Tuesday, February 26, 2019

26 FEB-4 MAR 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 9
26 FEB-4 MAR 1989

1. FOUR LETTER WORD – Kim Wilde

2. AI GA TOMARANAI – Wink

3. WITCHES – Miho Nakayama

4. I ONLY WANNA BE WITH YOU – Samantha Fox

5. I WANNA HAVE SOME FUN – Samantha Fox (New Entry)

6. LOST IN YOUR EYES – Debbie Gibson https://www.youtube.com/watch?v=8Ms3mJFkSeg

7. HOLD ME IN YOUR ARMS – Rick Astley https://www.youtube.com/watch?v=DqZS89jFCFg

8. TRUE LOVE – Yui Asaka

9. ANNIVERSARY – Shohjo-tai

10. BABY, I LOVE YOUR WAY/FREEBIRD MEDLEY – Will to Power (New Entry)

Sunday, February 24, 2019

HAPPY DEATH DAY 2U (2019, Christopher Landon, A+25)


HAPPY DEATH DAY 2U (2019, Christopher Landon, A+25)

1.ชอบความพยายามจะทำตัวเป็นหนังไซไฟ แม้จะออกมาดูบ้าๆบอๆ 555 คือภาคแรกเหมือนผสม SCREAM + GROUNDHOG DAY + FINAL DESTINATION เข้าด้วยกัน แต่ภาคนี้เอาเรื่อง จักรวาลคู่ขนาน เข้ามาผสมด้วย

2.ถึงแม้หนังเรื่องนี้จะมีบางอย่างที่ทำให้นึกถึง FINAL DESTINATION แต่จริงๆแล้ว มันก็มีความตรงข้ามกันอยู่ด้วย เพราะหนังชุด FINSL DESTINATION มันทำให้เราหดหู่มากๆกับความจริงที่ว่า ไม่มีใครหลีกเลี่ยงความตายได้พ้น แต่หนังชุด HAPPY DEATH DAY มันสร้างโลกแฟนตาซีที่น่าสนใจมากๆสำหรับเราขึ้นมา เพราะมันเป็นโลกที่ "เราไม่จำเป็นต้องรับผิดใดๆกับการกระทำของเราอีกต่อไป" เพราะเดี๋ยวเราก็จะตายในคืนวันนั้น แล้วก็ย้อนกลับไปใช้ชีวิตวันนั้นใหม่ แก้ไขข้อผิดพลาดใหม่ได้

การฆ่าตัวตายของนางเอกหลายๆรอบอย่างสนุกสนานในหนังภาคสองนี้ มันเลยก่อให้เกิดโลกแฟนตาซีที่น่าสนใจมากๆสำหรับเรา มันเหมือนเป็นการตอบสนองความปรารถนาด้านมืดลึกๆของมนุษย์บางคนน่ะ คือในโลกแห่งความเป็นจริง และในหนัง 95 % (ยกเว้นหนังชุด GANTZ และหนังกลุ่มย้อนเวลา) เราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้แม้แต่เพียงวินาทีเดียว ถ้าหากเราตัดสินใจอะไรผิดพลาดไปแล้ว บางทีเราอาจต้องแบกรับความเสียหายจากมันไปทั้งชีวิต และถ้าเมื่อใดที่เราตาย เราก็ตายไปเลย ฟื้นคืนชีพตามใจชอบไม่ได้

แต่โลกของ HAPPY DEATH DAY มันสร้างกฎเกณฑ์บางอย่างขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงอะไรแบบนี้ได้ มันเหมือนกับว่า ถ้าหากเราได้เข้าไปอยู่ในหนังเรื่องนี้ แล้วเราเกลียดคนสัก 10 คน และเราอยากร่วมรักกับหนุ่มหล่อสัก 36 คน เราก็อาจจะตอบสนองความต้องการของเราได้อย่างสบายๆเลยน่ะ คือถ้าหากเราเกลียดใครสักคนนึง เราก็เอาปลาร้าไปสาดใส่หน้ามัน แล้วเราก็ฆ่าตัวตาย แล้วเราก็เริ่มต้นวันนั้นใหม่ เราไม่ต้องรอรับผลใดๆทั้งในทางกฎหมายหรือทางสังคมจากการเอาปลาร้าไปสาดใส่หน้าคนที่เราเกลียด หรือถ้าหากเราเงี่ยนมาก เราก็เอากับผู้ชายได้ตามสบาย แล้วก็ฆ่าตัวตาย แล้วก็เริ่มต้นวันนั้นใหม่ เพื่อเอากับผู้ชายอีกคน เราไม่ต้องกลัวติดโรคหรือตั้งครรภ์อะไรใดๆเลย

เราก็เลยชอบ “โลกแฟนตาซี” ใน HAPPY DEATH DAY 2U มาก มันไปไกลกว่าการย้อนเวลาแบบ BACK TO THE FUTURE อีก เพราะโลกแฟนตาซีแบบใน HAPPY DEATH DAY 2U นั้น มันเป็นโลกที่เราแทบไม่ต้อง “รับผิดกับการกระทำใดๆของเราอีกต่อไป”

เพราะฉะนั้น พอดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว เราก็เลยเศร้า 555 เพราะเราต้องกลับเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง โลกที่เราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้เลยแม้แต่เพียงเสี้ยววินาทีเดียว สิ่งใดก็ตามที่เราพูดหรือทำไปในวินาทีใดก็ตามของวันใดก็ตาม เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถย้อนกลับไปลบล้างมันได้ เราต้องรับผิดชอบกับทุกสิ่งที่เราทำไปในทุกๆวินาที กรรมทุกอย่างที่เราทำจะติดตัวเราตลอดไป

3.แต่หนังเรื่องนี้ก็ปลอบประโลมเราด้วยประโยคและคำสอนในหนังนะ มันก็คือคำสอนในทำนองที่ว่า “ทุกความสูญเสียที่เราเผชิญมาในชีวิต ทุกความเจ็บปวดที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเรา มันทำให้เราเป็นตัวเราในปัจจุบันนี้ เราไม่สามารถเป็นตัวเราในปัจจุบันนี้ได้ ถ้าหากเราไม่ได้ผ่านความสูญเสียและความเจ็บปวดเหล่านั้นมาแล้ว” ซึ่งก็เป็นคำสอนที่ซึ้งดี

COLUMBUS (2017, Kogonada, A+30)


COLUMBUS (2017, Kogonada, A+30)

1.งดงามมากๆ รู้สึกเหมือนได้เดินทอดน่องยามบ่ายแก่ๆ คุยกับเพื่อนที่เป็นไกด์ และเขาพาเราชมสถาปัตยกรรมในเมืองต่างจังหวัดแห่งนึงที่มีความเจริญพอสมควร ขอบอารมณ์สบายๆในหนังเรื่องนี้มากๆ ในแง่นึงมันทำให้นึกถึงอารมณ์ "คุยกับเพื่อน" แบบในหนัง Eric Rohmer แต่ในหนังเรื่องนี้มันให้อารมณ์ “เดินเล่นกับเพื่อน”

2.ชอบที่หนัง focus ไปที่สถาปัตยกรรม modern มากๆ คือจริงๆแล้วเราเป็นคนที่ไม่มีความรู้และไม่มีความสนใจในเรื่องสถาปัตยกรรมเลย แต่หนังเรื่องนี้เหมือนกับบอกเราว่า “ลองสังเกตอาคารบ้านเรือนต่างๆดูสิ คุณมองเห็นความงามของมันมั้ย คุณรู้สึกอะไรเมื่อคุณมองเห็นอาคารบ้านเรือนเหล่านี้”  มันเหมือนกับหนังเรื่องนี้สอนให้เรามองเห็นความงามของสิ่งที่เรามักจะมองข้ามไปในชีวิตประจำวันน่ะ เหมือนกับที่หนังอย่าง TIME WITHIN TIME (2009, Menno Otten) สอนให้เรามองเห็นความงามของใบหน้าผู้คนตามท้องถนน,หนังอย่าง NIGHT (2013, Teeranit Siangsanoh) ที่สอนให้เรามองเห็นความงามของแสงไฟนีออนในยามค่ำคืน หรือหนังอย่าง “จิตและใจ” (2013, Teeranit Siangsanoh) ที่ทำให้เรารู้จัก appreciate ลมและเสียงของลม ขณะนั่งรถมอเตอร์ไซค์ คือหนังกลุ่มนี้มันเหมือนกับมอบดวงตาใหม่ๆหรือประสาทสัมผัสใหม่ๆให้แก่เรา

3.ชอบที่หนังเอาสถาปัตยกรรมมาใส่ในความเป็น narrative ชีวิตตัวละครด้วย มันทำให้อารมณ์ในหนังดูละมุน มีชีวิตมากขึ้น คือถ้าหากถอดชีวิตตัวละครออกไป มันก็อาจจะได้หนังอย่าง VACANCY (1999, Matthias Müller) ที่พูดถึงสถาปัตยกรรมในกรุงบราซิเลีย หรือหนังอย่าง GIBELLINA – THE EARTHQUAKE (2007, Joerg Burger, documentary, Austria/Italy) ที่พูดถึงงานประติมากรรมในเมืองหนึ่งในอิตาลีน่ะ คือหนังแบบนี้มันทำให้เราได้ชื่นชมงานประติมากรรม, สถาปัตยกรรมยุคใหม่ก็จริง แต่พอมันไม่ผูกพันกับชีวิตตัวละคร อารมณ์มันก็จะดูไม่ละมุนเท่า COLUMBUS คือมันเหมือนเราต้องสัมผัสกับ “อิฐ หิน ดิน ปูน กระจก” โดยตรง แต่หนังอย่าง COLUMBUS เราไม่รู้สึกว่าเราต้องสัมผัสกับวัสดุก่อสร้างโดยตรง เพราะมันมีชีวิตตัวละครที่นุ่มละมุนมาเป็นสื่อกลางระหว่างเรากับตัวอาคาร

4.ชอบที่มันเลือกพูดถึงสถาปัตยกรรม modern ด้วย เพราะเหมือนเวลามีการพูดถึงอาคาร หลายคนมักจะ focus ไปที่อาคารเก่าๆที่อยู่มาเป็นร้อยปี มันมีประวัติความเป็นมายังไง มันเคยรองรับชีวิตคนเมื่อร้อยกว่าปีก่อนยังไงบ้าง คืออาคารเก่าๆเหล่านี้มันมีคุณค่าในแง่การสะท้อนอดีต ชีวิตคนในอดีต ประวัติศาสตร์อะไรพวกนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคน หลายโครงการทำกันอยู่แล้ว อย่างเช่นเทศกาลภาพยนตร์ยุโรปปี 2018 ที่เลือกไปจัดตามอาคารโบราณหลายแห่งในกรุงเทพ

เราก็เลยชอบมากที่ COLUMBUS มันเน้นอาคารยุคใหม่ มันเป็น focus ที่แปลกออกไป

คือดูเสร็จแล้วอยากให้มีคนไทยทำหนังแบบนี้บ้าง โดยเปลี่ยนมาเป็นเมืองอื่นๆในไทยแทน หรือในกรุงเทพก็ได้ มีตัวละครหนุ่มสาวไปชื่นชม “เสาโรมัน” ของห้าง SOGO/อัมรินทร์พลาซ่า อะไรทำนองนี้ 555 คือคิดว่าจริงๆแล้วหนังแบบนี้อาจจะทำไม่ยากมากก็ได้ คือเลือกสถาปนิกหนุ่มหล่อสักคนมาเป็นพระเอก แล้วเขาก็พานางเอก/พระเอกอีกคน ไปเดินเที่ยวสังเกตดูอาคารอะไรต่างๆในเมือง ผู้ชมดูหนังแบบนี้แล้วก็ได้รับ “ความรู้” ตามไปด้วย

5.ตกหลุมรัก John Cho อย่างรุนแรงจากหนังเรื่อง SEARCHING (2018, Aneesh Chaganty) แต่ปรากฏว่ารู้สึกเฉยๆกับเขาในหนังเรื่องนี้ แสดงว่าเราไม่ได้ชอบหน้าตาของเขามากเท่าที่คิดแฮะ เพราะหน้าตาของเขาเหมือนเดิม มันคงเป็นเพราะ “บุคลิก” ของตัวละครต่างหาก เราคงชอบความเป็น family man ของเขาใน SEARCHING แต่ใน COLUMBUS เขาดูเหมือนเป็นผู้ชายที่วางมาดเท่ๆ เราก็เลยไม่ชอบ

6.ดีใจที่ Parker Posey ยังมีงานทำ 555

Saturday, February 23, 2019

THE DESTRUCTION OF MEMORY (2016, Tim Slade, documentary, A+30)


THE DESTRUCTION OF MEMORY (2016, Tim Slade, documentary, A+30)

1. ในแง่การกำกับอาจจะไม่มีอะไร แต่ชอบข้อมูลในหนังมากๆ มันแน่นดี ชอบที่มันรวบรวมข้อมูลมากมายจากหลายประเทศเข้ามาไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะข้อมูลที่เราไม่เคยรู้มาก่อน อย่างเช่น การทำลาย mausoleum ใน Mali คือเหมือนเหตุการณ์ในประเทศแบบ Mali มันไม่ใช่ข่าวดังในเวทีโลกมั้ง เราเลยไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย ดีที่หนังเรื่องนี้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้มาไว้ด้วย

หนังพูดถึงทั้งการทำลายโบสถ์ของ Armenia, การทำลาย synagogue และบ้านเรือนชาวยิวในยุคนาซี, การทำลายโบสถ์ในเมือง Dresden ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, การทำลายเมือง Dubrovnik ใน Croatia, การทำลายมัสยิดใน Bosnia และ Kosovo, การทำลายห้องสมุดใน Sarajevo, การทำลายสะพานในเมือง Mostar, สงครามอิรัก, การทำลาย Jonah’s Tomb ในเมือง Mosul ของอิรัก, การทำลายพิพิธภัณฑ์ในอิรัก และการล่มสลายของ Palmyra, เมือง Aleppo และประเทศ Syria

2. หนังรู้ตัวดีว่า การ focus ไปที่ “การทำลายสถาปัตยกรรม” แบบนี้ อาจจะทำให้คนจำนวนมากตั้งข้อสงสัยว่า หนังให้ความสำคัญกับ “สถาปัตยกรรม”  มากกว่า “ชีวิตมนุษย์” หรือเปล่า หนังก็เลยรีบชี้ให้เห็นเลยว่า นั่นไม่ใช่จุดยืนของหนัง และหนังต้องการนำเสนอให้เห็นว่า ในหลายๆครั้ง การทำลายสถาปัตยกรรม เป็นสัญญาณเตือนว่า มันจะมีการทำลายชีวิตมนุษย์ตามมา อย่างเช่นในยุคนาซี ที่การทำลายกระจกร้านค้า อาคารบ้านเรือนของชาวยิว เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในเวลาต่อมา หนังไม่ได้มองว่า สถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าชีวิตมนุษย์ แต่หนังต้องการให้มีการแก้ไขกฎหมายว่า การทำลายสถาปัตยกรรมโบราณแบบนี้ ควรจะถือเป็นอาชญากรรมสงครามอย่างหนึ่งด้วย เพราะมันเป็นความพยายามจะลบล้างอัตลักษณ์ของคนบางชาติพันธุ์ให้หายสาบสูญไป บุคคลต่างๆที่จ้องจะทำลายล้างสถาปัตยกรรมเหล่านี้ ต้องการจะเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ เพื่อลบล้างชาติพันธุ์หรือกลุ่มบุคคลที่ตนเองเกลียดชังให้หายไปจากประวัติศาสตร์ การทำลายสถาปัตยกรรมเหล่านี้ มันคือสัญญาณเตือนว่าบุคคลผู้ทำลาย สถาปัตยกรรมต้องการจะเข่นฆ่าทำลายล้างคนบางชาติพันธุ์ให้หายไปด้วย

แน่นอนว่า สิ่งนี้ทำให้นึกถึงประเทศไทย และความพยายามจะทำลายล้างสถาปัตยกรรมของคณะราษฎรในช่วงที่ผ่านมา

3.ปกติเราจะมองว่า รัสเซียเป็นผู้ร้าย แต่หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า มันไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป เพราะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น สหภาพโซเวียตสนับสนุนให้มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้การทำลายสถาปัตยกรรมถือเป็นอาชญากรรมสงครามด้วย (หรืออะไรทำนองนี้) เพราะ Operation Barbarossa ของนาซี ได้สร้างความเสียหายให้โซเวียตเป็นอย่างมาก แต่ปรากฏว่า ประเทศที่คัดค้านเรื่องนี้ คือสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (ถ้าเราจำไม่ผิด) เพราะประเทศกลุ่มนี้กังวลว่า กฎหมายดังกล่าวจะส่งผลให้ประเทศตนเองตกเป็นจำเลย เพราะประเทศเหล่านี้เคยทำลาย “ชนพื้นเมือง” ไปเยอะมาก

4. ชอบกลุ่มผู้ปฏิบัติการเก็บข้อมูลดิจิตัลมากๆ คือหนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า มีคนบางกลุ่มมองว่า สถาปัตยกรรมและประติมากรรมโบราณจำนวนมาก กำลังถูกทำลายโดย ISIS พวกเขาก็เลยพยายามเก็บข้อมูลดิจิตัลของสิ่งเหล่านี้เอาไว้ให้มากที่สุด เพื่อจะได้จำลองภาพ, โมเดล ให้คนรุ่นหลังดูได้

