Friday, August 13, 2021

EXPEDITION CONTENT (2020, Ernst Karel, Veronika Kusumaryati, USA, 78min, A+30)

 

EXPEDITION CONTENT (2020, Ernst Karel, Veronika Kusumaryati, USA, 78min, A+30)

 

1.กราบขอบพระคุณผู้จัดงาน ดีใจที่ได้ดูหนังที่ไปสุดทางแบบนี้มาก ๆ แต่เสียดายที่เราไม่ได้ฟังช่วง q&a ก็เลยไม่รู้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติมมากไปกว่าใน synopsis กับในตัวหนัง ไม่รู้เหมือนกันว่าจุดประสงค์ของผู้สร้างหนังคืออะไร

 

2.ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมผู้สร้างหนังถึงแทบไม่ได้ใส่ภาพอะไรเข้ามาในตัวหนังเลย 55555 ถือว่าเป็นวิธีการที่แปลกประหลาดมาก ๆ เพราะเอาเข้าจริงเสียงต่าง ๆ ในหนังก็ไม่ได้กระตุ้นให้เราเห็น “ภาพ” ในหัวได้มากเท่าไหร่นะ เหมือนมันเป็นเสียงที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้คู่กับภาพน่ะ ไม่ใช่เสียงที่ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดจินตนาการเห็นภาพในหัวได้ง่าย ๆ แบบ “ละครวิทยุ” ของคณะเกศทิพย์อะไรทำนองนี้ 55555 หรือเหมือนกับเสียงในหนังของ Marguerite Duras อย่าง THE TRUCK (1977) และ HER VENETIAN NAME IN DESERTED CALCUTTA (1976) ที่มันเป็นเสียงที่ “เล่าเรื่อง” มากพอสมควร และถูกนำไปประกอบกับภาพวิวทิวทัศน์ต่าง ๆ คือเหมือนเสียงในหนังของ Marguerite Duras ก็กระตุ้นให้เราเกิดจินตนาการภาพในหัวได้ง่ายกว่า

 

3.แต่คิดว่าพอมันไม่มีภาพอะไรเลย เราก็เลยเพ่งสมาธิไปที่เสียงต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ทั้งเสียงลมฟ้าอากาศ, เสียงกิจกรรมต่าง ๆ, เสียงสงคราม, เสียงสวด แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่านั่นคือจุดประสงค์อย่างนึงของผู้กำกับหรือเปล่า

 

4.ตอนแรกก็สงสัยว่า ถ้าหากจะนำเสนอข้อมูลเรื่องของชนเผ่าให้ผู้ชมได้รู้จัก เราก็ดูหนังเรื่อง DEAD BIRDS (1963, Robert Gardner) ไปเลยไม่ดีกว่าหรือ แต่คิดว่าจุดประสงค์ของหนังเรื่องนี้คงต้องแตกต่างจาก DEAD BIRDS มาก ๆ อย่างแน่นอน เพราะหนังเรื่องนี้แทบไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับชนเผ่าในหนังเลย เรารู้แต่ว่ามีการทำสงครามระหว่างชนเผ่าเกิดขึ้น แต่เราไม่รู้หรอกว่าชนเผ่านี้ชอบทำสงครามกันแบบที่เรื่องย่อของ DEAD BIRDS บอกไว้ บางทีถ้าหากเราได้ดูหนังเรื่อง DEAD BIRDS เราคงถูกควบคุมการมองเห็นและความคิดที่มีต่อชนเผ่าในหนังก็ได้มั้ง แต่พอหนังเรื่องนี้ลบสายตาของคนขาวออกไป และลบ “เสียงบรรยายของคนขาวที่มีต่อชนเผ่า” ออกไป มันก็คงทำให้ความรู้สึกของผู้ชมที่มีต่อชนเผ่าในหนังเรื่องนี้ แตกต่างไปจากความรู้สึกของผู้ชมที่มีต่อชนเผ่าในหนังเรื่อง DEAD BIRDS

 

5.เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีจุด climax 2 จุดสำหรับเรา จุดแรกก็คือช่วงที่เหมือนมีเสียงสวดที่หนักมาก ๆ ขลังมาก ๆ และจุดที่สองคือช่วงที่เหมือนกับว่า Michael Rockefeller แอบอัดเสียงเพื่อน ๆ คุยกัน

 

คือเหมือนกับช่วงที่เป็นการแอบอัดเสียงเพื่อน ๆ คุยกันในหนังเรื่องนี้ ทำให้เราเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อหนังเรื่องนี้ไปเลยน่ะ 5555 ซึ่งก็คือว่า

 

5.1 ตอนก่อนหน้านี้เราจะรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้ไม่น่าจะสู้ DEAD BIRDS ได้ เพราะหนังเรื่องนี้มีแต่เสียง ไม่มีภาพ ไม่มีข้อมูล แต่พอหนังเรื่องนี้มันมีการอัดเสียงคนขาวเม้าท์มอยกัน เราก็รู้สึกว่าจุดนี้นี่แหละที่เป็นจุดที่หนังเรื่องนี้มี แต่ DEAD BIRDS ไม่น่าจะมี (เราเดาเอาเองนะ เพราะเราไม่เคยดู DEAD BIRDS) เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนเป็น “สารคดีเบื้องหลังการถ่ายหนังสารคดีเรื่อง DEAD BIRDS” ไปด้วย

