Wednesday, January 08, 2025

SOUNDTRACK TO A COUP D’ETAT

 

MY MOST FAVORITE ALBUM OF 2024

 

GOLDEN BEST (2012) – Miyoko Yoshimoto

 

ขอบคุณเพจ SONNY SELECTOR ที่ทำให้เราได้รู้จักนักร้องคนนี้

 

เราเข้าใจว่าอัลบัมนี้มันคืออัลบั้มรวมเพลงฮิตของ Miyoko Yoshimoto ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 หรือในช่วงปี 1985-1990 ซึ่งเป็นช่วงที่เราชอบฟังเพลงญี่ปุ่นในรายการวิทยุของดีเจสุทธิธรรม สุจริตตานนท์ทางช่อง 88FM และเป็นช่วงที่เราชอบดูละครโทรทัศน์ของญี่ปุ่นที่มาฉายทางสถานีโทรทัศน์ในไทยด้วย

 

ถ้าเพลงที่แต่งโดย Stock Aitken Waterman คือตัวแทนของสูตรสำเร็จแห่งเพลงป็อปอังกฤษในช่วงปลายทศวรรษ 1980 การได้ฟังอัลบัมนี้ของ Miyoko Yoshimoto ก็ส่งผลต่อเราในแบบที่ใกล้เคียงกัน เพราะเรารู้สึกว่าเพลงในอัลบัมนี้มันคือตัวแทนของสูตรสำเร็จของเพลงป็อปญี่ปุ่นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เพลงแต่ละเพลงฟังแล้วมัน “คุ้น” มาก ๆ ทั้ง ๆ ที่เราไม่เคยฟังมันมาก่อน เพราะแต่ละเพลงในอัลบัมนี้มันทำให้นึกถึงเพลงป็อปญี่ปุ่นจำนวนมากที่เราเคยฟังเมื่อ 35-40 ปีก่อนในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และเพลงประกอบละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นจำนวนมากในยุคนั้นด้วย

 

คือเพลงของ Stock Aitken Waterman มันอาจจะไม่ใช่เพลงที่มีคุณค่าในทางศิลปะ แต่ฟังแล้วมันติดหูมาก ๆ และพอมาฟังในปัจจุบันนี้มันก็มีพลังรุนแรงมาก ๆ ในทาง NOSTALGIC และเพลงของ Miyoko Yoshimoto ก็ส่งผลต่อเราในแบบเดียวกัน ฟังแล้วมัน “คุ้น” มาก ๆ, ติดหูสุด ๆ และ NOSTALGIC อย่างรุนแรงที่สุด คิดถึงช่วงเวลาในช่วงปลายทศวรรษ 1980 หนึ่งในช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดในชีวิตของเรา

 

เพลงที่เราชอบสุดขีดในอัลบัมนี้ก็รวมถึง

 

1.RAINY HIGH SCHOOL (AME NO HAISUKURU)
https://www.youtube.com/watch?v=XuV7wrt-cC4

 

2.WHITE BASKETBALL SHOES (SHIROI BASUKETTO SHUZU)

https://www.youtube.com/watch?v=cmLdQ1xgW60

 

3.DOOR TO THE HEART (KOKORO NO TOBIRA)

https://www.youtube.com/watch?v=2RIDRXnbxjs

 

4.TOKYO SICKNESS

https://www.youtube.com/watch?v=4fSH7f1WiVg

 

5.HEROES

https://www.youtube.com/watch?v=K3Sz-59zALw

++++

Favorite Song: VIRGIN EYES (1989) – Miho Nakayama มีใครรู้บ้างว่า ละครโทรทัศน์ที่อยู่ในคลิปนี้ มันคือละครเรื่องอะไรน่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=AGEJihp4l2Y

++++++

SOUNDTRACK TO A COUP D’ETAT (2024, Johan Grimonprez, documentary, 150MIN, A+30)

 

1.ตอนนี้เราก็ขอยกให้ Johan Grimonprez เป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ในดวงใจของเราไปแล้ว หลังจากเราได้ดูหนังของเขาในโรงภาพยนตร์+งานฉายกลางแปลงในไทยไปแล้ว 3 เรื่อง ดูหนังของเขาแล้วเราก็คิดถึงหนังของปรมาจารย์ด้าน political essay film สามท่านด้วย ซึ่งก็คือ Harun Farocki (1944-2014) จากเยอรมนี, Chris Marker (1921-2012) จากฝรั่งเศส และ John Gianvito จากสหรัฐ รู้สึกว่าหนังของเขาปะทะกับหนังของปรมาจารย์ทั้งสามท่านนี้ได้เลย แต่น่าเสียดายที่ Farocki และ Marker เสียชีวิตไปแล้ว

 

หนังของ Johan Grimonprez ที่เราได้ดู ก็ได้แก่

 