คือดูแล้วทำให้จินตนาการว่า อยากให้มีคนทำแบบนี้บ้างกับชุมชนต่างๆที่กำลังจะถูกเวนคืนที่ดินในกรุงเทพในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้านี้น่ะ หรือบางทีอาจจะมีคนกำลังทำสิ่งนี้อยู่แล้วก็ได้ เราไม่รู้เหมือนกัน

คือบางทีเราก็นึกถึงชุมชนสามย่านที่หายไปแล้วน่ะ ทั้งฝั่งที่กลายเป็นตึกจามจุรีสแควร์ไปแล้วในปัจจุบัน จำได้ว่าเราเคยไปกินข้าวที่สามย่านฝั่งนั้น ก่อนที่มันจะหายไปในราวปี 1990-1991 แล้วต่อมาฝั่งตลาดสามย่าน-โรงหนังสามย่านก็หายไปด้วย

ยังดีที่หนังเรื่อง STUDENT (2005, James Pruttivarasin) เคยบันทึกภาพตลาดสามย่านในปี 2005 เอาไว้, หนังเรื่อง BEHIDE THE WALL (2003, อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา) เคยบันทึกเรื่องชุมชนป้อมมหากาฬเอาไว้ และสารคดีกลางเมืองของ TPBS ตอน ON PROGRESS (2013, Abhichon Rattanabhayon) เคยบันทึกเรื่องสถาปัตยกรรมคณะราษฎรเอาไว้

สรุปว่า ในกรุงเทพเอง มันก็มีชุมชนหรือสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่กำลังจะถูกทำลายไปเช่นกัน ถ้าหากมีคนเก็บข้อมูลดิจิตัลเหล่านี้เอาไว้ มันก็คงจะดี หรือถ้าหากมีคนบันทึกสิ่งเหล่านี้เอาไว้ในรูปแบบภาพยนตร์ มันก็เป็นสิ่งที่ดีมากๆเช่นกัน

Thursday, February 21, 2019

FRIEND ZONE (2019, Chayanop Boonprakob, A+5)


FRIEND ZONE (2019, Chayanop Boonprakob, A+5)

1.หนังมันไม่ได้เลวร้ายนะ แต่หนังมันออกแบบมาอย่างละเอียดในเกือบทุกฉากเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ชมบางกลุ่ม ที่ไม่มีเราเป็นส่วนหนึ่งของผู้ชมกลุ่มนั้นด้วย คือเราจะรู้สึกในเกือบทุกฉากว่ามันเร้าอารมณ์มากเกินไปสำหรับเรา แต่สิ่งที่ผลักไสเราให้ถีบตัวออกห่างจากหนัง คือสิ่งเดียวกับที่สร้างเสียงหัวเราะครื้นเครงให้กับผู้ชมคนอื่นๆอีกหลายคนในโรง ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ คือเราไม่ชอบหนัง แต่ก็เข้าใจและยอมรับได้ว่าหนังเรื่องนี้มันไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อเรา 555

2.เกลียดตัวละครนางเอกอย่างรุนแรงมากๆ 555 คือถ้าหากเราสร้างหนังเอง อีนี่มีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 5 วินาทีในหนังของเรา แล้วก็ต้องถูกฆ่าตายน่ะ คือไม่สามารถทนคนแบบนี้ได้ทั้งในชีวิตจริงและในหนังได้เกิน 5 วินาที

คือถ้าเป็นตัวละครที่จะมีชีวิตอยู่ได้ในหนังของเรา เวลาเธอสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ เธอก็คงไปซื้อเครื่องมือมาตรวจ แล้วก็ตรวจเลย รู้ผลเลย จบ ไม่ต้องมีการขอความช่วยเหลืออะไรจากใครเลยแม้แต่นิดเดียวในขั้นตอนนี้ และไม่มีการเสียเวลาแม้แต่วินาทีเดียวให้กับการยืดเวลาไม่ยอมตรวจ เพราะวิธีการแก้ความกังวลใจก็คือรีบตรวจให้รู้ผลโดยเร็วที่สุด ไม่ใช่ไม่ยอมตรวจ ต้องสร้างความยากลำบากให้เพื่อนก่อน แล้วก็กังวลใจไปเรื่อยๆก่อน อีเหี้ย

3.ตัวละครพระเอกก็ไม่ใช่ romantic fantasy ของเราด้วย คือเราเกลียดนางเอกอย่างรุนแรงแล้ว พระเอกก็ไม่ให้อารมณ์พาฝันกับเราอีก คือนักแสดงหล่อมากก็จริง แต่เราไม่อยากได้ผู้ชายที่มีนิสัยแบบนี้มาเป็นแฟนน่ะ

คือตอนแรกเรานึกว่า หนังจะพูดถึงตัวละครที่ “ไม่แน่ใจว่าเรารักเขาแบบเพื่อน หรือเรารักเขาแบบแฟน หรือเรารักแค่อวัยวะเพศของเขา หรือเรารักเขาในแบบที่ไม่มีคำนิยาม” อะไรทำนองนี้ แต่นี่คือช่วงต้นเรื่อง พระเอกก็รู้ตัวแล้วว่า เขารักนางเอกแบบแฟน ไม่ใช่แบบเพื่อน แล้วมึงก็ปากหนัก อมพะนำไปทำไม คือถ้าปัญหาแค่นี้มึงยังแก้ไม่ได้ เราก็รู้สึกว่า นี่ไม่ใช่ “พระเอกในฝัน” ของเราน่ะ ผู้ชายที่แก้ปัญหาแค่นี้ยังไม่ได้ แล้วจะเป็น “ที่พึ่ง” ของเราได้ยังไงกัน

