Thursday, November 13, 2008

SEVEN REASONS WHY I WORSHIP "SEVEN DUMPSTERS AND A CORPSE"

This is my comment in Bioscope webboard:
http://www.bioscopemagazine.com/smf/index.php?topic=1532.30

ชอบเรื่อง SAMAR (CONFLICT) (1999, Shyam Benegal, A+) มากๆเหมือนกัน แต่เข้าไปไม่ทันดูตอนต้นเรื่อง ตอนที่ดิฉันเดินเข้าไปในโรงเป็นตอนที่ Dulari (Seema Biswas) กำลังจะไปตักน้ำที่บ่อน้ำ และมีเรื่องตบตีกับภรรยาผู้ใหญ่บ้าน

หลังจากดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว ก็มีปัญหาค้างคาใจอยู่บ้างเหมือนกัน นั่นก็คือว่า ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้กำกับหนัง (Rajit Kapur) ตกลงทำยังไงกับฉากที่ตัวละครถูกฉี่รดศีรษะ

สิ่งที่ชอบมากๆใน SAMAR รวมถึง

1.Seema Biswas เคยชอบเธอมากๆใน WATER (2005, Deepa Mehta, A+/A) และก็คิดว่าเธอเล่นได้ดีมากเช่นกันในหนังเรื่องนี้

2.รู้สึกว่าฉากบางฉากน่าคิดดี ถ้าจำไม่ผิด ในช่วงต้นเรื่องมีฉากที่ Nathu ตัวจริง (Raghuvir Yadav) ยืนอยู่ข้างๆนางเอกหนัง (Rajeshwari Sachdev) และนางเอกหนังทำอาการเหมือนไม่พอใจเล็กน้อยที่ผ้าจากตัวของ Nathu มาถูกต้องตัวเธอ ตอนที่เราดูฉากนี้ เราก็นึกว่านางเอกหนังคงรังเกียจคนที่วรรณะต่ำกว่าเธอ ก็เลยทำอาการเช่นนั้น แต่พอดูไปเรื่อยๆ เราก็รู้ว่านางเอกหนังคงไม่ได้เป็นคนแบบนั้น เราก็เลยคิดว่าอาการไม่พอใจเล็กน้อยที่เราเห็นในตอนต้นเรื่อง อาจจะเป็นอาการรำคาญตามปกติโดยไม่เกี่ยวกับชั้นวรรณะก็ได้ และเราอาจจะมีอคติไปเองที่คิดว่าคนวรรณะสูงอย่างนางเอกจะต้องรังเกียจคนวรรณะต่ำ

3.ชอบความงุนงงของพระเอกหนัง (Kishore Kadam) ที่ได้รับคำสั่งจากผู้กำกับให้แสดงภาษาท่าทางแบบคนวรรณะ Dalit เวลาอยู่ต่อหน้ากล้อง และพระเอกหนังก็งงว่าคนวรรณะ dalit มีภาษาท่าทางแตกต่างจากคนวรรณะอื่นๆยังไง เพราะตัวเขาเองก็เป็นคนวรรณะ DALIT อยู่แล้ว

4.ชอบที่หนังเรื่องนี้ดูเหมือนจะนำเสนอตัวละครอย่างค่อนข้างกลมพอสมควร คือถึงแม้ว่าหนังจะค่อนข้างเห็นใจชาว DALIT แต่หนังก็ไม่ได้เชิดชูชาว DALIT อย่างไม่ลืมหูลืมตา เพราะชาว DALIT ก็เป็นมนุษย์ที่อาจมีความบกพร่องในตัวเองได้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงพระเอกหนังที่เต็มไปด้วยความเคียดแค้นดาราที่แสดงในหนังเรื่องเดียวกัน และ Nathu ที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างของตัวเองในการปรักปรำผู้บริสุทธิ์ (ที่เป็นพี่ชายหรือน้องชายของนายจ้าง)



5.ชอบการที่ Nathu กับ Dulari ตัวจริงผลัดกันเข้ามาแสดงเป็นตัวเองแทนที่พระเอกกับนางเอกหนังในบางฉาก มันทำให้หนังเรื่องนี้กลายเป็นสิ่งที่พิสดารมาก


6.หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงประสบการณ์ของตัวเองในวัยเด็ก โดยเฉพาะฉากเปิดเรื่องที่หญิงวรรณะต่ำถูกหญิงวรรณะสูงกดขี่เหยียดหยามอย่างรุนแรง หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อราว 27-28 ปีก่อน ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมตัวเองถึงยังจำเรื่องนี้ได้อยู่ ตอนนั้นดิฉันก็เคยถูกคนที่มีวรรณะสูงกว่าดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรงเช่นกัน แต่ดิฉันก็ไมได้ตอบโต้อะไร ดิฉันทำได้เพียงแค่จดจำพฤติกรรมของกลุ่มคนที่มีวรรณะต่างจากดิฉันเอาไว้

