THE DESTRUCTION OF MEMORY (2016, Tim Slade, documentary, A+30)
1. ในแง่การกำกับอาจจะไม่มีอะไร แต่ชอบข้อมูลในหนังมากๆ
มันแน่นดี ชอบที่มันรวบรวมข้อมูลมากมายจากหลายประเทศเข้ามาไว้ด้วยกัน
โดยเฉพาะข้อมูลที่เราไม่เคยรู้มาก่อน อย่างเช่น การทำลาย mausoleum ใน Mali คือเหมือนเหตุการณ์ในประเทศแบบ Mali มันไม่ใช่ข่าวดังในเวทีโลกมั้ง เราเลยไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย
ดีที่หนังเรื่องนี้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้มาไว้ด้วย
หนังพูดถึงทั้งการทำลายโบสถ์ของ Armenia, การทำลาย synagogue
และบ้านเรือนชาวยิวในยุคนาซี, การทำลายโบสถ์ในเมือง
Dresden ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, การทำลายเมือง Dubrovnik
ใน Croatia, การทำลายมัสยิดใน Bosnia และ Kosovo, การทำลายห้องสมุดใน Sarajevo, การทำลายสะพานในเมือง Mostar, สงครามอิรัก, การทำลาย
Jonah’s Tomb ในเมือง Mosul ของอิรัก,
การทำลายพิพิธภัณฑ์ในอิรัก และการล่มสลายของ Palmyra, เมือง Aleppo
และประเทศ Syria
2. หนังรู้ตัวดีว่า การ focus ไปที่
“การทำลายสถาปัตยกรรม” แบบนี้ อาจจะทำให้คนจำนวนมากตั้งข้อสงสัยว่า
หนังให้ความสำคัญกับ “สถาปัตยกรรม” มากกว่า “ชีวิตมนุษย์” หรือเปล่า
หนังก็เลยรีบชี้ให้เห็นเลยว่า นั่นไม่ใช่จุดยืนของหนัง
และหนังต้องการนำเสนอให้เห็นว่า ในหลายๆครั้ง การทำลายสถาปัตยกรรม
เป็นสัญญาณเตือนว่า มันจะมีการทำลายชีวิตมนุษย์ตามมา อย่างเช่นในยุคนาซี
ที่การทำลายกระจกร้านค้า อาคารบ้านเรือนของชาวยิว เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในเวลาต่อมา
หนังไม่ได้มองว่า สถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าชีวิตมนุษย์
แต่หนังต้องการให้มีการแก้ไขกฎหมายว่า การทำลายสถาปัตยกรรมโบราณแบบนี้ ควรจะถือเป็นอาชญากรรมสงครามอย่างหนึ่งด้วย
เพราะมันเป็นความพยายามจะลบล้างอัตลักษณ์ของคนบางชาติพันธุ์ให้หายสาบสูญไป
บุคคลต่างๆที่จ้องจะทำลายล้างสถาปัตยกรรมเหล่านี้ ต้องการจะเขียนประวัติศาสตร์ใหม่
เพื่อลบล้างชาติพันธุ์หรือกลุ่มบุคคลที่ตนเองเกลียดชังให้หายไปจากประวัติศาสตร์
การทำลายสถาปัตยกรรมเหล่านี้ มันคือสัญญาณเตือนว่าบุคคลผู้ทำลาย สถาปัตยกรรมต้องการจะเข่นฆ่าทำลายล้างคนบางชาติพันธุ์ให้หายไปด้วย
แน่นอนว่า สิ่งนี้ทำให้นึกถึงประเทศไทย และความพยายามจะทำลายล้างสถาปัตยกรรมของคณะราษฎรในช่วงที่ผ่านมา
3.ปกติเราจะมองว่า รัสเซียเป็นผู้ร้าย
แต่หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า มันไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป
เพราะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น สหภาพโซเวียตสนับสนุนให้มีการแก้ไขกฎหมาย
เพื่อให้การทำลายสถาปัตยกรรมถือเป็นอาชญากรรมสงครามด้วย (หรืออะไรทำนองนี้) เพราะ Operation
Barbarossa ของนาซี ได้สร้างความเสียหายให้โซเวียตเป็นอย่างมาก แต่ปรากฏว่า
ประเทศที่คัดค้านเรื่องนี้ คือสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
(ถ้าเราจำไม่ผิด) เพราะประเทศกลุ่มนี้กังวลว่า
กฎหมายดังกล่าวจะส่งผลให้ประเทศตนเองตกเป็นจำเลย เพราะประเทศเหล่านี้เคยทำลาย “ชนพื้นเมือง”
ไปเยอะมาก
4. ชอบกลุ่มผู้ปฏิบัติการเก็บข้อมูลดิจิตัลมากๆ
คือหนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า มีคนบางกลุ่มมองว่า สถาปัตยกรรมและประติมากรรมโบราณจำนวนมาก
กำลังถูกทำลายโดย ISIS พวกเขาก็เลยพยายามเก็บข้อมูลดิจิตัลของสิ่งเหล่านี้เอาไว้ให้มากที่สุด
เพื่อจะได้จำลองภาพ, โมเดล ให้คนรุ่นหลังดูได้
คือดูแล้วทำให้จินตนาการว่า
อยากให้มีคนทำแบบนี้บ้างกับชุมชนต่างๆที่กำลังจะถูกเวนคืนที่ดินในกรุงเทพในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้านี้น่ะ
หรือบางทีอาจจะมีคนกำลังทำสิ่งนี้อยู่แล้วก็ได้ เราไม่รู้เหมือนกัน
คือบางทีเราก็นึกถึงชุมชนสามย่านที่หายไปแล้วน่ะ
ทั้งฝั่งที่กลายเป็นตึกจามจุรีสแควร์ไปแล้วในปัจจุบัน
จำได้ว่าเราเคยไปกินข้าวที่สามย่านฝั่งนั้น ก่อนที่มันจะหายไปในราวปี 1990-1991
แล้วต่อมาฝั่งตลาดสามย่าน-โรงหนังสามย่านก็หายไปด้วย
ยังดีที่หนังเรื่อง STUDENT (2005, James Pruttivarasin) เคยบันทึกภาพตลาดสามย่านในปี 2005 เอาไว้, หนังเรื่อง BEHIDE THE
WALL (2003, อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา) เคยบันทึกเรื่องชุมชนป้อมมหากาฬเอาไว้
และสารคดีกลางเมืองของ TPBS ตอน ON PROGRESS (2013,
Abhichon Rattanabhayon) เคยบันทึกเรื่องสถาปัตยกรรมคณะราษฎรเอาไว้
สรุปว่า ในกรุงเทพเอง มันก็มีชุมชนหรือสถาปัตยกรรมต่างๆ
ที่กำลังจะถูกทำลายไปเช่นกัน ถ้าหากมีคนเก็บข้อมูลดิจิตัลเหล่านี้เอาไว้
มันก็คงจะดี หรือถ้าหากมีคนบันทึกสิ่งเหล่านี้เอาไว้ในรูปแบบภาพยนตร์
มันก็เป็นสิ่งที่ดีมากๆเช่นกัน
No comments:
Post a Comment