4.ช่วงแรกๆก็ดูเลยหนังด้วยอารมณ์เสียมาก เกลียดนางเอกอย่างรุนแรง ไม่ชอบนิสัยของพระเอกด้วย คือระดับความชอบแค่ประมาณ B เท่านั้น แต่พอฉากอ่างเบียร์ ที่มีการเผยความในใจ มีการพูดกันตรงๆ เราก็เลยค่อยจูนติดกับตัวละครได้ ชอบความอิหลักอิเหลื่อ ความพิพักพิพ่วน ความ dilemma ความตัดสินใจได้ยาก คือตั้งแต่ฉากอ่างเบียร์เป็นต้นมา ระดับความชอบก็ค่อยๆไต่จาก B ขึ้นมาเรื่อยๆ 555

5.แต่เราไม่ค่อยมีปัญหากับความรวยของตัวละครนะ คือความรวยของตัวละครทำให้เรา “ไม่อินกับตัวละคร” แต่ก็ไม่ได้ผลักเราออกห่างจากตัวละครมากนัก และเราไม่มีปัญหากับ “ความพยายามจะสร้างหนังโฆษณาขนาดยาว” ด้วย เพียงแต่ว่าหนังเรื่องนี้มันเป็นโฆษณาที่ใช้ style ที่เราไม่ชอบเท่านั้นเอง นั่นก็คือ style ที่พยายามจะเร้าอารมณ์ตลอดเวลา

คือถ้าเป็นในจินตนาการของเรานะ เราอยากให้หนังเรื่องนี้เป็นโฆษณาสายการบินขนาดยาวที่ใช้ situation เดียวไปเลย คือนางเอกอกหักจากผัวมีชู้ นางเอกก็เลยชวนเพื่อนสนิทหนุ่มหล่อขึ้นเครื่องบินไปบาหลีหรืออะไรก็ได้ที่ใช้เวลาบิน 2 ชั่วโมง แล้วนางเอกกับเพื่อนสนิทก็คุยกันไปเรื่อยๆ รำลึกความหลังกัน คุยเรื่องจิปาถะกัน เผยปมเจ็บปวดในใจต่อกัน ตัดสินใจสารภาพรักกัน ตัดสลับกับฉากแอร์โฮสเตสและสจ็วตหนุ่มหล่อที่มาบริการพระเอกนางเอกอย่างดีมากเป็นระยะๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าสายการบินนี้มันบริการดีเยี่ยมขนาดไหน แล้วตอนจบของเรื่อง นางเอกกับเพื่อนสนิทก็ลงจากเครื่องบินไป แต่เปลี่ยนสถานะเป็นแฟนกันแล้ว

คือแบบ “ก่อนขึ้นสายการบินนี้ เธอเป็นสาวโสด แต่พอเธอลงจากเที่ยวบินนี้ เธอได้ผัวหนุ่มหล่อ” อะไรทำนองนี้น่ะ คือหนังแบบนี้นี่แหละที่จะเข้าทางเรา คือไม่ต้องอาศัย situation ที่มันเร้าอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น แต่แบบพระเอกนางเอกคุยกันสองชั่วโมงบนเครื่องบินไปเลย แบบ MY NIGHT AT MAUD’S (1969, Eric Rohmer) ไปเลย คือถึงหนังจะเป็นโฆษณาสายการบินที่ยาว 2 ชั่วโมง แต่ถ้าทำออกมาแบบนี้ได้ มันก็จะติดอันดับประจำปีของเราอย่างแน่นอน

6.พอดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว ก็เลยทำให้ชอบ SLEEPLESS (2015, Prime Cruz, Philippines, A+30) เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมเป็น 10 เท่า เพราะ SLEEPLESS นี่แหละที่เป็นหนัง friend zone ที่ตอบสนอง romantic fantasy ของเราจริงๆ คือ SLEEPLESS เล่าเรื่องของนางเอกที่เป็นสาวขายสินค้าทางโทรศัพท์ เธอได้รู้จักกับหนุ่มหล่อคนนึงที่ทำงานที่ office เดียวกัน และเผอิญพักอยู่ตึกอพาร์ทเมนท์เดียวกัน ทั้งสองก็เลยใช้เวลาว่างนั่งคุยกันเรื่องสัพเพเหระไปเรื่อยๆในร้านสะดวกซื้อ และบนดาดฟ้าอพาร์ทเมนท์เกือบตลอดทั้งเรื่อง โดยที่นางเอกเหมือนจะแอบชอบพระเอก แต่ก็ไม่ได้เผยความในใจออกไป เพราะพระเอกมัวแต่หมกมุ่นกับการเก็บเงินไปแคนาดา เพื่อตามหาลูกชาย+เมียเก่า

คือชอบ SLEEPLESS ที่หนังทั้งเรื่องแทบจะมีแต่พระเอกนางเอกคุยกันบนดาดาดฟ้ากับในร้านสะดวกซื้อน่ะ ไม่ต้องสร้างสถานการณ์เหี้ยห่าอะไรที่มันมากเกินไป และเราว่าตัวละครพระเอกแบบใน SLEEPLESS มันตรงกับ fantasy ของเราน่ะ คือเราชอบผู้ชายที่ “เขาไม่รักเรา แต่เขามีความมุ่งมั่น แน่วแน่กับอะไรบางอย่าง” มากกว่าผู้ชายที่ “รักเรา แต่ไม่กล้าบอกเรา เพราะมันโง่ แก้ปัญหาแค่นี้ก็ยังไม่ได้” 555

Tuesday, February 19, 2019

A LULLABY TO THE SORROWFUL MYSTERY (2016, Lav Diaz, Philippines, 8hours 5mins, A+30)


A LULLABY TO THE SORROWFUL MYSTERY (2016, Lav Diaz, Philippines, 8hours 5mins, A+30)

1.รู้สึกว่าหนังของ Lav Diaz ที่มาฉาย 3 เรื่องในครั้งนี้มีดีแตกต่างกันไป เราว่า THE WOMAN WHO LEFT เป็นหนังที่ลงตัวที่สุด, ดูง่ายที่สุด, สนุกที่สุด ส่วน SEASON OF THE DEVIL สะเทือนใจที่สุด, รันทดที่สุด, นึกถึงเมืองไทยมากที่สุด ในขณะที่ A LULLABY TO THE SORROWFUL MYSTERY ดูเหมือนไม่ค่อยลงตัว แต่เราก็ชอบสุดๆอยู่ดี ชอบความที่ดูเหมือนไม่ค่อยลงตัวของมัน ชอบความที่มันเหมือนเล่าเรื่องสองเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกันมากนัก (เรื่องของ Gloria de Jesus กับเรื่องของ Simoun) และแทนที่หนังจะเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์แบบ realism หนังกลับใส่เรื่องภูติผีปีศาจเข้ามาด้วย มันเลยเกิดเป็นส่วนผสมที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ขึ้นมา เหมือนเป็นการเล่นแร่แปรธาตุที่ทดลองผสมธาตุ 3 อย่างเข้าด้วยกัน และเกิดเป็นธาตุใหม่ที่พิลึกกึกกือในแบบที่เราไม่เคยเจอมาก่อน

ตอนนี้ยังตัดสินไม่ได้ว่าชอบหนังเรื่องไหนมากที่สุดใน 3 เรื่องนี้ คงต้องรอดูปลายปีนี้ถึงจะตัดสินได้ คือเราชอบ THE WOMAN WHO LEFT ในแง่ความลงตัว, ชอบความหดหู่ feel bad ของ SEASON OF THE DEVIL ส่วน A LULLABY TO THE SORROWFUL MYSTERY นั้น เหมือนเป็นหนังที่ทำให้เรารู้สึกว่า “เราหลุดเข้าไปอยู่ในอีกโลกนึง” มากที่สุด ซึ่งต้องยกความดีความชอบให้กับความยาว 8 ชั่วโมงของมันด้วย คือตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ บางทีเราต้องบอกตัวเองว่า “ฉันคือ จิตร โพธิ์แก้ว ฉันเป็นคนไทยอายุ 45 ปี ตอนนี้ฉันอยู่ในปี 2019 ฉันกำลังนั่งดูหนังในวันเสาร์ เดี๋ยววันจันทร์ฉันก็ต้องกลับไปทำงาน” อะไรทำนองนี้ คือพอดูๆไปเรื่อยๆ เราจะรู้สึกหลอนๆเหมือนกับว่า ชีวิตที่ผ่านมาของเราเป็นความฝัน และขณะนี้เราเป็นอณูอะไรสักอย่างที่ลอยไปในห้วงของกาลเวลา หรือแดนสนธยา เราเริ่มลืมเลือนไปแล้วว่า เราเป็นใคร มีชีวิตอะไรมาก่อน คือการดูหนังเรื่องนี้สำหรับเรามันเหมือนถูกดูดไปอยู่อีกมิตินึงจริงๆน่ะ ซึ่งแน่นอนว่าประสบการณ์แบบนี้เป็นสิ่งที่แทบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับเรา เพราะหนัง Lav Diaz เรื่องอื่นๆมันจะมี “ความสมจริง” มากกว่าเรื่องนี้ คือในขณะที่เราดู EVOLUTION OF THE FILIPINO FAMILY หรือ HEREMIAS เราจะยังรู้สึกตัวว่า เรากำลังดูหนังอยู่ แต่เราว่า A LULLABY TO THE SORROWFUL MYSTERY มันมีความ David Lynch อยู่น่ะ มันก็เลยเหมือนเป็น “ประตูมิติ” สำหรับเรา เหมือนเป็นอีกมิตินึงที่ดูดเราเข้าไป ก่อนจะปล่อยเรากลับออกมาสู่โลกแห่งความจริงในฉากจบที่ทำให้นึกถึง CELINE AND JULIE GO BOATING เพราะตัวละครมันล่องเรือเหมือนกัน 555

2.ชอบตัวละครผู้หญิงหลายๆคนในหนังเรื่องนี้มาก จัดว่าเป็นหนัง Lav Diaz ที่รวมตัวละครหญิงน่าสนใจไว้เยอะที่สุดเลยมั้ง ทั้ง Gloria de Jesus ที่ตามหาสามี, Hule ที่เห็นลูกชายสองคนถูกฆ่าตายต่อหน้าต่อตา, Cesaria ที่แก้แค้นคนในเมืองจนทำให้เมืองล่มสลาย, เด็กสาวที่ถูกอุปโลกน์ให้เป็นพระแม่มารี, Tikbalang อุ้มหมาที่ทำให้นึกถึงวิยะดา อุมารินทร์, Tikbalang สาวเปรี้ยวที่ทำให้นึกถึงอาภาศิริ นิติพน, Ramona กวีสาวตาบอด, Rosario ที่เสียผัวไป และสาวแก่ที่เป็นผู้ถ่ายทอดบทเพลงปลุกใจของนักดนตรีที่ถูกฆ่าตายให้แก่คนอื่นๆต่อไป สรุปว่ามีตัวละครหญิงที่เราชอบถึง 9 ตัว

แต่แอบขำที่ตัวละครหญิง 4 ตัวไว้ผมยาวเหมือนกันหมด และอยู่ด้วยกันเกือบตลอดเวลา คือ Gloria, Rosario, Cesaria และ Hule เพราะฉะนั้นในบางฉากเราจะแยกยากว่าใครเป็นใคร เพราะหนังไม่ถ่าย close up ด้วย จำได้ว่ามีฉากนึงที่เห็นตัวละครหญิงผมยาวเดินไปเดินมาอยู่ในป่า คือดูไปหลายนาทีแล้วก็ไม่รู้ว่าตัวละครที่เดินอยู่นี้มันเป็นใครใน 4 ตัวนี้กันแน่ จนกระทั่งฉากต่อมาที่เราเห็น Hule คุยกับ Cesaria ว่า Gloria กำลังจะกลายเป็นบ้า เราถึงค่อยเข้าใจว่า อ๋อ อีที่เห็นเดินผมยาวอยู่เมื่อกี้มันคือ Gloria นี่เอง