อย่างไรก็ดี เมื่อไม่กี่ปีก่อน ดิฉันก็ได้ข่าวว่าคนที่เคยดูถูกเหยียดหยามดิฉันได้เสียชีวิตไปแล้วอย่างทุกข์ทรมานด้วยโรคมะเร็ง ทั้งๆที่เธอยังมีอายุน้อยอยู่ พอดิฉันได้ฟังข่าวนี้ ดิฉันก็เลยรู้สึกโสมนัสเป็นอย่างมาก

ไม่รู้เหมือนกันว่าคนวรรณะ DALIT ในอินเดียเขาจะมีชีวิตอยู่ด้วยความรู้สึกอย่างไรบ้าง เพราะขนาดดิฉันซึ่งเจอพฤติกรรมแบบนี้ ซึ่งถือว่าเบามากเมื่อเทียบกับในหนังเรื่อง SAMAR ดิฉันยังไม่เคยลืมเลือนมันเลยตลอดช่วง 28 ปีที่ผ่านมา และพอดิฉันได้ข่าวว่ามันตายอย่างทุกข์ทรมาน ดิฉันก็รู้สึกดีใจมาก ซึ่งนั่นก็แสดงให้เห็นว่าความโกรธแค้นในใจดิฉันมันไม่ได้หายไปไหนเลยตลอดช่วง 28 ปี พอได้ดูหนังเรื่อง SAMAR ก็เลยจินตนาการไม่ออกเลยว่า ถ้าหากตัวเองเป็นคนวรรณะ DALIT ในหนังเรื่องนี้ ตัวเองจะมีชีวิตอยู่อย่างไร


--ส่วนหนังที่เซอร์ไพรส์ดิฉันมากที่สุดในเทศกาลนี้ ขอยกให้เป็น SEVEN DUMPSTERS AND A CORPSE (2007, Thomas Haemmerli, A+++++) เพราะดิฉันไม่เคยได้ยินชื่อหนังเรื่องนี้หรือชื่อผู้กำกับมาก่อนเลย

Time passes after the World Film Festival of Bangkok 2008, and I find that films that I have always been thinking about are LA RABIA and SEVEN DUMPSTERS AND A CORPSE, because these two films seem to “UNDERSTAND ME” and give me great warmth in my heart every time I think of them. According to my personal feelings, I think of EAT, FOR THIS IS MY BODY and THE HEADLESS WOMAN as “GREAT WORKS OF ART”, but I think of LA RABIA and SEVEN DUMPSTERS AND A CORPSE as “GREAT FRIENDS OF MINE”, because these two films are like friends who truly understand me and make me feel that the world is not a lonely place.

SEVEN REASONS WHY I WORSHIP SEVEN DUMPSTERS AND A CORPSE

1.It gives me a great pleasure to see the director destroy all of his dead mother’s belongings. I think I rarely get this kind of great pleasure from other films. Are there any other films like this? Can you give me any suggestions?

2.I like the fact that this film pays attention to what most films overlook—the trouble with the decaying corpse and the belongings left behind by the deceased.

3.The director’s feeling of disgust towards his own mother after he found out that his mother had planned to sue him for not paying her enough money

4.The deep hatred between his mother and his father

5.The deep hatred between his mother and his grandmother, who accused her own daughter of stealing the man she loved

6.The director’s frank revelation of the racism in his own family. If I remember it correctly, his grandmother looked down on Kofi Annan who attended the wedding of the director’s parents.

This revelation of racism in the director’s own family reminds me of THE LONG DAY CLOSES (1992, Terence Davies, A+). I think there’s an interesting documentary which deals with this issue, but I haven’t seen it yet. It’s called TRACES OF THE TRADE: A STORY FROM THE DEEP NORTH (2008, Katrina Browne)
http://www.imdb.com/title/tt1157728/

7. I like the traces on the floor which show that the corpse of the director’s mother used to be there. It seems to make me understand WHAT LIFE IS.

2 comments:

Anonymous said...

if i remeber correctedly their grandmother (or mother)write 'NIGRO'on ANNAAN 's photo

i feel very strange while i watching this movie because my mom and me are very close together but this film haunted me alot because my house was full of things like thier mom's house too.!

i just read this MARTEL'S INTERVIEW and i think itwas very great interview.

http://www.theauteurs.com/notebook/posts/328

celinejulie said...

I have read that interview and it reminds me of you, because I think you are the one who mentioned that THE HEADLESS WOMAN reminds you of RED DESERT, and the interviewers in THE AUTEURS also think like you.