NOISE TALKS (2013, Atsuhiro Ito, A+)
มีเพื่อนที่ไม่ว่างอยู่ฟัง Q&A ในงานนี้
เราก็เลยขอสรุปถึงสิ่งที่พูดในงาน Q&A เท่าที่เราจำได้นะจ๊ะ
1.คุณ Atsuhiro บอกว่า
ก่อนที่เขาจะใช้หลอดฟลูออเรสเซนท์มาเป็นเครื่องดนตรีนั้น
มันเริ่มจากการที่เขาทำงาน installation ที่ต้องใช้หลอดไฟ
และเขาก็เลยค้นพบความน่าสนใจของเสียงจากหลอดไฟ ก็เลยเอามันมาใช้เป็นเครื่องดนตรี
โดยตอนแรกนั้นเขาใช้หลอดไฟที่มีลักษณะเป็นวงกลม ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนท์แบบปัจจุบัน
2.ส่วนใหญ่เขาจะใช้หลอด Panasonic หรือ Hitachi หรือหลอดที่ผลิตในญี่ปุ่น
เพราะตัวฐานหลอดไฟถูกออกแบบมาให้ใช้กับหลอดญี่ปุ่น
3.ที่บ้านเขามีหลอดไฟ 200 หลอด
4.ตัวฐานหลอดไฟนั้น มีสวิทช์ปิดเปิด และมีไมโครโฟนฝังอยู่ข้างใน ส่วนจังหวะของเพลงนั้นเกิดจากการเหยียบ
pedal ที่คล้ายๆ bass
pedals
5.การแสดงของเขาเป็นแบบ improvised ทั้งหมด
ไม่ได้มีการแต่งเพลงมาก่อน เพราะเพลงของเขามันไม่มี melody เพราะฉะนั้นก็เลยแต่งเพลงมาก่อนไม่ได้
6. ส่วนศิลปินไทยที่ทำงาน noise music นั้น
มีทั้งศิลปินที่แสดงแบบ improvised และแต่งเพลงมาก่อน
7.ดนตรี noise music ในญี่ปุ่น น่าจะเริ่มในทศวรรษ 1980
โดยได้รับอิทธิพลมาจากต่างชาติ
โดยนักดนตรีแนวนี้ในญี่ปุ่นมักจะแสดงดนตรีที่ใช้เสียงที่ดังกว่าศิลปิน noise
ในยุโรปและสหรัฐ ซึ่งคุณ Atsuhiro มีทฤษฎีว่า
การที่ศิลปินญี่ปุ่นแนว noise และ rock มักจะเล่นเพลงเสียงดังนั้น เป็นเพราะว่าในอดีต ศิลปินประเภทนี้ยังไม่มี youtube
ดูกัน และศิลปินประเภทนี้ต้องศึกษาเพลงพวกนี้จากการฟังแผ่นเสียงของศิลปินต่างชาติ
และทึกทักกันไปเองว่าเพลงแนวนี้มันต้องเล่นเสียงดังๆ
ก็เลยเล่นเสียงดังๆกันเป็นหลัก
แต่ในอนาคตศิลปินญี่ปุ่นแนว noise อาจจะไม่ได้เล่นเสียงดังๆเหมือนในอดีต
เพราะปัจจุบันนี้มี youtube ดูกันแล้ว
และศิลปินญี่ปุ่นก็สามารถศึกษาได้ว่าศิลปินต่างชาติเขาทำยังไงกัน
8. มีการตั้งข้อสังเกตว่าศิลปินญี่ปุ่นแนว noise จะทำงานที่ออกมาเป็น
pure noise มากกว่ายุโรปและสหรัฐ เพราะศิลปิน noise ในยุโรปและสหรัฐหลายคนทำงานออกมาโดยมีทฤษฎีรองรับ
หรือตั้งอยู่บนหลักการทางสุนทรียศาสตร์
แต่ศิลปินญี่ปุ่นไม่ได้ทำงานนี้โดยอิงอยู่กับทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์