3.เข้าใจว่า Lav Diaz คงพยายามไม่เล่าซ้ำสิ่งที่หนังฟิลิปปินส์เรื่องอื่นๆเคยเล่าไปแล้ว เพราะเราเคยดู RIZAL IN DAPITAN (1997, Tikoy Aguiluz), JOSE RIZAL (1998, Marilou Diaz-Abaya), AUTOHYSTORIA (2007, Raya Martin) ที่เล่าถึงประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ยุคเดียวกัน แต่มันก็ไม่ได้คล้ายกับ A LULLABY เลย เหมือน Lav Diaz คงรู้ดีว่ามีคนทำหนังเกี่ยวกับ Jose Rizal ไปเยอะมากแล้ว เพราะฉะนั้น Jose Rizal ก็เลยตายตั้งแต่ช่วงต้นของ A LULLABY ส่วนการฆาตกรรม Andres Bonifacio ก็ถูกนำเสนอในหนังเรื่อง AUTOHYSTORIA ไปแล้ว เพราะฉะนั้น A LULLABY ก็เลยเน้นเล่าเรื่องของตัวภรรยาของ Andres แทน

ตอนนี้หนังที่อยากดูสุดๆคือ THE TRIAL OF ANDRES BONIFACIO (2010, Mario O’Hara)

4.ชอบฉากที่ Basilio (Sid Lucero) พยายามขุดหาสมบัติใต้ต้น Betele หรือต้นอะไรสักอย่างไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไปเจอหลุมศพที่เพิ่งทำใหม่ แล้วเขาก็เหมือนถอดใจ และล้มตัวลงนอนเหนือหลุมศพนั้น

เหมือนเราอินกับอะไรแบบนี้น่ะ อินกับตัวละครที่ “เหนื่อยล้ากับชีวิต” และในที่สุดก็ทำใจได้ว่า “กูไม่ต้องดิ้นรนอะไรอีกต่อไปจะดีกว่า"

19 FEB-25 FEB 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 8
19 FEB-25 FEB 1989

1. CAN’T STAY AWAY FROM YOU – Gloria Estefan (New Entry)

2. I ONLY WANNA BE WITH YOU – Samantha Fox (New Entry)

3. AI GA TOMARANAI – Wink

4. ANNIVERSARY – Shohjo-tai (New Entry)

5. TRUE LOVE – Yui Asaka (New Entry)

6. HOLD ME IN YOUR ARMS – Rick Astley (New Entry)

7. EST-CE QUE TU VIENS POUR LES VACANCES – David & Jonathan (New Entry)

8. I MISSED THE SHOCK – Akina Nakamori

9. LOST IN YOUR EYES – Debbie Gibson (New Entry)

10. AKI – Otokogumi

Friday, February 15, 2019

WHAT ARE WE WAITING FOR? (2016, Marie-Monique Robin, France, documentary, A+25)


WHAT ARE WE WAITING FOR? (2016, Marie-Monique Robin, France, documentary, A+25)

1.ดูแล้วนึกถึง DOWNSIZING (2017, Alexander Payne) เลย 555 เพราะ DOWNSIZING ก็พูดถึงสังคมคนที่ “ใช้ทรัพยากรน้อย” เหมือนกัน แต่ DOWNSIZING เป็น fiction, sci-fi ส่วนหนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า เราทำแบบนั้นได้ในโลกแห่งความเป็นจริง โดยไม่จำเป็นต้องลดขนาดร่างกายตนเองลง

2.ดูแล้วก็ชื่นชมสังคมในหนังเรื่องนี้มากๆนะ และคิดว่ามันเป็นหนังที่เหมาะสำหรับคนที่ทำงานเชิงสังคม + actvists มากๆ แต่ในแง่นึงเราก็จะรู้สึก “ห่างๆ” จากหนังเรื่องนี้นิดนึง เพราะเราเป็นคนที่ individualistic มากๆมั้ง, เกลียดสังคม, รักความสบาย, ชินกับการอยู่ในเมืองอะไรแบบนี้

คือคิดว่าหลายๆอย่างในหนังเรื่องนี้มันดีมากๆ แต่อย่างตัวเราคงไม่สามารถลุกขึ้นมา “ติดตั้งแผง solar cell” ได้ด้วยตัวเองน่ะ มันคงต้องอาศัยคนอื่นๆให้มาช่วยรณรงค์, พัฒนา, วางแผน, แก้กฎหมาย, ขับเคลื่อนอะไรกันไป เพื่อให้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ทำได้จริง, มีประสิทธิภาพ และแพร่หลายในไทย อะไรทำนองนี้ คืออย่างตัวเราคงต้องอาศัยคนอื่นๆเป็นหัวหอกในการขับเคลื่อนก่อนน่ะ แล้วเราค่อยทำตาม

3.จริงๆแล้วเราว่าหลายอย่างที่สังคมชนบทในหนังเรื่องนี้ทำ มันทำให้เรานึกถึงชุมชนอามิชในสหรัฐ และชุมชนของชาวอโศกในไทยน่ะ เพราะชุมชนที่อิงกับหลักศาสนาแบบนี้ มันก็ไม่ค่อยใช้เทคโนโลยี, ต่อต้านสารเคมี, ยึดหลักกินน้อย ใช้น้อย ทำงานให้มาก, เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เหมือนๆกัน เพียงแต่ว่า ชุมชนแบบนี้มันจะมีส่วนที่เข้ากับเราไม่ได้อยู่ด้วย นั่นก็คือ “หลักศาสนาที่เคร่งครัดเกินไปสำหรับเรา” น่ะ เพราะฉะนั้นชุมชนฝรั่งเศสในหนังเรื่องนี้ก็เลยน่าสนใจสำหรับเรามากในแง่ที่ว่า มันเหมือนเอาแต่ “สิ่งดีๆ แนวคิดดีๆ วัตรปฏิบัติดีๆ” ที่เหมือนกับของชุมชนเคร่งศาสนามาใช้ แต่ไม่ต้องเอา “หลักศาสนา” มาใช้ด้วย มันเหมือนเป็นการคัดกรองเอาแต่แนวคิดดีๆจากที่อื่นๆมาใช้ แต่ไม่ต้องเอาสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่เหมาะกับตนเองของที่อื่นๆมาใช้ด้วย