 

5.2 เสียงเม้าท์มอยกันเองของคนขาวในหนังเรื่องนี้ ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า subject จริง ๆ ของหนังเรื่องนี้ ไม่ใช่ ชนเผ่า แต่เป็นตัว Michael Rockefeller และเพื่อนร่วมงานของเขา เพราะหนังก็เปิดด้วย text เกี่ยวกับประวัติเหี้ยห่าของตระกูล Rockefeller และในขณะที่ไมเคิลพยายามอัดเสียง “กิจกรรมล้างผลไม้” “กิจกรรมกวาดพื้น” “กิจกรรมปลูกมันฝรั่ง” “กิจกรรมร้องเพลง” เพื่อบันทึกกิจกรรมในชีวิตประจำวันของชนเผ่า เราก็ได้รับรู้ว่ากิจกรรมของ sound recordist เป็นยังไงไปด้วย 55555

 

คือถ้า DEAD BIRDS เป็นคนขาวมองชนเผ่า และชนเผ่ากลายเป็น object ของการถูกมองและพิจารณา  EXPEDITION CONTENT ก็ทำให้เรารู้สึกว่า ผู้ชมได้พิจารณา “คนขาวที่มองชนเผ่า” อีกทีนึง เหมือนตัว ethnographer, filmmaker, sound recordist, white people who wanted to portray ethnic people กลายเป็น object ของการถูกพิจารณาไปพร้อม  ๆ กับตัวชนเผ่าในหนังเรื่องนี้ด้วย คือในขณะที่ DEAD BIRDS อาจจะทำให้เราได้เห็นว่า ชนเผ่านี้มีกิจวัตรประจำวันยังไง EXPEDITION CONTENT ก็ทำให้เราได้เข้าใจว่า sound recordist มีกิจวัตรประจำวันยังไง 555555

 

จุดนึงที่สงสัยมาก ๆ ก็คือว่า มุกตลกเรื่อง SNOW WHITE ที่คนขาวเม้าท์มอยกันในหนังเรื่องนี้ มันเป็น racist joke หรือเปล่า ถ้าคนดำมาได้ยินมุกนี้เขาจะโกรธไหม หรือเขาจะมองว่าเป็นเรื่องตลก คือพอเราไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมอเมริกัน เราก็เลยไม่แน่ใจว่า “เสียงเม้าท์มอย” ที่ดูเหมือนจะแอบอัดมาได้นี้ มันนำเสนออะไรที่ไม่ดีในตัวทีมงานชุดนี้หรือเปล่า หรือแค่นำเสนอเสียงเม้าท์มอยเฉย ๆ

 

6.ตอนที่ดูหนังเรื่องนี้ก็จะคิดถึงหนังเรื่องอื่น ๆ ด้วยเหมือนกัน แต่เป็นการคิดแบบ “เปรียบต่าง” มากกว่า “เปรียบเหมือน” น่ะ เพราะหนังเรื่อง EXPEDITION CONTENT มันเหมือนใช้จอมืดในแบบที่แตกต่างจากหนังเรื่องอื่น ๆ มากๆ

 

นอกจากหนังของ Marguerite Duras ที่กล่าวถึงไปในข้างต้นแล้ว เราก็นึกถึงหนังเรื่อง

 

6.1 THE BANGKOK BOURGEOIS PARTY (2007, Prap Boonpan) ที่มีการใช้จอมืดนานหลายนาทีเหมือนกัน แต่ใช้เพียงแค่ครั้งเดียว และจุดประสงค์ในการใช้ก็แตกต่างจากใน EXPEDITION CONTENT มาก ๆ

 

6.2 DON’T FORGET ME (2003, Manussak Dokmai) ที่นำเสนอ “เสียงเล่าถึงผีตองเหลือง” ที่เราเข้าใจว่า racist มาก ๆ มาประกอบเข้ากับภาพความโหดร้ายในเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519

 

6.3 WAY OF DUST หากเข้านัยน์ตาเราก็คงจะทำให้เสียน้ำตา (2018, Teeraphan Ngowjeenanan, documentary, 132min) เพราะเอาเข้าจริงเราก็รู้สึกว่า WAY OF DUST ก็เป็นหนังที่ “ใช้แต่เสียง” เหมือนกัน เพราะหนังทั้งเรื่องเป็นเสียงสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ที่พูดถึงเรื่องอำนาจนิยมในสังคมไทย ส่วนภาพในหนังเป็นวิวนิ่ง ๆ ในย่านสยามสแควร์ คือเหมือนกับว่าถ้าหาก WAY OF DUST ใช้จอมืดตลอดเรื่องแบบ EXPEDITION CONTENT เราก็คงชอบ WAY OF DUST “เท่าเดิม” อยู่ดี เพราะเสียงสัมภาษณ์ซึ่งเป็นแกนหลักของหนังยังอยู่ครบ 55555

 

 

 

No comments: