” ของเอเชียนะ เพราะช็อตแบบนี้มันจะเน้นบรรยากาศ และมันจะช่วยให้หนังไม่เร้าอารมณ์จนเกินไป อารมณ์ในแต่ละฉากจะเจือจางลงเพราะการถ่าย long shot

แต่แหม คุณขา พระเอกเขาหล่อน่ารักดีน่ะค่ะ คุณช่วยถ่าย close up หน้าเขาบ่อยๆหน่อยได้ไหมคะ มึงจะถ่าย long shot ทำไมคะ กูอยากดูหน้าพระเอกใกล้ๆค่ะ กูอยากรู้สึกว่า กูแลบลิ้นออกไป ก็ได้เลียใบหน้าเขาแล้ว มึงจะถ่าย long shot บ่อยๆทำไม กูอารมณ์เสีย มันเสียของมากนะคะ cast นักแสดงหนุ่มหล่อน่ารักมาเล่น แล้วมึงก็ถ่าย long shot ซะแบบนี้ 555

7.ในบรรดาหนัง “ญี่ปุ่น-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่ได้ดูในระยะนี้ เราเรียงตามลำดับความชอบได้ดังนี้

7.1 BANGKOK NITES (2016, Katsuya Tomita, Japan-Thailand)

7.2 PASSAGE OF LIFE (2017, Akio Fujimoto, Japan-Myanmar)

7.3 RAMEN TEH (2018, Eric Khoo, Japan-Singapore)

7.4 BEYOND THE BRIDGE (2016, Kulikar Sotho, Japan-Cambodia)

7.5 THE RIVER FLOWS (2016, Makoto Kumazawa, Japan-Laos)

7.6 PIGEON (2016, Isao Yukisada, Japan-Malaysia)

จริงๆแล้ว RAMEN TEH, BEYOND THE BRIDGE กับ THE RIVER FLOWS นี่ชอบพอๆกัน ตัดสินไม่ได้ว่าชอบเรื่องไหนมากกว่ากัน




No comments: