TIME SPLITS IN THE RIVER (2016,
Huang I-chieh, Liao Xuan-zhen, Lee Chia-hung, Wang Yu-ping, Taiwan,
documentary, A+30)
1.ชอบความประหลาดของหนังมาก ๆ รู้สึกว่าโครงสร้างของมันปร ะหลาดดี เพราะครึ่งแรกเป็น fiction ที่เล่าเรื่องปัญหาการเมือง ในไต้หวันในทศวรรษ 1980 โดยเป็น fiction
แบบค่อนข้าง minimal เล่าเรื่องแบบไม่ต้องเน้นการแสดงที่สมจริงและฉากที่สมจริงมากนัก
ส่วนครึ่งหลังก็เป็นสารคดีหนุ่มสาวคุยกับพ่อแม่ตัวเอง
ซึ่งปรากฏว่าจริงๆแล้วพ่อแม่ของแต่ละคนก็ไม่ได้เป็นนักโทษการเมืองหรือ activists
แต่อย่างใด แต่เป็นคนธรรมดาที่หลีกเลี่ยงจากปัญหาทางการเมืองซะล่ะมากกว่า
1.ชอบความประหลาดของหนังมาก
การตัดจาก part fiction เข้าสู่ documentary
นี่สร้างความตกตะลึงให้เราได้ดีพอสมควร ดูแล้วนึกถึง THE
MIRROR (1997, Jafar Panahi, Iran) ที่มีการเปลี่ยนจาก fiction
เป็น documentary ได้อย่างน่าสนใจมากๆเหมือนกัน
2.ในช่วงครึ่งแรกของหนัง เราชอบทั้ง form และ content นะ โดยในส่วนของ form นั้น เราจะนึกถึงหนังอย่าง PARTAGE DE MIDI (Claude Mourieras), THE SCREEN ILLUSION
(Mathieu Amalric) และ BREMEN FREEDOM (Rainer Werner Fassbinder) น่ะ เพราะหนังพวกนี้จะไม่แคร์ความสมจริงด้าน “สิ่งแวดล้อม”
หรือ “การจัดฉาก” คือหนังพวกนี้มันเน้นฉากที่ไม่สมจริงไปเลย แต่มันก็ “เล่าเรื่อง”
ได้ดีมากๆ
ในส่วนของ content
นั้น เราดูแล้วนึกถึง NATIONAL SECURITY 1985 (2012,
Ji-yeong Jeong, South Korea) นะ เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้
ทำให้เรารู้สึกขนพองสยองเกล้ากับการทำร้ายผู้เห็นต่างทางการเมืองเหมือนๆกัน
แต่ก็ยังดีที่เกาหลีใต้และไต้หวัน มาถึงยุคที่สามารถเล่าเรื่อง “การที่รัฐบาลทำร้ายผู้เห็นต่างทางการเมือง”
ได้แล้ว แต่ไทยอาจจจะยังไม่สามารถทำหนังที่พูดถึงเรื่องพวกนี้ได้อย่างเต็มที่
เพราะไทยยังคงอยู่ในยุคที่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ เหตุการณ์เหล่านี้ยังคงเป็น “ปัจจุบัน”
ของไทย แต่เป็น “อดีต” ไปแล้วสำหรับเกาหลีใต้และไต้หวัน
3.ในส่วนครึ่งหลังของหนังนั้น
ดูแล้วก็ประทับใจมาก คือปกติแล้วหนังที่พูดถึงพ่อแม่ของผู้กำกับ
มักจะสะท้อนชีวิตของตัวพ่อแม่ผู้กำกับไปเลยโดยตรง
แต่หนังเรื่องนี้กลับเอาประเด็นการเมืองมาเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้กำกับกับพ่อแม่เข้าด้วยกัน
ช่วงครึ่งหลังดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง A SUNNY DAY (2016, Ying Liang, Hong Kong/Netherlands) นะ เพราะ A SUNNY DAY ก็เล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกสาว ผ่านทางแง่มุม “การเมือง” เป็นหลักเหมือนๆกัน
No comments:
Post a Comment