4.ชอบเรื่องข้าวสาลีมากๆ ที่ชุมชนนี้เอาเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลีจากก่อนปี 1900 มาปลูก แล้วพบว่าพวกคนจำนวนมากที่แพ้ข้าวสาลีกลับสามารถกินข้าวสาลีพันธุ์โบราณ ก่อนปี 1900 ได้ นั่นแสดงให้เห็นว่าพัฒนาการของข้าวสาลีในช่วง 100 กว่าปีที่ผ่านมามันมีบางอย่างผิดพลาด และก่อให้เกิดพันธุ์ที่เป็นพิษต่อคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมา (เห็นหนังบอกว่าเป็นเรื่องของ gluten)

พอดูเรื่องข้าวสาลีนี้แล้ว ก็เลยสงสัยว่า โรคบางอย่างที่มันแพร่ระบาดในยุคปัจจุบัน แต่เป็นโรคที่ไม่ค่อยเจอในอดีต มันเกิดจากอะไรแบบนี้ด้วยหรือเปล่า มันอาจจะเกิดจากสารเคมี, พันธุ์พืชที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตด้วยหรือเปล่า

5.สนใจเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์มากๆ เพราะในหนังบอกว่า การหันมาใช้ solar cell นี่ช่วยให้ลดการใช้ “โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์” ในเยอรมนีไปได้บ้างแล้ว เพราะอย่างที่รู้กันว่าประเทศไทยนี่แดดแผดเผามากๆน่ะ คือประเทศไทยนี่โคตรจะร่ำรวยเรื่อง “แสงอาทิตย์” เลย เพียงแต่ไม่รู้ว่าจะสามารถเอาแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างหรือเปล่า นอกจากเอาไว้ตากมะม่วงกวน

Tuesday, February 12, 2019

12 FEB-18 FEB 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 7
12 FEB-18 FEB 1989

1. I MISSED THE SHOCK – Akina Nakamori

2. AI GA TOMARANAI – Wink

3. IT’S THE LOVER (NOT THE LOVE) – Tiffany

4. TAKE ME TO YOUR HEART – Rick Astley

5. MORE THAN YOU KNOW – Martika

6. HEART NO IGNITION -- Satomi Fukunaga
เพลงประกอบละคร “สิงห์สาวนักสืบ ปี3”

7.DROP THAT BOMB – Tiffany

8. FOUR LETTER WORD – Kim Wilde

9. HOLD AN OLD FRIEND’S HAND – Tiffany

10. ETERNAL FLAME – Bangles

Friday, February 08, 2019

MANIKARNIKA: THE QUEEN OF JHANSI (2019, Radha Krishna Jagarlamudi, Kangana Ranaut, India, A+25)


MANIKARNIKA: THE QUEEN OF JHANSI (2019, Radha Krishna Jagarlamudi, Kangana Ranaut, India, A+25)

1.ดูแล้วจะนึกถึง “สุริโยไท” + “บางระจัน” ของไทย เพราะ MANIKARNIKA สร้างจากเรื่องจริงของพระราชินีของแคว้นนึงในอินเดีย ที่ลุกขึ้นนำทัพต่อต้านกองทัพอังกฤษที่กดขี่ชาวอินเดียอย่างรุนแรงในปี 1857 แต่เราว่าหนังเรื่อง “สุริโยไท” ของไทยอาจจะดูมีมิติกว่าหน่อย เพราะในสุริโยไทมันมีตัวละครน่าสนใจหลายตัว อย่างเช่น ท้าวศรีสุดาจันทร์ แต่ MANIKARNIKA มันเน้นเล่าแต่เรื่องของราชินีองค์นี้ในการต่อสู้กับกองทัพอังกฤษ เพราะฉะนั้นตัวละครในหนังเรื่องนี้มันจะขาวจัด ดำจัด กองทัพอังกฤษก็ชั่วร้ายเลวทรามมากๆไปเลย ส่วนราชินีพระองค์นี้ก็มีแต่ด้านดี ด้านที่น่าชื่นชม ยกย่อง

แต่ก็เข้าใจได้นะว่าทำไมหนังต้องนำเสนอแต่ด้านดี เพราะพอคิดถึงปัญหาที่หนังเรื่อง PADMAAVAT (2018, Sanjay Leela Bhansali) เคยเผชิญมาแล้ว การนำเสนอตัวละครวีรบุรุษ วีรสตรีแต่ในด้านดี ก็คงจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้สร้างหนังเมนสตรีมอินเดีย

2.เหมือนเป็นหนังของ “การโพสท่า” เพราะนี่เป็นนางเอกหนังอินเดีย ไม่ใช่นางเอกหนังฮ่องกง ที่ต้องฝึกคิวบู๊มาอย่างหนัก เพราะฉะนั้นในหนังเรื่องนี้เราจะได้เห็นนางเอกโพสท่างามๆมากมายทั้งในฉากสู้รบและฉากอื่นๆ ซึ่งก็ทำได้เพลินตาดี แถมนางเอกยังร่วมกำกับหนังเรื่องนี้เองอีกด้วย เธอก็เลยโพสท่าเริ่ดๆได้อย่างเต็มที่

3.สนใจตัวละครพระราชามากๆ เพราะพระราชาที่เป็นพระสวามีของนางเอก เหมือนชอบละคร+การร่ายรำ และชอบใส่กำไลมือมากมาย ไม่รู้พระราชาองค์นี้ในประวัติศาสตร์จริงๆเป็นยังไง แต่ในหนังเขามาให้เหตุผลในตอนหลังว่า เขาชอบใส่กำไลมือมากมาย เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่าดินแดนของเขาตกอยู่ภายใต้พันธนาการของอังกฤษ