9. ตัวคุณ Atsuhiro บอกว่าสำหรับตัวเขานั้น
สิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานแบบนี้คือความสนุก
และตอนนี้เขาก็ยังไม่มีปัญหาเรื่องสายตาหรือประสาทหู แต่อนาคตก็ยังไม่แน่
10. เขาบอกว่าสิ่งที่สำคัญคือการทดลองทำสิ่งที่ถูกบอกไม่ให้ทำ
อย่างเช่นการที่เขาทำแสงไฟหรี่ๆกะพริบๆนั้น มันคือสิ่งที่คู่มือการใช้หลอดไฟบอกว่าห้ามทำ
แต่เขาก็ทำแบบนั้น และเขายังไม่เคยถูกไฟดูด เพราะฐานหลอดไฟของเขาถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการถูกไฟดูด
11. ส่วนศิลปิน noise ในไทยนั้น
อาจจะเริ่มในทศวรรษ 1990 โดยศิลปินที่เอาเสียง effect ของกีตาร์มาใช้
และในปัจจุบันนี้ศิลปิน noise ในไทยก็มีมากขึ้น
และมีการจัดแสดงกันบ่อยครั้งขึ้น โดยส่วนใหญ่จะจัดกันที่ NOSPACE GALLERY และ SOL SPACE GALLERY ซึ่งผู้ชมส่วนใหญ่ก็จะเป็นศิลปินด้วยกันเอง
12. คุณ Atsuhiro บอกว่าเสียงต่างๆอย่างเช่นเสียงเครื่องซักผ้า,
เสียงเครื่องดูดฝุ่นก็สามารถเอามาใช้เป็นเสียงดนตรีได้เช่นกัน
หลังจากนั้น Chulayarnnon Siriphol หนึ่งในผู้ชมในงาน
ก็ได้คุยกับเรา และทำให้เราคิดถึงเรื่องดังต่อไปนี้
1.มีคนที่ชอบเคาะกระป๋องแสดงดนตรีอยู่หน้าหอศิลป์กทม.
จริงๆแล้วเขาก็เป็นศิลปินที่ควรได้รับความสนใจคนนึงเหมือนกันใช่ไหม
2.อะไรคือ noise ถ้าหากเอาเสียงคนเดินมาใช้ จะถือเป็น noise
music ได้ไหม
3. เราบอกว่าเราอยากให้มีการทำเพลงที่ใช้เสียงดนตรีจากโมไบล์ที่ใช้แขวนตามห้องและส่งเสียงกรุ๋งกริ๋งเวลาถูกลมพัด
แต่เข้ไม่แน่ใจว่าดนตรีแบบนี้จะถือเป็น noise music ได้หรือเปล่า
เพราะเข้ไม่แน่ใจว่า noise นี่ต้องเป็น
"เสียงที่ไม่เสนาะหู" เท่านั้นหรือเปล่า แต่เสียงโมไบล์ที่ใช้แขวนตามห้องอาจถือเป็นเสียงที่เสนาะหู
--โดยส่วนตัวแล้ว เราว่างาน NOISE TALKS น่าสนใจดี
มันเป็นอะไรที่เราไม่เคยเจอมาก่อน ถึงแม้ว่าภาพกับเสียงในงานนี้อาจจะไม่ได้ทำให้เรารู้สึก
orgasm กับมันมากนักก็ตาม
ดูงานนี้แล้วทำให้เรานึกถึง
1.เสียงเปิดหลอดไฟในภาพยนตร์เรื่อง EMPLOYEES LEAVING THE LUMIERE
FACTORY (2010, Chaloemkiat Saeyong, A+30)
2.เสียงพิสดารในหนังเรื่อง HOME COMPUTER (2011,
Teeranit Siangsanoh, A+30)
3.เครื่องดนตรีแปลกๆ อย่างเช่น Theremin
ขอบคุณภาพจากน้องอยากติดเกาะ จุงเบยย
No comments:
Post a Comment