1.1 DIAL H-I-S-T-O-R-Y (1997, 68min, A+30)

ซึ่งเคยมาฉายในกรุงเทพในงาน Bangkok Experimental Film Festival ครั้งที่ 4 โดยเราได้ดูหนังเรื่องนี้ในวันที่ 23 ธ.ค. 2005 ในจอใหญ่ ในการฉายแบบหนังกลางแปลงที่สวนลุมพินี

 

1.2 DOUBLE TAKE (2009, A+30)

 ซึ่งเราได้ดูที่ SF CENTRAL WORLD ในวันที่ 26 SEP 2009 ในงาน BANGKOK INTERNATIONAL FILM FESTIVAL

 

1.3 SOUNDTRACK TO A COUP D’ETAT

ซึ่งเราได้ดูที่ HOUSE SAMYAN ในวันที่ 5 ม.ค. 2025

 

ส่วนผู้กำกับรุ่นใหม่ที่เราว่าสามารถสานต่อสายธารของหนัง political essay film แบบนี้ต่อจาก Farocki, Marker, Gianvito และ Grimonprez ได้นั้น เราก็คิดว่า น่าจะรวมถึง Bo Wang และ Viriyaporn Boonprasert แต่น่าเสียดายที่ Viriyaporn Boonprasert หายสาบสูญไปแล้ว เพราะฉะนั้นเราก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า ใครจะมาแทนที่ Viriyaporn Boonprasert ได้

 

ส่วน Bo Wang นั้น เราเคยดูหนังของเขาแค่สองเรื่อง ซึ่งก็คือ MIASMA, PLANTS, EXPORT PAINTINGS (2017) ซึ่งเคยมาฉายที่ DOC CLUB สมัยตั้งอยู่ที่ Warehouse ถนนเจริญกรุง และ AN ASIAN GHOST STORY (2023) ซึ่งเพิ่งมาฉายที่ SF Central World ในงาน World Film Festival of Bangkok เมื่อเดือนพ.ย. 2024 ซึ่งหนังสองเรื่องนี้ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า Bo Wang เป็นหนึ่งในผู้กำกับที่น่าจับตามองมากที่สุดในงานภาพยนตร์ด้านนี้เช่นกัน

 

2.TRIPLE BILL FILM WISH LIST

 

2.1 SOUNDTRACK TO A COUP D’ETAT

+ 2.2 LUMUMBA (2000, Raoul Peck, France/Germany/Belgium/Haiti, 115min)

+ 2.3 MALCOLM X (1992, Spike Lee, 202min)

 

พอเราดู SOUNDTRACK TO A COUP D’ETAT เราก็เลยอยากดู LUMUMBA กับ MALCOLM X อย่างรุนแรงมาก เพราะเหมือนกับว่าเนื้อหาของหนัง 3 เรื่องนี้มันคาบเกี่ยวกันจริง ๆ เหมือนหนัง 3 เรื่องนี้มันอาจจะนำเสนอเหตุการณ์ใกล้เคียงกัน แต่ SOUNDTRACK TO A COUP D’ETAT อาจจะเน้นไปที่บทบาทของเบลเยียม, สหประชาชาติ และนักดนตรีแจ๊ส ส่วน LUMUMBA เราว่าน่าจะเน้นไปที่ Congo โดยตรง และ MALCOLM X น่าจะเน้นไปที่สหรัฐโดยตรง แต่เราก็ยังไม่ได้ดู LUMUMBA กับ MALCOLM X นะ เราก็เลยไม่แน่ใจ

 

3. หนังเรื่อง SOUNDTRACK TO A COUP D’ETAT ทำให้เราเข้าใจหนังเรื่อง THE LOST CITY (2005, Andy Garcia, 144min) มากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นหนังที่เราเคยดูที่ลิโดเมื่อราว 20 ปีที่แล้ว เพราะในฉากสำคัญฉากหนึ่งใน THE LOST CITY นั้น เจ้าหน้าที่รัฐบาลคิวบาสั่งห้ามวงดนตรีในคิวบาทำการแสดง ถ้าหากมีการใช้แซกโซโฟนในวงดนตรี โดยบทสนทนาในฉากสำคัญนั้นมีดังต่อไปนี้

 

GARCIA: (as Fico Fellove) I see. And then on what grounds do you have to come in here and stop my show?

PENA: (As Miliciana Muñoz) You just can't use the saxophone in the orchestra anymore.

GARCIA: (as Fico Fellove) Come again?

PENA: (As Miliciana Muñoz) The saxophone is an instrument of the imperialist.

GARCIA: (as Fico Fellove) The saxophone was invented by a man name Sax in Belgium!

PENA: (As Miliciana Muñoz) Do you know what the Belgian imperialists are doing in the Congo? They are a bunch of murderers.

GARCIA: (as Fico Fellove) You don't say?

PENA: (As Miliciana Muñoz) I do say! And I am saying that if you want the orchestra to play, then you have to go without the saxophone! Otherwise, I will stop the show.

 

ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่เห็นด้วยกับ Fidel Castro ที่สั่งห้ามการใช้แซกโซโฟนเพียงเพราะเหตุผลแค่นี้ แต่การได้ดูหนังเรื่อง SOUNDTRACK TO A COUP D’ETAT ก็ทำให้เราเข้าใจ “แรงจูงใจ” ของ Fidel Castro ที่สั่งห้ามการเล่นแซกโซโฟนในคิวบาในช่วงเวลานั้น

 

4.อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราชอบ SOUNDTRACK TO A COUP D’ETAT อย่างรุนแรงสุดขีด ก็คือการ research ข้อมูลนี่แหละ เพราะเราว่าผู้สร้างหนังเรื่องนี้ต้อง research ข้อมูลหนักมาก ทั้ง

 

4.1 ข้อมูลด้านการเมืองและนักดนตรีแจ๊สในยุคนั้น จากหนังสือตำราจำนวนมาก

 

4.2 คลังภาพเคลื่อนไหวมากมาย

 

4.3 คลังดนตรีมากมาย

 

คือเอาจริง ๆ ถ้ามันมีหนังที่นำเสนอแค่ 4.1 อย่างเดียว นำเสนอเหตุการณ์ทางการเมืองในยุคนั้นอย่างตรงไปตรงมา เราก็ชอบหนังเรื่องนั้นในระดับ A+30 ได้แล้ว เพราะข้อมูลในหนังเรื่องนี้มันแน่นปึ้กมาก และมันน่าสนใจสุด ๆ สำหรับเรา แต่หนังเรื่อง SOUNDTRACK TO A COUP D’ETAT กลับอัดแน่นไปด้วย found footage เก่าๆ ที่น่าสนใจ และเพลงแจ๊สเก่าๆ  ที่น่าสนใจด้วย

 

เราก็เลยรู้สึกว่า การ research ข้อมูลทั้งสามอย่างนี้อย่างหนักมาก และนำผลการ research ทั้งสามอย่างนี้มาผสมเข้าด้วยกันได้อย่างรุนแรงแบบนี้ นี่เป็นอะไรที่ต้องกราบตีนมาก ๆ

 

5. อีกปัจจัยที่ทำให้เราชอบหนังเรื่อง SOUNDTRACK TO A COUP D’ETAT อย่างสุดขีด ก็คือการที่เนื้อหาในหนังเรื่องนี้มันพูดถึงอดีต แต่มันก็ยังคงมีความ relevant อยู่ในยุคปัจจุบัน และหนังก็นำเสนอสิ่งนี้ผ่านการสอดแทรก “โฆษณา” เข้ามาอย่างน้อย 2 ชิ้น ซึ่งชิ้นหนึ่งเราเดาว่าน่าจะเป็น “รถยนต์ไฟฟ้า” (ถ้าหากเราเข้าใจผิด เราก็ขออภัยด้วยนะคะ) และอีกชิ้นหนึ่งก็คือ “โทรศัพท์มือถือ” เพราะว่าอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและโทรศัพท์มือถือนั้น มันต้องพึ่งพาแร่ธาตุ Cobalt และมันนำไปสู่ปัญหาด้านมนุษยธรรมอย่างร้ายแรงใน Congo ในยุคปัจจุบัน

 

เราก็เลยชอบมาก ๆ ที่หนังเรื่องนี้ แทรกโฆษณาโทรศัพท์มือถือเข้ามาสั้น ๆ แต่มันเปรี้ยงมาก ๆ และมันสะเทือนมาก ๆ เพราะเราไม่ได้ดูเพียงแค่เรื่องราวน่าเศร้าในอดีต แต่เรากำลังดูผลต่อเนื่องมาถึงยุคปัจจุบันด้วย ใครจะรู้ล่ะว่า ในโทรศัพท์มือถือที่เราพกติดตัวอยู่ขณะดูหนังเรื่องนี้ มันบรรจุแร่ Cobalt ที่มาจากประเทศอะไร และมันได้มาโดยแลกมากับเลือดและชีวิตของใครบ้าง

 

https://www.amnesty.org/en/latest/news/2018/05/phones-electric-cars-and-human-rights-abuses-5-things-you-need-to-know/

 

ซึ่งจริงๆ  แล้ว การใช้วิธีแทรกโฆษณาสินค้าเข้ามาสั้น ๆ แต่มีความหมายทางการเมืองรุนแรงมาก ๆ แบบนี้ ทำให้นึกถึง Viriyaporn Boonprasert มาก ๆ เลย

 

สรุปว่า กราบตีน Johan Grimonprez อย่างรุนแรงค่ะ

 

 

No comments: